directions_run

ส่งเสริมการปรับพฤติกรรมเพื่อแก้ปัญหา ผู้สูงอายุมีค่าดัชนีมวลกายเกินค่ามาตรฐานตามเกณฑ์ บ้านท่าเชียด

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมการปรับพฤติกรรมเพื่อแก้ปัญหา ผู้สูงอายุมีค่าดัชนีมวลกายเกินค่ามาตรฐานตามเกณฑ์ บ้านท่าเชียด
ภายใต้โครงการ ร่วมทุน อบจ.พัทลุง ปี 2567
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 67-00199-020
วันที่อนุมัติ 15 มิถุนายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มิถุนายน 2567 - 15 เมษายน 2568
งบประมาณ 75,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. รพ.สต.บ้านท่าเชียด
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจันทะนา ขวัญเดือน
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0955518199
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ chantana6618@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาววลัยลักษณ์ ปิ่นมี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองใหญ่ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.255603,100.083025place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 มิ.ย. 2567 15 พ.ย. 2567 37,500.00
2 16 พ.ย. 2567 15 มี.ค. 2568 30,000.00
3 16 มี.ค. 2568 16 เม.ย. 2568 7,500.00
รวมงบประมาณ 75,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเชียด ตั้งอยู่ หมู่ที่ 10 บ้านทุ่งหนักยอ ต.คลองใหญ่ อ.ตะโหมด
จ.พัทลุง พื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 2 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ที่ 3 บ้านท่าเชียด และ หมู่ที่ 10 บ้านทุ่งหนักยอ    ต.คลองใหญ่ อ.ตะโหมด จ.พัทลุง จำนวนครัวเรือน 361 ครัวเรือน มีประชากรรวมทั้งสิ้น 1,311 คน แยกเป็นประชากรเพศชาย 646 คน ประชากรเพศหญิง 665 คน นับถือศาสนาอิสลาม คิดเป็นร้อยละ 80 นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 20 แบ่งประชากรตามช่วงอายุ กลุ่มอายุ 0-14 ปี จำนวน 243 คน กลุ่มอายุ 15-24 ปี จำนวน 181 คน กลุ่มอายุ 25-45 ปี จำนวน 372 คน และกลุ่มอายุที่เตรียมการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุนับตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป จำนวน 515 คน จากการสำรวจเก็บข้อมูลสุขภาพอนามัยเบื้องต้นของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเชียด พบว่า ผู้สูงอายุ 60 ปี  ขึ้นไป มีจำนวน 172 คน เป็นโรคไม่ติดต่อ (NCD) จำนวน 81 คน เป็นโรคเบาหวาน จำนวน 39 คน โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 79 คน เป็นทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 37 คน โรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 4 คน โรคไต จำนวน 1 คน จากข้อมูลที่สำรวจพบผู้สูงอายุ จำนวน 82 คน มีค่าดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์มาตรฐาน (BMI) และกลุ่มอายุที่เตรียมการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ 45 ปีขึ้นไป มีค่าดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์มาตรฐาน (BMI) จำนวน 125 คน มีภาวะโรคอ้วนลงพุงซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของร่างกายร่วมกับปัจจัยอื่นๆ ก่อให้เกิดกลุ่มอาการเมตาบอลิก ได้แก่ การมีไขมันในเลือดผิดปกติ ความดันโลหิตสูง มีภาวะดื้อฮอร์โมนอินซูลิน นอกจากนี้ยังมีภาวะผิดปกติอื่นๆ ในกระแสโลหิตมีแนวโน้มให้เกิดการอักเสบในผนังหลอดเลือดและเกิดลิ่มเลือดแข็งตัวได้ง่าย จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพยาธิสภาพอย่างเงียบๆ ก่อให้เกิดโรคร้ายหลายอย่าง ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในระดับต้นๆ คือ โรคหลอดเลือดหัวใจ และสมองตีบ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ฉะนั้นจากข้อมูลเบื้องต้นเห็นได้ว่าปัญหาสำคัญของกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มที่กำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยคือปัญหาค่าดัชนีมวลกายเกินมาตรฐานตามเกณฑ์ที่ควรจะเป็น   จากปัญหาเบื้องต้น พบว่ามีสาเหตุสำคัญที่เกิดจาก คนในชุมชนยังขาดความรู้ความเข้าใจรวมถึงความตระหนักในการส่งเสริม ป้องกัน ดูแลสุขภาพ ของตัวเองและคนในครอบครัว สาเหตุที่เกิดจากพฤติกรรมบริโภค คือการกินไม่เป็นเวลา การบริโภคอาหารไม่ได้ตามหลักโภชนาการ อาหารที่ไม่เหมาะกับวัยผู้สูงอายุ กินอาหารที่ก่อให้เกิดหรือกระตุ้นการเกิดโรคต่างๆ เช่นการรับประทาน น้ำหวาน ของหวาน อาหารเค็ม ตลอดจนผู้สูงอายุไม่ได้ประกอบอาหารกินเอง ต้องอาศัยลูก หลาน หรือผู้ดูแลประกอบอาหารให้รับประทาน และครอบครัวผู้สูงอายุที่นิยมซื้ออาหารสำเร็จมารับประทาน พฤติกรรมที่สำคัญอีกอย่างคือพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน บางคนทำงานจนไม่มีเวลาดูแลสุขภาพ ไม่มีเวลาออกกำลังกายหรือการขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนไม่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องความเหมาะสมในการทำกิจกรรมทางกาย มีเวลาในการการพักผ่อนไม่เพียงพอ และสาเหตุที่เกิดจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมคือ คนส่วนใหญ่ในพื้นที่ชุมชนเป็นชุมชนที่นับถืออิสลามนิยมดื่มน้ำชากาแฟในตอนเช้าและตอนหัวค่ำ เห็นได้ว่าในชุมชนมีร้านรขายน้ำชา กาแฟ ร้านขายข้าวเหนียวไก่ทอดจำนวนมาก  ซึ่งเป็นวิถีชีวิต รวมถึงการประกอบอาชีพของผู้ดูแลผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 90 ทำให้ไม่มีเวลาประกอบอาหารให้ผู้สูงอายุ อีกทั้งในชุมชนไม่มีจุดรวมคนในการทำกิจกรรมทางกายหรือกิจกรรมการออกกำลังกายและขาดความพร้อมเรื่องอุปกรณ์การออกกำลังกาย รวมถึงสภาพบ้านเรือนที่อยู่อาศัยไม่เอื้ออำนวยต่อการทำกิจกรรมทางกาย ตลอดจนไม่มีกลไกการดูแล ติดตาม ประเมินผล ผู้สูงอายุ ที่เป็นระบบ ในส่วนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเชียด นำโดยเจ้าหน้าที่ และ อสม. รพ.สต.บ้านท่าเชียด ซึ่งยังขาดงบประมาณ บุคลากร อุปกรณ์และความต่อเนื่องในการติดตาม ส่งเสริมการปฏิบัติตนของผู้สูงอายุ   ซึ่งปัญหาดังกล่าวกำลังส่งผลกระทบต่อตัวผู้สูงอายุและครอบครัวรวมถึงชุมชนคือ ผลกระทบด้านสุขภาพ  คือผู้สูงอายุมีภาวะดัชนีมวลกายเกิน (BMI) จำนวน 82 คน ผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อ (NCD) จำนวน 81 คน  แยกออกเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 42 คน โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 79 คน ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 37 คน โรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 4 คน โรคไต จำนวน 1 คน ข้อเข่าเสื่อม จำนวน 12 คน ติดเตียง จำนวน 4 คน และเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 2 คน ด้านจิตใจผู้สูงอายุมีภาวะความเครียด ส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้า จำนวน 4 คน รวมถึงครอบครัวมีภาวะเครียด วิตกกังวล ต่อการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ด้านเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพ ครอบครัวต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการพาผู้สูงอายุไปพบแพทย์ เดือนละ 500 บาท ผู้สูงอายุและครอบครัว ผู้ดูแล สูญเสียรายได้ในการประกอบอาชีพ เดือนละ 1,000 บาท รวมถึงสถิติผู้ป่วยเรื้อรังมารับยาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเชียด จำนวน 58 คน งบประมาณค่าใช้จ่ายยาในบัญชียาหลักแห่งชาติของหน่วยงานที่ให้บริการแก่ผู้ป่วย จากการคำนวณอัตราค่ายาของหน่วยงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเชียด พบว่าที่จ่ายให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 8,500 บาท/เดือน หรือ 102,000 บาท/ปี รวมทั้งมีผู้ป่วยติดบ้าน  ติดเตียง หรือผู้ป่วยเรื้อรังที่มารับบริการเกี่ยวกับการทำความสะอาดบาดแผล ซึ่งมีค่าใช้จ่าย 2,800 บาท/เดือน  ในการจัดซื้ออุปกรณ์ทำแผลต่างๆ ด้านครอบครัวและสังคม ผู้สูงอายุขาดการดำเนินกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น ส่งผลให้ลดความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน พี่น้อง ญาติ หรือคนใกล้ชิด อีกทั้งผู้ดูแลผู้สูงอายุยังลดบทบาททางสังคม ความสัมพันธ์ เนื่องจากมีภาระในการดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยหรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลทั้งนี้ยังส่งผลกระทบ ทำให้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเชียด ที่มีหน้าที่ในการดูแลกลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องต้องเพิ่มภาระในการดูแลกลุ่มคนที่มีภาวะสุภาพที่ไม่พึงประสงค์ มีภาวะดัชนีมวลกายเกิน โรคอ้วน ทำให้มีผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ คือโรคหลอดเลือดหัวใจ    และสมองตีบ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไต สูงถึงร้อยละ 47.09 และเสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อ 3 ปีย้อนหลัง จำนวน 6 คน ดังนั้นชมรม อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเชียด จึงเห็นความสำคัญของปัญหาดัชนีมวลกายเกินค่ามาตรฐาน(BMI) ในกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่มีภาวะโรคNCD เพื่อป้องกันและลดอัตราการการป่วยด้วยโรคNCD และกลุ่มผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคNCD เดิมอยู่แล้วเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคNCD ถ้าหากภาวะดัชนีมวลกายเกินค่ามาตรฐาน(BMI) และไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ    ของผู้สูงอายุ ครอบครัว และเศรษฐกิจ
  ดังนั้นทางชมรม อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเชียด จึงขอเสนอโครงการส่งเสริมการปรับพฤติกรรมเพื่อแก้ปัญหาผู้สูงอายุที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินค่ามาตรฐานตามเกณฑ์ โดยมีความคาดหวังที่จะส่งเสริมให้ผู้สูงอายุและกลุ่มอายุที่เตรียมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ได้มีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย    การพักผ่อนนอนหลับ รวมถึงการสร้างกลไกการดูแลผู้สูงอายุ การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งสร้างพื้นที่สาธารณะในชุมชนให้แก่ผู้สูงอายุให้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำกิจกรรมทางสังคมได้อย่างสมบูรณ์ รวมทั้งมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมได้อย่างมีความสุขและเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดคณะทำงานที่มีประสิทธิภาพ
  1. คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจและความสามารถในบริหารจัดการโครงการอย่างน้อย 10 คน
  2. มีโครงสร้างคณะทำงานที่ชัดเจน
  3. มีคณะทำงานที่มาจากความหลากหลายในชุมชน
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  1. มีชุดข้อมูลสุขภาพและข้อมูลพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย (ก่อนดำเนินโครงการและหลังดำเนินโครงการ)
  2. กลุ่มเป้าหมายมีการวางแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพรายบุคคล
3 เพื่อเกิดกลไกในการติดตามประเมินผลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  1. มีแผนดำเนินงานกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ
  2. มีการติดตามประเมินผลอย่างน้อย 2 ครั้ง
4 เพื่อสนับสนุนให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  1. มีจุดทำกิจกรรมผู้สูงอายุ อย่างน้อย  2 จุด
  2. มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรม อย่างน้อย 1 กลุ่ม
  3. มีกติกาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
5 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการดูแลสุขภาพให้เพิ่มขึ้น
  1. กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์เพิ่มขึ้นอย่างน้อย ร้อยละ 70
6 เพื่อให้การบริหารจัดการโครงการบรรลุเป้าหมาย
  1. เข้าร่วมกิจกรรมที่แผ่นงานจัด 100%
  2. สามารถจัดร่างรายงานต่างๆได้ตามกำหนด
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 25
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่ 25 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 682 75,000.00 1 500.00
20 มิ.ย. 67 กิจกรรมปฐมนิเทศโครงการ 3 500.00 500.00
31 ก.ค. 67 ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 1 15 1,250.00 -
2 ส.ค. 67 อบรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน 15 4,500.00 -
5 ส.ค. 67 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน 3 2,250.00 -
9 ส.ค. 67 ประชุมเปิดโครงการทำความเข้าใจชุมชน 50 4,800.00 -
14 ส.ค. 67 ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 2 15 1,250.00 -
29 ส.ค. 67 จัดเก็บข้อมูลสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย 50 3,750.00 -
10 ก.ย. 67 อบรมให้ความรู้เรื่องโภชนการที่ดี ลดหวาน มัน เค็ม การออกกำลังกาย และการพักผ่อนนอนหลับ 70 14,400.00 -
20 ก.ย. 67 ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 3 15 1,250.00 -
4 ต.ค. 67 ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ครั้งที่ 1 15 450.00 -
7 ต.ค. 67 กิจกรรมประชุมออกแบบแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 70 13,800.00 -
21 ต.ค. 67 ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 4 15 1,250.00 -
31 ต.ค. 67 ประชุมจัดตั้งกลุ่มกิจกรรมและร่างกติกาของผู้สูงอายุ รพ.สต.บ้านท่าเชียด 50 2,300.00 -
8 พ.ย. 67 กิจกรรมออกกำลังกายด้วยยางยืด 70 4,400.00 -
11 พ.ย. 67 ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 5 15 1,250.00 -
12 พ.ย. 67 กิจกรรมติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ( ARE ) ระดับแผนงานร่วมทุน ครั้งที่ 1 3 1,000.00 -
15 พ.ย. 67 ส่งเสริมกิจกรรมทางกายและปรับภูมิทัศน์ลานกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ 30 4,200.00 -
28 พ.ย. 67 กิจกรรมออกกำลังด้วยผ้าขาวม้า 70 3,600.00 -
6 ธ.ค. 67 เยี่ยมผู้สูงอายุที่บ้าน 15 900.00 -
13 ธ.ค. 67 ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 6 15 1,250.00 -
13 ม.ค. 68 ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 7 15 1,250.00 -
12 ก.พ. 68 ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 8 15 1,250.00 -
19 ก.พ. 68 กิจกรรมติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ( ARE ) ระดับแผนงานร่วมทุน ครั้งที่ 2 3 1,200.00 -
3 มี.ค. 68 ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ครั้งที่ 2 15 450.00 -
7 มี.ค. 68 ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 9 15 1,250.00 -
24 มี.ค. 68 ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 10 15 1,250.00 -
  1. เกิดคณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจในโครงการ คณะทำงานมีศักยภาพในการทำงานโครงการ
  2. มีชุดข้อมูลสุขภาพกลุ่มเป้าหมาย ก่อนดำเนินโครงการและหลังดำเนินโครงการ กลุ่มเป้าหมายมีการออกแบบแผนการปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันรายบุคคล
  3. มีแผนดำเนินงานกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ มีกิจกรรมทางกายอย่างน้อย 2 กิจกรรม
  4. มีการปรับภูมิทัศน์ลานกิจกรรมผู้สูงอายุ อย่างน้อย 2 จุด มีอุปกรณ์ทำกิจกรรมทางกายอย่างน้อย 2 ชนิด
  5. มีแผนการติดตาม ประเมินผล อย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ครั้ง มีคณะทำงานติดตาม ประเมินผล อย่างน้อย 10 คน
  6. มีกลุ่มเป้าหมายจำนวนอย่างน้อยร้อยละ 70% มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์เพิ่มขึ้น
stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2567 10:52 น.