directions_run

อนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งเพื่อเพิ่มปริมาณพันธุ์สัตว์น้ำบ้านบ่อแดง

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สมาคมรักษ์ทะเลไทย


“ อนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งเพื่อเพิ่มปริมาณพันธุ์สัตว์น้ำบ้านบ่อแดง ”

ตำบลบ่อแดง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นายสวัสดิ์ ทองมา

ชื่อโครงการ อนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งเพื่อเพิ่มปริมาณพันธุ์สัตว์น้ำบ้านบ่อแดง

ที่อยู่ ตำบลบ่อแดง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ S-028 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 13 กรกฎาคม 2566 ถึง 13 เมษายน 2567


กิตติกรรมประกาศ

"อนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งเพื่อเพิ่มปริมาณพันธุ์สัตว์น้ำบ้านบ่อแดง จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลบ่อแดง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สมาคมรักษ์ทะเลไทย ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
อนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งเพื่อเพิ่มปริมาณพันธุ์สัตว์น้ำบ้านบ่อแดง



บทคัดย่อ

โครงการ " อนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งเพื่อเพิ่มปริมาณพันธุ์สัตว์น้ำบ้านบ่อแดง " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลบ่อแดง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ S-028 ระยะเวลาการดำเนินงาน 13 กรกฎาคม 2566 - 13 เมษายน 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 79,110.00 บาท จาก สมาคมรักษ์ทะเลไทย เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ชุมชนบ้านบ่อแดง ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลบ่อแดง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เป็นพื้นที่ติดชายฝั่งอ่าวไทย มีอาณาเขตติดต่อดังนี้ ทิศเหนือติดต่อกับบ้านแคบน ตำบลบ่อแดง อำเภอเสทิงพระ จังหวัดสงขลา ทิศใต้ติดต่อกับ ตำบลวัดจันทร์ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ทิศตะวันตกติดต่อกับ ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ทิศตะวันออกติดต่อกับอ่าวไทย ชุมชนบ้านบ่อแดง หมู่ 4 มีครัวเรือน จำนวน 502 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 873 คน อาชีพหลักคือการทำสวน และมีการทำประมงจำนวน 40% มีรายได้เฉลี่ยจากการทำประมงวันละ 2,000-5,000 บาท ขึ้นกับฤดูกาล สัตว์น้ำเศรษฐกิจสำคัญๆ ที่จับได้ ได้แก่ ปลาอินทรีย์ ปลากุเลา กุ้งแชบ๊วย ปูม้า ปลาจวด ปลาลัง ปลาหลังเขียว ปลาเกล็ดขาว ฯลฯ
ชุมชนบ้านบ่อแดงได้มีการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งด้วยการทำเขตอนุรักษ์หน้าบ้านและการวางซั้งกอในปี 2563-2564 และเป็นพื้นที่ทดลองในการทำเขตอนุรักษ์ถาวรโดยมีกติกาข้อตกลงของชุมชนกำหนดและปฏิบัติร่วมกัน มีพื้นที่กว้าง*ยาว ขนาด 500 x 500 เมตร ห่างจากฝั่ง 500 เมตร มีการเฝ้าระวังโดยชุมชนที่ร่วมกันเป็นประมงอาสาช่วยสอดส่องดูแลเขตอนุรักษ์จำนวน 8 คนซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการผลักดันให้มีการประกาศเป็นเขตอนุรักษ์ถาวรที่ผ่านการการรับรองของจังหวัดสงขลา ซึ่งผลจากการทำเขตอนุรักษ์และวางซั้งกอเพื่อฟื้นฟูพันธุ์สัตว์น้ำที่ผ่านมา ทำให้ชาวประมงสามารถจับสัตว์น้ำได้เพิ่มขึ้น สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน โดยมีการเก็บข้อมูลการจับสัตว์น้ำจากชาวประมงเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นผลจากการทำเขตอนุรักษ์ฟื้นฟู แต่ขาดความต่อเนื่องในการดำเนินกิจกรรมกอปกับเกิดสถานการณ์โรคระบาดโควิด – 19 ปัจจุบันชาวบ้านบ่อแดงยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรควิด -19 มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ชาวบ้านตกงาน ไม่มีงานทำจึงหันกลับมาทำประมงเพิ่มขึ้น มีเรือและเครื่องมือในการจับสัตว์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้สัตว์น้ำมีปริมาณลดลง อีกทั้งสัตว์น้ำที่จับได้มีขนาดเล็กขายได้ราคาถูกทำให้มีรายได้ลดลงตามไปด้วย นอกจากนั้นชุมชนยังมีการลักลอบจับสัตว์น้ำในเขตอนุรักษ์ที่วางซั้งกอ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้ชนิดสัตว์น้ำลดลง จากปัญหาดังกล่าวชาวบ้านบ่อแดงจึงมีแนวคิดในการแก้ปัญหาโดยใช้เวทีประชุมเพื่อหารือกับกลุ่มประมงพื้นบ้านในการฟื้นฟูชายฝั่งเขตทะเลหน้าบ้านซึ่งเป็นพื้นที่เดิมที่วางซั้งกออยู่ก่อนแล้วพร้อมทั้งขยายพื้นที่ให้มีบริเวณกว้างขึ้นเพื่อให้ต่อเนื่องกับพื้นที่เดิมที่ดำเนินการอยู่แล้ว       ชุมชนบ่อแดงจึงได้จัดทำ “โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งเพื่อเพิ่มปริมาณพันธุ์สัตว์น้ำบ้านบ่อแดง” ภายใต้วัตถุประสงค์ 1.) สร้างความรู้ความตระหนักร่วมกันฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำและทรัพยากรชายฝั่ง และเกิดกลไกการทำงานร่วมกันในการรักษาทะเล  2.)เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอนุรักษ์ฟื้นฟู 3.) เกิดกลไกติดตามการทำงานร่วมกัน 4.) นิเวศทะเลชายฝั่งมีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์  ภายใต้วัตถุประสงค์ดังกล่าวจะเป็นส่วนสำคัญนำไปสู่การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำในเขตทะเลหน้าบ้านและการเกิดพลังชุมชนที่เข้มแข็งมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. (1.)สร้างความรู้ความตระหนักร่วมกันฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำและทรัพยากรชายฝั่ง และเกิดกลไกการทำงานร่วมกันในการรักษาทะเล
  2. 2.เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอนุรักษ์ฟื้นฟู
  3. เกิดกลไกติดตามการทำงานร่วมกัน
  4. นิเวศทะเลชายฝั่งมีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์
  5. เพื่อหนุนเสริมให้มีการบริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. เวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาสถานการณ์ทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลชายฝั่งในปัจจุบัน (เวทีเปิดโครงการ)
  2. จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือและรายได้จากการจับสัตว์น้ำในชุมชนหมู่ 4 บ้านบ่อแดงและชุมชนใกล้เคียงที่ร่วมโครงการ
  3. จัดทำและวางซั้งกอในพื้นที่เขตอนุรักษ์
  4. เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ
  5. เวทีสรุปและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน 4 เดือน/ครั้ง (ARE)
  6. เวทีจัดตั้งกติกาเขตอนุรักษ์และรับสมัครประมงอาสา
  7. เวทีนำเสนอข้อมูลชุมชน
  8. การบริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ กับ สสส.
  9. เก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงชนิดพันธุ์สัตว์น้ำก่อน-หลัง การมีเขตฯ
  10. ทำป้ายประชาสัมพันธ์กติกาข้อตกลงของเขตอนุรักษ์และกติกาการจับสัตว์น้ำ
  11. ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  12. เวทีปิดโครงการ
  13. เวทีปฐมนิเทศโครงการ
  14. จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และป้ายชื่อโครงการ สสส.
  15. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1
  16. เวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาสถานการณ์ทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลชายฝั่งในปัจจุบัน (เวทีเปิดโครงการ)
  17. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2
  18. ประชุมทำความเข้าใจวิธีการจัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำและเครื่องมือประมงที่ใช้ในการจับ
  19. กิจกรรมเก็บข้อมูลสัตว์น้ำก่อนมีเขตอนุรักษ์
  20. ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์
  21. เวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 1 ระดับพื้นที่
  22. เวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ระดับรวมโครงการจังหวัดสงขลา
  23. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3
  24. เวทีจัดตั้งกติกาเขตอนุรักษ์และรับสมัครประมงอาสา
  25. เวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) รวม 30 โครงการ
  26. ทำป้ายประชาสัมพันธ์กติกาข้อตกลงของเขตอนุรักษ์และกติกาการจับสัตว์น้ำ
  27. วางซั้งกอในเขตอนุรักษ์บ้านบ่อแดง
  28. ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในเขตอนุรักษ์หลังวางซั้งกอ
  29. เวทีปิดโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
สมาชิกกลุ่มอนุรักษ์ชายฝั่งบ้านบ่อแดง 40
สมาชิกในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง 20

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. เวทีปฐมนิเทศโครงการ

วันที่ 13 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมเพื่อรับฟังการบริหารจัดการโครงการด้านการเงิน การออกแบบการเก็บข้อมูล การส่งรายงานผ่านระบบออนไลน์ และคู่มืออื่นๆ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดความรู้ความเข้าใจการบริหารจัดการโครงการด้านเอกสารด้านการเงินในแบบฟอร์มต่างๆ ตัวอย่างการออกแบบการเก็บข้อมูล ขั้นตอนการสมัครสมาชิกในระบบและการส่งรายงานผ่านระบบออนไลน์ ฯลฯ

 

100 0

2. จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และป้ายชื่อโครงการ สสส.

วันที่ 29 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และป้ายชื่อโครงการ สสส. สำหรับติดสถานที่จัดกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดการจัดทำป้ายไวนิลชื่อโครงการ และป้ายรณรงค์งดสูบบัหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สำหรับติดสถานที่จัดกิจกรรม

 

0 0

3. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1

วันที่ 31 กรกฎาคม 2566 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ประชุมแกนนำชุมชน เพื่อคัดเลือกและแต่งตั้งคณะทำงานโครงการ พร้อมทั้งแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ 2.ชี้แจงวัตถุประสงค์ และรายละเอียดของโครงการให้ผู้เข้าประชุมรับทราบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.เกิดรายชื่อคณะทำงานและที่ปรึกษาโครงการ จำนวน 15 คน 2.เกิดความรู้ ความเข้าใจถึงรายละเอียดและวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการ

 

15 0

4. เวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาสถานการณ์ทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลชายฝั่งในปัจจุบัน (เวทีเปิดโครงการ)

วันที่ 25 สิงหาคม 2566 เวลา 09:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาสถานการณ์ทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลชายฝั่งในปัจจุบัน (เวทีเปิดโครงการ)
วัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงรายรายเอียดโครงการ งบประมาณ แผนการดำเนินงาน รวมทั้งรายชือคณะทำงานของโครงการให้กับผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบ ตลอดถึงการรับฟังคำเสนอแนะการดำเนินโครงการเพื่อให้ประสบผลสำเร็จและมีส่วนร่วมจากชุมชนและชุมชนใกล้เคียง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.เกิดการทำความเข้าใจของผู้เข้าร่วมประชุมถึงวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการ 2.เกิดรายชื่อคณะทำงานพร้อมทั้งหน้าที่รับผิดชอบ 3.เกิดความร่วมมือ และประสานงานอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนที่ดำเนินโครงการและชุมชนใกล้เคียงในการร่วมกันดำเนินกิจกรรมโครงการ 4.เกิดความรู้ ความเข้าใจในเอกสารประกอบการดำเนินโครงการสำหรับคณะทำงานที่รับผิดชอบด้านต่างๆ

 

60 0

5. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2

วันที่ 7 กันยายน 2566 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนการดำเนินกิจกรรมถัดไปคือ การเก็บ และจัดทำข้อมูลสัตว์น้ำ พร้อมทั้งอบรมการบันทึกรายงานกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์ และการใช้เอกสารการเงินที่ถูกต้องในการเคลียร์ค่าใช้จ่ายของโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.คณะทำงานเกิดความรู้ ความเข้าใจในวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบมากขึ้น สามารถบริหารจัดการเอกสารประกอบการดำเนินโครงการ เช่น เอกสารการเงินอย่างง่ายได้ รวมทั้งวิธีการรายงานกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งต้องกลับไปทดลองฝึกปฎิบัติเพื่อความเข้าใจและชำนาญมากขึ้น

 

15 0

6. ประชุมทำความเข้าใจวิธีการจัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำและเครื่องมือประมงที่ใช้ในการจับ

วันที่ 20 กันยายน 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานและตัวแทนดำเนินโครงการเพื่อทำความเข้าใจวิธีการจัดทำข้อมูลสัตว์น้ำและเครื่องมือที่ใช้จับ เช่นเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล แบบฟอร์มการบันทึกข้อมูล ตัวอย่างครัวเรือนที่ใช้เก็บข้อมูล สถานที่ที่ใช้เก็บ เช่น บนเรือ แพปลา ตลาดชุมชน ฯลฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.เกิดตัวแทนรับผิดชอบในการเก็บสัตว์น้ำ โดยแบ่งเป็นชุมชน จำนวนครัวเรือน 2.เกิดแบบฟอร์มที่ใช้เก็บข้อมูลร่วมกัน โดยได้จากการปรับเปลี่ยนตามข้อเสนอแนะในที่ประชุมเพื่อให้แบบฟอร์มตรงตามบริบทสัตว์น้ำที่หาได้ในพื้นที่ 3.เกิดความรู้ ความเข้าใจ ถึงวิธีการในการจัดทำข้อมูลสัตว์น้ำอย่างง่ายที่ชุมชนสามารถจัดทำได้เอง 4.เกิดความร่วมมือของครในชุมชนในการดำเนินกิจกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยอาศัยกลไกการทำงานของคณะทำงานและตัวแทนผู้ดำเนินโครงการ

 

10 0

7. กิจกรรมเก็บข้อมูลสัตว์น้ำก่อนมีเขตอนุรักษ์

วันที่ 26 กันยายน 2566 เวลา 07:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เก็บข้อมูลสัตว์น้ำก่อนมีเขตอนุรักษ์โดยการวางซั้งกอโดยกำหนด ดังนี้ วิธีที่ 1 1.ออกเรือ โดดยใช้เรือ 3 ลำในการเก็บข้อมูลสัตว์น้ำในทะเล ในพื้นที่ ใน-นอก เขตฯ ขนาด 500x500 เมตร ห่างจากฝั่ง 500 เมตร ซึ่งมีพื้นที่ 157 ไร่ 2.กำหนดใช้อวนปลาทูขนาด 4.5 ซม. ในการวาง โดยใช้ 2 ผืน ต่อเรือ 1 ลำ 3.ใช้เวลาวางอวนต่อครั้ง 30 นาที ทั้งใน-นอก เขตฯ

วิธีที่ 2 แบ่งหน้าที่รับผิดชอบของคณะทำงาน ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลสัตว์น้ำที่จับได้ตามครัวเรือนที่ประกอบอาชีพประมง และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.แกนนำสามารถบันทึกข้อมูลได้ โดยใช้ความรู้จากการประชุมทำความเข้าใจก่อนหน้านี้ 2.เกิดข้อมูลสัตว์น้ำเบื้องต้นที่ได้จากการทดลองออกทะเลวางอวน คือ ได้สัตว์น้ำหลากหลาย ในเขตอนุรักษ์ จำนวน 9 ตัว และนอกเขตอนุรักษ์จำนวน 6 ตัว ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสามารถวิเคราะห์ได้เบื้องต้นว่าสาเหตุที่ได้ปริมาณสัตว์น้ำน้อยเกิดจากที่ผ่านมาทางชุมชนได้ว่างเว้นจากการวางซั้งกอไปนานเนื่องจากขาดงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงาน

 

0 0

8. เวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 1 ระดับพื้นที่

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ระดมความคิดเห็น และจดบันทึกผลการทำงานแต่ละกิจกรรมที่ผ่านมาของโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดข้อมูลพื้นฐานกิจกรรมของกลุ่มที่ดำเนินการในรอบ 4 เดือน เช่น จำนวนคณะทำงาน การประเมินการมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่มและในชุมชน การพัฒนาศักยภาพแกนนำและคณะทำงาน ฯลฯ

 

20 0

9. เวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ระดับรวมโครงการจังหวัดสงขลา

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ตัวแทนทั้ง 7 โครงการนำเสนอผล ARE ของแต่ละโครงการ 2.ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการทำงานร่วมกันทั้ง 7 โครงการ 3.หารือแผนการทำงานประเด็นวางซั้งกอหลังฤดูมรสุมให้ทันก่อนปิดโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ตัวแทนทั้ง 7 โครงการนำเสนอผล ARE ของแต่ละโครงการและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการทำงานร่วมกันพร้อมทั้งหารือแผนการทำงานประเด็นการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (การทำบ้านปลา)

 

30 0

10. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3

วันที่ 8 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ประชุมคณะทำงานสรุปการทำงานเดือนที่ผ่านมาและวางแผนการจัดกิจกรรมเดือนธันวาคม 2566

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

.เกิดแผนการทำงานเดือนธันวาคม และแผนการจัดกินกรรมทบทวนกติกาเขตอนุรักษ์

 

15 0

11. จัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์

วันที่ 7 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำรายงานความหน้าผลการดำเนินโครงการก้าวผ่านระบบออนไลน์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดการรายงานความหน้าผลการดำเนินโครงการก้าวผ่านระบบออนไลน์เว็ปไซต์คนสร้างสุข

 

0 0

12. เวทีจัดตั้งกติกาเขตอนุรักษ์และรับสมัครประมงอาสา

วันที่ 12 มกราคม 2567 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานและชาวประมงที่ออกเรือหารือแนวทางการตั้งกฏกติกาชุมชนในการหาปลาช่วงวางซั้งกอในเขตอนุรักษ์ขนาด 500x500 เมตร พร้อมทั้งรับสมัครประมงอาสาเพื่อเฝ้าดูแลรักษาผู้มารุกล้ำทำการประมงในเขตอนุรักษ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดกฏกติกา บทลงโทษที่ใช้ปฏิบัติร่วมกันในการทำการประมงในเขตอนุรักษ์ในระหว่างวางซั้งกอ

 

15 0

13. เวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) รวม 30 โครงการ

วันที่ 29 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ตัวแทนทั้ง 30 โครงการนำเสนอผล ARE ของแต่ละโครงการ 2.ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการทำงานร่วมกันทั้ง 30 โครงการ 3.หารือแผนการทำงานประเด็นวางซั้งกอหลังฤดูมรสุมให้ทันก่อนปิดโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดการนำเสนอและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการทำงานร่วมกันทั้ง 30 โครงการ พร้อมทั้งหารือการดำเนินกิจกรรมโครงการทั้งหมดให้ทันก่อนสิ้นสุดโครงการวันที่ 30 มีนาคม โดยเฉพาะโครงการที่ยังไม่ได้วางซั้งกอเนื่องจากติดช่วงฤดูมรสุมหลายเดือน

 

140 0

14. ทำป้ายประชาสัมพันธ์กติกาข้อตกลงของเขตอนุรักษ์และกติกาการจับสัตว์น้ำ

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 07:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วางทุ่นพร้อมธงสีเป็นสัญลักษณ์พื้นที่เขตอนุรักษ์ในทะเลขนาด 500x500 เมตร ห่างจากฝั่ง 500 เมตร พร้อมทั้งติดตั้งป้ายกติกาเขตอนุรักษืและบทลงโทษ ณ ที่ทำการกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งบ้านบ่อแดง (อาคารหลังแรก)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดพื้นที่วางทุ่นพร้อมธงสีเป็นสัญลักษณ์พื้นที่เขตอนุรักษ์ในทะเลขนาด 500x500 เมตร และป้ายป้ายกติกาประชาสัมพันธ์เขตอนุรักษ์และบทลงโทษ

 

12 0

15. วางซั้งกอในเขตอนุรักษ์บ้านบ่อแดง

วันที่ 22 เมษายน 2567 เวลา 07:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับการวางซั้ง 2.วางซั้งกอในพื้นที่เป้าหมายในเขตอนุรักษ์บ้านบ่อแดง ขนาด 500x500 เมตร ห่างจากชายฝั่ง 500 เมตร ซึ่งเป็นบริเวณที่ทางชุมชนได้ตกลงไว้ในเวทีประชาคมระดับหมู่บ้านและระดับอำเภอเพื่อจัดทำเป็นบริเวณสำหรับวางซั้งกอเท่านั้น ห้ามทำการประมงทุกชนิดตลอด 4 เดือนหลังวางซั้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดความร่วมมือของคนในชุมชนประมงบ้านบ่อแดงในการเตรียมอุปกรณ์และวางซั้งกอในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำบ้านบ่อแดงพื้นที่ 500x500 เมตร ห่างจากชายฝั่ง 500 เมตร

 

15 0

16. ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในเขตอนุรักษ์หลังวางซั้งกอ

วันที่ 27 เมษายน 2567 เวลา 07:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจในทะเลชายฝั่งพื้นที่ใกล้เขตอนุรักษ์บ้านบ่อแดง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดความร่วมมือของคณะทำงานของโครงการและสมาชิกในชุมชนบ้านบ่อแดงในการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจ (กุ้งแชบ๊วย) ในทะเลชายฝั่งเพื่อเพิ่มปริมาณพันธุ์สัตว์น้ำให้ทะเล

 

15 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 (1.)สร้างความรู้ความตระหนักร่วมกันฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำและทรัพยากรชายฝั่ง และเกิดกลไกการทำงานร่วมกันในการรักษาทะเล
ตัวชี้วัด : 1. คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจถึงปัญหาสถานการณ์ทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลชายฝั่งในปัจจุบัน 2. ได้ข้อมูลได้ชนิดพันธุ์และจำนวนสัตว์น้ำและเครื่องมือการจับสัตว์น้ำบริเวณพื้นที่ทะเลชายฝั่ง 3. ได้แผนการดำเนินงานของชุมชนและประมงอาสา 4. เกิดคณะทำงานในการขับเคลื่อนงานโครงการไม่ต่ำกว่า 10 คน และเกิดประมงอาสาดูแลเขตฯ (ซั้งกอ) ไม่ต่ำกว่า 10 คน 5. เกิดกติกาข้อตกลงในการจับสัตว์น้ำและดูแลเขตฯ ของชุมชนและชุมชนใกล้เคียง
0.00 15.00

แกนนำในกลไกการขับเคลื่อนของชุมชนมีศักยภาพในการทำงานด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการรักษาเขตอนุรักษ์อย่างมีประสิทธิภาพและความร่วมมือจากชุมชนและชุมชนใกล้เคียง

2 2.เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอนุรักษ์ฟื้นฟู
ตัวชี้วัด : 1. เกิดประมงอาสาดูแลเขตฯ (ซั้งกอ) ไม่ต่ำกว่า 10 คน 2. เกิดกติกาข้อตกลงในการจับสัตว์น้ำและดูแลเขตฯ ของชุมชนและชุมชนใกล้เคียง 3.เกิดซั้งกอ
10.00

สมาชิกในชุมชนและคณะกรรมการควรจะมีการปรับรูปแบบการทำงานโดยการวางแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในพื้นที่ รวมถึงการประสานภาคีที่เกี่ยวข้องให้มีความหลากหลายขึ้น โดยมุ่งเน้นคนในชุมชนและขยายไปยังชุมชนใกล้เคียง

3 เกิดกลไกติดตามการทำงานร่วมกัน
ตัวชี้วัด : 1.เกิดคณะทำงานขับเคลื่อนงานโครงการไม่ต่ำกว่า 10 คน 2.มีการประชุมคณะทำงาน 2 เดือน 1 ครั้ง 3. ได้ข้อมูลผลการดำเนินงาน
15.00

แกนนำในกลไกการขับเคลื่อนของชุมชนมีศักยภาพในการทำงานด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการรักษาเขตอนุรักษ์อย่างมีประสิทธิภาพและความร่วมมือจากชุมชนและชุมชนใกล้เคียง

4 นิเวศทะเลชายฝั่งมีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์
ตัวชี้วัด : 1. ปริมาณสัตว์น้ำเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 3 ชนิด เช่น ปูม้า กุ้งแชบ๊วย ปลาอินทรีย์ ปลากุเลา
40.00

มีการจับปริมาณสัตว์น้ำเศรษฐกิจสำคัญๆได้มากขึ้น รวมทั้งขนาดและน้ำหนักที่ได้มาตรฐาน ไม่ใช่สัตว์น้ำวัยอ่อน

5 เพื่อหนุนเสริมให้มีการบริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด : 1.โครงการย่อยสามารถทำงานได้ตามที่กำหนดไว้ในแผน 2.โครงการย่อยสามารถรายงานผลในระบบออนไลน์ได้ถูกต้อง ครบถ้วน 3.โครงการย่อยสามารถเดินทางร่วมกิจกรรมที่ทางคณะบริหารแผนงานกำหนด
60.00

ต้องเพิ่มคณะทำงานที่มีความสนใจ ศักยภาพ มารับผิดชอบในการจัดทำรายงานผ่านเว็บไซต์และการเคลียร์เอกสารการเงินตามหมวดการใช้งบประมาณของ สสส. ซึ่งต้องมีพี่เลี้ยงให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 60
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
สมาชิกกลุ่มอนุรักษ์ชายฝั่งบ้านบ่อแดง 40
สมาชิกในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง 20

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) (1.)สร้างความรู้ความตระหนักร่วมกันฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำและทรัพยากรชายฝั่ง และเกิดกลไกการทำงานร่วมกันในการรักษาทะเล (2) 2.เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอนุรักษ์ฟื้นฟู (3) เกิดกลไกติดตามการทำงานร่วมกัน (4) นิเวศทะเลชายฝั่งมีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ (5) เพื่อหนุนเสริมให้มีการบริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) เวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาสถานการณ์ทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลชายฝั่งในปัจจุบัน (เวทีเปิดโครงการ) (2) จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือและรายได้จากการจับสัตว์น้ำในชุมชนหมู่ 4 บ้านบ่อแดงและชุมชนใกล้เคียงที่ร่วมโครงการ (3) จัดทำและวางซั้งกอในพื้นที่เขตอนุรักษ์ (4) เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ (5) เวทีสรุปและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน 4 เดือน/ครั้ง (ARE) (6) เวทีจัดตั้งกติกาเขตอนุรักษ์และรับสมัครประมงอาสา (7) เวทีนำเสนอข้อมูลชุมชน (8) การบริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ กับ สสส. (9) เก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงชนิดพันธุ์สัตว์น้ำก่อน-หลัง การมีเขตฯ (10) ทำป้ายประชาสัมพันธ์กติกาข้อตกลงของเขตอนุรักษ์และกติกาการจับสัตว์น้ำ (11) ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (12) เวทีปิดโครงการ (13) เวทีปฐมนิเทศโครงการ (14) จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และป้ายชื่อโครงการ สสส. (15) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 (16) เวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาสถานการณ์ทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลชายฝั่งในปัจจุบัน (เวทีเปิดโครงการ) (17) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 (18) ประชุมทำความเข้าใจวิธีการจัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำและเครื่องมือประมงที่ใช้ในการจับ (19) กิจกรรมเก็บข้อมูลสัตว์น้ำก่อนมีเขตอนุรักษ์ (20) ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ (21) เวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 1 ระดับพื้นที่ (22) เวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ระดับรวมโครงการจังหวัดสงขลา (23) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 (24) เวทีจัดตั้งกติกาเขตอนุรักษ์และรับสมัครประมงอาสา (25) เวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) รวม 30 โครงการ (26) ทำป้ายประชาสัมพันธ์กติกาข้อตกลงของเขตอนุรักษ์และกติกาการจับสัตว์น้ำ (27) วางซั้งกอในเขตอนุรักษ์บ้านบ่อแดง (28) ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในเขตอนุรักษ์หลังวางซั้งกอ (29) เวทีปิดโครงการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


อนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งเพื่อเพิ่มปริมาณพันธุ์สัตว์น้ำบ้านบ่อแดง จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ S-028

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายสวัสดิ์ ทองมา )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด