directions_run

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ โรงเรียนวัดตะโหมด

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ โรงเรียนวัดตะโหมด
ภายใต้โครงการ ร่วมทุน อบจ.พัทลุง ปี 2567
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 67-00199-023
วันที่อนุมัติ 15 มิถุนายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มิถุนายน 2567 - 15 เมษายน 2568
งบประมาณ 75,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะโหมด
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.ปราณี ดำเม็ง
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 087-286-0586
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ pranee_mang@hotmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางขนิษฐา จันทร์ดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.2892992982725,100.05147263254place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 มิ.ย. 2567 15 พ.ย. 2567 37,500.00
2 16 พ.ย. 2567 15 มี.ค. 2568 30,000.00
3 16 มี.ค. 2568 16 เม.ย. 2568 7,500.00
รวมงบประมาณ 75,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 นักเรียนโรงเรียนวัดตะโหมด (หมุนคณานุสรณ์) ที่มีภาวะท้วม/เริ่มอ้วน/อ้วน
40.00
2 เด็กนักเรียน ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ครู แม่ครัว โรงเรียนวัดตะโหมด
120.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงเพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะโหมด สังกัดกองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 9 บ้านป่าพงศ์ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง มีหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบทั้งสิ้น 6 หมู่บ้าน โรงเรียนในเขตรับผิดชอบ จำนวน 1 โรง คือ โรงเรียนวัดตะโหมด (หมุนคณานุสรณ์) ซึ่งเป็นโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตั้งอยู่เลขที่ 6 หมู่ที่ 4 ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา พัทลุง เขต 2 ก่อตั้งในที่ดินธรณีสงฆ์ ในปี พ.ศ.2500 มีนายวิสุทธิ์ ทองช่วย ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน มีบุคลากรครู จำนวน 13 คน แบ่งเป็นเพศชาย 3 คน และเพศหญิง 10 คน จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้น อนุบาลปีที่ 2 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วย 8 ห้องเรียน มีนักเรียนรวมกันทั้งสิ้น 122คน โดยแบ่งเป็นเพศชาย 75 คน เพศหญิง 47 คน มีสภาพแวดล้อมในชุมชนเป็นพื้นที่ลุ่มและสภาพภูมิประเทศติดต่อกับเทือกเขาบรรทัด มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ฝนชุกตลอดปี พีชเศรษฐกิจหลัก คือ ข้าว ยางพารา และผลไม้ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้างกรีดยางเป็นหลัก มีฐานะค่อนข้างยากจน รายได้ต่อครัวเรียนอยู่ที่ 6,000 – 9,000 บาทต่อครัวเรือน มีพฤติกรรมด้านการบริโภค คือ นิยมซื้ออาหารสำเร็จรูป เช่น บะหมี่ผัด ข้าวเหนียวไก่ทอดมาทาน เพราะสะดวกและหาซื้อได้ง่าย อีกทั้งยังพบว่า มีร้านค้า จำหน่ายน้ำอัดลม น้ำหวาน และขนมกรุบกรอบในพื้นที่ ทำให้เด็กเข้าถึงอาหารที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ได้ง่าย ในส่วนของการบริการทางด้านสาธารณสุขจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะโหมด ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสุขภาพนักเรียน ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง รอบศีรษะ ตรวจร่างกาย ตรวจหูและการได้ยิน ตรวจสายตานักเรียนชั้น ป1.ตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนโดยทันตาภิบาล เทอมละ 1 ครั้งและ มีระบบส่งต่อนักเรียนที่พบความผิดปกติเพื่อรักษาต่อเนื่อง ณ โรงพยาบาลตะโหมดต่อไป ในส่วนของการบริการด้านอาหารกลางวันนั้น โรงเรียนวันตะโหมดใช้วิธีการจ้างเหมาแม่ครัวมาประกอบอาหารให้แก่นักเรียน โดยทางโรงเรียนจะเป็นผู้กำหนดเมนูอาหารกลางวันโดยใช้โปรแกรม School lunch ของกระทรวงศึกษาธิการ และโรงเรียนจัดซื้อวัตถุดิบสำหรับประกอบอาหารกลางวันของนักเรียนเอง โดยแหล่งโปรตีนหลักที่นำมาประกอบอาหาร คือ เนื้อไก่ ปลา และกุ้ง ซึ่งทางโรงเรียนได้จัดซื้อมาจากตลาดสดในตัวอำเภอซึ่งไม่ทราบที่มาที่ไป อีกทั้งยังพบว่างบประมาณค่าอาหารกลางวันรายหัวที่ได้รับมาจากส่วนกลางเฉลี่ยรายละ 22-23 บาท ซึ่งไม่เพียงพอต่อการจัดการอาหารกลางวันให้ครบถ้วนถูกต้องตามหลักโภชนาการ
จากการตรวจคัดกรองสุขภาพนักเรียน ปีการศึกษา 2566 ที่ผ่านมา พบว่า นักเรียน ของโรงเรียนวัดตะโหมด ที่ได้รับการคัดกรองโภชนาการในปีการศึกษา 2566 จำนวน 106 คน พบเด็กที่มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน จำนวน 67 คน คิดเป็นร้อยละ 63.20 โดยแยกเป็นเพศชาย 41 คน คิดเป็นร้อยละ 61.20 และเพศหญิง 26 คน คิดเป็นร้อยละ 38.80 นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการผอม/ค่อนข้างผอมจำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 5.66 เพศชาย 2 คน คิดเป็นร้อยละ 33.33 เพศหญิง 4 คน คิดเป็นร้อยละ 66.67 นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการท้วม จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 10.37 โดยแบ่งเป็นเพศชาย 6 คน คิดเป็นร้อยละ 54.54 เพศหญิง 3 คน คิดเป็นร้อยละ 45.46 และพบว่ามีนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเริ่มอ้วน/อ้วน จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 20 โดยแบ่งเป็นเพศชาย 18 คน คิดเป็นร้อยละ 81.82 และเพศหญิง 4 คน คิดเป็นร้อยละ 18.18 จากปัญหาดังกล่าว ทางชมรม อสม. รพ.สต.บ้านตะโหมด วิเคราะห์แล้วพบว่า พฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ปกครองและเด็กมีส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาโภชนาการในกลุ่มนักเรียนโรงเรียนวัดตะโหมด โดยปัญหาที่พบหลักๆ คือ เด็กกินผักและผลไม้ไม่เพียงพอตามหลักโภชนาการที่ควรได้รับตามช่วงวัย เด็กกินขนมกรุบกรอบหรือขนมที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ มากกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์ และเด็กมีพฤติกรรมชอบดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เนื่องจากเด็กขาดความรู้ความเข้าใจในการเลือกกินอาหารตามหลักโภชนาการ และผู้ปกครองส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องโภชนาการของเด็กวัยเรียน ทำให้ไม่สามารถส่งเสริมให้เด็กมีพฤติกรรมด้านอาหารและโภชนาการที่เหมาะสมกับวัย ปัญหาสภาพแวดล้อมทางสังคมคือ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้างกรีดยางเป็นหลัก มีฐานะค่อนข้างยากจน บางส่วนบิดาและมารดาแยกทางกัน เด็กต้องอาศัยอยู่กับปู่ย่า ตายาย ซึ่งต้องรับภาระเลี้ยงลูกบุตรหลานหลายคน และต้องหาเลี้ยงชีพควบคู่ไปด้วย ทำให้ไม่มีเวลามากพอประกอบอาหารตามหลักโภชนาการให้บุตรหลานรับประทาน นิยมซื้ออาหารสำเร็จรูปเช่นบะหมี่ผัด หรือข้าวเหนียวไก่ทอดจากตลาดนัด เพราะสะดวกและประหยัดเวลา เด็กจึงเคยชินกับการรับประทานของทอด ของมัน และอาหารสำเร็จรูป โดยไม่ได้ตระหนักว่า อาหารประเภทนี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว อีกทั้ง นโยบายอาหารกลางวันของทางภาครัฐไม่สามารถแก้ปัญหาโภชนาการได้อย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากงบประมาณที่จัดสรรเป็นค่าอาหารกลางวันไม่เพียงพอในการจัดอาหารตามหลักโภชนาการ
จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ส่งผลกระทบในเชิงสุขภาพต่อตัวเด็ก คือ เด็กป่วยบ่อยขึ้น จากสถิติการลาของนักเรียนในปีการศึกษา 2566 พบว่า เด็กที่ภาวะอ้วน ลาป่วย 10-14 วัน/ภาคเรียน ขาดความต่อเนื่องในการเรียน เรียนไม่ทันเพื่อน เกิดภาวะเครียด และไม่อยากมาเรียน จำนวน 2 คน และผลการตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียน ปีการศึกษา 2566 ที่ผ่านมา พบว่า เด็กที่มีภาวะอ้วน เริ่มมีผลกระทบกับสุขภาพช่องปาก คือ มีฟันผุ และมีหินน้ำลาย จำนวน 22 คน และยังพบอีกว่าพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวในเด็กที่มีภาวะท้วม/เริ่มอ้วน/อ้วน มีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวล่าช้า สมรรถภาพนักเรียนไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ผลการทดสอบสมรรถภาพในนักเรียนปีงบประมาณที่แล้ว เด็กอ้วนจำนวน 29 คน ทดสอบสมรรถภาพแล้วต่ำกว่าเกณฑ์ 25 คน คิดเป็นร้อยละ 86.20 ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจแก่ผู้ปกครอง คือ ผู้ปกครองมีค่าใช้จ่ายเรื่องเครื่องแต่งกายนักเรียนเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเด็กที่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในแต่ละปี ทำให้ผู้ปกครองต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องแต่งกายใหม่ทุกปี จำนวน 2,000 บาท/คน/ปี นอกจากนี้ ผู้ปกครองยังมีค่าใช้จ่ายด้านอาหารที่ไม่เกิดประโยชน์เพิ่มมากขึ้น กรณีเด็กเจ็บป่วย ผู้ปกครองต้องหยุดงานเพื่อพาเด็กไปรักษา และมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางปีละ 2,400 บาท ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั้นล้วนเป็นผลกระทบมาจากปัญหาภาวะโภชนาการทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่าปัญหาเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน ในโรงเรียนวัดตะโหมด ส่งผลกระทบมากมายทั้งต่อสุขภาพของเด็ก และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของผู้ปกครอง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะโหมด และโรงเรียนวัดตะโหมด จึงเล็งเห็นว่า ปัญหานี้มีความเร่งด่วน หากไม่ดำเนินการแก้ปัญหาจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาว เนื่องจากเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินจะเติบโตไปเป็นกลุ่มวัยทำงานที่มีภาวะโภชนาการเกิน ก่อให้เกิดโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ ในอนาคต ทำให้รัฐต้องเสียงบประมาณดูแลค่าใช้จ่ายเรื่องยาและค่ารักษาโรคเพิ่มขึ้น อีกทั้ง มีความรุนแรงของโรคเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากป่วยตั้งแต่อายุยังน้อย ในการนี้ ชมรม อสม.รพ.สต.จึงเสนอโครงการนี้ฯ เพื่อขออนุมัติงบประมาณจากแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดพัทลุง เพื่อจัดทำโครงการตามวัตถุประสงค์ต่อไป คาดว่าเมื่อดำเนินกิจกรรมตามโครงการนี้แล้ว จะทำให้เด็กในโรงเรียนวัดตะโหมดมีภาวะโภชนาการดีขึ้นต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดคณะทำงานร่วมในการปรับเปลี่ยนภาวะโภชนาการนักเรียน

1.เกิดคณะทำงานปรับเปลี่ยนภาวะโภชนาการนักเรียนที่มาจากภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วน และมีการแบ่งบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน 2. เกิดกองทุนอาหารเช้าในโรงเรียน

2.00
2 เพื่อให้เด็ก ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ครู และแม่ครัว เกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องโภชนาการและพัฒนาการตามวัยของเด็ก
  1. มีข้อมูลสุขภาพและพฤติกรรมเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน
  2. มีแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย
  3. มีการบันทึกแผนการปรับเปลี่ยนเป็นรายบุคคล
  4. มีแผนโภชนาการเด็กในโรงเรียน
4.00
3 เพื่อเกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับพฤติกรรมสุขภาพของเด็ก
  1. มีแปลงผักปลอดภัยในโรงเรียน จำนวน 1 แปลง
  2. มีการเลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์ จำนวน 1 บ่อ
  3. มีบันทึกความร่วมมือเรื่องอาหารและการปรับพฤติกรรมร่วมกัน ระหว่างชุมชนกับโรงเรียน
  4. มีกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายตามความสนใจของนักเรียน
4.00
4 เพื่อเกิดกลไกการติดตามประเมินผลการปรับพฤติกรรม

1.มีการติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ  อย่างน้อย 2 ครั้ง
2. เกิดต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในโรงเรียน

2.00
5 เพื่อให้เด็กมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น
  1. สัดส่วนน้ำหนักลดลง อย่างน้อยร้อยละ10
  2. มีพฤติกรรมการกินและการออกกำลังกายดีขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 80
2.00
6 เพื่อให้การบริหารจัดการโครงการฯบรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้

1.เข้าร่วมกิจกรรมที่แผนงานฯจัด 100% 2.สามารถจัดส่งรายงานต่างๆ ได้ตามกำหนด

2.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 160
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
นักเรียนโรงเรียนวัดตะโหมด (หมุนคณานุสรณ์) ที่มีภาว 40 -
เด็กนักเรียน ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ครู แม่ครัว โรง 120 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67ต.ค. 67พ.ย. 67ธ.ค. 67ม.ค. 68ก.พ. 68มี.ค. 68เม.ย. 68
1 ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ร่วมทำโครงการ/คณะทำงาน พี่เลี้ยงโครงการ และโค๊ชโครงการ ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ(15 มิ.ย. 2567-15 เม.ย. 2568) 5,000.00                      
2 พิธีเปิดโครงการ ชี้แจงโครง และค้นหาคณะกรรมการทำงานร่วม(2 ก.ค. 2567-12 ก.ค. 2567) 5,200.00                      
3 ประชุมคณะทำงานสร้างเสริมภาวะโภชนาการนักเรียน(2 ก.ค. 2567-15 เม.ย. 2568) 2,700.00                      
4 แปลงผักปลอดสารพิษ(7 ก.ค. 2567-15 เม.ย. 2568) 3,000.00                      
5 เลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์(7 ก.ค. 2567-15 เม.ย. 2568) 7,100.00                      
6 เก็บข้อมูลสุขภาพและข้อมูลพฤติกรรมด้านสุขภาพของนักเรียนและครอบครัว(15 ก.ค. 2567-22 ก.ค. 2567) 3,900.00                      
7 จัดทำแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายแบบมีส่วนร่วม(31 ก.ค. 2567-31 ก.ค. 2567) 7,400.00                      
8 ส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกายตามความถนัด(1 ส.ค. 2567-15 เม.ย. 2568) 3,000.00                      
9 จัดประชุมชี้แจงแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม(7 ส.ค. 2567-7 ส.ค. 2567) 1,400.00                      
10 MOU การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหารและสุขภาพร่วมกับกับภาคีเครือข่าย(7 ส.ค. 2567-7 ส.ค. 2567) 700.00                      
11 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพนักเรียน(23 ส.ค. 2567-23 ส.ค. 2567) 8,400.00                      
12 Little Chef(30 ส.ค. 2567-30 ส.ค. 2567) 10,400.00                      
13 กีฬาสีโรงเรียนวัดตะโหมด(30 ส.ค. 2567-30 ส.ค. 2567) 0.00                      
14 แผนการติดตามประเมินผล(1 ม.ค. 2568-31 ม.ค. 2568) 0.00                      
15 ติดตามกลุ่มเป้าหมายในครัวเรือน(1 ก.พ. 2568-8 ก.พ. 2568) 4,900.00                      
16 กิจกรรมชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูงนักเรียน ครั้งที่ 2(3 ก.พ. 2568-5 ก.พ. 2568) 4,200.00                      
17 เวทีติดตามประเมินผลภาวะโภชนาการนักเรียน(14 ก.พ. 2568-14 ก.พ. 2568) 7,700.00                      
รวม 75,000.00
1 ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ร่วมทำโครงการ/คณะทำงาน พี่เลี้ยงโครงการ และโค๊ชโครงการ ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 2 5,000.00 1 1,030.00
20 มิ.ย. 67 กิจกรรมปฐมนิเทศน์โครงการ 2 5,000.00 1,030.00
2 พิธีเปิดโครงการ ชี้แจงโครง และค้นหาคณะกรรมการทำงานร่วม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 5,200.00 0 0.00
24 มิ.ย. 67 พิธีเปิดโครงการ ชี้แจงโครง และค้นหาคณะกรรมการทำงานร่วม 100 5,200.00 -
3 ประชุมคณะทำงานสร้างเสริมภาวะโภชนาการนักเรียน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 2,700.00 0 0.00
2 ก.ค. 67 - 15 เม.ย. 68 ประชุมคณะทำงานสร้างเสริมภาวะโภชนาการนักเรียน 15 2,700.00 -
4 แปลงผักปลอดสารพิษ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 3,000.00 0 0.00
7 ก.ค. 67 - 15 เม.ย. 68 แปลงผักปลอดสารพิษ 30 3,000.00 -
5 เลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 7,100.00 0 0.00
31 ก.ค. 67 อบรมให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์และการผลิตอาหารปลา 50 3,100.00 -
31 ก.ค. 67 - 15 เม.ย. 68 เลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์ 50 4,000.00 -
6 เก็บข้อมูลสุขภาพและข้อมูลพฤติกรรมด้านสุขภาพของนักเรียนและครอบครัว กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 3,900.00 0 0.00
15 - 22 ก.ค. 67 เก็บข้อมูลสุขภาพและข้อมูลพฤติกรรมด้านสุขภาพของนักเรียนและครอบครัว 40 3,900.00 -
7 จัดทำแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 7,400.00 0 0.00
31 ก.ค. 67 จัดทำแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายแบบมีส่วนร่วม 100 7,400.00 -
8 ส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกายตามความถนัด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 200 3,000.00 0 0.00
1 ส.ค. 67 จัดซื้ออุปกรณ์กีฬา 100 2,000.00 -
1 ส.ค. 67 - 15 เม.ย. 68 ส่งเสริมกิจกรรมโนราห์12ท่า 100 1,000.00 -
9 จัดประชุมชี้แจงแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 1,400.00 0 0.00
7 ส.ค. 67 จัดประชุมชี้แจงแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย 40 1,400.00 -
10 MOU การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหารและสุขภาพร่วมกับกับภาคีเครือข่าย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 700.00 0 0.00
7 ส.ค. 67 MOU การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหารและสุขภาพร่วมกับกับภาคีเครือข่าย 20 700.00 -
11 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพนักเรียน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 8,400.00 0 0.00
23 ส.ค. 67 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพนักเรียน 100 8,400.00 -
12 Little Chef กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 10,400.00 0 0.00
30 ส.ค. 67 Little Chef 100 10,400.00 -
13 กีฬาสีโรงเรียนวัดตะโหมด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 120 0.00 0 0.00
30 ส.ค. 67 กีฬาสีโรงเรียนวัดตะโหมด 120 0.00 -
14 แผนการติดตามประเมินผล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 0.00 0 0.00
15 ม.ค. 68 วางแผนการติดตามประเมินผล 15 0.00 -
15 ติดตามกลุ่มเป้าหมายในครัวเรือน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 4,900.00 0 0.00
1 - 8 ก.พ. 68 ติดตามกลุ่มเป้าหมายในครัวเรือน 40 4,900.00 -
16 กิจกรรมชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูงนักเรียน ครั้งที่ 2 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 4,200.00 0 0.00
3 ก.พ. 68 กิจกรรมชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูงนักเรียน ครั้งที่ 2 100 4,200.00 -
17 เวทีติดตามประเมินผลภาวะโภชนาการนักเรียน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 7,700.00 0 0.00
14 ก.พ. 68 เวทีติดตามประเมินผลภาวะโภชนาการนักเรียน 40 600.00 -
14 ก.พ. 68 ประเมินผลภาวะโภชนาการนักเรียน 10 7,100.00 -

1.เกิดคณะทำงานร่วมในการสร้างเสริมภาวะโภชนาการนักเรียน 2.เกิดกองทุนอาหารเช้าในโรงเรียน 3.เด็ก ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ครู และแม่ครัว เกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องโภชนาการและพัฒนาการตามวัยของเด็ก 4.เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับพฤติกรรมสุขภาพของเด็ก 5.เกิดกลไกการติดตามประเมินผลการปรับพฤติกรรม 6.เด็กมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เพื่อให้เกิดคณะทำงานร่วมในการสร้างเสริมภาวะโภชนาการนักเรียน 2.เกิดกองทุนอาหารเช้าในโรงเรียน

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2567 10:55 น.