directions_run

โครงการรวมพลังสร้างสรรค์เยาวชนเรียนรู้สู้ภัยพิบัติ

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมพลังสร้างสรรค์เยาวชนเรียนรู้สู้ภัยพิบัติ
ภายใต้โครงการ โครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่
รหัสโครงการ 54-01520
วันที่อนุมัติ
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 กรกฎาคม 2554 - 15 สิงหาคม 2555
งบประมาณ 199,750.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางชนิดา นิรมานสกุลพงศ์
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ 1. พื้นที่ประสบภัยพิบัติเขตต้นน้ำ และปลายน้ำ คือ พื้นที่ตำบลฉลองและตำบลเขาน้อย อำเภอสิชล2. พื้นที่ประสบภัยเขตปลายน้ำ คือ พื้นที่ 10 ชุมชน ในเขตเทศบาลตำบลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราชภอสิชล
ละติจูด-ลองจิจูด 9.003773,99.901428place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมที่  1 การสร้างกระบวนการเรียนรู้  (จำนวน  2  วัน)
วันที่  1  ของการดำเนินกิจกรรม  ประกอบด้วย
  1)  กิจกรรมการเรียนรู้  “ภาพบอกเล่าสิ่งดีๆ  ความสำเร็จ  และความภูมิใจ”
  2)  กิจกรรมการเรียนรู้  “ภาพบอกเล่าสุข – ทุกข์ ของตนเอง  ครอบครัว  ชุมชน”
  3)  กิจกรรมการเรียนรู้  “การเปลี่ยนแปลงของชุมชน ในเรื่องสภาวะทางจิตใจ สังคม  การเมือง  และสิ่งแวดล้อม”  ทั้งด้านบวก  ด้านลบ
  4)  กิจกรรมการเรียนรู้  “บอกเล่าประสบการณ์ความทรงจำเกี่ยวกับภัยพิบัติ – อุบัติเหตุ”
  5)  กิจกรรมการเรียนรู้  “ความรับผิดชอบร่วมกันในสังคม”
  6)  กิจกรรมการเรียนรู้  “เยาวชนกำหนดลักษณะผู้นำ/ฮีโร่ในอุดมคติ”
สรุปผลการทำกิจกรรมสร้างพลังจิตอาสา จากกิจกรรมการเรียนรู้

วันที่  2  ของการดำเนินกิจกรรม  ประกอบด้วย
  1)  กิจกรรมการเรียนรู้  “บอกเล่าบทบาทหน้าที่ของเด็กและเยาวชนเมื่อเกิดภัย”
  2)  กิจกรรมการเรียนรู้  “บอกเล่าบทบาทหน้าที่ของผู้นำ”
  3)  กิจกรรมการเรียนรู้  “ร่วมวิเคราะห์แนวทาง ที่จะทำกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขภัยพิบัติ”
  4)  กิจกรรมการเรียนรู้  “ร่วมกำหนดหน้าที่และความรับปิดชอบของเด็กและเยาวชนในการสู้ภัยพิบัติ”
  5)  กิจกรรมการเรียนรู้  “สรุปปัญหา  วิเคราะห์กิจกรรมที่เยาวชนนำเสนอ”
สรุปผลการทำกิจกรรมสร้างพลังจิตอาสา จากกิจกรรมการเรียนรู้  เพื่อก่อเกิดพลังจิตอาสา  และดำเนินการรวมกลุ่มพลังสร้างสรรค์เยาวชนเรียนรู้สู้ภัยพิบัติ

กิจกรรมที่  2    ร่วมร่างสร้างหลักสูตรการฝึกอบรมการเรียนรู้สู้ภัยพิบัติ  (จำนวน  1  วัน) วันที่  1  ของการดำเนินกิจกรรม  ประกอบด้วย
  1)  กิจกรรมการบอกเล่าชี้แจงวัตถุประสงค์ให้เด็กและเยาวชนร่วมกันสร้างหลักสูตรที่ตนเองอยากฝึกอบรม
  2)  กิจกรรมการเรียนรู้  “เขียนภาพบอกเล่าสิ่งที่เด็กและเยาวชนอยากมีบทบาทหน้าที่อย่างไรในการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ”
  3)  กิจกรรมการเรียนรู้  “เด็กและเยาวชนร่วมบอกเล่าความรู้สึก และความต้องการว่าอยากเรียนรู้เรื่องอะไร”
  4)  กิจกรรมการเรียนรู้  “วิธีการที่เด็กและเยาวชนอยากให้มีการจัดการเรียนรู้”
  สรุปผลการร่วมร่างสร้างหลักสูตรจากกิจกรรมการเรียนรู้  เพื่อกำหนดเป็นแนวทางการจัดกิจกรรม

กิจกรรมที่  3    การฝึกอบรมภาคทฤษฎี  - ภาคปฏิบัติ  โดยการนำหลักสูตรกิจกรรมที่เด็กและเยาวชน
ต้องการเรียนรู้  ในเรื่องของ อุบัติเหตุการจราจร การแจ้งเหตุร้าย การรักษาความสงบในงานของชุมชนในงานประเพณี งานบุญ งานเทศกาลต่าง ๆ ของชุมชน มาดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้  แก่เด็กและเยาวชน เพื่อให้เกิดกระบวนการคิด  จิตสำนึกในการมีส่วนร่วมและมีจิตอาสาในการปฏิบัติต่อไป    (หลักสูตรจำนวน  3 วัน)





กิจกรรมที่  4  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  สถานการณ์จำลองในพื้นที่จริง 4. 1  ผู้ดำเนินการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้กำหนดพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  โดยการศึกษาดูงาน  เก็บข้อมูล  และทำกิจกรรมในพื้นที่ประสบภัยเขตต้นน้ำ  / ปลายน้ำพื้นที่  ในเขตอำเภอสิชล
4 .2  เด็กและเยาวชนเป็นผู้กำหนด  โดยการศึกษาดูงาน  เก็บข้อมูล  และทำกิจกรรมใน พื้นที่ที่เด็กและเยาวชน  มีความสนใจเก็บเกี่ยวประสบการณ์และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ผ่านกระบวนการเรียนรู้ก่อนจึงจะกำหนดพื้นที่ได้  ในต่างจังหวัด)
4.3  กิจกรรมการสร้างสรรค์ความดี  เมื่อเด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ ภาคทฤษฎีภาคปฏิบัติ พร้อมทั้งได้ไปศึกษาสถานการณ์จำลองจากพื้นที่จริง เด็กก็จะเกิดความคิดใหม่ ๆ และได้ค้นพบสิ่งที่ตนเองอยากจะทำ เช่น อุบัติเหตุการจราจร การแจ้งเหตุร้าย การรักษาความสงบในงานชุมชน การบริการชุมชนต่าง ๆ หรือกิจกรรมอื่น ๆที่เด็กและเยาวชนต้องการจะทำอย่างสร้างสรรค์โดย สนับสนุนให้เด็กและเยาวชนที่จะรวมกลุ่มทำความดีและมีประโยชน์ต่อส่วนรวม ก็จะนำเงินจากไปสนับสนุนกิจกรรมของเด็กและเยาวชนครั้งละประมาณ 1,000บาท/1กลุ่ม/กิจกรรม

กิจกรรมที่  5      กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  จำนวน  3 ครั้ง  (1 ครั้ง/เดือน)    โดยนำเด็กและเยาวชนมา จัดกระบวนการกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์  และสิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้
-  กิจกรรมการเรียนรู้จากบทบาทสมมุติ จำลองจากสถานการณ์จริง  “การแสดงละคร” -  กิจกรรมการเรียนรู้จากคลิปวีดีโอ  การนำเสนอผลงาน - กิจกรรมการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนที่จุดเสี่ยง  และพื้นที่ปลอดภัย  เพื่อนำไปเป็น
  ฐานปฏิบัติการในชุมชน กิจกรรมที่  6  กิจกรรมการพบปะกลุ่มย่อย  เดือนละ  2  ครั้ง  โดยนำเด็กและเยาวชนแกนนำในกลุ่ม มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  และเพิ่มเติมประสบการณ์
กิจกรรมที่  7 กิจกรรมการจัดทำ แผ่นพับฉบับการ์ตูนเด็ก  เพื่อประชาสัมพันธ์ และกระตุ้นเตือนการสร้างจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนร่วมกันตระหนัก และรณรงค์ให้เกิดความร่วมมือในการป้องกันและเฝ้าระวังภัยที่จะเกิดขึ้น
กิจกรรมที่  8  กิจกรรมการเรียนรู้ นักจัดรายการวิทยุชุมชน ( DJ น้อย)  เพื่อเสริมสร้างทักษะ  การพูด  การคิด                             การวิเคราะห์และความกล้าแสดงออกในทางสร้างสรรค์ให้เด็กและเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการ กิจกรรมที่ 9      การมอบเกียติบัตรแก่ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมและผู้ร่วมปฏิบัติจริง
กิจกรรมที่  10 กิจกรรมการ จัดนิทรรศการ การเรียนรู้  เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ผลงานพลังสร้างสรรค์เยาวชนเรียนรู้สู้ภัยพิบัติ  ในวันเด็ก  และวันแสดงผลงานทางวิชาการของนักเรียนในเขตพื้นที่ประสบภัยต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2554 20:51 น.