directions_run

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มวัยทํางานที่มีความเสี่ยง รพ.สต.ดอนประดู่

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มวัยทํางานที่มีความเสี่ยง รพ.สต.ดอนประดู่
ภายใต้โครงการ ร่วมทุน อบจ.พัทลุง ปี 2567
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 67-00199-009
วันที่อนุมัติ 15 มิถุนายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2567 - 31 มีนาคม 2568
งบประมาณ 75,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.ดอนประดู่
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมคิด ทองศรี
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0989672284
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ ไม่มี
พี่เลี้ยงโครงการ นายกำพล เศรษฐสุข
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.26429,100.315941place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 มิ.ย. 2567 15 พ.ย. 2567 37,500.00
2 16 พ.ย. 2567 15 มี.ค. 2568 30,000.00
3 16 มี.ค. 2568 16 เม.ย. 2568 7,500.00
รวมงบประมาณ 75,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานปรับสภาพสิ่งแวดล้อม
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผลจากการดำเนินงานคัดกรองสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน (อายุ 19 – 59 ปี) ปีงบประมาณ 2566 – 2667 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนประดู่ ตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ร่วมกับบุคลากรสาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนประดู่ พบว่ากลุ่มวัยทำงานมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เกินเกณฑ์ที่กำหนด มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยพบในปีงบประมาณ 2566 ร้อยละ 34.45 และปีงบประมาณ 2567 ร้อยละ 36.20 และมีความสัมพันธ์กับค่ารอบเอวของกลุ่มวัยทำงานที่เกินเกณฑ์มาตรฐานด้วยเช่นกัน โดยปีงบประมาณ 2566 พบร้อยละ 58.40 และปี 2567 ร้อยละ 60.28 จากข้อมูลปัญหาและพฤติกรรมสุขภาพที่มีความเสี่ยงของกลุ่มวัยทำงานในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนประดู่ มีความสัมพันธ์กับอัตราป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ทุกกลุ่มวัยที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งโรคเบาหวาน มีอัตราป่วยในปีงบประมาณ 2566 และ 2567 คือ 5,821.92 และ 5,982.49 ต่อแสนประชากร โรคความดันโลหิตสูง มีอัตราป่วยในปีงบประมาณ 2566 และ 2567 คือ 15,019.57 และ 15,661.48 ต่อแสนประชากร ปีงบประมาณ 2567 ผู้โรคเบาหวานคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ร้อยละ 60.16 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงคุมระดับความดันลิตไม่ได้ ร้อยละ 32.92    เมื่อศึกษาข้อมูลพฤติกรรมกลุ่มวัยทำงาน พบว่ามีการออกกำลังกายต่อเนื่องอย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที เพียงร้อยละ 30.95 กลุ่มวัยทำงานสูบบุหรี่ 42.86 ดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 40.00 มีการนอนหลับพักผ่อนเพียงพอคืนละ 7-8 ชั่วโมง เพียงร้อยละ 35.27
จากข้อมูลปัญหาและพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มวัยทำงานในเขตพื้นที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนประดู่ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บุคลากรสาธารณสุขและเครือข่าย ร่วมกันวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน โดยจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มวัยทำงานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง ปรับสภาพแวดล้อมในชุมชนให้เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มวัยทำงาน และมีระบบหรือกลไกการดำเนินปรับเปลี่ยนสุขภาพในชุมชนที่เข้มแข็ง โดยมีเป้าหมายหลัก คือ กลุ่มวัยทำงานมีค่าดัชนีมวลกายลดลง

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

การปรับสภาพแวดล้อมในชุมชนให้เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มวัยทำงาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสนับสนุนให้มีกลไกคณะทำงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน

1.มีคณะทำงานหมู่บ้านละ 7 คน ที่มีการขับเคลื่อนงานอย่างต่อเนื่องครอบคลุมทุกหมู่บ้าน (ประกอบด้วย ผู้นำหมู่บ้าน 1 คน,  อสม. 2 คน, ตัวแทนครัวเรือน 2 คน, ตัวแทนร้านเครื่องดื่มชง 1 คน และ บุคลากรสาธารณสุข 1 คน ) 2.ร้อยละ 100 ของคณะทำงาน มีทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มวัยทำงานมีความรู้และทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

.ร้อยละ 100 ของผู้ร่วมโครงการมีความรู้เรื่อง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มมากขึ้น 2.ทุกหมู่บ้านมีการสื่อสารเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มวัยทำงานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

1.ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุภาพ 2.ร้อยละ 100 ของร้านเครื่องดื่มชง มีเมนูลดหวาน อย่างน้อย 1 เมนู 3.ร้อยละ 50 ของงานบุญ งานประเพณีในชุมชนปลอดเครื่องดื่มที่มีรสหวาน

0.00
4 เพื่อให้กลุ่มวัยทำงานมีค่าดัชนีมวลกายลดลง

1.ร้อยละ 90 ของคนวัยทำงานที่มีอายุ 25 – 59 ปี ที่เข้าร่วมโครงการ มีค่าดัชนีมวลกายลดลง 2.มีบุคคลต้นแบบด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างน้อยหมู่บ้านละ 5 คน

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 78
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มวัยทำงานที่มีอายุ 25 – 59 ปี 40 -
ร้านขายเครื่องดื่มชง 8 -
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 30 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 383 70,600.00 0 0.00
17 มิ.ย. 67 - 31 มี.ค. 68 ประชุมคณะทำงาน (ประชุม 3 ครั้ง ทุกหมู่บ้านหมู่บ้านละ 7 คน รวม 21 คน) 21 4,750.00 -
18 มิ.ย. 67 - 31 ก.ค. 67 อบรมให้ความรู้แก่คณะทำงานเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยตัวเอง (คณะทำงานหมู่บ้านละ 7 คน รวม 21 คน) 21 7,625.00 -
20 มิ.ย. 67 พัฒนาศักยภาพผู้รับทุนครั้งที่ 1 (ปฐมนิเทศผู้รับทุน) 3 600.00 -
11 ก.ค. 67 - 12 มี.ค. 68 สนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่กลุ่มเป้าหมาย 40 3,600.00 -
23 - 31 ก.ค. 67 อบรมให้ความรู้ทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่กลุ่มวัยทำงาน (เป้าหมาย จำนวน 40 คน) 40 24,800.00 -
1 ก.ย. 67 - 27 ธ.ค. 67 รณรงค์ให้มีเมนูลดหวานในชุมชน 8 2,025.00 -
21 ก.ย. 67 ประเมินและติดตามผลการทำงาน (ARE ) ครั้งที่ 1 50 7,600.00 -
5 - 31 ม.ค. 68 เวทีถอดบทเรียนและวิเคราะห์ข้อมูลสู่ชุมชน 150 12,000.00 -
10 - 20 มี.ค. 68 ประเมินและติดตามผลการทำงาน (ARE ) ครั้งที่ 2 50 7,600.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เมื่อโครงการแล้วเสร็จหรือเมื่อทุนที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. หมดลง อสม.เขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนประดู่ ยังดำเนินกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มวัยทำงานต่อไป เพราะเป็นเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่ทำให้ประชาชนมีค่าดัชนีมวลการ
ลดลง ลดความเสี่ยงลงจากการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดภาระ ลดค่าใช้จ่ายที่เกิดมาจกผลกระทบจากค่าดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งประชาชนกลุ่มวัยทำงานก็ให้ความสำคัญเช่นกัน     การดำเนินกิจกรรมต่างๆในโครงการ เป็นการดำเนินงานร่วมกันของเครือข่ายในชุมชน มีการประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการทำกิจกรรมร่วมกันให้ชุมชนทราบและเห็นผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น ประชาชนทุกกลุ่มวัยเห็นคุณค่าของกิจกรรมตามโครงการ สนใจที่จะร่วมกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2567 10:37 น.