stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ บ้านเขาแดงร่วมใจเป็นชุมชนไร้ถังขยะ
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 61-01865
วันที่อนุมัติ 8 พฤศจิกายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 99,085.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ นายโกวิทย์ จิตเวช
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายโกวิทย์ จิตเวช
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายถาวร คงศรี
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 พ.ย. 2561 30 เม.ย. 2562 15 พ.ย. 2561 15 มิ.ย. 2562 49,543.00
2 5 พ.ค. 2562 31 ส.ค. 2562 16 มิ.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 39,634.00
3 1 ก.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 9,908.00
รวมงบประมาณ 99,085.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชุมชนเขาแดง หมู่ที่ 5 ตำบลพญาขัน อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง เป็นพื้นที่ติดกับตัวเมืองพัทลุง ห่างไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีประชากรหนาแน่นเพิ่มขึ้น ปัจจุบัน 956 คน 289 ครัวเรือน 6 กลุ่มบ้าน สถานการณ์ขยะเมื่อ 10 ปีที่แล้ว 2550 ชุมชนบ้านเขาแดงเป็นเขตชานเมืองที่มีครัวเรือนน้อยเริ่มมีปัญหา ระบบการดูแลทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมด้านขยะ ชุมชนเรียกร้องให้มีถังขยะไว้หน้าบ้านโดยใช้วิธีทำประชาคมเพื่อให้ทางเทศบาลแก้ปัญหา  ในที่สุดเทศบาลหน่วยงานที่ดำเนินการเรื่องสิ่งแวดล้อมขยะ แก้ปัญหาให้ชุมชนโดยวิธีการแจกถังให้ครัวเรือนใช้รถเก็บขน โดยในระยะแรกชุมชนหมู่ที่ 5มีปริมาณขยะ 1-2 ตัน/เดือน ปัจจุบัน พ.ศ. 2561 เวลาผ่านไป 12 ปี ปริมาณขยะเพิ่มขึ้น8-9 ตัน/เดือน อาทิตย์ละ 2-3 ตัน ในชุมชนบ้านเขาแดง และยังมีระบบการจัดเก็บของเทศบาลตำบลพญาขันเหมือนเดิมโดยเพิ่มรถเข้าสู่ระบบ ปัจจุบันมี 2 คัน ครัวเรือนค่าเก็บขยะครัวเรือนละ 20 บาทต่อเดือน 289 ครัวเรือน จำนวน 5,780..บาท/เดือน จำนวน...69,360.บาท/ปี จำนวนถังทั้งหมด 113 ถัง ทั้งชุมชนหมู่ที่ 5 เฉลี่ย 2-3 ครัวเรือนต่อ 1 ถัง ปัญหาคือ คือ ปัจจุบันความหนาแน่นของครัวเรือนและจำนวนคนที่มาอยู่ เพิ่มขึ้น  สอดคล้องกับปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นเพราะขยะที่ทิ้งขาดการคัดแยกก่อนเมื่อเทศบาลรถเสียไม่ได้เก็บขยะตามตารางคือทุกวันพุทธ จะทำให้ขยะล้นถัง ส่งกลิ่นเน่าเหม็นเป็นพาหะเกิดโรคอุจระร่วง ไข้เลือดออก อาหารปนเปื้อน เพราะมีแมลงเยอะ ผลพวงของการขยายตัวของชุมชนบ้านเขาแดง หมู่ที่ 5 ปริมาณ 10 ปี ขยะเพิ่มขึ้น 8-9 ตัน/เดือน ปริมาณรถเก็บ ขน ของเทศบาลคันเดียวไม่สามารถเก็บ ขนได้หมดบางครั้ง หรือรถขยะเสียหลายวัน ทำให้ขยะล้นถัง ส่งผลกระทบต่อครัวเรือนส่งกลิ่นเหม็น ปริมาณขยะที่ล้นทำให้สัตว์ มาคุ้ยเขี่ย เป็นพาหะ เป็นแหล่งเพาะพันธ์เชื้อโรค ยุงลาย ไข้เลือดออก และโรคอื่นๆ นั้น ปัจจุบันชุมชนบ้านเขาแดง เป็นชุมชนที่มีการจัดการตนเอง จนได้รับการคัดเลือกให้เป็น หมู่บ้าน ท่องเที่ยวชุมชนOTOP นวัตวิถี ประชาชนในชุมชนเกิดความตื่นตัวต้องการเป็นชุมชนที่มีการจัดการตนเอง ในเรื่องการจัดการขยะเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในขณะนี้ ที่นับวันส่งผลกระทบกับภาพลักษณ์หน้าตาการท่องเที่ยวของชุมชม ถ้าคนในชุมชนไม่ลุกขึ้นมาจัดการตนเองหมู่ที่ 5
ดังนั้นชุมชนบ้านเขาแดงตื่นตัวมีความตระหนักในเรื่องการจัดการขยะในระดับครัวเรือนและชุมชน จากการประชุมหมู่บ้านประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่มีความต้องการคืนถังขยะให้เทศบาลและสมัครใจร่วมกันคัดแยกขยะต้นทางในครัวเรือน เป็นเหตุผลและเป็นที่มาของโครงการ บ้านเขาแดงร่วมใจจะเป็นชุมชนไร้ถังขยะ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมให้ชุมชนปลอดถังหรือคืนถังขยะให้เทศบาล และครัวเรือนใช้ประโยชน์จากการคัดแยก ได้แก่ ขยะคัดแยก 4 ประเภท ขยะที่ขายได้ก็รวบรวบขายกันเอง ขยะอันตรายรวบรวมไปเก็บที่ศาลาหมู่บ้านเทศบาลก็รับไปทำลาย ขยะอินทรีย์ก็นำไปใช้ประโยชน์กับกลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ของชุมชนที่เป็นทุนเดิม ส่วนขยะที่เหลือจากการคัดแยกนำไส่กระสอบไว้หน้าบ้านรอรถมาเก็บขนทุกวันพุธ แล้วทางชุมชนมีการทำข้อตกลงกับชุมชนจะไม่เก็บขยะถ้าชุมชนมีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง โดยชุมชนมีกระบวนการจัดการขยะต้นทาง กลางทาง ปลายทาง แบบมีส่วนร่วม และจะเป็นชุมชนที่สองข้างทางไม่มีถัง ไม่มีขยะและน่าบ้านน่ามองเป็นชุมขนท่องเที่ยว

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

วัตถุประสงค์. 1 เพื่อให้ชุมชนมีความรู้และเกิดคณะทำงานการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม

วิธีดำเนินการ 1. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนคนในชุมชนร่วมเป็นครัวเรือนเป้าหมายคัดแยกขยะอย่างน้อย จำนวน 150 ครัวเรือน และรับสมัครเป็นครัวเรือนต้นแบบคืนถังขยะจำนวน 80 ครัวเรือน 2. แต่งตั้งคณะทำงานเป็นกลไกการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมจำนวน 20 คนประกอบด้วย 3. กรรมการชุมชนเป็นเจ้าภาพหลักหรือเป็นเจ้าของพื้นที่มีเป้าหมายขอคืนถังขยะในชุมชน 4. เจ้าอาวาสวัดเขาแดงออก เป็นพระนักเทศน์ มีบทบาทในการสนับสนุนความรู้ในการเทศน์ 5. ผอโรงเรียน สนับสนุนการสร้างจิตสำนึกนักเรียนคัดแยกของนักเรียนร่วมกิจกรรมรณรงค์ 6. กลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในชุมชนร่วมเป็นคณะทำงานสนับสนุนการคัดแยกและการคืนถังขยะ 7. ผู้แทนอปทภาคีที่มีบทบาทร่วมสนับสนุนหลัก เมื่อชุมชนคัดแยกแล้วเสร็จการเก็บขนก็เป็นบทบาทของเทศบาล
วัตถุประสงค์. 2 เพื่อให้คณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วม วิธีดำเนินการ 3. ประชุมคณะทำงานเพื่อออกแบบการจัดเก็บข้อมูลขยะ ก่อนการทำแผนการจัดการขยะของชุมชน 4. เก็บข้อมูลสถานการณ์ปัญหา ปริมาณ ชนิดขยะและวิธีการกำจัดขยะแต่ละชนิดในช่วงก่อนเริ่มต้นโครงการเพื่อวิเคราะห์และทำวางแผนการคัดแยกขยะ สู่การคืนถัง 5. อบรมครัวเรือนต้นแบบ80 ครัวให้ความรู้การคัดแยกก่อนทิ้งและการใช้ประโยชน์จากขยะ พร้อมวางแผนหนุนเสริม การปลูกผัก การผลิตปุ๋ยการใช้ปุ๋ยที่ผลิตในแปลงผักที่ปลูกโดยใช้ตัวชี้วัดเป็นการเสริมแรง ให้คะแนน นำคะแนนไปแลกสวัสดิการ เรียกว่าธนาคารความดี 6. ประชาคมหมู่บ้านเพื่อร่วมกันกำหนดกติกาของหมู่บ้าน ให้เป็นชุมชนปลอดถังขยะ โดยการคัดแยกขยะที่ครัวเรือน 7. ประชุมคณะทำงานร่วมกันกำหนดตัวชี้วัดเพื่อใช้กับธนาคารความดีโดยชชุมชนร่วมกันกำหนดหลักเกณฑ์ตัววัดธนาคาร

วัตถุประสงค์. 3เพื่อให้คณะทำงานมีระบบการติดตามประเมินและสร้างแรงจูงใจสู่การคืนถังขยะของชุมชน วิธีดำเนินการ 8. สร้างแรงจูงใจให้ชุมชนในการเข้าร่วมจัดการคัดแยก โดยใช้ธนาคารความดี
9. สร้างปฏิบัติการคัดแยกในชุมชนและครัวเรือน นำขยะไปใช้ประโยชน์ ใช้ทำปุ๋ยอินทรีย์ชุมชน/ใช้เลี้ยงสัตว์/ทำพลังงานทดแทน

วัตถุประสงค์. 4เพื่อชุมชนคืนถังขยะและขยะในชุมชนลดลง วิธีการดำเนินการ 10. สำรวจเปรียบเทียบข้อมูลก่อน-หลัง ใกล้เสร็จสิ้นโครงการ 11. ถอดบทเรียน 12. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลักเสร็จสิ้นโครงการพร้อมสรุปบทเรียนการดำเนินงานเพื่อสร้างความร่วมมือ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ชุมชนมีความรู้และเป็นคณะทำงานการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม

1.1 ชุมชนมีความรู้และสามารถจัดการขยะ ได้
1.2 เกิดกลไกการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมที่ประกอบด้วยกรรมการหมู่บ้าน, ตัวแทนกลุ่ม/องค์กร และผู้แทนอปท.ร่วมออกแบบ วางแผน 1.3 เกิดครัวเรือนสมัครเป็นครัวเรือนต้นแบบขอคืนถัง 80  ครัว

4.00
2 เพื่อให้คณะทำงานเป็นกลไกของชุมชนขับเคลื่อนการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม

2.1 มีข้อตกลงการจัดการขยะที่ชัดเจน -ประชุมเดือนละครั้งครั้ง -มีข้อมูลปริมาณขยะ/จำนวนถังในชุมชน -คร.สมัครใจเข้าร่วมคัดแยกขยะคืนถังขยะ -มีแผนปฏิบัติงานชัดเจนเพื่อคืนถังขยะหน้าบ้าน -เกิดธนาคารความดีสร้างแรงจูงใจขอค้นถัง                         2.2. เกิดแผนการจัดการขยะและแผนการคืนถัง

4.00
3 เพื่อให้คณะทำงานมีระบบการติดตามประเมินและสร้างแรงจูงใจสู่การคืนถังขยะของชุมชน

3.1คณะทำงานใช้การประชุมติดตาม แผนทุกเดือน 3.2 มีการเก็บข้อมูลและสะท้อนข้อมูลทุก 3  เดือน 3.3 ธนาคารความดีใช้ตัวชี้วัดความดี ขับเคลื่อนคืนถังขยะ

4.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 145 80
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ครัวเรือนคัดแยกขยะ 145 80
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 21 1,141.00 19 99,085.00
9 ธ.ค. 61 ประชาสัมพันธ์เชิญชวนรับสมัครครอบครัวเข้าร่วมโครงการคัดแยกขยะ150 0 17.00 17,000.00
10 ม.ค. 62 เรียนรู้ธนาคารความดีและการกำหนดตัวชี้วัด 0 0.00 1,050.00
16 ม.ค. 62 คัดเลือกและแต่งตั้งคณะทำงานเป็นกลไกจัดการขยะของชุมชน21 0 4.00 4,830.00
16 ม.ค. 62 ศึกษาดูงานตำบลการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของตำบลนาท่อม 0 0.00 0.00
30 ม.ค. 62 ประชุมเพื่อออกแบบจัดเก็บข้อมูลปริมาณขยะเพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนการจัดการขยะของชุมชน21 0 7.00 7,720.00
9 ก.พ. 62 อบรมให้ความรู้การจัดแยกขยะต้นทางครัวเรือนและการใช้ประโยชน์จากขยะหรือแผนที่การจัดการขยะ 0 17.00 17,800.00
21 ก.พ. 62 อบรมให้ความรู้การจัดแยกขยะต้นทางครัวเรือนและการใช้ประโยชน์จากขยะหรือแผนที่การจัดการขยะ 0 0.00 0.00
9 มี.ค. 62 เรียนรู้ธนาคารความดีและการกำหนดตัวชี้วัด 0 10.00 10,850.00
10 มี.ค. 62 นำข้อมูลขยะของชุมชนมาวิเคราะห์และทำแผนปฏิบัติการจัดการขยะ 0 0.00 4,830.00
15 มี.ค. 62 ประชุมเดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 10 ครั้ง ร่วมกันกำหนดกติกาชุมชนร่วมกันติดตามประเมินผลและรายงานความก้าวหน้ากิจกรรม 0 0.00 0.00
20 มี.ค. 62 ศึกษาดูงานตำบลการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของตำบลนาท่อม 0 8.00 9,400.00
20 มี.ค. 62 หนุนเสริมกิจกรรมสร้างแรงจูงใจในการคัดแยกขยะ 0 0.00 10,000.00
9 พ.ค. 62 นำข้อมูลขยะของชุมชนมาวิเคราะห์และทำแผนปฏิบัติการจัดการขยะ 0 4.00 0.00
9 มิ.ย. 62 ประชุมเดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 10 ครั้ง ร่วมกันกำหนดกติกาชุมชนร่วมกันติดตามประเมินผลและรายงานความก้าวหน้ากิจกรรม 0 5.00 1,050.00
9 ก.ค. 62 หนุนเสริมกิจกรรมสร้างแรงจูงใจในการคัดแยกขยะ 0 10.00 1,050.00
15 ส.ค. 62 ถอดบทเรียนความสำเร็จของโครงการ 0 0.00 3,030.00
7 ก.ย. 62 ประชุมประจำเดือนกันยายน 21 1,050.00 1,050.00
9 ก.ย. 62 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้คืนข้อมูล 0 9.00 9,425.00
30 ก.ย. 62 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้คืนข้อมูล 0 0.00 0.00
  1. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนคนในชุมชนร่วมเป็นครัวเรือนเป้าหมายคัดแยกขยะอย่างน้อย จำนวน 150 ครัวเรือน และรับสมัครเป็นครัวเรือนต้นแบบคืนถังขยะจำนวน 80 ครัวเรือน
  2. แต่งตั้งคณะทำงานเป็นกลไกการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมจำนวน 20 คนประกอบด้วย
  3. กรรมการชุมชนเป็นเจ้าภาพหลักหรือเป็นเจ้าของพื้นที่มีเป้าหมายขอคืนถังขยะในชุมชน
  4. เจ้าอาวาสวัดเขาแดงออก เป็นพระนักเทศน์ มีบทบาทในการสนับสนุนความรู้ในการเทศน์
  5. ผอโรงเรียน สนับสนุนการสร้างจิตสำนึกนักเรียนคัดแยกของนักเรียนร่วมกิจกรรมรณรงค์
  6. กลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในชุมชนร่วมเป็นคณะทำงานสนับสนุนการคัดแยกและการคืนถังขยะ
  7. ผู้แทนอปทภาคีที่มีบทบาทร่วมสนับสนุนหลัก เมื่อชุมชนคัดแยกแล้วเสร็จการเก็บขนก็เป็นบทบาทของเทศบาล
stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ปริมาณขยะในครัวเรือน/ชุมชนลดลง  80% -ครัวเรือนร่วมใจขอคืนถังขยะหน้าบ้านอย่างน้อย 50 %

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2562 13:30 น.