directions_run

โครงการเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญา “โรงเรียนสุขใจ ปลอดภัยโรคซึมเศร้า” ตําบลเขาย่า

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญา “โรงเรียนสุขใจ ปลอดภัยโรคซึมเศร้า” ตําบลเขาย่า
ภายใต้โครงการ ร่วมทุน อบจ.พัทลุง ปี 2567
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 67-00199-042
วันที่อนุมัติ 15 มิถุนายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มิถุนายน 2567 - 15 เมษายน 2568
งบประมาณ 75,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมจิตตปัญญา
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวณัฏฐชาญ์ ธรรมธนไพศาล
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0957740307
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ Natthachathamthanapaisarn@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ อ.เกรียงไกร บรรจงเมือง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 มิ.ย. 2567 15 พ.ย. 2567 37,500.00
2 16 พ.ย. 2567 15 มี.ค. 2568 30,000.00
3 16 มี.ค. 2568 16 เม.ย. 2568 7,500.00
รวมงบประมาณ 75,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

  1. หลักการเหตุผล / ความสำคัญของปัญหา/ การวิเคราะห์สถานการณ์
    การให้คุณค่าทางด้านวัตถุมากกว่าทางด้านจิตใจเป็นปัจจัยส่งผลต่อโครงสร้างพัฒนาการของเด็กเยาวชนซึ่งพบว่าสถานการณ์ปัญหาในโรงเรียนบ้านโหล๊ะเร็ด ซึ่งตั้งอยู่ หมู่ที่ ๕ ตำบลเขาย่า เป็นโรงเรียนขยายโอกาสที่มีนักเรียนรวม 117 คน ระดับปฐมวัย จำนวน 38 คน ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 46 คน และมัธยมต้น 30 คน มีครูประจำการ 17 ครูอัตราจ้าง 2 สัดส่วนนักเรียนมาจากชุมชนบ้านโหล๊ะเร็ด หมู่ที่ ๕ และพื้นที่จาก 10 หมู่บ้าน ของตำบลเขาย่า เมื่อวิเคราะห์จากข้อมูลพื้นที่ของตำบลเขาย่าที่มีประชากรจำนวน 2,701 ครัวเรือน ประชากร 6,891 คน พื้นฐานชุมชนร้อยละ 95 ทำการเกษตรยางพารา ปาล์ม ทำสวนผลไม้ จากฐานข้อมูลพื้นที่ตำบลเขาย่า พบว่า ประชากรกลุ่มเด็กและผู้สูงวัยอายุ 15-60 ปี เป็นแรงงานเกษตรในพื้นที่ และวัยทำงานอายุ 25-50 ปี เป็นแรงงานออกไปรับจ้างนอกพื้นที่ ในเมือง ในต่างจังหวัด ที่มีโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้าน โดยไม่มีเวลาเลี้ยงดูลูก ปล่อยให้ลูก อาศัยอยู่กับ ปู่ ย่า ตายาย มีเฉพาะเด็กเยาวชนของกลุ่มผู้มีรายได้สูงและพ่อแม่เป็นข้าราชการจะได้เรียนในเมือง และเยาวชนในพื้นที่ร้อยละ 80 เรียนในโรงเรียนใกล้บ้าน
    จากข้อมูลสภาพแวดล้อม พฤติกรรมในชุมชนพบว่า พื้นที่ชุมชนโรงเรียนบ้านโหล๊ะเร็ด เป็นนักเรียนที่มาจากครอบครัวลูกหลานเกษตรกร เสี่ยงเปราะบาง ผู้ปกครองมีรายได้ไม่แน่นอน และไม่มีต้นแบบ ค่านิยมในการเลี้ยงดูเป็นสังคมเมืองในชนบท เลี้ยงดูด้วยเงิน แทนการบ่มเพาะค่านิยมด้านจิตใจ เด็กอาศัยอยู่กับปู่ย่าตายาย เกิดช่องว่างความเข้าใจ เด็กที่ไม่สมบูรณ์พร้อมมาจากครอบครัวเปราะบาง จะกลัวการบูลลี่ กลัวการรวมกลุ่มเข้าสังคม ชอบแยกตัวจากสังคม บางรายเกิดภาวะกดดันที่พ่อแม่คาดหวัง การแช่งขันกับเพื่อนบ้าน ความกลัว ส่งผลต่อการเก็บตัวและเกิดความกังวล เครียด เศร้า ส่งผลต่อจิตใจตกลงไปอยู่ในความเศร้าจากปัญหาตัวเอง ครอบครัว เพื่อน ทำให้ขาดสติยั้งคิด ตกหลุมดำทางอารมณ์ ความเศร้าที่มากเกินไปจนกลายเป็นซึมเศร้า จากข้อมูลโรงเรียนบ้านโหล๊ะเร็ดพบว่า ร้อยละ 5 พบภาวะเสี่ยงเครียด กังวล ในเด็กปฐมวัย และ ร้อยละ 15 ในเด็กระดับปฐมศึกษา และร้อยละ 30 พบในเด็กระดับมัธยมศึกษา และพบระดับความซึมเศร้ารุนแรง เก็บตัวคนเดียวในห้อง ทำร้ายร่างกาย ร้อยละ 5 เด็กกลุ่มนี้มีพฤติกรรมรุนแรงแสดงออกทางพฤติกรรมทั้งก้าวร้าวเพื่อปิดบังตัวตน และปกป้อง การถูกบูลี่จากเพื่อนด้วยความก้าวร้าว และบางคนกลัวสังคม ไม่ไว้วางใจที่จะพูดความเศร้าให้คนอื่นรู้ เพราะขาดผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ขาดพื้นที่ปลอดภัย และคนที่ไว้วางใจ แม้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล วัด พระสงฆ์ อาจมีความรู้ไม่เพียงพอ หน่วยงานส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลในพื้นที่ไม่มีกลไกการทำงานร่วมกันในตำบล หน่วยงานสาธารณะสุขระดับอำเภอให้ความสำคัญกับผู้ป่วยทางด้านจิตใจในกลุ่มสูงวัยมากกว่าระดับเยาวชน ทั้งครอบครัว พ่อแม่ ปู่ย่าตายายขาดความรู้ ความเข้าใจ เป็นช่องว่างระหว่างวัย ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ขาดการรวมมือทำกิจกรรมและไม่มีพื้นที่สภาพแวดล้อมที่เอื้อในครัวเรือนและชุมชนอย่างเข้าใจกันแท้จริง
    จากปัญหาดังกล่าวที่กำลังเกิดขึ้นพบว่าส่งผลกระทบต่อเด็กเยาวชนทำให้เด็กเยาวชนมีภาวะเครียด กังวล กลัว เมื่อขาดความรัก คนเข้าใจ ขาดคนปรึกษา ที่ไว้วางใจได้ทำให้เด็กเก็บตัวคนเดียว ไม่ไปโรงเรียน บางรายทำลายตัวเองเพื่อเรียกร้องความรักความสนใจ บางรายปกป้องตัวเองด้วยการก้าวร้าวกับเพื่อน หรือจับกลุ่มทำพฤติกรรมเสี่ยงเกมส์ ติดเพื่อนมั่วสุม ส่งผลต่อตัวเองการเรียนตกต่ำ การงานไม่ช่วยเหลือครอบครัว ไม่มาเรียน ครูต้องคอยแก้ปัญหา ทั้งปัญหาเศรษฐกิจ บางรายเรียกร้องเงินเกินความจำเป็นวัยเรียน พ่อแม่ต้องใช้เงินแทนความรัก คำสั่งสอน ส่งผลต่อสังคมโรงเรียนต้องคอยแก้ปัญหาครูต้อง ติดตามช่วยเหลือ ต้องออกระหว่างทาง ในรายที่เครียดหนัก ซึมเศร้า อารมณ์ผิดปกติ เสียเงิน ต้องเข้าโรงพยาบาล เสียสุขภาพจิตไปด้วย บางรายเด็กมีภาวะที่มีมากกว่าอารมณ์เศร้าที่พบทางจิตเวช หรือ โรคไบโพลาร์ (Bipolar disorder) พบจิตแพทย์ กินยา และเมื่อกลับมาเรียนก็ถูกล้อเลียน ปัญหาไม่รู้จบส่งผลทุกองคาพยพ ดังนั้นจากปัญหาที่กล่าวมาคณะทำงานให้ความสำคัญกับการให้คุณค่าทางจิตใจเป็นสำคัญ ที่เชื่อว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กเยาวชนจากภายใน สร้างความตระหนักรู้ครูผู้ปกครองและกลไกการทำงานของผู้มีส่วนร่วมให้ตระหนักถึงปัญหากลุ่มเสี่ยง กังวล ซึมเศร้า เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ความซึมเศร้าจะถึงภาวะการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์เพราะฆ่าตัวตาย จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญา “โรงเรียนสุขใจ ปลอดภัยโรคซึมเศร้า” ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต เพื่อสร้างความรู้ ตระหนักให้ความสำคัญต่อในการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน พัฒนากลไกในพื้นที่และสร้างแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กเยาวชนกลุ่มเสี่ยงโรคซึมเศร้า อันเป็นภัยเงียบ การพัฒนาสร้างต้นแบบพื้นที่ปลอดภัย คลินิกสุขใจ “สถานีความสุข” บ้านโหล๊ะเร็ด พัฒนาระบบการทำงาน จัดระบบฐานข้อมูล คัดกรอง การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ครู พ่อแม่ หมอ พระสงฆ์ ท้องถิ่น ปกครอง ให้ความสุข เป็นภูมิคุ้มกันทางจิตใจ ด้วยการน้อมนำศาสตร์ความยั่งยืนของพระราชา“เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ” มาเป็นหลัก สร้างความรักเมตตา ก่อนให้ความรู้เชื่อมโยงสู่ชุมชน (บวร) เป็นฐานการเรียนรู้ลงสู่การปฏิบัติระดับอำเภอ การจัดทำแผนปฏิบัติที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กเยาวชนรอบด้านมีการกำกับ ติดตาม ประเมินให้เด็กเยาวชนมีสุขภาวะทางปัญญา สร้างความสุขในตนให้ดี ให้เก่ง เป็นเด็กดี เด็กเก่ง เป็นต้นแบบสู่พัทลุงเมืองคนมีสุขภาวะที่ดี ร่าเริง ยิ้มใส ไหว้สวย เมื่อสุขตน สังคมก็สุข พัทลุงพร้อมเปลี่ยนแปลงเป็นมหานครแห่งความสุข
stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะ ในการดูแลสุขภาวะทางปัญญาและจิตใจ ให้กับผู้ปกครองและครู

1.1 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้และทักษะไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 1.2 สามารถจัดทำแนวทางในการดูแลสุขภาวะทางปัญญาและจิตใจได้

1.00
2 2.เพื่อพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมเครือข่ายการทำงานระดับพื้นที่

2.1เกิดกลไกแผนงาน MOU ในการทำงาน 2.2 เกิดฐานข้อมูลไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 2.3 เกิดคณะทำงานไม่น้อยกว่า 20 คน

1.00
3 3.เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมี สุขภาวะทางปัญญาและจิตใจ

3.1. เกิดพื้นที่ปลอดภัย 1 พื้นที่ 3.2 เกิดพื้นที่กิจกรรมอย่างน้อย 1
3.3 เกิดกิจกรรมสร้างสรรค์ 2 กิจกรรม 3.3 เกิดเครือข่ายผู้มีส่วนร่วมไม่น้อยกว่า 2 เครือข่าย

1.00
4 4.เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ความตระหนักและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองได้

4.1 เกิดรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 4.2 เยาวชนเปลี่ยนพฤติกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ80

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 273 70,750.00 3 0.00
20 มิ.ย. 67 กิจกรรม ARE ปฐมนิเทศ 3 750.00 0.00
27 มิ.ย. 67 กิจกรรมที่ 1 สุนทรียสนทนา ครู ผู้ปกครอง นักเรียน และผู้มีส่วน 60 23,800.00 0.00
19 ก.ค. 67 กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ แผนงาน และแนวทางการทำงานแก่คณะทำงาน 30 19,000.00 0.00
30 ส.ค. 67 กิจกรรมย่อย ติดตาม 0 0.00 -
20 ก.ย. 67 กิจกรรมที่ 3 เวทีถอดระหัส โค้ช-นักจัดการเรียนรู้เพื่อสร้าง Happiness Mindset 30 4,200.00 -
25 ต.ค. 67 กิจกรรมที่ 4 คลีนิคสุขใจ (สถานีความสุข) 30 1,500.00 -
22 พ.ย. 67 กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมเพื่อนเยี่ยมเพื่อน Be my Friends 30 3,400.00 -
25 ธ.ค. 67 กิจกรรมที่ 6 กิจกรรม ปีศาจ ตัวตนที่งดงาม 30 10,400.00 -
17 ม.ค. 68 กิจกรรมย่อย ติดตามถอดบทเรียน (ความสำเร็จ) 0 0.00 -
28 ก.พ. 68 กิจกรรมที่ 7 เวที สถานีความสุข (Youth Inchange) 30 1,500.00 -
14 มี.ค. 68 กิจกรรมที่ 8 ประชุมสรุปผล การทำงาน /ถอดบทเรียน 30 6,200.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะ ในการดูแลสุขภาพทางด้านจิตใจ 2.เกิดกลไกการทำงาน 3.เกิดคณะทำงาน 4.เกิดพื้นที่ปลอดภัย 5.เกิดกิจกรรมสร้างสรรค์ 6.เกิดนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ 7.เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 8.เกิดต้นแบบชุมชน

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2567 19:51 น.