directions_run

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างสมดุลในวัยทํางาน โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตําบลบ้านโล๊ะจังกระ

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างสมดุลในวัยทํางาน โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตําบลบ้านโล๊ะจังกระ
ภายใต้โครงการ ร่วมทุน อบจ.พัทลุง ปี 2567
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 67-00199-032
วันที่อนุมัติ 15 มิถุนายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มิถุนายน 2567 - 16 เมษายน 2568
งบประมาณ 75,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านโล๊ะจังกระ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจำลอง อินนุรักษ์
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0843986470
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ sutidachoochuay@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางทักษิณา ชูช่วย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.343441,100.005627place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 มิ.ย. 2567 15 พ.ย. 2567 37,500.00
2 16 พ.ย. 2567 15 มี.ค. 2568 30,000.00
3 16 มี.ค. 2568 16 เม.ย. 2568 7,500.00
รวมงบประมาณ 75,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโล๊ะจังกระ เป็นสถานบริการปฐมภูมิที่เน้นการให้บริการ 4 มิติ ที่มีคุณภาพและตอบสนองความต้องการประชาชน ปัญหาสุขภาพที่สำคัญในพื้นที่ ได้แก่ โรคเบาหวาน เป็นโรคที่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากเป็นอันดับ 1 ของสถิติผู้ป่วยนอก และมีแนวโน้มจำนวนผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจะเพิ่มมากขึ้น ในปี พ.ศ.2565 พบผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 149 ราย เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2564 ร้อยละ 7.38 จากการทบทวนสถานการณ์การเกิดโรคเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 5 ปีย้อนหลัง (2562-2566) พบร้อยละ 0.84, 2.04, 1.89, 5.43 และ 1.28 ตามลำดับ และพบว่าสามารถควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c < 7) ได้เพียงร้อยละ 41.26 45.83 50.96 44.93 และ 37.19 ตามลำดับ (ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข, 2566) จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปี พ.ศ.2565 อัตราการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีลดลงอย่างน่ากังวล ซึ่งก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนฉับพลันในผู้ป่วยเบาหวานที่ร้อยละ 3.33, 0.75, 2.11, 2.70 และ 1.87 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข ที่กำหนดให้ไม่เกิน ร้อยละ 1.75 จากการลงพื้นที่ศึกษาสภาพปัญหาเชิงลึกในวัยทำงาน ที่เป็นสาเหตุและปัจจัยของการเกิดโรคบาหวาน และการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โดยวิธีสนทนากลุ่มและรายบุคคลในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและในผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลเฉลี่ยนสะสมในเลือดไม่ได้ (HbA1c > 7) จำนวน 74 คน แล้วนำปัญหาที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อจัดลำดับความสำคัญ พบปัญหา 3 ด้านหลักๆ ดังนี้ ด้านพฤติกรรมพบว่า ร้อยละ 91.89 มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่เหมาะสม มีรายละเอียดดังนี้คือ 1) รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ร้อยละ 63.64 2) รับประทานข้าวเกิน 2 ทัพพี/มื้อ ร้อยละ 47.95 3) รับประทานขนมหวานทุกวัน ร้อยละ 36.76 4) ไม่รับประทานผักทุกวัน ร้อยละ 35.29 5) รับประทานขนมระหว่างมื้อ ร้อยละ 33.82 6) ดื่มน้ำหวาน ร้อยละ 26.47 7) รับประทานอาหารมัน ร้อยละ 20.59 8) รับประทานผลไม้รสหวาน ร้อยละ 20.59 และ ดื่มกาแฟ 3in1 ร้อยละ 14.71 ขาดความรู้และหรือมีความรู้ไม่เพียงพอในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค พฤติกรรมการออกกำลังกายไม่เหมาะสม พันธุกรรม ขากการตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามเพื่อน เป็นต้น ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมพบว่า มีการจัดงานเลี้ยงสังสรรค์บ่อย วัฒนธรรมทานข้าวมื้อเย็นพร้อมกัน แม่ครัวทำอาหารไม่แยกบุคคล การปรุงอาหารรสจัดและซื้อเหล้าเบียร์เป็นของฝากเมื่อมีงานประเพณีต่างๆในชุมชน สถานที่การออกกำลังกายไม่เพียงพอ ไกลบ้าน การเดินทางไม่สะดวก สภาพภูมิอากาศที่ไม่เอื้อ ฝนตกชุก ลานกีฬาอยู่ในที่แจ้งจึงไม่สะดวกต่อการออกกำลังกาย การเอื้อของสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่เหมาะสมและไม่สามารถเลือกบริโภคได้ เช่น ร้านน้ำหวานใกล้บ้านเข้าถึงง่าย ร้านพุ่มพวงที่ขายของหน้าบ้าน ร้านค้าไม่ได้ควบคุมหน่วยบริโภคอาหาร เป็นต้น ด้านกลไกและระบบพบว่า ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ให้ความร่วมมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่เพียงพอ การปฏิบัติตามกฎกติกาของชุมชนด้านการส่งเสริมสุขภาพไม่ต่อเนื่อง เป็นต้น เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาอีกมากมาย เช่น กิจกรรมในชุมชนลดลง ขาดแรงงานที่มีคุณภาพ รายได้ครอบครัวลดลงจากผู้ป่วยไม่มีแรงในการทำงานหรือญาติไม่ได้ทำงานจากต้องเฝ้าดูแลผู้ป่วย สูญเสียค่าใช้จ่ายของครอบครัวจากการเดินทาง ค่าอาหาร ค่ายา เกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วย เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงเพิ่ม เช่น ไตวาย หัวใจและหลอดเลือด หลอดเลือดสมอง และเสียชีวิตเพิ่มขึ้นในที่สุด จากปัญหาการจัดการพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะในวัยทำงาน ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่าการจัดการตนเองโดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างสมดุลจะช่วยให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีทักษะ ความชำนาญและความสามารถในการจัดการตนเองในด้านพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้เหมาะสม ดังนั้นจึงสนใจจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารอย่างสมดุลในวัยทำงาน เพื่อเป็นแนวทางส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงเบาหวานและผู้ป่วยเบาหวานสามารถจัดการตนเองด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร สามารถควบคุมอาการของโรค นำไปสู่การพัฒนาผลลัพธ์ทางสุขภาพ เกิดคุณภาพการดูแล ลดรายจ่ายของครอบครัว ลดความสูญเสียด้านเศรษฐกิจของประเทศและตอบสนองตัวชี้วัดตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพิ่มขึ้น
  2. ได้กติกาเพื่อปฏิบัติสู่ผลลัพธ์
  3. ได้แกนนำกลุ่มย่อย 170 คน
  4. ได้คณะทำงานโครงการการ 30 คน
  5. ได้สถานะสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ (Baseline Data)
1.00
2 เกิดคณะทำงานโครงการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน
  1. มีคณะทำงานด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯ ทั้ง 3 หมู่บ้าน 10 คน
  2. มีการประชุมคณะกรรมการทุก 3 เดือน
  3. มีแผนงานการติดตามและเกณฑ์การประเมิน
1.00
3 เกิดการปรับสภาพแวดล้อมและกฎกติกาชุมชนที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  1. มีสถานที่ออกกำลังกายในชุมชนที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯ ทั้ง 3 หมู่บ้าน
  2. มีกฎกติกาชุมชนที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯ ทั้ง 3 หมู่บ้าน
  3. มีกลไกชมรมที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯ ทั้ง 3 หมู่บ้าน 3.4 ได้ผลลัพธ์ระหว่างทาง ปัจจัยความสำเร็จ และข้อจำกัด
4 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ตัวชี้วัดผลลัพธ์
  1. ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงลดล
  2. ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ≥ร้อยละ 40
  3. ร้อยละ 60 ของครัวเรือนปลูกผักกินเอง 4.4 ร้อยละ 60 ของกลุ่มเป้าหมายปฏิบัติตามกติกาชุมชนที่กำหนดไว้ 4.5 มีบุคคลต้นแบบอย่างน้อยชุมชนละ 1 คน
1.00
5 เพื่อให้การบริหารจัดการโครงการบรรลุวัตถุประสงค์
  1. เข้าร่วมกิจกรรมที่แผนงานจัด ร้อยละ 100
  2. สามารถจัดส่งรายงานต่างๆ ได้ตามกำหนด
1.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 170
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน 74 -
กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 96 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67ต.ค. 67พ.ย. 67ธ.ค. 67ม.ค. 68ก.พ. 68มี.ค. 68เม.ย. 68พ.ค. 68มิ.ย. 68ก.ค. 68ส.ค. 68ก.ย. 68ต.ค. 68พ.ย. 68ธ.ค. 68ม.ค. 69
1 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน หลักสูตรการปฐมนิเทศก่อนการดำเนินโครงการ(20 มิ.ย. 2567-20 มิ.ย. 2567) 3,000.00                                        
2 กิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องโรคเบาหวาน พฤติกรรมที่พึงประสงค์ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายแก่กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ(23 มิ.ย. 2567-31 ส.ค. 2567) 42,640.00                                        
3 ประชุมคณะทำงานโครงการ(23 มิ.ย. 2567-16 เม.ย. 2568) 2,700.00                                        
4 กำหนดให้มีสถานที่ออกกำลังกายในชุมชน ทั้งกีฬากลางแจ้ง และกีฬาในร่ม(23 มิ.ย. 2567-16 เม.ย. 2568) 4,200.00                                        
5 ประกาศกฎกติกาสาธารณะ(23 มิ.ย. 2567-16 เม.ย. 2568) 2,100.00                                        
6 ตั้งชมรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ(23 มิ.ย. 2567-16 เม.ย. 2568) 2,100.00                                        
7 ประชุมติดตามประเมินผลแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน(23 มิ.ย. 2567-16 เม.ย. 2568) 6,150.00                                        
8 รณรงค์การปลูกผักกินเองในครัวเรือน(23 มิ.ย. 2567-16 เม.ย. 2568) 5,250.00                                        
9 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียน(23 มิ.ย. 2567-16 เม.ย. 2568) 5,250.00                                        
10 สรุปผลโครงการ(1 เม.ย. 2568-23 ม.ค. 2569) 1,610.00                                        
รวม 75,000.00
1 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน หลักสูตรการปฐมนิเทศก่อนการดำเนินโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 3 3,000.00 0 0.00
20 มิ.ย. 67 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน หลักสูตรการปฐมนิเทศก่อนการดำเนินโครงการ 3 3,000.00 -
2 กิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องโรคเบาหวาน พฤติกรรมที่พึงประสงค์ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายแก่กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 340 42,640.00 0 0.00
23 มิ.ย. 67 - 31 ก.ค. 67 1. ประเมินข้อมูลทั่วไปของกลุ่มเป้าหมาย 170 6,040.00 -
23 มิ.ย. 67 - 31 ก.ค. 67 2. ประเมินข้อมูลการบริโภคอาหาร 0 0.00 -
23 มิ.ย. 67 - 31 ก.ค. 67 3. แนะนำแนวทางการปรับพฤติกรรมสุขภาพโดยวิธีการควบคุมวงจรการรับประทานอาหารโดยใช้เทคนิคการอดอาหารแบบจำกัดเวลา ให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ 170 36,600.00 -
3 ประชุมคณะทำงานโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 2,700.00 0 0.00
23 มิ.ย. 67 - 16 เม.ย. 68 1. ประชุมคณะทำงานโครงการ ทุก 3 เดือน 30 2,700.00 -
23 มิ.ย. 67 - 16 เม.ย. 68 2. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่กลุ่มเป้าหมาย ทุก 3 เดือน 30 0.00 -
4 กำหนดให้มีสถานที่ออกกำลังกายในชุมชน ทั้งกีฬากลางแจ้ง และกีฬาในร่ม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 70 4,200.00 0 0.00
23 มิ.ย. 67 - 16 เม.ย. 68 กำหนดให้มีสถานที่ออกกำลังกายในชุมชน ทั้งกีฬากลางแจ้ง และกีฬาในร่ม เช่น ฟุตซอล แอโรบิก 70 4,200.00 -
5 ประกาศกฎกติกาสาธารณะ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 2,100.00 0 0.00
23 มิ.ย. 67 - 16 เม.ย. 68 1. ประชุมกำหนดนโยบายและกฎกติกาชุมชนด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพฯ 2. ทำป้ายประกาศกฎกติกาชุมชนในที่สาธารณะ ทั้ง 3 หมู่บ้าน 100 2,100.00 -
6 ตั้งชมรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 2,100.00 0 0.00
23 มิ.ย. 67 - 16 เม.ย. 68 1. กำหนดให้มีการตั้งชมรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพฯ ทั้ง 3 หมู่บ้าน 30 0.00 -
23 มิ.ย. 67 - 16 เม.ย. 68 2. มีการประเมินติดตามการดำเนินงานของชมรมฯทั้ง 3 หมู่บ้านทุก 3 เดือน 30 2,100.00 -
7 ประชุมติดตามประเมินผลแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 205 6,150.00 0 0.00
23 มิ.ย. 67 - 16 เม.ย. 68 ประชุมติดตามประเมินผลแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 205 6,150.00 -
8 รณรงค์การปลูกผักกินเองในครัวเรือน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 175 5,250.00 0 0.00
23 มิ.ย. 67 - 16 เม.ย. 68 1. จัดกิจกรรมรณรงค์การปลูกผักกินเองในครัวเรือนทั้ง 3 หมู่บ้าน 2. แจกพันธุ์ผักให้แก่ครัวเรือน 175 5,250.00 -
9 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 175 5,250.00 0 0.00
23 มิ.ย. 67 - 16 เม.ย. 68 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียน เรื่อง การรับประทานอาหารลดหวาน มัน เค็ม ลดโรค และการรับประทานอหารแบบจำกัดเวลา สูตร 14:10 175 5,250.00 -
10 สรุปผลโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 1,610.00 0 0.00
1 - 16 เม.ย. 68 สรุปผลการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการ นำเสนอผลการปฏิบัติงาน 30 1,610.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดความรู้ ความ้ข่าใจเรื่องโรคและการปรับพฤติกรรม
  2. เกิดคณะทำงานในชุมชน
  3. เกิดการสร้างสภาพแวดล้อม และกฎกติกาที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  4. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2567 19:41 น.