directions_run

โครงการการป้องกันเด็กจมน้ำอย่างมีส่วนร่วมพื้นที่ตำบลจะบังติกอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้เด็กมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ มีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และการช่วยเหลือผู้อื่นจากการจมน้ำอย่างถูกวิธี
ตัวชี้วัด : ผลลัพธ์ที่ 1 เกิดคณะทำงานและแกนนำขับเคลื่อนงานการป้องกันเด็กจมน้ำ ตัวชี้วัด 1.มีคณะทำงาน 10 คน ผู้นำชุมชน ตัวแทนผู้ปกครอง สาธารณสุข อาสาสมัครครูสอนว่ายน้ำ 2.คณะทำงานมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ 3.มีข้อมูลสถานการณ์การจมน้ำของเด็ก สภาพพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่ 1 ชุด ผลลัพธ์ที่ 2 เด็กมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ มีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และการช่วยเหลือผู้อื่นจากการจมน้ำอย่างถูกวิธี ตัวชี้วัด 1.เด็ก ร้อยละ 80 มีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำและทราบแนวทางปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง 2.เด็ก ร้อยละ 80 มีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด ได้แก่ การควบคุมระบบหายใจใต้น้ำ การลอยตัว การเคลื่อนตัวในน้ำ 3. เด็ก ร้อยละ 80 มีทักษะการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธีตามหลัก ตะโกน โยน ยื่น
40.00 45.00
  1. เกิดคณะทำงาน จำนวน 10 คน แกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้ปกครองและสมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตอาสา มอ.
  2. คณะทำงานมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำมีการทบทวนทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี คณะทำงานทุกท่านสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและถ่ายทอดได้อย่างถูกวิธี
  3. มีข้อมูลสถานการณ์การจมน้ำของเด็ก สภาพพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่ 1 ชุด ที่ประกอบไปด้วย ข้อมูลพื้นฐานชุมชน เป็นชุมชนติดริมแม่น้ำเกิดน้ำท่วมซ้ำซากทุกปี มีอุบัติเหตุทางน้ำบ่อยครั้งล่าสุดปี 2564 มีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ จากการสำรวจได้แผนที่จุดเสี่ยง ข้อมูลความเสี่ยงต่างๆที่ส่งผลต่อการจมน้ำของเด็กช่วงเวลาปกติและช่วงน้ำท่วม
  4. เด็กจำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 84 มีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำและทราบแนวทางปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
  5. เด็กจำนวน 28 คน ร้อยละ 87 มีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด ได้แก่ การควบคุมระบบหายใจใต้น้ำ การลอยตัว การเคลื่อนตัวในน้ำ
  6. เด็กจำนวน 30 คน ร้อยละ 94 มีทักษะการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธีตามหลัก ตะโกน โยน ยื่น
2 เพื่อปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อความปลอดภัยทางน้ำของเด็กในระดับครัวเรือนและชุมชน
ตัวชี้วัด : ผลลัพธ์ที่ 1 แกนนำชุมชน ผู้ปกครองมีความรู้และตระหนักเรื่องความปลอดภัยทางน้ำของเด็กและมีทักษะการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี ตัวชี้วัด 1.แกนนำชุมชน ผู้ปกครอง ร้อยละ 80 มีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำและทราบแนวทางปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง 2. แกนนำชุมชน ผู้ปกครอง ร้อยละ 80 มีทักษะการช่วยเหลือผู้อื่นจากการจมน้ำอย่างถูกวิธีตามหลัก ตะโกน โยน ยื่น และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ใช้ฟื้นคืนชีพให้ผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นหรือ CPR (Cardiopulmonary Resuscitation) ผลลัพธ์ที่ 2 พื้นที่เสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็กในชุมชนได้รับการจัดการให้ลดความเสี่ยง ตัวชี้วัด 1.มีแผนที่วิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็ก 1 ชิ้น 2.พื้นที่เสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็กได้รับการปรับปรุง อย่างน้อย 2 จุด
15.00 32.00
  1. แกนนำชุมชน ผู้ปกครอง จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 94 มีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำและทราบแนวปฏิบัติที่ถูกต้อง
  2. แกนนำชุมชน ผู้ปกครอง จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 100 มีทักษะการช่วยเหลือผู้อื่นจากการจมน้ำอย่างถูกวิธีตามตามหลัก ตะโกน โยน ยื่น
  3. มีข้อมูลสถานการณ์การจมน้ำของเด็ก สภาพพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่ 1 ชุด ที่ประกอบไปด้วย ข้อมูลพื้นฐานชุมชน เป็นชุมชนติดริมแม่น้ำเกิดน้ำท่วมซ้ำซากทุกปี มีอุบัติเหตุทางน้ำบ่อยครั้งล่าสุดปี 2564 มีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ จากการสำรวจได้แผนที่จุดเสี่ยง ข้อมูลความเสี่ยงต่างๆที่ส่งผลต่อการจมน้ำของเด็กช่วงเวลาปกติและช่วงน้ำท่วม
  4. มีแผนที่วิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็ก 1 ชิ้น
  5. จุดเสี่ยงในชุมชนได้รับการปรับปรุงแก้ไข จำนวน 3 จุด คิดเป็นร้อยละ 80 ของจำนวนจุดเสี่ยงที่ชุมชนแก้ไขได้ ดังนี้ ศาลาริมน้ำ ลานอเนกประสงค์ บริเวณเส้นทางชุมชนริมคลอง
  6. วิธีการแก้ไขจุดเสี่ยงที่ดำเนิน การมีความเหมาะสมสามารถลดอุบัติเหตุบริเวณจุดเสี่ยงนั้นๆ ได้จริงดังนี้ ติดป้ายเตือนต่าง ๆ มีการจัดเตรียมอุปกรณ์การช่วยเหลือ มีสื่อความความรู้วิธีการช่วยเหลือและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นกรณีจมน้ำ

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 45 67
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
เด็ก ช่วงอายุ 9-15 ปี 30 35
แกนนำชุมชน ผู้ปกครอง 15 32

บทคัดย่อ*

โครงการ โครงการการป้องกันเด็กจมน้ำอย่างมีส่วนร่วมพื้นที่ตำบลจะบังติกอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี รหัสโครงการ 65-P1-0068-028 มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อให้เด็กมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ มีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และการช่วยเหลือผู้อื่นจากการจมน้ำอย่างถูกวิธี (2) เพื่อปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อความปลอดภัยทางน้ำของเด็กในระดับครัวเรือนและชุมชน มีระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2566 - 29 กุมภาพันธ์ 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000 บาท
      การดำเนินโครงการฯ ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานจากสมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และแกนนำชุมชนในพื้นที่รินคลองจะบังติกอ อ.เมือง จ.ปัตตานี จำนวน 10 คน เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมภายใต้โครงการฯบทบาทของคณะกรรมการมีส่วนสำคัญในการการหนุนเสริมการดำเนินงานให้เกิดความสำเร็จ (1) มีการจัดโครงสร้างการทำงานที่ชัดเจน (2) มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ผู้รับผิดชอบตามความถนัดของแต่ละบุคคล (3) มีการประชุมหารือวางแผนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง (4)มีทีมวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญตามกิจกรรมที่ดำเนินการ กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินโครงการ 45 คน ประกอบด้วย เด็ก ช่วงอายุ 9-15 ปี จำนวน 30 คน และแกนนำชุมชน ผู้ปกครอง จำนวน 15 คน โดยมีกิจกรรมในการดำเนินงาน 10 กิจกรรม มีผลลัพธ์ในการกิจกรรม ดังนี้ (1)เกิดคณะทำงาน จำนวน 10 คน แกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้ปกครองและสมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตอาสา มอ. (2)คณะทำงานมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำมีการทบทวนทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธี คณะทำงานทุกท่านสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและถ่ายทอดได้อย่างถูกวิธี (3)มีข้อมูลสถานการณ์การจมน้ำของเด็ก สภาพพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่ 1 ชุด ที่ประกอบไปด้วย ข้อมูลพื้นฐานชุมชน เป็นชุมชนติดริมแม่น้ำเกิดน้ำท่วมซ้ำซากทุกปี มีอุบัติเหตุทางน้ำบ่อยครั้งล่าสุดปี 2564 มีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ จากการสำรวจได้แผนที่จุดเสี่ยง ข้อมูลความเสี่ยงต่างๆที่ส่งผลต่อการจมน้ำของเด็กช่วงเวลาปกติและช่วงน้ำท่วม (4)เด็กจำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 84 มีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำและทราบแนวทางปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง (5)เด็กจำนวน 28 คน ร้อยละ 87 มีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด ได้แก่ การควบคุมระบบหายใจใต้น้ำ การลอยตัว การเคลื่อนตัวในน้ำ (6) เด็กจำนวน 30 คน ร้อยละ 94 มีทักษะการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างถูกวิธีตามหลัก ตะโกน โยน ยื่น (7)แกนนำชุมชน ผู้ปกครอง จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 94 มีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำและทราบแนวปฏิบัติที่ถูกต้อง (8)แกนนำชุมชน ผู้ปกครอง จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 100 มีทักษะการช่วยเหลือผู้อื่นจากการจมน้ำอย่างถูกวิธีตามตามหลัก ตะโกน โยน ยื่น (9)มีแผนที่วิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็ก 1 ชิ้น (10)จุดเสี่ยงในชุมชนได้รับการปรับปรุงแก้ไข จำนวน 3 จุด คิดเป็นร้อยละ 80 ของจำนวนจุดเสี่ยงที่ชุมชนแก้ไขได้ ดังนี้ ศาลาริมน้ำ ลานอเนกประสงค์ บริเวณเส้นทางชุมชนริมคลอง (11)วิธีการแก้ไขจุดเสี่ยงที่ดำเนิน การมีความเหมาะสมสามารถลดอุบัติเหตุบริเวณจุดเสี่ยงนั้นๆ ได้จริงดังนี้ ติดป้ายเตือนต่าง ๆ มีการจัดเตรียมอุปกรณ์การช่วยเหลือ มีสื่อความความรู้วิธีการช่วยเหลือและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นกรณีจมน้ำ (12)จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุบริเวณจุดเสี่ยงที่แก้ไขปรับปรุงลดลงจากเดิม จาก 2 ครั้ง เป็น 0 ครั้ง
    บทบาทของคณะกรรมการในการหนุนเสริมการดำเนินงานให้เกิดความสำเร็จของโครงการครั้งนี้ ดังนี้ (1) มีการจัดโครงสร้างการทำงานที่ชัดเจน (2) มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ผู้รับผิดชอบตามความถนัดของแต่ละบุคคล (3) มีการประชุมหารือวางแผนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง (4) มีทีมวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญตามกิจกรรมที่ดำเนินการ

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh