directions_run

โครงการส่งเสริมและพัฒนาขบวนการนาอินทรีย์วิถีเมืองลุง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมและพัฒนาขบวนการนาอินทรีย์วิถีเมืองลุง
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 61-01865
วันที่อนุมัติ 1 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 99,400.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ นายอำมร สุขวิน
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอำมร สุขวิน
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ จุฑาธิป ชูสง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2563 31 ต.ค. 2563 1 มิ.ย. 2563 31 ต.ค. 2563 49,700.00
2 1 พ.ย. 2563 28 ก.พ. 2564 1 ก.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 39,760.00
3 1 มี.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 9,940.00
รวมงบประมาณ 99,400.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในพื้นที่ภาคใต้จังหวัดที่ปลูกข้าวปริมาณมากเพียงพอบริโภคต่อคนในจังหวัด ณ ปัจจุบัน คือ จังหวัดพัทลุงและนครศรีธรรมราช นอกนั้นจังหวัดอื่นในภาคใต้ก็ผลิตเช่นกันแต่ยังไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายใน จังหวัด ดังนั้น เรื่องข้าวจึงเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายในจังหวัดพัทลุง รวมถึงเกษตรกรหลายกลุ่มร่วมกันผลักดันให้เกิดเป็นยุทธศาสตร์ข้าวขึ้นมา โดยเฉพาะในจังหวัดพัทลุง และเข้มข้นขึ้นเมื่อผนวกกับ แนวคิดเรื่องเกษตรอินทรีย์ อย่างไรก็ตามเครือข่ายคนอินทรีย์วิถีเมืองลุง ในฐานะเครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อการพัฒนาได้ตระหนักถึงประโยชน์ในการ ยกระดับเรื่องข้าวให้เป็นยุทธศาสตร์หนึ่งและเป็นเครื่องมือของการพัฒนาจังหวัด เพราะถือว่าวิถีข้าวเป็น วิถีที่สืบสานกันมาอย่างยาวนานในจังหวัดพัทลุง ดังคำขวัญที่ว่า “เมืองหนังโนราห์ อู่นาข้าว พราวน้ำตก แหล่งนกน้ำ ทะเลสาบงาม เขาอกทะลุ น้ำพุร้อน”           การก่อตัวของเกษตรอินทรีย์ก่อนจะถึงการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุงที่มี ระยะของแผน 5 ปี คือ 2559-2563 นั้น ได้มีการรวมตัวและพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนและนาอินทรีย์มีมาก่อนหน้านั้น จุดเริ่มต้นสำคัญคือการรวมกลุ่มวิเคราะห์ปัญหาของเกษตร ซึ่งเป็นปัญหาร่วมกัน นั่นคือ ประการแรก ปัญหาจากสาเหตุภัยธรรมชาติ เนื่องจากในปี 2518 น้ำท่วมนาข้าวทำให้เกิดความเสียหายมากกับชุมชน ต่อมาในปี 2525 ประสบปัญหาน้ำเค็มไหลเข้าในคลองปากประอย่างหนัก และปี 2535 หอยเชอรี่ระบาดทำลายนาข้าว ปี 2548 ประสบกับปัญหาน้ำท่วมอีกครั้งทำให้มีน้ำท่วมขังในพื้นที่นาข้าวทำให้ข้าวเสียหาย และอีกปัญหาที่เป็นจุดเริ่มต้นของการรวมกลุ่มวิเคราะห์ปัญหา คือ ปัญหาการใช้สารเคมีในการเกษตร ในปี 2518 เช่นกัน เกษตรกรใช้ฟูราดาน และสารเคมีทำลายตอยางพาราในพื้นที่ภูเขา ทำให้สารพิษไหลลงสู่แหล่งน้ำ ปลาและพืชอาหารในนาข้าวเริ่มลดลง นอกจากนี้สารพิษตกค้างทำให้ผลผลิตข้าวลดลง ต่อมา ในปี 2522 เกษตรกรเริ่มทำนาปรัง โดยใช้รถไถเดินตามและปลูกข้าวพันธุ์ กข7 ข้าวพันธุ์ กข11 และข้าว พันธุ์ กข13 ทำให้ข้าวพันธุ์พื้นเมืองสูญหาย วัฒนธรรมข้าวสูญหายไป เช่น การทำขวัญข้าว การแรกเก็บข้าว การกวนข้าวยาคู และสุดท้ายเกิดปัญหาหนี้สินตามมาจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นและการใช้จ่ายที่ไม่เพียงพอ เพราะการพึ่งตนเองเองค่อยๆน้อยลง และในปัจจุบันวิถีการผลิตเปลี่ยนจากระบบเกษตรแบบดั้งเดิมไปอย่างมาก ชาวนาหลายคนใน กลุ่มเกษตรกรรมเลือกเมื่อครั้งคุยแลกเปลี่ยนความคิดเรื่อง เวทีทบทวนความรู้ และพัฒนาโจทย์เพื่อการ ปรับตัวของชาวนาไทยภายใต้การเปลี่ยนแปลงการผลิตและการตลาดข้าว” 1 ได้วิพากษ์เรื่องนี้ความว่า “ความงดงามของวิถีการผลิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติ คนในชุมชนมีความสัมพันธ์ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ระหว่างคนในชุมชน และคนกับสิ่งแวดล้อม ถูกเปลี่ยนเป็นระบบเกษตรเพื่อการค้า มีการส่งเสริมการใช้สารเคมีทางการเกษตร การปลูกพืชเชิงเดี่ยว และระบบการผลิตที่ทันสมัย เกษตรกรเป็น นักจัดการนา คือจ้างเกือบทุกอย่าง หนี้สินตามมา และความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนเริ่มหายไป”         ชาวนาเครือข่ายเกษตรทางเลือกเมืองลุงและเพื่อนเครือข่ายชาวอินทรีย์วิถินิเวศน์เมืองลุง  ได้มีการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตสู่เกษตรกรรมยั่งยืน  ในรูปแบบเกษตรอินทรีย์ที่สอดคล้องกับวิถีชุมชน/ท้องถิ่น เพื่อการพึ่งตนเองของชาวนา พัฒนากลุ่ม ยกระดับ ต้นแบบศูนย์เรียนรู้การผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจร วิชชาลัยรวงข้าว มีกองทุนพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน  พึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายใน ลดรายจ่ายกระบวนการผลิต ใช้ภูมิปัญญาและพัฒนาความรู้ในการทำเกษตรอินทรีย์พึ่งตนเอง กระบวนการเครือข่ายแลกเปลี่ยนความรู้และพัฒนาขยายพื้นที่ทำนาอินทรีย์  มีการจัดสมัชชามีข้อเสนอนโยบายสาธารณะเรื่องข้าวในระดับจังหวัด ได้ใช้กลไกเวทีวัฒนธรรม เชื่อมโยงภาคีเครือข่าย เครือข่ายชาวนาจังหวัดพัทลุง  ภาคประชาชน  ภาคประชาสังคม นักวิชาการ  องค์กรพัฒนาเอกชน ได้ร่วมกันฟื้นวิถีวัฒนธรรมข้าวและมีข้อเสนอเชิงนโยบายชาวนา ขยายพื้นที่นาอินทรีย์และชาวนาสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน มีสุขภาพดี  มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสิ่งแวดล้อมดี และได้มีการยกระดับพัฒนาเสนอจัดหวัดพัฒนายุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์ สำหรับกระบวนการพัฒนายุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์นั้น ได้ทำประชาคมผ่านชาวนา นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน กลุ่มธุรกิจข้าว ภาครัฐ จากการระดมความคิดเห็นค้นพบจุดแข็งของจังหวัดพัทลุง ที่ สามารถเป็นกำลังภายในในการ
      ขับเคลื่อนสู่เมืองข้าวอินทรีย์ ดังนี้ 1) สภาพพื้นที่เหมาะต่อการปลูกข้าวสังข์หยด ข้าวสังข์หยดได้รับการจดทะเบียนเป็นดัชนีบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Indicator : GI) มีทุ่งนาที่เหมาะต่อการใช้น้ำในนาอินทรีย์ ได้แก่ อ.ป่ าพะยอม อ.ศรีบรรบต, อ.ควนขนุน, อ.เขาชัยสน, อ.บางแก้ว มีพื้นที่เหมาะสมที่จะ ขยายผลในการผลิตเพิ่ม เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร
2) เกษตรกรมีประสบการณ์ในการผลิตข้าวมายาวนาน มีศูนย์เรียนรู้การผลิต 3) กลุ่มชาวนาอินทรีย์วิถีเมืองลุง กระบวนการทำนาอินทรีย์ครบวงจร และวิสาหกิจชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ที่เป็นแหล่ง เรียนรู้แบบครบวงจรในพื้นที่
4) ข้าวอินทรีย์มีลักษณะเฉพาะ เช่น หอม นิ่ม ตรงความต้องการของตลาด มีข้าวสังข์หยดซึ่ง ได้รับการยอมรับว่าอุดมไปด้วยสารอาหาร ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นที่ต้องการของผู้ที่ ดูแลสุขภาพ สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและผู้ผลิต
5) มีเกษตรกรต้นแบบที่พึ่งตนเองด้านพันธุ์ข้าว มีศูนย์วิจัยข้าวในพื้นที่/ชุมชน และมีศูนย์เรียนรู้ ดินและปุ๋ยชุมชนทุกตำบลมีศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน 3 โชน มีพันธุ์ข้าวที่สมบูรณ์และมีคุณภาพ
6) บุคลากรมีความเชื่อมั่นในการทำเกษตรอินทรีย์ เพิ่มขึ้นสามารถกำหนดมาตรฐานข้าวอินทรีย์ ได้เอง (สินค้าเกษตร) และใช้แนวทางรับรองอย่างมีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการรวมกลุ่มและสร้างโอกาสทางการตลาด
7) การควบคุมสินค้าข้าวเปลือก ข้าวสารสะดวกในแต่ละโซนสำหรับคุมคุณภาพมีที่รองรับ ผลผลิตและเมล็ดพันธุ์ข้าวเพียงพอ มีคุณภาพดี
8) มีการแปรรูปโดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านแบบดั้งเดิม มีองค์ความรู้ การแปรรูปข้าวเป็นยา เครื่องสำอาง อาหาร ขนม และเครื่องดื่ม
9) จังหวัดพัทลุงเป็นแหล่งเรียนรู้เกษตรอยู่แล้ว สามารถพัฒนาและเชื่อมโยงยกระดับเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวใหม่มีทั้งอาหาร กิจกรรม ผลิตภัณฑ์ ข้าวอินทรีย์ ฯลฯ ที่ขึ้นชื่อของจังหวัด ปรากฏการณ์ภูมิใจและนิยมในข้าวพื้นบ้านและข้าวอินทรีย์ของคนเมืองลุง กลายเป็นจุดรื้อฟื้น นิยามใหม่ของวิสัยทัศน์เมืองข้าว เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีเมืองเกษตร ความเป็นเอกลักษณ์ของการผลิตและวัฒนธรรม นับว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ปรับแนวทางงานพัฒนาเกษตรสู่ระบบที่ยั่งยืน ทิศทาง ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา พ.ศ.2559-2563 ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ พันธะกิจ และประเด็น ยุทธศาสตร์ ดังนี้ วิสัยทัศน์
“ข้าวอินทรีย์พัทลุงคุณภาพสูงมาตรฐานสากล สร้างคุณภาพชีวิตคน สร้างอาชีพเกษตรกร สร้างรายได้ชุมชน สร้างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน”

          จะเห็นได้ว่าการออกแบบแผนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง มีพัฒนาการยาวนาน และตกผลึกจากต้นทุนเดิมไม่ว่าในเรื่องของสภาพพื้นที่ที่เป็นที่ราบลุ่มน้ำเหมาะกับการปลูกข้าวนาหรือในพื้นที่ที่เป็นเนิน ควน ก็มีการปลูกข้าวไร่ มีภูมิปัญญาการผลิตที่ตกทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบันได้ปรับประยุกต์ใช้ อย่างเหมาะสม วัฒนธรรมข้าวยังคงหลงเหลืออยู่ และการที่ข้าวสังข์หยดได้ถูกกำหนดให้เป็นข้าวบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ยิ่งทำให้ข้าวสังข์หยดและจังหวัดพัทลุงเป็นที่รู้ จักในฐานะเมืองข้าวของภาคใต้มากขึ้น อย่างไรก็ตามภายใต้เป้หมายหมายเชิงหลักการนอกจากต้องการผลิตข้าวให้เพียงพอและมีทางเลือกในการ บริโภคให้กับคนในยังหวัดได้กินข้าวไม่ใช้สารเคมีแล้ว ผลที่ได้การวิธีคิดอย่างเชื่อมโยงทั้งกระบวนการที่เกิด จากคุณูปการของการทำเกษตรอินทรีย์นอกจากทำให้สิ่งแวดล้อมดี ยังสามารถใช้ผลดีของสิ่งแวดล้อมและ เกษตรที่ปลอดภัยสร้างให้เกิดเป็นการท่องเที่ยว นอกจากการจัดการให้เกิดการขายข้าวในแบบตลาด ภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งแผนยุทธศาสตร์ได้ออกแบบเชื่อมโยงหลายภาคส่วนเข้ามาจัดการบริหาร การตลาดอย่างเป็นจริงเป็นจังพร้อมตั้งเป้าหมายการส่งออกที่ได้รับมาตรฐาน และพื้นที่การผลิตอยู่ที่ 20,000 ไร่
            อย่างไรก็ตามบทเรียนการทำงานของภาคประชาชนพบว่าการก่อเกิดกระบวนการเกษตรอินทรีย์ ด้วยจิตวิญญาณและเครือข่ายที่เข้มแข็ง ไม่ได้เกิดจากการตั้งตัวเลขหรือฝันถึงพื้นที่เป้าหมายกี่ไร่ แต่พบว่า การขยายงานกลับเกิดจากการเรียนรู้ของภาคประชาชน คนเล็กคนน้อย ไม่ได้เกิดจากจากอำนาจโครงสร้างใดๆ แต่เกิดจากการเรียนรู้จากคนสู่คน กลุ่มสู่กลุ่ม เครือข่ายสู่เครือข่าย สถาบันสู่สถาบัน และหากนับกันจริงๆ ปัจจุบันได้ก่อเกิดแปลงเกษตรกรรมยั่งยืนที่ไม่ได้ถูกนับอยู่ในระบบของภาครัฐขึ้นจำนวนมาก จนก่อเกิดความก้าวหน้า และนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ขึ้นมากมาย ด้วยเหตุนี้ เครือข่ายเกษตรทางเลือกเมืองลุงร่วมกับเครือข่ายคนอินทรีย์วิถีเมืองลุง จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาภาคีเครือข่ายคนอินทรีย์วิถีเมืองลุงเพื่อเพิ่มพื้นที่นาอินทรีย์ในจังหวัดพัทลุงขึ้น เพื่อสร้างและพัฒนากลไกเครือข่ายภาคประชาชน เกษตรกรคนเล็กคนน้อยในชุมชนพัทลุง ให้รู้และตระหนักถึงการผลิตข้าวอินทรีย์ โดยมีเป้าหมายสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์เมืองลุงและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดของภาคประชาชนในการสร้างพัทลุงให้เป็นเมืองสีเขียวคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดพัทลุงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการการผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจร
  1. เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการสามารถผลิตวัตถุดิบอินทรีย์ และผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ  90 ของผู้เข้าร่วมโครงการ
  2. เกิดศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีเมืองลุงครับวงจรอย่างน้อย  1  ศูนย์
  3. เกิดกระบวนการเรียนรู้และมีพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่เหมาะสมกับการทำนาอินทรีย์วิถีเมืองลุงอย่างน้อย 3สายพันธุ์
0.00
2 เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำนาอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดพัทลุง
  1. เกิดครัวเรือนปรับเปลี่ยนการทำนาสู่นาอินทรีย์วิถีเมืองลุงไม่น้อยกว่า 50 ครัวเรือน
  2. เกิดกลุ่มเครือข่ายนาอินทรีย์วิถีเมืองลุงกระจายอยู่ในอำเภอต่างๆ อย่างน้อย 1 อำเภอ
0.00
3 เพื่อให้เกิดกลไกการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์และให้มีการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์วิถีคนเมืองลุง
  1. เกิดธนาคารน้ำหมักอินทรีย์และหัวเชื้อน้ำหมักอินทรีย์ชีวภาพอย่างน้อย 2 แห่ง
  2. เกิดธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์อย่างน้อย 2 แห่ง
  3. มาตรฐานนาอินทรีย์วิถีเมืองลุงได้รับการยอมรับ 4.เกิดกลไกติดตามหนุนเสริมขับเคลื่อนนาอินทรีย์วิถีเมืองลุง
0.00
4 เพื่อเพิ่มพื้นที่นาอินทรีย์วิถีเมืองลุง
  1. เกิดพื้นที่นาอินทรีย์วิถีเมืองลุงครบวงจรอย่างน้อย  200  ไร่
0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
เครือข่ายชาวนาอินทรีย์วิถีเมืองลุงในจังหวัดพัทลุง 50 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 650 99,400.00 13 76,300.00
5 พ.ค. 62 12 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 20 3,500.00 2,500.00
25 พ.ค. 62 2 เวทีเรียนรู้นาอินทรีย์วิถีเมืองลุง 30 7,900.00 8,400.00
3 มิ.ย. 62 1 เวทีสาธารณะเพื่อการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีเมืองลุง 100 15,300.00 9,100.00
15 มิ.ย. 62 7 ปฏิบัติการขยายผลนาอินทรีย์วิถีเมืองลุง ครั้งที่ 1 100 16,000.00 23,200.00
20 มิ.ย. 62 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 20 2,500.00 1,500.00
30 มิ.ย. 62 6 เวทีเชื่อมร้อยเครือข่ายคนอินทรีย์วิถีเมืองลุง 30 10,100.00 -
6 ก.ค. 62 8 จัดตั้งธนาคารน้ำหมักชุมชนและธนาคารปุ๋ยหมักชุมชน 50 5,500.00 5,500.00
20 ก.ค. 62 14 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 20 2,500.00 1,500.00
25 ก.ค. 62 3 ส่งเสริมและพัฒนาศูนย์เรียนรู้ตามภูมินิเวศเมืองลุง 50 10,000.00 2,200.00
28 ก.ค. 62 13 เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาการดำเนินงาน 20 7,000.00 2,000.00
20 ส.ค. 62 14. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 20 2,500.00 1,500.00
21 ส.ค. 62 11 เวทีถกแถลงมาตรฐานนาอินทรีย์วิถีเมืองลุง 50 5,500.00 -
28 ส.ค. 62 10 จัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ 20 400.00 400.00
20 ก.ย. 62 14. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 5 20 2,700.00 1,500.00
30 พ.ย. 62 7 ปฏิบัติการขยายผลนาอินทรีย์วิถีเมืองลุง ครั้งที่ 2 100 8,000.00 17,000.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 พ.ย. 2562 15:35 น.