directions_run

โครงการการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0 - 5 ปี ตำบลบานา (ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี


“ โครงการการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0 - 5 ปี ตำบลบานา (ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ”

จังหวัดปัตตานี

หัวหน้าโครงการ
ดร.ประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ

ชื่อโครงการ โครงการการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0 - 5 ปี ตำบลบานา (ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

ที่อยู่ จังหวัดปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 65-P1-0068-029 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2567


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0 - 5 ปี ตำบลบานา (ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จังหวัดปัตตานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดปัตตานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0 - 5 ปี ตำบลบานา (ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0 - 5 ปี ตำบลบานา (ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี รหัสโครงการ 65-P1-0068-029 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2566 - 31 มกราคม 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 98,400.00 บาท จาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ข้อมูลสถานการณ์การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในพื้นที่จังหวัดปัตตานี   งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมสุขภาพและช่วยป้องกันการเกิดโรคในเด็ก 0 - 5 ปี ทั้งนี้การส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ช่วยให้งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ยังสามารถลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ และภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดจาการดูแลรักษาเด็กที่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ปัจจุบันแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ได้กำหนดให้เด็ก 0 - 5 ปี เข้ารับวัคซีนตามเกณฑ์อายุจำนวน 13 โรค ได้แก่ วัคซีนป้องกันวัณโรค ตับอักเสบบี คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ฮิบ โปลิโอ โรต้า ไข้หวัดใหญ่ หัด คางทูม หัดเยอรมัน ไข้สมองอักเสบเจอี และแม้ว่าจะมีการส่งเสริมให้เด็ก 0-5 ปีเข้ารับวัคซีนในสถานบริการสาธารณสุขโดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ยังพบว่าความครอบคลุมของวัคซีนทุกชนิดในเด็กเมื่ออายุครบ 5 ปีของจังหวัดปัตตานี ในปี 2565 โดยภาพรวมมีเพียงร้อยละ 37.41 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือร้อยละ 90

ข้อมูลการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในพื้นที่ตำบลบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
  ศูนย์ข้อมูล (Health Data Center: HDC) ของกระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า ในปี 2565 อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี มีอัตราความครอบคลุมของวัคซีนทุกชนิดในเด็กเมื่ออายุครบ 5 ปีเพียงร้อยละ 26.99 ทั้งนี้ตำบลบานามีเด็กอายุ 0 - 5 ปีทั้งสิ้น 1,181 คน มีอัตราความครอบคลุมของวัคซีนต่ำสุดเป็นลำดับที่ 2 ของอำเภอเมือง โดยพบว่าอัตราความครอบคลุมของวัคซีนทุกชนิดในเด็กเมื่ออายุครบ 1 ปี, 2 ปี, 3 ปี และ 5 ปี มีเพียงร้อยละ 40.95, 34.27, 26.99 และ 13.89 ตามลำดับ โดยพบว่าตำบลบานาฝั่งตะวันตกของถนนเพชรเกษม คือ หมู่ 4 บ้านกาปงตารง หมู่ 5 บ้านกูวิง และหมู่ 6 บ้านจือโร๊ะ มีอัตราความครอบคลุมของวัคซีนในเด็กต่ำสุด 3 ใน 5 อันดับจากท้ายตาราง โดยในปี 2566 ทั้ง 3 หมู่บ้าน มีเด็ก 0-5 ปีที่ต้องได้รับวัคซีนจำนวนทั้งสิ้น 138 คน ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์จำนวน 116 คน

สาเหตุของปัญหาเกิดจากพฤติกรรม ลักษณะทางกายภาพ สภาพสังคม และกลไกลทางภาครัฐและภาคสังคม ดังนี้ ด้านพฤติกรรม
- ผู้ปกครองขาดความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับวัคซีนและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค - ผู้ปกครองกลัวบุตรไม่สบายจากผลข้างเคียงของวัคซีน - ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขายและประมง

ด้านกายภาพ - เป็นชุมชนที่ราบชายฝั่งทะเล อยู่ในบริเวณปากแม่น้ำปัตตานี
- มีประชากร 18,326 คน และจำนวนหลังคาเรือน 5,914 หลังคาเรือน
- มีพื้นที่กว้างประมาณ 24.75 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม 11 หมู่บ้าน

ด้านสังคม - เป็นชุมชนพหุวัฒนธรรม มีทั้งชาวพุทธ มุสลิม และชาวต่างประเทศ (พม่า) อาศัยในพื้นที่
- ความเชื่อของชาวมุสลิม ความเชื่อมั่นต่อวัคซีน ฮาลาล และความกังวลต่อการเกิดผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน - การเคลื่อนย้ายประชากรไปอยู่ต่างถิ่น (มาเลเซีย) เด็กอยู่กับปู่ย่าตายาย ไม่สามารถนำเด็กเข้ารับวัคซีนตามกำหนด ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ - สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ มีผลต่อการเดินทางมารับวัคซีน และความไม่ปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ในการทำงานเชิงรุกและการเยี่ยมบ้าน

กลไกภาครัฐ
- ระบบการให้บริการที่ไม่สอดคล้องกับวิถีชุมชน
- การทำงานเชิงรับมากกว่าเชิงรุก
- ช่วงเวลาให้บริการไม่ตรงกับเวลาว่างของผู้ปกครอง
- กระบวนการติดตามเด็กมารับวัคซีนไม่ต่อเนื่อง - พฤติกรรมการให้บริการของเจ้าหน้าที่

ผลกระทบที่เกิดจากปัญหาด้านสุขภาพ ด้านสังคม และด้านเศษฐกิจ ดังนี้   ด้านสุขภาพ จากการที่เด็กในตำบลบานาได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ทำให้เกิดความเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ได้แก่ โรคหัด คอตีบ ไอกรน ไข้สมองอักเสบ และต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน และส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายจากการเจ็บป่วย พิการ และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ด้านสังคม เนื่องจากอัตราความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนในเด็กต่ำ ทำให้ชุมชนไม่มีภูมิคุ้มกันหมู่ส่งผลให้เกิดโรคระบาดในชุมชน โดยในปี 2562 ตำบลบานา มีผู้ป่วยโรคหัดจำนวน 6 ราย โรคไข้สมองอักเสบ จำนวน 12 ราย ปี 2563 มีผู้ป่วยโรคหัด 6 ราย ปี 2565 มีผู้ป่วยโรคไข้สมองอักเสบ 30 คน ชุมชนขาดความตระหนักรู้เรื่องการป้องกันโรคติดต่อ ด้านเศรษฐกิจ พบว่า เมื่อเด็กป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ส่งผลต่อการเพิ่มรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลของรัฐและครอบครัว และทำให้รายได้ภายในครอบครัวลดลงจากการที่ต้องหยุดงานเพื่อดูแลบุตรที่เจ็บป่วย อย่างน้อย 7-10 วัน ทำให้ขาดรายได้อย่างน้อย 2,000 บาทต่อครอบครัว จากสาเหตุปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น ทางโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยฟาฏอนี จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0-5 ปีต่ำในพื้นที่ตำบลบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี โดยจะดำเนินในรูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในรูปการณ์ของโครงการเชิงผลลัพธ์

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เกิดแกนนำป้องกันโรคติดต่อในเด็กในชุมชน
  2. คนในชุมชนมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการวัคซีนในเด็ก
  3. เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
  4. เพื่อให้เด็ก 0-5 ปีได้รับวัคซีน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมคณะทำงานร่วมกับแกนนำ
  2. การบริหารจัดการโครงการ
  3. กิจกรรมให้ความรู้
  4. จ่าย ดอกเบี้ยให้กองคลัง
  5. เปิดบัญชีงบบริหารจัดการโครงการ
  6. ARE1 อบรมเวทีปฐมนิเทศ พัฒนาศักยภาพผู้รับทุน และคลี่แผนงานโครงการ
  7. ประชุมคณะทำงานร่วมกับแกนนำ ครั้งที่ 1
  8. จัดทำป้ายโครงการ
  9. เบิกเงินสดในบัญชีธนาคารครั้งที่ 1
  10. เตรียมเอกสารประกอบการประชุมจัดอบรม
  11. อบรมให้ความรู้แกนนำชุมชนทั้ง 4 หมู่บ้าน
  12. ประชุมคณะทำงานร่วมกับแกนนำ ครั้งที่ 2
  13. จัดทำปั๊มตรายาง
  14. สร้างการรับรู้แก่ชุมชน
  15. อ่านคุตบะห์วัคซีนวันศุกร์
  16. ARE2
  17. อ่านนิทานก่อนนอน
  18. ประชุมคณะทำงานร่วมกับแกนนำ ครั้งที่ 3
  19. อบรมให้ความรู้และเสริมทักษะผู้ปกครองและเด็ก 0-5 ปีที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์
  20. ประกวดหนูน้อยสุขภาพดีวัคซีนครบ-ครอบครัวปลอดโรค
  21. อบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่1
  22. ประชุมคณะทำงานร่วมกับแกนนำ ครั้งที่ 4
  23. เบิกเงินสดในบัญชีธนาคารครั้งที่ 2
  24. อบรมทักษะการสื่อสารเรื่องวัคซีนแก่ อสม
  25. ติดตาม/เยี่ยมบ้าน คณะทำงานร่วมกับ อสม
  26. ARE3
  27. ARE4
  28. ประชุมคณะทำงานร่วมกับแกนนำ ครั้งที่ 5 ถอดบทเรียน สรุปรายงาน คืนข้อมูล
  29. ตรวจเอกสารการเงิน
  30. จัดทำรายงาน
  31. พบปะพี่เลี้ยง
  32. อบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 2
  33. ประชุมปิดโครงการย่อยแผนร่วมทุน
  34. เบิกเงินสดในบัญชีธนาคารครั้งที่ 3
  35. เบิกเงินจ่ายค่าเปิดบัญชีครั้งแรก

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
ประชาชนในตำบลบานา หมู่ 1,4,5,6 100
ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปีที่ไม่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ 100
แกนนำชุมชน 15

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

โครงการนี้จะช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของแกนนำ 3 หมู่บ้านได้แก่ กาปงตารง กูวิง และจือโร๊ะ ในตำบลบานา อำเภอเมือง จ.ปัตตานีในการแก้ไขปัญหาความครอบคลุมของวัคซีนต่ำในเด็ก 0-5 ปี โดยมีการสนับสนุนการดำเนินงานจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี อบต.บานา รวมถึงผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนแก้ไขปัญหาการไม่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ของเด็ก 0-5 ปีในชุมชนอย่างต่อเนื่อง และเป็นรูปธรรม ทั้งนี้หากแกนนำดำเนินงานตามแผนส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนที่พัฒนาขึ้นจากการมีส่วนร่วมของชุมชน และการให้ความรู้และสร้างทัศนคติที่ดีในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปีที่ไม่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ในชุมชน จะทำให้เกิดความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนในเด็กตำบลบานาเพิ่มขึ้น จะมีการนำแผนดังกล่าวไปใช้ในพื้นที่อื่น ๆ ในเขตอำเภอเมืองและอำเภออื่น ๆ ของจังหวัดปัตตานีเพื่อขยายผลต่อไป


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. เปิดบัญชีงบบริหารจัดการโครงการ

วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ได้รับงบประมาณจากแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานีและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ประจำปี 2566 ให้จัดทำ "โครงการส่งเสริมความความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี ตำบลบานา(ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี" โดยให้คณะทำงาน 3 คน ดำเนินการเปิดบัญชีร่วม ณ ธนาคารกรุงไทย สาขาปัตตานี ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2566

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2566 ประธานโครงการและคณะทำงานจากโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี จำนวน 3 คน ดำเนินการเปิดบัญชีธนาคาร ณ ธนาคารกรุงไทย สาขา ปัตตานี

 

3 0

2. ARE1 อบรมเวทีปฐมนิเทศ พัฒนาศักยภาพผู้รับทุน และคลี่แผนงานโครงการ

วันที่ 6 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผู้รับผิดชอบโครงการ เลขานุการและพี่เลี้ยงโครงการจากโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ที่ได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินโครงการหัวข้อเรื่องการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี ตำบล บานา (ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี โดยแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี องค์การบริหารส่วนปัตตานี โดยทางผู้รับทุนเข้าร่วมอบรมปฐมนิเทศและพัฒนาศักยภาพ คลี่แผนงานโครงการร่วมกับพี่เลี้ยง ตั้งแต่เริ่มโครงการจนสิ้นสุดโครงการ (กิจกรรมที่ 1-10) ในวันที่ 6-7 มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุมเพนดูล่า 3 โรงแรมปาร์ค อินทาวน์ ปัตตานี เพื่อให้ผู้รับทุนเข้าใจเป้าหมายการดำเนินโครงการ กำหนดแผนงาน เรียนรู้การบันทึกข้อมูลในเวปไซต์และการเบิกจ่ายงบประมาณ วางแผนการดำเนินงานโครงการตามระยะเวลาที่กำหนดได้อย่างเหมาะสมร่วมกับแหล่งทุนและทีมพี่เลี้ยง จำนวน 3 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับผิดชอบโครงการ เลขานุการและพี่เลี้ยงโครงการ รับทราบวัตถุประสงค์ของการให้ทุนจากแผนงานร่วมทุนและแนวทางการดำเนินโครงการ จำนวน 3 คน วิธีการบันทึกข้อมูล แนวทางการเบิกจ่ายงบประมาณโครงการ รวมถึงกระบวนการทำงาน การติดตาม และการประเมินผลโครงการจากคณะทำงานแผนงานร่วมทุนและทีมพี่เลี้ยง อีกทั้งยังได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการทำงานสร้างเสริมสุขภาพกับเครือข่ายอื่น ๆ และแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพด้านต่าง ๆ จะช่วยให้การส่งเสริมสุขภาพประชาชนในเขตจังหวัดปัตตานีมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น เกิดเป็นแผนปฏิบัติการ 1 แผน เพื่อดำเนินงานโครงการส่งเสริมควมครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0-5 ปีตำบลบานาฝั่งตะวันตก อ.เมือง จ.ปัตตานี ตลอดระยะเวลาดำเนินการระหว่างเดือนพฤษภาคม 2566 - กุมภาพันธ์ 2567

 

3 0

3. ประชุมคณะทำงานร่วมกับแกนนำ ครั้งที่ 1

วันที่ 14 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องและแกนนำในพื้นที่ตำบลบานาฝั่งตะวันตก ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลบานา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ปกครอง และครูศูนย์เด็กเล็ก เข้าร่วมประชุมเพื่อแต่งตั้งคณะทำงาน ชุมชนทั้ง 3 หมู่บ้าน (หมู่ 4,5,6) ณ ห้องประชุมชั้น 1 อาคารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ตำบลบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ในวันที่ 14 มิถุนายน 2566 ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมจากเครือข่ายทั้งหมด จำนวน 15 คน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้กำหนดการโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของแกนนำชุมชนที่ชัดเจน แกนนำมีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมพร้อมกับคณะทำงานจำนวนทั้งสิ้น 20 คน และได้เสนอให้มีการดำเนินงานในหมู่ 1 เพิ่มเติมเนื่องจากเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ดร.ประภาภรณ์หลังปูเต๊ะ ได้ชี้แจงที่มา วัตถุประสงค์ของโครงการแก่ทีมแกนนำ จากนั้น รพ.สต.บานา ได้แจ้งให้แกนนำทราบถึงสถานการณ์การระบาดของโรคติดต่อต่าง ๆ ในพื้นที่ และอัตราการได้รับวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี เพื่อสร้างการรับรู้แก่แกนนำชุมชน และเชิญชวนผู้เข้าร่วมประชุมเป็นคณะทำงานส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในพื้นที่ต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการจัดประชุมมีผู้เข้าร่วมประชุมพร้อมกับคณะทำงานจำนวนทั้งสิ้น 20 คน และได้เสนอให้มีการดำเนินงานในหมู่ 1 เพิ่มเติมเนื่องจากเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ดร.ประภาภรณ์หลังปูเต๊ะ ได้ชี้แจงที่มา วัตถุประสงค์ของโครงการแก่ทีมแกนนำ จากนั้น รพ.สต.บานา ได้แจ้งให้แกนนำทราบถึงสถานการณ์การระบาดของโรคติดต่อต่าง ๆ ในพื้นที่ และอัตราการได้รับวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี เพื่อสร้างการรับรู้แก่แกนนำชุมชน และเชิญชวนผู้เข้าร่วมประชุมเป็นคณะทำงานส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในพื้นที่ต่อไป ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดรับทราบที่มา วัตถุประสงค์ และแนวทางการดำเนินงานของโครงการ รวมถึงรับทราบสถานการณ์ปัญหาความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี และการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ในตำบล บานา จึงเห็นชอบที่จะให้มีการแต่งตั้งให้ผู้เข้าร่วมประชุมเป็นคณะทำงานส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีน ทั้งนี้ได้มีการชี้แจงบทบาท/หน้าที่ความรับผิดชอบ และแผนการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ อีกทั้งได้กำหนดวันเวลาในการลงพื้นที่เพื่อทำงานร่วมกันเพื่อความเข้าใจตรงกันและสามารถดำเนินงานได้อย่างราบรื่น

 

20 0

4. จัดทำป้ายโครงการ

วันที่ 15 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผู้รับผิดชอบการเงินโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ดำเนินการติดต่อร้านตัควา ดีไซน์ ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2566 เพื่อออกแบบจัดทำไวนิลและโปสเตอร์โครงการประกอบไปด้วยไวนิลโครงการ ป้ายบันไดผลลัพท์ป้ายสถานที่ห้ามสูบบุหรี่และโปสเตอร์ความรู้เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในเด็ก และวันที่ 4 มกราคม 2567 เพื่อทำไวนิลแสดงถุงผลการดำเนินการประกอบการนำเสนอเพื่อปิดจบโครงการ ผลลัพธ์คือ ป้ายโครงการมีความถูกต้องครบถ้วนของเนื้อหาและภาพตามวัตถุประสงค์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

โครงการการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0 - 5 ปี ตำบลบานา (ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี มีโปสเตอร์ความรู้เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและไวนิลโครงการโดยสรุป จำนวน 4 ชุดเพื่อไปติดตั้งที่มัสยิดและร้านค้าในหมู่บ้านต่างๆได้แก่ หมู่1,4,5และ6 เพื่อสร้างการรับรู้ในชุมชนตามแผนกิจกรรมที่ 4 และได้รับไวนิลแสดงถุงผลการดำเนินการประกอบการนำเสนอเพื่อปิดจบโครงการ ในวันที่ 16 ธันวาคม 2567

 

1 0

5. สร้างการรับรู้แก่ชุมชน

วันที่ 11 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ดำเนินการสร้างความรับรู้แก่ชุมชน โดยมีการแจกจ่ายโปสเตอร์เรื่องวัคซีนให้แก่ อสม ไปติดตั้งในชุมชน ได้แก่ ร้านค้า มัสยิด และจุดรวมของชุมชน ทั้ง 4 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 2 จุด รวมทั้งสิ้น 6 จุด และให้ความรู้ผ่านเสียงตามสายเรื่องวัคซีนจำนวน 2 ครั้ง โดยมีผลลัพธ์คือคนในชุมชนของแต่ละหมู่บ้าน มีความรู้เรื่องวัคซีน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คนในชุมชนของทั้ง 4 หมู่บ้าน มีความรู้เรื่องวัคซีนในระดับดีและดีมาก โดยการได้รับความรู้จากโปสเตอร์ที่ติดตามจุดสำคัญของหมู่บ้านและผ่านเสียงตามสาย

 

100 0

6. เบิกเงินสดในบัญชีธนาคารครั้งที่ 1

วันที่ 11 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ได้รับงบประมาณจากจากแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานีและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ประจำปี 2566 ให้จัดทำ "โครงการส่งเสริมความความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี ตำบลบานา(ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี" โดยให้คณะทำงาน 1 คน ดำเนินการเบิกเงินสดในการจัดกิจกรรม ณ ธนาคารกรุงไทย สาขาปัตตานี ในวันที่ 11 กรกฏาคม 2566

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2566 คณะทำงานจากโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี จำนวน 1 คน ดำเนินการเบิกเงินสดเพื่อจัดกิจกรรมที่ 1,2,4และ5 ณ ธนาคารกรุงไทย สาขา ปัตตานี

 

2 0

7. เตรียมเอกสารประกอบการประชุมจัดอบรม

วันที่ 11 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ดำเนินการเตรียมจัดกิจกรรมใน "โครงการส่งเสริมความความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี ตำบลบานา(ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี" วันที่ 11 กรกฏาคม 2566 โดยให้คณะทำงาน ดำเนินการเตรียมเอกสารสำหรับเป็นสื่อการสอนและทำแบบประเมินความรู้ก่อนจัดอบรมในกิจกรรมที่ 1,2,3และ 6 ณ ร้านถ่ายเอกสารตำบลตะลุโบะ จำนวน 190 ชุด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานโครงการส่งเสริมความความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี ตำบลบานา(ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ดำเนินการถ่ายเอกสารตำบลตะลุโบะ จำนวน 190 ชุด ในวันที่ 11 กรกฏาคม 2566 เพื่อเตรียมเอกสารสำหรับเป็นสื่อการสอนและทำแบบประเมินความรู้ก่อนจัดอบรมในกิจกรรมที่ 1,2,3และ 6

 

190 0

8. อบรมให้ความรู้แกนนำชุมชนทั้ง 4 หมู่บ้าน

วันที่ 12 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้แกนนำชุมชน ทั้ง 3
หมู่บ้าน ณ ห้องประชุมชั้น 1 อาคารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ตำบลบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 กลุ่มเป้าหมาย แกนนำชุมชนทั้ง 3 หมู่บ้าน จำนวน 15 คน ที่ประกอบไปด้วยผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ครูศูนย์เด็กเล็ก ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี อาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.และนักวิชาการ โดยคณะอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย เรื่องโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก โดยมี ดร.ประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ อบรมเรื่อง “การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก 0-5 ปี” และ อ.ซารีนะฮ์ ระนี อบรมเรื่อง “โรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน” ผลลัพธ์ที่ได้คือแกนนำมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมถูมิคุ้มกันโรคในเด็ก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

หลังเข้ารับการอบรมแกนนำมีความรู้และความเข้าใจเรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก และหลักการศาสนาอิสลามเพิ่มขึ้น ในระดับดีมาก

 

20 0

9. ประชุมคณะทำงานร่วมกับแกนนำ ครั้งที่ 2

วันที่ 13 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ดำเนินการจัดประชุมคณะทำงานร่วมกับแกนนำ ครั้งที่ 2 ณ ห้องประชุมชั้น 1 อาคารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ตำบลบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 กลุ่มเป้าหมาย ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม แกนนำหมู่บ้าน ผู้ปกครอง และครู ศพด รร.อนุบาล จำนวน 20 คน โดยมี ดร.ประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ เป็นผู้ดำเนินการหลัก ผลลัพธ์คือ มีการแสดงผลความคืบหน้าการดำเนินงานของการจัดทำโครงการ วางแผนการทำกิจกรรมในชุมชนและเตรียมนัดอบรม อสม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะจัดทำโครงการการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0 - 5 ปี ตำบลบานา (ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จำนวน 20 คน ได้มีการเตรียมการเพื่อลงพื้นที่จัดกิจกรรมในชุมชน โดยมีการประสานงานเพื่อจัดอบรมเชิงปฏิบัติการร่วมกับอสม ให้มีทักษะการสื่อสารเรื่องวัคซีนได้อย่างถูกต้อง

 

20 0

10. จัดทำปั๊มตรายาง

วันที่ 14 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ได้รับงบประมาณจากแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานีและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ประจำปี 2566 ในการจัดทำปั๊มตรายางโครงการ ดำเนินการโดย ดร.ประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ ประธานโครงการ "โครงการส่งเสริมความความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี ตำบลบานา(ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี"  ณ มะ แอดเวอร์ไทซิ่ง ต.อาเนาะรู อ.เมืองปัตตานี ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2566

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

"โครงการส่งเสริมความความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี ตำบลบานา(ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี"  ได้ทำการติดต่อทำปั๊มตรายาง ณ มะ แอดเวอร์ไทซิ่ง ต.อาเนาะรู อ.เมืองปัตตานี ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 ตามกำหนดการ

 

1 0

11. อบรมทักษะการสื่อสารเรื่องวัคซีนแก่ อสม

วันที่ 23 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ณ ห้องประชุมชั้น 1 อาคารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ตำบลบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ในวันที่ 23 สิงหาคม 2566 กลุ่มเป้าหมาย อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ประจำหมู่ที่ 1 หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 จำนวน 20 คน โดยมี ดร.ประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ และ อ.ซารีนะฮ์ ระนี อบรมเรื่อง “สื่อสารเรื่องวัคซีนสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข” โดยมีผลลัพธ์คือ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) จำนวน 20 คน มีความรู้และทักษะการสื่อสารเรื่องวัคซีนในกรณีพบเหตุการณ์ที่ผู้รับบริการปฏิเสธรับวัคซีนได้ดีขึ้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

อสมทั้ง 4 หมู่ ที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจเรื่องวัคซีนในระดับดีและดีมาก จำนวน 25 คนจาก 20 คน สามารถสาธิตย้อนกลับวิธีการสื่อสารกับผู้ปกครองได้ถูกต้องตามหลักการทุกคนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

 

20 0

12. จัดทำรายงาน

วันที่ 24 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ดำเนินการเตรียมรายละเอียดการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยมีเอกสารนำเสนอผลการดำเนินงานและประชุมปิดโครงการย่อยในวันที่ 16-17 มกราคม 2567 ณ ห้องประชุมกองสาธารณสุข ชั้น 1 คณะทำงาน กลุ่มเป้าหมายได้แก่ คณะทำงานจำนวน 20 คนร่วมกับคณะทำงานโครงการย่อยทั้ง 30 โครงการ โดยมี แผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี เป็นผู้จัดการประชุมและติดตามผลลัพธ์โครงการย่อยที่ได้จากการดำเนินงานและสรุปผลภาพรวมทั้งหมด ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ของโครงการ"โครงการส่งเสริมความความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี ตำบลบานา(ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี" ถือว่าผลการดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้มากว่าร้อยละ 80 ทุกฝ่ายร่วมมือกันจึงทำให้ผลงานเป็นไปตามบันไดผลลัพธ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลการดำเนินงาน"โครงการส่งเสริมความความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี ตำบลบานา(ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี"พบว่าสามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามแผนที่กำหนดซึ่งมากว่าร้อยละ 80 โดยมีผู้ปกครองและเด็กเข้าร่วมกิจกรรมเกินเป้าหมายที่ตั้งเป้าไว้คือ 207 คน มีเด็กเข้ารับวัคซีนหลังเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนทั้งสิ้น 35 คน คิดเป็นร้อยละ 33.02 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด มีครอบครัวตัวอย่างจำนวน 4 ครอบครัวจากทั้ง 4 หมู่บ้าน และมีเด็กที่ได้รับวัคซีนครบสุขภาพแข็งแรงในวันจัดกิจกรรมจำนวน 6 คนจากทั้ง 4 หมู่บ้าน ชุมชนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความร่วมมือจากอสม ในการเตรียมพื้นที่และประสานกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดี คณะทำงานมีความพึงพอใจในความสำเร็จของการดำเนินงาน

 

5 0

13. อ่านคุตบะห์วัคซีนวันศุกร์

วันที่ 1 กันยายน 2566 เวลา 12:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ดำเนินการประสานงานผู้ทรงคุณวุฒิ นาย สุกรี หลังปูเต๊ะ ผู้จัดทำคุตบะห์วัคซีน ตรวจทาน และจัดพิมพ์คุตบะห์วัคซีน ในเดือนกรกฎาคม เพื่อส่งมอบให้ผู้นำชุมชนผู้นำศาสนาแต่ละหมู่บ้าน นำไปอ่านธรรมเทศนาในวันศุกร์ตามหมู่บ้านต่าง ๆ อย่างน้อย 2 เดือน/ครั้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นายก อบต.บานา ขอรับไปอ่านให้ประชาชนตามหมู่บ้านต่าง ๆ ทุกวันศุกร์โดยมีการอ่านคุตบะห์วันศุกร์ หมู่บ้านละ 2 ครั้ง

 

4 0

14. ARE2

วันที่ 4 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ดำเนินการให้พี่เลี้ยงได้ติดตามบันไดผลลัพธ์ตามแผนงาน และประเมินคณะทำงาน ณ ห้องประชุมชั้น 1 อาคารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ตำบลบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ในวันที่ 4 กันยายน 2566 ประกอบไปด้วย ทีมจัดทำโครงการการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0 - 5 ปี ตำบลบานา (ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จำนวน 7 คน โดยมี นาง กัลยา เอี่ยวสกุล เป็นผู้ตรวจสอบและประเมินคณะทำงาน ผลลัพธ์คือ คณะทำงานโครงการการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0 - 5 ปี ตำบลบานา (ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จำนวน 7 คน สามารถดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์ตามแผนงานที่วางไว้ได้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะจัดทำโครงการการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0 - 5 ปี ตำบลบานา (ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จำนวน 7 คน ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการที่กำหนดไว้ตามแผนงานและร่วมกันพูดคุยแลกเปลี่ยนการดำเนินงานถึงปัญหา แนวทางแก้ไขและสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาดำเนินการ

 

7 0

15. ประชุมคณะทำงานร่วมกับแกนนำ ครั้งที่ 3

วันที่ 14 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ดำเนินการออกหนังสือเชิญคณะทำงานร่วมประชุม ณ ห้องประชุม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา หมู่ที่ 8 ตำบลบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ในวันที่  5 กันยายน 2566 กลุ่มเป้าหมาย คณะทำงานร่วมกับแกนนำทั้ง 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 จำนวน 20 คน โดยมี ดร.ประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ เป็นผู้รายงานดำเนินงานของกิจกรรมที่ผ่านมา
(กิจกรรมที่ 1-5) โดยมีผลลัพธ์คือ คณะทำงานร่วมกับแกนนำทั้ง 4 หมู่บ้าน จำนวน 17 คน ร่วมกันวางแผนการลงพื้นที่เพื่อจัดกิจกรรมให้ความรู้ในชุมชน(กิจกรรมที่6-8) โดยประสานทีม อสม เตรียมพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายในชุมชนทั้ง
4 หมู่บ้าน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานร่วมกับแกนนำทั้ง 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 จำนวน มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 17 คน ได้ร่วมประชุม ณ คณะทำงานร่วมกับแกนนำทั้ง 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 จำนวน โดยมี นายกอบต. นายมะรอสดี เงาะ เปิดประชุม และหัวหน้าโครงการ ดร.ประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ ได้รายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เรื่อง การให้ความรู้เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและหลักการศาสนาอิสลาม รวมถึงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการสื่อสารด้านวัคซีนแก่อสม และกล่าวถึงแผนงานต่อไปที่จะลงพื้นที่ในหมู่ 1,4,5,6 (กิจกรรมที่ 6-8)โดยมอบหมายให้ อสม ที่เป็นคณะทำงาน ประสานงานกลุ่มเป้าหมาย และเตรียมพื้นที่ดำเนินโครงการ ก่อนปิดการประชุมจึงสรุปวันเวลาในการจัดกิจกรรม มอบหมายหน้าที่แก่คณะทำงานและการเตรียมการจัดกิจกรรมต่างๆ

 

20 0

16. อบรมให้ความรู้และเสริมทักษะผู้ปกครองและเด็ก 0-5 ปีที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์

วันที่ 22 กันยายน 2566 เวลา 07:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ณ จุดรวมผล หมู่ 4,1,5,6 ในวันที่ 22,29 กันยายน 7 และ 16 ตุลาคม 2566 กลุ่มเป้าหมายคือผู้ปกครองและเด็ก 0-5 ปี ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ หมู่ที่ 4,1,5,6 จำนวน 200 คน โดยมี ดร.ประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ อบรมให้ความรู้เรื่อง “เลี้ยงลูกอย่างไรให้เก่งดีมีสุข” โดยมีผลลัพธ์คือ ผู้ปกครองและเด็ก 0-5 ปี ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ มีความรู้และทัศนคติที่ดีเรื่องวัคซีนอย่างน้อยร้อยละ 80ของผู้มาร่วมกิจกรรม,มีเด็ก 0-5 ปีเข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อยหมู่บ้านละ 30 คน หรืออย่างน้อย 90 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการจัดกิจกรรมอบรมผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ มีผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมเสริมความรู้ จำนวนทั้งสิ้น 81 คน, มีเด็ก 0-5 ปีเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนทั้งสิ้น 106 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 207 คน นอกจากนี้ผู้ปกครองมีความรู้และทัศนคติที่ดีเรื่องวัคซีน ร้อยละ 85.3 ของผู้มาร่วมกิจกรรม

 

200 0

17. ประกวดหนูน้อยสุขภาพดีวัคซีนครบ-ครอบครัวปลอดโรค

วันที่ 22 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ดำเนินการจัดประกวดหนูน้อยสุขภาพดีฉีดวัคซีนครบและครอบครัวปลอดโรคต้นแบบของแต่ละหมู่บ้านณ จุดรวมผล หมู่ 4,1,5,6 ในวันที่ 22,29 กันยายน 7 และ 16 ตุลาคม 2566 กลุ่มเป้าหมาย ครอบครัวที่มีเด็กอายุ 0-5 ปี ในแต่ละหมู่บ้าน โดยมีผลลัพธ์คือ มีหนูน้อยสุขภาพดีฉีดวัคซีนครบและครอบครัวปลอดโรคต้นแบบ อย่างละ 1 หมู่บ้าน โดยมีเกณฑ์คือได้รับวัคซีนครบตามวัยและมีน้ำหนัก/ส่วนสูงในระดับสมส่วน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • มีครอบครัวปลอดโรคติดต่อต้นแบบในชุมชนอย่างน้อยหมู่บ้านละ 1 ครอบครัว รายละเอียดที่ได้มีดังนี้

หมู 1 นาง ฮีดายะห์ อาบูเด มีบุตร 3 คน ได้รับวัคซีนครบและมีน้ำหนัก/ส่วนสูงในระดับสมส่วน
หมู่ 4 นางสาว แวรอฮานิง มะลี มีบุตร 3 คน ด้รับวัคซีนครบและมีน้ำหนัก/ส่วนสูงในระดับสมส่วน
หมู่ 6 นางสุไลลา หะยีบูระ มีบุตร 2 คน ได้รับวัคซีนครบและมีน้ำหนัก/ส่วนสูงในระดับสมส่วน

  • มีเด็กสุขภาพดีที่ได้รับวัคซีนครบในชุมชนอย่างน้อย 1 คนรายละเอียดที่ได้มีดังนี้

หมู่ 1 เด็กชาย อับดุลวากิฟ ดอเลาะ อายุ 1 ปี 3 เดือน ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ วัคซีนครั้งล่าสุดที่ได้รับคือ JE1 มีน้ำหนัก 10.2 กก.และส่วนสูง 75.4 ซม. ผลการประเมินพบว่ามีน้ำหนัก/ส่วนสูงในระดับสมส่วน

หมู่ 4 เด็กชาย วากิฟ สะนิ อายุ 9.3 เดือน ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ วัคซีนครั้งล่าสุดที่ได้รับคือ MMR มีน้ำหนัก 8.3 กก.และส่วนสูง 76.6 ซม. ผลการประเมินพบว่ามีน้ำหนัก/ส่วนสูงในระดับสมส่วน

หมู่ 5 เด็กชาย มูฮัมหมัดยาซีน กะลูแป อายุ 1 ปี 2 เดือน ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ วัคซีนครั้งล่าสุดที่ได้รับคือ JE1 มีน้ำหนัก 9 กก.และส่วนสูง 79 ซม. ผลการประเมินพบว่ามีน้ำหนัก/ส่วนสูงในระดับสมส่วน

หมู่ 6 เด็กชาย อับดุลอาซิซ กาโฮง อายุ 3 ปี 6 เดือน ไได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ วัคซีนครั้งล่าสุดที่ได้รับคือ JE2 มีน้ำหนัก 14.6 กก.และส่วนสูง 98.6 ซม. ผลการประเมินพบว่ามีน้ำหนัก/ส่วนสูงในระดับสมส่วน

 

3 0

18. อบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่1

วันที่ 25 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้รับผิดชอบการเงินและผู้รับผิดชอบบันทึกข้อมูลจากโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ที่ดำเนินโครงการหัวข้อเรื่องการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี ตำบล บานา (ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เข้าร่วมอบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่1 ณ โรงแรมปาร์ค อินทาวน์ ปัตตานี ในวันที่ 25 กันยายน 2566 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรค์ และผลลัพธ์การดำเนินงานที่ผ่านมาตลอดจนการนำไปปรับปรุงการดำเนินงานในช่วงระยะเวลาที่เหลือ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้รับผิดชอบการเงินและผู้รับผิดชอบบันทึกข้อมูลจากโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนีมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรค์ และผลลัพธ์การดำเนินงานที่ผ่านมาตลอดจนการนำไปปรับปรุงการดำเนินงานในช่วงระยะเวลาที่เหลือ

 

3 0

19. อ่านนิทานก่อนนอน

วันที่ 1 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ดำเนินการรวมกลุ่มไลน์ผู้ปกคองเด็กอายุ 0-5 ปี (วัคซีนบานา) ในแต่ละหมู่บ้าน ร่วมกันเลือกนิทานเกี่ยวกับวัคซีนเพื่อให้ผู้ปกครองอ่านนิทานให้ลูกฟังก่อนนอนอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ซึ่งผู้ปกครองสามารถซักถามปัญหาได้ในกลุ่มไลน์ กิจกรรมนี้จัดในช่วงตุลาคม-ธันวาคม 2566 กลุ่มเป้าหมาย ครอบครัวที่มีเด็กอายุ 0-5 ปี ในแต่ละหมู่บ้าน โดยมีผลลัพธ์คือ ผู้ปกครองไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 อ่านนิทานเรื่องเกี่ยวกับวัคซีนให้ลูกน้อยก่อนนอนอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้ปกครองไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 อ่านนิทานเรื่องเกี่ยวกับวัคซีนให้ลูกน้อยก่อนนอนอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

 

50 0

20. เบิกเงินสดในบัญชีธนาคารครั้งที่ 2

วันที่ 6 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ได้รับงบประมาณจากจากแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานีและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ประจำปี 2566 ให้จัดทำ "โครงการส่งเสริมความความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี ตำบลบานา(ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี" โดยให้คณะทำงาน 1 คน ดำเนินการเบิกเงินสดในการจัดกิจกรรม ณ ธนาคารกรุงไทย สาขาปัตตานี ในวันที่ 6 ตุลาคม 2566

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ในวันที่ 6 ตุลาคม 2566 คณะทำงานจากโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี จำนวน 1 คน ดำเนินการเบิกเงินสดเพื่อจัดกิจกรรมที่ 1,3และ6 ณ ธนาคารกรุงไทย สาขา ปัตตานี

 

2 0

21. ประชุมคณะทำงานร่วมกับแกนนำ ครั้งที่ 4

วันที่ 6 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ดำเนินการออกหนังสือเชิญคณะทำงานร่วมประชุม ณ ห้องประชุม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา หมู่ที่ 8 ตำบลบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ในวันที่
6 ตุลาคม 2566 กลุ่มเป้าหมาย คณะทำงานร่วมกับแกนนำทั้ง 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 จำนวน 20 คน โดยมี ดร.ประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ เป็นผู้รายงานการดำเนินงานของกิจกรรมที่ผ่านมา (กิจกรรมที่ 1-8) มีจำนวนเด็กที่ได้รับวัคซีนหลังเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 13 คน ผลลัพธ์ที่ได้คือ มีคณะทำงานร่วมกับแกนนำทั้ง 4 หมู่บ้าน จำนวน 17 คน ร่วมกันวางแผนการลงพื้นที่หรือโทรติดตามให้คำปรึกษาในเคสที่ยังไม่ได้รับวัคซีนร่วมกับ อสม.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานร่วมกับแกนนำทั้ง 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 จำนวน 17 คน ณ ห้องประชุม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา ในวันที่ 6 ตุลาคม 2566 ในรายละเอียดการประชุมมีการวางแผนร่วมกันว่าให้มีการลงพื้นที่ติดตามร่วมกับ อสม หรือโทรติดตามให้คำปรึกษาในสัปดาห์ถัดไปโดยมีกำหนดวันสินสุดการติดตามและให้คำปรึกษาก่อนวันปิดโครงการคือสิ้นเดือนธันวาคม หลังพบว่าเมื่อดำเนินงานของกิจกรรมที่ผ่านมา (กิจกรรมที่ 1-8) มีจำนวนเด็กที่ได้รับวัคซีนหลังเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 13 คน

 

20 0

22. ติดตาม/เยี่ยมบ้าน คณะทำงานร่วมกับ อสม

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ภายหลังโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ดำเนินการสิ้นสุดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง เกี่ยวกับความสำคัญของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และรณรงค์ให้เด็ก 0-5 ปีในหมู่บ้านไปรับวัคซีนหลังอบรมแก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี ที่ไม่ได้รับวัคซีนครมตามเกณฑ์ จำนวน 207 คน ได้มีการเว้นระยะห่าง 1-2 เดือน เพื่อติดตามผลโดยมี อสม. หมู่ 1,4,5,6 ติดตามว่าผู้ปกครองได้นำบุตรหลานเข้ารับวัคซีนที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลหรือไม่ ทั้งนี้ผลลัพธ์ที่ได้จากการติดตามและตรวจสอบสมุดสุขภาพ(สมุดสีชมพู)ภายใน 1 เดือน พบว่าเด็ก 0-5 ปีที่เข้าร่วมโครงการเข้ารับวัคซีนจำนวน 22 คน จึงได้ดำเนินการประสานงาน อสม เยี่ยมบ้านเด็ก 0-5 ปีในชุมชน หมู่ 1,4,5,6 ในเดือนธันวาคมเพื่อกระตุ้น ติดตาม ให้ความรู้เพิ่มเติมแก่ผู้ปกครอง เพื่อให้นำบุตรหลานเข้ารับวัคซีนต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีการติดตามเยี่ยมบ้านเด็กที่มีอายุ 0-5 ปีโดยคณะกรรมการร่วมกับ อสม. ในชุมชนรวมถึงการโทรศัพท์ติดตาม พบว่ามีหลายปัจจัยที่ผู้ปกครองไม่ได้นำบุตรหลานเข้ารับวัคซีนส่วนใหญ่ได้แก่ อายุยังไม่ถึงเกณธ์รับวัคซีน หรือยังไม่ถึงวันนัดรับวัคซีน บิดามารดาไม่อยู่บ้านและอาศัยอยู่กับปู่ย่าตายาย และยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะนำบุตรหลานเข้ารับวัคซีนหรือไม่ ทั้งนี้ได้มีการติดตามผลการเข้ารับวัคซีนที่ รพ.สต. ภายหลังเยี่ยมบ้าน 1 เดือน พบว่ามีเด็กอายุ 0-5 ปี ฉีดวัคซีน 22 คน

 

4 0

23. ARE3

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ดำเนินการให้พี่เลี้ยงได้ติดตามการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์และประเมินคณะทำงาน ณ ห้องประชุมชั้น 1 อาคารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ตำบลบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ในวันที่ 6 พฤษจิกายน 2566 ประกอบไปด้วย ทีมจัดทำโครงการการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0 - 5 ปี ตำบลบานา (ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จำนวน 15 คน โดยมี นาง กัลยา เอี่ยวสกุล เป็นผู้ตรวจสอบและประเมินคณะทำงาน ผลลัพธ์คือ คณะทำงานโครงการการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0 - 5 ปี ตำบลบานา (ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จำนวน 15 คน สามารถดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ ได้แก่การแบ่งบทบาทหน้าที่ การดำเนินงานตามแผนงานที่วางไว้ การได้รับความรู้และการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานโครงการการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0 - 5 ปี ตำบลบานา (ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จำนวน 6 คน สามารถดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ ได้แก่ การแบ่งบทบาทหน้าที่ของทางคณะทำงาน ผู้นำ ทีมรพสตฬและชุมชน ,มีการดำเนินงานตามแผนงานที่วางไว้ครบถ้วน, การได้รับความรู้และการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายในรูปแบบต่างๆเช่น โปสเตอร์ความรู้ การจัดอบรม การประกวดวัคซีนและนิทาน เป็นต้น

 

5 0

24. ARE4

วันที่ 1 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ดำเนินการให้พี่เลี้ยงได้ติดตามการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์และประเมินคณะทำงาน ณ ห้องประชุมชั้น 1 อาคารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ตำบลบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ในวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ประกอบไปด้วย ทีมจัดทำโครงการการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0 - 5 ปี ตำบลบานา (ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จำนวน 15 คน โดยมี นาง กัลยา เอี่ยวสกุล เป็นผู้ตรวจสอบและประเมินคณะทำงาน ผลลัพธ์คือ คณะทำงานโครงการการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0 - 5 ปี ตำบลบานา (ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จำนวน 15 คน สามารถดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ ได้แก่ การเข้าร่วมอบรมมีผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรม 207 คนซึ่งถือว่าเกินเป้าหมายที่วางไว้,ผู้ปกครองมีความรู้และความเข้าใจในระดับดี 28.9%และดีมาก71.1%,จากการการประกวดมีครอบครัวต้นแบบ 4 ครอบครัวและมีหนูน้อยสุขภาพดี 6 คน เป็นต้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานโครงการการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0 - 5 ปี ตำบลบานา (ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จำนวน 6 คน สามารถดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ตามตัวชีวัด ได้แก่ - มีผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมอบรมเรื่องวัคซีนทั้งหมด 207 คน จากเป้าหมายที่วางไว้ (ร้อยละ90) 187 คนซึ่งถือว่าเกินเป้าหมายที่วางไว้ - ผู้ปกครองมีความรู้และความเข้าใจในระดับดี 28.9%และดีมาก71.1% - จากการการประกวดมีครอบครัวต้นแบบ 4 ครอบครัวและมีหนูน้อยสุขภาพดี 6 คน - มีการรวมกลุ่มโซเชี่ยลผู้ปกครอง 30 คน เพื่อรณรงค์ให้อ่านนิมานและให้คำปรึกษาในกรณีมีข้อสงสัย

 

5 0

25. ประชุมคณะทำงานร่วมกับแกนนำ ครั้งที่ 5 ถอดบทเรียน สรุปรายงาน คืนข้อมูล

วันที่ 15 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ดำเนินการเตรียมการจัดประชุมคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยการออกหนังสือเชิญ เตรียมอาหารและอาหารว่าง เตรียมเอกสารนำเสนอผลการดำเนินงานรวมทั้ง ประสานงาน รพ.สต. เพื่อเตรียมสถานที่และกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ มีการประชุม ณ ห้องประชุม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา หมู่ที่ 8 ตำบลบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ในวันที่ 15 ธันวาคม 2566 กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผุู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อบต. อสม.และคณะทำงานจำนวน 26 คน โดยมี ดร.ประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ เป็นผู้รายงานการดำเนินงานของกิจกรรมที่ผ่านมา (กิจกรรมที่ 1-9) ผลลัพธ์ที่ได้ถือว่าผลการดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้มากว่าร้อยละ 80 มีจำนวนเด็กที่ได้รับวัคซีนหลังเข้าร่วมกิจกรรมรวมทั้งสิ้น 35 คน ผลลัพธ์ที่ได้คือผู้เข้าร่วมประชุมเห็นตรงกันถึงความสำคัญของการได้รับวัคซีนในเด็กและประโยชน์ของการส่งเสริมการได้รับวัคซีนในเด็ก นอกจากนี้ยังร่วมกันลงนาม MoU 4 ฝ่าย ได้แก่ รพ.สต. มหาวิทยาลัย อบต และผู้นำชุมชน เพื่อร่วมมือกันส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็กให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานร่วมกับแกนนำ จำนวน 20 คน รับทราบผลการดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้มากว่าร้อยละ 80 กล่าวคือ มีคณะทำงานจำนวน 20 คน มีโครงสร้างบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจนและดำเนินการได้ตามแผนการดำเนินงานที่วางไว้ โดย มีผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมเสริมความรู้ จำนวนทั้งสิ้น 81 คน, มีเด็ก 0-5 ปีเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนทั้งสิ้น 106 คน, มี อ.สม.เข้าร่วมอบรมการสื่อสารด้านวัคซีนจากทั้ง 4 หมู่บ้านจำนวน 20 คน, มีสื่อ โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ครบทั้ง 4 หมู่บ้าน, มีการอ่านคุตบะห์วันศุกร์ทุกมัสยิดใน 4 หมู่บ้าน และมีจำนวนเด็กเข้ารับวัคซีนเข้าร่วมกิจกรรมและติดตามเยี่ยมบ้านให้คำปรึกษาจำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 33.02 จากเป้าหมาย 58 คน
  (ร้อยละ50)
อันเนื่องมาจากเป็นการติดตามผลในระยะ 2 เดือน จึงเสนอให้ อสม. รพสต ดำเนินงานและติดตามอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การจัดโครงการครั้งนี้สามารถถอดบทเรียนโดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนทั้งสิ้น 26 คน รวมถึงผู้นำชุมชนและผู้นำศาสนาที่มาจากตำบลบานาฝั่งตะวันออกมาร่วมรับฟังการคืนข้อมูลและเสนอแนวคิดร่วมด้วยซึ่งผลปรากฎว่าผู้เข้าร่วมประชุมต่างเห็นตรงกันถึงความสำคัญของการได้รับวัคซีนในเด็กและประโยชน์ของการส่งเสริมการได้รับวัคซีนในเด็กและเห็นชอบให้ลงนาม MoU 4 ฝ่าย ได้แก่ รพ.สต. มหาวิทยาลัย อบต และผู้นำชุมชน เพื่อร่วมมือกันส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็กให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน

 

30 0

26. ตรวจเอกสารการเงิน

วันที่ 18 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้รับผิดชอบการเงินและผู้รับผิดชอบบันทึกข้อมูลจากโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ที่ดำเนินโครงการหัวข้อเรื่องการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี ตำบล บานา (ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี  ณ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองปัตตานี  ตึกอุบัติเหตุฉุกเฉิน ชั้น 2  ในวันที่ 18 ธันวาคม 2566 เพื่อดำเนินการนำเอกสารการเงินตรวจเช็ครายละเอียดและความเรียบร้อยของเอกสารที่ผ่านมาตลอดจนการนำไปปรับปรุงการดำเนินงานในช่วงระยะเวลาที่เหลือ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้รับผิดชอบการเงินและผู้รับผิดชอบบันทึกข้อมูลจากโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ได้นำคำแนะนำและแนวทางการแก้ไขเอกสารการเงินให้ถูกต้องตามระเบียบการไปปรับปรุงการดำเนินงานในช่วงระยะเวลาที่เหลือก่อนปิดโครงการในวันที่ 16-17 มกราคม 2567

 

3 0

27. พบปะพี่เลี้ยง

วันที่ 8 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการส่งเสริมความความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี ตำบลบานา(ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เดินทางไปพบปะพี่เลี้ยง นางกัลยา เอี่ยวสกุล ณ สมาคมคุ้มครองผู้บริโภคฯ วันที่ 8 มกราคม 2567 เพื่อตรวจสอบและประเมินคณะทำงาน ผลลัพธ์คือ คณะทำงานโครงการการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0 - 5 ปี ตำบลบานา (ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี สามารถดำเนินงานตามตามแผนงานที่วางไว้ได้อย่างถูกต้องครบถ้วน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะจัดทำโครงการการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0 - 5 ปี ตำบลบานา (ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการที่กำหนดไว้ตามแผนงานและร่วมกันพูดคุยแลกเปลี่ยนการดำเนินงานถึงปัญหา แนวทางแก้ไขและสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาดำเนินการ

 

2 0

28. อบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 2

วันที่ 15 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผู้รับผิดชอบโครงการ เลขานุการ ผู้รับผิดชอบการเงิน และผู้รับผิดชอบบันทึกข้อมูล จากโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี จำนวน 6 คน ที่ดำเนิน"โครงการหัวข้อเรื่องการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี ตำบลบานา (ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี" เข้าร่วมอบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 2 ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ในวันที่ 15 มกราคม 2567 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานและผลลัพธ์การดำเนินงานที่ผ่านมา พร้อมจัดนิทรรศการนำเสนอผลงานของโครงการที่ขอรับทุนทั้ง 30 โครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับผิดชอบโครงการ เลขานุการ ผู้รับผิดชอบการเงิน ผู้รับผิดชอบบันทึกข้อมูล และคณะแกนนำจากโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนีทจำนวน 6 คน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการย่อยต่างๆทั้ง 30 โครงการ ได้แก่การคัดเลือกคณะแกนนำ ความก้าวหน้า และผลลัพธ์การดำเนินงานที่ผ่านมาตลอดจนการนำไปสานต่อในภายภาคหน้า

 

6 0

29. ประชุมปิดโครงการย่อยแผนร่วมทุน

วันที่ 16 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผู้รับผิดชอบโครงการ เลขานุการ ผู้รับผิดชอบการเงิน และผู้รับผิดชอบบันทึกข้อมูลจากโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนีรวมถึงพี่เลี้ยงโครงการ จำนวน 5 คน ที่ดำเนิน"โครงการหัวข้อเรื่องการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี ตำบลบานา (ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี" เข้าร่วมประชุมเตรียมความพร้อมปิดโครงการย่อยแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี โดยมี นางกัลยา เอี่ยวสกุล เป็นผู้ชี้แนะและตรวจสอบ ณ ห้องประชุมกองสาธารณสุข อาคารศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉิน(เขตอุตสาหกรรม) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ในวันที่ 16 มกราคม 2567 เพื่อติดตามผลลัพธ์และตัวชี้วัดที่เกิดขึ้นของโครงการย่อย ตรวจสอบเอกสารการเงินเบื้องต้นของโครงการย่อยให้สอดคล้องในระบบคนสร้างสุขและเพื่อเตรียมเบิกเงินสนับสนุนงวดที่ 2

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับผิดชอบโครงการ เลขานุการ ผู้รับผิดชอบการเงิน และผู้รับผิดชอบบันทึกข้อมูลจากโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนีรวมถึงพี่เลี้ยงโครงการ จำนวน 5 คน ที่ดำเนิน"โครงการหัวข้อเรื่องการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี ตำบลบานา (ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี" เข้าร่วมประชุมเตรียมความพร้อมปิดโครงการย่อยแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี โดยมี นางกัลยา เอี่ยวสกุล พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลลัพธ์ที่ได้สอดคล้องกับตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในบันไดผลลัพธ์ ตรวจสอบเอกสารการเงินเบื้องต้นและมีความสอดคล้องในระบบคนสร้างสุขและเพื่อเตรียมเบิกเงินสนับสนุนงวดที่ 2

 

4 0

30. เบิกเงินสดในบัญชีธนาคารครั้งที่ 3 (ค่าเปิดบัญชี)

วันที่ 17 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เบิกเงินสดในบัญชีธนาคารครั้งที่ 3 (ค่าเปิดบัญชี) ให้กับกรรมการ จำนวนเงิน 500 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เบิกเงินสดในบัญชีธนาคารครั้งที่ 3 (ค่าเปิดบัญชี) ให้กับกรรมการ จำนวนเงิน 500 บาท

 

2 0

31. คืนดอกเบี้ยให้กับเเผนงานร่วมทุนฯ

วันที่ 24 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คืนดอกเบี้ยให้กับเเผนงานร่วมทุนฯ34.39 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คืนดอกเบี้ยให้กับเเผนงานร่วมทุนฯ

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เกิดแกนนำป้องกันโรคติดต่อในเด็กในชุมชน
ตัวชี้วัด : 1.1 เกิดแกนนำใน 3 หมู่บ้าน จำนวน 15 คน ที่ประกอบไปด้ายผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ครูศูนย์เด็กเล็ก ผู้ปกครองเด็ก 0 - 5 ปี อาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต. และนักวิชาการ 1.2 มีการกำหนดโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของแกนนำชุมชนที่ชัดเจน 1.3 แกนนำ 15 คนมีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก 1.4 อาสาสมัครสาธารณสุขจำนวน 20 คน มีทักษะการสื่อสารเรื่องวัคซีน
15.00 86.41

 

2 คนในชุมชนมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการวัคซีนในเด็ก
ตัวชี้วัด : 2.1 มีสื่อประชำสัมพันธ์ความรู้เรื่อง การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ทุก หมู่บ้าน 2.2. มีการบรรยายให้ความรู้เรื่องการ สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคผ่านเสียง ตามสายในทุกชุมชน 2.3. ผู้นำศาสนาอ่านคุตบะห์เรื่องวัคซีน แก่ประชาชนทั้ง 4 ชุมชน
3.00 34.00

 

3 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
ตัวชี้วัด : 3.1 ผู้ปกครองเด็ก 0 - 5 ปี ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ อย่างน้อย 40 คน (ร้อยละ 80) มีความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับวัคซีนดีขึ้น 3.2 ผู้ปกครองเด็ก อย่างน้อย 40 คน (ร้อยละ 80) มีทักษะการจัดการอาการข้างเคียงเช่นอาการไข้ อาการปวด หลังได้รับวัคซีน 3.3 มีครอบครัวปลอดโรคต้นแบบอย่างน้อยหมู่บ้านละ 1 ครอบครัว และหนูน้อยสุขภาพดีฉีดวัคซีนอย่างน้อยหมู่บ้านละ 1 คน 3.4 มีสมาชิกครอบครัวและเด็ก 0-5 ปีเข้าร่วมกิจกรรมหนูน้อยสุขภาพดีอย่างน้อย 50 คน
80.00 20.00

 

4 เพื่อให้เด็ก 0-5 ปีได้รับวัคซีน
ตัวชี้วัด : 4.1 เด็ก 0 - 5 ปี ที่เข้าร่วมโครงการได้รับวัคซีนไม่น้อยกว่า 25 คน หรือร้อยละ 50
25.00 0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 215
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ประชาชนในตำบลบานา หมู่ 1,4,5,6 100
ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปีที่ไม่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ 100
แกนนำชุมชน 15

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เกิดแกนนำป้องกันโรคติดต่อในเด็กในชุมชน (2) คนในชุมชนมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการวัคซีนในเด็ก (3) เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (4) เพื่อให้เด็ก 0-5 ปีได้รับวัคซีน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมคณะทำงานร่วมกับแกนนำ (2) การบริหารจัดการโครงการ (3) กิจกรรมให้ความรู้ (4) จ่าย ดอกเบี้ยให้กองคลัง (5) เปิดบัญชีงบบริหารจัดการโครงการ (6) ARE1 อบรมเวทีปฐมนิเทศ พัฒนาศักยภาพผู้รับทุน และคลี่แผนงานโครงการ (7) ประชุมคณะทำงานร่วมกับแกนนำ ครั้งที่ 1 (8) จัดทำป้ายโครงการ (9) เบิกเงินสดในบัญชีธนาคารครั้งที่ 1 (10) เตรียมเอกสารประกอบการประชุมจัดอบรม (11) อบรมให้ความรู้แกนนำชุมชนทั้ง 4 หมู่บ้าน (12) ประชุมคณะทำงานร่วมกับแกนนำ ครั้งที่ 2 (13) จัดทำปั๊มตรายาง (14) สร้างการรับรู้แก่ชุมชน (15) อ่านคุตบะห์วัคซีนวันศุกร์ (16) ARE2 (17) อ่านนิทานก่อนนอน (18) ประชุมคณะทำงานร่วมกับแกนนำ ครั้งที่ 3 (19) อบรมให้ความรู้และเสริมทักษะผู้ปกครองและเด็ก 0-5 ปีที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ (20) ประกวดหนูน้อยสุขภาพดีวัคซีนครบ-ครอบครัวปลอดโรค (21) อบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่1 (22) ประชุมคณะทำงานร่วมกับแกนนำ ครั้งที่ 4 (23) เบิกเงินสดในบัญชีธนาคารครั้งที่ 2 (24) อบรมทักษะการสื่อสารเรื่องวัคซีนแก่ อสม (25) ติดตาม/เยี่ยมบ้าน คณะทำงานร่วมกับ อสม (26) ARE3 (27) ARE4 (28) ประชุมคณะทำงานร่วมกับแกนนำ ครั้งที่ 5 ถอดบทเรียน สรุปรายงาน คืนข้อมูล (29) ตรวจเอกสารการเงิน (30) จัดทำรายงาน (31) พบปะพี่เลี้ยง (32) อบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 2 (33) ประชุมปิดโครงการย่อยแผนร่วมทุน (34) เบิกเงินสดในบัญชีธนาคารครั้งที่ 3 (35) เบิกเงินจ่ายค่าเปิดบัญชีครั้งแรก

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0 - 5 ปี ตำบลบานา (ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 65-P1-0068-029

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( ดร.ประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด