directions_run

โครงการส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจของผู้สูงอายุด้วยวีถีอิสลามในหมู่บ้านโสร่ง ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจของผู้สูงอายุด้วยวีถีอิสลามในหมู่บ้านโสร่ง ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี
ภายใต้โครงการ แผนงานร่วมทุนสร้างเสริมสุขภาวะพื้นที่จังหวัดปัตตานี
ภายใต้องค์กร องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี
รหัสโครงการ 65-P1-0068-018
วันที่อนุมัติ 1 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 31 มกราคม 2567
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซัลมา แดเมาะเล็ง
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0874751660
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ wirada2999@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวคนึงนิจ มากชูชิต
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.746943,101.16763place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2566 31 ธ.ค. 2566 1 พ.ค. 2566 31 ธ.ค. 2566 80,000.00
2 1 ม.ค. 2567 31 ม.ค. 2567 1 ม.ค. 2567 31 ม.ค. 2567 20,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ 2560 - 2579 ปรับเปลี่ยนค่านิยมของคนไทยให้มีคุณธรรมจริยธรรม มีวินัย จิตสาธารณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ อาทิ ส่งเสริมให้มีกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียนที่สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ความมีระเบียบวินัย และจิตสาธารณะ แผนยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 พ.ศ 2560 - 2579 ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ 2560 - 2579 เพื่อเป็นทิศทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยกำหนดเป็น 6 ยุทธศาสตร์ คือ ๑. การศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง ๒. การผลิตและการพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะในการแข่งขัน ๓ . การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ๔ . การสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมทางการศึกษา ๕. การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ ๖ .การพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาภายใต้แผนยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้มุ่งพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการและวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่   ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุ (Aging Society) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ตามคำนิยามขององค์การสหประชาชาติที่กำหนดสัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนประชากรไทยทั้งประเทศ ซึ่งจะเข้าสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ (Complete - Aging Society) เมื่อมีสัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 20 และเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด (Super - Aging Society) เมื่อมีสัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 28 ตามลำดับ สำหรับสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ในปี พ.ศ. 2563 มีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 18.24 ของจำนวนประชากรไทยทั้งประเทศ และมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 3.6 ต่อปี (คิดเป็น 400,000 คนต่อปี) ซึ่งตามการคาดประมาณการประชากรประเทศไทยของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562) คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2566
จะมีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 20.66 ของจำนวนประชากรไทยทั้งประเทศ และคาดว่าในปี พ.ศ. 2578 จะมีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 28.55 ของจำนวนประชากรไทยทั้งประเทศดังนั้นการให้ความสำคัญและมุ่งเน้นในการดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพจิตที่ดีด้วยการอยู่กับอัลกุรอานด้วยความเข้าใจ ศรัทธา และสู่การนำปฏิบัติในด้านการประกอบการงานที่ดีในชีวิตโดยไม่มีภาวะซึมเศร้าดังจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี   อัลกุรอาน คือพระดำรัสของอัลลอฮฺที่ทรงประทานให้แก่ท่านนบีมุหัมมัด โดยผ่านมลาอิกะฮฺญิบริลเป็นคัมภีร์เล่มสุดท้ายของอัลลอฮฺสำหรับมนุษยชาติเพื่อเป็นทางนำสำหรับมนุษย์ไปสู่การมีชีวิตที่มีความสงบสุขในโลกนี้(ดุนยา)และโลกหน้า(อาคีเราะฮฺ) ดังที่อัลลอฮตรัสไว้ ความว่า “แท้จริง อัลลอฮนี้นำสู่ทางที่เที่ยงตรงยิ่ง และแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้ศรัทธาที่ประกอบความดีทั้งหลายว่าสำหรับพวกนั้นจะได้รับการตอบแทบนอันยิ่งใหญ่”( สูเราะฮ อัล อิสรออ :9 ) และการอิบาดะฮฺโดยการอ่านอัลกุรอาน ดังนั้นการอ่านจำเป็นต้องอ่านให้ถูกต้องและสำหรับผู้ที่ไม่สามารถอ่านอัลกุรอานได้นั้น คือผู้ที่ขาดทุนมากขาดทุนทั้งในโลกนี้และโลกหน้าเนื่องจากผลบุญของการอ่านอัลกุรอานมหาศาลดังหะดีษที่ท่านนบีกล่าวว่า “ผู้ใดที่อ่านอัลกุรอานเพียงอักษรเดียว เขาจะได้รับหนึ่งความดี และหนึ่งความดีนั้นจะเพิ่มขึ้นเป็นสิบเท่าตัว ฉันไม่ได้กล่าวว่า อลิฟ ลาม มีม คือหนึ่งอักษร แต่อลิฟคือหนึ่งอักษร ลามคือหนึ่งอักษร และมีมคือหนึ่งอักษร”(รายงานโดยอัตติรมีซีย์เลขที่ 2921)
  การอ่านอัลกรุอานจำเป็นจะต้องอ่านอย่างถูกต้องและควรอ่านในสภาพบริสุทธิ์มีน้ำละหมาดในสถานที่สะอาด พยายามทำความเข้าใจเนื้อหาสาระในอัลกุรอานด้วยการเรียนรู้และศึกษาความหมายของอัลกุรอานจากผู้รู้และค้นคว้าจากหนังสือคำแปลอัลกุรอานและหนังสืออรรถาธิบายอัลกุรอานเพื่อจะได้เข้าใจอัลกุรอานอย่างลึกซึ้ง การอ่านอัลกุรอานเป็นสิ่งที่อิสลามกำชับและส่งเสริมอย่างยิ่ง โดยกำหนดผลบุญมากมายไว้ เมื่อมุสลิมปฎิบัติตามคำสอนของอัลลอฮ ในอัลกุรอาน เขาจะได้ประโยชน์อย่างมาก จะได้รับทางนำจากอัลลอฮ ทำให้ความศรัทธามีความมั่นคงและเข้มแข็ง มีความมั่นใจต่ออัลลอฮ เพิ่มมากขั้น ทำให้จิตใจบริสุทธ์และรำลึกถึงอัลลอฮอยู่เสมอและเกรงกว่ากลัวต่อวันอาคิเราะฮ์ที่จะมาถึง กระตุ้นให้เกิดความรู้ลึกจนปฏิบัติตามคำสอนของอัลลอฮ อย่างเคร่งครัด และละเว้นสิ่งที่ห้ามต่างๆ ส่งเสริมให้เป็นมุสลิมที่ดี มีศีลธรรมและคุณธรรมสูง ป้องกันจากการกระทำที่ขัดกับบทบัญญัติและคำสอนของอิสลามได้ และทำให้สังคมมีความเจริญและความสูงส่ง ดังที่ท่านนะบี ได้กล่าวว่า "แท้จริงอัลลอฮจะยกระดับบางกลุ่มชนให้สูงส่งด้วยคัมภีร์ ( อัลกุรอานนี้ เนื่องจากพวกเขาปฏิบัติตามคำสอนของมัน )และทรงให้บางกลุ่มชนตกต่ำด้วยคัมภีร์ ( อัลกุรอานนี้ )เช่นกัน (เนื่องจากพวกเขาไม่ได้ปฏิบัติตามมัน)”(รายงานโดย มุสลิม)
  ผลสำรวจของตำบลเขาตูม ประมาณการณ์ว่า สัดส่วนของผู้สูงอายุจะเพิ่มเป็น 15.3% ในปี 2563 และนั่นหมายความว่า อัตราส่วนของวัยแรงงานต้องรับภาระเลี้ยงดูผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นวัยที่เข้าสู่ภาวะพึ่งพิงสูงขึ้นไปอีก เรียกภาวะนี้ว่า “ผู้สูงอายุเขาตูม.. จน..ป่วย” ในปี 2550 พบว่า ผู้สูงอายุที่มีรายได้ต่ำกว่า 833 บาทต่อเดือนมีอยู่ราว 16% ส่วนผู้สูงอายุที่มีรายได้ต่ำกว่า 1,666 บาทต่อเดือนมีอยู่ 17% ซึ่งพบว่า 30% ของประชากรผู้สูงอายุนั้นมีฐานะยากจน ในขณะที่แหล่งรายได้ที่สำคัญของผู้สูงอายุ 52% มาจากบุตร และ 39% มาจากการทำงาน บำนาญ หรือเงินออมของตนเอง กล่าวได้ว่า ผู้สูงอายุถึง 1 ใน 4 คน ที่อยู่ในภาวะเปราะบางทางเศรษฐกิจ ขณะที่ผู้สูงอายุที่มีรายได้ไม่พอเพียงมีประมาณ ร้อยละ 14 ในด้านสุขภาพ ผู้สูงอายุประเมินตนเองว่ามีสุขภาพดีถึงดีมากมีอยู่ 28% สุขภาพปานกลาง 32 % และผู้ตอบว่าสุขภาพไม่ดี 40%     จากการสำรวจสถานการณ์ปัจจุบันผู้สูงอายุในพื้นที่โสร่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน ตำบลเขาตูม ประกอบด้วย 7 หมู่บ้าน มี จำนวน 5,245 ครัวเรือน ครัวเรือน มีผู้สูงอายุทั้งหมด 1,435 คน
ชาย 620 คน หญิง 815 คนอาชีพหลัก ได้แก่ ทำสวนยางพารา ค้าขาย เกษตรกร อาชีพรอง ได้แก่ รับจ้างทั่วไป และพื้นที่ตำบลเขาตูมเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยฟาฏอนีในหมู่บ้านโสร่ง หมู่ที่ 3 ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เป็นสถาบันอุดมศึกษาอิสลามแห่งแรกในประเทศไทย มีเจตนารมณ์ที่ต้องการพัฒนาและบริการด้านวิชาการอิสลามให้แก่สังคม ซึ่งในมหาวิทยาลัยฟาฏอนีมีศูนย์ศึกษากุรอาน ได้นำหลักคำสอนของศาสนามาเป็นหลักสำคัญในการดำเนินชีวิต ทำให้ชาวบ้านสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขนับตั้งแต่บรรพชนโดยมีมัสยิดเป็นศูนย์กลางในการจัดงานต่างๆ ทั้งทางด้านสังคมศิลปวัฒนธรรมประเพณีและกิจกรรมอื่นๆ ทางศาสนา มัสยิดจึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน และมีผลต่อวีถีชีวิตของคนในอดีต แต่สภาพการณ์ในปัจจุบันปัญหาต่างๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมได้ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนและผู้สูงอายุ ให้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจากสังคมที่สงบมีความโอบอ้อมอารีเป็นสังคมที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันกลับกลายเป็นสังคมที่วุ่นวายแก่งแย่งแข่งกันที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของคนในสังคมที่เห็นได้ชัดเจน คือ กลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นวัยที่พ้นจากวัยแรงงานจึงมักถูกทิ้งให้อยู่บ้านตามลำพัง ผู้สูงอายุหลายคนขาดความสุขทางใจเกิดเป็นโรคซึมเศร้าจากสภาพปัญหาผู้สูงอายุ สาเหตุของปัญหา
ด้านพฤติกรรม ผู้สูงอายุในพื้นที่โสร่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม แต่ผู้สูงอายุขาดความรู้ในเรื่องการยกระดับคุณภาพจิตใจโดยใช้อัลกุรอานเป็นฐาน ขาดการนำหลักคำสอนของศาสนามาเป็นหลักสำคัญในการดำเนินชีวิต และรู้สึกว่าตัวเองเป็นภาระ และต้องประกอบอาชีพ เช่นกรีดยาง ขายของ รับจ้าง มีภาวะอยู่บ้านเลี้ยงหลาน
    ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม     ผู้สูงอายุขาดความรู้ในเรื่องการพัฒนาสุขภาพจิตด้วยอัลกุรอาน ลูกหลานขาดความเข้าใจ ผู้สูงอายุขาดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันขาดการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม     ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ     ไม่มีหน่วยงานให้คำปรึกษาในเรื่องการพัฒนาสุขภาพจิตผู้สูงอายุ และการให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้ดูแล     ด้านกลไกระบบที่เกี่ยวข้อง
ขาดกลไกขับเคลื่อนการแก้ปัญหาในเรื่องการยกระดับคุณภาพจิตใจผู้สูงอายุในชุมชน ไม่มีแกนนำด้านการดูแลผู้สูงอายุ และชุมชนไม่มีการรวมกลุ่ม หรือจัดเป็นชมรมการดูแลผู้สูงอายุ จากสภาพปัญหาดังกล่าวมหาวิทยาลัยฟาฏอนีตั้งใจที่จะขับเคลื่อนกิจกรรมในผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ที่มีปัญหาและสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ จึงได้มีแนวทางจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพกาย และสุขภาพจิตใจด้วยวีถีอิสลาม ด้วยการฟังบรรยายธรรมเพื่อให้ประชาชนทั่วไปและผู้สูงอายุได้นำแนวทางการปฏิบัติตนเพื่อดูแลสุขภาพกายและจิตใจ มาปรับใช้ในวิถีชีวิตด้วยการเสริมสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมในการดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญาและมีความรอบคอบ เพื่อให้เกิดความสมดุลและพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว และเป็นการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุให้ดีขึ้นต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดคณะทำงาน ในการขับเคลื่อนงาน

1.1 เกิดคณะทำงาน จำนวน 17 คน ที่มีโรงสร้างการดำเนินงานที่ชัดเจนที่มีความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดโครงการและมาจากหลากหลายองค์กร สามารถขับเคลื่อนงาน และมีแผนการทำงานตลอดโครงการ 1.2 เกิดข้อมูลผู้สูงอายุและอาการพฤติกรรมที่เป็นข้อมูลรายบุคคล จำนวน 40 คน เช่น อาชีพ โรค การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร และการซื้อหรือปรุงเอง สภาพแวดล้อม การอ่านกุลอาน ทักษะ การดูแลผู้สูงอายุและอื่นๆ 1.3 เกิดภาคีความร่วมมือที่หลากหลายเข้าร่วม เช่น อสม. รพ.สต. นักวิชาการจากมหาวิทยาลัย ท้องที่ ท้องถิ่น

2 เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพกาย จิตใจ ตามหลักศาสนาอิสลาม

1.1 เกิดบุคคลในครอบครัวผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้สูงอายุและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล ด้วยวิถีอิสลามที่ถูกต้องร้อยละ 100 1.2 เกิดบุคคลในครอบครัวผู้สูงอายุ ที่ความรู้ความเข้าใจในการใช้อันกลุอานเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ร้อยละ 100 1.3 เกิดบุคคลในครอบครัวผู้สูงอายุ ความรู้ทักษะใน การปรุงอาหารสำหรับผู้สูงอายุและสามารถปฏิบัติได้ ร้อยละ 80

3 เพื่อให้เกิดกลไกดูแลสุขภาพกาย จิตใจตามหลักศาสนาอิสลามของผู้สูงอายุ - อัลกุรอานเป็นฐานที่ทำให้มีสุขภาพกายและใจที่ดีทำให้ไม่มีโรคซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุมุสลิม

3.1 เกิดกลไกการดูแลสุขภาพ จิตใจ ตามแนวทางศาสนาอิสลาม จำนวน 10 คน ที่มาจากหลากหลายองค์กร
3.2 เกิดกติกาการทำงานร่วมกันของกลไกการดูแลสุขภาพ จิตใจ 3.3 เกิดแผนการทำงานการติดตามผู้สูงอายุและบุคคลในครอบครัว ดูการปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลด้วยวิถีอิสลามที่ถูกต้องร่วมกันของกลไกอย่างต่อเนื่อง

4 ผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพกาย จิตใจตามหลักศาสนาอิสลาม

4.1 ผู้สูงอายุได้รับการดูแลจากครอบครัว มีสุขภาพกาย จิตใจที่ดี 4.2 ร้อยละ 80 ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายที่ลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วย และการเกิดโรค
4.3 ร้อยละ 80 ผู้สูงอายุมีสุขภาพใจที่ดีขึ้น เช่น ลดความกังวล นอนหลับดี 4.4 เกิดกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนที่มีสมาชิกอย่างน้อย 1 กลุ่ม

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 95
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะทำงาน 15 -
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ 40 -
ผู้สูงอายุ 40 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67
1 อัลกุรอานเป็นฐานที่ทำให้มีสุขภาพกายและใจที่ดีทำให้ไม่มีโรคซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุมุสลิม(6 มิ.ย. 2566-31 ม.ค. 2567) 2,400.00                    
2 กิจกรรมที่ 4 จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการให้กับผู้สูงอายุ โดยการรับฟังวีธีการอ่านอัลกุรอานของผู้สูงอายุที่ใช้ในการอ่านเพื่อประกอบศาสนกิจให้ถูกต้องตามหลักการอ่านอัลกุรอาน(ตัจญวีด) เพื่อยกระดับคุณภาพจิตใจผู้สูงวัยมุสลิมให้มีชีวิตที่ดีมีสุขอย่างยังยืน (ผู้สู(6 มิ.ย. 2566-6 มิ.ย. 2566) 17,350.00                    
3 สนับสนุนการบริหารจัดการ(6 มิ.ย. 2566-6 มิ.ย. 2566) 10,000.00                    
4 ARE กับพี่เลี้ยง(6 มิ.ย. 2566-29 ก.พ. 2567) 0.00                    
5 ชื่อกิจกรรมที่ 1ประชุมคณะทำงาน (2 เดือน:1 ครั้ง)(24 มิ.ย. 2566-10 ก.พ. 2567) 9,700.00                    
6 ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลผู้สูงอายุ จำนวน 40 คนและผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน(26 มิ.ย. 2566-23 ธ.ค. 2566) 5,000.00                    
7 เวทีคืนข้อมูล(29 ก.ค. 2566-29 ก.ค. 2566) 10,450.00                    
8 เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพกาย จิตใจ ตามหลักศาสนาอิสลาม(5 ก.ย. 2566-5 ก.ย. 2566) 24,500.00                    
9 ชื่อกิจกรรมที่ 5 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ติดตามการดูแลผู้สูงอายุ(21 ต.ค. 2566-21 ต.ค. 2566) 8,100.00                    
10 ชื่อกิจกรรมที่ 6 เวทีสรุปบทเรียน(23 ธ.ค. 2566-23 ธ.ค. 2566) 12,500.00                    
รวม 100,000.00
1 อัลกุรอานเป็นฐานที่ทำให้มีสุขภาพกายและใจที่ดีทำให้ไม่มีโรคซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุมุสลิม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 2,400.00 2 2,400.00
25 ก.ย. 66 อัลกุรอานเป็นฐานที่ทำให้มีสุขภาพกายและใจที่ดีทำให้ไม่มีโรคซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุมุสลิม 40 1,200.00 1,200.00
11 พ.ย. 66 วงล้อมหะละเกาะฮฺประจำสัปดาห์ 0 1,200.00 1,200.00
2 กิจกรรมที่ 4 จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการให้กับผู้สูงอายุ โดยการรับฟังวีธีการอ่านอัลกุรอานของผู้สูงอายุที่ใช้ในการอ่านเพื่อประกอบศาสนกิจให้ถูกต้องตามหลักการอ่านอัลกุรอาน(ตัจญวีด) เพื่อยกระดับคุณภาพจิตใจผู้สูงวัยมุสลิมให้มีชีวิตที่ดีมีสุขอย่างยังยืน (ผู้สู กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 55 17,350.00 2 17,350.00
24 ส.ค. 66 จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการให้กับผู้สูงอายุ โดยการรับฟังวีธีการอ่านอัลกุรอานของผู้สูงอายุที่ใช้ในการอ่านเพื่อประกอบศาสนกิจให้ถูกต้องตามหลักการอ่านอัลกุรอาน(ตัจญวีด) เพื่อยกระดับคุณภาพจิตใจผู้สูงวัยมุสลิมให้มีชีวิตที่ดีมีสุขอย่างยังยืน 55 9,800.00 9,800.00
10 พ.ย. 66 จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการให้กับผู้สูงอายุ โดยการรับฟังวีธีการอ่านอัลกุรอานของผู้สูงอายุที่ใช้ในการอ่านเพื่อประกอบศาสนกิจให้ถูกต้องตามหลักการอ่านอัลกุรอาน(ตัจญวีด) เพื่อยกระดับคุณภาพจิตใจผู้สูงวัยมุสลิมให้มีชีวิตที่ดีมีสุขอย่างยังยืน 0 7,550.00 7,550.00
3 สนับสนุนการบริหารจัดการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 9 10,000.00 9 10,000.00
6 - 7 มิ.ย. 66 เวทีปฐมนิเทศและพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน 3 2,220.00 2,220.00
25 มิ.ย. 66 1. ค่าจัดทำป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่และป้ายชื่อโครงการ โดยมีตราสัญลักษณ์ สสส. สำหรับติดในบริเวณที่จัดกิจกรรมทุกครั้ง ไม่เกิน 1,000 บาท 0 1,925.00 1,925.00
19 ก.ค. 66 ประชุมคณะทำงานกับพี่เลี้ยง 3 760.00 760.00
25 ก.ย. 66 ติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 1 0 520.00 520.00
8 พ.ย. 66 เบิกค่าเดินทางเพื่อไปถอนเงินและค่าเบียเลี้ยงคณะทำงาน 3 คน 3 615.00 615.00
4 ม.ค. 67 ค่าทำไวนิล เพื่อประกอบการนำเสนอโครงการในกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงกการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2567 0 1,200.00 1,200.00
5 ม.ค. 67 ค่าจัดทำรายงาน 0 2,000.00 2,000.00
6 ม.ค. 67 ค่าเดินทางไปประชุมกับพี่เลี้ยง 2 คน 0 760.00 760.00
15 ม.ค. 67 อบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2567 0 0.00 0.00
4 ARE กับพี่เลี้ยง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 4 0.00
5 มิ.ย. 66 ARE 1 คลี่แผนงานโครงการ 0 0.00 0.00
4 ก.ย. 66 ARE2 ติดตามผลลัพธ์ 0 0.00 0.00
14 พ.ย. 66 ARE 3 0 0.00 0.00
6 ธ.ค. 66 ARE 4 0 0.00 0.00
5 ชื่อกิจกรรมที่ 1ประชุมคณะทำงาน (2 เดือน:1 ครั้ง) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 9,700.00 5 9,700.00
24 มิ.ย. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 15 2,500.00 2,500.00
27 ก.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 0 1,800.00 1,800.00
23 ส.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 0 1,800.00 1,800.00
10 ต.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 0 1,800.00 1,800.00
12 พ.ย. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5 0 1,800.00 1,800.00
6 ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลผู้สูงอายุ จำนวน 40 คนและผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 5,000.00 2 5,000.00
1 ส.ค. 66 ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลผู้สูงอายุ จำนวน 40 คนและผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ครั้งที่1 15 2,500.00 2,500.00
11 พ.ย. 66 ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลผู้สูงอายุ จำนวน 40 คนและผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ครั้งที่ 2 0 2,500.00 2,500.00
7 เวทีคืนข้อมูล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 95 10,450.00 1 10,450.00
18 ส.ค. 66 เวทีคืนข้อมูล 95 10,450.00 10,450.00
8 เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพกาย จิตใจ ตามหลักศาสนาอิสลาม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 110 24,500.00 2 24,500.00
21 ส.ค. 66 อบรมด้านการออกกำลังกายให้กับผู้สูงอายุจำนวน 40 คน และผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน คณะทำงาน 55 13,000.00 13,000.00
26 ส.ค. 66 อบรมผู้ดูแลให้ความรู้เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลในเรื่องอาหารโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุและเรื่องอาหารที่หะลาลลันตอยยีบันสำหรับผู้สูงอายุ และสาธิตการทำอาหาร (คณะทำงาน 15 คนและผู้ดูแล 40 คน รวม 55 คน) 55 11,500.00 11,500.00
9 ชื่อกิจกรรมที่ 5 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ติดตามการดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 55 8,100.00 1 8,100.00
13 พ.ย. 66 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ติดตามการดูแลผู้สูงอายุ 55 8,100.00 8,100.00
10 ชื่อกิจกรรมที่ 6 เวทีสรุปบทเรียน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 12,500.00 1 12,500.00
30 พ.ย. 66 เวทีสรุปบทเรียน 60 12,500.00 12,500.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 2 555.38
23 ม.ค. 67 ถอนเงิน เปิดบัญชี 0 0.00 500.00
24 ม.ค. 67 ดอกเบี้ยคืนกองคลัง 0 0.00 55.38

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล 40 คน
2.บุคคลในครอบครัวสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลด้วยวิถีอิสลามที่ถูกต้อง

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2566 14:54 น.