directions_run

โครงการเสริมสร้างวัคซีนกายใจพิชิตปัญหาภาวะซึมเศร้าในเด็กและเยาวชนอย่างยั่งยืน ตำบลบ้านพร้าว

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างวัคซีนกายใจพิชิตปัญหาภาวะซึมเศร้าในเด็กและเยาวชนอย่างยั่งยืน ตำบลบ้านพร้าว
ภายใต้โครงการ ร่วมทุน อบจ.พัทลุง ปี 2567
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 67-00199-044
วันที่อนุมัติ 15 มิถุนายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มิถุนายน 2567 - 15 เมษายน 2568
งบประมาณ 75,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สภาองค์กรชุมชนเทศบาลตำบลบ้านพร้าว
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสิทธิพงค์ หนูชูชัย
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0985496352
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ Oppo567vbb@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางจุรีย์ หนูผุด
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 มิ.ย. 2567 15 พ.ย. 2567 37,500.00
2 16 พ.ย. 2567 15 มี.ค. 2568 30,000.00
3 16 มี.ค. 2568 16 เม.ย. 2568 7,500.00
รวมงบประมาณ 75,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเด็กและเยาวชนมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าหรือมีภาวะซึมเศร้า จากข้อมูลกรมสุขภาพจิตได้เปิดเผยผลประเมินสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นไทยในช่วงปี 2564 ที่ผ่านมา พบว่า ร้อยละ 28 ของเด็กและวัยรุ่นมีภาวะเครียดสูง ร้อยละ 32 มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้า ในขณะที่อีกร้อยละ 22 มีการเข้าสังคมลดลง ติดจอและเกมออนไลน์มากขึ้น มีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งและความรุนแรงในครอบครัว จนนำไปสู่อัตราเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้าในเด็กและเยาวชน จากการสำรวจข้อมูลและคัดกรองภาวะซึมเศร้าในโรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม ปีการศึกษา 2566 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 50 มีความเสี่ยงต่อภาวะการเป็นโรคซึมเศร้า สาเหตุมาจากความเครียดและความกังวลจากการเรียนหนังสือ ครอบครัวแตกแยก การเล่นเกมออนไลน์ การใช้ความรุนแรงจากคนในครอบครัว ถูกกดดันจากคนรอบข้าง ความยากจน รวมถึงการถูกบูลลี่จากเพื่อนร่วมชั้นเรียน ส่งผลกระทบทำให้ เด็กไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนในชั้นเรียนได้ บางรายเกิดการคิดค่าตัวตาย ปัญหาเหล่านี้ทำให้นักเรียนมีแนวโน้มอยู่ในกลุ่มเสี่ยงภาวะซึมเศร้าที่เพิ่มสูงขึ้น
ดังนั้น การแก้ปัญหาที่ผ่านมา ได้มุ่งเน้นไปที่สถานศึกษาเป็นหลัก ไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างทั่วถึง การที่จะแก้ไขปัญหาภาวะซึมเศร้าของเด็กและเยาวชน ต้องอาศัยความร่วมมือจากชุมชน วัด และโรงเรียน (บวร) ในการบูรณาการดำเนินงานร่วมกัน สภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านพร้าวเป็นองค์กรหนึ่งของตำบลบ้านพร้าวที่มีบทบาทในการพัฒนาเด็กและเยาวชน จึงมีความตระหนักถึงการประสานงานเชื่อมโยงกับภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และเห็นว่าจำเป็นต้องเสริมสร้างวัคซีนกายใจพิชิตปัญหาภาวะซึมเศร้าในเด็กและเยาวชนอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางร่างกายและจิตใจ รวมทั้งมีทักษะการใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

ปัจจุบันเด็กและเยาวชนมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าหรือมีภาวะซึมเศร้า จากข้อมูลกรมสุขภาพจิตได้เปิดเผยผลประเมินสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นไทยในช่วงปี 2564 ที่ผ่านมา พบว่า ร้อยละ 28 ของเด็กและวัยรุ่นมีภาวะเครียดสูง ร้อยละ 32 มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้า ในขณะที่อีกร้อยละ 22 มีการเข้าสังคมลดลง ติดจอและเกมออนไลน์มากขึ้น มีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งและความรุนแรงในครอบครัว จนนำไปสู่อัตราเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้าในเด็กและเยาวชน จากการสำรวจข้อมูลและคัดกรองภาวะซึมเศร้าในโรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม ปีการศึกษา 2566 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 50 มีความเสี่ยงต่อภาวะการเป็นโรคซึมเศร้า สาเหตุมาจากความเครียดและความกังวลจากการเรียนหนังสือ ครอบครัวแตกแยก การเล่นเกมออนไลน์ การใช้ความรุนแรงจากคนในครอบครัว ถูกกดดันจากคนรอบข้าง ความยากจน รวมถึงการถูกบูลลี่จากเพื่อนร่วมชั้นเรียน ส่งผลกระทบทำให้ เด็กไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนในชั้นเรียนได้ บางรายเกิดการคิดค่าตัวตาย ปัญหาเหล่านี้ทำให้นักเรียนมีแนวโน้มอยู่ในกลุ่มเสี่ยงภาวะซึมเศร้าที่เพิ่มสูงขึ้น
ดังนั้น การแก้ปัญหาที่ผ่านมา ได้มุ่งเน้นไปที่สถานศึกษาเป็นหลัก ไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างทั่วถึง การที่จะแก้ไขปัญหาภาวะซึมเศร้าของเด็กและเยาวชน ต้องอาศัยความร่วมมือจากชุมชน วัด และโรงเรียน (บวร) ในการบูรณาการดำเนินงานร่วมกัน สภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านพร้าวเป็นองค์กรหนึ่งของตำบลบ้านพร้าวที่มีบทบาทในการพัฒนาเด็กและเยาวชน จึงมีความตระหนักถึงการประสานงานเชื่อมโยงกับภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และเห็นว่าจำเป็นต้องเสริมสร้างวัคซีนกายใจพิชิตปัญหาภาวะซึมเศร้าในเด็กและเยาวชนอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางร่างกายและจิตใจ รวมทั้งมีทักษะการใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข ผลการเปลี่ยนแปลงที่คาดหวังหลังดำเนินโครงการ 1.เกิดเครือข่ายการทำงานที่มีคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วย ชุมชน วัด สถาบันการศึกษา รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวช้องในโครงการเสริมสร้างวัคซีนกายใจพิชิตภาวะซึมเศร้าในเด็กและเยาวชนอย่างยั่งยืน 2.เกิดความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่จำเป็นในการแก้ไขปัญหาภาวะซึมเศร้าของเด็กและเยาวชนอย่างถูกวิธีโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง 3.เด็กและเยาวชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงภาวะซึมเศร้า จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบและสามารถพัฒนาตนเองให้ดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโรคซึมเศร้าและมีทักษะการใช้ชีวิตประจำวันร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์

เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองไม่ให้เสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าร้อยละ70

1.00
2 2.เพื่อให้เด็กและเยาวชนรู้เท่าทันต่อภาวะการเป็นโรคซึมเศร้าและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางสังคมได้อย่างมีความสุข

1.เด็กและเยาวชนมีพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเสริมสร้างสุขภาพจิตที่ดีด้วยการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการเป็นภาวะโรคซึมเศร้าร้อยละ70

1.00
3 3.เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีการปรับพฤติกรรมเสี่ยงไปในทางที่ดีขึ้น

1.เด็กและเยาวชนมีผลการประเมินภาวะซึมเศร้าไปในทางที่ดีขึ้น

1.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 ประชุมคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 ประชุมคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 23 800.00 0 0.00
20 มิ.ย. 67 พัฒนาศักยภาพผู้รับทุน 3 0.00 -
15 ก.ย. 67 ประชุมคณะทำงาน 20 800.00 -
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 310 72,600.00 0 0.00
30 ส.ค. 67 กิจกรรมสุนทรียสนทนา 50 18,000.00 -
20 ต.ค. 67 กิจกรรมร่วมระหว่างเยาวชนและครอบครัว 80 12,900.00 -
30 ต.ค. 67 ประชุมคณะทำงาน 20 800.00 -
20 พ.ย. 67 กิจกรรมสร้างสรรค์และการมีส่วนร่วมของเยาวชน 80 17,900.00 -
15 ธ.ค. 67 ประชุมคณะทำงาน 20 800.00 -
20 ม.ค. 68 ปลูกผักบำรุงจิต 50 17,200.00 -
16 มี.ค. 68 - 15 เม.ย. 68 บันทึกข้อมูลและรายงานผลโครงการ 10 5,000.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองไม่ให้เสี่ยงต่อการโรคซึมเศร้า ร้อยละ 70
  2. เด็กและเยาวชนมีพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเสริมสร้างสุขภาพจิตที่ดีด้วยการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการเป็นภาวะโรคซึมเศร้า ร้อยละ 70
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2567 19:53 น.