directions_run

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง บ้านควนเคี่ยม

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง บ้านควนเคี่ยม
ภายใต้โครงการ ร่วมทุน อบจ.พัทลุง ปี 2567
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 67-00199-010
วันที่อนุมัติ 15 มิถุนายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มิถุนายน 2567 - 16 เมษายน 2568
งบประมาณ 67,300.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนเคี่ยม
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนิยม บุญเฟื่อง
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 092-6999091, 081-9594545
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ kittipongkia@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นายกิตติพงษ์ กาญจนูปถัมภ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 มิ.ย. 2567 15 พ.ย. 2567 33,650.00
2 16 พ.ย. 2567 15 มี.ค. 2568 26,920.00
3 16 มี.ค. 2568 16 เม.ย. 2568 6,730.00
รวมงบประมาณ 67,300.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานบุหรี่และปัจจัยเสี่ยง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จากการคัดกรองสุขภาพกลุ่มประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ของชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนเคี่ยม ในปีงบประมาณ 2567 จำนวน 370 คน พบว่า มีกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง (ค่าระดับความดันโลหิตอยู่ในช่วง SBP 130-139 mmHg ,DBP 85-89 mmHg) จำนวน 88 คน คิดเป็น
1.00
2 ถ้าประชาชนในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ไม่ได้รับความรู้ และการแนะนำการปฏิบัติที่ถูกต้อง จะส่งผลให้พัฒนาเป็นโรคความดันโลหิตสูงในอนาคต ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลตนเอง ไม่ได้ประกอบอาชีพ ไม่มีรายได้ และขาดเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน
1.00
3 ส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงที่เหมาะสม พฤติกรรมสุขภาพที่สำคัญในการป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง คือ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมการดื่มสุรา/สูบบุหรี
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการคัดกรองสุขภาพกลุ่มประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ของชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนเคี่ยม ในปีงบประมาณ 2567 จำนวน 370 คน พบว่า มีกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง (ค่าระดับความดันโลหิตอยู่ในช่วง SBP 130-139 mmHg ,DBP 85-89 mmHg) จำนวน 88 คน คิดเป็นร้อยละ 23.78 และกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง (ค่าระดับความดันโลหิตอยู่ในช่วง SBP มีค่า >= 140 ถึง < 180 mmHg หรือ DBP มีค่า >= 90 ถึง < 110 mmHg) จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 8.92 จากข้อมูลดังกล่าว ถ้าประชาชนในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ไม่ได้รับความรู้ และการแนะนำการปฏิบัติที่ถูกต้อง จะส่งผลให้พัฒนาเป็นโรคความดันโลหิตสูงในอนาคต ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลตนเอง ไม่ได้ประกอบอาชีพ ไม่มีรายได้ และขาดเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน
          ดังนั้น จึงควรส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงที่เหมาะสม พฤติกรรมสุขภาพที่สำคัญในการป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง คือ พฤติกรรม การรับประทานอาหาร พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมการดื่มสุรา/สูบบุหรี่ พฤติกรรม ด้านการจัดการอารมณ์เครียด และ การพักผ่อน โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมระดับ ความดันโลหิต คือ เน้นรับประทานผักและผลไม้ เมล็ดธัญพืช ถั่วต่างๆ เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน โดยลดการบริโภคอาหารเค็มหรือโซเดียมและอาหารที่ใส่ผงฟู งดหรือลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดการสูบบุหรี่ ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนัก รักษา สุขภาพจิตให้ดี ไม่เครียด ทำกิจกรรมที่รู้สึกผ่อนคลาย พักผ่อนให้เพียงพอโดยนอนวันละ 6-8 ชั่วโมง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดี สามารถลดค่าระดับความดันโลหิต จากค่าความเสี่ยงให้กลับไปสู่ค่าความดันโลหิตที่เป็นปกติได้ ได้ จึงมีความจำเป็นและสำคัญในการส่งเสริมและให้ความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกวิธีเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันลดความเสี่ยงจากโรคเรื้อรังต่างๆให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สอดคล้องเหมาะสมในแต่ละวัย

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เกิดกลไกชุมชนขับเคลื่อนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เข้มแข็ง

1.คณะทำงาน จำนวน 15 คน 2.กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 40 คน
3.แผนการดำเนินโครงการ

1.00
2 2.เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตามหลัก 3 อ 2 ส

1.สถานะสุขภาพ ได้แก่ ค่าความดันโลหิต น้ำหนัก ส่วนสูง BMI
2.เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตามหลัก 3 อ 2 ส 3.กติกา ข้อตกลง

1.00
3 3.เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนสุขภพ

1.กลุ่มเป้าหมายทำตามกติกา ข้อตกลง 2.มีบุคคลต้นแบบด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3.ได้ปัจจัยความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
4.กลุ่มเป้าหมายมีความดันลดลง จำนวน 16 คน
5.เกิดสถานที่เหมาะสมในการปรับเปลี่ยนสุขภาพ เช่น ลานกีฬา

1.00
4 4.เพื่อลดการเกิดผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ได้

กลุ่มเป้าหมายมีความดันลดลง จำนวน 16 คน

1.00
5 5..เพื่อให้การบริหารจัดการโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด

1.เข้าร่วมกิจกรรมที่แผนงานจัด 100% 2.สามารถจัดส่งรายงานต่างๆ ได้ตามกำหนด

1.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67ต.ค. 67พ.ย. 67ธ.ค. 67ม.ค. 68ก.พ. 68มี.ค. 68เม.ย. 68
1 ประชุมกลไกการขับเคลื่อนคณะทำงานในการแก้ปัญหา(21 มิ.ย. 2567-16 เม.ย. 2568) 4,500.00                      
2 การค้นพบสถานการณ์จริง และ“ใครเสี่ยง เสี่ยงอย่างไร โรคความดันโลหิตสูง น่ากลัวหรือไม่”(1 ก.ค. 2567-31 ส.ค. 2567) 22,600.00                      
3 ติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 1 (การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ)(1 ส.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 8,800.00                      
4 ประเมินและติดตามผลการทำงาน (ARE1 )(1 ต.ค. 2567-31 ต.ค. 2567) 8,800.00                      
5 ติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 2 (การให้กำลังใจ)(3 ม.ค. 2568-28 ก.พ. 2568) 8,800.00                      
6 ประเมินและติดตามผลการทำงาน (ARE ) ครั้งที่ 2(1 มี.ค. 2568-16 เม.ย. 2568) 13,800.00                      
รวม 67,300.00
1 ประชุมกลไกการขับเคลื่อนคณะทำงานในการแก้ปัญหา กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 4,500.00 0 0.00
21 มิ.ย. 67 - 16 เม.ย. 68 ประชุมกลไกการขับเคลื่อนคณะทำงานในการแก้ปัญหา เดือนละ 1 ครั้ง 15 4,500.00 -
2 การค้นพบสถานการณ์จริง และ“ใครเสี่ยง เสี่ยงอย่างไร โรคความดันโลหิตสูง น่ากลัวหรือไม่” กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 22,600.00 0 0.00
1 - 31 ก.ค. 67 กิจกรรมให้ความรู้ เรื่องความเสี่ยงและความรุนแรงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง 40 22,600.00 -
3 ติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 1 (การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 8,800.00 0 0.00
1 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 1 (การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ) 40 8,800.00 -
4 ประเมินและติดตามผลการทำงาน (ARE1 ) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 8,800.00 0 0.00
21 มิ.ย. 67 แลกเปลี่ยนเพื่อระดมความคิดในการปรับแผนและประเมินผลการดำเนินงาน 40 8,800.00 -
5 ติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 2 (การให้กำลังใจ) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 8,800.00 0 0.00
3 ม.ค. 68 - 28 ก.พ. 68 ติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (การให้กำลังใจ) 40 8,800.00 -
6 ประเมินและติดตามผลการทำงาน (ARE ) ครั้งที่ 2 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 13,800.00 0 0.00
15 มิ.ย. 67 - 16 เม.ย. 68 เข้าร่วมประชุมกับแผนงานร่วมทุนฯ 0 5,000.00 -
1 มี.ค. 68 - 16 เม.ย. 68 สรุปการดําเนินกิจกรรม ประเมินผล และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 40 8,800.00 -

1.เพื่อให้เกิดกลไกการขับเคลื่อนคณะทำงานพร้อมกติการการทำงานในการแก้ปัญหาโรคความดันโลหิตสูง
- ประชุมกลไกการขับเคลื่อนคณะทำงานในการแก้ปัญหาโรคความดันโลหิตสูง   1.1 ประชุมคณะทำงาน เพื่อให้เกิดกลไกการขับเคลื่อนคณะทำงาน เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อวางแผนการดำเนินงาน ดังนี้ 1) กำหนดกติกาการทำงาน 2) กำหนดบทบาทหน้าที่ 3) จัดทำโครงสร้างคณะทำงาน 4) กำหนดกลุ่มเป้าหมาย   1.2 ติดตามและประเมินผล 2.เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตามหลัก 3 อ 2 ส   2.1 วัดความดันโลหิต น้ำหนัก ส่วนสูง ค่า BMI แล้วบันทึกลงในแบบบันทึกภาวะสุขภาพ
  2.2 กิจกรรมให้ความรู้ เรื่องความเสี่ยงและความรุนแรงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
  2.3 กิจกรรม ปฏิบัติดี...มีประโยชน์อย่างไร อุปสรรคมี...จัดการอย่างไร” ในเรื่องการรับรู้ประโยชน์ และอุปสรรคของการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกนโรคความดันโลหิตสูง   2.4.อธิบายให้กลุ่มเป้าหมายจับกลุ่มกัน กลุ่มละ 10 คน ทั้งหมด 4 กลุ่ม เพื่อให้คิดทบทวนตนเอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ อภิปราย พูดคุยกันในกลุ่ม แสดงอารมณ์ ความรู้สึก แลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่อการปฏิบัติกจิวัตรประจำวันของตนเอง ในเรื่อง 3อ 2ส.   2.5 กระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายคิดคำปฏิญาณตนประจำกลุ่มร่วมกัน เพื่อเป็นการกระตุ้นและเตือนตนเอง ให้มีกำลังใจ   2.6 การแจกคู่มือและแผ่นพับ และวิธีการปฏิบัติตนในการควบคุมไม่ให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง 3.เพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูงให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ   3.1 ติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 1 กิจกรรม“กําจัดอุปสรรค...มีวิธีปฏิบัติอย่างไร”เรื่องทบทวนและหาแนวทางปฏิบัติ ในการป้องกัน โรคความดันโลหิตสูงเรื่องติดตามและทบทวนผลการ ปฏิบัติในการป้องกนโรคความดันโลหิตสูง   3.2 ประเมินและติดตามผลการทำงาน (ARE ) ครั้งที่ 1 แลกเปลี่ยนเพื่อระดมความคิดในการปรับแผนและประเมินผลการดำเนินงาน   3.3 ติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 2
    1)“ปฏิบัติได้ผลอย่างไร...ให้กําลังใจ...หาทางออก”เรื่องติดตามและทบทวนผลการปฏิบัติในการป้องกัน โรคความดันโลหิตสูง     2) “ปฏิบัติได้ผลอย่างไร....ให้กําลังใจถึงบ้าน” โดยติดตามเป็นกลุ่มในชุมชนและประเมินผลจากกลุ่มเสี่ยง  โรคความดันโลหิตสูง และญาติ/ผู้ดูแล     3) ปฏิบัติได้ดี...มีกําลังใจ...ทําต่อไปเพื่อป้องกัน การติดตามการปฏิบัติเพื่อป้องกนโรคหลอดเลือดสมอง โดยการออกติดตามเยี่ยมบ้านเป็นรายบุคคล กลุ่มเสี่ยงจะต้องได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านทุกราย
4.เพื่อลดอัตราการเกิดผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่
ประเมินและติดตามผลการทำงาน (ARE ) ครั้งที่ 2 สรุปการดําเนินกิจกรรม ประเมินผล และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
5. เพื่อให้การบริหารจัดการโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ /ตัวชี้วัด
  5.1 เข้าร่วมกิจกรรมที่แผนงานจัด 100%   5.2 สามารถจัดส่งรายงานต่างๆ ได้ตามกำหนด

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

นำข้อมูลที่ได้ ไปเป็นแนวทางในการวางแผนงาน/โครงการ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อสม. และภาคีเครือข่าย ให้สอดคล้องกับผลการดำเนินโครงการ เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้ถูกวิธี ส่งผลให้ลดอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ ในพื้นที่ต่อไป

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2567 10:39 น.