แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 1

รหัสโครงการ 57-01430
สัญญาเลขที่ 57-00-0745

ชื่อโครงการ ร่วมสร้างแผนชุมชนบ้านยางงามสู่ความพอเพียง
รหัสโครงการ 57-01430 สัญญาเลขที่ 57-00-0745
ระยะเวลาตามสัญญา 15 มิถุนายน 2014 - 31 พฤษภาคม 2015

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 นายถาวร คงศรี
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 15 มิถุนายน 2014
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 1 พฤษภาคม 2015
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 นางญาณาธิป เดชดี 198 ม.3 ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง 93000 0937204635
2

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้การจัดทำแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วมที่มีคุณภาพ

1.1 ตัวแทนครัวเรือนมากกว่า 50% รู้กระบวนการจัดทำแผนชุมชน 73 คนและสมัครใจเข้าร่วมโครงการ 70 คน

1.2 ศึกษาดูงานที่สินธุ์แพรทอง ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ศูนย์ปราชญ์โงกน้ำ

1.3 ประชุมเพื่อกำหนดและสร้างกระบวนการทำแผนชุมชนด้วยการเก็บข้อมูล 2 ส่วน คือ 1.ข้อมูลครัวเรือนรายรับ-รายจ่ายและหนี้สินครัวเรือนเก็บ 3 เดือน  2. ข้อมูลชุมชนโดยรวบร่วมจากข้อมูลครัวเรือนและเก็บข้อมูลอื่น ๆ

1.4 สร้างกระบวนการแผนชุมชนอย่างมีคุณภาพ

1.5 จัดเวทีคืนข้อมูลให้ชุมชน

1.6 ยกร่างแผนพัฒนาชุมชน

1.7 ทำประชาพิจารณ์

1.8 ประสานแผนและบูรณาการแผน

1.9 ผลักดันแผนสู่การปฏิบัติ

1.10 ติดตามและตรวจสอบการดำเนินงาน

2.

เพื่อขับเคลื่อนแผนชุมชนให้เกิดรูปธรรมการดำเนินงาน

2.1 เรียนรู้แนวคิดและการดำเนินแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 2.2 กำหนดกิจกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 8 กิจกรรม ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้ครัวเรือน 2.3 ครัวเรือนต้นแบบดูแลและจัดการด้านสุขภาพได้ด้วยตนเอง

3.

3.เพื่อพัฒนากลไกในการขับเคลื่อนแผนชุมชนอย่างยั่งยืน โดยกรรมการหมู่บ้าน

3.1 สื่อสารให้กรรมการและเด็กในชุมชนทำสื่อชุมชนและกำหนดโครงสร้างบทบาทหน้าที่ของกรรมการ 15 คน และกำหนดกติกาของชุมชน/รณรงค์/การสื่อสารกิจกรรม 3.2 เปิดตลาดสินค้าปลอดภัย 3.3 จัดทำองค์ความรู้ชุมชนยางงามน่าอยู่

4.

4.เพื่องานบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลโครงการ

4.1 จำนวนครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส. และ สจรส.

2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมหลัก : สร้างความเข้าใจวัตถุประสงค์โครงการ/เป้าหมาย /กระบวนการจัดทำแผนชุมชนกับตัวแทนครัวเรือนมากกว่า 50 % ร่วมเรียนรู้จัดทำแผนชุมชน -ใช้วิทยากรให้ความรู้/ความสำคัญของแผนชุมชน กับผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งแรกi

12,160.00 88 ผลผลิต
  • ได้ตัวแทนครัวเรือนสมัครเข้าร่วมเป็นครัวเรือนต้นแบบไม่ครบตามจำนวน  70 คน  ยังต้องสร้างความเข้าใจเพิ่มหรือจัดประชุมคณะทำงานย่อย ในการสื่อสารให้มากขึ้น แต่ไม่เป็นปัญหาเพราะเป็นชุมชนมีการรวมกลุ่มได้ดี
  • มีผู้นำ นายกเทศมนตรี,กำนันตำบลนาท่อม และผู้นำจำนวนมาก เข้ารวมให้กำลังใจชุมชน

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • ชุมชนมีแกนนำรองมีความตื่นต้วมากกว่าแกนนำรองเข้าร่วมจำนวนมาก
  • ตัวแทนผู้นำหมู่บ้านอื่นเข้ามาช่วยให้กำลังใจ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

นายพีระพงศ์  บาลทิพย์ นายกเทศมนตรีตำบลนาท่อม  นายเชาว์  รอดเพ็ง รองนายกเทศมนตรี , สมาชิกสภาเทศบาล, นายอนุชา  เฉลาชัย กำนันกำนัน ตำบลนาท่อม  คุณหมอหมอสมนึก  นุ่นด้วง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ  รพสต.นาท่อม เจ้าหน้าที่และพนักงานเทศบาลตำบลนาท่อม ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  ตัวแทนผู้นำหมู่บ้านและตัวแทนครัวเรือนบ้านยางงาม  รวม 85 คน

12,160.00 12,160.00 88 85 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้รับการคัดเลือกแกนนำ 15 คน และครัวเรือนต้นแบบในการเรียนรู้กระบวนการทำแผนชุมชนที่มีคุณภาพ
  • ครัวเรือนแต่ละครัวเรือนเข้าใจกับโครงการ หลังจากได้รับคำชี้แจงวัตถุประสงค์เป้าหมายของโครงการ

กิจกรรมหลัก : ดูงานสินธุ์แพรทองดูงานด้านกระบวนการทำแผนชุมชน 8 ขั้นตอน(สร้างทีม,ประชุมสร้างความเข้าใจ,ออกแบบเก็บข้อมูล,คืนข้อมูล,ยกร่าง,ประชาพิจารณ์,ประสานแผน,ผลักดันแผน) -ดูงานศูนย์ปราชญ์โงกน้ำดูงานหลักคิดและกิจกรรมปฏิบัติการเศรษฐกิจพอเพียง อย่างน้อย 8 กิจกรรมi

14,300.00 30 ผลผลิต

ดูงานจากศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านควนกุฏ หมู่ 15 ต. ควนมะพร้าว อ.เมือง จ.พัทลุง

  • ชุมชนบ้านยางงาม รู้ เข้าใจ ได้ดูชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงที่ใช้แผนชุมชนในการทำกิจกรรม เป็นรูปธรรม ในแหล่งเรียนรู้ของผู้ใหญ่สมศักดิ์  ทองใสและสมนึก  ทองไส  (การปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์อินทรีย์)

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

การสรุปหลังจากดูพื้นที่รูปธรรม กรรมการหมู่บ้านและครัวเรือนชุมชนยางเห็นภาพรูปธรรม  ในหลักคิดและกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น

ข้อเสนอแนะ
- ชุมชนต้องคัดเลือกแกนในการร่วมทำงานโดยสมัคใจและกระจายให้ครอบคลุมพื้นที่ไม่กระจุก

  • ต้องตั้งคณะทำงานเป็นแกนนำหรือสภาแกนนำในการทำงานขับการทำกิจกรรม  การทำแผนชุมชน เป็นคณะขับเคลื่อนพัฒนาชุมชน

  • แกนนำที่รวมตัวเป็นสภาแกนนำต้องประชุมอย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

สมาชิกสภาเทศบาลนาท่อม  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 อสม. ประธานกลุ่มสตรี  แกนนำหมู่บ้านและครัวเรือนต้นแบบ  รวม 32 คน

14,300.00 14,300.00 30 32 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • แกนนำและครัวเรือนต้นแบบ  สามารถเข้าใจถึงแนวทางปฏิบัติได้มากขึ้น  รู้ถึงการดำเนินงานได้

กิจกรรมหลัก : สร้างความเข้าใจจัดทีมงาน ออกแบบจัดเก็บข้อมูล 2 ส่วน แบ่ง 5 ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย และ ด้านการบริหารจัดการ และกำหนดบทบาทหน้าที่ของแกนนำให้เป็นกรรมการหมู่บ้านในการจัดทำแผนชุมi

5,200.00 20 ผลผลิต
  • สมาชิกสภาแกนนำ 15  คน มาจากการคัดเลือก เรียนรู้การสร้างกลไกพัฒนาชุมชนบ้านยางงาม
  • ได้กำหนดบทบาทให้แกนนำเป็นตัวแทนสื่อสารประชาสัมพันธ์โครงการและเก็บข้อมูลเพื่อทำแผนชุมชนเพื่อใช้เป็นเครื่องมือพัฒนา

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • สมาชิกสภาแกนนำ 15 คน เข้าใจสามารถนำไปขยายผลสร้างความเข้าใจกิจกรรมของโครงการพร้อมดำเนินการเก็บข้อมูลเบื้องต้น

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • แกนนำของหมู่บ้าน 15 คน
  • วิทยากร  2 คน
  • ตัวแทนผู้นำ 4 คน
5,200.00 5,200.00 20 21 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานหมู่บ้าน ที่เป็นครัวเรือนต้นแบบ ได้รู้และเข้าใจในการกำหนดออกแบบกรอบข้อมูลเพื่อเก็บข้อมูลชุมชนบ้านยางงามเพื่อนำมาสู่การจัดทำแผนชุมชน 2  ส่วน คือ ข้อมูลครัวเรือน ที่เก็บจากการทำบัญชีครัวเรือน เพื่อนำผลมาวิเคราะห์จนได้เห็นปัญหาและโอกาส  ส่วนข้อมูลชุมชน ได้เห็นทุนของชุมชนที่มีนำมาสู่  แผนงานโครงการแก้ปัญหาในระดับชุมชน ที่จะในไปบรรจุไว้ในแผนกิจกรรมของแผนชุมชน และผลักดันเป็นแผนปฏิบัติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กิจกรรมหลัก : ประชุมกรรมการหมู่บ้านเพื่อแบ่งบทบาทหน้าที่ -1 การเตรียมการประชุมหมู่บ้านเมื่อข้อมูลครบรวมทั้งเตรียมประสานผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม -2 เตรียมการประชุมหมู่บ้านเพื่อสร้างความเข้าใจ ความสำคัญแผน -ทำแผนระดับครัวเรือน นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลรายรับ - รายจ่าย ที่รูi

5,200.00 20 ผลผลิต

สมาชิกสภาแกนนำ ได้เรียนรู้กระบวนการการทำแผน 8 ขั้นตอนอย่างเข้าใจและไปสื่อสารได้


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

สภาแกนนำได้รู้บทบาทหน้าที่ในการได้มาซึ่งข้อมูลนำไปทำแผน สู่การประสานแผนและเห็นแผนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • กรรมการหมู่บ้าน 18 คน
  • วิทยากร              1 คน
  • ตัวแทนผู้นำ          4 คน
5,200.00 5,200.00 20 23 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กรรมการได้ทราบและเห็นความสำคัญ มีความรู้เข้าใจเห็นกระบวนการได้มาของแผนชุมชนและได้เห็นแผนชุมชนเป็นเป็นแผนพัฒนาของชุมชน ได้ร่วมกันออกแบบวางแผนให้ ปลัดอำเภอ นางจริยา  จันทร์ดำมาเป็นวิทยากรให้ในครั้งต่อไป เพื่อต้องการ ความรู้ ออกแบบชุมชนตามหลัก หมู่บ้าน กม.(กรรมการหมู่บ้าน)

กิจกรรมหลัก : ปฐมนิเทศก์โครงการi

2,500.00 2 ผลผลิต

ผู้รับผิดชอบและคณะทำงานร่วมกิจกรรม
- รู้จักเข้าใจสามารถทำการบันทึกรายงานผลผ่านระบบออนไลท์

  • ผู้เข้าร่วมได้รู้ที่มา วัตถุประสงค์ของโครงการและการดำเนินงานของโครงการ

แนะนำ

  • คณะทำงานยังใหม่และยังไม่คุ้นเคยกับระบบยังต้องขอเวลาศึกษาอีกระยะ

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ได้ระบบรายงานผลที่ทันสมัยไม่ต้องทำงานซำ้ซ้อน  ถ้ามีความชำนาญสามารถทำเสร็จได้เลย

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  1. ผู้รับผิดชอบโครงการ  1  คน
  2. คณะทำงาน  1  คน
2,500.00 800.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สามารถรายงานกิจกรรมผ่านเว็บไซท์ของโครงการ  รู้ถึงสิ่งที่ต้องปฏิบัติในการทำโครงการ 

กิจกรรมหลัก : กิจกรรมหนุนเสริมติดตามการดำเนินโครงการi

7,500.00 3 ผลผลิต

เห็นการเงินและคณะทำงานมีความเข้าใจในการบันทึดรายงานผ่านเว็บไวต์และการทำบัญชี


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

คณะทำงานสามารถดำเนินการได้เอง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

เจ้าหน้าที่การเงินสามารถบันทีกรายงานกิจกรรมและการเงินของโครงการได้

800.00 800.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สามารถสรุปและลงข้อมูลในการทำกิจกรรมได้ ของแต่ละกิจกรรม

การเงินและผู้ตรวจร่วมกันตรวจเอกสารทางการเงินของโครงการ

900.00 900.00 1 1 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้จัดทำรายงานให้เรียบร้อยและส่งรายงานปิดงวด 1
  • การเงินยังไม่เรียบร้อย

ผู้รับผิดชอบโครงการ

500.00 500.00 1 1 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้รับประโยชน์ในการทำประเมินเพราะจะได้รู้ถึงผลที่เกิดขึ้นกับโครงการของเรา

กิจกรรมหลัก : กิจกรรมจัดทำป้ายปลอดเขตบุหรี่และการล้าง อัดขยายภาพi

2,000.00 0 ผลผลิต

จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่ ณ สถานที่ทำกิจกรรมทุกครั้งและได้อธิบายถึงความสำคัญของป้ายในการทำกิจกรรม


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ผู้เข้าร่วมรู้ และเข้าใจและปฏิบัติไม่สูบบุหรีในเขตห้ามทุกครั้ง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน

1,000.00 1,000.00 100 100 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ปิดป้ายรณรงค์ทุกครั้งในพื้นที่ทำกิจกรรม

กิจกรรมหลัก : เมื่อดำเนินการตามข้อ 1.4 แล้วเสร็จสู่การยกร่างแผน ด้วยการประชุมเพื่อนำเอาแผนงานกิจกรรมเข้าสู่แผนชุมชนใน 5 ด้าน # ด้านเศรษฐกิจ -โครงการ/กิจกรรมที่สามารถเพิ่มรายได้-ลดรายจ่าย -การปรับใช้ปรัชญา ศ.กิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต -การประกอบอาชีพเสริมหลังจากทำอาชีพหi

7,500.00 20 ผลผลิต

สภาแกนนำได้เรียนรู้ โครงสร้าง บทบาทหน้าที่  7 ด้าน ในการช่วยคณะทำงานแต่ละด้านกับการพัฒนาชุมชนโดยแผนพัฒนา


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

สภาแกนนำสามารถนำความรู้เรื่องโครงสร้าง หน้าที่ในแต่ละด้าน สามารถสื่อสารให้คนอิื่นเข้าใจได้ อย่างเข้าใจ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • ครัวเรือนต้นแบบและกรรมการหมู่บ้าน
  • หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาลตำบลนาท่อม
  • ปลัดอำเภอเมือง จ.พัทลุง
  • พี่เลี้ยงโครงการ
7,500.00 7,500.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ความรู้การจัดโครงสร้างการดำเนินงานและการบริหารจัดการชุมชนบ้านยางงาน 7 ด้าน และบทบาทหน้าที่ จาก ปลัดอำเภอเมือง จ.พัทลุง และได้รู้และเข้าใจ กระบวนการได้มาของแผนชุมชนบ้านยางงามและการเสนอแผนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จาก หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาลตำบลนาท่อม

กิจกรรมหลัก : เวทีประชาพิจารญ์แผนชุมชนร่วมกับประชาชนในชุมชน จัดโดยกรรมการหมู่บ้านi

14,600.00 90 ผลผลิต

-สภาแกนนำชุมชนบ้านยางงามจัดเวทีประชาพิจารญ์ ได้แผนชุมชนบ้านยางงามฉบับสมบูรณ์ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชน ผ่านการทำประชาคมหมู่บ้าน นำเสนอต่อเทศบาล เป็นแผนฉบับสมบูรณ์


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

-ขอเสนอต่อเวทีประชาพิจารญ์  เพิ่มเติม เสนอให้เทศบาลดำเนินการ ขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะและสร้างถนนคอนกรีต 2 เส้นทาง ตลอดจน เสนอให้ทำป้ายบอกทาง กำหนดความเร็วบนถนนในชุมชนและทำลูกระนาดกำหนดความเร็วของรถ

-ประชาชนได้เชิญ เทศบาล  บริษัทที่ให้ทุนการเลี้ยงไก่และผู้เลี้ยงไก่รายใหม่มาชี้แจง แสดงความรับผิดชอบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นจากฟาร์มเลี้ยงไก่ ถ้าเกิดมีขึ้นในอนาคต  จนประชาชนได้รับความพอใจ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • ประชาชนหมู่ที่ 3 สมาชิกสภาแกนนำ จำนวน 74 คน
  • ตัวแทนจากเทศบาล  5  คน
  • วิทยากร 1  คน
  • บริษัทสนับสนุนการเลี้ยงไก่ 1
  • ผู้ประกอบการเลี้ยงไก่ฟาร์ม 1
14,600.00 14,600.00 93 82 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการประชุมทำประชาคมในครั้งนี้ สภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้าน
1. ได้แผนกิจกรรมที่ประชาชนร่วมกันเสนอต่อที่ประชุมและต่อเทศบาลที่มาทำร่วมกัน ด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่นขยายเขตนำ้ประปา และการสร้างหอถัง , การขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะในถนนสายต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ถนน  ด้านคุณภาพคนและสังคม โดยการเรียกร้องให้กำหนดอัตราความเร็วของรถบนถนนสายในชุมชน เพื่อความปลอดภัยกับสร้างลูกระนาดในชุมชน  และส่งเสริมอาชีแก่ประชาชนให้มีรายได้เสริม 2. สภาแกนนำและประชาชนเห็นความสำคัญและเข้าใจในกระบวนการทำแผนชุมชนที่ใช้ในการพัฒนาชุมชนจากหัวหน้าสำนักปลัด นางวิภา  พรหมแท่น 3. ได้แผนชุมชนที่ประชาชนมีส่วนร่วม เรียนรู้และเสนอเพื่อใช้ในการพัฒนาชุมชนจากการเรียนรู้แผนเดิมและปรับปรุงด้วยการร่วมคิด

กิจกรรมหลัก : หลังจากกิจกรรม 1.6 ร่วมประชุมเพื่อรับรองแผน นำแผนชุมชนฉบับร่วมคิดร่วมทำนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง -จัดเก็บแผนไว้ใช้ประโยชน์นำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาหมู่บ้านโดยกรรมการหมู่บ้าน -จัดส่งแผนให้ เทศบาลเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาของเทศบาล ในกิจกรรมโครi

4,640.00 22 ผลผลิต

สภาแกนนำบ้านยางงามนำแผนจากการทำประชาคมไปสู่เทศบาลในการทำประชาคมตำบล เพื่อยืนยันแผนชุมชนเดิม


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

สภาแกนนำชุมชนบ้านยางงามได้เรียนรู้ และ เข้าใจ กระบวนการจัดทำแผนชุมชนเพื่อใช้เป็นเครืองมือในการพัฒนาและการประสานแผนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสู่การปฏิบัติ และสภาแกนนำเป็นกลไกในการติดตามผล และทำงานพัฒนาชุมชนเรื่องอื่น ๆ ต่อไป

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

กรรมการหมู่บ้าน 15 คน เทศบาล 4 คน เยาวชน 2 คน

4,640.00 4,640.00 22 22 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้านยางงาม ได้แสดงบทบาทการขับเคลื่อนเสนอแผนต่อเทศบาลเพื่อให้แผ่นชุมชนนำเข้าสู่แผน 3 ปี แล้วนำมาใช้สู่การปฏิบัติ -สภาแกนนำหรือกรรมการหมู่บ้านได้เรียนรู้กระบวนผลักดันแผนสู่การปฎิบัติเหลือการติดตามและการประเมินแผนของชุมชน

กิจกรรมหลัก : กิจกรรมเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงจากการผลัดดันแผนสู่การปฏิบัติกับ 8 กิจกรรม - ปลูกผัก มากกว่า 15 ชนิด เพื่อลดรายจ่ายได้อาหารที่ปลอดภัย - ทำบัญชีครัวเรือน เพื่อรู้จักตนเอง - ทำสินค้าทดแทน เพื่อลดรายจ่ายครัวเรือนจากผลผลิตที่มีในชุมชน อย่างน้อย 3 อย่าง - ทำปุ๋i

15,740.00 72 ผลผลิต

ครัวเรือนต้นแบบและสมาชิกสภาแกนนำได้เรียนรู้และเข้าใจหลักคิด การดำเนินตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและหลักปฎิบัติตามแผนกิจกรรมจากแผนชุมชนบ้านยางงาม โดยวิทยากร  เกษตรสมชาติ  นาคะวิโรจน์ เกษตรอำเภอบางแก้วผู้ขับเคลื่อนงานบางแก้วโมเดล


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • ครัวเรือนต้นแบบเข้าใจหลักปฎิบัติและนำไปปรับใช้กับครอบครัวให้สอดคล้องกับปัญหาความต้องการได้

  • สมาชิกสภาแกนนำ 15  คนที่มาจากการคัดเลือกของหมู่บ้าน นำไปปรับใช้และถ่ายทอดใหัผู้ที่สนได้อย่างเข้าใจ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • ครัวเรือนต้นแบบ ุ63 คน
  • วิทยากร 2 คน
15,740.00 15,740.00 72 65 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ครัวเรือนต้นแบบ,นักเรียน, เข้าใจหลักเศรษฐกิจพอเพียง ,หลักแนวความคิด  หลักปฎิบัติ  พื้นที่รูปธรรม คือ ตำบลควนมะพร้าว หมู่ 15 บ้านนายสมศักดิ์  ทองใส,นายสมนึก  ทองใส  และพื้นที่ บางแก้ว คือ บ้านเกษตรสมบูรณ์  ทั้งสองพื้นที่มีความเหมือน แนวคิด แนวปฎิบัติ  สรุปรูปธรรมความสำเร็จ  เห็นคน  เห็นพื้นที่  เห็นกิจกรรมรูปธรรมความสำเร็จ ทั้งระดับบุคคล และชุมชน

2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
หมู่บ้านเปลี่ยนพฤติกรรม

สภาแกนนำร่วมกับ รพสต นาท่อม จัดกิจกรรมรณรงค์ การกิน การออกกำลังกาย ลดอาหารประเภท หวาน  มัน  เค็ม และนำเสนอผ่านแกนนำต่อ สาธารณะสุขจังหวัด

การดูแลสุขภาพของประชาชนทั่วไป  ผู้สูงอายุ โดยมีวินัยในการการคัดกรอง เติมยาเป็นประจำ เอาใจใส่ต่อการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ่นกว่าเดิม

2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม
  1. ความไม่มีวินัยทางการเงิน
  1. สร้างความเข้าใจกับคณะทำงานใหม่กับการจัดการทางการเงิน โดย ทำกิจกรรมไหนให้ถอนเท่าจำนวนเงินที่ทำกิจกรรมไม่ถอนเงินมาถือไว้ ให้ปฎิบัติตามคู่มือดำเนินงาน
  2. ผู้รับทุนยังมีความพร้อมในการดำเนินโครงการต่อ และนำเงินเข้าบัญชีได้ครบตามจำนวนที่เบิกเกินไป พร้อมทั้งจะปฏิบัติตามคู่มีอดำเนินโครงการคือถอนเงินตามกิจกรรมที่ทำ

1.พี่เลี่ยงประชุมคณะทำงานโครงการในพื้นที่บอกถึงการดำเนินงานต้องปฏิบัติตามคู่มือดำเนินโครงการ

2.เรื่องการเงินต้องระมัดระวังให้มากไม่นำเงินไปจ่ายผิดวัตถุประสงค์

3.ต้องรีบทำกิจกรรมให้ทันกรอบระยะเวลาโครงการ

4.พี่เลี้ยงได้ประชุมร่วมออกแบบกับคณะทำงานและสภาแกนนำของบ้านยางงาม ในการขับเคลื่อนโครงการให้สำเร็จ ต้องประชุม คุยกันสมำ่เสมอ หาวันทำกิจกรรมและออกแบบกิจกรรมก่อนทำกิจกรรม

2.การดำเนินงานกิจกรรมของแกนหลักขับเคลื่อน

  1. กิจกรรมโครงการไม่ได้ทำตามแผนงานปฏิทินที่วางไว้เนื่องจากทีมคณะทำงานที่เป็นแกนหลักขับเคลื่อนขาดการพูดคุย ควรต้องมีการพูดคุย ไม่ทำงานรู้คนเดียว

1.เมื่อสร้างแกนนำที่รวมตัวกันเป็นสภาแกนนำได้แล้วให้หาประเด็นอื่นในการเชื่อมคนในชุมชนออกมามีส่วนร่วม

3.สภาแกนนำ

เมื่อแกนนำหลักไม่ให้ความสำคัญกับสภาแกนนำของชุมชน ทางพี่เลี้ยงและทางเทศบาลช่วยประคับประคองให้สภาแกนนำที่เหลือร่วมเรียนรู้กระบวนการทำแผนชุมชน ปรับปรุงแผน การประสานแผนจนได้แผนชุมชนบ้านยางงาม เดิมหน่วยงานอื่นทำให้ประชาชนไม่เคยมีส่วนร่วม และเรียนรู้การจัดตั้งโครงสร้างสภาแกนนำจากปลัดอำเภอเพื่อเดินต่อในประเด็นอื่นได้

  1. ให้พัฒนาศักยภาพสภาแกนนำโดยการคุยกันบ่อยๆ หรือประชุมทุกเดือน
  2. ให้หาประเด็นอื่น ๆ ที่เกิดจากวงพูดคุยและใช้สภาแกนนำทำงานประเด็นอื่น
3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน

เป็นโครงการระยะเริ่มต้นต้องสื่อสารมากมีความเสี่ยงต้องดูแล

1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

การเรียนรู้ผ่านพื้นที่ต้นแบบทำให้ชุมชนเห็นภาพและคัดเลือกกิจกรรมได้ถูกต้องสอดคล้องกับตนเองชอบ

1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน

ได้แจ้งให้คณะทำงานทราบทุกคนดำเนินการได้แต่ต้องให้พี่เลี้ยงร่วมออกแบบกิจกรรมเพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์

2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

เป็นการสร้างและพัฒนากลไกขึ้นมาใหม่ต้องอาศัยความอดทน  และเข้าใจ การทำกิจกรรมต้องใช้เงินเท่าที่จะทำกิจกรรมในแผนงานในขณะนี้พี่เลี้ยงได้เข้าไปประสานงานทำความเข้าใจกับคณะทำงานแกนแกนนำในชุมชนจนเข้าใจร่วมกันแล้ว

2.2 การใช้จ่ายเงิน

การจ่ายเงินไม่จ่ายตามกิจกรรมหลักเกณฑ์กำหนด  ถอนเกินจำนวนและทำกิจกรรมน้อย /ไม่ปฎิบัติตามคู่มือการดำเนินงาน/ผู้ติดตามมีความกังวล และจำเป็นต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งตอนนี้กำลังปรึกษาหารือกับผู้นำ แกนนำในชุมชน เหตุผล เดี่ยวจะส่งผลกระทบกับภาพรวม เพราะชุมชนพร้อม แต่ผู้นำในชุมชนต้องเรียนรู้กติกาการทำงาน

2.3 หลักฐานการเงิน

เจ้าหน้าที่การเงินต้องเรียนรู้เพิ่ม เรื่อง การลงรายละเอียดที่มาที่ไปของกิจกรรม

ผลรวม 0 0 4 0
ผลรวมทั้งหมด 4 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

โครงการเริ่มต้นครั้งแรกชุมชนตื่นตัวให้ความร่วมมือดี  ต้องค่อยๆ เสริมในระยะเริ่มของชุมชนใหม่

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากระยะแรกขาดวินัยทางการเงินถอนเงินเกินกว่ากิจกรรมที่ทำ ติดตามมาคืนได้เต็มจำนวนเรียบร้อยแล้ว
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น
  • ผลของการดำเนินงานแบ่งเป็น 2 ระยะ  ระยะเริ่มต้นให้ดูไปก่อนและค่อยๆ ให้เติมความรู้ประสบการณ์กับชุมชน
  • เป็นชุมชนใหม่ ชุมชนน่ารัก  ที่เห็นความร่วมมือ แต่ผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งมาใหม่ ๆ ยังเห็นร่องรอยความเห็นต่างไม่ตรงกันของกลุ่มคน  แต่ด้วยกลุ่มคนเป้าหมายขนาดนี้โครงการเดินหน้าได้ไม่น่าจะมีปัญหา
  • ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนนี้เกิดจากคณะทำงานที่ขาดวินัยทางการเงินสมาแก้ปัญหาได้เรียบร้อย
  • พี่เลี้ยงโครงการได้ติดตามอย่างใกล้ชิด เรียกประชุมแกนนำ และเรียกประชุมสภาแกนนำ จนได้ข้อสรุป ทุกคนอยากทำโครงการนี้ต่อให้สำเร็จ
มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
- คณะแกนหลักขับเคลื่อนไม่ทำงานตามแผนปฏิทิน งานช้า
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น
  • มีความเสี่ยงทางด้านการใช้เงิน ทางโครงการถอนเงินเกินกว่ากิจกรรมที่ทำ แต่ตอนหลังได้ติดตามอย่างใกล้ชิด และมีความล่าช้าในการทำกิจกรรม จึงขอปิดโครงการในงวดที่ 2

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

  • สิ่งดี ๆ ที่พบ  ประชาชนและชุมชนมีความพร้อมในการร่วมทำกิจกรรม เป็นชุมชนเกษตรกรรม ที่มีการช่วยเหลือพึ่งพา
  • สิ่งที่ค้นพบ ผู้นำ เช่น ผู้ใหญ่บ้าน  ผู้ช่วย  สมาชิกสภาฯ  ยังมีอิทธิพลทางความคิด เพราะประชาชนเลือกผู้นำ
  • ข้อพึงระวัง การไม่มีวินัยทางการเงินของคณะทำงาน
  • บทเรียน  การพัฒนาชุมชนบ้านยางงามควรมาจากประเด็นอื่น เช่น ประเด็น ผู้สูงอายุ นำไปสู่ชุมชนน่าอยู่

สร้างรายงานโดย thawonr kongsri