stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนเป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ บ้านโคกยา
ภายใต้โครงการ ร่วมทุน อบจ.พัทลุง ปี 2567
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 67-00199-026
วันที่อนุมัติ 15 มิถุนายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มิถุนายน 2567 - 15 เมษายน 2568
งบประมาณ 75,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอสม.รพ.สต.บ้านโคกยา
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางขวัญใจ ดำแก้ว
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0980461759
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ Khwanjai1759@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางจีรยา ชำนาญกิจ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.396559,100.105304place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 มิ.ย. 2567 15 พ.ย. 2567 37,500.00
2 16 พ.ย. 2567 15 มี.ค. 2568 30,000.00
3 16 มี.ค. 2568 16 เม.ย. 2568 7,500.00
รวมงบประมาณ 75,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พื้นที่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยา รับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน ประกอบด้วยหมู่ที่ 1 บ้านโคกยา หมู่ที่ 9 บ้านท่ากุน หมู่ที่ 14 บ้านป่ายูง มีจำนวนครัวเรือนจำนวน 702 ครัวเรือน 2,776 คน มีจำนวนผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป หมู่ที่ 1 บ้านโคกยา มีจำนวนผู้สูงอายุ 156 คน หมู่ที่ 9 บ้านท่ากุน มีผู้สูงอายุจำนวน 205 คน หมู่ที่ 14 บ้านป่ายูง มีผู้สูงอายุจำนวน 119 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 480 คน จากการประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ(Barthel Activities of Daily:ADL)มีจำนวนผู้สูงอายุติดสังคม จำนวน 453 คน ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงจำนวน 27 คน จากสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 17.29 เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society)     สิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนในการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ คือ การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้ สร้างความเข้าใจและความตระหนักในการสร้างสุขภาพโดยเริ่มจากความรักตนเอง(Self love) การเข้าใจสุขภาพและสภาวะร่างกายของตนเองที่เป็นอยู่ และการอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี จากบริบทชุมชนชนบทบ้านโคกยาสภาพแวดล้อมทางสังคมและทางกายภาพยังไม่เอื้อและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่ดี เนื่องจากขาด กลไก แกนนำภาคีเครือข่ายและชมรมผู้สูงอายุที่เข้มแข็ง ในการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง และปัจจัยเอื้อ ด้านสถานที่ในการรวมกลุ่มสร้างกิจกรรมทางกาย การออกกำลังกาย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลด้านสุขภาพ และกิจกรรมสันทนาการผ่อนคลายความเครียด ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพที่เข้มแข็งและยั่งยืน         ผู้สูงอายุจะมีปัญหาสุขภาพในหลายๆ ด้าน เนื่องจากความชราภาพเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ จากข้อมูลจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยาพบว่า สัดส่วนของ กลุ่มผู้สูงอายุเป็นโรคจำนวนมากกว่ากลุ่มอื่นจำนวน 180 คน คิดเป็น 64.51% (จากจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 279 คน)ปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อร่างกายสุขภาพ อารมณ์ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม อย่างเป็นองค์รวม อีกทั้งสถานการณ์ของสังคมและโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านเทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสาร ระบบสุขภาพดิจิทัล หากผู้สูงอายุไม่ก้าวทันยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เกิดภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง ภาวะซึมเศร้า มีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ เพิ่มภาระและค่าใช้จ่ายให้แก่ของผู้ดูแลมากขึ้น ระบบการดูแลส่งต่อ การไป-กลับในการเข้ารับการรักษาและไปพบแพทย์ตามนัดไม่ทั่วถึง   จากปัญหาดังกล่าวข้างต้นทางคณะผู้จัดทำโครงการเห็นความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ที่จะขับเคลื่อนชุมชนให้เกิดแกนนำ และพลังชุมชนที่เข้มแข็ง ในการสร้างกลไกระบบสุขภาพที่เข้มแข็ง ที่ทำให้ผู้สูงอายุในสังคม เข้าใจ เข้าถึงและใช้บริการได้ง่าย อย่างเท่าเทียม ภายใต้การบูรณาการทรัพยากรในชุมชน ภาคีเครือข่าย และคนในชุมชน ร่วมกัน ผลักดันและขับเคลื่อนอย่างเป็นพลวัตรให้เกิดชุมชนที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุอย่างยั่งยืนสู่ พัทลุง มหานครแห่งความสุข

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

บันไดผลลัพธ์โครงการ ชุมชนเป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ
การขับเคลื่อนประเด็นปัญหาผู้สูงอายุขับเคลื่อนชุมชนที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมตามช่วงวัยในชุมชนที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เกิดคณะทำงานในการขับเคลื่อนโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ

1.มีคณะทำงาน ตามแผนงานโครงการ ประกอบด้วย ตัวแทนภาครัฐ ไม่น้อยกว่า 5 องค์กร จำนวน 10 คน 2.มีคณะทำงานชมรมผู้สูงอายุ 3ชมรมๆละ 10 คน

0.00
2 2.เพื่อปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อชุมชนเป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ

1.เกิดการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดชุมชนเป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ 2.ผู้สูงอายุได้ใช้สถานที่ปรับเปลี่ยนแล้วไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

0.00
3 3.เพื่อเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุที่ดีต่อสุขภาพ

1.เกิดผู้สูงอายุต้นแบบไม่น้อยกว่า หมู่บ้านละ 5 คน จำนวน 15 คน 2.ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตดีตามเกณฑ์ประเมิน 2Q ไม่น้อยกว่าร้อยละ 8 3.มีอาหารปลอดภัยที่ดีต่อสุขภาพผู้สูงอายุ

0.00
4 4.ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดีสอดคล้องกับผู้สูงอายุทุกกลุ่มวัย

1.เกิดวิธีการหรือรูปแบบที่เอื้อต่อสุขภาวะผู้สูงอายุไม่น้อยกว่า 3 รูปแบบ 2.สมาชิกชมรมผู้สูงอายุมีกิจกรรมต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 80
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก ผู้สูงอายุติดสังคม จำนวน 453 คน 80 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67ต.ค. 67พ.ย. 67ธ.ค. 67ม.ค. 68ก.พ. 68มี.ค. 68เม.ย. 68
1 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ประกาศรับสมัครแต่งตั้งคณะทำงาน และดำเนินงานที่ได้รับมอบหมาย(29 ก.ค. 2567-29 ก.ค. 2567) 1,350.00                      
2 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมให้ความรู้คณะทำงานและตัวแทนผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมาย(31 ก.ค. 2567-31 ก.ค. 2567) 4,050.00                      
3 กิจกรรมที่ 3 นำคณะทำงานศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบในการขับเคลื่อนโครงการ(13 ส.ค. 2567-13 ส.ค. 2567) 9,400.00                      
4 กิจกรรมที่ 4 ประชุมคณะทำงานและตัวแทนกลุ่มเป้าหมายเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2ครั้ง กระบวนการ ARE 2 ครั้ง(26 ส.ค. 2567-20 ก.พ. 2568) 8,600.00                      
5 กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมออกกำลังกาย/สันทนาการ ของผู้สูงอายุที่มาใช้ลานกิจกรรมออกกำลังกายชุมชน(10 ก.ย. 2567-10 มี.ค. 2568) 7,800.00                      
6 กิจกรรมที่ 8 กิจกรรมประเมินความเครียด โดยใช้เกณฑ์ 2Q และกิจกรรมติดตามการใช้แผนสุขภาพดีรายบุคคล(24 ก.ย. 2567-19 ก.พ. 2568) 2,400.00                      
7 กิจกรรมที่ 6 ปรับบริบทพื้นที่ที่เอื้อต่อชุมชนที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ(16 ต.ค. 2567-6 เม.ย. 2568) 11,500.00                      
8 กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมพบปะเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างสุขภาพ อบรมการสร้างแผนสุขภาพดีรายบุคคล/นิทรรศการ/เมนูสุขภาพ(24 ธ.ค. 2567-24 ธ.ค. 2567) 14,800.00                      
9 กิจกรรมที่ 9 กิจกรรมค้นหาผู้สูงอายุต้นแบบ/กิจกรรมประชุมพบปะของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุทุก 1เดือน(1 เม.ย. 2568-1 เม.ย. 2568) 600.00                      
10 กิจกรรมที่ 10 สรุปผลงานโครงการสู่ชุมชน(5 เม.ย. 2568-5 เม.ย. 2568) 14,500.00                      
รวม 75,000.00
1 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ประกาศรับสมัครแต่งตั้งคณะทำงาน และดำเนินงานที่ได้รับมอบหมาย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 45 1,350.00 0 0.00
29 ก.ค. 67 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุและบริบทในพื้นที่ 45 1,350.00 -
2 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมให้ความรู้คณะทำงานและตัวแทนผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 75 4,050.00 0 0.00
31 ก.ค. 67 ประชุมชี้แจงและอบรมให้ความรู้บริบทของชุมชนเป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ 75 4,050.00 -
3 กิจกรรมที่ 3 นำคณะทำงานศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบในการขับเคลื่อนโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 14 9,400.00 0 0.00
13 ส.ค. 67 ศึกษาพื้นที่ดูงานต้นแบบด้านการดูแลจัดการผู้สูงอายุที่ดี 14 9,400.00 -
4 กิจกรรมที่ 4 ประชุมคณะทำงานและตัวแทนกลุ่มเป้าหมายเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2ครั้ง กระบวนการ ARE 2 ครั้ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 140 8,600.00 0 0.00
21 ส.ค. 67 จัดประชุมคณะทำงานตัวแทนกลุ่มเป้าหมายแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อปรับและพํฒนางาน ครั้งที่1 40 1,800.00 -
11 ก.ย. 67 จัดประชุมตามกระบวนการ ARE ครั้งที่ 1 30 2,500.00 -
12 พ.ย. 67 จัดประชุมคณะทำงานตัวแทนกลุ่มเป้าหมายแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อปรับและพํฒนางาน ครั้งที่2 40 1,800.00 -
30 ม.ค. 68 จัดประชุมตามกระบวนการ ARE ครั้งที่ 2 30 2,500.00 -
5 กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมออกกำลังกาย/สันทนาการ ของผู้สูงอายุที่มาใช้ลานกิจกรรมออกกำลังกายชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 7,800.00 0 0.00
10 ต.ค. 67 อบรมแกนนำกิจกรรมออกกำลังกาย/สันทนาการของผู้สูงอายุ อย่างน้อย สัปดาห์ละ 3-4 ครั้งๆละ 30 นาทีขึ้นไป 30 7,800.00 -
6 กิจกรรมที่ 8 กิจกรรมประเมินความเครียด โดยใช้เกณฑ์ 2Q และกิจกรรมติดตามการใช้แผนสุขภาพดีรายบุคคล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 2,400.00 0 0.00
24 ก.ย. 67 กิจกรรมประชุมให้ความรู้ประเมินความเครียดก่อน-หลัง โดยหมอคนที่ 1 ดำเนินโครงการและประเมินการใช้แผนสุขภาพดีรายบุคคล สรุปผลการประเมิน 15 2,400.00 -
30 มี.ค. 68 กิจกรรมสรุปผลการประเมินความเครียด 2Q ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 2 ครั้ง ก่อนดำเนินโครงการ-หลังเข้าร่วมโครงการ 15 0.00 -
7 กิจกรรมที่ 6 ปรับบริบทพื้นที่ที่เอื้อต่อชุมชนที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 11,500.00 0 0.00
30 ต.ค. 67 - 20 มี.ค. 68 สร้างและปรับพื้นที่ 4 แห่ง 0 11,500.00 -
8 กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมพบปะเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างสุขภาพ อบรมการสร้างแผนสุขภาพดีรายบุคคล/นิทรรศการ/เมนูสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 70 14,800.00 0 0.00
24 ธ.ค. 67 . จัดเวทีเสวนาสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยผู้สูงอายุต้นแบบ/นิทรรศการ การดูแลสุขภาพ การสร้างและใช้แผนสุขภาพดีรายบุคคล) การออกกำลังกาย ตัวอย่างเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ (จากแหล่งอาหารปลอดภัยที่ได้ปรับสภาพในชุมชน) 70 14,800.00 -
9 กิจกรรมที่ 9 กิจกรรมค้นหาผู้สูงอายุต้นแบบ/กิจกรรมประชุมพบปะของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุทุก 1เดือน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 600.00 0 0.00
1 เม.ย. 68 กิจกรรมประชุมสรุปผลและประเมินผลค้นหาผู้สูงอายุต้นแบบ โดยใช้ แบบประเมินการใช้แผนสุขภาพดีรายบุคคล แบบประเมิน 2 Q /แบบสรุปผลการประเมิน ข้อมูลสุขภาพ(นน./รอบเอว หรือค่าดัชนีมวลกาย ) ของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม 20 600.00 -
10 กิจกรรมที่ 10 สรุปผลงานโครงการสู่ชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 14,500.00 0 0.00
4 เม.ย. 68 พิธีปิดโครงการคืนข้อมูลสู่ชุมชน 100 14,500.00 -
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 3 320.00 0 0.00
20 มิ.ย. 67 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน ครั้งที่ 1 ปฐมนิเทศผู้รับทุน 3 320.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดคณะทำงานในการขับเคลื่อนอย่างมี โครงการอย่างมีประสิทธิภาพ 2.ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อชุมชนเป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ 3.เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุที่ดีต่อสุขภาพ 4.ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดีสอดคล้องกับผู้สูงอายุทุกกลุ่มวัย

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2567 19:35 น.