directions_run

โครงการส่งเสริมผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพ ชมรมอสม.รพ.สต.บ้านป่าบอนต่ํา

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพ ชมรมอสม.รพ.สต.บ้านป่าบอนต่ํา
ภายใต้โครงการ ร่วมทุน อบจ.พัทลุง ปี 2567
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 6700199014
วันที่อนุมัติ 15 มิถุนายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มิถุนายน 2567 - 16 เมษายน 2568
งบประมาณ 75,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบอนต่ำ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุณี ศรีนวลขาว
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0864813797
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ suttiluk_lek@hotmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางสุทธิลักษณ์ แก้วบัณฑิตย์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลป่าบอน อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.302664,100.176902place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 มิ.ย. 2567 15 พ.ย. 2567 37,500.00
2 16 พ.ย. 2567 15 มี.ค. 2568 30,000.00
3 16 มี.ค. 2568 16 เม.ย. 2568 7,500.00
รวมงบประมาณ 75,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปัญหาสุขภาพพบผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง
615.00
2 ปัญหาสุขภาพพบผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน
103.00
3 ปัญหาสุขภาพพบผู้ป่วยทั้ง 2 โรคคือความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
244.00
4 ปัญหาสุขภาพพบป่วยด้วยโรคมะเร็ง
10.00
5 พบผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง
19.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากฐานข้อมูลในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบอนต่ำ ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 1 ตำบล ป่าบอน อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง รับผิดชอบ 5 หมู่บ้าน มีจำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 1,469 หลังคาเรือน มีจำนวนประชากร 5,419 คน แยกเป็นเพศชาย 2,657 คน เพศหญิง 2,762 คน อยู่ในช่วงอายุ 35-59 ปี จำนวน 2,098 คน ช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 1,109 คน พบว่ามีปัญหาสุขภาพป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 615 คน เบาหวาน 103 คน โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 244 คน โรคมะเร็ง 10 คน และเป็นผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงอีก จำนวน 19 คน จากฐานข้อมูล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบอนต่ำ พบว่ามีจำนวน ผู้ป่วยด้วยโรค เรื้อรัง จากปี 2565 เพิ่มสูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 19.15 จากปัญหาที่ผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคเรื้อรัง มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมของผู้สูงอายุ 3 ข้อดังนี้ 1.พฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุ เช่น ขาดความรู้ ขาดความตระหนักเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การปรุงอาหาร กินไม่ตรงเวลา ไม่ถูกสัดส่วน ค่านิยม การดื่มชา กาแฟ มีร้านค้าที่ขายเครื่องดื่มน้ำชา กาแฟ มากสะดวกเข้าถึงได้ง่าย และขาดความกระตือรือร้นในการออกกำลังกาย ขาดสถานที่ออกกำลังกาย 2.ขาดแคลนงบประมาณในด้านการจัดการระบบผู้สูงอายุและหน่วยงานต่างๆ ขาดข้อตกลงร่วมกัน ขาดความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุ 3.สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น การประกอบอาชีพของบุตรหลานหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุ ไม่สามารถแบ่งเวลาในการดูแลผู้สูงอายุได้เต็มที่ และการจัดที่อยู่อาศัยให้ผู้สูงอายุไม่เหมาะสมกับการทำกิจกรรม เช่น ไม่มีพื้นที่ในการออกกำลังกายหรือการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ รวมทั้งที่อยู่อาศัยไม่เอื้อต่อการทำกิจกรรมประจำวัน ไม่มีระเบียบส่งผลให้อากาศถ่ายเทได้ไม่สะดวกและประสบปัญหาการหกล้มได้ง่ายขึ้น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพ โดยชมรมอสม.รพ.สต.บ้านป่าบอนต่ำ เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ในอนาคต โดยนำกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้สูงอายุ มาเข้าร่วมโครงการ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าในตนเอง สนับสนุนให้มีความสามารถในการดูแลรักษาสุขภาพตนเอง สร้างกำลังใจ ความอบอุ่น การพูดคุย และการเรียนรู้ถึงกิจกรรมต่างๆที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
จากปัญหาดังกล่าวของผู้สูงอายุพบว่าส่งผลกระทบต่อสุขภาพผู้สูงอายุ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในช่วง 2 ปีที่ตามมาคือ 1.ด้านสุขภาพผู้สูงอายุ ทางด้านร่างกายมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดัน ไต ไขมัน และหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น และมีกลุ่มเสี่ยงที่ตรวจพบภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และมีภาวะความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น ด้านจิตใจ ผู้สูงอายุมีแนวโน้มป่วยด้วยโรคซึมเศร้าสูงขึ้น 2.ด้านเศรษฐกิจ ครอบครัวมีรายได้ และรายจ่ายไม่สมดุล เนื่องจากผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว จะต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพ ส่งผลกระทบต่อผู้ดูแลในการประกอบอาชีพต้องขาดงานเพื่อมาดูแลผู้สูงอายุ รวมถึงงบประมาณค่าใช้จ่ายยาในบัญชียาหลักแห่งชาติของหน่วยงานที่ให้บริการผู้ป่วย จากการคำนวณอัตราค่ายาของหน่วยงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบอนต่ำ ที่จ่ายให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เมื่อปีประมาณ 2566 ใช้งบประมาณ 989,000 บาท (สถิติผู้ป่วยเรื้อรังมารับยาที่รพ.สต.บ้านป่าบอนต่ำ 155 คน) รวมทั้งมีผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงหรือผู้ป่วยเรื้อรังที่มารับบริการเกี่ยวกับการทำความสะอาดบาดแผล ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 10,000 บาท/เดือน ในการจัดซื้ออุปกรณ์ทำแผลต่างๆ 3.ด้านสังคม ผู้สูงอายุขาดการดำเนินกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น ส่งผลให้ลดความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน พี่น้อง ญาติ หรือคนใกล้ชิด ทั้งนี้ส่งผลต่อการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนในพื้นที่สืบไป ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบอนต่ำ จึงขอจัดทำโครงการส่งเสริมผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบอนต่ำ ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลได้มีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย รวมถึงการสร้างกลไกการดูแลผู้สูงอายุ การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งสร้างพื้นที่สาธารณะในชุมชนให้แก่ผู้สูงอายุให้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำกิจกรรมทางสังคมได้อย่างสมบูรณ์ รวมทั้งมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมได้อย่างมีความสุข ทั้งนี้เพื่อลดภาวะผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักของการจัดตั้งโครงการในครั้งนี้

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้มีความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนัก เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

1.มีชุดข้อมูลด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ก่อนและหลังดำเนินการอย่างน้อย 1 ชุด
2.ผู้ร่วมโครงการมีความสามารถวางแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้ อย่างน้อย 2 รูปแบบ (การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย) 3.มีแผนงานเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สอดคล้องเหมาะสมกับความเสี่ยง

2 เพื่อให้เกิดกลไกการขับเคลื่อนการทำงานของคณะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

1.มีคณะทำงานอย่างน้อย 30 คน ประกอบด้วย - ผู้รับผิดชอบโครงการ/คณะทำงาน 6 คน - จนท.สาธารณสุข 1 คน - ตัวแทนอสม.หมู่ละ 4 คน จำนวน 5 หมู่ ทั้งหมด 20 คน - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ผู้นำชุมชน 2 คน - ชมรมผู้สูงอายุ 1 คน 2.มีแผนการทำงานของคณะทำงาน
- กำหนดบทบาทหน้าที่แผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน - มีเครื่องมือจัดเก็บข้อมูลสุขภาพที่ครอบคลุม - มีกติกา/ข้อตกลงของคณะทำงานและกลุ่มเป้าหมาย
3.มีการติดตาม ประเมินผล ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ อย่างน้อย 2 ครั้ง

3 เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่สอดคล้องเหมาะสมต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ

1.มีการรวมกลุ่มผู้สูงอายุปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เข้มแข็ง ระดับหมู่บ้านอย่างน้อย 5 หมู่บ้าน 2.เกิดพื้นที่กลางในการทำกิจกรรม ออกกำลังกาย อย่างน้อย 2 แห่ง
3.เกิดครัวเรือนมีการปลูกผักปลอดภัยอย่างน้อย 3 ชนิด ร้อยละ 60

4 เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมเสี่ยงน้อยลง

1.กินผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 2.ลดอาหารจำพวก หวาน มัน เค็ม 3.มีเมนูสุขภาพปรุงจากผักที่ปลูกเอง 4.มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง 5.ภาวะเครียด ซึมเศร้าลดลง

5 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีขึ้น

1.ผู้สูงอายุที่ได้ร่วมทำกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยร้อยละ 70 มีความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังลดลง ประเมินจาก
- ค่าความดันโลหิตสูง ลดลง - น้ำตาลในเลือด ลดลง
- ค่าดัชนีมวลกาย ลดลง 2. เกิดครอบครัวต้นแบบอย่างน้อย 10 ครัวเรือน

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 100
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ(บุคคลในครอบครัวผู้สูงอายุ) 50 -
ผู้สูงอายุ 50 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 440 75,000.00 0 0.00
20 มิ.ย. 67 พิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงสนับสนุนทุนโครงการนาย ก ระหว่างนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง 3 1,500.00 -
15 ก.ค. 67 คณะทำงานช่วยกันลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสุขภาพ 7 3,100.00 -
19 ก.ค. 67 1: จัดเก็บข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ ก่อนร่วมโครงการ 30 3,900.00 -
26 ก.ค. 67 2 อบรมให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส สำหรับผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุ 100 12,200.00 -
9 ส.ค. 67 3: จัดทำแผนงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุให้สอดคล้องเหมาะสมกับความเสี่ยง 100 12,200.00 -
23 ส.ค. 67 4 ประชุมคณะทำงาน 30 900.00 -
2 - 30 ก.ย. 67 5 มีแผนการทำงานประชุม คณะทำงาน(5 ครั้ง) 30 4,500.00 -
11 ต.ค. 67 6 ARE ครั้งที่ 1 ประเมินผลความก้าวหน้า 30 900.00 -
1 - 29 พ.ย. 67 7 เยี่ยมผู้สูงอายุที่บ้าน 30 5,400.00 -
1 ธ.ค. 67 - 31 ม.ค. 68 8 : กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (5 ครั้ง) 50 12,500.00 -
1 - 28 ก.พ. 68 9 สรุปบทเรียนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ คืนข้อมูลกลับกลุ่มเป้าหมาย 0 17,000.00 -
14 มี.ค. 68 10 กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 2 30 900.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีชุดข้อมูลด้านสุขภาพของผู้สูงอายุก่อนและหลังดำเนินการอย่างน้อย 1 ชุด
2.ผู้ร่วมโครงการมีความสามารถวางแผนการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมของตนเองได้ อย่างน้อย 2 รูปแบบ(การบริโภคอาหาร, การออกกำลังกาย)
3.มีแผนงานเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สอดคล้องเหมาะสมกับความเสี่ยง 4.มีครัวเรือนต้นแบบ อย่างน้อย 10 ครัวเรือน 5.มีคณะทำงานอย่างน้อย 30 คน 6.มีแผนการทำงานของคณะทำงาน เหมาะสมกับวัย 7.มีการติดตามประเมินผลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างน้อย 2 ครั้ง 8.มีการรวมกลุ่มผู้สูงอายุที่เข้มแข็งระดับหมู่บ้านอย่างน้อย 5 หมู่บ้าน
9.เกิดพื้นที่กลางในการทำกิจกรรมออกกำลังกาย อย่างน้อย 2 แห่ง 10.เกิดครัวเรือนมีการปลูกผักปลอดภัยอย่างน้อย 3 ชนิด ร้อยละ 60 11.ผู้สูงอายุที่ได้ร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยร้อยละ 70 ของผู้เข้าร่วมโครงการ

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2567 10:42 น.