directions_run

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน โดยการใช้กระบวนการกลุ่ม ในการขับเคลื่อน

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน โดยการใช้กระบวนการกลุ่ม ในการขับเคลื่อน
ภายใต้โครงการ ร่วมทุน อบจ.พัทลุง ปี 2567
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ
วันที่อนุมัติ 15 มิถุนายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มิถุนายน 2567 - 15 เมษายน 2568
งบประมาณ 75,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านห้วยเรือ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางประคอง เทพสุริบูรณ์
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0872944680
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ -
พี่เลี้ยงโครงการ นายอำนวย ทองหนูนุ้ย
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 1 หมูที่ 4 หมู่ที่ 8ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 มิ.ย. 2567 15 พ.ย. 2567 37,500.00
2 16 พ.ย. 2567 15 มี.ค. 2568 30,000.00
3 16 มี.ค. 2568 16 เม.ย. 2568 7,500.00
รวมงบประมาณ 75,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเรือ ดูแลรับผิดชอบชุมชนบ้านคอกช้าง หมู่ที่ ๑ ตำบล หารเทา ชุมชนบ้านห้วยเรือ หมู่ที่ ๔ ตำบลหารเทา และชุมชนบ้านคลองเรือ หมู่ที่ ๘ ตำบลหารเทา มีปัญหาด้านความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ในปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 706 คน พบว่า มีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 149 คน คิดเป็นร้อยละ 21.10 และได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 895 คน มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 472 คน คิดเป็นร้อยละ 52.74 ข้อมูลผู้ป่วยในช่วงปี ๒๕๖๔ - ๒๕๖๖ มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นปีละ ๑ - ๒ คน และผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพิ่มขึ้นปีละ ๔ - ๕ คน และกลุ่มเสี่ยงไม่สามารถย้อนสถานะไปสู่กลุ่มสภาวะสุขภาพปกติได้เลย
    ปัญหานี้เกิดจากขาดความตระหนักในการสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เช่น รับประทานอาหารไม่ได้สัดส่วน รับประทานอาหารประเภทแป้ง ไขมัน และอาหารที่ให้พลังงานมากมากกว่าอาหารประเภทโปรตีน รายการอาหารประจำวันมีอาหารรสเค็ม อาหารรสหวานจัด รับประทานอาหารประเภทผักและวิตามินน้อย มีการออกกำลังกายและกิจกรรมทางกายน้อย มีพฤติกรรมสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ขาดการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรมทางสุขภาพอย่างต่อเนื่อง การประกอบอาชีพที่ไม่ได้วางแผนให้ร่างกายพักผ่อนอย่างเพียงพอ     ส่งผลกระทบดัชนีมวลกาย น้ำหนักเพิ่ม ความยาวรอบเอว ภาวะอ้วน เมื่อปัญหาสะสมพอกพูนนานๆ จะกลายเป็นกลุ่มเสี่ยง และเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในที่สุด
    ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านห้วยเรือ จึงจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน โดยการใช้กระบวนการกลุ่มในการขับเคลื่อน เพื่อดำเนินการในการแก้ปัญหาดังกล่าวเพื่อสร้างสภาวะสุขภาพที่ดี ลดความเสี่ยง และสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดเชื้อเรื้อรัง (เน้นความดันโลหิตสูง และเบาหวาน) ต้องอาศัยความตั้งใจ ความตระหนัก ในเรื่องอาหารการกิน และการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ แนวคิด : การทำกิจกรรมในระบบกลุ่มจะส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกว่า กลวิธีการเปรียบเทียบผลลัพธ์ระหว่างกลุ่ม ทำให้เกิดบรรยากาศของการแข่งขั้น จะเป็นการเสริมพลังให้มีการปรับเปลี่ยนเพื่อตัวเอง เพื่อกลุ่ม จนเกิดผลดีต่อสุขภาพในที่สุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดคณะทำงานที่มีประสิทธิภาพ

๑. เกิดคณะทำงาน 15 คน ประกอบด้วย       - ตัวแทนชมรม อสม. ๖ คน       - จนท.สาธารณสุข  1 คน       - ฝ่ายปกครอง/ อปท. ๒ คน       - ตัวแทนชุมชน ๖ คน 2. เกิดโครงสร้างคณะทำงาน บทบาทหน้าที่     กติกา/ข้อตกลง แผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน
    และมีเครื่องมือจัดเก็บข้อมูลสุขภาพที่ครอบคลุม

15.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ทักษะ และความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  1. กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 70 มีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี
  2. กลุ่มเป้าหมายทุกคน (ร้อยละ 100) มีการตรวจ สุขภาพตามรายการที่กำหนด
  3. กลุ่มเป้าหมายทุกคน (ร้อยละ 100) สมัครใจเข้าร่วม โครงการ
28.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมสุขภาพลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอย่างถูกวิธี
  1. กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 70 มีการปรับพฤติกรรม
      ตามกติกาที่กำหนดไว้   - กินผักเพิ่มขึ้น ปลูกผักกินเอง   - ลดอาหารรสหวานในมื้ออาหารประจำวัน   - เมนูสุขภาพ
  2. กลุ่มเป้าหมายมีกิจกรรมทางกาย/ออกกำลังกาย  ตามเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 70
28.00
4 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาวะที่ดีขึ้น

1.กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 70 มีค่าน้ำตาลในเลือด   ไม่เพิ่มขึ้น 2.เกิดบุคคลต้นแบบการดูแลสุขภาพ อย่างน้อย 6 คน

28.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 358 70,800.00 1 0.00
20 มิ.ย. 67 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้รับทุนหลักสูตรการปฐมนิเทศก่อนการดำเนินโครงการ 3 800.00 0.00
31 ก.ค. 67 กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการทำงาน จัดทำข้อตกลง/กติกา และกำหนดแผนการประชุม 15 6,350.00 -
26 ส.ค. 67 กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้การปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพ 55 12,200.00 -
29 ส.ค. 67 กิจกรรมที่ 3 ARE 1 ประเมินผลความก้าวหน้าของโครงการระหว่างการดำเนินการ 25 5,750.00 -
20 ก.ย. 67 กิจกรรมที่ 4 การจัดกิจกรรมรณรงค์ให้กลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการมีสุขภาพที่ดีขึ้น 55 4,000.00 -
30 พ.ย. 67 กิจกรรมที่ 5 ล้อมวงชวนคุยความสำเร็จ กลเม็ดที่ต้องขยายผล - คืนข้อมูล สุขภาพ 55 15,700.00 -
6 ม.ค. 68 กิจกรรมที่ 6 เวทีสรุปบทเรียน (ARE2) “ เปิดสูตรลับ ลักหยบ!!! ปฏิบัติการ ๙๐ วัน ฝ่าด่านอันตราย ” 150 26,000.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.เกิดคณะทำงานที่มีประสิทธิภาพ ๒.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยกระบวนการกลุ่ม ๓. กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ๔. ๔. กลุ่มเป้าหมายมีสภาวะสุขภาพดีขึ้น มีค่าความดันโลหิตไม่เพิ่มขึ้น ค่าน้ำตาลในเลือดไม่เพิ่มขึ้น ค่าดัชนีมวลกายลดลง  เข้าสู่ระดับใกล้เคียงปกติ หรือระดับปกติ ร้อยละ ๗๐ และ เกิดบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ๖ คน

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2567 10:29 น.