directions_run

โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี


“ โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง ”

ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี

หัวหน้าโครงการ
นายมุคตาร วายา

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง

ที่อยู่ ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 65-P1-0068-022 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2567


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง จังหวัดปัตตานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง



บทคัดย่อ

โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 2 ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี รหัสโครงการ 65-P1-0068-002 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2566 - 29 กุมภาพันธ์ 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000 บาท จาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชน จำนวน 92 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้ โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เกิดคณะทำงานและกลไกการติดตามกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน 2.เกิดความรู้และตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกาย 3.เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 4.เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายอย่างถูกต้อง ผลการดำเนินงานพบว่า เกิดคณะทำงาน จำนวน 15 คน ประกอบด้วย อสม. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บัณฑิตตำบล เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ตรัง และเจ้าหน้าที่ อบต. มีข้อตกลงการทำงานของคณะทำงานที่ชัดเจน คือ การจัดเวรประจำวันในการเปิดคลิปวิดีโอนำเต้นแอโรบิค และการติดตามผลการปฏิบัติตามกติกาชุมชน มีแผนการดำเนินงานของคณะทำงาน มีรายงานสรุปผลการดำเนินงานและข้อมูลสถานการณ์การบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ก่อน – หลังการดำเนินโครงการ กลุ่มเป้าหมายจำนวน 85 คน (คิดเป็นร้อยละ 92 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย มีข้อมูลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายที่ได้จากการติดตามกลุ่มเป้าหมายโดยคณะทำงาน เกิดกติกาข้อตกลงร่วมของชุมชนในการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย จำนวน 6 ข้อ มีสถานที่รวมกลุ่มออกกำลังกาย 2 แห่ง คือ สถานที่กลางแจ้งของชุมชน 1 แห่ง และมีสถานที่ร่มรองรับ 1 แห่ง กลุ่มเสี่ยงได้รับการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ ทำให้มีอาหารสุขภาพ 1 เมนู 1 ครอบครัว มีรูปแบบการออกกำลังที่เหมาะสมตามช่วงวัย เช่น การเต้นแอโรบิค การปั่นจักรยาน การเดินวิ่ง มีบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 12 คน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 80 คน (คิดเป็นร้อยละ 87 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) มีการออกกำลังกาย กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 71 คน (คิดเป็นร้อยละ 77 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสม

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ข้อมูลพื้นฐานชุมชนบ้านตรัง หมู่ที่ 2 ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี มีประชากรทั้งหมด 500 คน แบ่งเป็นชายคน 247 คน หญิง 253 คน มีทั้งหมด 174 หลังคาเรือน แบ่งออกตามกลุ่มวัยอายุ 0-5 ปี จำนวน 15 คน อายุ 6-18 ปี จำนวน 43 คน อายุ 19-49 ปีจำนวน 247 คน อายุ 50-59 ปี จำนวน 67 คน และอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 128 คน ผลจากการคัดกรองโรคปัจจัยทางพฤติกรรมของคนที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป เข้ารับการการคัดกรอง จำนวน 235 คน พบว่า มีผลน้ำตาลในเลือด เกินกว่า 100 mg% จำนวน 92 คน คิดเป็นร้อยละ 39 แยกเป็นอายุ 15-34 ปี จำนวน 27 คน และอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 65 คน ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ต้องได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พบว่า มีผลน้ำตาลในเลือด เกิน 126 mg% จำนวน 7 คนและได้รับการวินิจฉัยยืนยันว่าป่วยด้วยโรคเบาหวานจำนวน 7 คน ซึ่งจะต้องเข้ารับการรักษาและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยรายใหม่ของไตรมาสแรกของปี 2566 สาเหตุของปัญหาเกิดจากพฤติกรรม จากสภาพสังคม และกลไกลทางภาครัฐและภาคสังคม ดังนี้

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เกิดคณะทำงานและกลไกการติดตามกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน
  2. 2.เกิดความรู้และตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกาย
  3. 3.เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  4. 4.เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายอย่างถูกต้อง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมคณะกรรมการ 2 เดือน/ครั้ง
  2. จัดทำกติกาชุมชน
  3. สสส.สนับสนุนการบริหารจัดการ
  4. ประชาสัมพันธ์โครงการและลงพื้นที่ติดตามผลการปฏิบัติตามกติกาพร้อมคืนข้อมูล
  5. การอบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ2ส
  6. ติดตามผลการดำเนินงานกติกาชุมชน
  7. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในชุมชน
  8. ประชุมกำหนดกติกาชุมชน
  9. ARE ร่วมกับพี่เลี้ยง
  10. ประสาน อปท ระดมทุนสร้างหรือจัดหาอุปกรณ์ออกกำลังกาย
  11. จัดเวทีชุมชนกำหนดรูปแบบการออกกำลังกาย
  12. แลกเปลี่ยนผู้สนใจเมนูอาหารสุขภาพ
  13. ประกวดเมนูอาหารสุขภาพ(1 ครอบครัว 1เมนู)
  14. รับสมัครบุคคลต้นแบบเข้าร่วมโครงการ
  15. เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงาน
  16. ถอนเงิน เปิดบัญชี
  17. จ่ายดอกเบี้ยคืนคลัง
  18. อบรมเวทีปฐมนิเทศ และพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน
  19. ARE ครั้งที่ 1 ร่วมกับพี่เลี้ยง
  20. ค่าพาหนะเดินทางและเบี้ยเลี้ยงเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน ครั้งที่ 1
  21. ค่าจัดทำป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่และป้ายชื่อโครงการ
  22. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 1
  23. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในชุมชน ครั้งที่1
  24. การอบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ2ส
  25. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 2
  26. ค่าพาหนะเดินทางและเบี้ยเลี้ยงเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน ครั้งที่ 2
  27. ประชุมกำหนดกติกาชุมชน
  28. จัดทำป้ายกติกาชุมชน
  29. ลดอาหาร หวาน มัน เค็ม โดยตั้งกลุ่มไลน์ ส่งรูปเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ
  30. เต้นแอโรบิค ทุกวัน วันละ 30 นาที เวลา 17.00 น. สถานที่ ศูนย์จิตอาสาพัฒนาชุมชน ต.ตรัง (อบต. เก่า)
  31. เข้าวัดทำบุญในวันพระ ขึ้น 15 ค่ำ ของทุกเดือน
  32. ห้ามสูบบุหรี่ และดื่มสุราในพื้นที่สาธารณะ เช่น ในบริเวณวัด โรงเรียน และสถานที่ราชการ
  33. ประชาสัมพันธ์โครงการและลงพื้นที่ติดตามผลการปฏิบัติตามกติกาพร้อมคืนข้อมูล
  34. ตรายางโครงการ
  35. ค่าพาหนะเดินทางและเบี้ยเลี้ยงเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน ครั้งที่ 3
  36. ARE ครั้งที่ 2 ร่วมกับพี่เลี้ยง
  37. ค่าจัดทำป้ายบันไดผลลัพธ์
  38. ประสาน อปท ระดมทุนสร้างหรือจัดหาอุปกรณ์ออกกำลังกาย
  39. อบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 1/2566
  40. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 3
  41. ค่าพาหนะเดินทางและเบี้ยเลี้ยงเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน ครั้งที่ 4
  42. จัดเวทีชุมชนกำหนดรูปแบบออกกำลังกาย
  43. แลกเปลี่ยนผู้สนใจเมนูอาหารสุขภาพ
  44. ปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 17.00น.
  45. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 4
  46. เดิน - วิ่ง
  47. ค่าพาหนะเดินทางและเบี้ยเลี้ยงเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน ครั้งที่ 5
  48. ARE ครั้งที่ 3 ร่วมกับพี่เลี้ยง
  49. รับสมัครบุคคลต้นแบบเข้าร่วมโครงการ
  50. ประกวดเมนูอาหารสุขภาพ (1 ครอบครัว 1เมนู)
  51. การปลูกผักกินเอง อย่างน้อย 5 ชนิดต่อครัวเรือน
  52. ประชุมคณะทำงานเร่งด่วน "เรื่องการปรับปรุงกติกาชุมชน"
  53. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในชุมชน ครั้งที่2
  54. ค่าพาหนะเดินทางและเบี้ยเลี้ยงในการตรวจสอบเอกสารการเงินสนับสนุนทุนแผนงานร่วมทุนฯ
  55. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 5
  56. ไวนิลเทมเเพลทโครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง
  57. ค่าจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์
  58. เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงาน และการยกย่องเชิดชูบุคคลต้นแบบ
  59. ARE ครั้งที่ 4 ร่วมกับพี่เลี้ยง
  60. ค่าวัสดุอุปกร์ในการจัดบูธนิทรรศการ
  61. อบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2567
  62. ค่าพาหนะเดินทางและเบี้ยเลี้ยงในการตรวจสอบเอกสารการเงินเบื้องต้นของโครงการย่อยให้สอดคล้องในระบบฅนสร้างสุข เเละเพื่อเตรียมเบิกเงินสนับสนุนงวดที่ 2

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายรอง ได้แก่ ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป 456
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 92

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กรุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ลดการป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เมื่อโครงการเสร็จสิ้น การดำเนินการจะขับเคลื่อนให้ระดับหมู่บ้าน ภายใต้คณะกรรมการหมู่บ้าน โดยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นประธาน ส่วนงบประมาณที่จะขอสนับสนุนจะเข้าสู่กระบวนการของบกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล ต่อไป


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. อบรมเวทีปฐมนิเทศ และพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน

วันที่ 6 มิถุนายน 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะกรรมการ รวมจำนวน 3 คน ที่ดำเนิน "โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง หมู่ที่ 2 ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี" เข้าร่วมอบรมเวทีปฐมนิเทศ และพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน โดยแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานีและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ในวันที่ 6 - 7 มิถุนายน 2566
ณ ห้องประชุมเพนดูล่า 3 โรงแรมปาร์ค อินทาวน์ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี เพื่อให้ผู้รับทุนมีความเข้าใจถึงเป้าหมายการดำเนินโครงการ สามารถกำหนดแผนการดำเนินงานเพื่อเป็นกรอบดำเนินงานให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของประชาชนและชุมชนในแต่ละพื้นที่ และเพื่อเรียนรู้การบันทึกข้อมูลผ่านระบบบริหารโครงการแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับผิดชอบโครงการรับทราบถึงวัตถุประสงค์ของการให้ทุน จากแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี รวมถึงมีความรู้ในเรื่อง วิธีการบันทึกข้อมูลในระบบออนไลน์ "ฅนสร้างสุข" มีแนวทางการเบิกจ่ายเงินงบประมาณโครงการ รายงานการใช้จ่ายเงิน รวมถึงกระบวนการดำเนินโครงการ

 

3 0

2. ARE ครั้งที่ 1 ร่วมกับพี่เลี้ยง

วันที่ 6 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะกรรมการ รวมจำนวน 3 คน ที่ดำเนิน "โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง หมู่ที่ 2 ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี" ARE ร่วมกับพี่เลี้ยงครั้งที่ 1 โดยมีพี่เลี้ยงโครงการ คือนายอานัติ หวังกุหลำ ในกิจกรรมอบรมเวทีปฐมนิเทศ และพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน โดยแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานีและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ในวันที่ 6 - 7 มิถุนายน 2566
ณ ห้องประชุมเพนดูล่า 3 โรงแรมปาร์ค อินทาวน์ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี เพื่อความเข้าใจถึงเป้าหมายการดำเนินโครงการ สามารถกำหนดแผนการดำเนินเงานโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทำความเข้าใจถึงเป้าหมายการดำเนินโครงการ สามารถกำหนดแผนการดำเนินงานเพื่อเป็นกรอบดำเนินงานให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ร่วมระดมความคิดกับพี่เลี้ยงถึงความต้องการของประชาชนและชุมชนในพื้นที่ และเรียนรู้การบันทึกข้อมูลผ่านระบบบริหารโครงการแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี

 

3 0

3. ค่าพาหนะเดินทางและเบี้ยเลี้ยงเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน ครั้งที่ 1

วันที่ 3 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง ได้รับงบประมาณจากแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ประจำปี 2566 โดยประธานคณะกรรมการ และคณะกรรมการฝ่ายการเงิน เดินทางไปเบิกงบประมาณในการจัดกิจกรรม จำนวน 5 กิจกรรม ไปธนาคารกรุงไทย สาขายะรัง ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.00 - 14.00น.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นำเงินมาดำเนินจัดกิจกรรม จำนวน 5 กิจกรรม ดังนี้
จัดซื้อป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่และป้ายชื่อโครงการ
กิจกรรมจัดประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 1 กิจกรรมลงพื้นที่เก็บข้อมูลการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในชุมชนครั้งที่ 1 กิจกรรมการอบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ2ส และกิจกรรมจัดประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 2

 

3 0

4. ค่าจัดทำป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่และป้ายชื่อโครงการ

วันที่ 4 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผู้รับผิดชอบโครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง ดำเนินการติดต่อ ร้านตันหยงโฆษณา ตั้งอยู่ ถนนสิโรรส ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2566 เพื่อออกแบบจัดทำไวนิลป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่ จำนวน 1 ป้าย และป้ายชื่อโครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง จำนวน 1 ป้าย โดยมีตราสัญลักษณ์ สสส. สำหรับติดในบริเวณที่จัดกิจกรรมทุกครั้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง มีป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่ จำนวน 1 ป้าย และป้ายชื่อโครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง จำนวน 1 ป้าย เพื่อติดตั้งในการดำเนินกิจกรรมของโครงการ

 

0 0

5. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 1

วันที่ 5 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการได้ดำเนินการจัดกิจกรรม ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 1 ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.00 – 15.00น. มีผู้เข้าร่วม คือ คณะทำงานโครงการ จำนวน 15 คน ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตรัง หมู่ที่ 2 ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดคณะทำงานโครงการ เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจโครงการ รวมถึงแบ่งบทบาทหน้าที่ในที่ประชุม มีการชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ งบประมาณโครงการ การประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการตามบทบาทหน้าที่ และระดมความคิดในการออกแบบกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ให้สอดคล้องกับข้อมูลสถานการณ์ของกลุ่มเป้าหมายในชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดคณะกรรมการกลุ่ม 15 คน ที่มีโครงสร้างการดำเนินงานที่ชัดเจน โดยมาจากผู้ที่มีบทบาทหน้าที่ในชุมชนอยู่แล้ว ได้เเก่ เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ตรัง อสม. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บัณฑิตตำบล และเจ้าหน้าที่ อบต. คณะกรรมการได้ทำความเข้าใจเกี่บวกับบทบาทหน้าที่และได้รับบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน มีรูปแบบกิจกรรมและแผนจัดกิจกรรม

 

15 0

6. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในชุมชน ครั้งที่1

วันที่ 6 กรกฎาคม 2566 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการดำเนินการจัดกิจกรรมลงพื้นที่เก็บข้อมูลการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในชุมชนครั้งที่ 1 ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2566 เวลา 08.00 – 15.00 น. มีผู้เข้าร่วม คือ คณะทำงานโครงการ จำนวน 15 คน ณ อาคารอเนกประสงค์ วัดประเวศน์ภูผา หมู่ที่ 2 ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีข้อมูลด้านสุขภาพ การบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของคนในชุมชน เพื่อใช้สำหรับออกแบบกิจกรรมและเป็นข้อมูลตั้งต้นในการประเมินผลลัพธ์ความเปลี่ยนแปลง คณะกรรมการลงพื้นที่คัดกรองชาวบ้านตรัง หมู่ที่ 2 ที่มีอายุมากกว่า 15 ปี โดยการวัดความดันโลหิต เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว และลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลด้านสุขภาพในละแวกบ้าน โดยใช้แบบฟอร์มเก็บข้อมูลการสร้างเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรังระดับบุคคล ซึ่งมีชาวบ้านเข้าร่วมคัดกรอง จำนวน 126 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะกรรมการ มีข้อมูลการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของคนในชุมชน จำนวน 1 ชุด ผลการคัดกรอง พบว่าผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดระหว่าง 60 – 99 mg/dl มีจำนวน 34 คน ซึ่งอยู่ในภาวะปกติ ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือด 100 mg/dl ขึ้นไป มีจำนวน 92 คน ซึ่งมีภาวะเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของโครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง มีจำนวน 92 คน

 

15 0

7. การอบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ2ส

วันที่ 7 กรกฎาคม 2566 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการดำเนินการจัดกิจกรรมการอบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ2ส ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2566 เวลา 08.00 – 16.30 น. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมคือชาวบ้านกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 92 คน ณ อาคารอเนกประสงค์ วัดประเวศน์ภูผา หมู่ที่ 2 ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความรู้ในการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย และตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน มีการรับฟังการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในหัวข้อ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ2ส โดยวิทยากร นายอัมมาร บือซา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สต.ถนน
โดยแบ่งกลุ่มฐานการเรียนรู้เป็น 4 ฐาน ดังนี้
- ฐานที่ 1 เรื่องอาหาร : พูดถึงการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่, หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็มมากเกินไป, ลดอาหารประเภททอด ผัด หันมารับประทานอาหารประเภทต้ม นึง
- ฐานที่ 2 เรื่องการออกกำลังกาย : มีการสอนท่ากายบริหารที่เหมาะต่อทุกเพศทุกวัย ควรเคลื่อนไหวร่างกายและออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน ๆ ละ 30 นาที - ฐานที่ 3 เรื่องอารมณ์ : มีการประเมินภาวะซึมเศร้าแก่ชาวบ้าน โดยวิธี 2Q สอนวิธีการจัดการกับอารมณ์ ฝึกสมาธิและผ่อนคลายความเครียด เช่น ฟังเพลง ทำงานอดิเรก พบปะพูดคุยกับเพื่อนบ้าน - ฐานที่ 4 เรื่องสุราและการสูบบุหรี่ : มีการพูดถึงผลเสียของการดื่มสุราและการสูบบุหรี่ มีการเชิญชวนลด ละ เลิก เพราะเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้คนรอบข้าง หลังจากอบรม ได้มีการประเมินความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพตามหลัก 3อ2ส แก่ชาวบ้านกลุ่มเสี่ยง รูปแบบการประเมินให้กลุ่มเสี่ยงติดสติ๊กเกอร์ข้อใดถูกหรือผิด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

หลังจากอบรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ2ส พบว่า กลุ่มเป้าหมายจำนวน 85 คน (คิดเป็นร้อยละ 92 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) มีความรู้ในการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ร่วมถึงกลุ่มเป้าหมายเกิดความรู้และตระหนักถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

 

92 0

8. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 2

วันที่ 8 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการได้ดำเนินการจัดกิจกรรม ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 2 วันที่ 8 สิงหาคม 2566 เวลา 09.00 – 15.00 น. ผู้เข้าร่วม คือ คณะทำงานโครงการ จำนวน 15 คน ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตรัง หมู่ที่ 2 ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วัตถุประสงค์เพื่อวางแผนและออกแบบกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สอดคล้องกับข้อมูลสถานการณ์ของกลุ่มเป้าหมายในชุมชน มีติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรม ประธานคณะกรรมการได้ทบทวนบันไดผลลัพธ์ของโครงการ และรายงานความก้าวหน้าของการเงิน ในที่ประชุมมีมติประชุมการจัดกิจกรรมครั้งต่อไปในเดือนสิงหาคม จำนวน 2 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมประชุมกำหนดกติกาชุมชน จัดขึ้นในวันที่ 11 สิงหาคม 2566 โดยใช้งบประมาณ 9,200 บาท และกิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการและลงพื้นที่ติดตามผลการปฏิบัติตามกติกา พร้อมคืนข้อมูล จัดขึ้นในวันที่ 15 สิงหาคม 2566 โดยใช้งบประมาณ 9,200 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

โครงการได้มีการดำเนินงานของบันไดผลลัพธ์อยู่ในขั้นที่ 1 คือ เกิดคณะทำงานกลไกการติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีข้อตกลงในการทำงานที่ชัดเจนพร้อมทั้งมีการวางแผนการดำเนินงานและติดตามประเมินผลการดำเนินงานทุกครั้ง และมีรูปแบบกิจกรรมแผนการจัดกิจกรรม

 

15 0

9. ค่าพาหนะเดินทางและเบี้ยเลี้ยงเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน ครั้งที่ 2

วันที่ 10 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง ได้รับงบประมาณจากแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ประจำปี 2566 โดยประธานคณะกรรมการ และคณะกรรมการฝ่ายการเงิน เดินทางไปเบิกงบประมาณในการจัดกิจกรรม จำนวน 5 กิจกรรม ไปธนาคารกรุงไทย สาขายะรัง ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ในวันที่ 10 สิงหาคม2566 เวลา 09.00 - 14.00น.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นำเงินมาดำเนินจัดกิจกรรม จำนวน 5 กิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมประชุมกำหนดกติกาชุมชน จัดซื้อป้ายกติกาชุมชน กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการและลงพื้นที่ติดตามผลการปฏิบัติตามกติกาพร้อมคืนข้อมูล กิจกรรมจัดประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 3 และกิจกรรมจัดประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 4

 

3 0

10. ประชุมกำหนดกติกาชุมชน

วันที่ 11 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการดำเนินการจัดกิจกรรมประชุมกำหนดกติกาชุมชน ในวันที่ 11 สิงหาคม 2566 เวลา 09.00 – 15.30 น. มีผู้เข้าร่วม คือ ชาวบ้านกลุ่มเสียงโรคเบาหวาน จำนวน 92 คน ณ อาคารอเนกประสงค์ วัดประเวศน์ภูผา หมู่ที่ 2 ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดกติกาข้อตกลงร่วมของชุมชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน รูปแบบกิจกรรมมีการระดมความคิดหมุนเวียนเป็นฐาน ๆ ละ 30 นาที โดยมีคณะกรรมการที่เป็น อสม. บรรยายและควบคุมประจำแต่ละฐาน ได้แก่ - ฐานที่ 1 เรื่องอาหาร โดย อสม.พรทิพย์  แก้วมณี และอสม.สุทิน  ซ้ายศรี - ฐานที่ 2 เรื่องออกกำลังกาย โดย อสม.ปานระวี  รามแก้ว - ฐานที่ 3 เรื่องอารมณ์ โดย อสม.กัลยารัตน์  ไชยแก้ว - ฐานที่ 4 เรื่องสูบบุหรี่ โดย อสม.มาลิบ  แววสุวรรร  และอสม.ติ๋ม  กายประสิทธิ์ - ฐานที่ 5 เรื่องสุรา โดย อสม.สิริอร  ทับนิล และอสม.ยุพิน  พรหมจันทร์ โดยให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานระดมความคิดในแต่ละฐาน เสนอกฎกติกาว่าอยากเห็นอะไรในชุมชนเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ เมื่อได้ข้อมูลในแต่ละฐานคณะกรรมการจะนำมาสรุปให้ได้ฐานละ 1 ข้อ ที่นำมาเป็นกติกาชุมชนที่กลุ่มเสี่ยงสามารถร่วมกันปฏิบัติได้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดกติกาชุมชน 5 ข้อ ที่กลุ่มเสี่ยงสามารถร่วมกันปฏิบัติ   1. ลดอาหาร หวาน มัน เค็ม โดยตั้งกลุ่มไลน์ ส่งรูปเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ
  2. เต้นแอโรบิค ทุกวัน ๆ ละ 30 นาที เวลา 17.00 น. สถานที่ ศูนย์จิตอาสาพัฒนาชุมชน ตำบลตรัง (อบต. เก่า)
  3. เข้าวัดทำบุญในวันพระ ขึ้น 15 ค่ำ ของทุกเดือน
  4. ห้ามสูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ เช่น ในบริเวณวัด โรงเรียน และสถานที่ราชการ
  5. ห้ามดื่มสุราในพื้นที่สาธารณะ เช่น ในบริเวณวัด โรงเรียน และสถานที่ราชการ มีข้อตกลงการทำงานของคณะกรรมการที่ชัดเจน คือ การจัดเวรประจำวันในการเปิดคลิปวิดีโอเต้นแอโรบิค และการติดตามผลการปฏิบัติตามกติกาชมชน

 

92 0

11. จัดทำป้ายกติกาชุมชน

วันที่ 12 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผู้รับผิดชอบโครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง ดำเนินการติดต่อ ร้านตันหยงโฆษณา ตั้งอยู่ ถนนสิโรรส ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ในวันที่ 12 สิงหาคม 2566 เพื่อออกแบบจัดทำไวนิลป้ายกติกาชุมชน จำนวน 2 ป้าย รายละเอียดในป้ายกติกาชุมชน ข้อมูลดังนี้ 1. ลดอาหาร หวาน มัน เค็ม โดยตั้งกลุ่มไลน์ ส่งรูปเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ 2. เต้นแอโรบิค ทุกวัน ๆ ละ 30 นาที เวลา 17.00 น. สถานที่ ศูนย์จิตอาสาพัฒนาชุมชน ตำบลตรัง (อบต. เก่า) 3. เข้าวัดทำบุญในวันพระ ขึ้น 15 ค่ำ ของทุกเดือน 4. ห้ามสูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ เช่น ในบริเวณวัด โรงเรียน และสถานที่ราชการ 5. ห้ามดื่มสุราในพื้นที่สาธารณะ เช่น ในบริเวณวัด โรงเรียน และสถานที่ราชการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง มีป้ายกติกาชุมชนจำนวน 2 ป้าย เพื่อติดตั้งในพื้นที่ชุมชนบ้านตรัง และในการดำเนินกิจกรรม

 

0 0

12. เต้นแอโรบิค ทุกวัน วันละ 30 นาที เวลา 17.00 น. สถานที่ ศูนย์จิตอาสาพัฒนาชุมชน ต.ตรัง (อบต. เก่า)

วันที่ 12 สิงหาคม 2566 เวลา 17:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จากการจัดกิจกรรม ประชุมกำหนดกติกาชุมชน เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566 กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานได้ร่วมกำหนดข้อตกลงในการดำเนินกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้านออกกำลังกาย คือ เต้นแอโรบิค ทุกวัน ๆ ละ 30 นาที เวลา 17.00 น. สถานที่ ศูนย์จิตอาสาพัฒนาชุมชน ตำบลตรัง (อบต. เก่า)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการติดตามพบว่ากลุ่มเสี่ยงร่วมเต้นแอโรบิค จำนวน 57 คน (คิดเป็นร้อยละ 62 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) และทราบถึงปัญหาด้านสภาพอากาศ คือ ฝนตกทำให้บางวันต้องงดกิจกรรมการออกกำลังกาย การแก้ไขปัญหา คณะกรรมการโครงการได้ส่งคลิปวิดีโอการออกกำลังกายในกลุ่มไลน์ เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้เต้นแอโรบิคที่บ้าน

 

92 0

13. ลดอาหาร หวาน มัน เค็ม โดยตั้งกลุ่มไลน์ ส่งรูปเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ

วันที่ 12 สิงหาคม 2566 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จากการจัดกิจกรรมประชุมกำหนดกติกาชุมชน เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566 กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานได้ร่วมกำหนดข้อตกลงในการดำเนินกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้านอาหาร คือ ลดอาหาร หวาน มัน เค็ม โดยตั้งกลุ่มไลน์ ส่งรูปเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการติดตามเกี่ยวกับเมนูเพื่อสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงในแต่ละมื้อจะเห็นได้ว่ากลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารมากขึ้น และหันมารับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ลดการปรุงแต่ง เพิ่มผัก ลดข้าว หันมารับประทานข้าวกล้องและยังเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงมีการจัดจานมื้ออาหารสวยงามหน้ารับประทาน จำนวนกลุ่มเสี่ยงที่ส่งภาพเมนูอาหารมาในกลุ่มไลน์ จำนวน 28 คน (คิดเป็นร้อยละ 30 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน)

 

92 0

14. เข้าวัดทำบุญในวันพระ ขึ้น 15 ค่ำ ของทุกเดือน

วันที่ 12 สิงหาคม 2566 เวลา 07:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จากการจัดกิจกรรม ประชุมกำหนดกติกาชุมชน เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566 กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานได้ร่วมกำหนดข้อตกลงในการดำเนินกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้านอารมณ์ คือ เข้าวัดทำบุญในวันพระ ขึ้น 15 ค่ำ ของทุกเดือน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มเสี่ยงที่เข้าวัดทำบุญในวันพระ ขึ้น 15 ค่ำ ของทุกเดือน โดยการนุ่งผ้าไทย หิ้วปิ่นโต เข้าวัดร่วมสวดมนต์โดยกลุ่มเสี่ยงให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงทำกิจกรรมร่วมกันและได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น เพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดีลดความเครียดส่งผลให้อารมณ์และสุขภาพจิตของกลุ่มเสี่ยงดีขึ้น จำนวน 25 คน (คิดเป็นร้อยละ 27 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน)

 

92 0

15. ห้ามสูบบุหรี่ และดื่มสุราในพื้นที่สาธารณะ เช่น ในบริเวณวัด โรงเรียน และสถานที่ราชการ

วันที่ 12 สิงหาคม 2566 เวลา 07:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จากการจัดกิจกรรม ประชุมกำหนดกติกาชุมชน เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566 กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานได้ร่วมกำหนดข้อตกลงในการดำเนินกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้านสุรา และสูบบุหรี่ คือ ห้ามสูบบุหรี่ และดื่มสุราในพื้นที่สาธารณะ เช่น ในบริเวณวัด โรงเรียน และสถานที่ราชการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ด้านสูบบุหรี่ : จากการติดตามกลุ่มเสี่ยงให้ความร่วมมือและมีความตั้งใจในการพยายามลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ โดยหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงที่สามารถลดปริมาณการสูบบุหรี่ได้ คือ นายสายชล พรหมสุวรรณ อีกทั้งเมื่อมีเทศกาลงานบุญต่าง ๆที่จัดขึ้นภายในวัด พบว่ากลุ่มเสี่ยงจะไม่สูบบุหรี่ในสถานที่เขตหวงห้าม รวมถึงจะหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ในบริเวณที่อยู่อาศัยและมีผู้คน ถือว่ากิจกรรมนี้เป็นการปลูกฝังให้กลุ่มเสี่ยงมีความรับผิดต่อสังคมและคนรอบข้างมากขึ้น ด้านสุรา : จากการติดตามพบว่ากลุ่มเสี่ยงให้ความร่วมมือและมีความตั้งใจในการพยายามลด ละ เลิก การดื่มสุรา โดยเฉพาะช่วงเข้าพรรษา จะเห็นได้ว่ากลุ่มเสี่ยงละการดื่มสุราตลอดระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งทำให้กลุ่มเสี่ยงบางรายเกิดความคุ้นชินในการดื่มสุราที่น้อยลงและส่งผลให้เกิดการรวมกลุ่ม เพื่อสังสรรค์ดื่มสุราน้อยลงด้วยเช่นกัน

 

92 0

16. ประชาสัมพันธ์โครงการและลงพื้นที่ติดตามผลการปฏิบัติตามกติกาพร้อมคืนข้อมูล

วันที่ 15 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการดำเนินการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการและลงพื้นที่ติดตามผลการปฏิบัติตามกติกา พร้อมคืนข้อมูล ในวันที่ 15 สิงหาคม 2566 เวลา 09.00 – 15.00 น. มีผู้เข้าร่วม คือ ชาวบ้านกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 92 คน ณ อาคารอเนกประสงค์ วัดประเวศน์ภูผา หมู่ที่ 2 ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามกติกาชุมชนและการคืนข้อมูล มีรูปแบบกิจกรรมคือ ประธานคณะกรรมการทำการคืนข้อมูลจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในชุมชนคืนแก่กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานทั้ง 92 คน และชี้แจงบันไดผลลัพธ์ของโครงการ รวมถึงติดตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของกลุ่มเป้าหมายตามข้อตกลง มีการตอบข้อซักถามและข้อคิดเห็นในความเปลี่ยนแปลงหลังจากมีการเต้นแอโรบิค การลดอาหารหวาน มัน เค็ม การเข้าวัดทำบุญ และการลด ละ เลิกการสูบบุหรี่และดื่มสุรา จากความคิดเห็นของกลุ่มเสี่ยงสรุปได้ว่า กลุ่มเสี่ยงมีความพึงพอใจเป็นอย่างมาก และให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ทำให้กลุ่มเสี่ยงกลับมาใส่ใจและดูแลสุขภาพกันมากขึ้น และตระหนักถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรค

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประธานคณะกรรมการโครงการได้ทำการคืนข้อมูลแก่กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน คณะกรรมการดำเนินกิจกรรมได้รายงานสรุปผลการดำเนินงานและข้อมูลสถานการณ์การบริโภคอาหาร และการออกกำลังกายแก่กลุ่มเสี่ยง จากการติดตามของกลุ่มเสี่ยงพบว่า มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูแลสุขภาพกันมากขึ้น

 

92 0

17. ตรายางโครงการ

วันที่ 29 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง ได้รับงบประมาณจากแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานีและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ประจำปี 2566 ในการจัดทำปั๊มตรายางโครงการ ณ ห้างหุ้นส่วนจำกัด มะ แอดเวอร์ไทซิ่ง (ประเทศไทย) ตำบลอาเนาะรู อำเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ในวันที่ 29 สิงหาคม 2566

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ตรายางโครงการ จำนวน 1 ชุด ใช้ในการปั้มเอกสารการเงินของโครงการ

 

0 0

18. ค่าพาหนะเดินทางและเบี้ยเลี้ยงเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน ครั้งที่ 3

วันที่ 29 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง ได้รับงบประมาณจากแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ประจำปี 2566 โดยประธานคณะกรรมการ และคณะกรรมการฝ่ายการเงิน เดินทางไปเบิกงบประมาณในการจัดกิจกรรม จำนวน 3 กิจกรรม ที่ธนาคารกรุงไทย สาขาบิ๊กซีปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ในวันที่ 29 สิงหาคม 2566 เวลา 09.00 - 14.00น.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นำเงินมาดำเนินจัดกิจกรรม จำนวน 3 กิจกรรม ดังนี้
จัดซื้อตรายางหมึกในตัว จัดซื้อป้ายบันไดผลลัพธ์ และกิจกรรมประสาน อปท ระดมทุนสร้างหรือจัดหาอุปกรณ์ออกกำลังกาย

 

3 0

19. ARE ครั้งที่ 2 ร่วมกับพี่เลี้ยง

วันที่ 31 สิงหาคม 2566 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประธานคณะกรรมการโครงการ และตัวแทนคณะกรรมการ รวมจำนวน 3 คน ได้เข้าร่วม ARE ร่วมกับพี่เลี้ยงครั้งที่ 1 โดยมีพี่เลี้ยงโครงการ คือนายอานัติ หวังกุหลำ ในวันที่ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เวลา 10.00- 14.00น. ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตรัง หมู่ที่ 2 ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นของโครงการตามบันไดผลลัพธ์ซึ่งมีการทบทวนบันไดผลลัพธ์ และการตรวจสอบเอกสารการเงินเบื้องต้น ผู้รับผิดชอบโครงการได้นำเสนอกิจกรรมที่ได้ดำเนินการแล้ว โดยนำเสนอผ่านเเพลตฟอร์ม PowerPoint

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการดำเนินกิจกรรม บันไดผลลัพธ์ของโครงการ อยู่ในขั้นที่ 1 คือ เกิดคณะทำงานกลไกการติดตามกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และกำลังดำเนินบันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 2 ต่อไป รวมถึงได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับปัญหาที่พบเจอ และหาวิธีแก้ไข ทำให้มีเเนวทางในการปรับปรุงเเก้ไขเอกสารการเงิน

 

3 0

20. ค่าจัดทำป้ายบันไดผลลัพธ์

วันที่ 2 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผู้รับผิดชอบโครงการได้จ้างทำไวนิล ป้ายบันไดผลลัพธ์ จำนวน 1 ป้าย ณ ร้านตันหยงโฆษณา ถนนสิโรรส ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ในวันที่ 2 กันยายน 2566 เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมและดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ป้ายบันไดผลลัพธ์ จำนวน 1 ป้าย เพื่อใช้ประกอบการติดตามผลการดำเนินโครงการ

 

0 0

21. ประสาน อปท ระดมทุนสร้างหรือจัดหาอุปกรณ์ออกกำลังกาย

วันที่ 4 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการดำเนินการจัดกิจกรรมประสาน อปท ระดมทุนสร้างหรือจัดหาอุปกรณ์ออกกำลังกาย ในวันวันที่ 4 กันยายน 2566 เวลา 09.00 – 15.00 น. มีผู้เข้าร่วม จำนวน 20 คน ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตรัง, เจ้าหน้าที่สาธารณะสุข, ผอ.รพ.สต.ตรัง, เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ตรัง และคณะกรรมการโครงการ ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตรัง หมู่ที่ 2 ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีสถานที่รวมกลุ่มออกกำลังกายในที่ร่มของชุมชนอย่างน้อย 1 แห่ง เป็นการร่วมระดมความคิดเห็นในการหาข้อเสนอและวิธีการเพื่อให้สามารถออกกำลังกายในสถานที่ร่มซึ่งจะทำให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินกิจกรรม เนื่องจากการจัดกิจกรรมออกกำลังกายที่ผ่านมา พบว่าอุปสรรคที่เกิดขึ้นคือ เมื่อเกิดฝนตกการดำเนินกิจกรรมออกกำลังกายจะต้องยุติลง ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการจัดกิจกรรม ในที่ประชุมประธานคณะกรรมการได้นำเสนออุปสรรคในการออกกำลังกาย โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อให้การออกกำลังกายในชุมชนบ้านตรังมีความยั่งยืนมากที่สุด โดยกระบวนการขั้นที่ 1 เกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะกรรมการที่มีการบริหารจัดการด้านการออกกำลังกาย และกระบวนการขั้นที่ 2 คือ การขอสนับสนุนและขอความคิดเห็นจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตรัง เรื่องการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการออกกำลังกาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตรัง มีมติในที่ประชุมเห็นว่า ควรเพิ่มคณะกรรมการที่มีการบริหารจัดการด้านการออกกำลังกาย จากเดิม 1 หมู่บ้าน คือหมู่ที่ 2 บ้านตรัง ให้เป็นทั้ง 4 หมู่บ้านในตำบลตรัง และเกิดสถานที่ออกกำลังกายร่วมกันระดับตำบล คือ ณ สนามกีฬาอบต.ตรัง มีรูปแบบการออกกำลังกาย เดิน -วิ่ง เดือนละ 1 ครั้ง คือ ทุกวันพุธ ในสัปดาห์ที่ 2 ของทุกเดือน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตรัง มีมติในที่ประชุมเรื่องการจัดหาอุปกรณ์ออกกำลังกายและสถานที่ร่มออกกำลังกายในชุมชนบ้านตรัง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตรังเห็นควรให้มีการศึกษาการจัดหาอุปกรณ์เพื่อให้มีการออกกำลังกายที่ยั่งยืนและมีสถานที่ร่มรองรับ หากสภาพอากาสไม่เอื้ออำนวยต่อการออกกำลังกาย คือ อาคารอเนกประสงค์ ณ วัดประเวศน์ภูผาที่มีพื้นที่ร่มชัดเจน สรุปได้ว่ามีสถานที่รวมกลุ่มออกกำลังกาย 2 แห่ง คือ สถานที่กลางแจ้งของชุมชน 1 แห่ง และมีสถานที่ร่มรองรับ 1 แห่ง

 

20 0

22. อบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 1/2566

วันที่ 25 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

แผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี ได้กำหนดอบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 1/2566 ในวันที่ 25 กันยายน 2566 เวลา 08.30 - 17.30 น. ผู้เข้าร่วม คือผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะกรรมการ รวมจำนวน 3 คน ณ ห้องประชุมเพนดูล่า 3 โรงแรมปาร์ค อินทาวน์ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี เพื่อให้ผู้รับทุนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรค และผลลัพธ์การดำเนินงานที่ผ่านมา ตลอดจนเพื่อให้แผนงานร่วมทุนฯ นำสิ่งที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปปรับปรุงการดำเนินงานในช่วงระยะเวลาที่เหลือ และนำประเด็นที่เป็นปัญหาอุปสรรค หาแนวทางแก้ไขต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับผิดชอบโครงการร่วมเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับโครงการอื่น ๆ โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล วิทยากร และนายมุคตาร วายา ผู้ช่วยวิทยากรในการพูดคุยแลกเปลี่ยน และมีการเรียนรู้เพิ่มเติมการบันทึกข้อมูลในระบบออนไลน์ "ฅนสร้างสุข" การทำตามแผนขั้นบันไดผลลัพธ์ ระเบียบการเงิน และเอกสารต่าง ๆการเงิน

 

3 0

23. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 3

วันที่ 4 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการได้ดำเนินการจัดกิจกรรม ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 3 ในวันที่ 4 ตุลาคม 2566 เวลา 09.00  – 15.00 น. ผู้เข้าร่วม คือ คณะทำงานโครงการ จำนวน 15 คน ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตรัง หมู่ที่ 2 ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วัตถุประสงค์เพื่อวางแผนและออกแบบกิจกรรม และรายงานการติดตามผลการดำเนินงาน ในที่ประชุมคณะกรรมได้รายงานผลการติดตามกติกาชุมชน ทั้ง 5 ด้าน ประธานคณะกรรมการได้ทบทวนบันไดผลลัพธ์ของโครงการ รายงานความก้าวหน้าของโครงการ รายงานการเงินให้คณะกรรมการเงินรับทราบ และมีการแบ่งบทบาทหน้าที่คณะทำงานในแต่ละกิจกรรม ได้มีการมติในที่ประชุม เรื่องการจัดกิจกรรมครั้งต่อไปในเดือนตุลาคม จำนวน 2 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมจัดเวทีชุมชนกำหนดรูปแบบการออกกำลังกาย จัดขึ้นในวันที่ 20 ตุลาคม 2566 โดยใช้งบประมาณ 9,200 บาท และกิจกรรมแลกเปลี่ยนผู้สนใจจัดทำเมนูอาหารสุขภาพ จัดขึ้นในวันที่ 24 ตุลาคม 2566 โดยใช้งบประมาณ 7,600 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

บันไดผลลัพธ์ : โครงการได้มีการดำเนินงานของบันไดผลลัพธ์อยู่ในขั้นที่ 2 คือ กลุ่มเสี่ยงเกิดความรู้และตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย กติกาชุมชน : มีข้อมูลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ที่ได้จากการติดตามกลุ่มเป้าหมายโดยคณะทำงาน ผลการติดตามกติกาชุมชน ทั้ง 5 ด้าน ดังนี้ ด้านที่ 1 ลดอาหาร หวาน มัน เค็ม โดยตั้งกลุ่มไลน์ ส่งรูปเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ : พบว่า จำนวนกลุ่มเสี่ยงที่ส่งรูปเมนูอาหารในกลุ่มไลน์ จำนวน 24 คน เมนูส่วนใหญ่จะเป็นข้าวยำ ผลไม้ น้ำพริกผักลวก ด้านที่ 2 เต้นแอโรบิค ทุกวัน ๆ ละ 30 นาที เวลา 17.00 น. สถานที่ ศูนย์จิตอาสาพัฒนาชุมชน ตำบลตรัง (อบต. เก่า) : พบว่า จำนวนกลุ่มเสี่ยงที่ร่วมเต้นแอโรบิค จำนวน 57 คน พบปัญหาด้านสภาพอากาศ คือ ฝนตก คณะกรรมการจึงได้มีการส่งคลิปวิดีโอการออกกำลังกายในกลุ่มไลน์ เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้เต้นแอโรบิคที่บ้าน ด้านที่ 3 เข้าวัดทำบุญในวันพระ ขึ้น 15 ค่ำ ของทุกเดือน : พบว่า จำนวนกลุ่มเสี่ยงที่เข้าวัดทำบุญ จำนวน 25 คน โดยการนุ่งผ้าไทย หิ้วปิ่นโต เข้าวัดร่วมสวดมนต์ซึ่งทำให้เป็นการส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงทำกิจกรรมร่วมกันและได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น เพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดีลดความเครียดส่งผลให้อารมณ์และสุขภาพจิตดีขึ้น ด้านที่ 4 ห้ามสูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ เช่น ในบริเวณวัด โรงเรียน และสถานที่ราชการ : พบว่า กลุ่มเสี่ยงให้ความร่วมมือและมีความตั้งใจในการพยายามลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ โดยหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงที่สามารถลดปริมาณการสูบได้แล้ว คือ นายสายชล พรหมสุรรณ อีกทั้งเมื่อมีเทศกาลงานบุญต่าง ๆที่จัดขึ้นภายในวัด พบว่ากลุ่มเสี่ยงจะไม่สูบบุหรี่ในสถานที่เขตหวงห้าม ด้านที่ 5 ห้ามดื่มสุราในพื้นที่สาธารณะ เช่น ในบริเวณวัด โรงเรียน และสถานที่ราชการ : พบว่า กลุ่มเสี่ยงให้ความร่วมมือและมีความตั้งใจในการพยายามลด ละ เลิก การดื่มสุรา โดยเฉพาะช่วงนี้เป็นช่วงเข้าพรรษา จะเห็นได้ว่ากลุ่มเสี่ยงละการดื่มสุราตลอดระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งทำให้กลุ่มเสี่ยงบางรายเกิดความคุ้นชินในการดื่มสุราน้อยลง

 

15 0

24. ค่าพาหนะเดินทางและเบี้ยเลี้ยงเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน ครั้งที่ 4

วันที่ 19 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง ได้รับงบประมาณจากแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ประจำปี 2566
โดยประธานคณะกรรมการ และคณะกรรมการฝ่ายการเงิน เดินทางไปเบิกงบประมาณในการจัดกิจกรรม จำนวน 2 กิจกรรม ที่ธนาคารกรุงไทยสาขายะรัง ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ในวันที่ 19 ตุลาคม 2566 เวลา 09.00 - 14.00น.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นำเงินมาดำเนินจัดกิจกรรม จำนวน 2 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมเวทีชุมชนกำหนดรูปแบบออกกำลังกาย และกิจกรรมแลกเปลี่ยนผู้สนใจจัดทำเมนูอาหารสุขภาพ

 

2 0

25. จัดเวทีชุมชนกำหนดรูปแบบออกกำลังกาย

วันที่ 20 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการดำเนินการจัดกิจกรรมจัดเวทีชุมชนกำหนดรูปแบบการออกกำลังกาย ในวันที่ 20 ตุลาคม 2566 เวลา 09.00  – 15.00 น. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม คือ ชาวบ้านกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 92 คน ณ อาคารอเนกประสงค์ วัดประเวศน์ภูผา หมู่ที่ 2 ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมีรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมตามช่วงวัย รูปแบบกิจกรรมให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานช่วยระดมความคิดเห็นในการออกแบบการออกกำลังกายให้เหมาะสมตามวัย และบริบทพื้นที่ โดยกลุ่มเสี่ยงเสนอรูปแบบการออกกำลังกายมา 3 รูปแบบ ดังนี้ 1.เดิน-วิ่ง 2.ปั่นจักรยาน 3.เต้นแอโรบิค โดยให้กลุ่มเสี่ยงเลือกว่าสนใจจะออกกำลังกายในรูปแบบไหน และให้ไปอยู่ประจำฐานนั้น พร้อมให้กลุ่มเสี่ยงเสนอและตกลงร่วมกันในเรื่องของ วัน เวลา และสถานที่ ในการออกกำลังกาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มเป้าหมายมีการวางแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยมีการระดมความคิดเกี่ยวกับการจัดสรรเวลาสำหรับการออกกำลังกายร่วมกัน เกิดรูปแบบการออกกำลังกายของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 3 รูปแบบ ดังนี้ รูปแบบเดิน-วิ่ง : ร่วมเดิน-วิ่ง กับโครงการเดิน-วิ่ง ของ อบต. ในวันพุธ สัปดาห์ที่ 2 ของเดือน สถานที่ ลานกีฬา อบต.ตรัง
รูปแบบปั่นจักรยาน : ปั่นจักรยานทุกวันอาทิตย์ เวลา 17.00 น. จุดนัดพบหลาบ้านตรัง รูปแบบเต้นแอโรบิค : เต้นแอโรบิคทุกวัน ๆ ละ 30 นาที เวลา 17.00 น. สถานที่ อบต.เก่า

 

92 0

26. ปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 17.00น.

วันที่ 22 ตุลาคม 2566 เวลา 17:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จากการจัดกิจกรรม จัดเวทีชุมชนกำหนดรูปแบบการออกกำลังกาย เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2566 กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานได้ร่วมระดมความคิดเห็นในการออกกำลังกายให้เหมาะสม กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานได้กำหนดรูปแบบการออกกำลังกายโดยการ "ปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพ" ปั่นทุกวันอาทิตย์ เวลา 17.00 น. จุดนัดพบ หลาบ้านตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

รูปแบบการออกกำลังกายด้าน ปั่นจักรยาน พบว่ามีกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมออกกำลังกาย จำนวน 32 คน (คิดเป็นร้อยละ 35 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน)

 

92 0

27. แลกเปลี่ยนผู้สนใจเมนูอาหารสุขภาพ

วันที่ 24 ตุลาคม 2566 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการดำเนินการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนผู้สนใจจัดทำเมนูอาหารสุขภาพ ในวันที่ 24 ตุลาคม 2566 เวลา 08.30 – 16.30 น. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม คือ ชาวบ้านกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 40 คน ณ อาคารอเนกประสงค์ วัดประเวศน์ภูผา หมู่ที่ 2 ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดอาหารสุขภาพ 1 เมนู 1 ครอบครัว มีการรับฟังการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในหัวข้อ ทำอาหารธรรมด๊า ธรรมดา ให้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพได้ ไม่ใช่เรื่องยาก และอาหารสำหรับการควบคุมโรค NCDS โดยวิทยากร ผศ.ดร.ลักษณา ไชยมงคล อาจารย์ประจำหลักสูตรโภชนศาสตร์และการกำหนดอาหาร และมีกิจกรรมการแบ่งกลุ่ม 4 กลุ่ม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเมนูอาหาร เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานบอกเมนูอาหารที่ทานเป็นประจำ ทั้งอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และอาหารที่เสี่ยงต่อโรค พร้อมให้กลุ่มเสี่ยงบอกวิธีลดเมนูที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค หลังจัดกิจกรรมได้มีการประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร รูปแบบการประเมินให้กลุ่มเสี่ยงติดสติ๊กเกอร์ข้อใดถูกหรือผิด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ในการบริโภคอาหารสุขภาพ จำนวน 35 คน (คิดเป็นร้อยละ 88 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 40 คน) ทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความรู้และตระหนักถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร

 

40 0

28. เดิน - วิ่ง

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 เวลา 07:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จากการจัดกิจกรรม จัดเวทีชุมชนกำหนดรูปแบบการออกกำลังกาย เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2566 กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานได้ร่วมระดมความคิดเห็นในการออกกำลังกายให้เหมาะสม กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานได้กำหนดรูปแบบการออกกำลังกายโดยการ "เดิน - วิ่ง" วันพุธ สัปดาห์ที่ 2 ของเดือน จุดนัดพบหน้าวัดประเวศน์ภูผา เวลา 06.00น . โดยร่วมตัวกันและเดินไปยั่ง สนามกีฬา อบต.ตรัง เพื่อร่วมเดิน-วิ่งกับโครงการเดิน-วิ่ง ของ อบต.ตรัง ที่จัดขึ้น ได้มีการเต้นแอโรบิคในท่าเบื้องต้น ก่อนจะร่วมกันเดิน-วิ่ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

รูปแบบการออกกำลังกายด้าน เดิน-วิ่ง พบว่ามีกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมออกกำลังกาย จำนวน 31 คน (คิดเป็นร้อยละ 34 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน)

 

92 0

29. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 4

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการดำเนินการจัดกิจกรรม ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 4 ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00 – 15.00 น. ผู้เข้าร่วม คือคณะทำงานโครงการ จำนวน 15 คน ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตรัง หมู่ที่ 2 ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วัตถุประสงค์เพื่อพูดคุยเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ เเละติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรม รวมถึงการร่วมกันให้ข้อคิดเห็นเเละข้อเสนอเเนะในการดำเนินงาน การเเก้ไขปัญหาอุปสรรคเเละการปรับปรุงแผนการดำเนินงาน ในที่ประชุมมีมติในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป จำนวน 3 กิจกรรม ดังนี้
1. กิจกรรมรับสมัครบุคคลต้นแบบเข้าร่วมโครงการ จัดขึ้นในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 โดยใช้งบประมาณ 5,000 บาท 2. กิจกรรมประกวดเมนูอาหารสุขภาพ (1 ครอบครัว 1 เมนู) จัดขึ้นในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 โดยใช้งบประมาณ 7,600 บาท
3. กิจกรรมลงพื้นที่เก็บข้อมูลการบริโภคอาหารเเละการออกกำลังกายในครั้งที่ 2 จัดขึ้นในวันที่ 6 ธันวาคม 2566 โดยใช้งบประมาณ 2,000 บาท
นอกจากนี้มีการทบทวนบันไดผลลัพธ์ของโครงการ รายงานความก้าวหน้าของโครงการ รายงานการเงินให้คณะการเงินรับทราบ และมีการแบ่งบทบาทหน้าที่คณะทำงานในแต่ละกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

บันไดผลลัพธ์ของโครงการกำลังดำเนินการอยู่ในขั้นที่ 3 คือ เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คณะกรรมการได้ติดตามการปฏิบัติตามกติกาชุมชนของกลุ่มเสี่ยงที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง วางแผนการดำเนินกิจกรรมให้สอดคล้องกับชุมชน

 

15 0

30. ค่าพาหนะเดินทางและเบี้ยเลี้ยงเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน ครั้งที่ 5

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง ได้รับงบประมาณจากแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ประจำปี 2566
โดยประธานคณะกรรมการ และคณะกรรมการฝ่ายการเงิน เดินทางไปเบิกงบประมาณในการจัดกิจกรรม จำนวน 4 กิจกรรม ที่ธนาคารกรุงไทยสาขายะรัง ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00-14.00น.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นำเงินมาดำเนินจัดกิจกรรม จำนวน 4 กิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมรับสมัครบุคคลต้นแบบเข้าร่วมโครงการ กิจกรรมประกวดเมนูอาหารสุขภาพ (1 ครอบครัว 1 เมนู) กิจกรรมลงพื้นที่เก็บข้อมูลการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในชุมชน ครั้งที่ 2 และกิจกรรมประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 5

 

2 0

31. ARE ครั้งที่ 3 ร่วมกับพี่เลี้ยง

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประธานคณะกรรมการโครงการ และตัวแทนคณะกรรมการ รวมจำนวน 3 คน ได้เข้าร่วม ARE ร่วมกับพี่เลี้ยง ครั้งที่ 3 โดยมีพี่เลี้ยง คือ นายอานัติ หวังกุหลำ ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2566 เวลา 10.00 - 14.00 น. ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตรัง หมู่ที่ 2 ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี ได้มีการทบทวนบันไดผลลัพธ์ การรายงานผลการดำเนินการโครงการในระบบออนไลน์ฅนสร้างสุข และตรวจสอบเอกสารการเงิน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการดำเนินกิจกรรม บันไดผลลัพธ์ของโครงการ จะเห็นได้ว่าโครงการดำเนินอยู่ในขั้นที่ 3 คือ เกิดการปรับสภาพเเวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับปัญหาที่พบเจอในการดำเนินโครงการและร่วมกันหาวิธีแก้ไข

 

3 0

32. รับสมัครบุคคลต้นแบบเข้าร่วมโครงการ

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการดำเนินการจัดกิจกรรมรับสมัครบุคคลต้นเเบบเข้าร่วมโครงการ ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 เวลา 08.30 - 15.30 น. ณ อาคารอเนกประสงค์ วัดประเวศน์ภูผา หมู่ที่ 2 ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี มีผู้เข้าร่วม คือชาวบ้านกลุ่มเสี่ยง จำนวน 50 คน วัตถุประสงค์เพื่อมีบุคคลต้นเเบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเเละการออกกำลังกายอย่างน้อย 10 คน โดยผู้ที่สมัครเป็นบุคคลต้นเเบบจะต้องมีคุณสมบัติ คือสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เเละการออกกำลังกายได้ในตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการมากที่สุด ผู้ที่ได้เป็นบุคคลต้นเเบบจะได้รับประกาศนียบัตร เเละรางวัลเป็นขวัญกำลังใจในการดูเเลสุขภาพต่อไป ซึ่งมีเกณฑ์การตัดสิน คือจะต้องมีการปฏิบัติตามกติกาชุมชนทั้ง 5 ด้าน เเละปริมาณระดับน้ำตาลในเลือดในการตรวจคัดกรองครั้งที่ 2 ลดลง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีผู้สมัครเข้าร่วมเป็นบุคคลต้นเเบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเเละการออกกำลังกาย จำนวน 12 คน ได้เเก่ 1. นายสวัสดิ์ ลิ้มเจริญ 2. นางจำเนียร พรหมศิริ 3. นางภัทราวรรณ หนูชูเเก้ว 4. นางสุทิน ซ้ายศรี 5. นางยุพิน พรหมจันทร์ 6. นางวนิดา สุวรรณชาตรี 7. นางสายัน ชูสุวรรณ 8. นางสาวสุนันทา รามเเก้ว 9. นางอนงค์ สันทัด 10. นางเตือนใจ อุปลา 11. นางสาวยุพิน เพ็ชรมณี 12. นางพรรณี กำลังหาร

 

50 0

33. ประกวดเมนูอาหารสุขภาพ (1 ครอบครัว 1เมนู)

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการดำเนินการจัดกิจกรรมประกวดเมนูอาหารสุขภาพ (1 ครอบครัว 1เมนู) ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 เวลา 08.30 - 15.30 น. ณ อาคารอเนกประสงค์ วัดประเวศน์ภูผา หมู่ที่ 2 ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี มีผู้เข้าร่วม คือชาวบ้านกลุ่มเสี่ยง จำนวน 60 คน วัตถุประสงค์เพื่อประกวดเมนูอาหารสุขภาพ โดยมีรูปแบบในการจัดกิจกรรม คือให้กลุ่มเสี่ยงหยิบฉลากหมายเลขเพื่อเเบ่งทีมในการประกอบอาหารสุขภาพ จำนวน 4 ทีม ทีมละ 15 คน ซึ่งมีกฎกติกาการเเข่งขัน คือผู้เเข่งขันต้องเเข่งขันกันประกอบอาหารเมนูเพื่อสุขภาพ 1 ทีม 1 สำรับอาหาร ภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที โดยวัตถุดิบอุปกรณ์การประกอบอาหารต่าง ๆ รวมถึงข้าวสวยทางคณะกรรมการดำเนินงานได้เตรียมไว้ให้เเล้ว เกณฑ์การตัดสินเมนูเพื่อสุขภาพ เกณฑ์การให้คะเเนนเต็ม 100 คะเเนน มีดังนี้ 1. ความสะอาด ถูกหลักสุขลักษณะของผู้เเข่งขัน 25 คะเเนน 2. รสชาติของอาหาร (ไม่หวาน ไม่มัน ไม่เค็ม) ซึ่งจะมีการวัดระดับความเค็มของอาหารโดยใช้เครื่องวัดความเค็ม 25 คะเเนน 3. วิธีการปรุงประกอบอาหาร 25 คะเเนน 4. การจัดตกเเต่งจานอาหาร 25 คะเเนน โดยมีคณะกรรมการตัดสิน 4 ท่าน ได้เเก่ 1. คุณกัลยา เอี่ยวสกุล ผู้อำนวยการสมาคมคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดปัตตานี 2. คุณสินีนาฏ ไชยของพรม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 3. คุณโยธิวา มณีกุล นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ 4. คุณอารียา เหมรา นักวิชาการสาธารณสุข

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มเสี่ยงทั้ง 4 ทีม สามารถประกอบเมนูอาหารตรงตามหลักการ ด้านเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ ที่ได้รับการอบรมจากวิทยากร ผศ.ดร.ลักษณา ไชยมงคล อาจารย์ประจำหลักสูตรโภชนศาสตร์และการกำหนดอาหาร ซึ่งสื่อให้เห็นว่ากลุ่มเสี่ยงสามารถนำความรู้ความเข้าใจที่ได้จากการอบรมนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง นอกจากนี้ทั้ง 4 กลุ่มสามารถตกเเต่งจานอาหารได้อย่างสวยงามน่ารับประทาน ซึ่งทางนายมุคตาร วายา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ได้มีการวัดระดับความเค็มของอาหาร เเต่เมื่อมีการวัดระดับความเค็มเมนูอาหารของทั้ง 4 ทีม ผลปรากฎว่า ส่วนใหญ่ในเมนูน้ำพริกและน้ำจิ้มซีฟู้ดจะมีระดับความเค็มเกินเกณฑ์ และมีเเค่ 1 ทีม ที่มีระดับความเค็มน้อยที่สุดตามเกณฑ์ จึงทำให้ชนะในการประกวดเมนูอาหารครั้งนี้

 

60 0

34. การปลูกผักกินเอง อย่างน้อย 5 ชนิดต่อครัวเรือน

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จากการจัดกิจกรรม ประกวดเมนูอาหารสุขภาพ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 คุณกัลยา เอี่ยวสกุล คณะกรรมการตัดสินเมนูอาหารได้มีข้อเสนอแนะให้มีกติกาชุมชนเพิ่มขึ้นอีก 1 ด้าน คือปลูกผักกินเองอย่างน้อย 5 ชนิดต่อครัวเรือน ซึ่งกลุ่มเสี่ยงมีความเห็นด้วยกับข้อเสนอเเนะดังกล่าว

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มเสี่ยงมีการปลูกผักกินเอง อย่างน้อย 5 ชนิดต่อครัวเรือน จำนวน 77 คน (คิดเป็นร้อยละ 84 ของกลุ่มเป้าหมาน จำนวน 92 คน) มีผักทานสด อร่อย สะอาด ปลอดภัยจากสารปนเปื้อน และดีต่อสุขภาพ

 

92 0

35. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในชุมชน ครั้งที่ 2

วันที่ 6 ธันวาคม 2566 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการดำเนินการจัดกิจกรรมลงพื้นที่เก็บข้อมูลการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในชุมชนครั้งที่ 2 ในวันที่ 6 ธันวาคม 2566 เวลา 08.00 – 15.00 น. มีผู้เข้าร่วม คือ คณะทำงานโครงการ จำนวน 15 คน ทำการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 92 คน ณ อาคารอเนกประสงค์ วัดประเวศน์ภูผา หมู่ 2 ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเปลี่ยนแปลงในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคอาหารเเละการออกกำลังกายของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 92 คน มีรูปแบบกิจกรรมโดยการวัดความดันโลหิต เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว และลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลด้านสุขภาพในละแวกบ้าน โดยใช้แบบฟอร์มเก็บข้อมูลการสร้างเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรังระดับบุคคล เพื่อดูความเปลี่ยนแปลงก่อน-หลังโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง พบว่า
กลุ่มเสี่ยงที่ระดับน้ำตาลลดลงมีทั้งหมด จำนวน 71 คน ดังนี้ - กลุ่มเสี่ยงที่ระดับน้ำตาลต่ำกว่า 100 mg/dl จำนวน 32 คน - กลุ่มเสี่ยงที่ระดับน้ำตาลลดลงเเต่ยังเกิน mg/dl จำนวน 39 คน ดังนั้น กลุ่มเสี่ยง จำนวน 71 คน (คิดเป็นร้อยละ 77 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร กลุ่มเสี่ยงที่ระดับน้ำตาลไม่ลด จำนวน 21 คน ดังนี้
- กลุ่มเสี่ยงที่ระดับน้ำตาลเท่าเดิมมี จำนวน 2 คน - กลุ่มเสี่ยงที่ระดับน้ำตาลเพิ่มขึ้นมี จำนวน 19 คน ดังนั้น กลุ่มเสี่ยง จำนวน 21 คน (คิดเป็นร้อยละ 23 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) ไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร

 

15 0

36. ประชุมคณะทำงานเร่งด่วน "เรื่องการปรับปรุงกติกาชุมชน"

วันที่ 6 ธันวาคม 2566 เวลา 15:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จากการจัดกิจกรรมประกวดเมนูอาหารสุขภาพ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 คุณกัลยา เอี่ยวสกุล คณะกรรมการตัดสินเมนูอาหารได้มีข้อเสนอแนะให้มีกติกาชุมชนเพิ่มขึ้นอีก 1 ด้าน คือปลูกผักกินเองอย่างน้อย 5 ชนิดต่อครัวเรือน ซึ่งกลุ่มเสี่ยงมีความเห็นด้วยกับข้อเสนอเเนะดังกล่าว ดังนั้นคณะกรรมการดำเนินงานจึงได้จัดกิจกรรมประชุมคณะทำงานเร่งด่วน "เรื่องการปรับปรุงกติกาชุมชน" ในวันที่ 6 ธันวาคม 2566 เวลา 15.00 - 16.00 น. ณ อาคารอเนกประสงค์ วัดประเวศน์ภูผา มีผู้เข้าร่วม คือคณะกรรมการที่เป็นอสม. จำนวน 8 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดกติกาข้อตกลงร่วมของชุมชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเเละการออกกำลังกาย จำนวน 6 ข้อ ดังนี้ 1. ลดอาหาร หวาน มัน เค็ม โดยตั้งกลุ่มไลน์ ส่งรูปเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ
2. เต้นแอโรบิค ทุกวันๆละ 30 นาที เวลา 17.00 น. สถานที่ ศูนย์จิตอาสาพัฒนาชุมชน ตำบลตรัง (อบต. เก่า)
3. เข้าวัดทำบุญในวันพระ ขึ้น 15 ค่ำ ของทุกเดือน
4. ห้ามสูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ เช่น ในบริเวณวัด โรงเรียน และสถานที่ราชการ
5. ห้ามดื่มสุราในพื้นที่สาธารณะ เช่น ในบริเวณวัด โรงเรียน และสถานที่ราชการ 6. ปลูกผักกินเองอย่างน้อย 5 ชนิดต่อครัวเรือน

 

8 0

37. ค่าพาหนะเดินทางและเบี้ยเลี้ยงในการตรวจสอบเอกสารการเงินสนับสนุนทุนแผนงานร่วมทุนฯ

วันที่ 19 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการดำเนินงาน จำนวน 3 คน ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้คีย์ข้อมูลกิจกรรมในระบบออนไลน์ และผู้รับผิดชอบด้านเอกสารการเงิน เดินทางไป ณ กองสาสุข อาคารศูนย์รับเเจ้งเหตุเเละสั่งการการเเพทย์ฉุกเฉิน ในวันที่ 19 ธันวาคม 2566 เวลา 09.00 - 14.00 น. เพื่อเข้าร่วมการตรวจสอบเอกสารการเงินเบื้องต้นของโครงการย่อยแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้รับการตรวจสอบเอกสารการเงินทั้งหมดในการดำเนินกิจกรรม ทำให้มีเเนวทางในการปรับปรุงเเก้ไขเอกสารการเงิน เเละข้อเเนะนำสำหรับการทำเอกสารประกอบอื่นๆ

 

3 0

38. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 5

วันที่ 27 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการดำเนินการจัดกิจกรรม ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 5 ในวันที่ 27 ธันวาคม 2566 เวลา 09.00 – 15.00 น. ผู้เข้าร่วม คือคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ จำนวน 15 คน ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตรัง หมู่ที่ 2 ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วัตถุประสงค์เพื่อรายงานสรุปผลการดำเนินงาน เเละการติดตามผลการปฏิบัติตามกติกาชุมชนของผู้สมัครบุคคลต้นเเบบ รายงานการติดตามผลการดำเนินงาน การทบทวนบันไดผลลัพธ์ของโครงการ และการติดตามการปฏิบัติตามกติกาชุมชนของผู้สมัครบุคคลต้นแบบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะกรรมการได้ติดตามกติกาชุมชน ที่ผู้สมัครบุคคลต้นแบบได้ปฏิบัติทั้ง 5 ด้าน ดังนี้ ด้านที่ 1 อาหาร : ส่งรูปเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ ติดตามโดยอาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คือ นางพรทิพย์ แก้วมณี พร้อมด้วยนางสุทิน ซ้ายศรี จำนวนกลุ่มเสี่ยงที่ส่งภาพเมนูอาหารมาในไลน์กลุ่ม จำนวน 28 คน
ด้านที่ 2 ออกกำลังกาย : เต้นแอโรบิค ติดตามโดย นางสาวปานระวี รามแก้ว ประธานคณะกรรมการโครงการฯ มีจำนวนทั้งหมด 57 คน
ออกกำลังกาย : การปั่นจักรยาน ติดตามโดยอาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คือ สิริอร ทับนิล กิจกรรมในการออกกำลังกายคือการปั่นจักรยาน ทุกวันอาทิตย์ เวลา 17.00 น. จุดนัดพบหลาบ้านตรัง จำนวนผู้ที่เข้าร่วมปั่นจักรยาน จำนวน 32 คน ออกกำลังกาย : เดิน–วิ่ง ติดตามโดยอาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คือ กัลยารัตน์ ไชยแก้ว กิจกรรมในการออกกำลังกายคือการเดิน-วิ่ง เป็นการร่วมเดินวิ่งกับโครงการของ อบต. ในวันพุธ สัปดาห์ที่ 2 ของเดือน สถานที่ลานกีฬา อบต.ตรัง จำนวน
ผู้ที่เข้าร่วมเดิน-วิ่ง จำนวน 31 คน ด้านที่ 3 อารมณ์ : เข้าวัดทำบุญ ติดตามโดยอาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คือ นางกัลยารัตน์ ไชยแก้ว กลุ่มเสี่ยงเข้าวัดทำบุญ จำนวน 25 คน ด้านที่ 4 สูบบุหรี่ : ติดตามโดยอาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คือ นางสาวมาลิบ แววสุวรรณ พร้อมด้วยนางติ๋ม กายประสิทธิ์ พบว่ากลุ่มเสี่ยงจะไม่สูบบุหรี่ในสถานที่เขตหวงห้าม รวมถึงจะหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ในบริเวณที่อยู่อาศัยและที่มีผู้คน ถือว่ากิจกรรม
  นี้เป็นการปลูกฝังให้กลุ่มเสี่ยงมีความรับผิดต่อสังคมและคนรอบข้างมากขึ้น ด้านที่ 5 สุรา : ติดตามโดยอาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คือ นางสาวสิริอร ทับนิล พร้อมด้วยนางยุพิน พรหมจันทร์ กลุ่มเสี่ยงบางรายเกิดความคุ้นชินในการดื่มสุราที่น้อยลงและส่งผลให้เกิดการรวมกลุ่ม เพื่อสังสรรค์ดื่มสุราน้อยลงด้วยเช่นกัน ด้านที่ 6 การปลูกผักกินเอง อย่างน้อย 5 ชนิดต่อครัวเรือน : ติดตามโดย นางสาวปานระวี รามแก้ว ประธานคณะกรรมการโครงการฯ พบว่า กลุ่มเสี่ยงปลูกผักกินเอง จำนวน 77 คน ด้านระดับน้ำตาลในเลือด: ติดตามโดย นางสาวปานระวี รามแก้ว ประธานคณะกรรมการโครงการฯ
พบว่า กลุ่มเสี่ยงที่ระดับน้ำตาลลดลงมีทั้งหมด จำนวน 71 คน ดังนี้
-กลุ่มเสี่ยงระดับน้ำตาลต่ำกว่า 100 mg/dl จำนวน 32 คน
-กลุ่มเสี่ยงระดับน้ำตาลลดลงแต่ยังเกิน 100 mg/dl จำนวน 39 คน -กลุ่มเสี่ยงที่ระดับน้ำตาลเท่าเดิมมี จำนวน 2 คน
-กลุ่มเสี่ยงที่ระดับน้ำตาลเพิ่มขึ้นมี จำนวน 19 คน การทบทวนบันไดผลลัพธ์ของโครงการ
จากการดำเนินกิจกรรมปัจจุบันบันไดผลลัพธ์ของโครงการฯ อยู่ในขั้นที่ 4 คือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ซึ่งการดำเนินโครงการได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ทั้ง 4 ขั้นบันได บันไดขั้นที่ 1 เกิดคณะทำงานกลไกการติดตามกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน 1. เกิดคณะทำงาน จำนวน 15 คน ประกอบด้วย อสม. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บัณฑิตตำบล เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ตรัง และเจ้าหน้าที่ อบต.ตรัง 2. มีข้อตกลงการทำงานของคณะทำงานที่ชัดเจน คือ การจัดเวรประจำวันในการเปิดคลิปวิดีโอนำเต้นแอโรบิค และการติดตามผลการปฏิบัติตามกติกาชุมชน 3. เกิดแผนการดำเนินงานของคณะทำงานในการดำเนินงาน 4. มีรายงานสรุปผลการดำเนินงาน และข้อมูลสถานการณ์การบริโภคอาหาร และการออกกำลังกายก่อน-หลังการดำเนินโครงการ บันไดขั้นที่ 2 เกิดความรู้และตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกาย 1. กลุ่มเป้าหมายจำนวน 85 คน คิดเป็นร้อยละ 92 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย
2. มีข้อมูลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ที่ได้จากการติดตามกลุ่มเป้าหมายโดยคณะทำงาน 3. กลุ่มเป้าหมายมีการวางแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยมีการระดมความคิดเกี่ยวกับการจัดสรรเวลาสำหรับการออกกำลังกายร่วมกัน บันไดขั้นที่ 3 เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 1. มีสถานที่รวมกลุ่มออกกำลังกาย 2 แห่ง คือ สถานที่กลางแจ้งของชุมชน 1 แห่ง และมีสถานที่ร่มรองรับ 1 แห่ง 2. มีบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย จำนวน 12 คน 3. เกิดกติกาข้อตกลงร่วมของชุมชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย จำนวน 6 ข้อ บันไดขั้นที่ 4 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกาย 1. กลุ่มเสี่ยงจำนวน 71 คน คิดเป็นร้อยละ 77 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
2. กลุ่มเสี่ยงจำนวน 80 คน คิดเป็นร้อยละ 87 มีการออกกำลังกาย

 

15 0

39. ไวนิลเทมเเพลทโครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง

วันที่ 4 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผู้รับผิดชอบโครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง ดำเนินการสั่งทำไวนิลเทมเพลทโครงการ x-stand ณ ห้างหุ้นส่วนจำกัด มะ แอดเวอร์ไทซิ่ง (ประเทศไทย) ตำบลอาเนาะรู อำเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี เพื่อประกอบการนำเสนอโครงการในกิจกรรมอบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงกการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2567 ในวันที 15 มกราคม 2567

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ป้ายไวนิลเทมเพลทโครงการ x-stand จำนวน 1 ป้าย เพื่อใช้ในการจัดบูธนิทรรศการของโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากแผนงานร่วมทุนฯ ในกิจกรรมอบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงกการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2567 ในวันที 15 มกราคม 2567

 

0 0

40. ค่าจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์

วันที่ 6 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง ได้รับงบประมาณจากแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานีและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ประจำปี 2566 ได้ให้ค่าตอบแทนค่าจัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์ จำนวน 1 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ค่าตอบแทนค่าจัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์

 

1 0

41. เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงาน และการยกย่องเชิดชูบุคคลต้นแบบ

วันที่ 8 มกราคม 2567 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการดำเนินการจัดกิจกรรมเวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงาน และการยกย่องเชิดชูบุคคลต้นแบบ ในวันที่ 8 มกราคม 2567 เวลา 08.30 – 15.30 น. มีผู้เข้าร่วม จำนวน 107 คน คือ คณะกรรมการโครงการ จำนวน 15 คน และกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 92 คน ณ อาคารอเนกประสงค์ วัดประเวศน์ภูผา หมู่ที่ 2 ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคืนข้อมูลการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน มีการสรุปบทเรียนการดำเนินงาน ทั้งในส่วนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ปัญหาอุปสรรค และการยกย่องเชิดชูบุคคลต้นแบบที่เป็นตัวอย่างที่ดีในการมีพฤติกรรมสุขภาพดี ซึ่งทางคณะกรรมการโครงการได้เชิญ นายอุสรัน ตาเยะ สาธารณสุขอำเภอมายอ,นายรอมือลี วาแม็ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตรัง,นางสาวอารียา เหมรา นักวิชาการสาธารณสุข,นายมุคตาร วายา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ และนายอานัติ หวังกุหลำ พี่เลี้ยงโครงการ เพื่อมาเป็นเกียรติในการมอบประกาศนียบัตร และของรางวัลเป็นขวัญกำลังใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายต่อไป แก่ผู้สมัครบุคคลต้นแบบทั้ง 12 ท่าน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การคืนข้อมูลการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ด้านผลการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานครั้งที่ 2 ผลการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง พบว่า
กลุ่มเสี่ยงที่ระดับน้ำตาลลดลงมีทั้งหมด จำนวน 71 คน ดังนี้ - กลุ่มเสี่ยงที่ระดับน้ำตาลต่ำกว่า 100 mg/dl จำนวน 32 คน - กลุ่มเสี่ยงที่ระดับน้ำตาลลดลงเเต่ยังเกิน mg/dl จำนวน 39 คน ดังนั้น กลุ่มเสี่ยง จำนวน 71 คน (คิดเป็นร้อยละ 77 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร กลุ่มเสี่ยงที่ระดับน้ำตาลไม่ลด จำนวน 21 คน ดังนี้
- กลุ่มเสี่ยงที่ระดับน้ำตาลเท่าเดิมมี จำนวน 2 คน - กลุ่มเสี่ยงที่ระดับน้ำตาลเพิ่มขึ้นมี จำนวน 19 คน ดังนั้น กลุ่มเสี่ยง จำนวน 21 คน (คิดเป็นร้อยละ 23 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) ไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร

ด้านการบริโภคอาหารที่เหมาะสม พบว่า กลุ่มเสี่ยง จำนวน 45 คน มีการบริโภคอาหารที่เหมาะสมอยู่เเล้วก่อนเริ่มดำเนินโครงการ เเละเมื่อสิ้นสุดการดำเนินโครงการ กลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ที่ดีเเละเหมาะสมเพิ่มขึ้น เป็นจำนวน 71 คน (คิดเป็นร้อยละ 77 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) มีการบริโภคอาหารที่เหมาะสม

ด้านความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูเเลสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเเละการออกกำลังกาย
พบว่า ก่อนเริ่มโครงการมีกลุ่มเสี่ยงที่มีความรู้ จำนวน 65 คน สิ้นสุดโครงการกลุ่มเสี่ยงมีความรู้เพิ่มขึ้น เป็นจำนวน 85 คน (คิดเป็นร้อยละ 92 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) มีความเข้าใจเกี่ยวกับการดูเเลสุขภาพ

บทสัมภาษณ์ผู้สมัครบุคคลต้นแบบ ทั้ง 12 ท่าน นางจำเนียร พรหมศิริ : ตนเองมีสุขภาพที่ดีขึ้น เพราะสามารถปฏิบัติตนตามกติกาชุมชนได้ครบทุกด้าน เช่น การออกกำลังกายเป็นประจำ โดยมีรูปแบบการออกกำลังกาย คือ เต้นแอโรบิคและเดิน โดยจากที่เมื่อก่อนไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย แต่เมื่อมีโครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชุมชนบ้านตรังนี้ขึ้นมา ทำให้ได้ออกกำลังกายร่วมกับผู้อื่นจึงรู้สึกสนุกและมีความอยากออกกำลังกายทุกวัน รวมถึงมีการควบคุมอาหาร การเข้าวัดทำบุญ ทำให้สุขภาพจิตใจและอารมณ์ดีขึ้น มีการปลูกผักสวนครัวไว้กินเอง เช่น ผักบุ้ง มะเขือ นางภัทราวรรณ หนูชูแก้ว : มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานที่ดีขึ้น สามารถลดการทานของหวาน ๆ ได้ และเมื่อได้เข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายเป็นประจำ โดยมีรูปแบบการออกกำลังกาย คือเต้นแอโรบิค ทำให้น้ำหนักลดลงและมีสุขภาพที่ดีขึ้นมาก นางวนิดา สุวรรณชาตรี : ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพ การรับประทานอาหารที่ดี การออกกำลังกาย ทำให้มีความกระตือรือร้นในการออกกำลังกายมากขึ้น โดยรูปแบบการออกกำลังกายคือ เต้นแอโรบิค เดิน ปั่นจักรยาน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ดีและเหมาะสมขึ้น ทานมื้อเย็นให้เร็วขึ้น ไม่กินจุกจิกระหว่างมื้อ ทานผัก ผลไม้ เน้นทานโปรตีน ลดแป้งลดน้ำตาล ทำให้ปริมาณระดับน้ำตาลในเลือดและไขมันลดลงจากเดิม
นายสวัสดิ์ ลิ้มเจริญ : มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง เช่น การออกกำลังกายตอนเช้าหลังตื่นนอน โดยมีรูปแบบการออกกำลังกายคือ การเดิน ทำให้มีสุขภาพดีขึ้น น้ำหนักลดลง 4 กิโล ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งแตกต่างจากเมื่อก่อนที่จะไม่สบายบ่อย และการงดอาหารที่รสชาติหวาน มัน เค็ม เน้นการทานเนื้อสัตว์ เช่นไก่ ปลา และเน้นการทานผักให้เยอะขึ้น นางเตือนใจ อุปลา : มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองทั้งด้านการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย มีการรวมตัวกันออกกำลังกายในชุมชน รูปแบบการออกกำลังกายคือ เต้นแอโรบิค และทำให้มีการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพิ่มมากขึ้น โดยจะคำนึงถึงประโยชน์และข้อเสียของอาหารก่อนที่จะรับประทานมากขึ้น รวมถึงการการลดแป้ง ลดน้ำตาล
นางสายัน ชูสุวรรณ : รู้สึกดีมากที่ได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน เพราะโครงการนี้ทำให้เราหันกลับมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย พัฒนาตนเองไม่ให้มีโรคต่าง ๆ ทำให้รู้สึกอยากออกกำลังกายในทุก ๆ วัน และเน้นทานผัก ผลไม้ที่ปลูกเอง นางสาวสุนันทา รามแก้ว : มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ดีขึ้น ทานมื้อเย็นให้เร็วขึ้น ทำให้น้ำหนักลดลง ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง โดยรวมแล้วสุขภาพร่างกายดีขึ้นทุกด้าน จึงทำให้สภาพจิตใจและอารมณ์ดีขึ้นตามไปด้วย นางสาวยุพิน เพ็ชรมณี : มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย รูปแบบคือเต้นแอโรบิค ปั่นจักรยาน สามารถปฏิบัติตามกติกาทุกด้านได้ เช่น การไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา ทำให้ส่งผลดีต่อร่างกายอย่างมาก นางพรรณี กำลังหาร : ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่ดีและเหมาะสม ด้านการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่ดี ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานได้ มีการปลูกผักหลากหลายชนิดบริเวณบ้านไว้รับประทานเอง ทำให้ไม่ต้องซื้อ ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายได้
นางอนงค์ สันทัด : รู้สึกขอบคุณหน่วยงานที่ได้มีการจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชุมชนบ้านตรังนี้ขึ้นมา เพื่อมอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง ทำให้ชาวบ้านได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง ทำให้มีตัวกระตุ้นที่ทำให้ชาวบ้านดูแลสุขภาพกันมากขึ้น โดยมีรูปแบบการออกกำลังคือ เดินในตอนเช้าและเต้นแอโรบิคในตอนเย็น ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงและน้ำหนักลดลง ร่างกายดีขึ้นเรื่อย ๆ นางยุพิน พรหมจันทร์ : หลังจากที่ได้มีโครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชุมชนบ้านตรังนี้ขึ้นมา ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ ทำให้สามารถกลับมาปั่นจักรยานได้ รู้สึกว่าสุขภาพร่างกายดีขึ้น มีการปลูกผักไว้รับประทานเอง
นางสุทิน ซ้ายศรี : มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย ลดของทอด มีส่วนร่วมในการส่งรูปเมนูอาหารเพื่อสุขภาพในกลุ่มไลน์ มีการปฏิบัติตนตามกติกาชุมชน เช่น การเข้าวัดทำบุญ เต้นแอโรบิค

การยกย่องเชิดชูบุคคลต้นแบบที่เป็นตัวอย่างที่ดีในการมีพฤติกรรมสุขภาพดี รางวัลชนะเลิศ คือ นางสาวสุนันทา รามแก้ว รองชนะเลิศอันดับ 1 คือ นางจำเนียร พรหมศิริ รองชนะเลิศอันดับ 2 คือ นางภัทราวรรณ หนูชูแก้ว ทั้ง 3 ท่านได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมปฏิบัติตามกติกาชุมชนทั้ง 6 ข้อ และระดับน้ำตาลในเลือดลดลงมากที่สุด

 

107 0

42. ARE ครั้งที่ 4 ร่วมกับพี่เลี้ยง

วันที่ 8 มกราคม 2567 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะกรรมการ รวมจำนวน 15 คน ที่ดำเนิน "โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง หมู่ที่ 2 ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี" ARE ร่วมกับพี่เลี้ยงครั้งที่ 4 โดยมีพี่เลี้ยงโครงการ คือนายอานัติ หวังกุหลำ ในกิจกรรมสรุปบทเรียนการดำเนินงาน และการยกย่องเชิดชูบุคคลต้นแบบ ในวันที่ 8 มกราคม 2566 เวลา 08.30 - 15.30 น. ณ อาคารอเนกประสงค์ ตำบลตรัง หมู่ที่ 2 ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี เพื่อร่วมรับฟัง การคืนข้อมูลการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆให้กับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน การสรุปบทเรียนการดำเนินงาน ทั้งในส่วนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะ และการยกย่องเชิดชูบุคคลต้นแบบที่เป็นตัวอย่างที่ดีในการพฤติกรรมสุขภาพที่ดี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประเด็นด้านการดำเนินกิจกรรม คณะกรรมการโครงการได้ดำเนินจัดกิจกรรมแก่กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรังครบถ้วน ประเด็นด้านการคืนข้อมูลการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ หลัง-ก่อนดำเนินโครงการ
- การบริโภคอาหารที่เหมาะสม : ก่อนเริ่มโครงการ จำนวน 45 คน ระหว่างดำเนินโครงการ จำนวน 58 คน และสิ้นสุดโครงการ จำนวน 71 คน (คิดเป็นร้อยละ 77 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) - การออกกำลังกาย : ก่อนเริ่มโครงการ จำนวน 39 คน ระหว่างดำเนินโครงการ จำนวน 62 คน และสิ้นสุดโครงการ จำนวน 80 คน (คิดเป็นร้อยละ 87 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) - กติกาชุมชน : ก่อนเริ่มโครงการ จำนวน 0 ข้อ ระหว่างดำเนินโครงการ จำนวน 5 ข้อ และสิ้นสุดโครงการ จำนวน 6 ข้อ - ระดับน้ำตาลในเลือด : ก่อนเริ่มโครงการ จำนวนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 92 คน และสิ้นสุดโครงการจำนวนกลุ่มเสี่ยงระดับน้ำตาลลดลง จำนวน 71 คน (คิดเป็นร้อยละ 77 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) ประเด็นบันไดผลลัพธ์ของการดำเนินโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง ได้บรรลุบันไดผลลัพธ์ทั้ง 3 ขั้นบันได

 

15 0

43. ค่าวัสดุอุปกร์ในการจัดบูธนิทรรศการ

วันที่ 14 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง ได้รับงบประมาณจากแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานีและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ประจำปี 2566 ในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้สำหรับจัดบูธนิทรรศการในกิจกรรมอบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2567 จัดซื้อในวันที่ 14 มกราคม 2567 ณ ร้านยัสมี เครื่องเขียน ตำบลมายอ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี จำนวน 1 รายการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วัสดุอุปกรณ์ จำนวน 1 รายการ ตระกร้าสาน 1 ใบ ใช้สำหรับจัดบูธนิทรรศการ

 

0 0

44. อบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2567

วันที่ 15 มกราคม 2567 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะกรรมการโครงการ รวมจำนวน 8 คน ได้เข้าร่วมกิจกรรม อบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2567 ในวันที่ 15 มกราคม 2567 เวลา 08.30-16.30น. ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี แผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานของโครงการ/กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนทุนจากแผนงานร่วมทุนฯ และให้ข้อเสนอแนะการดำเนินโครงการในประเด็นที่เป็นปัญหาอุปสรรค และเงื่อนไขข้อจำกัด เพื่อนำไปปรับปรุงการดำเนินในปีต่อไป พร้อมจัดนิทรรศการการนำเสนอผลงานของโครงการที่ขอรับการสนับสนุน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง ได้จัดนิทรรศการการนำเสนอผลงานของโครงการ ซึ่งได้นำเสนอแก่ท่านนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี นายเศรษฐ์ อัลยุฟรี พร้อมทั้งผู้รับผิดชอบโครงการได้เล่าถึงความเป็นมาของโครงการ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น และผลสำเร็จของโครงการ และนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อของบ้านตรัง ได้แก่ ผ้าทอจวนตานี ขนมทองม้วน ข้าวสารหอมปทุม ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เสวียนหม้อ และผักสวนครัวที่ได้จากชาวบ้านกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นหนึ่งในกติกาชุมชนที่กลุ่มเสี่ยงร่วมกันปฏิบัติในเรื่องของ การปลูกผักกินเอง อย่างน้อย 5 ชนิดต่อครัวเรือน และผู้รับผิดชอบโครงการร่วมเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับโครงการอื่น ๆ โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล วิทยากร และนายมุคตาร วายา ผู้ช่วยวิทยากรในการพูดคุย

 

8 0

45. ค่าพาหนะเดินทางและเบี้ยเลี้ยงในการตรวจสอบเอกสารการเงินเบื้องต้นของโครงการย่อยให้สอดคล้องในระบบฅนสร้างสุข เเละเพื่อเตรียมเบิกเงินสนับสนุนงวดที่ 2

วันที่ 16 มกราคม 2567 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการดำเนินงาน จำนวน 3 คน ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้คีย์ข้อมูลกิจกรรมในระบบออนไลน์ และผู้รับผิดชอบด้านเอกสารการเงิน เดินทางไป ณ กองสาสุข อาคารศูนย์รับเเจ้งเหตุเเละสั่งการการเเพทย์ฉุกเฉิน ในวันที่ 16 มกราคม 2567 เวลา 08.30-16.30 น. เพื่อเข้าร่วมการตรวจสอบเอกสารการเงินเบื้องต้นของโครงการย่อยให้สอดคล้องในระบบฅนสร้างสุข เเละเพื่อเตรียมเบิกเงินสนับสนุนงวดที่ 2

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้รับการตรวจสอบเอกสารการเงินทั้งหมดในการดำเนินกิจกรรมโครงการ เเละตรวจสอบข้อมูลกิจกรรมในระบบออนไลน์ "ฅนสร้างสุข" ทำให้มีเเนวทางในการปรับปรุงเเก้ไข เเละข้อเเนะนำสำหรับการทำเอกสารประกอบอื่น ๆ

 

3 0

46. ถอนเงิน เปิดบัญชี

วันที่ 22 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประธานและคณะทำงาน ได้ ถอนเงิน เปิดบัญชี จำนวน 500 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ถอนเงินเปิดบัญชี

 

0 0

47. จ่ายดอกเบี้ยคืนให้กับแผนงานฯ

วันที่ 25 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จ่ายดอกเบี้ยคืนให้กับแผนงานฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จ่ายตอดเบี้ยคืนให้กับแผนงานฯ

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.เกิดคณะทำงานและกลไกการติดตามกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน
ตัวชี้วัด : 1.1 มีคณะกรรมการกลุ่ม 15 คน ที่มีโครงสร้างการดำเนินงานที่ชัดเจน และมาจากองค์ประกอบที่หลากหลาย เช่น กรรมการหมู่บ้าน ตัวแทนคุ้มบ้าน อปท. รพ.สต. เป็นต้น 1.2 คณะกรรมการกลุ่ม 15 คน มีความเข้าใจเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารการออกกำลังกายและออกแบบกิจกรรมได้เหมาะสม 1.3 มีการเก็บข้อมูลและประชุมคืนข้อมูลการติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชุมชน อย่างต่อเนื่อง
15.00

1.1.เกิดคณะทำงาน จำนวน 15 คน ประกอบด้วย อสม. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บัณฑิตตำบล เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ตรัง และ เจ้าหน้าที่ อบต.
1.2.มีข้อตกลงการทำงานของคณะทำงานที่ชัดเจน คือ การจัดเวรประจำวันในการเปิดคลิปวิดีโอนำเต้นแอโรบิค และการติดตามผลการปฏิบัติตามกติกาชุมชน มีแผนการดำเนินงานของคณะทำงาน
1.3.มีรายงานสรุปผลการดำเนินงานและข้อมูลสถานการณ์การบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ก่อน- หลังการดำเนินโครงการ

2 2.เกิดความรู้และตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกาย
ตัวชี้วัด : 2.1 กลุ่มเป้าหมายจำนวน 73 คน(อย่างน้อยร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) มีความรู้ในการบริโภคอาการและการออกกำลังกาย 2.2 มีข้อมูลการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายกาย ของคนในชุมชนอย่างน้อย 1ชุด 2.3 เกิดกติกาข้อตกลงร่วมของชุมชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย
85.00

2.1.กลุ่มเป้าหมายจำนวน 85 คน (คิดเป็นร้อยละ 92 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูเเลสุขภาพ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเเละการออกกำลังกาย 2.2.มีข้อมูลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเเละการออกกำลังกายที่ได้จากการติดตามกลุ่มเป้าหมายโดยคณะทำงาน 2.3.เกิดกติกาข้อตกลงร่วมของชุมชนในการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเเละการออกกำลังกาย จำนวน 6 ข้อ

3 3.เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ตัวชี้วัด : 3.1 มีสถานที่รวมกลุ่มออกกำลังกาย ในร่มของชุมชนอย่างน้อย 1 แห่ง 3.2 มีอาหารสุขภาพ 1 เมนู 1 ครอบครัว 3.3 มีรูปแบบการออกกำลังกายตามช่วงวัย 3.4 มีบุคคลต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย อย่างน้อย 10 คน
2.00

3.1.มีสถานที่รวมกลุ่มออกกำลังกาย 2 เเห่ง คือ สถานที่กลางเเจ้งของชุมชน 1 เเห่ง เเละมีสถานที่ร่มรองรับ 1 เเห่ง 3.2.กลุ่มเสี่ยงได้รับการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ ทำให้มีอาหารสุขภาพ 1 เมนู 1 ครอบครัว 3.3.มีรูปแบบการออกกำลังที่เหมาะสมตามช่วงวัย เช่น การเต้นแอโรบิค การปั่นจักรยาน การเดินวิ่ง 3.4.มีบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 12 คน

4 4.เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายอย่างถูกต้อง
ตัวชี้วัด : 4.1 กลุ่มเป้าหมายจำนวน 73 คน(อย่างน้อยร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) มีการออกกำลังกายสัปดาห์ละ 5 วันๆละ 30 นาที 4.2 กลุ่มเป้าหมายจำนวน 73 คน(อย่างน้อยร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) มีการบริโภคอาหารที่เหมาะสม
71.00

4.1.กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 80 คน (คิดเป็นร้อยละ 87 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) มีการออกกำลังกาย 4.2.กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 71 คน (คิดเป็นร้อยละ 77 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสม

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 548 92
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายรอง ได้แก่ ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป 456 126
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 92 92

บทคัดย่อ*

โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 2 ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี รหัสโครงการ 65-P1-0068-002 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2566 - 29 กุมภาพันธ์ 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000 บาท จาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชน จำนวน 92 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้ โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เกิดคณะทำงานและกลไกการติดตามกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน 2.เกิดความรู้และตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกาย 3.เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 4.เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายอย่างถูกต้อง ผลการดำเนินงานพบว่า เกิดคณะทำงาน จำนวน 15 คน ประกอบด้วย อสม. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บัณฑิตตำบล เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ตรัง และเจ้าหน้าที่ อบต. มีข้อตกลงการทำงานของคณะทำงานที่ชัดเจน คือ การจัดเวรประจำวันในการเปิดคลิปวิดีโอนำเต้นแอโรบิค และการติดตามผลการปฏิบัติตามกติกาชุมชน มีแผนการดำเนินงานของคณะทำงาน มีรายงานสรุปผลการดำเนินงานและข้อมูลสถานการณ์การบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ก่อน – หลังการดำเนินโครงการ กลุ่มเป้าหมายจำนวน 85 คน (คิดเป็นร้อยละ 92 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย มีข้อมูลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายที่ได้จากการติดตามกลุ่มเป้าหมายโดยคณะทำงาน เกิดกติกาข้อตกลงร่วมของชุมชนในการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย จำนวน 6 ข้อ มีสถานที่รวมกลุ่มออกกำลังกาย 2 แห่ง คือ สถานที่กลางแจ้งของชุมชน 1 แห่ง และมีสถานที่ร่มรองรับ 1 แห่ง กลุ่มเสี่ยงได้รับการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ ทำให้มีอาหารสุขภาพ 1 เมนู 1 ครอบครัว มีรูปแบบการออกกำลังที่เหมาะสมตามช่วงวัย เช่น การเต้นแอโรบิค การปั่นจักรยาน การเดินวิ่ง มีบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 12 คน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 80 คน (คิดเป็นร้อยละ 87 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) มีการออกกำลังกาย กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 71 คน (คิดเป็นร้อยละ 77 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสม

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

หากฝนตก ทำให้บางวันต้องงดกิจกรรมการออกกำลังกาย เนื่องจากกลุ่มเสี่ยงไม่สามารถเดินทางมาออกกำลังกายได้

ด้านสภาพอากาศ

วิธีแก้ไขปัญหาเบื้องต้น คณะกรรมการโครงการ ทำการส่งคลิปวิดีโอเต้นแอโรบิค ในกลุ่มไลน์ เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสามารถเต้นแอโรบิคที่บ้าน และสามารถออกกำลังกายได้ต่อเนื่อง


โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 65-P1-0068-022

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายมุคตาร วายา )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด