directions_run

ส่งเสริมการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลปลอดภัยเพื่อความยั่งยืนของชุมชน

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สมาคมรักษ์ทะเลไทย


“ ส่งเสริมการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลปลอดภัยเพื่อความยั่งยืนของชุมชน ”

อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
นางสาวตีเมาะ อิสอ

ชื่อโครงการ ส่งเสริมการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลปลอดภัยเพื่อความยั่งยืนของชุมชน

ที่อยู่ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ M-017 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2567


กิตติกรรมประกาศ

"ส่งเสริมการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลปลอดภัยเพื่อความยั่งยืนของชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สมาคมรักษ์ทะเลไทย ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ส่งเสริมการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลปลอดภัยเพื่อความยั่งยืนของชุมชน



บทคัดย่อ

โครงการ " ส่งเสริมการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลปลอดภัยเพื่อความยั่งยืนของชุมชน " ดำเนินการในพื้นที่ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสโครงการ M-017 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กรกฎาคม 2566 - 30 เมษายน 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 102,250.00 บาท จาก สมาคมรักษ์ทะเลไทย เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ชุมชนบ้านตะเคียนดำ ตำบลท่าขึ้น อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีจำนวนประชากร 926 คน เป็นชุมชนที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมระหว่างชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม มีการไปมาหาสู่ช่วยเหลือเกื้อกูลกับแบบญาติมิตร โดยประชากรในหมู่บ้านประกอบอาชีพ ประมงทะเล เกษตร และเลี้ยงสัตว์ ลักษณะระบบนิเวศถูกขนาบด้วยภูเขากับทะเล ซึ่งระบบนิเวศจำเพาะที่มีภูเขากับทะเลอยู่ใกล้กันทำให้สามารถเติมเต็มสารอาหาร และแร่ธาตุต่างๆลงสูทะเล ผ่านแม่น้ำลำคลองหลายสาย ส่งผลให้เป็นแหล่งเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ซึ่งเป็นอาหารของสัตว์น้ำหลายชนิด อีกทั้งเกิด “ดอนใต้น้ำ” เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อนและเป็นพื้นที่วางไข่ของสัตว์น้ำหลากหลายชนิด ด้วยระบบนิเวศน์ดังกล่าวทำให้ได้รับการขนานนามว่า “อ่าวทองคำ” ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยกุ้ง หอย ปู ปลา กั้ง หลากหลายชนิด สามารถสร้างรายได้ให้กับชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่มากขึ้น
    ด้วยเหตุนี้ทำให้อ่าวทองคำกลายเป็นที่หมายตาของเรือประมงทั้งในและนอกเข้ามากวาดต้อนสัตว์น้ำเป็นจำนวนมาก โดยใช้เครื่องมือที่ผิดกฎหมายและทำลายระบบนิเวศใต้น้ำอันเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน ส่งผลกระทบกับชาวประมงพื้นบ้านในปัจจุบัน คือ ปริมาณสัตว์น้ำลดน้อยลง สาเหตุจากการจับสัตว์น้ำที่ไม่ได้ขนาด จับแม่ปูทั้งที่มีไข่นอกกระดอง โดยการไม่คิดถึงอนาคตข้างหน้า การลักลอบทำการประมงผิดกฎหมาย ทำการประมงในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำของชุมชน และที่สำคัญคือการขาดจิตสำนึกไม่ยอมรับกฎกติกาของชุมชน ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะที่อยู่อาศัยที่หลบภัย ที่เพาะพันธุ์และขยายพันธุ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งทะเลลดน้อยลง บ้างก็ถูกทำลาย และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนอยู่ตลอดเวลา รวมถึงอุณหภูมิของโลกที่ร้อนขึ้นในปัจจุบัน ด้วยสภาพปัญหาดังกล่าวในข้างต้นส่งผลกระทบต่อชุมชน ทำให้เศรษฐกิจชุมชนตกต่ำลง ชาวบ้านมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย มีหนี้สินที่ไม่สามารถชดใช้ได้
ดังนั้น กลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำ จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างศักยภาพองค์กรชุมชนประมงพื้นบ้าน สู่สุขภาวะชุมชนบ้านตะเคียนดำ ขึ้น เพื่อต้องการสร้างความรู้ ความตระหนักและความเอาใจใส่ของชาวประมงพื้นบ้านในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรและการใช้ประโยชน์ชายฝั่งทะเลอย่างยั่งยืน การเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนประมงพื้นบ้าน การทำประมงอย่างรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาให้เกิดความมั่นคงด้านอาหาร มีอาหารทะเลที่ปลอดภัย เพียงพอต่อการอุปโภคและบริโภค พร้อมทั้งให้เป็นที่รู้จักและเป็นแบบอย่างแก่องค์กรชุมชนอื่นๆ ขณะเดียวกันยังเป็นการสร้างเศรษฐกิจรายได้ที่เกื้อหนุนให้กับสมาชิกในชุมชนประมงพื้นบ้าน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการสร้างเสริมความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนประมงพื้นบ้าน เป็นแนวทางที่เป็นแรงเสริมและคอยผลักดันต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำให้การขับเคลื่อนเรื่องอาหารทะเลปลอดภัย
  2. 2 เพื่อพัฒนาแผนการตลาด ช่องทางการขายและเพิ่มโอกาศในการขายผลิตภัณฑ์อาหารทะเลปลอดภัยของชุมชนมากขึ้น
  3. เพื่อเพิ่มรายได้จากยอดขายและยอดการผลิต (ร้านคนจับปลานครศรีธรรมราช)

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. การดำเนินงานและบริหารจัดการโครงการ
  2. เพื่อพัฒนาศักยภาพ แกนนำในการขับเคลื่อนเรื่องอาหารทะเลปลอดภัย
  3. เวทีทำแผนการตลาดให้กับสมาชิกร้านคนจับปลาและทีมบริหาร
  4. ปฐมนิเทศแผนงานร่วมทุนการสร้างสุขภาวะชุมชนประมงพื้นบ้าน
  5. ประชุมคณะทำงานดำเนินโครงการ และสมาชิก
  6. เวทีทำแผนการตลาดให้กับสมาชิกร้านคนจับปลาและทีมบริหาร
  7. ประชุมวิเคราะห์ศักยภาพทางการตลาดของผลิตภัณฑ์และวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ
  8. จัดทำข้อมูล Baseline Before-After ของพื้นที่ตามตัวชี้วัดโครงการ
  9. ประชุมคณะทำงานดำเนินโครงการ และสมาชิก
  10. อบรมเชิงปฎิบัติการการถ่ายภาพและการตัดต่ออย่างง่าย
  11. อบรมเชิงปฎิบัติการช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าและไลฟ์สดผ่านแฟลตฟอร์มต่างๆ
  12. ประชุมคณะทำงานดำเนินโครงการ และสมาชิก
  13. อบรมเชิงปฎิบัติการการถ่ายภาพและการตัดต่ออย่างง่าย ครั้งที่ 2
  14. เวทีปิดโครงการแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
ชาวประมงรอบอ่าวท่าศาลา 200
สมาชิกวิสาหกิจชุมขนร้านคนจับปลา 50

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เกิดกลไกการขับเคลื่อนเรื่องอาหารทะเลปลอดภัย
  2. มีแผนการตลาดและช่องทางการขายมากขึ้น
  3. เพื่อเพิ่มรายได้จากยอดขายและยอดการผลิต (ร้านคนจับปลานครศรีธรรมราช)

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศแผนงานร่วมทุนการสร้างสุขภาวะชุมชนประมงพื้นบ้าน

วันที่ 13 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมปฐมนิเทศน์โครงการ แผนงานร่วมทุนการสร้างสุขภาวะชุมชนประมงพื้นบ้าน เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ ่และการจัดการโครงการ รวมถึงขั้นตอนวิธีการต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์และการนำใช้ในโครงการต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้ขั้นตอนและวิธีการจัดการในโครงการและสามารถนำมาถ่ายทอดให้คณะทำงานได้เรียนรู้และปฏิบัติดำเนินการได้

 

2 0

2. ประชุมคณะทำงานดำเนินโครงการ และสมาชิก

วันที่ 17 กรกฎาคม 2566 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

รายละเอียดกิจกรรม
1. ประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนเรื่องอาหารทะเลปลอดภัย 2.ชี้แจงวัตถุประสงค์แผนงานในการจัดทำโครงการ
3. หารือและกำหนดรายละเอียดการดำเนินโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีคณะทำงานมีบทบาทหน้าที่ต่างๆจำนวน 11 คน

 

20 0

3. เวทีทำแผนการตลาดให้กับสมาชิกร้านคนจับปลาและทีมบริหาร

วันที่ 20 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. วิทยากรจัดทำแผนการตลาดร่วมกับสมาชิกและทีมบริหารร้านคนจับปลา                           2. ทดลองทำตามแผนการตลาดที่จัดทำขึ้น เช่น การทำตลาดออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ                           3.วิทยากรจัดทำกระบวนการร่วมกับทีมบริหารร้านคนจับปลาพัฒนาเพจร้านคนจับปลา                           4.หาพันธมิตรจัดหาช่องทางการขายที่เป็น MODERN TRADE

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คณะทำงานโครงการได้เรียนรู้และเข้าใจกระบวนการตลาดมากขึ้น 2.ได้แผนการตลาดจำนวน 1 ฉบับ
  2. ร้านคนจับปลานครศรีธรรมราชดำเนินการแผนการตลาดที่ได้จัดทำขึ้นในการโฆษนา ประชาสัมพันธ์ ในอนาคตต่อไป

 

19 0

4. ประชุมวิเคราะห์ศักยภาพทางการตลาดของผลิตภัณฑ์และวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ

วันที่ 29 กันยายน 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. จัดประชุม เพื่อวิเคราะห์และคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพทางการตลาดของร้าน
  2. คัดเลือกผลิตภัณฑ์ของร้านที่ได้รับการคัดเลือกจำนวน 5 รายการดังนี้   1 ปลากะพง   2 กุ้งแชบ๊วย   3 ปลากุเลา   4 หมึกกระดอง   5.ปูม้า
  3. นำผลที่ได้วางแผนทางการตลาด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ผลวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ของร้านที่ได้รับการคัดเลือกจำนวน 5 รายการดังนี้     1 ปลากะพง     2 กุ้งแชบ๊วย     3 ปลากุเลา     4 หมึกกระดอง     5.ปูม้า

 

15 0

5. จัดทำข้อมูล Baseline Before-After ของพื้นที่ตามตัวชี้วัดโครงการ

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาวะของชาวประมงพื้นบ้าน โครงการภายใต้แผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะได้ทำการศึกษาการ “การเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาวะของชาวประมงพื้นบ้านที่เข้าร่วมโครงการภายใต้แผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ชุมชนประมงพื้นบ้าน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล” การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านสุขภาวะและศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของชาวประมงพื้นบ้านที่เมื่อได้เข้าร่วมโครงการแล้ว ซึ่งตอบโดยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คน สุ่มจากสมาชิกร้านคนจับปลานครศรีธรรมราช โดยทางคณะผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอผลการศึกษาออกเป็น 5 ส่วน ตามลำดับ ดังนี้ ส่วนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเล ส่วนที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกซื้อวัตถุดิบที่ใช้ในครัวเรือน
ส่วนที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับทัศนคติเรื่องสุขภาพ ส่วนที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับร้านคนจับปลานครศรีธรรมราช
ส่วนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง จากจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่กำหนด จำนวน  50 ตัวอย่าง ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล กลับมาได้ 50 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง
ข้อมูลทั่วไป จำนวน (ร้อยละ) เพศ หญิง 34 (68) ชาย 16 (32) อายุ 15-20 ปี 0 (0) 21-25 ปี 2 (4) 21-25 ปี 1 (2) 26-30 ปี 5 (10) 31-35 ปี 3 (6) 36-40 ปี 3 (6) 41-45 ปี 4 (8) 46-50 ปี 8 (16) 50 ปีขึ้นไป 24 (48) อาชีพ ชาวประมงพื้นบ้าน 20 (40) ลูกจ้างเรือประมง 1 (2) ค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว 12 (24) รับจ้างทั่วไป 13 (26) รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่มีรายได้ 3 (6) น้อยกว่า 10,000 บาท 16 (32) 10,001 – 15,000 บาท 17 (34) 15,001 – 20,000 บาท 8 (16) 20,001 – 25,000 บาท 6 (4) มากกว่า 25,000 บาท 1 (2) จังหวัดที่พักอาศัย นครศรีธรรมราช 50 (100) ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเล พฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเล จำนวน (ร้อยละ) การบริโภคอาหารทะเลที่จับได้เอง หรืออาหารทะเลที่ผลผลิตในหมู่บ้าน ปานกลาง 2 (4) มาก 17 (34) มากที่สุด 31 (62)

การบริโภคอาหารทะเลที่จับได้เอง หรืออาหารทะเลที่เป็นผลผลิตของคนในหมู่บ้าน 1 – 2 มื้อต่อสัปดาห์ 2 (4) 3 – 4 มื้อต่อสัปดาห์ 15 (30) มากกว่า 4 มื้อต่อสัปดาห์ 33 (66)

ส่วนที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกซื้อวัตถุดิบที่ใช้ในครัวเรือน
การเลือกซื้อวัตถุดิบที่ใช้ในครัวเรือน จำนวน (ร้อยละ) แหล่งขายวัตถุดิบที่ไปบ่อยที่สุดในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา Mekcro () Big C () TOPS () Lotus () ตลาดสดใกล้บ้าน () ร้านขายของชำ () ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกซื้อวัตถุดิบ ใกล้บ้าน () ที่จอดรถสะดวกสบาย () ความทันสมัยและความหลากหลายของสินค้า () สินค้าราคาถูก () สินค้าสดใหม่ สะอาด ปลอดภัย () สินค้าปลอดสารพิษ () มีการจัดโปรโมชั่นลดราคาบ่อย () มีอาหารแช่แข็งเก็บไว้ได้นาน ()

ส่วนที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับทัศนคติเรื่องสุขภาพ ทัศนคติเรื่องสุขภาพ จำนวน (ร้อยละ) ความห่วงใยในสุขภาพ น้อยที่สุด 0 (0) น้อย 0 (0) ปานกลาง 3 (6) มาก 12 (24) มากที่สุด 35 (70) ด้านความห่วงใยในสุขภาพ การออกกำลังกาย () การเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ () การรับประทานอาหารเสริม () การเล่นกีฬา () การตรวจสุขภาพประจำปี () การเลือกบริโภคอาหารที่ลดหวาน มัน เค็ม () การนวดแพทย์แผนไทย นวดฝ่าเท้า () การพบแพทย์ทางเลือก () การหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีควันบุหรี่ () โรคประจำตัว ไม่มี 34 (68) มี 16 (32) สูบบุหรี่ ไม่สูบบุหรี่ 42 (84) สูบบุหรี่ (1-2 ครั้ง/วัน) 2 (4) สูบบุหรี่ (3-4 ครั้ง/วัน) 4 (8) สูบบุหรี่ (มากกว่า 4 ครั้ง/วัน) 2 (4) การประกอบอาหารเพื่อรับประทานเอง ทุกวัน 28 (56) 1-2 วัน/ครั้ง 14 (28) มากกว่า 3-4 วัน/ครั้ง 8 (16) การใช้ผงชูรสหรือรสดีในการประกอบอาหารเพื่อรับประทานในครอบครัว ใช้ 13 (26) ไม่ใช่ 37 (74) ระดับความสำคัญของปัจจัยที่คำนึงถึงในการประกอบอาหารเพื่อรับประทานเอง ปัจจัย ระดับความสำคัญ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด รสชาติถูกปาก / ปรุงรสได้ตามใจชอบ 0 (0) 1(2) 8(16) 17(34) 24(48) สะอาด / ปลอดภัยในกระบวนการผลิต 0 (0) 0 (0) 1(2) 25(50) 24(48) อาหารคุ้มค่ากับราคา 0 (0) 0 (0) 4(8) 24(48) 22(44) คุณค่าทางโภชนาการ 0 (0) 0 (0) 2(4) 15(30) 33(66) ใช้วัตถุที่ปราศจากสิ่งเจือปน 0 (0) 2(4) 2(4) 20(40) 26(52) ไม่ใช่สารปรุงแต่งที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย 6(12) 2(4) 6(12) 12(24) 24(48) ส่วนที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับร้านคนจับปลานครศรีธรรมราช ปัจจัย จำนวน (ร้อยละ) สมาชิกร้านคนจับปลานครศรีธรรมราช เป็น 50 (100) ไม่เป็น 0 (0) สัตว์น้ำที่จับได้ขายให้กับร้านคนจับปลานครศรีธรรมราช ขาย 44 (88) ไม่ขาย 6 (12) พอใจในการบริหารจัดการของคนจับปลานครศรีธรรมราช พอใจ 50 (100) ไม่พอใจ 0 (0) การนำกำไรไปใช้ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากร เห็นด้วย 50 (100) ไม่เห็นด้วย 0 (0) ร้านคนจับปลานครศรีธรรมราชต้องมีเป่าหมายในอนาคตด้านการตลาด การเพิ่มกลุ่มเป้าหมายในการเลือกซื้อสินค้า การเพิ่มยอดขายออนไลน์ เพื่อที่จะนำกำไรไปใช้ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ทำการศึกษาการ “การเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาวะของชาวประมงพื้นบ้านที่เข้าร่วมโครงการภายใต้แผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ชุมชนประมงพื้นบ้าน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล” การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านสุขภาวะและศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของชาวประมงพื้นบ้านที่เมื่อได้เข้าร่วมโครงการแล้ว ซึ่งตอบโดยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คน สุ่มจากสมาชิกร้านคนจับปลานครศรีธรรมราช โดยทางคณะผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอผลการศึกษาออกเป็น 5 ส่วน ตามลำดับ ดังนี้ ส่วนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเล ส่วนที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกซื้อวัตถุดิบที่ใช้ในครัวเรือน
ส่วนที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับทัศนคติเรื่องสุขภาพ ส่วนที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับร้านคนจับปลานครศรีธรรมราช

 

0 0

6. ประชุมคณะทำงานดำเนินโครงการ และสมาชิก

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

รายละเอียดกิจกรรม 1. ประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนเรื่องอาหารทะเลปลอดภัย
2.ชี้แจงวัตถุประสงค์แผนงานในการจัดทำโครงการ 3. รายงานความก้าวหน้าของโครงการที่ได้ดำเนินการ 4. รายงานความสำเร็จของโครงการ 5. ปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงานและแนวทางแก้ไข 3. หารือและกำหนดรายละเอียดแผนงานการดำเนินในระยะต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ความสำเร็จของกิจกรรมที่ได้ดำเนินการ
  2. กลุ่มเป้าหมายของโครงการได้รับสิทธ์ประโยชน์ในการทำกิจกรรม เช่น การการ  เทคนิดออนไลน์เป็นต้น
  3. ได้คุณภาพของสัตว์น้ำที่ผ่านการรับรองจาก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในเรื่องของคุณค่าทางโภชนาการ

 

15 0

7. อบรมเชิงปฎิบัติการการถ่ายภาพและการตัดต่ออย่างง่าย

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

รายละเอียดสำคัญในการฝึกอบรม  เรียนรู้การถ่ายรูปและการตัดต่อ

    การตัดต่อและปรับแต่งรูปภาพเป็นอาวุธสำคัญสามารถรีทัชและตัดต่อรูปภาพได้อย่างง่ายดาย  ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่สำหรับทั้งกระบวนการหรือเพียงแค่ต้องการพัฒนาทักษะเพิ่ม ความเข้าใจในหลักการพื้นฐานของการตัดต่อรูปภาพคือสิ่งจำเป็น นั่นหมายถึงการเรียนรู้เรื่องการครอปและการถ่ายถาพและเทคนิดอีกอย่างหนึ่งคือ การใช้ตารางบนกล้องถ่ายรูป หรือเรียกว่า  จุดเก้าจุด      เหตุผลที่การสำรองรูปภาพและไม่ตัดต่อต้นฉบับจึงเป็นสิ่งสำคัญ และการเข้าใจในพลังของสีจะทำให้ภาพถ่ายบนหน้าจอ  ตั้งแต่การปรับความคมชัดมากเกินไป ไปจนถึงการทำให้ดวงตาดูสว่างมากเกินไป ก็จะช่วยให้คุณพัฒนาได้เร็วเช่นกัน เมื่อเชี่ยวชาญพื้นฐานแล้ว สามารถไปต่อในเทคนิคต่างๆ น ได้ การใช้เวลาทำงานตัดต่อรูปภาพจะช่วยเปลี่ยนรูปถ่ายเป็นภาพที่สวยขึ้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. กลุ่มเป้าหมายสามารถนำเทคนิคไปใช้ในการทำการตลาดด้านการขายได้จริง
  2. กลุ่มเป้าหมายสามารถตัดรูปดภาพ และการเพิ่มปรับแสงให้ภาพดูสวยขึ้น 3.สามารถนำภาพที่ได้ไปโพสลงในสื่อโซเชียลได้เป็นอย่างดี

 

20 0

8. อบรมเชิงปฎิบัติการช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าและไลฟ์สดผ่านแฟลตฟอร์มต่างๆ

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เรียนรู้ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า 1. เข้าใจความหมายของช่องทางการจัดจำหน่ายได้ 2. อธิบายหน้าที่ของช่องทางการจัดจำหน่าย 3. แยกองค์ประกอบของช่องทางการจัดจำหน่ายได้ 4. จ าแนกประเภทของช่องทางการจัดจ าหน่ายได้ 5. วิเคราะห์จำนวนของคนกลางทางการตลาด และระดับช่องทาง การจัดจำหน่ายได้ 6. วิเคราะห์จำนวนของคนกลางทางการตลาดที่ส่งผลต่อการสร้าง รายได้ของร้านคนจับปลา 7. จำแนกระหว่างการค้าปลีกและการค้าส่ง และสามารถนำไป ประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ทางการตลาดได้อย่างเหมาะสม 8. อธิบาย เข้าใจ และวิเคราะห์การกระจายตัวสินค้าได้     การไลค์สดผ่านช่องทาง Tik Tok 1. ให้ผู้เข้าร่วมทดสอบการไลน์สดผ่าน Tik Tok โดยใช้ useser ของตัวเอง  ฝึกให้ทุกคนทำทุกคจ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ผู้เข้าร่วมสามารถไลค์สดผ่่าน Tik Tok โดยใช้ useser ของตัวเอง
  2. ผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้ที่ได้จากเรียนรู้เรื่องช่องทางการจัดจำหน่ายมาใช้ในการขายของภายในร้าน และงานเสริมของแต่ละคนที่ทำอยู่

 

20 0

9. ประชุมคณะทำงานดำเนินโครงการ และสมาชิก

วันที่ 23 เมษายน 2567 เวลา 09:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ายละเอียดกิจกรรม 1. ประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนเรื่องอาหารทะเลปลอดภัย
2.ชี้แจงวัตถุประสงค์แผนงานในการจัดทำโครงการ 3. รายงานความก้าวหน้าของโครงการที่ได้ดำเนินการ 4. รายงานความสำเร็จของโครงการ 5. ปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงานและแนวทางแก้ไข 3. หารือและกำหนดรายละเอียดแผนงานการดำเนินในระยะต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ได้เทนนิคการถ่ายรูปและความสมดุลของรูปภาพ 2.ได้เรียนรู้การไลน์สด และ ช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านทางสื่อโซเชี่ยล ซึ่่งกลุ่มเป้าหมายเรียนรู้และได้ฝึกปฏิบัติ และสามารถใช้งานได้จริง

 

15 0

10. อบรมเชิงปฎิบัติการการถ่ายภาพและการตัดต่ออย่างง่าย ครั้งที่ 2

วันที่ 16 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

รายเอียดเพิ่มเติมจากครั้งที่แล้ว 1.หาจุดโฟกัสให้ได้ก่อน การที่เราจะถ่ายภาพสิ่งต่างๆเราต้องเลือกว่าอะไรคือสิ่งที่เราจะถ่าย หลังจากนั้นเราควรที่จะโฟกัสสิ่งนั้นเป็นหลัก เพื่อเก็บรายละเอียดให้ครบถ้วน และอย่าลืมเช็คโฟกัสให้ดีก่อนที่จะกดชัตเตอร์ 2.โฟกัสแบบ Single Point AF การเลือกจุดโฟกัสที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อไม่ให้ภาพถ่ายของเราเบลอ และการใช้การโฟกัสแบบจุดเดียว หรือ Single Point AF ในการโฟกัสจะทำให้เรามั่นใจได้ว่าการโฟกัสของเลนส์อยู่ในจุดที่เหมาะสมแล้ว 3.ปรับความเร็วของชัตเตอร์ให้เหมาะสม ความเร็วของชัตเตอร์ หรือ Shutter Speed มีผลอย่างมากกับภาพ ถ้าเลือกความเร็วของชัตเตอร์ไม่ดีก็อาจทำให้ภาพออกมาเบลอและไม่ได้ดั่งใจ และ Shutter Speed ยังส่งผลถึงการสร้างการเคลื่อนไหวของภาพและการหยุดวัตถุอย่างการถ่ายหยุดน้ำอีกด้วย 4.ใช้ ISO ต่ำ ใช้ ISO ต่ำในที่แสงมาก และใช้ ISO สูงในที่แสงน้อย นี่คือเรื่องเบื้องต้นที่เราเข้าใจ แต่เราควรระวังไม่ใช้ ISO สูง เพราะการใช้ ISO มากจะทำให้ภาพเกิดสัญญาณรบกวน หรือ Noise ได้ 5.ถ่ายรูปด้วยกฎสามส่วน กฎสามส่วน เป็นหนึ่งในเทคนิคการถ่ายภาพที่นิยมและง่าย วิธีการใช้เทคนิคนี้คือการวางตำแหน่งของสิ่งที่เราจะถ่ายไว้ที่จุดตัดของเส้นจุดใดจุดหนึ่ง จะช่วยให้ภาพมีความน่าสนใจและไม่ทื่อจนเกินไป 6.ใส่เส้นนำสายตาเข้าไปในภาพ เส้นนำสายตาเป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่นิยม เพราะตจะทำให้ภาพมีมิติและน่าหลงไหล แต่ไม่ได้ถูกใช้บ่อยนักด้วยข้อจำกัด วิธีการใช้เทคนิคนี้คือการให้เราเอาสิ่งที่เราจะถ่ายไปไว้ในจุดที่ทิศทางขององค์ประกอบส่วนใหญ่พุ่งไปหา โดยสามารถอิงกับกฎสามส่วนก็ได้ 7.เลือกพื้นหลังที่ไม่รก หรือรายละเอียดมากเกินไป การที่เราจะให้คนหรือสิ่งของดูเด่นขึ้นมาได้ วิธีการที่ง่ายที่สุดคือการให้พื้นหลังนั้นไม่รกจนรบกวนสิ่งที่เราจะถ่าย ไม่ว่าจะเป็นกำแพงเรียบๆ หรือจะใช้รูรับแสงที่แคบเพื่อพื้นหลังเบลอ (การถ่ายหน้าชัดหลังเบลอ) 8.ถ่ายสิ่งที่ชอบ ในเบื้องต้นถ้าเราไม่รู้จะถ่ายอะไร แต่ต้องการจะฝึกฝนให้เราถ่ายสิ่งที่ชอบจะทำให้เราเรียนรู้และปรับเทคนิคได้ไว้ เพราะว่าเราจะถ่ายสิ่งที่ชอบ 9.รู้จัก Location ให้ดีก่อนที่จะถ่ายจริง การที่เรารู้จักสถานที่นั้นก่อนถ่ายจริงจะช่วยให้เราเลือกมุมดีๆของสถานที่นั้นได้ รวมถึงรู้ถึงมุมของแสงในแต่ละช่วงเวลา เพื่อจะถ่ายภาพให้ออกมาสมบูรณ์แบบ 10.ใช้แสงธรรมชาติให้เป็นประโยชน์ แสงธรรมชาติเป็นวัตถุดิบชั้นดีในการถ่ายภาพให้สวยและคมชัด และถ้าเราเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมกับอารมณ์ของภาพจะยิ่งทำให้ภาพของเรานั้นดูน่าสนใจมากขึ้นอีกด้วย 11.ถ่ายภาพในช่วง Golden Hour Golden Hour คือช่วงเวลาที่แสงนั้นมีความนุ่มนวลที่สุดคือช่วงก่อนพระอาทิตย์ตกหรือขึ้น 30 นาที เพราะแสงแดดจะไม่สว่างจนเกินไป ฉะนั้นต้องเตรียมมุมดีๆ เพราะมีเวลาให้ถ่ายภาพสั้นมากๆ 12.ถ่ายภาพด้วยเงาสะท้อน การถ่ายภาพคือการเก็บแสง และการถ่ายภาพในเงาสะท้อนจะช่วยเพิ่มมิติและเสน่ห์ให้กับภาพ ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำ ทะเล หรือแม้แต่น้ำขังในเวลาที่ฝนตก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. เรียนรู้เรื่องการถ่ายรูปหลากหลายมิติ
  2. เรียนรู้การใช้แสงในการถ่ายรูปและสถานที่ต่างๆ รวมถึงการถ่ายภาพในเงาและการสะท้อนช่วยเพิ่มมิติเสน่ห์ให้กับภาพกลุ่มเป้าหมายสามารถถ่ายภาพได้มาอย่างดีเยี่ยม
  3. เรียนรู้การใช้เทคนิคการวางตำแหน่งของสิ่งที่เราจะถ่าย ทำให้กลุ่มเป้าหมายได้รูป

 

20 0

11. เวทีปิดโครงการแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ชุมชน

วันที่ 23 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวทีปิดโครงการสสส. 1. เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อรายงานการดำเนินงานตามแผนงานทั้งหมดที่จัดทำโครงการขึ้น ในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา 2. แลกเปลี่ยน ความสำเร็จของโครงการ และ แลกเปลี่ยนความรู้กับกับโครงการทั้ง 30 โครงการที่ร่วมรับทุน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมาในแต่ละกิจกรรมกรรมสามารถนำไปต่อยอดและพัฒนาให้เกิดประโยชน์กับคนในพื้นที่
  2. ในเรื่องของาช่องทางการตลาด มีลูกค้าเพิ่มขึ้นหลังจากเข้าร่วมโครงการ
  3. มีการปรับเปลี่ยนของพี่น้องประมงอย่างเห็นได้ชัด

 

2 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำให้การขับเคลื่อนเรื่องอาหารทะเลปลอดภัย
ตัวชี้วัด : 1.มีคณะทำงานมีบทบาทหน้าที่ต่างๆ จำนวน 11 คน 2. แกนนำสามารถวางกติกาเงื่อนไขการปันผลกำไรไปสู่การฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล 3. แกนนำชาวประมงและแกนำกลุ่มแม่บ้านแปรรูปเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคอาหารทางทะเลปลอดภัย อย่างน้อย 50 คน

คณะทำงานโครงการออกแบบการขับเคลื่อนงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี จนเกิดแผนการดำเนินงานและการขับเคลื่อนงานที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

2 2 เพื่อพัฒนาแผนการตลาด ช่องทางการขายและเพิ่มโอกาศในการขายผลิตภัณฑ์อาหารทะเลปลอดภัยของชุมชนมากขึ้น
ตัวชี้วัด : 1. มีแผนการตลาดของร้านคนจับปลา 2. มีช่องทางการขายที่เป็น MODERN TRADE อย่างน้อย 1 แห่ง 3. มีลูกค้าที่เป็นผู้บริโภคโดยตรงเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10% 4. มีคนติดตามเพจร้านคนจับปลานครศรีธรรมราชเพิ่มขึ้น 10% 5. รายได้ของร้านคนจับปลาเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10% 6. ผลิตภัณฑ์ได้รับการวิเคราะห์โภชนาการอย่างน้อย 5 ผลิตภัณฑ์ 7. มีสมาชิกที่มีศักยภาพในการขายสินค้าของร้านได้อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 5 คน

การจัดการผลผลิตในรูปแบบการรวมกลุ่ม แปรรูปสัตว์น้ำที่สอดคล้องตามฤดูกาล ส่งผลให้สมาชิกมีความสนใจที่จะนำไปสร้างรายได้เพิ่ม พร้อมทั้งบริโภคอาหารที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้นในครอบครัว

3 เพื่อเพิ่มรายได้จากยอดขายและยอดการผลิต (ร้านคนจับปลานครศรีธรรมราช)
ตัวชี้วัด : 1.สามารถเพิ่มรายได้จากยอดขาย ทั้งรูปแบบเชิงฝึกอบรมปฏิบัติการและในรูปแบบออนไลน์

จากการอบรมช่องทางทางการตลาดไม่ว่าจะเป็นแบบออนไลน์ หรือทางเทคนิค ยอดขายอยู่ในขั้นที่ดีึ้น และจำนวนผู้เข้ามากดเพจก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นด้วย ถือเป็นความสำเร็จในระดับหนึ่ง

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 250
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ชาวประมงรอบอ่าวท่าศาลา 200
สมาชิกวิสาหกิจชุมขนร้านคนจับปลา 50

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำให้การขับเคลื่อนเรื่องอาหารทะเลปลอดภัย (2) 2 เพื่อพัฒนาแผนการตลาด ช่องทางการขายและเพิ่มโอกาศในการขายผลิตภัณฑ์อาหารทะเลปลอดภัยของชุมชนมากขึ้น (3) เพื่อเพิ่มรายได้จากยอดขายและยอดการผลิต (ร้านคนจับปลานครศรีธรรมราช)

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) การดำเนินงานและบริหารจัดการโครงการ (2) เพื่อพัฒนาศักยภาพ แกนนำในการขับเคลื่อนเรื่องอาหารทะเลปลอดภัย (3) เวทีทำแผนการตลาดให้กับสมาชิกร้านคนจับปลาและทีมบริหาร (4) ปฐมนิเทศแผนงานร่วมทุนการสร้างสุขภาวะชุมชนประมงพื้นบ้าน (5) ประชุมคณะทำงานดำเนินโครงการ และสมาชิก (6) เวทีทำแผนการตลาดให้กับสมาชิกร้านคนจับปลาและทีมบริหาร (7) ประชุมวิเคราะห์ศักยภาพทางการตลาดของผลิตภัณฑ์และวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ (8) จัดทำข้อมูล Baseline Before-After ของพื้นที่ตามตัวชี้วัดโครงการ (9) ประชุมคณะทำงานดำเนินโครงการ และสมาชิก (10) อบรมเชิงปฎิบัติการการถ่ายภาพและการตัดต่ออย่างง่าย (11) อบรมเชิงปฎิบัติการช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าและไลฟ์สดผ่านแฟลตฟอร์มต่างๆ (12) ประชุมคณะทำงานดำเนินโครงการ และสมาชิก (13) อบรมเชิงปฎิบัติการการถ่ายภาพและการตัดต่ออย่างง่าย  ครั้งที่ 2 (14) เวทีปิดโครงการแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ชุมชน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ส่งเสริมการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลปลอดภัยเพื่อความยั่งยืนของชุมชน จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ M-017

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวตีเมาะ อิสอ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด