ประชุมเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดภูเก็ต

by chonpadae @16 พ.ค. 54 20.32 ( IP : 182...251 ) | Tags : จับกระแสสมัชชา , ภูเก็ต

วันที่  6 พฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมศรีตรัง โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต
          กลไกวิชาการสนับสนุนกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะพื้นที่ภาคใต้ จากทีมสจรส.ม.อ.
นำโดย อ.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ และคณะ ร่วมประชุมกับเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดภูเก็ต มีทีมสมาคมประชาคมภูเก็จ
คุณสุพจน์  สงวนกิตติพันธุ์ ทีมจาก สสจ.ภูเก็ต ตัวแทนเครือข่ายสื่อ เทศบาลนครภูเก็ต เครือข่ายชุมชน และมีท่าน นพ.สสจ ภูเก็ต เขาร่วมประชุมแนวทางการขับเคลื่อนกระบวนการสมัชชาสุขภาพภูเก็ต
          อ.พงค์เทพ  สุธีรวุฒิ กล่าวถึงทิศทางการปฏิรูประบบสุขภาพ  เดิมสุขภาพแบบแยกส่วน แต่ปัจจุบันนิยามสุขภาพในความหมายสุขภาวะ กาย จิต สังคม ปัญญา
ด้านกาย  ได้แก่ เจ็บป่วย ด้านจิต ได้แก่ ภาวะจิตที่ผิดปกติ เช่น เครียด วิตกกังวล  ด้านสังคม เช่น ปัญหาเด็กเยาวชน ความรุนแรง  ด้านปัญญา  คือการรู้เท่าทัน
          ปัจจุบันการทำงานองค์การอนามัยโลก (WHO)  ฉีกกรอบการทำงานมิติสุขภาพในความหมายเดิม เช่น องค์การอนามัยโลกทำในเรื่อง ปัจจัยกำหนดสุขภาพ ทำเรื่อง climate change  ความหมายสุขภาพเป็นเรื่องของทุกคน ไม่ได้เป็นเรื่องบุคลากรทางการแพทย์ สุขภาวะ 4 มิติ 4 ระดับ ซึ่งการที่จะไปถึงสุขภาวะ 4 มิติ ได้ จำเป็นต้องมีนโยบาย แผน หรือกลยุทธ์ เพือดำเนินการให้ไปถึงจุดหมายสุขภาวะ  แต่กระบวนการนโยบายสาธารณะ คำถาม คือ ใครกำหนดนโยบาย ?
ส่วนใหญ่นโยบายเป็น top down เป็นการสั่งการจากส่วนกลาง
          แต่ ปัจจุบัน ตามพรบ.สุขภาพแห่งชาติ ปี 2550  ได้เพิ่มช่องทางในการพัฒนานโยบาย ให้พื้นที่สามารถกำหนดข้อเสนอนโยบาย /มติ ได้ซึ่งสามารถส่งให้ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(คสช.)พิจารณาส่งต่อให้หน่วยงาน หรือแม้กระทั้งส่งให้  ครม. บังคับใช้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ภายใต้เงื่อนไขคือการจัดสมัชชาเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ คสช.
          ที่ผ่านมาภาคใต้มีการใช้ช่องทางสมัชชาสุขภาพในการเสนอมติ ได้แก่
ปีที่ 1 นโยบายเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม
ปีที่ 2 แผนพัฒนาภาคใต้ สาระสำคัญของมติ ได้แก่ การให้สภาพัฒน์ฯทบทวนแผนพัฒนาภาคใต้
ปีที่ 3 พื้นที่จัดการตนเอง
ปีที่ 4 กำลังดำเนินการพัฒนาข้อเสนอประเด็นการจัดการภัยพิบัติ
เป้าหมายในการพัฒนากระบวนการสมัชชาสุขภาพของจังหวัดภูเก็ต เพื่อให้เกิดกลไกการพัฒนานโยบายสาธารณะ มีเวทีนโยบายของจังหวัด
          บทเรียนการพัฒนากระบวนการสมัชชาสุขภาพ เช่น กรณีจังหวัดยะลา เดิมกลไกเริ่มจากแกนนำภาคประชาชน โดยใช้ประเด็นอนามัยแม่และเด็กในการขับเคลื่อน แต่ทำได้แค่ส่วนหนึ่งจึงมีการปรับให้ สสจ.เข้ามาเป็นแกนประสาน แต่ก็พบว่ายังมีปัญหาติดขัด ล่าสุดมีการประสาน คุณพงษ์ศักดิ์ นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต เข้ามาเป็นแกนประสานขับเคลื่อนในระดับจังหวัด  กรณีจังหวัดตรัง ที่ผ่านมากลไกประสานงานเป็นการทำงานร่วมกันของแกนนำภาคประชาสังคม และเจ้าหน้าที่จาก สสจ.ตรัง มีการจัดสมัชชาจังหวัดจนมีมติสมัชชา มีองค์กรภาคีเซ็น MOU 28 องค์กร แต่พอจังหวะในการผลักดันมติสู่การปฏิบัติ ก็พบปัญหาติดขัดยังไม่สามารถนำมติไปขับเคลื่อนได้ ล่าสุดมี นพ.ไพศาล เกื้ออรุณ รับในการเป็นแกนประสานกับ อบจ. ส่วนราชการ  ผอ.ราชภัฎสวนดุสิต ศูนย์ตรัง ในการร่วมขับเคลื่อนมติ  กรณีจังหวัดปัตตานี เริ่มแรกก็เป็นแกนนำภาคประชาสังคม ภายหลังก็มีการปรับเป็นการทำงาน มีเจ้าหน้าที่จาก สสจ. เข้ามาร่วมขับเคลื่อน มีการเชิญ อบจ.เข้าร่วมกระบวนการสมัชชา ตอนนี้ก็การหารือกับรองผู้ว่าราชการจังหวัดในการขับเคลื่อนมติสมัชชา โดยจะใช้ช่องทาง
"ครม.น้อย" ซึ่งเป็นเวทีประจำของหัวหน้าส่วนราชการที่พบกันทุกวันพฤหัสบดี เวลา 08.00-09.30 น. ซึ่งปกติจะนำมติครม.ที่ออกทุกสัปดาห์ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานในจังหวัดมาหารือเพื่อการขับเคลื่อน  โดยจะนำมติของสมัชชาเข้าหารือเพื่อการขับเคลื่อน
สำหรับ กระบวนการนโยบายสาธารณะ แบ่งได้เป็น
- ต้นน้ำ (การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย)
- กลางน้ำ  การพิจารณาข้อเสนอเชิงนโยบาย / ฉันทามติ(ลดข้อจำกัดประชาธิปไตยเสียงส่วนใหญ่)
- ปลายน้ำ (การผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบาย การปฏิบัติ และการประเมินผล )
ที่ประชุมร่วมแลกเปลี่ยนการทำงานที่ผ่านมา
- สมาคมประชาคมภูเก็จ ทำงานลักษณะโครงการ แต่ยังไม่สามารถเป็นกลไกคณะทำงานพัฒนานโยบาย
- ที่ผ่านมาเป็นการมีส่วนร่วมเฉพาะในการประชุม  หน่วยงานก็ทำเฉพาะภารกิจ
- ภูเก็ตขาดองค์กรที่ชัดเจน
- ตัวแทน ภาคปชช.ที่เข้าร่วมขาดการมีส่วนร่วม
- ขาดกลไกการเชื่อมประสานในระดับพื้นที่
- การขับเคลื่อนที่ผ่านมาใช้ระบบความสัมพันธ์เป็นหลัก
- แต่ละหน่วยงานมีแผนงานของแต่ละหน่วยงาน แต่ขาดการเชื่อมต่อ
- ประเด็นการทำงานของ สช ไม่เน้นการมีคำสั่งเชิงโครงสร้าง
- ที่ผ่านมาจุดหมายระยะไกลของภูเก็ตจะเป็นอย่างไร / ใครเป็นคนกำหนด / ขาดการเห็นภาพรวมร่วมกัน(จุดหมาย 3 ปี 5 ปี)
แนวทางการขับเคลื่อนกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัดภูเก็ต
- นพ.สสจ ภูเก็ต รับในการเป็นแกนประสานการขับเคลื่อนกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัดภูเก็ต
          เมื่อมีท่าน นพ.สสจ รับเป็นหัวขบวนคงต้องติดตามว่ากระบวนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมของจังหวัดภูเก็ตจะเป็นอย่างไรต่อไป

Relate topics

Comment #1ช่วยดูแลสระว่ายน้ำของ อพจ ที่สพานหิน
phasakon (Not Member)
Posted @17 มี.ค. 55 19.50 ip : 210...166

น้ำสกปรกมาก กรุราทำความสะอาดสระอาทิตย์ละครั้งเถอะครับ เด็กๆมาว่ายน้ำมาก สงสารเด็กเถิด ฝากช่วยดูเเลด้วยครับ