directions_run

การอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลชุมชนปากพะยูนของคนทุกช่วงวัยด้วยการเรียนแบบปฏิบัติการ (Active Learning)

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลชุมชนปากพะยูนของคนทุกช่วงวัยด้วยการเรียนแบบปฏิบัติการ (Active Learning)
ภายใต้โครงการ แผนงานร่วมทุนนับสนุนการสร้างสุขภาวะชุมชนประมงพื้นบ้านใน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล
ภายใต้องค์กร สมาคมรักษ์ทะเลไทย
รหัสโครงการ S-022/2566
วันที่อนุมัติ 13 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2566 - 30 เมษายน 2567
งบประมาณ 79,950.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มส่งเสริมอาชีพประมงชายฝั่งและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวการ์ตินี อามีนี
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0810939217
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ 614235037_@parichat.skru.ac.th
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวจุฑาธิป ชูสง
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.352488,100.326424place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 13 ก.ค. 2566 31 ต.ค. 2566 13 ก.ค. 2566 30 ต.ค. 2566 39,975.00
2 31 ต.ค. 2566 20 มี.ค. 2567 31 ต.ค. 2566 20 มี.ค. 2567 31,980.00
3 21 มี.ค. 2567 20 เม.ย. 2567 7,995.00
4 0.00
รวมงบประมาณ 79,950.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานปรับสภาพสิ่งแวดล้อม
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชุมชนตำบลปากพะยูนมีพื้นที่หลายลักษณะมีทั้งที่เป็นพื้นที่ราบซึ่งอยู่ตอนกลาง พื้นที่เนินควนลักษณะเป็นลูกคลื่นค่อนข้างสูงอยู่ทางตอนใต้ และลาดต่ำทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือจนจดทะเลสาบ ส่วนพื้นที่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ของเทศบาลตำบลปากพะยูนมีประชากรอยู่หนาแน่น พื้นที่ปากพะยูนเป็นแหล่งทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีความหลากหลายและโดดเด่นในเรื่องของรสชาติที่อร่อยและเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปของผู้บริโภค ได้แก่ กุ้งก้ามกราม กุ้งหัวมัน ปลาสามน้ำ ได้แก่ ปลามิหลัง ปลาหัวโม่ง ปลาแมว เป็นต้น ในอดีตด้วยความอุดมสมบูรณ์ทางสัตว์น้ำจึงมีการสัมปทานโพงพางและการใช้เครื่องมือทำลายล้างเกิดขึ้นบริเวณปากแม่น้ำปากพะยูนส่งผลให้ปริมาณสัตว์น้ำลดลง ปริมาณสัตว์น้ำบางชนิดสูญหาย
ดังนั้นทางชุมชนจึงได้ดำเนินการอนุรักษ์พื้นที่ลุ่มน้ำร่วมกับเครือข่ายชุมชนบ้านช่องฟืน เมื่อประมาณปี 2551 โดยการทำบ้านปลาบริเวณเขตบ้านควน มีการจัดตั้งคณะกรรมการและสมาชิกรวมกลุ่ม จำนวน 30 คน มีการกำหนดกฎกติกาห้ามใช้เครื่องมือผิดกฎหมาย ต่อมาปริมาณสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นมีความละหลวมในการรักษากฎระเบียบส่งผลให้การจัดการอนุรักษ์ลดหย่อนด้วยแกนนำบางคนก็ไม่ต้องการให้เกิดความขัดแย้งกับชุมชนแต่ก็ต้องการที่จะให้มีการอนุรักษ์เกิดขึ้นจึงร่วมพัฒนาศักยภาพการจัดการทรัพยากรอย่างต่อเนื่องกับเครือข่ายกลุ่มบ้านช่องฟืนและสมาคมรักษ์ทะเลไทย ต่อมามีการจัดทำแนวเขตอีกครั้งที่บริเวณทะเลปากพะยูนระหว่างชุมชนบ้านกลางกับชุมชนเกาะหมาก ความยาว 1,000เมตร ไม่มีการห้ามการเข้าหาแต่มีการกำหนดเครื่องมือในการหาสัตว์น้ำห้ามใช้โพงพาง ห้ามใช้กัดขนาดน้อยกว่า 4 เซนติเมตรและเครื่องมือผิดกฎหมาย ก็ได้รับความร่วมมือจากชุมชนเป็นส่วนใหญ่และก็มีบางส่วนที่ยังไม่เห็นความสำคัญ และพบว่าบางจุดนอกเขตยังมีการใช้เครื่องมือผิดกฎหมาย เช่น การใช้อวนตาถี่ในการล้อม ปี 2565 มีการจัดทำซั้งบ้านปลาบริเวณหน้าบ้านชุมชนบ้านกลางจำนวน 1 จุด เมื่อเดือนกันยายน 2565 ปัจจุบันพบว่าเริ่มมีปลา กุ้งเข้ามาอาศัยถือเป็นตัวชีวัดที่ดี นอกจากการอนุรักษ์แล้วทางกลุ่มมีการจัดทำกองทุนชุมชนเพื่อการพัฒนาอาชีพและการอนุรักษ์ซึ่งทำควบคู่กับการทำการอนุรักษ์ปี 2551และมีการดำเนินมาถึงปัจจุบัน และนอกจากนั้นทางกลุ่มได้มีการรวมกลุ่มเยาวชนของชุมชนบ้านกลาง ในการสร้างจิตสำนักในการรักษาทรัพยากรทางทะเลด้วยกระบวนการเยาวชนคิดผู้ใหญ่หนุนในการทำกิจกรรมร่วมทำบ้านปลา กิจกรรมการคัดแยกขยะ กิจกรรมค่ายสิ่งแวดล้อมเพื่อฝึกทักษะของเยาวชนให้มีกระบวนการคิดและการเป็นผู้นำในการรักษาสิ่งแวดล้อม ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 6 ปี มีเยาวชน จำนวน 40คน มีแกนนำ 20 คน แต่ปัจจุบันพบว่าเยาวชนดังกล่าวต่างโตเติบเรียนในระดับมหาวิทยาลัยไม่ได้อยู่ในพื้นที่และสถานการณ์เยาวชนในพื้นที่การใช้ชีวิตจะห่างหายจากการสัมผัสการทำประมงหรือทักษะเกี่ยวกับทะเล เช่น การขับเรือ การรู้จักพันธุ์ปลา อาหารท้องถิ่นของตัวเองหากไม่มีกิจกรรมการสร้างกระบวนการเรียนรู้ หรือพื้นที่กับเยาวชนต่อไปการรักถิ่นความเป็นลูกชาวเลก็จะสูญหายไป จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ ทักษะของเยาวชนคนรุ่นหลังในการเรียนรู้แบบปฏิบัติการ(Active Learning)เกี่ยวกับทะเลบ้านของตัวเอง การทำประมง และการทำการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลร่วมกับผู้ใหญ่ในชุมชนเพื่อเกิดสัมพันธภาพที่ดีการห่วงแหนรักบ้านเกิดและเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนการอนุรักษ์รักษาทรัพยากรทางทะเลต่อไป ในการนี้ ทางกลุ่มจึงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการพัฒนาให้มีการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมศักยภาพของกลุ่มและเพื่อการจัดการที่เข้มแข็งและยั่งยืนโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกคนทุกวัยจึงมีจะมีการดำเนินในการเพิ่มจุดพื้นที่การทำบ้านปลาเพิ่มและซ่อมแซมบ้านปลาเดิม การทบทวนกฎกติการและการสร้างการรับรู้การเข้าใจด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อการสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบปฏิบัติการของกลุ่มเยาวชนร่วมกับคนทุกช่วงวัยในชุมชนในการร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลให้มีความอุดมสมบูรณ์และยั่งยืนต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก
  1. ประสานความร่วมมือกับองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีส่วนร่วมและสนับสนุนการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ หรือพัฒมนาคุณภาพชีวิตที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้ชาวประมงพื้นบ้านมึสุขภาวะที่ดี
  2. กระจายและสร้าวโอกาสให้ชุมชนชาวประมงพื้นบ้านดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนชาวระมงพื้นบ้าน
stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนากลไกการร่วมของชุมชนในการจัดทรัพยากรชายฝั่งทะเลของชุมชนปากพะยูน

1.1 เกิดคณะทำงานที่มีทั้งผู้นำชุมชน ชาวประมง หน่วยงานรัฐ หน่วยงานท้องถิ่นเข้ามาร่วมเป็นคณะทำงานในการจัดการเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำของชุมชนปากพะยูน
1.2 มีแผนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
1.3 มีแผนฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล
คณะทำงานมีศักยภาพในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลโดยกระบวนการมีส่วนร่วม

2 เพื่อปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลของชุมชนให้มีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นเอื้อกับการเพิ่มขึ้นของทรัพยากรสัตว์น้ำ

2.1 เกิดข้อมูลทรัพยากรของชุมชน
2.2 มีเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 จุด
2.3 มีบ้านปลาอย่างน้อย 2 จุด เพื่อเป็นแหล่งที่อยู่และแหล่งอาหารของสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น
2.4 เกิดกฎกติการ่วมในการจัดการเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำของชุมชน
มีกลุ่มที่สามารถเป็นกลไกการติดตามได้อย่างน้อย 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเยาวชน กลุ่มแกนนำ กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มภาคีภายนอก

3 เพื่อพัฒนาศักยภาพกระบวนการเรียนรู้แกนนำชุมชนและเยาวชนในการเรียนรู้และปฏิบัติการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลชุมชนปากพะยูน

3.1 แกนนำชุมชนและเยาวชนมีความรู้ ทักษะและสามารถถ่ายทอดในการปฏิบัติการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลชุมชนปากพะยูนได้อย่างน้อย 20 คน
3.2 เกิดประมงอาสาดูแลเขตฯไม่ต่ำกว่า 15 คน
3.3 เกิดแหล่งเรียนรู้ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลชุมชนปากพะยูน
3.4 มีคนในชุมชนที่ร่วมเรียนรู้และมีความเข้าใจการดูแลรักษาทรัพยากรอย่างน้อย 100 คน

4 เพื่อหนุนเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาวะชุมชน ในการบริโภคอาหารปลอดภัยมากขึ้น และพฤติกรรมการมีส่วรนร่วมในการจัดการทรัพยากร

4.1 แกนนำกลุ่มจำนวน 50 คน มีการเปลี่ยนแปลงพฟติกรรมการบริโภคอาหารทะเลและอาหารในชุมชนที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ จากผลผลิตการประมงที่ปลอดภัย

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ชาวประมงหมู่ที่ 1 ชุมชนบ้านกลาง จำนวน 50 ครัวเรือน 50 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67
1 กิจกรรมที่ 2 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการเดือนละ 1 ครั้ง(1 ก.ค. 2566-30 เม.ย. 2567) 6,500.00                    
2 กิจกรรมที่ 3 เวทีทำแผนฟื้นฟูทรัพยากร(23 ก.ค. 2566-23 ก.ค. 2566) 6,400.00                    
3 กิจกรรมที่ 4 การสำรวจและเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำก่อน-หลัง การทำบ้านปลา(8 ส.ค. 2566-11 ก.พ. 2567) 6,000.00                    
4 กิจกรรมที่ 1 เวทีพูดคุยทำความเข้าใจ สถาณการณ์ชุมชนปากพะยูน(14 ก.ย. 2566-14 ก.ย. 2566) 4,000.00                    
5 กิจกรรมที่ 7 เวทีทบทวนและกำหนดกติกาชุมชน(18 ต.ค. 2566-18 ต.ค. 2566) 5,600.00                    
6 กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานในการดำเนินงานอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมโดยการศึกษาดูงาน(1 พ.ย. 2566-30 พ.ย. 2566) 7,700.00                    
7 กิจกรรมที่ 6 ทำขยายเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ(1 พ.ย. 2566-30 พ.ย. 2566) 2,400.00                    
8 กิจกรรมที่ 8 การจัดทำบ้านปลา(1 พ.ย. 2566-30 พ.ย. 2566) 10,000.00                    
9 กิจกรรมที่ 9 เวทีสร้างกลไกและแผนการเฝ้าระวัง(1 พ.ย. 2566-30 พ.ย. 2566) 6,800.00                    
10 เวทีประเมินเพื่อเรียนรู้และพัฒนา (ARE)(8 พ.ย. 2566-8 พ.ย. 2566) 0.00                    
11 กิจกรรมที่ 10 การพัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชน(1 ม.ค. 2567-29 ก.พ. 2567) 5,200.00                    
12 กิจกรรมที่ 11 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล(1 ก.พ. 2567-31 มี.ค. 2567) 10,000.00                    
13 กิจกรรมที่ 12 เวทีปิดโครงการ(1 เม.ย. 2567-30 เม.ย. 2567) 2,350.00                    
14 กิจกรรมที่ 13 การเข้าร่วมกิจกรรม สสส. กิจกรรมบริหารจัดการโครงการ(1 เม.ย. 2567-30 เม.ย. 2567) 7,000.00                    
รวม 79,950.00
1 กิจกรรมที่ 2 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการเดือนละ 1 ครั้ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 150 6,500.00 10 6,500.00
23 ก.ค. 66 กิจกรรมที่ 2 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการครั้งที่ 1 15 650.00 650.00
14 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 2 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ 15 650.00 650.00
8 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ 2 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ 15 650.00 650.00
18 ต.ค. 66 กิจกรรมที่ 2 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ 15 650.00 650.00
12 พ.ย. 66 กิจกรรมที่ 2 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ 15 650.00 650.00
10 ธ.ค. 66 กิจกรรมที่ 2 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ 15 650.00 650.00
20 ม.ค. 67 กิจกรรมที่ 2 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ 15 650.00 650.00
11 ก.พ. 67 กิจกรรมที่ 2 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ 15 650.00 650.00
10 มี.ค. 67 กิจกรรมที่ 2 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ 15 650.00 650.00
7 เม.ย. 67 กิจกรรมที่ 2 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ 15 650.00 650.00
2 กิจกรรมที่ 3 เวทีทำแผนฟื้นฟูทรัพยากร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 25 6,400.00 1 6,400.00
23 ก.ค. 66 กิจกรรมที่ 3 เวทีทำแผนฟื้นฟูทรัพยากร 25 6,400.00 6,400.00
3 กิจกรรมที่ 4 การสำรวจและเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำก่อน-หลัง การทำบ้านปลา กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 6,000.00 1 6,000.00
8 ส.ค. 66 - 11 ก.พ. 67 กิจกรรมที่ 4 การสำรวจและเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำก่อน-หลัง การทำบ้านปลา 15 6,000.00 6,000.00
4 กิจกรรมที่ 1 เวทีพูดคุยทำความเข้าใจ สถาณการณ์ชุมชนปากพะยูน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 4,000.00 1 4,000.00
14 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ 1 เวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถาณการณ์ชุมชนปากพะยูน 30 4,000.00 4,000.00
5 กิจกรรมที่ 7 เวทีทบทวนและกำหนดกติกาชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 25 5,600.00 1 5,600.00
18 ต.ค. 66 เวทีทบทวนและกำหนดกติกาชุมชน 25 5,600.00 5,600.00
6 กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานในการดำเนินงานอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมโดยการศึกษาดูงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 7,700.00 1 7,700.00
1 - 30 พ.ย. 66 กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานในการดำเนินงานอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมโดยการศึกษาดูงาน 15 7,700.00 7,700.00
7 กิจกรรมที่ 6 ทำขยายเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 2,400.00 1 2,400.00
1 - 30 พ.ย. 66 ขยายเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ 15 2,400.00 2,400.00
8 กิจกรรมที่ 8 การจัดทำบ้านปลา กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 10,000.00 1 10,000.00
1 - 30 พ.ย. 66 จัดทำบ้านปลา 15 10,000.00 10,000.00
9 กิจกรรมที่ 9 เวทีสร้างกลไกและแผนการเฝ้าระวัง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 25 6,800.00 1 6,800.00
1 - 30 พ.ย. 66 เวทีสร้างกลไกและแผนการเฝ้าระวัง 25 6,800.00 6,800.00
10 เวทีประเมินเพื่อเรียนรู้และพัฒนา (ARE) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 0.00
13 พ.ย. 66 เวทีประเมินเพื่อนการเรียนรู้และปนะเมิน (ARE) 0 0.00 0.00
11 กิจกรรมที่ 10 การพัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 17 5,200.00 1 5,200.00
1 ม.ค. 67 - 29 ก.พ. 67 พัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชน 17 5,200.00 5,200.00
12 กิจกรรมที่ 11 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 17 10,000.00 1 10,000.00
1 ก.พ. 67 - 31 มี.ค. 67 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ การอนุรักษ์ ฟื้นฟูมรัพยากรทางทะเล 17 10,000.00 10,000.00
13 กิจกรรมที่ 12 เวทีปิดโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 2,350.00 1 2,350.00
1 - 30 เม.ย. 67 เวทีปิดโครงการ 30 2,350.00 2,350.00
14 กิจกรรมที่ 13 การเข้าร่วมกิจกรรม สสส. กิจกรรมบริหารจัดการโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 7,000.00 1 7,000.00
1 - 30 เม.ย. 67 การบริหารจัดการโครงการ 0 7,000.00 7,000.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 3 500.00 1 500.00
13 ก.ค. 66 ปฐมนิเทศโครงการ 3 500.00 500.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดคณะทำงานที่มีทั้งผู้นำชุมชน ชาวประมง หน่วยงานรัฐ หน่วยงานท้องถิ่นเข้ามาร่วมเป็นคณะทำงานในการจัดการเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำของชุมชนปากพะยูน 2.เกิดกฎกติการ่วมในการจัดการเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำของชุมชน 3.มีการประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง 4.เกิดการขยายเขตพื้นที่อนรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำที่ชัดเจนและเป็นที่รับรู้ของชุมชน 5.ปริมาณพันธุ์สัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น 6.เกิดแหล่งที่อยู่และแหล่งอาหารของสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้นจากการขยายการทำบ้านปลา เพิ่ม 4 จุด 7. แกนนำชุมชนและเยาวชนมีความรู้ ทักษะและสามารถถ่ายทอดในการปฏิบัติการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลชุมชนปากพะยูนได้อย่างน้อย 20 คน 8. เกิดแหล่งเรียนรู้ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลชุมชนปากพะยูน

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 09:32 น.