directions_run

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตใจของผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดความเครียด ในหมู่บ้านม่วงทวน ต.หารเทา อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตใจของผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดความเครียด ในหมู่บ้านม่วงทวน ต.หารเทา อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง
ภายใต้โครงการ ร่วมทุน อบจ.พัทลุง ปี 2567
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 67-00199-003
วันที่อนุมัติ 15 มิถุนายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มิถุนายน 2567 - 16 เมษายน 2568
งบประมาณ 75,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนบ้านม่วงทวน ต.หารเทา อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางไรหนับ เจริญวงศ์
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 065 057 5110
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ fame.sut01@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นายสุทธิพงษ์ เอียดเหลือ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 มิ.ย. 2567 15 พ.ย. 2567 37,500.00
2 16 พ.ย. 2567 15 มี.ค. 2568 30,000.00
3 16 มี.ค. 2568 16 เม.ย. 2568 7,500.00
รวมงบประมาณ 75,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชุมชนบ้านม่วงทวน เป็นชุมชนที่มีจำนวน 391 ครัวเรือน ประชากรทั้งสิ้นจำนวน 1,649 คน เป็นเพศชาย 838 คน เพศหญิง 811 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้สูงอายุทั้งหมด 269 คน คิดเป็นร้อยละ 16.31 คน ซึ่งเกินกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมดถือได้ว่าชุมชนบ้านม่วงทวนเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ผู้สูงอายุในพื้นที่ส่วนใหญ่ นับถือศาสนาอิสลามคิดเป็นร้อยละ 73.30 อาชีพหลักของชาวบ้าน ได้แก่ ทำสวนยางพารา ค้าขาย เกษตรกร อาชีพรอง ได้แก่ รับจ้างทั่วไปนอกพื้นที่ บ้านม่วงทวนนั้นมีมัสยิดเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ      ทั้งทางด้านสังคมศิลปวัฒนธรรมประเพณีและกิจกรรมอื่น ๆ ทางศาสนา มัสยิดหลักการทางศาสนาจึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน และมีผลต่อวีถีชีวิตของคนในอดีตจนถึงปัจจุบัน แต่สภาพการณ์ในปัจจุบันปัญหาต่าง ๆ    ทั้งทางด้านพฤติกรรม เศรษฐกิจ และสังคม ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและผู้สูงอายุ ให้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ที่เคยสงบมีความโอบอ้อมอารี เป็นสังคมที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน กลับกลายเป็นสังคมที่วุ่นวายแก่งแย่งแข่งกัน ส่งผลต่อสุขภาพจิตของคนในสังคมที่เห็นได้ชัดเจน คือ ปัญหาสุขภาพจิตใจของกลุ่มผู้สูงอายุ โดยมีจำนวนผู้สูงอายุที่ปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน จำนวน 35 ราย ซึ่งเกิดจากสาเหตุ ที่สามารถสรุปได้ดังนี้ 1. ด้านพฤติกรรม ประกอบด้วย ขาดการรวมกลุ่ม พักผ่อนไม่เพียงพอ มีความเครียดกังวล อายุที่เพิ่มขึ้น อยู่บ้านเพียงลำพัง ขาดความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพจิตใจตนเอง
2. ด้านกลไก ประกอบด้วย ในชุมชนยังขาดผู้ที่เป็นต้นแบบให้ความรู้การยกระดับจิตใจแก่ผู้สูงอายุ    ขาดทีมขับเคลื่อนกิจกรรมของผู้สูงอายุและผู้ให้คำปรึกษา ขาดครูผู้สอนการอ่านอัลกุรอาน และการใช้ศาสนาเพื่อพัฒนาจิตใจ ระบบการดูแลสุขภาพจิตของชุมชนไม่เพียงพอ
3. ด้านสภาพแวดล้อม ประกอบด้วย ทางสังคม สถานที่จัดกิจกรรมทางศาสนาอยู่ไกลจากบ้าน ขาดความมั่นใจในการเข้าสังคม บุตรหลานออกไปประกอบอาชีพนอกพื้นที่ บุตรหลานติดยาเสพติด การลักขโมยในชุมชน และทางกายภาพ มีการคัดกรองสุขภาพจิตยังไม่ทั่วถึง กิจกรรมส่วนใหญ่จัดขึ้นสำหรับวัยหนุ่มสาว ส่งผลกระทบให้ผู้สูงอายุในชุมชน ดังนี้ 1. ด้านสุขภาพ ประกอบด้วย เกิดสุขลักษณะที่ไม่เหมาะสม เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เสี่ยงต่อโรค  สมองเสื่อม เสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า
2. ด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย คนรอบข้างถอยห่าง ที่พักอาศัยไม่สะอาด/ไม่มั่นคง มีปากเสียง    กับคนที่ไม่เข้าใจ
3. ด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วย รายได้ลดลง และค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น
จากสภาพปัญหาดังกล่าวคณะกรรมการชุมชนบ้านม่วงทวน โดยพลัง ของฝ่ายปกครอง และ อสม.  ตั้งใจและเป็นกำลังหลักที่จะขับเคลื่อนกิจกรรมในผู้สูงอายุ เป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงาน ด้วยเหตุนี้      จึงสมัครเข้าร่วมโครงการ “ส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านม่วงทวน” กับ สสส.    เพื่อให้ผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชนสามารถดูแลสุขภาพกายและจิตใจได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับวัย ดังนั้น ผู้จัดทำโครงการมีความตระหนักถึงความสำคัญของภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ เพราะหากผู้สูงอายุได้รับกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมจะช่วยชะลอความเสี่ยงต่อผลกระทบด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากปัญหาทางสุขภาพจิต ที่สอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูประบบสุขภาพ ซึ่งเน้นให้ประชาชนดูแลตนเองสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพด้านต่าง ๆ เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การคัดกรองในกลุ่มเสี่ยง การส่งเสริมอาชีพ และส่งเสริมสุขภาพจิต เป็นต้น องค์ชุมชนบ้านม่วงทวน ซึ่งเป็นองค์กรหนึ่งในหมู่บ้าน ที่มีบทบาทเสริมสร้างกระบวนการพึ่งพาตนเองของหมู่บ้าน จึงมีความตระหนักถึงการประสานเชื่อมโยงภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ  เข้ามามีส่วนร่วมบริหารจัดการปัญหาที่กล่าวมา และเห็นว่าจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุและชุมชน เพื่อเป็นกลไกการเตรียมชุมชนเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ โดยนำร่องในผู้สูงอายุที่มีปัญหาและสมัครใจ  เข้าร่วมกิจกรรมโครงการ เพื่อส่งเสริมสุขภาพกาย และสุขภาพจิตใจ ด้วยวีถีอิสลาม เนื่องจากวัยชราจะใช้ศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจและเข้าถึงได้ง่าย โดยการฟังบรรยายธรรม เพื่อให้ผู้สูงอายุได้นำแนวทางการปฏิบัติตนเพื่อดูแลสุขภาพกายและจิตใจ มาปรับใช้ในวิถีชีวิตด้วยการเสริมสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมในการดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญาและมีความรอบคอบ เพื่อให้เกิดความสมดุลและพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว และเป็นการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุให้ดีขึ้น เกิดการรวมกลุ่ม มีสุขภาวะที่ดีต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มีคณะทำงาน กลไกการดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่เข้มแข็ง
  1. มีคณะทำงาน 12 คน ได้แก่  เจ้าหน้าที่ รพ.สต. จำนวน 1 คน  อสม. หมู่ที่ 3 จำนวน 5 คน ตัวแทนผู้สูงอายุ 4 คน ผู้นำชุมชน 1 คน ผู้นำศาสนา จำนวน 1 คน
  2. มีกลไกการทำงาน กำหนดบทบาทหน้าที่ มีกติกาชัดเจน
1.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย และแกนนำ มีความรู้ เข้าใจ และตระหนักรู้การดูแลสุขภาพกาย และจิตใจด้วยตนเอง

1.ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ โดยวัดจากแบบประเมิน ก่อน-หลัง รับการอบรม
2.มีฐานข้อมูลสุขภาพและพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย และผู้เข้าร่วมกิจกรรม 3.เกิดแกนนำเครือข่ายดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ที่มีคุณภาพ อย่างน้อย 1 กลุ่ม

80.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมดูแลสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป
  1. กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 80 ได้รับการดูแล มีสุขภาพกายและจิตใจที่ดี
    2.มีการจัดเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมายร้อยละ 100
    3.มีชุดข้อมูลสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มเป้าหมาย
80.00
4 เพื่อให้ความเสี่ยงในการเกิดความเครียดของผู้สูงอายุลดน้อยลง
  1. กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุมีความเครียดลดน้อยลง คือ นอนหลับดี กินได้
    1. กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 90 มีผลการประเมินแบบคำถาม 2Q และ 9Q ปกติ 3.เกิดผู้สูงอายุจิตแจ่มใสต้นแบบ  อย่างน้อย 6 คน
70.00
5 เพื่อให้การบริหารจัดการโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด

1.เข้าร่วมกิจกรรมที่แผนงานจัด 100%
2.สามารถจัดส่งรายงานต่างๆ ได้ตามกำหนด

100.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 398 75,000.00 0 0.00
15 มิ.ย. 67 - 16 เม.ย. 68 การบริหารจัดการโครงการ 12 5,000.00 -
1 ก.ค. 67 ประชุมคณะทำงานด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในชุมชน 12 9,600.00 -
12 ก.ค. 67 “คนมากประสบการณ์ที่น่าสนใจ” แลกเปลี่ยนแนวทางดำเนินชีวิต ระหว่างกลุ่มเป้าหมายด้วยกันโดยใช้คัมภีร์อัลกุรอาน เพื่อปรับพื้นฐานสุขภาพใจผู้สูงอายุ 62 9,800.00 -
25 ก.ค. 67 3 จัดอบรมเรื่องการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ และการใช้อัลกุรอาน เพื่อปรับพื้นฐานสุขภาพใจผู้สูงอายุ 62 10,420.00 -
1 ส.ค. 67 - 28 ก.พ. 68 เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุในชุมชน( 4 ครั้ง) 120 13,220.00 -
30 ส.ค. 67 จัดการประชุมติดตามผล AREครั้งที่1 65 5,440.00 -
14 มี.ค. 68 สรุป ถอดบทเรียน คืนข้อมูลให้ชุมชน “สุขที่ได้เจอ รอยยิ้มที่วาดฝัน” 65 21,520.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้สูงอายุได้นำแนวทางการปฏิบัติตนเพื่อดูแลสุขภาพกายและจิตใจ มาปรับใช้ในวิถีชีวิตด้วยการเสริมสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมในการดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญาและมีความรอบคอบ เพื่อให้เกิดความสมดุลและพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว และเป็นการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุให้ดีขึ้น เกิดการรวมกลุ่ม มีสุขภาวะที่ดีต่อไป

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2567 10:31 น.