directions_run

อนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งเพื่อความยั่งยืนของชุมชนบ้านสุโสะ

assignment
บันทึกกิจกรรม
เวทีทบทวนและปรับปรุงกติกาเขตอนุรักษ์23 ตุลาคม 2023
23
ตุลาคม 2023รายงานจากพื้นที่ โดย LADYLAILA
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-  ร่วมกันทบทวน ปรับปรุงกฎกติกาของชุมชน ในการจัดการเขตอนุรักษ์และการทำประมงของ หมู่บ้าน/ข้อตกลงในการดูแลเขตอนุรักษ์ฯ  โดยมีมูลนิธิอันดามัน  คณะทำงาน  ประมงอาสา  ชาวบ้านในขุมชน  ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการกำหนดและประกาศใช้กติกาชุมชน ร่วมในการกำหนดกฎ กติกา ข้อตกลง และกำหนดแผนในการควบคุมการใช้ประโยชน์ บริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรประมง
-  ประกาศกติกาชุมชนในสถานที่สำคัญของชุมชนบ้านสุโสะ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-  เกิดการทบทวน ปรับปรุงกฎกติกาของชุมชน ในการจัดการเขตอนุรักษ์และการทำประมงของ หมู่บ้าน/ข้อตกลงในการดูแลเขตอนุรักษ์ฯ  โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน -  เกิดกำหนดและประกาศใช้กติกาชุมชน ร่วมในการกำหนดกฎ กติกา ข้อตกลง และกำหนดแผนในการควบคุมการใช้ประโยชน์ บริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรประมง  ดังนี้ 1. ห้ามตัดไม้ในพื้นที่ป่าชุมชน  หากมีความจำเป็นต้องตัดไม้จะต้องมีการแจ้งกรรมการทุกครั้ง  ปลูกทดแทนโดยมีเงื่อนไข  ตัด1 ต้น  ปลูกทดแทน 10 ต้น  สามารถตัดไม้ได้เพื่อใช้สอยในครัวเรือนเท่านั้น  ห้ามตัดเพื่อจำหน่ายและนำออกนอกพื้นที่ชุมชน 2. ห้ามจับสัตว์น้ำทุกชนิดในพื้นที่เขตอนุรักษ์ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อขยายพันธุ์สัตว์น้ำ 3. ให้มีการตัดสางเพื่อบำรุงรักษาและปลูกซ่อมแซมได้ 4. ห้ามทำการประมงด้วยเครื่องมือที่ผิดกฎหมาย 5. ห้ามมิให้บุคคลใด เคลื่อนย้าย ทำลาย ป้ายแสดง ทุ่น หรือวัสดุอื่นใดอันเป็นเครื่องหมายแสดงแนวพื้นที่เขต อนุรักษ์โดยเด็ดขาด กำหนดมาตรการ และบทลงโทษ สำหรับผู้ฝ่าฝืน บทกำหนดโทษของชุมชน ดังนี้ 1. ตักเตือน 2. ริบเครื่องมือ

วางซังกอบ้านปลาในเขตอนุรักษ์15 ตุลาคม 2023
15
ตุลาคม 2023รายงานจากพื้นที่ โดย LADYLAILA
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-  ประชุมคณะทำงานเพื่อออกแบบวางแผนการทำงาน  แบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ -  จัดหาวัสดุ-อุปกรณ์  ที่ใช้ในการทำซังกอบ้านปลา -  จัดทำซังกอบ้านปลาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น  โดยใช้ไม้ไผ่และทางมะพร้าว -  วางซังกอบ้านปลา  จำนวน 50 ชุด  ณ.คลองสุโสะ-หวายดน -  มีการเก็บข้อมูลปริมาณ  ชนิด  ของสัตว์น้ำ  ก่อน-หลังดำเนินการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-  เกิดการใช้ประโยชน์จากกการวางซังกอบ้านปลาของเรือประมงพื้นบ้านในชุมชนบ้านสุโสะและพื้นที่ใกล้เคียง  ที่ตกเบ็ด  ลากเบ็ด  ลอกปลา  จำนวน 20 ลำ -  เกิดการเพิ่มปริมาณจำนวนสัตว์น้ำ  เช่น  จากเมื่อก่อนจุดที่วางซังกอไม่มีสัตว์น้ำให้จับ  แต่ในปัจจุบันชาวประมงพื้นบ้านสามรถตกเบ็ดได้ปลาในจุดที่วางซังกอ -  เกิดคณะทำงานติดตามสังเกตอัตราการรอดของสัตว์น้ำที่ปล่อย โดยการถ่ายภาพสัตว์น้ำ หลังจากการปล่อยประมาณ 3-4 เดือน
-  การวางซังกอบ้านปลาในชุมชนบ้านสุโสะเลือกใช้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้วัสดุจากธรรมชาติ  ได้แก่  ไม้ไผ่และทางมะพร้าว  เพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย  อนุบาลสัตว์น้ำขนาดเล็กให้มีโอกาสได้เจริญเติบโตและขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ

เวทีพัฒนาศักยภาพประมงอาสา20 กันยายน 2023
20
กันยายน 2023รายงานจากพื้นที่ โดย LADYLAILA
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-  ประชุมทีมคณะทำงานและประมงอาสารวม 15 คน
-  จัดทำแผนการดำเนินงานตามโครงการ
-  ออกแบบกิจกรรมและแผนการดำเนินงานตามลำดับขั้นตอน
-  มอบหมายหน้าที่การรับผิดชอบแก่ประมงอาสา -  แลกเปลี่ยนเรียนรู้  เสนอแนะปัญหา  ความต้องการของผู้เข้าร่วมประชุม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-  ทำให้เกิดแผนงานการดำเนินโครงการตามลำดับขั้นตอน  ออกแบบกิจกรรมและการแบ่งบทบาท  หน้าที่ความรับผิดชอบ -  เกิดประมงอาสาที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่ชุมชนบ้านสุโสะ  จำนวน  13  คน -  เกิดข้อมูลด้านทรัพยากรของคลองสุโสะ-หวายดน  ทำให้ทราบปัญหา  ความต้องการของคนในชุมชน
-  เกิดทีมคณะทำงานในการเก็บข้อมูลสัตว์น้ำ

ศึกษาดูงานเขตเล-เสบ้าน9 กันยายน 2023
9
กันยายน 2023รายงานจากพื้นที่ โดย LADYLAILA
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-  คณะทำงานดำเนินโครงการกลุ่มประมงพื้นบ้านสุโสะ จำนวน  15  คน ลงพื้นที่เพื่อศึกษาดูงานการจัดทำเขตอนุรักษ์กลุ่มอนุรักษ์เขตเล-เสบ้านการบริหารจัดการชุมชน ด้านการ อนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลร่วมกันของชุมชนบ้านน้ำราบ -  วิทยากรให้ความรู้จำนวน 3 ท่าน  บรรยายหัวข้อ  การบริหารจัดการเขตอนุรักษ์รวมถึงบทบาทหน้าที่ของชุมชนในการขับเคลื่อนงานด้านการอนุรักษ์  ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง -  วิทยากรและคณะทำงาานกลุ่มประมงพื้นบ้านสุโสะลงพื้นที่เพื่อศึกษาพื้นที่จริง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-  ทำให้เกิดคณะทำงานเกิดความรู้  ความเข้าใจในการปฎิบัติงานจริง  สามารถพัฒนาประสิทธิภาพคนทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับการอนุรักษ์  ฟื้นฟู  ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งชุมชนบ้านสุโสะ  โดยได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการทำงาน เปิดโลกทัศน์การทำงาน นำสิ่งใหม่ ๆ มาพัฒนางานได้อย่างเหมาะสมเป็นประโยชน์ต่อโครงการและชุมชน
-  ทำให้เห็นถึงความสำคัญและตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากร

ปล่อยพันธุ์สัตว์ น้ำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง12 สิงหาคม 2023
12
สิงหาคม 2023รายงานจากพื้นที่ โดย LADYLAILA
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-  กลุ่มประมงพื้นบ้านสุโสะขอความอนุเคราห์พันธุ์สัตว์น้ำจากประมงอำเภอปะเหลียน  กุ้งแชบ๊วย จำนวน  100,000  ตัว  และปลากระพง  จำนวน  30,000  ตัว  เพื่อปล่อยลงสู่คลองสุโสะ-หวายดน  ณ.ท่าเรือหมู่ที่1  บ้านสุโสะ  อ.ปะเหลียน  จ.ตรัง  เนื่องในโอกาส 12  สิงหาคม -  ผู้เข้าร่วมกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ จำนวน  30  คน คณะทำงานกลุ่มประมงพื้นบ้านสุโสะ  /พี่เลี้ยงมูลนิธิอันดามัน /องค์การบริหารส่วนตำบลสุโสะ /นายอำเภอปะเหลียน /กำนันตำบลสุโสะ /ผู้ใหญ่บ้าน /นักเรียนจากโรงเรียนอัสมามูลนิธิอิลิยะ  /ชาวบ้านในพื้นที่  /ชาวประมงพื้นบ้านสุโสะ -  เปิดกิจกรรม  โดย นายณัฐวุฒิ  สังข์สุข  นายอำเภอปะเหลียน  เวลา 9.30 น.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-  คณะทำงาน  ประมงอาสาร่วมกับชาวประมงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ร่วมกันปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อ เป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับคลองสุโสะ-หวายดน  ทำให้เกิดการเพิ่มสัตว์น้ำให้มีปริมาณมากขึ้นในคลองสุโสะ-หวายดน -  เพื่อปลูกจิตสำนึกให้ประชาชน และทุกภาคส่วนร่วมรักษาสมดุลระบบนิเวศโดยการปล่อยพันธุ์ปลาให้กลับคืนสู่ธรรมชาติ และเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ดีอย่างยั่งยืน

ประชุมคณะทำงานกลุ่มประมงพื้นบ้านท่าเรือบ้านสุโสะ ครั้งที่15 สิงหาคม 2023
5
สิงหาคม 2023รายงานจากพื้นที่ โดย LADYLAILA
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ผู้เข้าร่วมจะมีคณะทำงาน  พี่เลี้ยงมูลนฺิธิอันดามัน -ประชุมทำความเข้าใจคณะทำงาน  วางแผนการดำเนินงานเป็นระยะ  พร้อมแบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะทำงาน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดกลไกคณะทำงานที่มาจากหลายภาคส่วน  ในการขับเคลื่อนการอนุรักษ์  ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  ไม่น้อยกว่า 15  คน  ที่สามารถขับเคลื่อนงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ดังนี้ 1.นายมะนพ  เจะบ่าว  ประธานกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบ้านสุโสะ 2.นายประสิทธิ์  โสะหาบ  ผู้ใหญ่บ้าน 3.นายธวัชชัย  แซ่เตียว  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 4.นางสาวปรียา  ใจสมุทร  อสม. 5.นางศรีคำ  เจะบ่าว  อสม. 6.นางวัชรี  ใจสมุทร  อสม. 7.นายผัน  หวันแอ  อปพร. 8.นายอุสมาน  เจะบ่าว  อปพร. 9.นายพรชัย  นันกลาง  ชาวประมงพื้นบ้าน 10.นายสะปา  เสียมไหม  ชาวประมงพื้นบ้าน 11.นายมาโนช  เจะบ่าว  ชาวประมงพื้นบ้าน 12.นายดำรง  สัมผัสบุญ  ชาวประมงพื้นบ้าน 13.นางสมใจ  เมืองแก้ว  กลุ่มสตรี 14.นางเพ็ญวดี  ชูแก้ว  กลุ่มสตรี ที่ปรึกษา 15.นางปราณี  แสงศักดิ์  เลขาองค์การบริหารส่วนตำบลสุโสะ
  1. ทีมพี่เลี้ยงโครงการจากมูลนิธิอันดามัน

- คณะทำงานได้รู้ที่มาของโครงการและ วัตถุประสงค์ กิจกรรม งบประมาณ รายละเอียดของ "อนุรักษ์  ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งเพื่อความยั่งยืนของชุมชนบ้านสุโสะ" ในการทำงานฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรที่เดิมก็มีทำอยู่แล้ว เพื่อจะเดินไปให้ถึงเป้าหมายที่ฝันไว้ คณะทำงานมีการกระตื้อรื้อรนในการออกแบบการทำงาน การออกแบบขบวนการในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป -  มีคณะทำงานที่สามารถการดำเนินโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ

ปฐมนิเทศแผนงานร่วมทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนประมงพื้นบ้าน13 กรกฎาคม 2023
13
กรกฎาคม 2023รายงานจากพื้นที่ โดย LADYLAILA
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานโครงการอนุรักษ์  ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งเพื่อความยั่งยืนของชุมชนบ้านสุโสะ  เดินทางเข้าร่วมเวทีปฐมนิเทศแผนงานร่วมทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนประมงพื้นบ้าน  ณ.  โรงแรมเดอะฟลอร่าเมย์  จังหวัดสงขลา  เพื่อทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานโครงการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ  และทำ MOU  โครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-  เกิดการทำ MOU  โครงการอนุรักษ์  ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งเพื่อความยั่งยืนของชุมชนบ้านสุโสะ
-  เกิดความรู้  ความเข้าใจในการขับเคลื่อนงานโครงการ -  เกิดการมีส่วนร่วมของคณะทำงานดำเนินโครงการ