directions_run

โครงการการป้องกันเด็กจมน้ำอย่างมีส่วนร่วมพื้นที่ตำบลจะบังติกอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี

assignment
บันทึกกิจกรรม
ถอนเงินดอกเบี้ยคืนให้แผนงานร่วมทุนฯ30 มกราคม 2567
30
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Muktar
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ถอนเงินดอกเบี้ยคืนให้แผนงานร่วมทุนฯ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ถอนเงินดอกเบี้ยคืนให้แผนงานร่วมทุนฯ

ถอนเงินเปิดบัญชี30 มกราคม 2567
30
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Muktar
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ถอนเงินเปิดบัญชี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ถอนเงินเปิดบัญชี

ค่าจัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์30 มกราคม 2567
30
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย na_945
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

โครงการการป้องกันเด็กจมน้ำอย่างมีส่วนร่วมพื้นที่ตำบลจะบังติกอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ได้รับงบประมาณจากแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานีและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ประจำปี 2566 ดำเนินการจัดจ้างนางสาวหุสณา มาลายา จำนวน 1 คน เพื่อบันทึกรายงานกิจกรรมและสรุปโครงการฯโครงการในเว็ปไซต์ “ฅนสร้างสุข” https://happynetwork.org/ได้ให้ค่าตอบแทนค่าจัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ดำเนินการจ่ายค่าตอบแทนแก่นางสาวหุสณา มาลายา (ผู้ประสานงานโครงการ) สำหรับจัดทำรายงานความก้าวหน้าและรายงานผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์
ไวนิว X-stand16 มกราคม 2567
16
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย na_945
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการการป้องกันเด็กจมน้ำอย่างมีส่วนร่วมพื้นที่ตำบลจะบังติกอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ดำเนินการสั่งทำไวนิล X-stand ณ ห้างหุ้นส่วนจำกัด มะ แอดเวอร์ไทซิ่ง (ประเทศไทย) ตำบลอาเนาะรู อำเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี เพื่อประกอบการนำเสนอโครงการในกิจกรรมอบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงกการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2567 ในวันที 15 มกราคม 2567 ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการการนำเสนอผลงานของโครงการที่ขอรับการสนับสนุน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ป้ายไวนิล X-stand ขนาด 80*180 CM บันไดผลลัพธ์โครงการฯ จำนวน 1 ป้าย

ประชุมเตรียมความพร้อมปิดโครงการย่อยฯ16 มกราคม 2567
16
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย na_945
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการมอบหมายให้ นางสาวหุสณา มาลายา (ผู้ประสานงานโครงการ) เข้าร่วมประชุมเตรียมความพร้อมปิดโครงการย่อยแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ณ ห้องประชุมกองสาธารณสุข อาคารศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉิน(เขตอุตสาหกรรม) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ในวันที่ 16 มกราคม 2567 เพื่อติดตามผลลัพธ์และตัวชี้วัดที่เกิดขึ้นของโครงการย่อย ตรวจสอบเอกสารการเงินเบื้องต้นของโครงการย่อยให้สอดคล้องในระบบคนสร้างสุขและเพื่อเตรียมเบิกเงินสนับสนุนงวดที่ 2 และดำเนินการแก้ไขเอกสารการเงินตามคำแนะนำของแหล่งทุนให้เรียบร้อย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ทราบถึงวิธีการและขั้นตอนการปิดโครงการฯ 2.มีความเข้าใจในการจัดทำเอกสารมากขึ้น

ARE แผนงานร่วมทุน กับผู้รับทุน ครั้งที่ 215 มกราคม 2567
15
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย na_945
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะกรรมการโครงการ รวมจำนวน 8 คน ได้เข้าร่วมกิจกรรม อบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2567 ในวันที่ 15 มกราคม 2567 เวลา 08.30-16.30น. ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี แผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานของโครงการ/กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนทุนจากแผนงานร่วมทุนฯ และให้ข้อเสนอแนะการดำเนินโครงการในประเด็นที่เป็นปัญหาอุปสรรค และเงื่อนไขข้อจำกัด เพื่อนำไปปรับปรุงการดำเนินในปีต่อไป พร้อมจัดนิทรรศการการนำเสนอผลงานของโครงการที่ขอรับการสนับสนุน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงานโครงการ จำนวน 8 คน ได้แก่ 1.นางวรินดา ดอเลาะ 2.นางนิซารูมา เซ็ง 3.นางยาลีนา แวอูมา 4.นางพัชรี หะยีสะมาแอ 5.นางรอยมะห์ บานา 6.นายมาโซ ดอเลาะ 7.นางสาวนูรนาบีฮ๊ะ เว๊าะบ๊ะ 8.นายมูฮัมหมัดรุสดี นาคอ
2.จัดนิทรรศการนำเสนอผลงานของโครงการการป้องกันเด็กจมน้ำอย่างมีส่วนร่วมพื้นที่ตำบลจะบังติกอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ร่วมกับผู้ได้รับทุนทั้ง 30 โครงการ

ครั้งที่ 4 ประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการ24 ธันวาคม 2566
24
ธันวาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย na_945
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประธานกล่าวเปิดการประชุม และดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
วาระที่ 1 ประธานชี้แจงให้ที่ประชุมทราบ
การดำเนินงานภายใต้โครงการได้สำเร็จเสร็จสิ้นทุกกิจกรรมแล้ว จำนวน กิจกรรม 1. กิจกรรม ประชุมคณะทำงานโครงการ จำนวน 4 ครั้ง ดำเนินการแล้ว 3 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 2. กิจกรรม อบรมเติมความรู้ เพิ่มทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี จัดขึ้นวันที่ 5 สิงหาคม 2566 ณ เทพาบีช รีสอร์ท อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา 3. กิจกรรม สำรวจข้อมูลสถานการณ์การจมน้ำของเด็ก สภาพพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่ ก่อนจัดวันที่ 23 กันยายน 2566 หลังจัดวันที่ 20 ธันวาคม 2566 ประธานชุมชนพร้อมคณะทำงานของพื้นที่พาทีมวิทยากรและคณะทำงานโครงการ ฯ ลำรวจพื้นที่ ได้ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน แผนที่ความเสี่ยงต่อการทำให้เด็กจมน้ำในพื้นที่จาบังติกอ ตารางความเสี่ยงและการจัดการเวลาเด็กจมน้ำช่วงเวลาปกติ ตารางความเสี่ยงและการจัดการเวลาเด็กจมน้ำช่วงน้ำท่วม 4. กิจกรรม ชี้แจงและประชาสัมพันธ์เปิดรับสมัครเด็กที่สนใจ มีการประชาสัมพันธ์มี 3 ช่องทาง 1.ประชาสัมพันธ์เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการผ่านเจพสมาคมศิษย์เก่าบันทิตอาสา มอ. ที่ 2.ประชาสัมพันธ์กับน้อง ๆ ที่เรียนกรรออาตี รร.อัลกุรอานสร้างอัจณริยะ ต.จะบังติกอ 4.หัวหน้าโครงการเข้าพูดคุยกับคุณอัสรี สุทธิศาสตร์สกุล เลขานุการประจำมัสยิดรายอฟาฏอนี 5.เปิดรับสมัครน้อง ๆ เข้าร่วมกิจกรรม “ฝึกทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี” ผ่าน google from วันที่รับสมัคร 12 สิงหาคม 2566
5. ชื่อกิจกรรมที่ 5 อบรมให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำแก่เด็กไปจัดรวมกับกิจกรรมที่ 7 เพราะใช้งบตัวเดียวกัน 6. กิจกรรม ฝึกทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี ดำเนินกิจกรรม 9 ครั้งในระยะเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน จำนวนผู้เข้าร่วม 32 คน ชายจำนวน 17 คน หญิง จำนวน 15 คน มีการประเมินผลการเขาร่วม 1.เด็กจำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 84 มีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำและทราบแนวทางปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง 2. เด็กจำนวน 28 คน ร้อยละ 87 มีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด ได้แก่ การควบคุมระบบหายใจใต้น้ำ การลอยตัว การเคลื่อนตัวในน้ำ 3. เด็กจำนวน 30 คน ร้อยละ 94 มีทักษะการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธีตามหลัก ตะโกน โยน ยื่น 7. กิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำและฝึกทักษะการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธีแก่ผู้ปกครองและแกนนำชุมชน จำนวนผู้เข้าร่วมทั้งหมด 55 คน ประกอบด้วย เด็ก ผู้ปกครองและแกนนำชุมชน ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำและทราบแนวทางปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ได้เรียนรู้การช่วยเหลือผู้อื่นจากการจมน้ำอย่างถูกวิธีตามหลัก ตะโกน โยน ยื่น และ 100 % ของผู้เข้าร่วมได้ฝึกปฏิบัติการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ใช้ฟื้นคืนชีพให้ผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นหรือ CPR (Cardiopulmonary Resuscitation)
8. กิจกรรม เวทีวิเคราะห์พื้นที่ความเสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็กในชุมชนอย่างมีส่วนร่วมพร้อมกำหนดแนวทางแก้ไข จำนวนผู้เข้าร่วม แกนนำชุมชน อาสาสมัคร อสม. จำนวน 15 คน วิทยากรและคณะทำงาน จำนวน 5 คน ประธานชุมชนพร้อมคณะทำงานของพื้นที่พาทีมวิทยากรและคณะทำงานโครงการ ฯ ลำรวจพื้นที่ ได้ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน แผนที่ความเสี่ยงต่อการทำให้เด็กจมน้ำในพื้นที่จาบังติกอ ตารางความเสี่ยงและการจัดการเวลาเด็กจมน้ำช่วงเวลาปกติ ตารางความเสี่ยงและการจัดการเวลาเด็กจมน้ำช่วงน้ำท่วม 9. กิจกรรม ดำเนินการปรับสภาพพื้นที่เพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็ก โฟมบอร์ด 2 อัน เรื่องการช่วยเหลือและการปฐมพยาบาลกรณีการจมน้ำ ไวนิวป้ายเตือนตามจุดเสี่ยงต่างๆ 3 แผ่น อุปกรณ์การช่วยเหลือเบื้องต้นหากเกิดกรณีฉุกเฉินต่าง ๆ เสื้อชูชีพ 5 ตัว เชือกกู้ภัย 1 ชุด ห่วงไฟเบอร์ 2 อัน จุดเสี่ยงในชุมชนได้รับการปรับปรุงแก้ไข จำนวน 3 จุด คิดเป็น ร้อยละ 80 ของจำนวนจุดเสี่ยงที่ชุมชนสามารถแก้ไขได้ ดังนี้ ศาลาริมน้ำ ลานอเนกประสงค์ บริเวณเส้นทางชุมชนริมคลอง 10. กิจกรรม เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงานและหารือแนวทางเพื่อความต่อเนื่อง ดำเนินการวันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม 2566 ณ อาคารอเนกประสงค์ ชุมชนริมคลองจะบังติกอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จำนวนผู้เข้าร่วม ทั้งหมด 32 คน ประกอบด้วย เด็ก ผู้ปกครอง แกนนำชุมชนผู้เข้าร่วมได้สะท้อนการเข้าร่วมกิจกรรมที่ผ่านมา ชุมชนมีความสนใจ คณะทำงานพื้นที่พร้อมที่จะขับเคลื่อนการทำงานในประเด็นนี้ต่อ
การดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการทั้งหมด ประสบผลสำเร็จตามตัวชี้วัดที่ต้องการ

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ/กิจกรรมสำคัญสำหรับประเด็นนี้ 1. ได้รับความร่วมมือจากแกนนำและอาสาสมัครในชุมชนเป็นอย่างดี
  ทุกคนเห็นความสำคัญในประเด็นการจมน้ำเป็นอย่างมาก 2. ผู้ปกครองอำนวยความสะดวกและสนับสนุนบุตรหลานในการเข้าร่วมกิจกรรม 3. เด็ก ๆ ให้ความร่วมมือทุกครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรม โดยเฉพาะ   กิจกรรม “ฝึกทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี” 4. มีหลักสูตรและวิทยากร อาสาสมัครที่มีความพร้อมการฝึกทักษะแก่เด็ก

บทบาทของคณะกรรมการในการหนุนเสริมการดำเนินงานให้เกิดความสำเร็จ 1. มีการจัดโครงสร้างการทำงานที่ชัดเจน 2. มีการแบ่งบาทหน้าที่ผู้รับผิดชอบตามความถนัดของแต่ละบุคคล 3. มีการประชุมหารือวางแผนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง 4. มีทีมวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญตามกิจกรรมที่ดำเนินการ

วาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา         ไม่มี วาระที่ 3 เรื่องสืบเรื่องจากการะประชุมครั้งที่ผ่านมา
        ไม่มี วาระที่ 4 เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา         ไม่มี วาระที่ 5 อื่น ๆ (การดำเนินงานถัดไป) - แบดี ติดตามการทำดำเนินของแกนนำชุมชนเรื่อย ๆ เป็นที่ปรึกษาในการขับเคลื่อการดำเนินงานประเด็นเด็กจมน้ำ และการสร้างพื้นที่ปลอกภัยในชุมชน
- หุสณา จัดทำรายงานกิจกรรมและเอกสารโครงการให้เรียบร้อยทั้งรายงานรูปเล่มและในระบบ - นานี จัดทำรายงานการเงิน มีนัดตรวจครั้งที่ 2 กับแหล่งทุ่นวันที่ 28 ธันวาคม 2566

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 9 คน
  2. คณะทำงานเห็นผลลัพธ์การทำงานจากตัวชีวัดที่ชัดเจน
  3. คณะทำงานพร้อมสนับสนุนการขับเคลื่อนงานต่อไปในอนาคต
ARE ครั้งที่ 3 ร่วมกับพี่เลี้ยง17 ธันวาคม 2566
17
ธันวาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย na_945
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

พี่เลี้ยงโครงการได้เข้าร่วมกิจกรรมที่ 10 เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงานและหารือแนวทางเพื่อความต่อเนื่อง ผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ทั้งหมด 32 คนประกอบด้วย เด็ก ผุ้ปกครอง แกนนำชุมชน คณะกรรมการชุมชน พี่เลี้ยงสังเกตุการดำเนินกิจกรรม แนะนำการทำงาน และรับฟังความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมที่สะท้อนถึงการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาของโครงการการป้องกันเด็กจมน้ำอย่างมีส่วนร่วมพื้นที่ตำบลจะบังติกอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี กิจกรรมครั้งนี้มี นางสาวนูรอามีนี สาและ (นักวิชาการอิสระ) เป็นวิทยากรถอดบทเรียนการดำเนินงาน
  พี่เลี้ยงได้ให้คำแนะนำการนำถึงการดำเนินงานต่าง ๆ แก่ทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานในพื้นที่และพร้อมสนับสนุนให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนิน โดยยกระดับการทำงานให้แกนนำพื้นที่เป็นผู้เขียนและเสนอโครงการ ทางสมาคมพร้อมให้การสนับสนุนและเป้นที่ปรึการในการดำเนินกิจกรรมของพื้นที่ต่อไปในอนาคต

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.พี่เลี้ยงเข้าร่วมกิจกรรมเวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงานและหารือแนวทางเพื่อความต่อเนื่อง 2.พี่เพิ่มเติม แนะนำการทำงานและการสานต่องานให้เกิดประโยชน์แก่พื้นที่มากที่สุด 3.ทุกคนร่วมเป็นพลังในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านจิตอาสาเพื่อสังคมต่อไป

เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงานและหารือแนวทางเพื่อความต่อเนื่อง17 ธันวาคม 2566
17
ธันวาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย na_945
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมที่หลากหลายเป็นการร่วมผู้เข้าร่วมจากทุก ๆ กิจกรรมที่เคยจัดและมีผู้ที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่อในอนาคต เช่นทีมคณะกรรมชุมชนชุดใหม่ ผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 32 คน
นำเสนอการดำเนินโครงการทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายใต้ โดยนางสาวหุสณา มาลายา ผู้ประสานงานโครงการ เริ่มด้วยการชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ 2 ข้อดังนี้ 1.เพื่อให้เด็กมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ มีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และการช่วยเหลือผู้อื่นจากการจมน้ำอย่างถูกวิธี 2.เพื่อปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อความปลอดภัยทางน้ำของเด็กในระดับครัวเรือนและชุมชน จากนั้นได้นำเสนอกิจกรรมภายใต้โครงการ ดังนี้ 1. กิจกรรม ชี้แจงและประชาสัมพันธ์เปิดรับสมัครเด็กที่สนใจ เปิดรับสมัครน้อง ๆ เข้าร่วมกิจกรรม “ฝึกทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี” ผ่าน google from
2. กิจกรรม ฝึกทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี ดำเนินกิจกรรม 9 ครั้งในระยะเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน
3. กิจกรรม สำรวจข้อมูลสถานการณ์การจมน้ำของเด็ก สภาพพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่ 4. กิจกรรม เวทีวิเคราะห์พื้นที่ความเสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็กในชุมชนอย่างมีส่วนร่วมพร้อมกำหนดแนวทางแก้ไข 5. กิจกรรม ดำเนินการปรับสภาพพื้นที่เพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็ก 6. กิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำและฝึกทักษะการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี แก่เด็ก ผู้ปกครองและแกนนำชุมชน ร่วมสะท้อนความคิดเห็นการดำเนินกิจกรรมและหารือแนวทางการพัฒนากิจกรรมให้เกิดความต่อเนื่อง โดย นางสาวนูรอามีนี สาและ (นักวิชาการอิสระ) เป็นวิทยากร ผลที่ได้จากการแลกเปลี่ยนดังนี้ 1. ความรู้สึกรู้สึกหลังจากได้เข้าร่วมโครงการ - เด็ก ๆ กล้าว่ายน้ำมากขึ้น - เด็ก ผู้ปกตรอง แกนนำชุมชนรู้สึกชอบโครงการนี้ - ผู้ปกครองดีที่คณะทำงานเห็นความสำคัญของเรื่องนี้ - ขอบคุณที่เลือกพื้นที่จะบังติกอเป็นโมเดลของการดำเนินโครงการ - ทำให้เกิดความตระหนักในประเด็นเรื่องเด็กจมน้ำมากขึ้น 2. กิจกรรมที่เข้าร่วมแล้วรู้สึกว่าประทับใจและเกิดประโยชน์ - แกนนำชุมชน อสม. ได้ทบทวนการทำ CPR และนำไปถ่ายทอดได้ - การจัดการพื้นที่เสี่ยงเมื่อน้ำท่วมขึ้นบทถนนเด็กเล่นน้ำได้ภายใต้การดูแล - ชุมชนเฝ้าระวังความเสี่ยงห้าเรื่องสิ่งที่ควรได้ - เด็กในพื้นที่มีทักษะว่ายน้ำอยู่แล้ว เป็นการเสริมทักษะว่ายน้ำให้ถูกวิธี
3. ทักษะที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการสามารถนำไปใช้ได้ - ผู้เข้าร่วมมีความรู้ในการช่วยเหลือผู้อื่นกรณีตกน้ำและการ CPR - เด็ก ๆ มีทักษะวิธีการขึ้นลงสระน้ำที่ถูกต้อง - เด็กฝึกการลอยตัว - เด็กมีการกลับมาเล่า ถ่ายทอดให้ผู้ปกครอง - เด็กกลับไปถ่ายทอดให้น้อย เพื่อน วิธีการเอาชีวิตรอดที่ถูกต้อง - เด็กมีทักษะว่ายน้ำเพื่อชีวิตรอดเพิ่มขึ้น - เด็ก ๆ มีการถ่ายทอดการช่วยเหลือตะโกน โยน ยื่น - แกนนำ อสม. ได้ทบทวนทักษะการ CPR 4. แผนต่อไป - มีเวลาเรียนหลักสูตรควรดำเนินการทำต่อไปรูปแบบเดิม - ควรมีการสอน CPR ในชุมชนจัดในสถานที่ชุมชุน คนในชุมชนสามารถเข้าร่วมได้
- ชุมชนเขียนโครงการเอง โดยมีทีมสมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตอาสาเป็นพี่เลี้ยง 5. ข้อเสนอแนะ - มีหลักสูตรขั้นตอนการช่วยเหลือ - ผู้หญิงควรเรียนรู้ทักษะการช่วยการจมน้ำ CPR ให้มากขึ้น - ข้อควรระวังกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ชุมชนมีการจัดการพื้นที่เสี่ยง พึ่งตนเอง - ต้องมีปฏิทินน้ำท่วมชุมชนช่วงเวลา ตารางใกล้ช่วงเวลาน้ำท่วม 7. อนาคต - อาสาสมัครเฝ้าระวังจุดเสี่ยงเป็นจุดจุดและมีทักษะการช่วยเหลือ CPR เด็กจมน้ำการใช้อุปกรณ์
อีก 5 ปีชุมชนติดริมคลองมีการฝึกทักษะไม่จมน้ำ เพราะเด็กริมคลองว่ายน้ำเป็นแล้ว

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. จำนวนผู้เข้าร่วม ทั้งหมด 32 คน ประกอบด้วย เด็ก ผู้ปกครอง แกนนำชุมชน
  2. ผู้เข้าร่วมได้สะท้อนการเข้าร่วมกิจกรรมที่ผ่านมา เห็นถึงการเปลี่นรแปลงของบุครหลานที่เข้าร่วม และการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต
  3. ชุมชนมีความสนใจ คณะทำงานพื้นที่พร้อมที่จะขับเคลื่อนการทำงานในประเด็นนี้ต่อไป
ดำเนินการปรับสภาพพื้นที่เพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็ก7 ธันวาคม 2566
7
ธันวาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย na_945
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นางวริดา ดอเลาะ ได้รับมอบหมายจาก นายการริยา แวอูมา (ประธานชุมชน) นำทีมแกนนำชุมชน อาสาสมัคร อสม. จำนวน 9 คน เข้าร่วมกิจกรรม คุณมูฮัมหมัด เจ๊ะดอเลาะ (วิทยากร) สรุปการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมากิจกรรมที่ 3 สำรวจข้อมูลสถานการณ์การจมน้ำของเด็ก สภาพพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่ และกิจกรรมที่ 8 เวทีวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็กในชุมชนอย่างมีส่วนร่วมพร้อมแนวทางการแก้ไข ดังนี้ 1.พื้นที่เสี่ยงศาลาริมคลอง ลักษณะพื้นที่ความเสี่ยง 1) เด็กว่ายน้ำข้ามคลอง 2) พื้นที่ลาดน้ำลึก 2 เมตรกว่าช่วงเวลาปกติ -
การดำเนินการ เตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ช่วยเหลือ 2.พื้นที่เสี่ยงลานอเนกประสงค์ - ลักษณะพื้นที่ความเสี่ยง 1) เป็นพื้นที่ริมคลองที่มีน้ำตื้น เด็กเล็กเล่นน้ำได้ 2) จังหวะน้ำขึ้นน้ำจะลึกกว่าระดับน้ำปกติ 3)พื้นที่ลงเล่นน้ำลื่น
การดำเนินการ 1) ติดป้ายเตือน 2)ติดสื่อให้ความรู้ 2 เรื่อง การช่วยเหลือและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นกรณีตกน้ำ 3. พื้นที่เสี่ยงสะพานเฉลิมพระเกียรติ
ลักษณะพื้นที่ความเสี่ยง 1) เป็นพื้นที่น้ำลึก 2) เด็กโตจะมาเล่นน้ำที่ตรงนี้ 3) เด็กกระโดดลงเล่นน้ำบนสะพาน การดำเนินการ ติดป้ายเตือน 4. พื้นที่เสี่ยงโรงเรียนตะฮฟิส ลักษณะพื้นที่ความเสี่ยง 1) เด็กนักเรียนเล่นน้ำช่วงเวลาว่าง
การดำเนินการ พื้นที่ส่วนบุคคลไม่สามารถดำเนินการได้ แบ่งกลุ่มคณะทำงานเพื่อไปติดตั้งป้ายเตือนและอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังนี้ ป้ายเตือน 2 รูปแบบ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรม 1. จำนวนผู้เข้าร่วม ได้แก่ แกนนำชุมชน อาสาสมัคร อสม. จำนวน 9 คน วิทยากรและคณะทำงาน จำนวน 6 คน 2. โฟมบอร์ด 2 อัน เรื่องการช่วยเหลือและการปฐมพยาบาลกรณีการจมน้ำ
3. ไวนิวป้ายเตือนตามจุดเสี่ยงต่างๆ 3 แผ่น
4. อุปกรณ์การช่วยเหลือเบื้องต้น เสื้อชูชีพ 5 ตัว เชือกกู้ภัย 1 ชุด ห่วงไฟเบอร์ 2 อัน 5. จุดเสี่ยงในชุมชนได้รับการปรับปรุงแก้ไข จำนวน 3 จุด คิดเป็นร้อยละ 80 ของจำนวนจุดเสี่ยงที่ชุมชนแก้ไขได้ ดังนี้ ศาลาริมน้ำ ลานอเนกประสงค์ สะพานเฉลิมพระเกียรติและบริเวณเส้นทางชุมชนริมคลอง 6.  วิธีการแก้ไขจุดเสี่ยงที่ดำเนิน การมีความเหมาะสมสามารถลดอุบัติเหตุบริเวณจุดเสี่ยงนั้นๆ ได้จริงดังนี้ ติดป้ายเตือนต่าง ๆ มีการจัดเตรียมอุปกรณ์การช่วยเหลือ มีสื่อความความรู้วิธีการช่วยเหลือและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นกรณีจมน้ำ

เดินทางไปเบิกเงินธนาคาร23 พฤศจิกายน 2566
23
พฤศจิกายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย na_945
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการมอบหมายให้คณะทำงานโครงการ จำนวน 2 ท่าน ได้แก่ นางสาวหุสณา มาลายา (ผู้ประสานงานและ) นางสาวฝาตีเม๊าะ เจ๊ะอุบง (เจ้าหน้าที่การเงิน) เดินทางไปเบิกเงินเดินทางไปเบิกเงินโครงการการป้องกันเด็กจมน้ำอย่างมีส่วนร่วมพื้นที่ตำบลจะบังติกอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ณ ธนาคารกรุงไทย สาขา Big C ปัตตานี สำหรับใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม งาวดที่ 1 จำนวน 20,000 บาท

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงานเดินทางไป 2 คน 2.เบิกเงินงวดที่ 1 จำนวน 20,000 บาท

ค่าตรายางหมึกในตัว24 ตุลาคม 2566
24
ตุลาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย na_945
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทางโครงการสั่งทำตรายางสำหรับใช้ใช้การเครียร์เอกสาร ตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้ตรายาง 1 ชุด มี 3 ชิ้น ได้แก่ ตรายางรหัสโครงการ ตรายางหัวบิลและหมึกเติมตรายาง
อบรมให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำแก่เด็ก30 กันยายน 2566
30
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย na_945
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เป็นการจัดกิจกรรมร่วมกับอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำและฝึกทักษะการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธีแก่ผู้ปกครองและแกนนำชุมชน ณ ห้ององค์รวม คณะพยาบาลศาตร์ ม.อ.ปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เห็นความสำคัญและมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำและสามารถให้การช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างถูกวิธี กิจกรรมครั้งนี้เป็นการร่วมตัวผู้ที่มีความเกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจทุกช่วงวัย ตั้งแต่ เด็ก แกนนำชุมชน อาสาสมัคร อสม. ตลอดจนผู้นที่สนใจเข้าร่วม จำนวน 55 คน เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการมีวิทยากรมาให้ความรู้ 2 ท่านได้แก่
นายอิสมาแอล สิเดะ วิทยากรสถานการณ์และความปลอดภัยทางน้ำ สิ่งที่ได้เรียนรู้
  สถานการณ์การจมน้ำ สาเหตุ การป้องกัน   แหล่งน้ำเสี่ยงทั้งในบ้านและรอบบ้าน   สภาพแหล่งน้ำ เช่น น้ำลึก น้ำตื้น น้ำวน   วิธีการลงและขึ้นจากแหล่งน้ำด้วยความปลอดภัย   ความปลอดภัยในการเดินทางทางน้ำ   จังหวัดปัตตานียังเป็นจังหวัดที่มีสถิติการจมน้ำอยู่อันดับต้น ๆ ของประเทศ การที่ทางโครงการเลือกน้อง ๆ อายุ 9-15 ปีเข้าร่วมฝึกทักษะการเอาชีวิตรอดเนื่องจากช่วงอายุนี้มีความเสี่ยงต่อการจมน้ำมากที่สุด พื้นที่จะบังติกอก็เป็นจุดที่มีความเสี่ยงต่อการจมน้ำจากภัยน้ำท่วม และยังเป็นชุมชนที่ติดกับแม่น้ำปัตตานี แหล่งน้ำในบ้านก็มีความอันตรายไม่แพ้กัน ทุกบ้านทั้งเด็กและผู้ปกครองต้องมีความระมัดระวังการใช้ชีวิตเพื่อให้ปลอดภัยต่อการดำเนินชีพและปลอดภัยต่อภัยธรรมชาติที่มากับน้ำด้วยเช่นกัน ผศ.สุนิดา อรรนุชิต (อาจารย์)และนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี วิทยากรปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ใช้ฟื้นคืนชีพให้ผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นหรือ CPR (Cardiopulmonary Resuscitation)
สิ่งที่ได้เรียนรู้   การประเมินสถานการณ์ช่วยเหลือผู้ใหญ่   การช่วยเหลือโดนการปั๊มหัวใจ
  การใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator, AED)
  การช่วยเหลือกรณีเด็กเล็กที่เกิดการลำลัก นม น้ำ หรืออาหาร ฯลฯ   การช่วยเหลือกรณีการจมน้ำ   ผู้เข้าร่วมทุกท่านได้ลงมือปฏิบัติการ CPR ตามขั้นตอนการช่วยเหลือที่ถูกต้อง ทักษะนี้ยังเป็นทักษะที่สำคัญเมื่อมีการพบผู้ประสบเหตุหยุดหายใจ คนรอบตัวมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีทักษะในการประเมินอาการ การสื่อสาร และการช่วยเหลือเบื้องต้นเพื่อเป็นการลดอัตตราการสูญเสียทรัพยากรคนที่จะเกิดขึ้นหากไม่มีการช่วยเหลือหรือมีการช่วยเหลือที่ผิดวิธี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จำนวนผู้เข้าร่วมทั้งหมด 55 คน ประกอบด้วย เด็ก ผู้ปกครองและแกนนำชุมชน 2. เด็กมีได้เรียนรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำและทราบแนวทางปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง 3. เด็กได้เรียนรู้การช่วยเหลือผู้อื่นจากการจมน้ำอย่างถูกวิธีตามหลัก ตะโกน โยน ยื่น และ 4. เด็กร้อยละ 100 ได้ฝึกปฏิบัติการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ใช้ฟื้นคืนชีพให้ผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นหรือ CPR (Cardiopulmonary Resuscitation)

อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำและฝึกทักษะการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธีแก่ผู้ปกครองและแกนนำชุมชน30 กันยายน 2566
30
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย na_945
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมครั้งนี้เป็นการร่วมตัวผู้ที่มีความเกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจทุกช่วงวัย ตั้งแต่ เด็ก แกนนำชุมชน อาสาสมัคร อสม. ตลอดจนผู้นที่สนใจเข้าร่วม จำนวน 55 คน เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการมีวิทยากรมาให้ความรู้ 2 ท่านได้แก่
นายอิสมาแอล สิเดะ วิทยากรสถานการณ์และความปลอดภัยทางน้ำ สิ่งที่ได้เรียนรู้
  สถานการณ์การจมน้ำ สาเหตุ การป้องกัน   แหล่งน้ำเสี่ยงทั้งในบ้านและรอบบ้าน   สภาพแหล่งน้ำ เช่น น้ำลึก น้ำตื้น น้ำวน   วิธีการลงและขึ้นจากแหล่งน้ำด้วยความปลอดภัย   ความปลอดภัยในการเดินทางทางน้ำ   จังหวัดปัตตานียังเป็นจังหวัดที่มีสถิติการจมน้ำอยู่อันดับต้น ๆ ของประเทศ การที่ทางโครงการเลือกน้อง ๆ อายุ 9-15 ปีเข้าร่วมฝึกทักษะการเอาชีวิตรอดเนื่องจากช่วงอายุนี้มีความเสี่ยงต่อการจมน้ำมากที่สุด พื้นที่จะบังติกอก็เป็นจุดที่มีความเสี่ยงต่อการจมน้ำจากภัยน้ำท่วม และยังเป็นชุมชนที่ติดกับแม่น้ำปัตตานี แหล่งน้ำในบ้านก็มีความอันตรายไม่แพ้กัน ทุกบ้านทั้งเด็กและผู้ปกครองต้องมีความระมัดระวังการใช้ชีวิตเพื่อให้ปลอดภัยต่อการดำเนินชีพและปลอดภัยต่อภัยธรรมชาติที่มากับน้ำด้วยเช่นกัน ผศ.สุนิดา อรรนุชิต (อาจารย์)และนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี วิทยากรปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ใช้ฟื้นคืนชีพให้ผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นหรือ CPR (Cardiopulmonary Resuscitation)
สิ่งที่ได้เรียนรู้   การประเมินสถานการณ์ช่วยเหลือผู้ใหญ่   การช่วยเหลือโดนการปั๊มหัวใจ
  การใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator, AED)
  การช่วยเหลือกรณีเด็กเล็กที่เกิดการลำลัก นม น้ำ หรืออาหาร ฯลฯ   การช่วยเหลือกรณีการจมน้ำ   ผู้เข้าร่วมทุกท่านได้ลงมือปฏิบัติการ CPR ตามขั้นตอนการช่วยเหลือที่ถูกต้อง ทักษะนี้ยังเป็นทักษะที่สำคัญเมื่อมีการพบผู้ประสบเหตุหยุดหายใจ คนรอบตัวมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีทักษะในการประเมินอาการ การสื่อสาร และการช่วยเหลือเบื้องต้นเพื่อเป็นการลดอัตตราการสูญเสียทรัพยากรคนที่จะเกิดขึ้นหากไม่มีการช่วยเหลือหรือมีการช่วยเหลือที่ผิดวิธี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. จำนวนผู้เข้าร่วมทั้งหมด 55 คน ประกอบด้วย เด็ก ผู้ปกครองและแกนนำชุมชน
  2. แกนนำชุมชน ผู้ปกครอง มีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำและทราบแนวทางปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
  3. แกนนำชุมชน ผู้ปกครอง เรียนรู้การช่วยเหลือผู้อื่นจากการจมน้ำอย่างถูกวิธีตามหลัก ตะโกน โยน ยื่น และ
  4. แกนนำชุมชน ผู้ปกครอง ร้อยละ 100 ได้ฝึกปฏิบัติการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ใช้ฟื้นคืนชีพให้ผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นหรือ CPR (Cardiopulmonary Resuscitation)
การอบรม เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 1/256625 กันยายน 2566
25
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย na_945
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานจำนวน 3 คน เข้าร่วมรอบรม เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 1/2566 ในวันที่ 25 กันยายน 2566 ณ ห้องประชุมเพนดูล่า 3 โรงแรมปาร์ค อินทาวน์ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
เวทีเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยตัวแทนจากประเด็นกลุ่มย่อยของโครงการย่อย โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล วิทยากรและนายมุคตาร วายา ผู้ช่วยวิทยากร
พิธีเปิดการอบรม และชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดอบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 1/2566 โดยนายเศรษฐ์ อัลยุฟรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี (ประธานกรรมการบริหารแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่  จังหวัดปัตตานี) กล่าวรายงาน โดยนางสาวมาริสา เกียรติศักดิ์โสภณ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข
  ช่วงที่ 1 ในหัวข้อ "ทบทวนการดำเนินงานแผนงานร่วมทุน" โดยนางสาวมาริสา เกียรติศักดิ์โสภณ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและนายมุคตาร วายา ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
  ช่วงที่ 2 “ประเมินผลการดำเนินงาน 3 มิติ” 2.1 แบ่งกลุ่ม ตามโครงการย่อย เพื่อประเมินผลการดำเนินงานใน 3 มิติ ได้แก่ 1.กลไกการบริหารแผนงานร่วมทุน 2. กลไกพี่เลี้ยง 3. ผลลัพธ์โครงการย่อย 2.2 นำเสนอผลการประเมินตนเองของโครงการย่อย (วงใหญ่ 40 นาที)  โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล วิทยากร และทีมผู้ช่วยวิทยากร กลุ่มที่ 1 นายมุคตาร วายา กลุ่มที่ 2 ผศ.สุวิมล นราองอาจ กลุ่มที่ 3 นางสาววรรณาพร บัวสุวรรณ กลุ่มที่ 4 นายไพจิตร บุญทอง กลุ่มที่ 5 นายอับดุลราซัค กุลตามา กลุ่มที่ 6 นางอรัญญา ฤทธิเดช กลุ่มที่ 7 นางสาววรรณี ชัยรัตนมโนกร  กลุ่มที่ 8 นางสาวจุฬามณี รังสิเวค กลุ่มที่ 9 นางสาวคนึงนิจ มากชูชิต กลุ่มที่ 10 นายอานัติ หวังกุหลำ กลุ่มที่ 11 นางสาวเสาวลักษณ์ ศรเรือง กลุ่มที่ 12 นางไซนับ อาลี กลุ่มที่ 13 นายมุสตากีม ดอนิ กลุ่มที่ 14 นางสาวนุชรัตน์ นวลดี
  ช่วงที่ 3 ประเด็นโครงการย่อยกับผลลัพธ์สุด WOW !!!
  แบ่งกลุ่มตามโครงการย่อยเพื่อทบทวนการดำเนินงานในประเด็นดังนี้ - ประเด็นการดำเนินงาน (จำนวน/พื้นที่/กลุ่มเป้าหมาย) - ผลลัพธ์ (Outcome) ในแต่ละประเด็น - ความคืบหน้าโครงการย่อยตามบันไดผลลัพธ์กลาง - สรุปปัจจัยสำคัญ เงื่อนไข ปัญหาอุปสรรค สิ่งที่ควรทำ สิ่งที่ไม่ ควรเกิดขึ้นพร้อมค้นหาความเสี่ยงต่อการล้มเหลวของโครงการย่อย และข้อเสนอแนะ
  กิจกรรม World Café แลกเปลี่ยนวงใหญ่ (โครงละ 5 นาที) โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล วิทยากร และทีมผู้ช่วยวิทยากร กลุ่มที่ 1 นายมุคตาร วายา กลุ่มที่ 2 ผศ.สุวิมล นราองอาจ กลุ่มที่ 3 นางสาววรรณาพร บัวสุวรรณ กลุ่มที่ 4 นายไพจิตร บุญทอง กลุ่มที่ 5 นายอับดุลราซัค กุลตามา กลุ่มที่ 6 นางอรัญญา ฤทธิเดช กลุ่มที่ 7 นางสาววรรณี ชัยรัตนมโนกร กลุ่มที่ 8 นางสาวจุฬามณี รังสิเวค กลุ่มที่ 9 นางสาวคนึงนิจ มากชูชิต กลุ่มที่ 10 นายอานัติ หวังกุหลำ กลุ่มที่ 11 นางสาวเสาวลักษณ์ ศรเรือง กลุ่มที่ 12 นางไซนับ อาลี กลุ่มที่ 13 นายมุสตากีม ดอนิ กลุ่มที่ 14 นางสาวนุชรัตน์ นวลดี
  ช่วงที่ 4 ผู้เข้าร่วมอบรมร่วมแลกเปลี่ยนในวงใหญ่ และสรุปความเชื่อมโยง (กลไกการบริหารแผนงานร่วมทุน/กลไกพี่เลี้ยง/โครงการย่อย)โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล วิทยากรผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานจำนวน 3 คน เข้าร่วมการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ผู้รับทุนได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบันทึกข้อมูลที่ถูกต้อง การจัดทำงเอกสารการเงินตามแหล่งทุนและการดำเนินงานให้ตรงตามวัตถุประสงค์ 2.ผู้รับทุนได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนระหว่างผู้รับทุนร่วมกัน ถึงความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรค และผลลัพธ์การดำเนินงานที่ผ่านมา
3.ผู้รับทุนแลกเปลี่ยนการดำเนินงานกับพี่เลี้ยงงาน 4.ผู้รับทุนได้รู้ถึงการดำเนินงานของพื้นที่อื่น ๆ ร่วมถึงได้เรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาต่าง ๆที่พบเจอตลอดระยะเวลาในการดำเนินงาน

เวทีวิเคราะห์พื้นที่ความเสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็กในชุมชนอย่างมีส่วนร่วมพร้อมกำหนดแนวทางแก้ไข24 กันยายน 2566
24
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย na_945
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คุณมูฮัมหมัด เจ๊ะดอเลาะ (วิทยากร) ชวนทีมชุมชนทบทวนสิ่งที่เกืดไปถึงกระบวนการวิเคราะห์ความเสี่ยงต่าง ๆ
วิเคราะห์ความเสี่ยงเด็กจมน้ำในพื้นที่ ช่วงเวลาปกติ 1. พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมหลักเป็นพื้นที่แม่น้ำปัตตานีตลอดลำน้ำ โดยมีจุดที่มีเด็กเล่นน้ำชัดเจน 4 จุด 2. กลุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เด็กจมน้ำคือกลุ่มเด็กที่อยู่นอกชุมชนที่เข้ามาเล่นน้ำ เนื่องจากว่าไม่รู้สภาพพื้นที่ลึกตื้นของแม่น้ำ 3. ช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงจะเป็นช่วงหลังเลิกเรียนในตอนเย็น ช่วงวันหยุดและช่วงปิดเทอม เป็นช่วงที่เด็กเข้ามาเล่นน้ำในพื้นที่มากที่สุด 4. ความคึกคะนอง ความประมาทโดยคิดว่าว่ายน้ำได้แล้วไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือก็ได้ มีความเสี่ยงต่อการจมน้ำ 5. เวลามีเด็กจมน้ำต้องใช้เวลานานในการค้นหา เนื่องจากเป็นแม่น้ำขนาดใหญ่ และขาดอุปกรณ์ที่มีความพร้อมต่อการช่วยเหลือ 6. เจ้าหน้าที่เข้ามาช่วยเหลือในพื้นที่ใช้ระยะเวลานานในการเข้ามาช่วยเหลือ

วิเคราะห์ความเสี่ยงเด็กจมน้ำช่วงน้ำท่วม 1. พื้นที่ในแม่น้ำปัตตานีมีความเสี่ยงมากในการปล่อยให้เด็กเล่นน้ำ เนื่องจากมีน้ำปริมาณมาก มีความลึกมาก น้ำไหลเชี่ยวแรง และการช่วยเหลือเป็นไปได้ยากเวลาเกิดสถานการณ์มีคนจมน้ำ อาจส่งผลต่อการเสียชีวิตและสูญหายได้ 2. ช่วงระหว่างน้ำท่วมแรงดันน้ำจะดันฝาท่อระบายน้ำบางพื้นที่ออกมา มีความเสี่ยงที่จะทำให้เด็กตกท่อระบายน้ำได้ 3. ผู้ปกครองบางท่านปล่อยให้เด็กเล็กเล่นน้ำกับกลุ่มคนอื่น ๆ อาจมีความเสี่ยงที่จะทำให้เด็กไปเล่นในพื้นที่น้ำลึกได้ 4. แกนนำชุมชนยังไม่มีทักษะในการช่วยเหลือเด็กจมน้ำที่ถูกวิธี

ข้อเสนอต่อการลดความเสี่ยงและการช่วยเหลือเด็กจมน้ำ 1. เสริมทักษะการช่วยเหลือเด็กจมน้ำที่ถูกวิธีให้แก่ผู้นำ แกนนำชุมชน ที่อาศัยริมแม่น้ำปัตตานี 2. จัดการอุปกรณ์การช่วยเหลือที่จำเป็นไว้ที่ชุมชนริมคลองเพื่อใช้ในการช่วยเหลือเวลาเด็กจมน้ำสามารถที่ช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที 3. ไม่อนุญาตให้เด็กเล่นน้ำในแม่น้ำปัตตานีในช่วงของน้ำท่วมหรือช่วงที่มีน้ำหลาก เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการจมน้ำสูงมาก 4. จัดทำป้ายแจ้งระดับน้ำลึก ป้ายความเสี่ยงที่อาจจะทำให้เด็กจมน้ำ และป้ายให้ความรู้การช่วยเหลือเด็กจมน้ำที่ถูกวิธีตามพื้นที่เสี่ยง 5. ช่วงน้ำท่วมควรจัดระเบียบพื้นที่ให้เด็กเล็ก เด็กโตเล่นน้ำให้ชัดเจน โดยการวางแผงกั้นน้ำ 6. ผู้ปกครองต้องดูแลเด็กเวลาพาเด็กมาเล่นน้ำอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะผู้ปกครองที่เป็นเด็กเล็ก

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรม 1. จำนวนผู้เข้าร่วม แกนนำชุมชน อาสาสมัคร อสม. จำนวน 15 คน วิทยากรและคณะทำงาน จำนวน 5 คน 2. มีข้อมูลสถานการณ์การจมน้ำของเด็ก สภาพพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่ 1 ชุด 3. แกนนำชุมชนร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลของพื้นที่ด้วยตนเอง

สำรวจข้อมูลสถานการณ์การจมน้ำของเด็ก สภาพพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่ ก่อน23 กันยายน 2566
23
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย na_945
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นายการริยา แวอูมา (ประธานชุมชน) นำทีมแกนนำชุมชน อาสาสมัคร อสม. พาคุณมูฮัมหมัด เจ๊ะดอเลาะ (วิทยากร) และคณะทำงานสำรวจพื้นที่ในชุมชนเพราะทั้งอธิยายความเป็นชุมชนริมคลองดังนี้
ตำบลจาบังติกอ ในพื้นที่ตำบลจะบังติกอ ประกอบด้วย 4 ชุมชน คือชุมชนตะลุโบะ ชุมชนตะบังติกอ(วังเก่า,ชุมชนจะบังติกอ(ริมคลอง),ชุมชนตะบังติกอ(วอกะห์เจะหะ) สภาพทั่วไปของตำบล เป็นชุมชนเมือง อยู่ในเขตเทศบาล มีแม่น้ำปัตตานีไหลผ่าน ชุมชนติดกับแม่น้ำปัตตานีประสบกับภาวะน้ำท่วมทุกปี จำนวนประชากรของตำบล จำนวนประชากรทั้งสิ้น 2,329 คน เป็นชาย 1,102 คน เป็นหญิง 1,227 คน ข้อมูลอาชีพของตำบล
  อาชีพหลัก ค้าขาย
  อาชีพเสริม รับจ้าง อาณาเขตตำบล
  ทิศเหนือ ติดต่อ ตำบลตะลุโบะ   ทิศใต้ ติดต่อ ชุมชนจะบังติกอ(วังเก่า) แม่น้ำปัตตานี   ทิศตะวันออก ติดต่อ ถนนยะรัง ซอย 6   ทิศตะวันตก ติดต่อ แม่น้ำปัตตานี
ผู้เข้าร่วมให้ข้อมูลสำหรับกำหนดแผนที่ความเสี่ยงต่อการทำให้เด็กจมน้ำในพื้นที่จาบังติกอ จุดที่ พื้นที่เสี่ยง ลักษณะพื้นที่ ความเสี่ยง ความเสี่ยง ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ กลุ่มเสี่ยง 1. ศาลาริมคลอง
- เด็กว่ายน้ำข้ามคลอง
- พื้นที่ลาดน้ำลึก 2 เมตรกว่าช่วงเวลาปกติ
- ตะคริวจากการเล่นน้ำนาน - คนนอกพื้นที่เข้ามาเล่นน้ำไม่รู้ว่าพื้นที่ตรงไหนลึก ตื้น - ทักษะการว่ายน้ำในคลองไม่มากพอ - เด็กโซนนอก (ไม่ใช่เด็กริมคลอง) - เด็กอายุ 14 ปีขึ้นไป - เด็กนอกชุมชน ที่ไม่ได้อยู่ในชุมชนริมคลอง 2. ลานอเนกประสงค์
- เป็นพื้นที่ริมคลองที่มีน้ำตื้น เด็กเล็กเล่นน้ำได้
- จังหวะน้ำขึ้นน้ำจะลึกกว่าระดับน้ำปกติ - พื้นที่ลงเล่นน้ำลื่น
- จังหวะน้ำขึ้น น้ำจะลึกกว่าปกติ - จังหวะลื่นลงถไลลงในแม่น้ำที่ลึก
เด็กเล็กอายุ 5 ปีขี้นไป 3. สะพานเฉลิมพระเกียรติ
- เป็นพื้นที่น้ำลึก เด็กโตจะมาเล่นน้ำที่ตรงนี้ - เด็กกระโดดลงเล่นน้ำบนสะพาน
- เด็กคึกคะนองในการเล่นน้ำ - ประมาทเวลาเล่นน้ำ - ว่ายน้ำตัวเปล่า ไม่ใช้อุปกรณ์ช่วยเวลาเล่นน้ำ
- เด็กโต / วัยรุ่น 4 โรงเรียนตะฮฟิส
- เด็กนักเรียนเล่นน้ำช่วงเวลาว่าง
- เด็กนักเรียนฮาฟิส มีข้อมูลสถานการณ์การจมน้ำของเด็ก สภาพพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่ 1 ชุด ที่ประกอบไปด้วย ข้อมูลพื้นฐานชุมชน เป็นชุมชนติดริมแม่น้ำเกิดน้ำท่วมซ้ำซากทุกปี มีอุบัติเหตุทางน้ำบ่อยครั้งล่าสุดปี 2564 มีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. จำนวนผู้เข้าร่วมทั้งหมด 12 คน ได้แก่ แกนนำชุมชน อาสาสมัคร อสม. จำนวน 7 คน วิทยากรและคณะทำงาน จำนวน 5 คน
  2. ได้ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน แผนที่ความเสี่ยงต่อการทำให้เด็กจมน้ำในพื้นที่จาบังติกอ ตารางความเสี่ยงและการจัดการเวลาเด็กจมน้ำช่วงเวลาปกติ ตารางความเสี่ยงและการจัดการเวลาเด็กจมน้ำช่วงน้ำท่วม
  3. ข้อมูลพื้นฐานชุมชน เป็นชุมชนติดริมแม่น้ำเกิดน้ำท่วมซ้ำซากทุกปี มีอุบัติเหตุทางน้ำบ่อยครั้งล่าสุดปี 2564 มีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ จากการสำรวจได้แผนที่จุดเสี่ยง ข้อมูลความเสี่ยงต่างๆที่ส่งผลต่อการจมน้ำของเด็กช่วงเวลาปกติและช่วงน้ำท่วม
สรุปข้อมูลการติดตามครั้งที่ 2 และปรับแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์18 กันยายน 2566
18
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย na_945
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประธานกล่าวเปิดการประชุม และดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
วาระที่ 1 ประธานชี้แจงให้ที่ประชุมทราบ
การดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา 4 กิจกรรม ได้แก่ 1. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 วันที่ 16 มิถุนายน 2566 ณ Roundberry อ.เมือง จ.ปัตตานี 2. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 วันที่ 20 กรกฎาคม 2566 ณ บ้านดาหลา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 3. อบรมเติมความรู้ เพิ่มทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี วันที่ 5 สิงหาคม 2566 ณ เทพาบีช รีสอร์ท อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา 4. ฝึกทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี
ระยะเวลาสิงหาคม 66 - กันยายน 66 ณ สระว่ายน้ำ Yellow Member Swimming Pool อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จำนวน 9 ครั้ง ตามวันที่วันที่ดำเนินการตามนี้ - ครั้งที่ 1 วันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม 2566 - ครั้งที่ 2 วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม 2566 - ครั้งที่ 3 วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม 2566 - ครั้งที่ 4 วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม 2566 - ครั้งที่ 5 วันเสาร์ที่ 2 กันยายน 2566 - ครั้งที่ 6 วันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน 2566 - ครั้งที่ 7 วันเสาร์ที่ 9 กันยายน 2566 - ครั้งที่ 8 วันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน 2566 (เช้า) - ครั้งที่ 9 วันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน 2566 (บ่าย) จากการการดำเนินงานที่ผ่านมาตามแผนที่วางไว้ ทั้งระยะเวลา ช่วงเวลาการจัดกิจกรรม และตัวชี้วัดการดำเนินงาน ผลการดำเนินงานในปัจจุบันการดำเนินงานของโครงการตอบโจทย์บันไดตัวชี้วัด 2 ขั้น เพื่อความสมบูรณ์ของครั้งต่อไปต้องชวนแกนนำในชุมชนมาร่วมในกิจกรรมต่อไป วาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา   ไม่มี วาระที่ 3 เรื่องสืบเรื่องจากการะประชุมครั้งที่ผ่านมา (ปรึกษาหารือการดำเนินกิจกรรม) ภานในปลายกันยายนถึงต้นตุลาคม 2566 จะดำเนินกิจกรรม 4 กิจกรรมที่เหลือใหเตอบโจทย์ตัวชี้วัดดังนี้ 2.1 วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อให้เด็กมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ มีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และการช่วยเหลือผู้อื่นจากการจมน้ำอย่างถูกวิธี - กิจกรรมที่ 3 สำรวจข้อมูลสถานการณ์การจมน้ำของเด็ก สภาพพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่ - กิจกรรมที่ 5 อบรมให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำแก่เด็ก 2.2 วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อความปลอดภัยทางน้ำของเด็กในระดับครัวเรือนและชุมชน - กิจกรรมที่ 7 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำและฝึกทักษะการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธีแก่ผู้ปกครองและแกนนำชุมชน - กิจกรรมที่ 8 เวทีวิเคราะห์พื้นที่ความเสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็กในชุมชนอย่างมีส่วนร่วมพร้อมกำหนดแนวทางแก้ไข 2.3 รูปแบบกิจกรรมคร่าว ๆ
- วันที่ 29 กันยายน 2566 ดำเนินกิจกรรมที่ 3 สำรวจข้อมูลสถานการณ์การจมน้ำของเด็ก สภาพพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่และกิจกรรมที่ 8 เวทีวิเคราะห์พื้นที่ความเสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็กในชุมชนอย่างมีส่วนร่วมพร้อมกำหนดแนวทางแก้ไข โดยมีนายมูฮัมหมัด เจ๊ะดอเล๊าะ เป็นวิทยากร - วันที่ 30 กันยายน 2566 ดำเนินกิจกรรมที่ 7 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำและฝึกทักษะการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธีแก่ผู้ปกครองและแกนนำชุมชน โดยมีวิทยากร 2 ท่าน คุณอานัติ หวังกุลำ (นายกสมาคมศิษย์เก่าบันทิตอาสา มอ.) และผศ.สุนิดา อรรนุชิต (อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มอ.ปัตตานี) - อีก 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 9 ดำเนินการปรับสภาพพื้นที่เพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็กและกิจกรรมที่ 10 เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงานและหารือแนวทางเพื่อความต่อเนื่อง (2 กิจกรรมนี้ขึ้นอยู่กับความสะดวกของพื้นที่)
- กิจกรรมทั้งหมดจะเสร็จสิ้นภายในเดือนธันวาคม
วาระที่ 4 เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา ไม่มี วาระที่ 5 อื่น ๆ (การดำเนินงานถัดไป) - แบดี ประสานแกนนำพื้นที่ด่วนที่สุดให้ บัง แบมะ เข้าพบแกนนำปรึกษาการจัดกิจกรรมในพื้นที่ วันเวลาที่คนในพื้นที่สะดวก และสถานที่ในการจัดกิจกกรม รายชื่อแกนนำในพื้นที่ 10 คนสำหรับเข้าร่วมกิจกรรม (ต้องเรียบร้อยก่อนวันที่ 25/9/66) - กลุ่มเป้าหมาย ผู้ปกครอง + เด็ก 30 คน (หุสณาประสาน) รับสมัครผ่าน google from หลัง จากที่ทีมงานเขาพบแกนนำในพื้นที่ได้รูปแบบ กำหนดการแล้ว

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 9 คน ลากิจ 1 คน ป่วย 1 คน
  2. คณะทำงานเข้าใจกระบวนการทำงานและร่วมกันออกแบบกระบวนการ
  3. ทราบบทการการทำงานของตนเองชัดเจนเจนขึ้น
  4. ทำให้คณะทำงานดำเนินโครงการในแบบแผนเดียวกัน
ARE ครั้งที่ 2 ร่วมกับพี่เลี้ยง29 สิงหาคม 2566
29
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย na_945
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานจำนวน 6 คนเข้าร่วมติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2566 ตัวแทนคณะทำงานได้นำเสนอรูปแบบการดำเนินกิจกรรมภานใต้โครงการให้พี่เลี้ยง คุณอานัติ หวังกุลำ ดังนี้
ผลลัพทธ์ขั้นที่ 1 เกิดคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ได้ดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ขั้นที่ 2 เด็กมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี กิจกรรมที่จะเกิดขั้นดังนี้
1. ชี้แจงและประชาสัมพันธ์เปิดรับสมัครเด็กที่สนใจ 2. อบรมให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ 3. ฝึกทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี กิจกรรมที่ 1 และ 3 ได้ดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผลที่ได้ตามตัวชี้วัดขั้นที่ 2 ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 1.จำนวนผู้สมัคร “ฝึกทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี” ผ่าน google from จำนวน 48 คน
2.จำนวนผู้สมัคร “ฝึกทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี” จาก รร.อัลกุรอานสร้างอัจณริยะ ต.จะบังติกอ อ.เมือง จำนวน 16 คน
3.เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการผ่านเจพสมาคมศิษย์เก่าบันทิตอาสา มอ. จำนวนการเข้าถึงบน Face book จำนวน 9,823 ครั้ง จำนวนการมีส่วนร่วม 288 ครั้ง การแสดงความรู้สึก 63 คน การแสดงความเห็น 9 ครั้ง การคลิกลิงค์ 32 ครั้ง การแชร์ 23 ครั้ง 4.ได้จำนวนน้อง ๆ ที่ “ฝึกทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี” หญิง 15 คน ชาย 17 คน กิจกรรมที่ 3
1. จำนวนผู้เข้าร่วมทั้งหมด 32 คน ผู้หญิง 15 คน ผู้ชาย 17 คน 2. ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 สัปดาห์ จำนวน 9 ครั้ง ครั้งละ 1.30 ชั่วโมง
3. เด็ก ๆได้เรียนรู้พร้อมปฏิบัติจริง ทักษะการว่ายน้ำเพื่อชีวิตรอดเบื้องต้น การสูดอากาศกลั้นหายใจเป่าลม ลอยตัวคว่ำปลาดาว ลอยตัวคว่ำแมงกะพรุน ลอยตัวคว่ำเต่า ลอยตัวคว่ำหงาย เคลื่อนตัวท่าคว่ำ เคลื่อนตัวท่าหงาย เคลื่อนตัวท่าลูกหมาตกน้ำ เคลื่อนตัวสลับไปมา เป็นต้น 4. เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ทักษะการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำอย่างถูกต้อง (ตะโกน โยน ยืน) การเลือกใช้อุปกกรณ์อย่าถูก
5. เด็กจำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 84 มีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำและทราบแนวทางปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เด็กจำนวน 28 คน ร้อยละ 87 มีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด ได้แก่ การควบคุมระบบหายใจใต้น้ำ การลอยตัว การเคลื่อนตัวในน้ำ
เด็กจำนวน 30 คน ร้อยละ 94 มีทักษะการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธีตามหลัก ตะโกน โยน ยื่น

พี่เลี้ยงโครงการให้แนะนำ 1. พี่เลี้ยงชื่นชมการดำเนินกิจกรรมอยู่ในกรอบระยะเวลาที่เหมาะสม ดำเนินการตรงตามแผนและกลุ่มเป้าหมาย 2. พยายามให้มีการบันทึกรายงานในระบบ ฅนสร้างสุข ตามการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง 3. แนะนำให้มีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ไม่ทิ้งช่วงของกิจกรรม เพราะอาจจะส่งผลต่อกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมได้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. คณะทำงานจำนวน 6 คนเข้าร่วมติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2566
  2. คณะทำงานได้นำเสนอผลการดำเนินงาน ตามผลลัพธ์ขั้นที่ 1 และนำเสนอความคืบหน้าของผลลัพธ์ขั้นที่ 2 ให้พี่เลี้ยงฟัง
  3. พี่เลี้ยงแนะนำให้มีการบันทึกข้อมูลในระบบ "คนสร้างสุข"
ธุรกรรมทางการเงิน ครั้งที่ 120 สิงหาคม 2566
20
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย na_945
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการมอบหมายให้คณะทำงานโครงการ จำนวน 2 ท่าน ได้แก่ นางสาวหุสณา มาลายา (ผู้ประสานงานและ) นางสาวฝาตีเม๊าะ เจ๊ะอุบง (เจ้าหน้าที่การเงิน) เดินทางไปเบิกเงินโครงการการป้องกันเด็กจมน้ำอย่างมีส่วนร่วมพื้นที่ตำบลจะบังติกอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ณ ธนาคารกรุงไทย สาขา Big C ปัตตานี สำหรับใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม งาวดที่ 1 จำนวน 60,000 บาท

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงานเดินทางไป 2 คน 2.เบิกเงินงวดที่ 1 จำนวน 60,000 บาท

ฝึกทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี19 สิงหาคม 2566
19
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย na_945
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมฝึกทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี ดำเนินการจำนวน 9 ครั้งเดือน สิงหาคม 2566 ตามวันที่ดังนี้ ครั้งที่ 1 วันเสาร์ที่ 12 สิงหาคม 2566 ครั้งที่ 2 วันอาทิตย์ที่ 13 สิงหาคม 2566 ครั้งที่ 3 วันจันทร์ที่ 14 สิงหาคม 2566 ครั้งที่ 4 วันอังคารที่ 15 สิงหาคม 2566 ครั้งที่ 5 วันพฤหัสที่ 17 สิงหาคม 2566 ครั้งที่ 6 วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม 2566 ครั้งที่ 7 วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม 2566 ครั้งที่ 8 วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม 2566 (เช้า) ครั้งที่ 9 วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม 2566 (บ่าย) ผู้เข้าร่วมเป็นน้อง ๆ จำนวน 32 คนที่ผ่านการคัดเลือกจากการับสมัครเข้าร่วมโครงการ จากเงื่อนไขหลัก ๆ 3ข้อดังนี้ 1. อายุระหว่าง 9-12 ปี 2. ส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 130 เซ็นติเมตร 3. อาศัยอยู่มนพื้นที่จะบังติกอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี การดำเนินกิจกรรมมีนายอิสมาแอล สิเดะ เป็นวิทยากรหลัก และมีผู้ช่วยวิทยากรจำนวน 5 ท่านดังนี้ 1. นายมูฮัมหมัด เจ๊ะดอเล๊าะ
2. นางสาวตูแวซะ นิแม
3. นางสาววริศรา หวังสุวรรณ
4. นายอุบัยดิลละห์ หะแว 5. ว่าที่ร้อยตรีอิสมาแอ มาหะ

วิทยากรชี้แจงวัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้และตระหนักในเรื่องความปลอดภัยทางน้ำ 2. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีทักษะความปลอดภัยทางน้ำ มีทักษะพื้นฐานการว่ายน้ำเพื่อการเอาชีวิตรอด และการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำอย่างถูกต้อง

ชี้แจงกติกา 1. เชื่อฟังวิทยากรและครูฝึก 2. ไม่กระโดดลงสระน้ำ ไม่เล่นกันในสระน้ำ 3. ห้ามไปในพื้นที่น้ำลึก 4. ถ้าไม่ปฏิบัติตามกติกาให้ขึ้นพักบนขอบสระสักเกตเพื่อน ๆ เป็นเวลา 5-10 นาที

ก่อนลงสระมีการเตรียมความพร้อม อบอุ่นร่างกายโดยการยืดเส้นยืดสาย 1. อธิบายสภาพสระบริเวณน้ำตื้น 120 เมตร น้ำลึก 150 เมตร
2. ระเบียบสระ 3 ข้อ 1.ต้องใส่ชุดว่ายน้ำ 2.ไม่รับประทานอาหารบริเวณขอบสระ 3.ล้างตัวก่อนลงสระและหลังจากขึ้นจากสระ 3. การลงและขึ้นจากสระน้ำด้วย 2 วิธี คือ 1.การลงทางบันได 2.การลงจากขอบสระ ฝึกขึ้นลง 2-3 รอบ ฝึกการขึ้นลงจากขอบสระ 2-5 ครั้ง

สร้างความคุ้นเคยกับน้ำ
1. ฝึกการทรงตัวในน้ำ โดยเดินขยับไปซ้ายและขวามือเตะขอบสระตลอด
2. ฝึกการกลั้นหายใจ โดยหายใจเข้าและออกทางปาก ขั้นตอน 1 หันหน้าเข้าหาขอบสระ มือจับขอบสระ หายใจเข้าทางปาก ย่อเขาจนหัวจมน้ำ เป่าลมออกทางปาก 4-5 ครั้ง ขั้นตอน 2 ค่อยเพิ่มเวลาการกลั้นหายใจ โดยนับ 1-5 แล้วค่อยเป่าอากาศออกจากปาก ทำ 4-5 ครั้งจนชิน

ฝึกการลอยตัวแบบนอนคว่ำ 3 ท่า
1. ท่าเต่า หายใจเข้าเต็มปอดกลั้นหายใจ งอเข่า เอามือกอดเข่า ลอยตัว เมื่อหมดกลั้นหายใจให้เป่าลมออกพร้อมกางแขนใช้มือดันน้ำเพื่อทรงตัวยืน 2. ท่าแมงกะพรุน หายใจเข้าเต็มปอดกลั้นหายใจ คว่ำหน้าให้หน้าจมน้ำ เหยียดแขนและเท้าลงลอยตัว เมื่อหมดกลั้นหายใจให้เป่าลมออกพร้อมกางแขนใช้มือดันน้ำเพื่อทรงตัวยืน 3. ท่าปลาดาว หันหน้าเข้าหาขอบสระ ย่อตัวลงให้คางปริ่มน้ำ หายใจเข้าทางปากให้เต็มปอด ก้มหน้า ยืดแขน ขา รักษาสมดุล เมื่อหมดกลั้นหายใจให้เป่าลมออกพร้อมกางแขนใช้มือดันน้ำเพื่อทรงตัวยืน

ฝึกการลอยตัวแบบนอนหงาย
- ปลายเท้าชิดขอบสระ มือเตะขอบสระ ย่อเข่าลงให้ใบหูปริ่มน้ำ เหยียดแขนตรง แล้วหายใจเข้าเต็มปอด ยืดอกยกพุง ค่อยๆ ปล่อยมืและกวาดมือขึ้นช้า ๆ *เงยหน้ามากๆ ยกก้น เอวไม่งอ งอเข่าได้ เมื่อหมดกลั้นหายใจให้เป่าลมออกพร้อมใช้มือดันน้ำเพื่อทรงตัวยืน - ลอยตัวแบบต่อเนื่อง 2-3 รอบ - ฝึกการเกาะขวดน้ำดื่มลอยตัว ด้วย 2 วิธี คือ กอดไว้ที่หน้าอก กับหนีบไว้ที่ขา ระยะเวลามากขึ้นเป็นลำดับ การเคลื่อนตัวแบบลูกหมาตกน้ำ
- ย่อตัวลงให้คางปริ่มน้ำ ยกเท้าขึ้นจากพื้นใช้ฝ่าเท้าถีบน้ำลงด้านล่างสลับเหมือนถีบจักรยาน มือคล่ำลงพุ้ยน้ำลงด้านล่าง - ฝึกเปลี่ยนทิศทาง ไปหน้า ซ้าย ขวา หมุนกลับหลัง เพิ่มระยะเวลามากขึ้นเป็นลำดับ

การเคลื่อนตัวด้วยท่าต่าง ๆ
การเตะเท้าคว่ำ - มือชิดแนบหู ก้มหน้าลง ถีบเท้าออกจากขอบสระในท่าคว่ำและปล่อยให้ตัวไหลไปในน้ำ
- ถีบเท้าออกจากขอบสระในท่าคว่ำและเตะเท้าคว่ำ - ถีบเท้าออกจากขอบสระในท่าคว่ำ ให้ตัวไหลตามน้ำ ดึงแขน และเตะเท้าคว่ำ เตะเท้าหงาย - เตะเท้าหงายให้งอเข่าลงถีบตัวแล้วเตะเท้าขึ้น เน้นสะบัดหลังเท้า มือแนบลำตัวช่วยโบกน้ำ - เตะเท้าหงายให้งอเข่าลงถีบตัวแล้วเตะเท้าขึ้น เน้นสะบัดหลังเท้า มือสปัดน้ำให้ตัวเคลื่อน การเคลื่อนตัวด้วย การเตะเท้าคว่ำ เตะเท้าหงาย - การลับท่าคว่ำและหงาย โดยไปด้วยท่าคว่ำแล้วหงาย และไปด้วยท่าหงายแล้วคว่ำ - ฝึกไปท่าด้วยท่าลูกหมาแล้วไปจับอุปกรณ์แล้วลอยตัวหงาย

ฝึกทักษะการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำอย่างถูกต้อง - การร้องขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ - วิธีการช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการโยนขวดน้ำและเชือก ระยะ 3 เมตร / 10 เมตร วิธีการเก็บเชือก - วิธีการช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการย่อตัวให้ต่ำ ยื่นท่อ PVC ช่วยผู้ประสบภัยห่างจากขอบสระ 2 เมตร - ฝึกการโยนให้แม่นยำ - ทดสอบการช่วยเหลือ โดยฟังคำสั่ง

มีการทบทวนทักษะการว่ายน้ำเพื่อเตรียมทดสอบและประเมิน - เด็กคนไหนที่ทำยังไม่คล่องในแต่ละท่า ผู้ช่วยวิทยากรสอนเสริมเป็นรายบุคคลเฉพาะท่าที่ยังไม่ได้

ทดสอบประเมินและทดสอบทักษะการว่ายน้ำและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี
- การสูดอากาศกลั้นหายใจเป่าลม
- ลอยตัวหงาย (แม่ชีลอยน้ำ) - ลอยตัวคว่ำ (ปลาดาว)
- ลอยตัวคว่ำ (แมงกะพรุน)
- ลอยตัวคว่ำ (เต่า)
- เตะเท้าคว่ำ/หงายระยะ 5 เมตร แล้วพลิกตัวสลับกัน
- เคลื่อนตัวจากท่าเตะเท้าคว่ำและหงาย - การลอยตัวใช้อุปกรณ์ การเกาะขวดน้ำดื่มลอยตัว ระยะเวลามากขึ้นเป็นลำดับ - การกระโดดน้ำจากขอบสระด้านน้ำลึก เอาท้าวลงก่อน แล้วลอยตัวแบบลูกหมาตกน้ำ สำหรับน้องน้อง ๆ ที่ยังไม่คล่องตัวในบ้างที่ มีการสอนซ่อมตัวต่อตังให้เพิ่มในวันสุดท้ายของการอบรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.  จำนวนผู้เข้าร่วมทั้งหมด 40 คน ประกอบด้วย ผู้หญิง 15 คน ผู้ชาย 17 คน ทีมวิทยากรและคณะทำงาน 8 คน 2.  ระยะเวลาดำเนินโครงการในเดือนสิงหาคม จำนวน 9 ครั้ง ครั้งละ 1.30 ชั่วโมง
3. เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ทักษะพื้นฐานการว่ายน้ำเพื่อการเอาชีวิตรอด ดังนี้ 1. ฝึกการสูดอากาศ กลั้นหายใจ เป่าลม 2. ฝึกลอยตัวคว่ำปลาดาว 3. ฝึกลอยตัวคว่ำแมงกระพรุน 4. ฝึกลอยตัวคว่ำเต่า 5. ฝึกลอยตัวแบบนอนหงาย 6. ฝึกลอยตัวคว่ำหงาย 7.การเคลื่อนตัวแบบลูกหมาตกน้ำ 8. การเคลื่อนตัวด้วยท่าเตะเท้าหงายและการเตะเท้าคว่ำ 9.การลับท่าคว่ำและหงาย โดยไปด้วยท่าคว่ำแล้วหงาย และไปด้วยท่าหงายแล้วคว่ำ 10. ท่าลูกหมาแล้วไปจับอุปกรณ์แล้วลอยตัวหงาย 4. ฝึกการลอยตัวโดยใช้อุปกรณ์ช่วย 4. เด็ก ๆ ได้ฝึกทักษะการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำอย่างถูกต้อง ดังนี้ 1. การร้องขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ 2. วิธีการช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการโยนขวดน้ำและเชือก ระยะ 3 เมตร / 10 เมตร วิธีการเก็บเชือก 3. วิธีการช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการย่อตัวให้ต่ำ ยื่นท่อ PVC ช่วยผู้ประสบภัยห่างจากขอบสระ 2 เมตร 4. ฝึกการโยนให้แม่นยำ 5. ทดสอบการช่วยเหลือ โดยฟังคำสั่ง 5. เด็กมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ มีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และการช่วยเหลือผู้อื่นจากการอย่างถูกวิธี
5.1 เด็กจำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 84 มีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำและทราบแนวทางปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง 5.2 เด็กจำนวน 28 คน ร้อยละ 87 มีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด ได้แก่ การควบคุมระบบหายใจใต้น้ำ การลอยตัว การเคลื่อนตัวในน้ำ
5.3 เด็กจำนวน 30 คน ร้อยละ 94 มีทักษะการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธีตามหลัก ตะโกน โยน ยื่น

อบรมเติมความรู้ เพิ่มทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี5 สิงหาคม 2566
5
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย na_945
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงาน อาสาสมัคร จำนวน 10 คนเข้าร่วมกิจกรรมอบรมเติมความรู้ เพิ่มทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธีโดยมีนายอิสมาแอล    สิเดะ เป็นวิทยากรหลักกระบวน
  วิทยากรชี้แจงวัตถุประสงค์ทบทวนหลักสูตร “ว่ายน้ำเพื่อรอดชีวิต” ภาคทฤษฎี ใน 3 หัวข้อ
1.ทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นมีท่าอะไรบ้าง
2. ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ (ตะโกน โยน ยื่น) ต้องทำอย่างไร?
3. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น CPR ต้องทำอย่างไร?
เป็นการสนทนาถามตอบ ระหว่างวิทยากรและผู้เข้าร่วม ภาคปฏิบัติ
กิจกรรมภาคปฏิบัติดังนี้ เตรียมความพร้อม อธิบายสภาพแหล่งน้ำ บริเวณน้ำตื้น น้ำลึก พร้อมอบอุ่นร่างกายโดยการยืดเส้นยืดสาย 1. การลงและขึ้นจากสระน้ำด้วย 2 วิธี คือ 1 การลงทางบันได 2 การลงจากขอบสระ
2. การสูดอากาศกลั้นหายใจเป่าลม ฝึกการทรงตัวในน้ำ โดยเดินขยับไปซ้ายและขวามือเตะขอบสระตลอด ฝึกการกลั้นหายใจ โดยหายใจเข้าและออกทางปาก 3. ลอยตัวคว่ำปลาดาว หันหน้าเข้าหาขอบสระ ย่อตัวลงให้คางปริ่มน้ำ หายใจเข้าทางปากให้เต็มปอด ก้มหน้า ยืดแขน ขา รักษาสมดุล เมื่อหมดกลั้นหายใจให้เป่าลมออกพร้อมกางแขนใช้มือดันน้ำเพื่อทรงตัวยืน
4. ลอยตัวคว่ำแมงกะพรุน หายใจเข้าเต็มปอดกลั้นหายใจ คว่ำหน้าให้หน้าจมน้ำ เหยียดแขนและเท้าลงลอยตัว เมื่อหมดกลั้นหายใจให้เป่าลมออกพร้อมกางแขนใช้มือดันน้ำเพื่อทรงตัวยืน 5. ลอยตัวคว่ำเต่า หายใจเข้าเต็มปอดกลั้นหายใจ งอเข่า เอามือกอดเข่า ลอยตัว เมื่อหมดกลั้นหายใจให้เป่าลมออกพร้อมกางแขนใช้มือดันน้ำเพื่อทรงตัวยืน
6. ลอยตัวคว่ำหงาย ปลายเท้าชิดขอบสระ มือเตะขอบสระ ย่อเข่าลงให้ใบหูปริ่มน้ำ เหยียดแขนตรง แล้วหายใจเข้าเต็มปอด ยืดอกยกพุง ค่อยๆ ปล่อยมืและกวาดมือขึ้นช้า ๆ *เงยหน้ามากๆ ยกก้น เอวไม่งอ งอเข่าได้ เมื่อหมดกลั้นหายใจให้เป่าลมออกพร้อมใช้มือดันน้ำเพื่อทรงตัวยืน 7. เคลื่อนตัวท่าคว่ำ มือชิดแนบหู ก้มหน้าลง ถีบเท้าออกจากขอบสระในท่าคว่ำและปล่อยให้ตัวไหลไปในน้ำ ถีบเท้าออกจากขอบสระในท่าคว่ำและเตะเท้าคว่ำ ถีบเท้าออกจากขอบสระในท่าคว่ำ ให้ตัวไหลตามน้ำ ดึงแขน และเตะเท้าคว่ำ
5. เคลื่อนตัวท่าหงาย เตะเท้าหงายให้งอเข่าลงถีบตัวแล้วเตะเท้าขึ้น เน้นสะบัดหลังเท้า มือแนบลำตัวช่วยโบกน้ำ เตะเท้าหงายให้งอเข่าลงถีบตัวแล้วเตะเท้าขึ้น เน้นสะบัดหลังเท้า มือสปัดน้ำให้ตัวเคลื่อน
6. เคลื่อนตัวท่าลูกหมาตกน้ำ ย่อตัวลงให้คางปริ่มน้ำ ยกเท้าขึ้นจากพื้นใช้ฝ่าเท้าถีบน้ำลงด้านล่างสลับเหมือนถีบจักรยาน มือคล่ำลงพุ้ยน้ำลงด้านล่าง ฝึกเปลี่ยนทิศทาง ไปหน้า ซ้าย ขวา หมุนกลับหลัง
7. เคลื่อนตัวสลับไปมา ด้วยวิธีเคลื่อนตัวท่าคว่ำและเคลื่อนตัวท่าหงาย 8. ลอยตัวโดยใช้อุปกรณ์ ฝึกการเกาะขวดน้ำดื่มลอยตัว ด้วย 2 วิธี คือ กอดไว้ที่หน้าอก กับหนีบไว้ที่ขา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ทีมงานจำนวน 11 คน เข้าร่วมอบรมเติมความรู้ เพิ่มทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี
  2. เกิดผลตามผลลัพธ์ขั้นที่ 1 เกิดคณะทำงานและแกนนำขับเคลื่อนงานการป้องกันเด็กจมน้ำ
  3. คณะทำงานได้ทบทวนเนื้อหาของหลักสูตร "ว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด" รูปแบบทฤษฎีและฝึกปฏิบัติกระบวนท่าต่าง ๆ ตามหลักสูตร "ว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด"
  4. มีการกำหนดตำแหน่ง แบ่งบทบาท หน้าที่ของคณะทำงาน สำหรับกิจกรรม “ฝึกทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี” โดยมีคุณอิสมาแอล สิเดะ เป็นวิทยากรหลัก มีผู้ช่วยอีก 9 คน
  5. คณะทำงานทุกท่านสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและถ่ายทอดได้อย่างถูกวิธี
ARE ครั้งที่ 1 ร่วมกับพี่เลี้ยง5 สิงหาคม 2566
5
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย na_945
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานจำนวน 6 คนเข้าร่วมติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 1/2566 ตัวแทนคณะทำงานได้นำเสนอรูปแบบการดำเนินกิจกรรมภานใต้โครงการให้พี่เลี้ยง คุณอานัติ หวังกุลำ ดังนี้
ผลลัพทธ์ขั้นที่ 1 เกิดคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ กิจกรรมที่จะเกิดขั้นดังนี้
1.ประชุมคณะทำงาน 4 ครั้ง 2. อบรมเติมความรู้ เพิ่มทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี 3. สำรวจข้อมูลสถานณ์การจมน้ำของเด็ก สภาพพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่ ตัวชี้วัดขั้นที่ 1 ดังนี้
เกิดคณะทำงาน จำนวน 10 คน มีความรู้/เข้าใจการวิเคราะห์จุดเสี่ยงและแบ่งบทบาทหน้าที่ ดังนี้ เกิดคณะทำงานที่มีความหลากหลาย ประกอบด้วย ตัวแทนครูโรงเรียนกีรออาตี ตัวแทนแกนนำชุมชน ตัวแทนผู้ปกครอง องค์กรสมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตอาสา มอ. เป็นต้น คณะทำงานมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางนี้ รู้ มีการทบทวนและเพิ่มทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธีให้แก่คณะทำงานและสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกวิธี มีข้อมูลสถานการณ์การจมน้ำของเด็ก สภาพพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่ สภาพพื้นที่โดยส่วนใหญ่ของตำบลจะบังติกอเป็นที่ราบลุ่มติดแม่น้ำปัตตานี ทุกปีประชาชนในพื้นที่ประสบกับน้ำท่วมในช่วงฤดูฝน ปรากฏการณ์หนึ่งที่มัก ผลลัพธ์ขั้นที่ 2 เด็กมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี กิจกรรมที่จะเกิดขั้นดังนี้
1. ชี้แจงและประชาสัมพันธ์เปิดรับสมัครเด็กที่สนใจ 2. อบรมให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ 3. ฝึกทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี ตัวชี้วัดขั้นที่ 2 ดังนี้
1. เด็ก ร้อยละ 80 มีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำและทราบแนวทางปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง 2. เด็ก ร้อยละ 80 มีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด ได้แก่ การควบคุมระบบหายใจใต้น้ำ การลอยตัว การเคลื่อนตัวในน้ำ
3. เด็ก ร้อยละ 90 มีทักษะการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธีตามหลัก ตะโกน โยน ยื่น พี่เลี้ยงโครงการให้แนะนำ 1. ให้มีการประสานงานและจับกลุ่มคณะทำงานของชุมชนให้ได้ พยายามสร้างการมีส่วนร่วมกันกับคนทุกกลุ่มทุกภาคส่วนเพื่อนความต่อเนื่องและความยังยืนในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่อไป 2. การบันทึกรายงานในระบบ ฅนสร้างสุข ให้่มีความต่อเนื่อง ตามการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง 3. แนะนำการวางตำแหน่งของคณะทำงานสำหรับกิจกรรม "ฝึกทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวีธี" 3. ได้ข้อสรุปเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายของกิจกรรม "ฝึกทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวีธี"

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. คณะทำงานจำนวน 6 คนเข้าร่วมติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 1/2566
  2. ได้นำเสนอแผนการดำเนินงาน ผลลัพธ์ขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 ให้พี่เลี้ยงฟัง
  3. พี่เลี้ยงให้คำแนะนำการดำเนินงานและการออกแบบการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
ชี้แจงและประชาสัมพันธ์เปิดรับสมัครเด็กที่สนใจ1 สิงหาคม 2566
1
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย na_945
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

มีการประชาสัมพันธ์มี 3 ช่องทาง 1.ประชาสัมพันธ์เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการผ่านเจพสมาคมศิษย์เก่าบันทิตอาสา มอ. ที่มีผู้ติดตาม 862 คน คนถูกใจ 788 คน
2.ประชาสัมพันธ์กับน้อง ๆ ที่เรียนกรรออาตี รร.อัลกุรอานสร้างอัจณริยะ ต.จะบังติกอ อ.เมือง มีน้อง ๆ ที่เรียน 200 คน 3.ประชาสัมพันธ์ผ่านไลน์ผู้ปกครองของน้อง ๆ ที่เรียนกรรออาตี รร.อัลกุรอานสร้างอัจณริยะ ต.จะบังติกอ อ.เมือง 4.หัวหน้าโครงการเข้าพูดคุยกับคุณอัสรี สุทธิศาสตร์สกุล เลขานุการประจำมัสยิดรายอฟาฏอนี ต.จะบังติกอ อ.เมือง ชี้แจ้งแผนการดำเนินโครงการและการเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วม 5.เปิดรับสมัครน้อง ๆ เข้าร่วมกิจกรรม “ฝึกทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี” ผ่าน google from

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.จำนวนผู้สมัคร “ฝึกทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี” ผ่าน google from จำนวน 48 คน
2.จำนวนผู้สมัคร “ฝึกทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี” จาก รร.อัลกุรอานสร้างอัจณริยะ ต.จะบังติกอ อ.เมือง จำนวน 16 คน
3.เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการผ่านเจพสมาคมศิษย์เก่าบันทิตอาสา มอ. จำนวนการเข้าถึงบน Face book จำนวน 9,823 ครั้ง จำนวนการมีส่วนร่วม 288 ครั้ง การแสดงความรู้สึก 63 คน การแสดงความเห็น 9 ครั้ง การคลิกลิงค์ 32 ครั้ง การแชร์ 23 ครั้ง 4.ได้จำนวนน้อง ๆ ที่ “ฝึกทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี” หญิง 15 คน ชาย 17 คน

สรุปข้อมูลการติดตามครั้งที่ 1 และวางแผนการดำเนินงาน20 กรกฎาคม 2566
20
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย na_945
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประธานกล่าวเปิดการประชุม และดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้

ระเบียบวาระที่ 1ประธานชี้แจงให้ที่ประชุมทราบ
สระว่ายน้ำในปัตตานีที่มีความพร้อมและเห็นสมควรที่เหมาะกับการจัดกิจกรรม “ฝึกทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี” มากที่สุด เป็นสระว่ายน้ำ “Yellow Member Swimming Pool” หลัง 7-11 โรงเหล้าสาย ข ปัตตานี
เนื่องจากสระน้ำมีความลึก 130 เละ 150 เซนติเมตร เพื่อความปลอดภัยและการเข้าร่วมอย่างมีประสิทธิภาพผู้เข้าร่วมความมีส่วนสูงไม่ตำกว่า 120 เซนติเมตร ระเบียบวาระที่ 2 ปรึกษาหารือการดำเนินกิจกรรม กิจกรรมที่จะดำเนินการในระยะเวลาอันใกล้นี้มี 2 กิจกรรม ได้แก่ 1. กิจกรรม”อบรมเติมความรู้ เพิ่มทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี”เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับคณะทำงาน แกนนำชุมชนและอาสาสมัครเพื่อให้มีความรู้ที่จำเป็น เพิ่มความชำนาญด้านการฝึกทักษะให้เด็กที่เข้าร่วมโครงการ โดยมอบหมายให้ นายอิสมาแอล สิเดะ เป็นวิทยากรที่เชี่ยวชาญมาให้ความรู้และฝึกทักษะความชำนาญ กิจกรรมนี้จะจัดขึ้นวันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม 2566 ณ เทพาบีช รีสอร์ท อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
2. กิจกรรม”ฝึกทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี” เพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีทักษะการเอาชีวิตรอด พื้นฐานการว่ายน้ำ และการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี โดยวิทยากรหลักและผู้ช่วยวิทยากรที่เป็นครูฝึกว่ายน้ำ จำนวนครูต่อการดูแลเด็ก 1 ต่อ 4 คน จำนวนการฝึก 9 ครั้ง ๆ 1:30 ชั่วโมง มีเนื้อหาหลัก ดังกำหนดการนี้
-  เตรียมความพร้อม
-  สร้างความคุ้นเคยกับน้ำ
-  ฝึกการลอยตัวแบบนอนคว่ำ 3 ท่า
-  ฝึกการลอยตัวแบบนอนหงาย
-  การเคลื่อนตัวแบบลูกหมาตกน้ำ
-  การเคลื่อนตัวด้วยท่าต่าง ๆ
-  การเคลื่อนตัวด้วย การเตะเท้าคว่ำ เตะเท้าหงาย -  ฝึกทักษะการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำอย่างถูกต้อง   แผนการประชาสัมพันธ์รับสมัครผู้เข้าร่วมมี 2 ช่องทาง 1. เปิดรับสมัครน้อง ๆ ที่เรียนอัลกรุงอ่านใน รร.อัลกุรอานสร้างอัจณริยะ ต.จะบังติกอ อ.เมือง จ.ปัตตานี 2. เปิดรับสมัครในเพจ “สมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตอาสา มอ. ” ผู้ที่จะผ่านเกณฑ์ต้องเป็น ผู้ที่อาศัยในพื้นที่จะบังติกอเป็นหลัก

ระเบียบวาระที่ 3 แผนการดำเนินงานต่อไป 1. หุสณา ทำเอกสารการรับสมัครให้เรียบร้อย เปิดรับสมัครทางเพจ
2. แบดี ประชาสัมพันธ์กับแกนนำในพื้นที่และเด็กนักเรียนใน รร.อัลกุรอานสร้างอัจณริยะ
3. แบแอล วิทยากรหลักกิจกรรม “ฝึกทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี” 4. แบมะ วิทยากรหลักกิจกรรม “เวทีวิเคราะห์พื้นที่ความเสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็กในชุมชนอย่างมีส่วนร่วมพร้อมกำหนดแนวทางแก้ไข”

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 9 คน ลากิจ 1 คน 2.ข้อสรุปเรื่อสระว่ายน้ำสำหรับทำกิจกรรม 3.ได้แผนการจัดการกิจกรรม”อบรมเติมความรู้ เพิ่มทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี”จัดขึ้นวันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม 2566 ณ เทพาบีช รีสอร์ท อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
4.ได้แผนการจัดกิจกรรม”ฝึกทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี” ในเดือนสิงหาคม-กันยายน 66
5.มีการแบ่งบทบาหน้าที่การทำงานสำหรับกิจกรรมต่อไป

ค่าจัดทำป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่และป้ายชื่อโครงการ30 มิถุนายน 2566
30
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย na_945
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดขนาดและข้อความในไวนิวส่งให้ทางร้านออกแบบพร้อมพิมพ์ออกมาเป็นไวนิวพร้อมใช้งาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ป้ายไวนิวโครงการ ขนาด 220+100 CM จำนวน 1 แผ่น 2.ป้ายไวนิวสถานที่ปลอดบุหรี่ ขนาด 130+49 CM จำนวน 1 แผ่น

ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน16 มิถุนายน 2566
16
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย na_945
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประธานกล่าวเปิดการประชุม และดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
ระเบียบวาระที่ 1ประธานชี้แจงให้ที่ประชุมทราบ
1. การสำรวจสระน้ำในพื้นที่เพื่อใช้ในการกิจกรรม (1.1) Baby Swimming Pattani สถานที่ดี ที่ร่ม มีความพร้อมเหมาะกับการจัดกิจกรรมมากแต่ไม่เปิดให้บริการเช่า เพราะทางสถานที่มีครูสอนเฉพาะแล้ว (1.2) .โรงแรมเรนโบ เมืองปัตตานี สระมี 2 ระดับ ตั้งแต่ 120-150 เมตร ค่าบริการ เด็ก 50 บาท/วัน ผู้ใหญ่ 70 บาท/วัน แต่ความกว้าง*ยาวของสระ ดูจากสายตาไม่ค่อยสะดวกในการจัดกิจกรรม (1.3) โรงแรมรีเวิร์ไซต์ เมือง ปัตตานี สระน้ำใหญ่ ที่แจ้ง แต่ไม่เปิดบริการให้คนนอก ให้เฉพาะลูกค้าโรงแรมเท่านั้น (1.4) สระน้ำเอกชนที่บางปู ใช้น้ำธรรมชาติ ไม่มีระบบรักษาน้ำ ค่าบริการ 40 บาท แต่ไม่เหมาะกับการจัดกิจกรรมด้วยระยะทางที่ผู้ปกครองต้องเดินทางไป-รับส่ง และระบบน้ำที่ไม่ใช้ระบบการดูแลรักษาน้ำตามสุขลักษณะ   มีอีก 1 สระที่น่าสนใจ Yellow Member Swimming Pool มีแผนไปสำรวจสระหลังจากนี้ มติที่ประชุม : ที่ประชุมรับทราบ

ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม
-ไม่มี- ระเบียบวาระที่ 3 ชี้แจงการดำเนินกิจกรรม

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อให้เด็กมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ มีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และการช่วยเหลือผู้อื่นจากการจมน้ำอย่างถูกวิธี ตัวชี้วัดผลลัพธ์ ผลลัพธ์ที่ 1 เกิดคณะทำงานและแกนนำขับเคลื่อนงานการป้องกันเด็กจมน้ำ ตัวชี้วัด 1.มีคณะทำงาน 10 คน ผู้นำชุมชน ตัวแทนผู้ปกครอง สาธารณสุข อาสาสมัครครูสอนว่ายน้ำ
2.คณะทำงานมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ 3.มีข้อมูลสถานการณ์การจมน้ำของเด็ก สภาพพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่ 1 ชุด ผลลัพธ์ที่ 2 เด็กมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ มีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และการช่วยเหลือผู้อื่นจากการจมน้ำอย่างถูกวิธี ตัวชี้วัด 1.เด็ก ร้อยละ 80 มีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำและทราบแนวทางปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง 2.เด็ก ร้อยละ 80 มีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด ได้แก่ การควบคุมระบบหายใจใต้น้ำ การลอยตัว การเคลื่อนตัวในน้ำ
3. เด็ก ร้อยละ 80 มีทักษะการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธีตามหลัก ตะโกน โยน ยื่น ชื่อกิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคณะทำงานโครงการ จำนวน 4 ครั้ง ครั้งที่ 1 ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน แบ่งบทบาทหน้าที่ พร้อมวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน
ครั้งที่ 2 สรุปข้อมูลการติดตามครั้งที่ 1 และวางแผนการดำเนินงาน ครั้งที่ 3 สรุปข้อมูลการติดตามครั้งที่ 2 และปรับแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ครั้งที่ 4 ประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการ
ชื่อกิจกรรมที่ 2 อบรมเติมความรู้ เพิ่มทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูก
อบรมเชิงปฏิบัติการให้กับคณะทำงาน แกนนำชุมชนและอาสาสมัครเพื่อให้มีความรู้ที่จำเป็นและเพิ่มความชำนาญด้านการฝึกทักษะให้เด็กที่เข้าร่วมโครงการ โดยเชิญวิทยากรที่เชี่ยวชาญมาให้ความรู้และฝึกทักษะความชำนาญ
ชื่อกิจกรรมที่ 3 สำรวจข้อมูลสถานการณ์การจมน้ำของเด็ก สภาพพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่ ก่อน-หลัง
ชื่อกิจกรรมที่ 4 ชี้แจงและประชาสัมพันธ์เปิดรับสมัครเด็กที่สนใจ 60 กรกฏาคม 2566
คณะทำงานประชาสัมพันธ์รับสมัครเด็กที่สนใจเข้าร่วมโครงการ โดยมีเงื่อนไขตามช่วงอายุ 9-15 ปี และผู้ปกครองอนุญาตพร้อมทั้งสามารถเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการได้
คณะทำงานชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งโครงการ เพื่อประกอบการตัดสินใจ ขั้นตอนการสมัคร ต้องกรอกในสมัครเพื่อให้คณะทำงานพิจารณา
ชื่อกิจกรรมที่ 5 อบรมให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำแก่เด็ก
คณะทำงานเชิญวิทยากรที่เชี่ยวชาญมาให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์และความปลอดภัยทางน้ำ ได้แก่
- สถานการณ์การจมน้ำ สาเหตุ การป้อง - แหล่งน้ำเสี่ยงทั้งในบ้านและรอบบ้าน - สภาพแหล่งน้ำ เช่น น้ำลึก น้ำตื้น น้ำวน - วิธีการลงและขึ้นจากแหล่งน้ำด้วยความปลอดภัย - ความปลอดภัยในการเดินทางทางน้ำ
ชื่อกิจกรรมที่ 6 ฝึกทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีทักษะการเอาชีวิตรอด พื้นฐานการว่ายน้ำ และการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี โดยวิทยากรหลักและผู้ช่วยวิทยากรที่เป็นครูฝึกว่ายน้ำ จำนวนครูต่อการดูแลเด็ก 1 ต่อ 4 คน จำนวนการฝึก 10 ครั้ง ๆ 1:30 ชั่วโมง มีเนื้อหาหลัก ดังนี้ - อธิบายสภาพแหล่งน้ำ บริเวณน้ำตื้น น้ำลึก และการเตรียมตัวก่อนมาว่ายน้ำและก่อนลงว่ายน้ำ ระเบียบสระ - แบ่งกลุ่มตามความสามารถในการว่ายน้ำของผู้เรียน และดูแลคนที่ว่ายน้ำไม่ได้เป็นพิเศษ - สร้างความคุ้นเคยกับน้ำ ฝึกการทรงตัวในน้ำ ฝึกการดำน้ำ การลืมตาใต้น้ำ การกลั้นหายใจใต้ ฝึกการหายใจเข้าและออกทางปาก - ฝึกการลอยตัวแบบนอนคว่ำ หงาย (ท่าปลาดาว ท่าแม่ชีลอยน้ำ) - ฝึกการเกาะขวดน้ำดื่มลอยตัว ระยะเวลามากขึ้นเป็นลำดับ - ฝึกลอยตัวแบบลูกหมาตกน้ำ - ฝึกเตะเท้าคว่ำ/หงายระยะ 5 เมตร แล้วพริกตัวสลับกัน - ฝึกการทรงตัวจากท่าเตะเท้าคว่ำและหงาย - ฝึกท่าผีจีน - ฝึกการระโดดน้ำจากขอบสระด้านน้ำลึก เอาท้าวลงก่อน แล้วลอยตัวแบบลูกหมาตกน้ำ - ฝึกเตะเท้าคว่ำและใช้แขนฟรีสไตล์ ระยะ 5 เมตร - ฝึกเตะเท้าคว่ำระยะทาง 20 เมตร ให้หายใจด้วยท่าลูกหมาตกน้ำระหว่างทาง แล้วพริกตัวเตะเท้าหงาย 20 เมตร
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อความปลอดภัยทางน้ำของเด็กในระดับครัวเรือนและชุมชน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ ผลลัพธ์ที่ 1 ผู้ปกครองมีความรู้และตระหนักเรื่องความปลอดภัยทางน้ำของเด็กและมีทักษะการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี ตัวชี้วัด 1.แกนนำชุมชน ผู้ปกครอง ร้อยละ 80 มีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำและทราบแนวทางปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง 2. แกนนำชุมชน ผู้ปกครอง ร้อยละ 80 มีทักษะการช่วยเหลือผู้อื่นจากการจมน้ำอย่างถูกวิธีตามหลัก ตะโกน โยน ยื่น และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ใช้ฟื้นคืนชีพให้ผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นหรือ CPR (Cardiopulmonary Resuscitation) ผลลัพธ์ที่ 2 พื้นที่เสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็กในชุมชนได้รับการจัดการให้ลดความเสี่ยง ตัวชี้วัด 1.มีแผนที่วิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็ก 1 ชิ้น 2.พื้นที่เสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็กได้รับการปรับปรุง อย่างน้อย 2 จุด ชื่อกิจกรรมที่ 7 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำและฝึกทักษะการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธีแก่ผู้ปกครองและแกนนำชุมชน
คณะทำงานเชิญวิทยากรที่เชี่ยวชาญมาให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์และความปลอดภัยทางน้ำ ได้แก่
- สถานการณ์การจมน้ำ สาเหตุ การป้อง - แหล่งน้ำเสี่ยงทั้งในบ้านและรอบบ้าน - สภาพแหล่งน้ำ เช่น น้ำลึก น้ำตื้น น้ำวน - วิธีการลงและขึ้นจากแหล่งน้ำด้วยความปลอดภัย - ความปลอดภัยในการเดินทางทางน้ำ ฝึกทักษะการช่วยเหลือผู้อื่นจากการจมน้ำอย่างถูกวิธีตามหลัก ตะโกน โยน ยื่น และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ใช้ฟื้นคืนชีพให้ผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นหรือCPR (Cardiopulmonary Resuscitation)
ชื่อกิจกรรมที่ 8 เวทีวิเคราะห์พื้นที่ความเสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็กในชุมชนอย่างมีส่วนร่วมพร้อมกำหนดแนวทางแก้ไข
ผู้เข้าร่วมโครงการแกนนำชุมชน ตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทนเด็ก ร่วมระดมความคิดเห็นวิเคราะห์พื้นที่ความเสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็กในชุมชนพร้อมกำหนดแนวทางแก้ไข โดยการจัดทำแผนที่ความเสี่ยง ระบุพื้นที่เสี่ยง ทำความเข้าใจลักษณะ และร่วมกำหนดแนวทางแก้ไข ชื่อกิจกรรมที่ 9 ดำเนินการปรับสภาพพื้นที่เพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็ก
ร่วมดำเนินการปรับสภาพพื้นที่เพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็ก เช่น การติดป้ายคำเตือน การเพิ่มอุปกรณ์ช่วยเหลือกรณีคนตกน้ำในจุดสำคัญ เป็นต้น ชื่อกิจกรรมที่ 10 เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงานและหารือแนวทางเพื่อความต่อเนื่อง
ผู้เข้าร่วมโครงการแกนนำชุมชน ตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทนเด็ก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับฟังผลสรุปการดำเนินงานและร่วมสะท้อนความคิดเห็นเพื่อการพัฒนาต่อยอด ระเบียบวาระที่ 4 แต่งตั้งคณะดำเนินโครงการ 1. นายมูฮัมมัดรุสดี นาคอ หัวหน้าโครงการ 2. มูฮำหมัด อีแมดือเระ ผู้ประสานงานชุมชน 3. นางสาวหุสณา  มาลายา ผู้ประสานงาน 4. นางสาวฝาตีเม๊าะ เจ๊ะอุบง เจ้าหน้าที่การเงิน 5. ว่าที่ร้อยตรี อิสมาแอ มาหะ คณะทำงาน 6. นางสาวตูแวซะ  นิแม คณะทำงาน 7. นายอิสมาแอล สิเดะ คณะทำงาน 8. นายมูฮัมหมัด เจ๊ะดอเล๊าะ คณะทำงาน 9. นางสาวนูรอามีนี สาและ คณะทำงาน 10. นายอูบัยดิลละห์ หะแว คณะทำงาน มติที่ประชุม: เห็นชอบ ระเบียบวาระที่ 5 แผนการดำเนินงานต่อไป 5.1 นายมูฮัมมัดรุสดี นาคอ ประธานโครงการประสานหาสถานที่ในการจัดออบรม 5.2 นางสาวหุสณา มาลายา ผู้ประสานงานออกแบบการดำเนินกิจกรรมทั้งภาพร่วมและแต่รายกิจกรรมให้ละเอียด 5.3 นายมูฮัมหมัด เจ๊ะดอเล๊าะ เตรียมความพร้อมกิจกรรมปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อความปลอดภัยทางน้ำของเด็กในระดับครัวเรือนและชุมชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ความคืบหน้าในการหาสถานที่สำหรับจัดกิจกรรม
  2. ความเข้าใจร่วมกันในการดำเนินกิจกรรมตลอดโครงการ
  3. รายชื่อคณะทำงาน ดำเนินโครงการ
  4. ทุกคนทราบบทบาท และลำดับการทำงานในลำดับถัดไป
อบรบเวทีปฐมนิเทศและพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน6 มิถุนายน 2566
6
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย na_945
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานจำนวน 3 คน เข้าร่วมการอบรม เวทีปฐมนิเทศ และพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน ระหว่างวันที่ 6 - 7 มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุมเพนดูล่า 3 โรงแรมปาร์ค อินทาวน์ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
วันที่6 มิถุนายน 2566 พิธีเปิดการอบรม และชี้แจงวัตถุประสงค์การปฐมนิเทศ และพัฒนาศักยภาพผู้รับทุนโดยนายเศรษฐ์ อัลยุฟรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี (ประธานกรรมการแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี) และกล่าวรายงานโดยนางสาวมาริสา เกียรติศักดิ์โสภณ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข รับฟังการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม ในหัวข้อ "การดำเนินงานและบริหารจัดการแผนงานร่วมทุน" โดยนางสาวมาริสา เกียรติศักดิ์โสภณ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข และนายมุคตาร วายา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รับฟังการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม ในหัวข้อ "การดำเนินงานและบริหารจัดการแผนงานร่วมทุน" (ต่อ) โดยนางสาวมาริสา เกียรติศักดิ์โสภณ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข และนายมุคตาร วายา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ     แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ “การวางแผนดำเนินงานและกำหนดกิจกรรมที่โครงการย่อย” โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล วิทยากร และทีมผู้ช่วยวิทยากร กลุ่มที่ 1 นายมุคตาร วายา กลุ่มที่ 2 ผศ.สุวิมล นราองอาจ กลุ่มที่ 3 นางสาววรรณาพร บัวสุวรรณ กลุ่มที่ 4 นายไพจิตร บุญทอง กลุ่มที่ 5 นายอับดุลราซัค กุลตามา กลุ่มที่ 6 นางอรัญญา ฤทธิเดช กลุ่มที่ 7 นางสาววรรณี ชัยรัตนมโนกร กลุ่มที่ 8 นางสาวจุฬามณี รังสิเวค กลุ่มที่ 9 นางสาวคนึงนิจ มากชูชิต กลุ่มที่ 10 นายอานัติ หวังกุหลำ กลุ่มที่ 11 นางสาวเสาวลักษณ์ ศรเรือง กลุ่มที่ 12 นางไซนับ อาลีกลุ่มที่ 13 นายมุสตากีม ดอนิ กลุ่มที่ 14 นางสาวนุชรัตน์ นวลดี     แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ “การออกแบบเก็บข้อมูลและกำหนดกิจกรรมที่นำไปสู่ผลลัพธ์” โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล ผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. และทีมผู้ช่วยวิทยากร กลุ่มที่ 1 นายมุคตาร วายา กลุ่มที่ 2 ผศ.สุวิมล นราองอาจ กลุ่มที่ 3 นางสาววรรณาพร บัวสุวรรณ กลุ่มที่ 4 นายไพจิตร บุญทอง กลุ่มที่ 5 นายอับดุลราซัค กุลตามา กลุ่มที่ 6 นางอรัญญา ฤทธิเดช กลุ่มที่ 7 นางสาววรรณี ชัยรัตนมโนกร กลุ่มที่ 8 นางสาวจุฬามณี รังสิเวค กลุ่มที่ 9 นางสาวคนึงนิจ มากชูชิต กลุ่มที่ 10 นายอานัติ หวังกุหลำ กลุ่มที่ 11 นางสาวเสาวลักษณ์ ศรเรือง กลุ่มที่ 12 นางไซนับ อาลีกลุ่มที่ 13 นายมุสตากีม ดอนิ กลุ่มที่ 14 นางสาวนุชรัตน์ นวลดี

วันที่ 7 มิถุนายน 2566 รับฟังการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ในหัวข้อ “การเบิกจ่ายเงิน รายงานการใช้จ่ายเงิน และรายงานผลการดำเนินงาน” โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล วิทยากร รับฟังการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ในหัวข้อ “การเบิกจ่ายเงิน รายงานการใช้จ่ายเงิน และรายงานผลการดำเนินงาน” และถาม - ตอบ เกี่ยวกับการเงิน โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล วิทยากร     รับฟังการบรรยาย ในหัวข้อ “การคีย์ข้อมูลลงระบบบริหารแผนงานร่วมทุนฯและการรายงานกิจกรรม” และแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล และทีมผู้ช่วยวิทยากร     กลุ่มที่ 1 นายมุคตาร วายากลุ่มที่ 2 ผศ.สุวิมล นราองอาจ กลุ่มที่ 3 นางสาววรรณาพร บัวสุวรรณ กลุ่มที่ 4 นายไพจิตร บุญทอง กลุ่มที่ 5 นายอับดุลราซัค กุลตามา กลุ่มที่ 6 นางอรัญญา ฤทธิเดช กลุ่มที่ 7 นางสาววรรณี ชัยรัตนมโนกร กลุ่มที่ 8 นางสาวจุฬามณี รังสิเวค กลุ่มที่ 9 นางสาวคนึงนิจ มากชูชิต กลุ่มที่ 10 นายอานัติ หวังกุหลำ กลุ่มที่ 11 นางสาวเสาวลักษณ์ ศรเรือง กลุ่มที่ 12 นางไซนับ อาลีกลุ่มที่ 13 นายมุสตากีม ดอนิ กลุ่มที่ 14 นางสาวนุชรัตน์ นวลดี
    แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ “การคีย์ข้อมูลลงระบบบริหารแผนงานร่วมทุนฯ และการรายงานกิจกรรม”(ต่อ) โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล วิทยากรและทีมผู้ช่วยวิทยากร
    กลุ่มที่ 1 นายมุคตาร วายา กลุ่มที่ 2 ผศ.สุวิมล นราองอาจ กลุ่มที่ 3 นางสาววรรณาพร บัวสุวรรณ กลุ่มที่ 4 นายไพจิตร บุญทอง กลุ่มที่ 5 นายอับดุลราซัค กุลตามา กลุ่มที่ 6 นางอรัญญา ฤทธิเดช กลุ่มที่ 7 นางสาววรรณี ชัยรัตนมโนกร กลุ่มที่ 8 นางสาวจุฬามณี รังสิเวค กลุ่มที่ 9 นางสาวคนึงนิจ มากชูชิต กลุ่มที่ 10 นายอานัติ หวังกุหลำ กลุ่มที่ 11 นางสาวเสาวลักษณ์ ศรเรือง กลุ่มที่ 12 นางไซนับ อาลีกลุ่มที่ 13 นายมุสตากีม ดอนิ กลุ่มที่ 14 นางสาวนุชรัตน์ นวลดี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงานเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 3 คน 2.ได้ความรู้เรื่องการเขียนรายงานโครงการในระบบฅนสร้างสุข ได้ร่วมวางแผนการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน 3.ได้ความรู้เรื่องการรายงานการเงินในระบบฅนสร้างสุข ได้ความรู้ในการการเบิกจ่ายเงินและการเขียนรายงานการใช้จ่ายเงิน 4. ได้เห็นความคืบหน้าของโครงการอื่น ๆ ภายใต้แหล่งทุนเดียวกัน