directions_run

โครงการผู้สูงอายุสุขภาพจิตดี ชีวีมีสุข ที่รพ.สต.บ้านควนเล้าเป็ด

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้สูงอายุสุขภาพจิตดี ชีวีมีสุข ที่รพ.สต.บ้านควนเล้าเป็ด
ภายใต้โครงการ ร่วมทุน อบจ.พัทลุง ปี 2567
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 67-00199-022
วันที่อนุมัติ 15 มิถุนายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มิถุนายน 2567 - 15 เมษายน 2568
งบประมาณ 75,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่านควนเล้าเป็ด
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพนา คุ่มเคี่ยม
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0810934432
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ pana25131@hotmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาววิไลวรรณ เกื้อสัง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองใหญ่ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.279805,100.123558place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 มิ.ย. 2567 15 พ.ย. 2567 37,500.00
2 16 พ.ย. 2567 15 มี.ค. 2568 30,000.00
3 16 มี.ค. 2568 16 เม.ย. 2568 7,500.00
รวมงบประมาณ 75,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนเล้าเป็ด ตั ้งอยู ่ หมู ่ที ่ 7 บ้านห้วยตอ ต.คลองใหญ่ อ.ตะโหมด จ.พัทลุง พื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 2 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ที่ 6 บ้านพรุนายขาว และ หมู่ที่ 7 บ้านห้วยตอ ต.คลองใหญ่ อ.ตะโหมด จ.พัทลุง จำนวนครัวเรือน 432 คร
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนเล้าเป็ด ตั้งอยู่ หมู่ที่ 7 บ้านห้วยตอ ต.คลองใหญ่ อ.ตะโหมด
จ.พัทลุง พื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 2 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ที่ 6 บ้านพรุนายขาว และ หมู่ที่ 7 บ้านห้วยตอ
ต.คลองใหญ่ อ.ตะโหมด จ.พัทลุง จำนวนครัวเรือน 432 ครัวเรือน มีประชากรรวมทั้งสิ้น 1,247 คน แยกเป็นประชากรเพศชาย 647 คน ประชากรเพศหญิง 600 คน นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 100 แบ่งประชากรตามช่วงอายุ กลุ่มอายุ 0-14 ปี จำนวน 200 คน กลุ่มอายุ 15-24 ปี จำนวน 221 คน กลุ่มอายุ 25-44 ปี จำนวน 311 คน กลุ่มอายุ 45-59 ปี จำนวน 275 คน และกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 240 คน จากการสำรวจเก็บข้อมูลสุขภาพอนามัยเบื้องต้นของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนเล้าเป็ด พบว่า ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวน 240 คน พบว่าผู้สูงอายุติดเตียง 4 คน ติดบ้าน 18 คน ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อ (NCD) จำนวน 57 คน แยกออกเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 35 คน โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 20 คน ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 37 คน โรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 6 คน โรคซึมเศร้า จำนวน 2 คน จากการคัดกรองความเครียดในผู้สูงอายุ จำนวน 240 คน พบว่ามีปัญหาด้านความเครียดทั้งหมด จำนวน 54 คน และมีความเครียดสูง จำนวน 12 คน และได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ตรวจเยี่ยมผู้สูงอายุพบว่าสภาพอาการที่เกิดขึ้นของกลุ่มผู้ป่วยคือนอนหลับไม่สนิท หลับไม่เป็นเวลา เบื่ออาหาร อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล หวาดระแวง หรือรู้สึกไร้คุณค่าในตัวเอง จะเห็นได้ว่าจากข้อมูลของรพ.สต.บ่งชี้ว่าภาวะความเครียดในกลุ่มผู้สูงอายุกำลังเพิ่มความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำไปสู้โรคซึมเศร้าในอนาคตได้ อีกทั้งปัญหาดังกล่าวทางรพ.สต.และชุมชนยังไม่มีกระบวนการในการส่งเสริมสุขภาพให้กับกลุ่มคนในพื้นที่ที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน   จากปัญหาดังกล่าวของผู้สูงอายุ คณะทำงานค้นพบว่ามีสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาคือ
1.ความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายส่วนตัวที่ส่งผลต่อสุขภาพคือร่างกายมีความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ เช่น ความจำแย่ลง การได้ยินลดลง สายตาแย่ลง มีข้อจำกัด ในการเคลื่อนไหวร่างกายทำให้ช่วยตัวเองไม่ได้ รวมถึงภาวะการเจ็บป่วยเรื้อรังทำให้ผู้สุงอายุจำต้องพึ่งพาคนอื่นความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์และจิตใจ ซึ่งผู้สูงอายุ ส่วนมากผู้สูงอายุจะรู้สึกว้าเหว่และมีความวิตกกังวลกลัวถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับการดูแลความอบอุ่นจากลูกหลานและคนในครอบครัวทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า ขี้น้อยใจ โมโหง่ายและเอาแต่ใจตัวเอง เนื่องจากสถานะที่เปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยทำงานมีรายได้มีสถานะเป็นผู้นำของครอบครัวให้คนอื่นพึ่งพิงได้ต้องกลับมาเป็นผู้ที่ต้องรับความช่วยเหลือจากคนในครอบครัว 2.เกิดจากสภาพแวดล้อมคือทางด้านสังคม ในปัจจุบันผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทำให้ผู้ที่อยู่ในวัยทำงานจะต้องทำงานมากขึ้นและต้องรับภาระดูแลผู้สูงอายุในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น บางครั้งอาจทำให้ผู้สูงอายุขาดความอบอุ่นหรืออาจถูกทอดทิ้งได้ รวมทั้งการมีบทบาททางสังคมลดลง ที่ทำให้ผู้สูงอายุเสียความมั่นใจในชีวิต หมดความสำคัญ ไร้คุณค่า 3.ปัญหาที่เกิดจากสภาพเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุที่มีสวัสดิการ เช่น บำเหน็จ บำนาญ ประกันสังคม ประกันชีวิต ฯลฯ สามารถนำเงินที่ได้มาใช้จ่ายประคับประคองชีวิตในวัยสูงอายุได้ ค่าใช้จ่ายของผู้สูงอายุจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมากสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่ได้วางแผนการใช้จ่ายเงินไว้ล่วงหน้าอาจทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจได้     จากปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน พบว่าส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุทั้งทางตรงและทางอ้อม คือ
1.ส่งผลต่อสุขภาพทางกายคือ ผู้สูงอายุภาวะดัชนีมวลกายเกิน (BMI) จำนวน 49 คน ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อ (NCD) จำนวน 57 คน โรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 6 คน 2.ส่งผลต่อสุขภาพด้านจิตใจ ผู้สูงอายุจะรู้สึกว้าเหว่และมีความวิตกกังวลกลัวถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับการดูแลความอบอุ่นจาลูกหลานและคนในครอบครัวทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า ขี้น้อยใจ โมโหง่ายและเอาแต่ใจตัวเอง เนื่องจากสถานะที่เปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยทำงานมีรายได้มีสถานะเป็นผู้นำของครอบครัวให้คนอื่นพึ่งพิงได้ต้องกลับมาเป็นผู้ที่ต้องรับความช่วยเหลือจากคนในครอบครัว ผู้สูงอายุมีภาวะความเครียด ที่ส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้า จำนวน 2 คน มีภาวะความเครียด จำนวน 54 คน และมีภาวะความเครียดสูง จำนวน 12 คน รวมถึงครอบครัวมีภาวะความเครียด ความวิตกกังวล จากการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น
3. ด้านเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพ ครอบครัวต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการพาผู้สูงอายุไปพบแพทย์ ประมาณเดือนละ 500 บาท ผู้สูงอายุและครอบครัว หรือผู้ดูแล สูญเสียรายได้ในการประกอบอาชีพ เดือนละ 1,000 บาท รวมถึงสถิติผู้ป่วยเรื้อรังมารับยาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนเล้าเป็ด จำนวน 57 คน งบประมาณค่าใช้จ่ายยาในบัญชียาหลักแห่งชาติของหน่วยงานที่ให้บริการแก่ผู้ป่วย จากการคำนวณอัตราค่ายาของหน่วยงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนเล้าเป็ด พบว่าที่จ่ายให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังประมาณ 8,000 บาท/เดือน หรือ 96,000 บาท/ปี รวมทั้งมีผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง หรือผู้ป่วยเรื้อรังที่มารับบริการเกี่ยวกับการทำความสะอาดบาดแผล ซึ่งมีค่าใช้จ่ายประมาณ 2,000 บาท/เดือน ในการจัดซื้ออุปกรณ์ทำแผลต่างๆ
3. ด้านสังคม เรื่องความนับหน้าถือตาที่ผู้สูงอายุเคยได้รับการยกย่องและนับถือเมื่อตอนที่ยังทำงานอยู่ เมื่อออกจากงานมาแล้วสิ่งที่เคยได้รับก็หายไปด้วยทั้ง อำนาจ ชื่อเสียง ความนับหน้าถือตา การยกย่อง ทำให้รู้สึกเหมือนว่าตนเองไม่มีความสำคัญอีกต่อไป จากปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบทำให้ผู้สูงอายุในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนเล้าเป็ดจำเป็นที่จะต้องได้รับการจัดการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมต่างๆ ถ้าหากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ ครอบครัวหรือผู้ดูแล และชุมชน ดังนั้นทางคณะทำงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนเล้าเป็ด จึงขอจัดทำโครงการผู้สูงอายุสุขภาพจิตดี ชีวีมีสุข โดยการสร้างความรู้ให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ดูแล โดยมีความคาดหวังว่าจะส่งผลต่อการพัฒนากลไกการช่วยเหลือในระดับพื้นที่ เพื่อให้ผู้สูงอายุรู้เท่าทันและจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้ ผู้ดูแลมีทักษะในการสังเกต เฝ้าระวัง ดูแลผู้สูงอายุได้อย่างทันท่วงทีและมีกลไกช่วยเหลือเบื้องต้นในระดับพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาด้านความเครียดในผู้สูงอายุและผู้ดูแล ซึ่งเป็นแนวทางที่จะทำให้ผู้สูงอายุในเขตการให้บริการของ รพ.สต.บ้านควนเล้าเป็ดเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดคณะทำงานที่มีประสิทธิภาพ
  1. มีคณะทำงานอย่างน้อย 7คน
  2. มีโครงสร้างคณะทำงานที่ชัดเจน
  3. มีคณะทำงานมาจากตัวแทน ทุกภาคส่วนในชุมชน
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ใน การดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยน พฤติกรรม
  1. มีแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรายบุคคล
  2. มีชุดข้อมูลด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุมากกว่า 1 ชุด
  3. มีแผนการปรับสภาพแวดล้อมชุมชน
3 เพื่อสร้างและพัฒนากลไกการทำงาน เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุด้าน สุขภาพจิตอย่างมีประสิทธิภาพและ ต่อเนื่อง
  1. มีคณะทำงานให้คำปรึกษาและติดตามประเมินผลอย่าง น้อย 10 คน
  2. มีแกนนำด้านสุขภาพจิต อย่างน้อย 10 คน
  3. มีการติดตามประเมินจำนวน 2 ครั้ง
4 เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่ เอื้อต่อการดูแลและปรับเปลี่ยน พฤติกรรม
  1. มีจุดรวมกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน อย่างน้อย 2 จุด
  2. มีการรวมกลุ่มกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างน้อย 2
    กลุ่ม
5 เพื่อให้ผู้สูงอายุเกิดการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมและการบริหารจัดการ อารมณ์ที่พึงประสงค์เพิ่มขึ้น
  1. ผู้สูงอายุเข้าร่วมทำกิจกรรมสร้างสรรค์ต่อเนื่องอย่างน้อย
    60 วัน มีจำนวนอย่างน้อยร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย
6 เพื่อให้การบริหารการจัดการโครงการบรรลุเป้าหมาย
  1. เข้าร่วมกิจกรรมที่แผนงานจัด 100 %
  2. สามารถจัดส่งรายงานต่างๆได้ตามกำหนด
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 70
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายรอง ได้แก่ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และกลุ 20 -
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ ผู้สูงอายุที่อยู่ในกลุ่ม 50 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67ต.ค. 67พ.ย. 67ธ.ค. 67ม.ค. 68ก.พ. 68มี.ค. 68เม.ย. 68
1 ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ร่วมทำโครงการ/คณะทำงาน พี่เลี้ยงโครงการ และโค๊ชโครงการ ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ(15 มิ.ย. 2567-15 เม.ย. 2568) 5,000.00                      
2 ประชุมคณะทำงาน(15 มิ.ย. 2567-15 เม.ย. 2568) 5,000.00                      
3 พัฒนาศักยภาพคณะทำงาน(4 ก.ค. 2567-12 ก.ค. 2567) 1,950.00                      
4 ประชุมเปิดโครงการ(30 ก.ค. 2567-30 ก.ค. 2567) 2,900.00                      
5 เวทีพัฒนาเครื่องมือแบบสำรวจข้อมูลสุขภาพ(8 ส.ค. 2567-8 ส.ค. 2567) 3,800.00                      
6 จัดเก็บข้อมูลสุขภาพ(12 ส.ค. 2567-26 ส.ค. 2567) 1,000.00                      
7 อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการความเครียด(5 ก.ย. 2567-5 ก.ย. 2567) 15,750.00                      
8 อบรมให้ความรู้ เทคนิคการให้คำปรึกษาและติดตามประเมินผล(25 ก.ย. 2567-25 ก.ย. 2567) 2,300.00                      
9 จัดตั้งคณะทำงานให้คำปรึกษาและติดตามประเมินผล(8 ต.ค. 2567-8 ต.ค. 2567) 1,100.00                      
10 ประชุมทำแผนการให้คำปรึกษาและติดตามประเมินผล(16 ต.ค. 2567-16 ต.ค. 2567) 1,100.00                      
11 ติดตามประเมินผล(7 พ.ย. 2567-7 พ.ย. 2567) 7,500.00                      
12 กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์(12 ธ.ค. 2567-12 ธ.ค. 2567) 20,200.00                      
13 ปรับทัศนียภาพจุดรวมทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์(8 ม.ค. 2568-8 ม.ค. 2568) 2,800.00                      
14 สรุปบทเรียนการทำงาน(13 มี.ค. 2568-13 มี.ค. 2568) 4,000.00                      
15 ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)(17 มี.ค. 2568-9 เม.ย. 2568) 600.00                      
รวม 75,000.00
1 ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ร่วมทำโครงการ/คณะทำงาน พี่เลี้ยงโครงการ และโค๊ชโครงการ ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 3 5,000.00 0 0.00
15 มิ.ย. 67 - 15 เม.ย. 68 กิจกรรมปฐมนิเทศโครงการ 3 5,000.00 -
2 ประชุมคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 5,000.00 0 0.00
24 ก.ค. 67 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 10 500.00 -
14 ส.ค. 67 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 10 500.00 -
11 ก.ย. 67 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 10 500.00 -
16 ต.ค. 67 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 10 500.00 -
13 พ.ย. 67 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 5 10 500.00 -
18 ธ.ค. 67 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 6 10 500.00 -
16 ม.ค. 68 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 7 10 500.00 -
20 ก.พ. 68 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 8 10 500.00 -
5 มี.ค. 68 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 9 10 500.00 -
10 เม.ย. 68 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 10 10 500.00 -
3 พัฒนาศักยภาพคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 1,950.00 0 0.00
17 ก.ค. 67 พัฒนาศักยภาพคณะทำงาน 15 1,950.00 -
4 ประชุมเปิดโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 80 2,900.00 0 0.00
30 ก.ค. 67 เปิดโครงการ 80 2,900.00 -
5 เวทีพัฒนาเครื่องมือแบบสำรวจข้อมูลสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 3,800.00 0 0.00
8 ส.ค. 67 เวทีพัฒนาเครื่องมือแบบสำรวจข้อมูลสุขภาพ 20 3,800.00 -
6 จัดเก็บข้อมูลสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 1,000.00 0 0.00
15 ส.ค. 67 จัดเก็บข้อมูลสุขภาพ 60 1,000.00 -
7 อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการความเครียด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 65 15,750.00 0 0.00
5 ก.ย. 67 อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการความเครียด 65 15,750.00 -
8 อบรมให้ความรู้ เทคนิคการให้คำปรึกษาและติดตามประเมินผล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 2,300.00 0 0.00
26 ก.ย. 67 อบรมให้ความรู้ เทคนิคการให้คำปรึกษาและติดตามประเมินผล 20 2,300.00 -
9 จัดตั้งคณะทำงานให้คำปรึกษาและติดตามประเมินผล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 1,100.00 0 0.00
9 ต.ค. 67 จัดตั้งคณะทำงานให้คำปรึกษาและติดตามประเมินผล 20 1,100.00 -
10 ประชุมทำแผนการให้คำปรึกษาและติดตามประเมินผล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 1,100.00 0 0.00
17 ต.ค. 67 ประชุมทำแผนการให้คำปรึกษาและติดตามประเมินผล 20 1,100.00 -
11 ติดตามประเมินผล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 210 7,500.00 0 0.00
7 พ.ย. 67 ติดตามประเมินผล ครั้งที่ 1 70 2,500.00 -
11 ธ.ค. 67 ติดตามประเมินผล ครั้งที่ 2 70 2,500.00 -
8 ม.ค. 68 ติดตามประเมินผล ครั้งที่ 3 70 2,500.00 -
12 กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 65 20,200.00 0 0.00
12 ธ.ค. 67 กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ 65 20,200.00 -
13 ปรับทัศนียภาพจุดรวมทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 2,800.00 0 0.00
8 ม.ค. 68 ปรับทัศนียภาพจุดรวมทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ 20 2,800.00 -
14 สรุปบทเรียนการทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 80 4,000.00 0 0.00
13 มี.ค. 68 สรุปบทเรียนการทำงาน 80 4,000.00 -
15 ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 130 600.00 0 0.00
17 มี.ค. 68 ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ครั้งที่ 1 60 300.00 -
2 เม.ย. 68 ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ครั้งที่ 2 70 300.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพจิต การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการบริหารจัดการอารมณ์ที่พึงประสงค์ได้
  2. ผู้ดูแลมีทักษะด้านการดูแลและสังเกตผู้สูงอายุด้านสุขภาพจิตที่มีประสิทธิภาพ
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2567 10:54 น.