directions_run

ทำซั้งกอบ้านปลาและพัฒนาอาชีพ แปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านตะเสะ

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สมาคมรักษ์ทะเลไทย


“ ทำซั้งกอบ้านปลาและพัฒนาอาชีพ แปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านตะเสะ ”

อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นายตะวัน ทุ้ยอ้น

ชื่อโครงการ ทำซั้งกอบ้านปลาและพัฒนาอาชีพ แปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านตะเสะ

ที่อยู่ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 010 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2567


กิตติกรรมประกาศ

"ทำซั้งกอบ้านปลาและพัฒนาอาชีพ แปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านตะเสะ จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สมาคมรักษ์ทะเลไทย ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ทำซั้งกอบ้านปลาและพัฒนาอาชีพ แปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านตะเสะ



บทคัดย่อ

โครงการ " ทำซั้งกอบ้านปลาและพัฒนาอาชีพ แปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านตะเสะ " ดำเนินการในพื้นที่ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 010 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กรกฎาคม 2566 - 30 เมษายน 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 101,000.00 บาท จาก สมาคมรักษ์ทะเลไทย เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

บ้านตะเสะมีประชากร จำนวน 245 ครัวเรือน มีวิถีชีวิตพึ่งพิงฐานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ร้อยละ 60 โดยมีรายได้เฉลี่ยจากการประมง ประมาณ 13,000 บาทต่อเดือน และยังประกอบอาชีพเกษตรกรและรับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 40 คนในชุมชนจึงเห็นถึงความสำคัญของการดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งโดยมีกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรอย่างต่อเนื่อง แต่จากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของการประมงที่มีการใช้เครื่องมือประมงหลายประเภทที่ทันสมัยและวิธีการทำ ประมงที่มุ่งเน้นปริมาณการจับสัตว์น้ำ โดยไม่คำนึงถึงความสำคัญของระบบนิเวศของทรัพยากรสัตว์น้ำ ประกอบกับการเพิ่มจำนวนประชากรในชุมชนบ้านตะเสะทำให้ปริมาณของทรัพยากรสัตว์ลดลงเรื่อย ๆ จากถูกจับมาใช้จนเกินการผลิตตามธรรมชาติอย่างไม่คุ้มค่า ทำให้การประกอบอาชีพประมงชายฝั่งไม่สามารถจับสัตว์น้ำชนิดใดชนิดหนึ่งได้อย่างยั่งยืน อาจนำไปสู่ผลกระทบต่อการทำประมงชายฝั่ง เช่น รายได้ การจ้างงาน รวมทั้งวิถีชีวิตของชุมชนประมงชายฝั่ง ทำให้เกิดหนี้สิน ส่งผลให้เกิดความเครียด และเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินเนื่องจากต้องไปทำประมงไกลจากฝั่ง ชาวบ้านตะเสะมีการทำประมงได้ปลาหลังเขียวในปริมาณมากในบางฤดูกาล ทำให้ราคาถูก และถ้าขายไม่หมดก็จะเป็นปัญหาเน่าเสีย จึงได้มีการการแปรรูปปลาหลังเขียวเป็นปลาหวาน เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาให้นานขึ้น ช่วยให้มีอาหารบริโภคในยามขาดแคลน หรือในช่วงนอกฤดูกาล นอกจากนี้ยังช่วยรักษาคุณค่าทางอาหาร เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสัตว์น้ำและเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปด้วย
อีกทั้งบ้านตะเสะ เป็นที่ตั้งของท่าเรือตะเสะ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๔ ตำบลตะเสะ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง เป็นท่าเทียบเรือเชื่อมระหว่างชุมชนบ้านตะเสะบนแผ่นดินใหญ่ และชุมชนตำบลเกาะสุกร เป็นท่าเรือที่ใช้ในการขนส่งสิ่งของหรือผู้ที่จะเดินทางจากตำบลตะเสะไปยังเกาะต่าง ๆ ในทะเลอันดามันด้วย จากการสัญจรของคนในชุมชนและนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากไม่น้อยกว่า 300 คนต่อวัน
ทำให้กลุ่มอนุรักษ์โลมาและแปรรูปอาหารทะเลบ้านตะเสะ เล็งเห็นถึงโอกาสในการสร้างรายได้ โดยการแปรรูปสัตว์น้ำวางขายและพบว่า การเพาะเลี้ยงสาหร่าย เป็นอาชีพเสริมจะเป็นการส่งเสริมอาชีพให้คนในชุมชนบ้านตะเสะสามารถสร้างรายได้และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยืนในอนาคต คนในชุมชนจะได้มีอาชีพสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีโดยไม่ต้องทิ้งถิ่นที่อยู่อาศัย โครงการทำซั้งกอบ้านปลาและพัฒนาอาชีพ แปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านตะเสะ ต้องการดำเนินการฟื้นฟูแหล่งที่อยู่ของสัตว์น้ำเศรษฐกิจในรูปแบบการวางซั้งกอบ้านปลาโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนสัตว์น้ำในพื้นที่ชายฝั่ง ให้สามารถทำการประมงบริเวณรอบบริเวณนอกซั้งกอบ้านปลาได้ตลอดทั้งปี ลดความเสี่ยงจากการออกทะเลไกลฝั่งในช่วงฤดูมรสุม ร่วมกันกำหนดกติกาการใช้ประโยชน์เพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรสัตว์น้ำ เสริมสร้างจิตสำนึกและความตระหนักร่วมกันของเยาวชน และประชาชนในพื้นที่ ควบคู่กับเกิดกลไกโครงสร้างการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน ดำเนินการส่งเสริมการแปรรูปสัตว์น้ำและเพาะเลี้ยงสาหร่ายเป็นอาชีพเสริม ต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เกิดกลไกขับเคลื่อนการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรและการส่งเสริมอาชีพ
  2. เพื่อให้เกิดการจัดการ อนุรักษ์ และปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการฟื้นฟูสัตว์น้ำและฐานทรัพยากรชายฝั่งในชุมชนตะเสะ
  3. เพื่อพัฒนาและจัดการผลผลิตประมงที่มีคุณภาพ และเปลี่ยนพฤติกรรมทางการบริโภคอาหารทะเลที่ปลอดภัยให้กับชาวบ้านตะเสะ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมคณะทำงาน
  2. ศึกษาดูงานการเพาะเลี้ยงสาหร่าย
  3. จัดทำป้ายโลโก้ สสส. ลดละเลิก เหล้า บุหรี่
  4. จัดทำซั้งกอทางมะพร้าว
  5. จัดกิจกรรมวางซั้งกอบ้านปลา บริเวณท่าเรือตะเสะ
  6. ศึกษาดูงานร้านคนจับปลา จังหวัดสตูล

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มอนุรักษ์โลมาและแปรรูอาหารทะเลบ้านตะเสะ 30

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดกลไกขับเคลื่อนการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรและการส่งเสริมอาชีพ 2.เกิดการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งให้คงความสมบูรณ์ ด้วยการทำซั้งกอทางมะพร้าวให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ เกิดอาชีพที่มั่นคง สร้างรายได้ มีการใช้ประโยชน์ทางทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความมั่นคงทางอาหารตลอดจนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 3.เกิดการพัฒนาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ประมงให้กับชาวบ้านตะเสะ


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมคณะทำงาน

วันที่ 6 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-  ประชุมคณะทำงานโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้อง
-  ผู้เข้าร่วมประชุม  จำนวน  17  คน -  รายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • คณะทำงานได้รู้ที่มาของโครงการและ วัตถุประสงค์ กิจกรรม งบประมาณ รายละเอียดของ "ทำซั้งกอบ้านปลาและพัฒนาอาชีพ  แปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านตะเสะ" ในการทำงานฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรที่เดิมก็มีทำอยู่แล้ว เพื่อจะเดินไปให้ถึงเป้าหมายที่ฝันไว้ คณะทำงานมีการกระตื้อรื้อรนในการออกแบบการทำงาน การออกแบบขบวนการในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป

 

15 0

2. ศึกษาดูงานการเพาะเลี้ยงสาหร่าย

วันที่ 13 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-  คณะทำงานกลุ่มอนุรักษ์โลมาและแปรรูอาหารทะเลบ้านตะเสะ  จำนวน  15  คน  เดินทางไปศึกษาดูงานการเพาะเลี้ยงสาหร่าย -  สถานที่แรก  คือ  ศูนย์เพาะเลี้ยงสาหร่ายบ้านปากคลอง  ตำบลบ่อหิน  อำเภอสิเกา  จังหวัดตรัง -  สถานที่สอง  คือ  หมู่บ้านเพาะเลี้ยงสาหร่าย  จังหวัดกระบี่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-  ทำให้เกิดคณะทำงานเกิดความรู้  ความเข้าใจในการปฎิบัติงานจริง  สามารถพัฒนาประสิทธิภาพคนทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับการการเพาะเลี้ยงสาหร่าย  โดยได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการทำงาน เปิดโลกทัศน์การทำงาน นำสิ่งใหม่ ๆ มาพัฒนางานได้อย่างเหมาะสมเป็นประโยชน์ต่อโครงการและอาชีพของคนในชุมชน

 

15 0

3. จัดทำป้ายโลโก้ สสส. ลดละเลิก เหล้า บุหรี่

วันที่ 17 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำป้ายโครงการ  สสส.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ป้ายโครงการ สสส.  จำนวน  1  ป้าย

 

0 0

4. จัดทำซั้งกอทางมะพร้าว

วันที่ 19 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. สำรวจราคาวัสดุ สำหรับจัดทำซั้งกอบ้านปลา
  2. จัดซื้อวัสดุ สำหรับทำซั้งกอบ้านปลา
  3. จัดทำซั้งกอ บ้านปลาโดยสมาชิกในกลุ่ม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • เกิดการจัดทำซังกอบ้านปลาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น  ทางมะพร้าวและไม้ไผ่  จำนวน  30  ชุด

 

50 0

5. จัดกิจกรรมวางซั้งกอบ้านปลา บริเวณท่าเรือตะเสะ

วันที่ 19 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ประชุมคณะทำงานเตรียมจัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ และวางซั้งกอบ้านปลา
  2. ประสานงานผู้เข้าร่วมกิจกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. จัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ และวางซั้งกอบ้านปลา
  4. สรุปผลการจัดกิจกรรม
  5. วางซังกอบ้านปลา บริเวณแหลมตะเสะ จำนวน 1 กอง 30 ชุด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-  เกิดการใช้ประโยชน์จากกการวางซังกอบ้านปลาของเรือประมงพื้นบ้านในชุมชนบ้านตะเสะและพื้นที่ใกล้เคียง
-  เกิดการเพิ่มปริมาณจำนวนสัตว์น้ำ
-  เกิดคณะทำงานติดตามสังเกตอัตราการรอดของสัตว์น้ำที่ปล่อย โดยการถ่ายภาพสัตว์น้ำ หลังจากการปล่อยประมาณ 3-4 เดือน -  การวางซังกอบ้านปลาในชุมชนบ้านตะเสะเลือกใช้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้วัสดุจากธรรมชาติ  ได้แก่  ไม้ไผ่และทางมะพร้าว  เพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย  อนุบาลสัตว์น้ำขนาดเล็กให้มีโอกาสได้เจริญเติบโตและขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ

 

50 0

6. ศึกษาดูงานร้านคนจับปลา จังหวัดสตูล

วันที่ 27 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานกลุ่มอนุรักษ์โลมาและแปรรูอาหารทะเลบ้านตะเสะ เดินทางศึกษาดูงาานการแปรรูปอาหารทะเล ณ.ร้านคนจับปลา จังหวัดสตูล เพื่อศึกษา แลกเปลี่ยนกรรมวิธีการผลิต และระบบการบริหารจัดการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-  ทำให้เกิดคณะทำงานเกิดความรู้  ความเข้าใจในการปฎิบัติงานจริง  สามารถพัฒนาประสิทธิภาพคนทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับกลุ่มแปรรูปอาหารทะเลบ้านตะเสะ  โดยได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการทำงาน เปิดโลกทัศน์การทำงาน นำสิ่งใหม่ ๆ มาพัฒนางานได้อย่างเหมาะสมเป็นประโยชน์ต่อโครงการและชุมชนบ้านตะเสะ

 

15 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้เกิดกลไกขับเคลื่อนการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรและการส่งเสริมอาชีพ
ตัวชี้วัด : - เกิดคณะทำงานขับเคลื่อนกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรบ้านตะเสะและการส่งเสริมอาชีพบ้านตะเสะ - เกิดกลไกการวางแผนและติดตามผลการดำเนินงานโดยชุมชน

คณะทำงานและอาสาสมัครเฝ้าระวังทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมีการขับเคลื่อนงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี จนเกิดแผนการดำเนินงานและการขับเคลื่อนงานที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

2 เพื่อให้เกิดการจัดการ อนุรักษ์ และปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการฟื้นฟูสัตว์น้ำและฐานทรัพยากรชายฝั่งในชุมชนตะเสะ
ตัวชี้วัด : - มีบ้านปลาจากทางมะพร้าว จำนวน 1 กอง บริเวณท่าเรือตะเสะ - ชาวประมงสามารถจับปลาได้มากขึ้นบริเวณรอบซั้งกอบ้านปลา - ชาวประมงในพื้นที่และนอกพื้นที่รวมทั้งเยาวชน จำนวน 50 คน มีส่วนร่วมในกิจกรรมวางซั้งกอบ้านปลา

คนในชุมชนเห็นความสำคัญของการฟื้นฟูสัตว์น้ำ ทำบ้านปลาในทะเล ที่ส่งผลชัดเจต่อการเพิ่มขึ้นของสัตว์น้ำ ส่งผลดีต่อการประกอบอาชีพทำการประมง มีรายได้ ดีขึ้น และที่สำคัญการบริโภคสัตว์น้ำที่จับเอง ส่งผลดีต่อสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวและผู้บริโภค

3 เพื่อพัฒนาและจัดการผลผลิตประมงที่มีคุณภาพ และเปลี่ยนพฤติกรรมทางการบริโภคอาหารทะเลที่ปลอดภัยให้กับชาวบ้านตะเสะ
ตัวชี้วัด : - มีผลิตภัณฑ์ปลาหวานปรุงรส - มีแปลงทดลองเลี้ยงสาหร่ายขนนก เป็นอาชีพเสริม - แกนนำและชุมชนมีการเปลี่ยนพฤติกรรมทางการบริโภคอาหารทะเลที่ปลอดภัย และเข้าถึงอาหารปลอดภัยต่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้น อย่างน้อย 30 คน

ยังไม่ได้ดำเนินการ

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มอนุรักษ์โลมาและแปรรูอาหารทะเลบ้านตะเสะ 30

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เกิดกลไกขับเคลื่อนการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรและการส่งเสริมอาชีพ (2) เพื่อให้เกิดการจัดการ อนุรักษ์ และปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการฟื้นฟูสัตว์น้ำและฐานทรัพยากรชายฝั่งในชุมชนตะเสะ (3) เพื่อพัฒนาและจัดการผลผลิตประมงที่มีคุณภาพ และเปลี่ยนพฤติกรรมทางการบริโภคอาหารทะเลที่ปลอดภัยให้กับชาวบ้านตะเสะ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมคณะทำงาน (2) ศึกษาดูงานการเพาะเลี้ยงสาหร่าย (3) จัดทำป้ายโลโก้ สสส. ลดละเลิก เหล้า บุหรี่ (4) จัดทำซั้งกอทางมะพร้าว (5) จัดกิจกรรมวางซั้งกอบ้านปลา  บริเวณท่าเรือตะเสะ (6) ศึกษาดูงานร้านคนจับปลา  จังหวัดสตูล

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ทำซั้งกอบ้านปลาและพัฒนาอาชีพ แปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านตะเสะ จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 010

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายตะวัน ทุ้ยอ้น )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด