directions_run

ส่งเสริมการเรียนรู้การจัดการขยะในแหล่งท่องเที่ยวโดยเครือข่ายชุมชนท่องเที่ยวอำเภอกงหรา

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมการเรียนรู้การจัดการขยะในแหล่งท่องเที่ยวโดยเครือข่ายชุมชนท่องเที่ยวอำเภอกงหรา
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ ุ63-00169-0023
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 31 มีนาคม 2564
งบประมาณ 107,965.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายชุมชนท่องเที่ยวอำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกิตติศักดิ์ สังแทน
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายนราพงษ์ สุขใส
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 4 ส.ค. 2563 31 ต.ค. 2563 4 ส.ค. 2563 31 ต.ค. 2563 43,186.00
2 1 พ.ย. 2563 28 ก.พ. 2564 1 พ.ย. 2563 30 ก.ย. 2564 53,983.00
3 1 มี.ค. 2564 31 มี.ค. 2564 10,796.00
รวมงบประมาณ 107,965.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อำเภอกงหรา มีแหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ มีน้ำตกจำนวน 7 แห่ง ได้แก่ น้ำไพรวัลย์ น้ำตกมโนราห์ น้ำตกนกรำ น้ำตกหนานสูง น้ำตกปากราง น้ำตกวังตอ น้ำตกวังสายใหม่ มีถ้ำอยู่ตามแนวภูเขาที่ขึ้นชื่ออยู่ คือ ถ้ำลูกยา ถ้ำไก่ชน ถ้ำชี ถ้ำปลา ถ้ำแมวขาวและรวมไปถึงแหล่งท่องเที่ยวที่เรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนผ่านรูปแบบของตลาดชุมชนที่เป็นแหล่งรวมภูมิปัญญาต่างๆของชุมชนไว้ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่เขตพื้นที่ของตำบลคลองเฉลิม ตำบลคลองทรายขาว ตำบลกงหรา มีเส้นทางคมนาคมที่ใช้เป็นเส้นทางหลักในการท่องเที่ยวคือถนนสายบ้านนา-ป่าบอนซึ่งสามารถเชื่อมโยงถึงแหล่งท่องเที่ยวทั้งหมดที่มีอยู่ แหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่อยู่ในการดูแล และบริหารจัดการโดยชุมชน ปัจจุบันการท่องเที่ยวอำเภอกงหรา ส่วนใหญ่ยังไม่เป็นที่นิยมมากนักในกลุ่มนักเที่ยวจากภายนอก นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ เป็นคนในละแวกใกล้เคียงหรือคนในจังหวัดเป็นส่วนใหญ่ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการท่องเที่ยวไม่ได้เป็นนโยบายหลักในการพัฒนา และส่งเสริมไม่มีการประชาสัมพันธ์ให้เห็นเด่นชัด ส่วนท้องถิ่นเองก็ไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการสนับสนุนการท่องเที่ยวของชุมชน ในขณะที่ชุมชนก็ยังขาดความรู้ในการจักการ การท่องเที่ยวที่เป็นระบบแบบแผนของชุมชนเองจากการพูดคุยของเครือข่ายชุมชนท่องเที่ยวเห็นว่าปัญหาหลักคือปัญหาที่เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวคือ 1 ปัญหาแหล่งท่องเที่ยวมีขยะตกค้างในแหล่งท่องเที่ยว ร้อยละ80คือแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นน้ำตกซึ่งขยะส่วนใหญ่เป็นขยะประเภทขวดน้ำ ถุงพลาสติก กล่องโฟมใส่อาหาร ที่มาของขยะส่วนหนึ่งนักท่องเที่ยวนำติดตัวมาจากข้างนอก อีกส่วนหนึ่งเกิดขึ้นในแหล่งท่องเที่ยวเองจากการประกอบการของร้านค้าต่างๆที่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆส่งผลให้ทัศนียภาพแหล่งท่องเที่ยวไม่สวยงาม ชุมชนต้องเสียเวลาในการทำความสะอาดสถานที่ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บขยะอยู่ที่เดือนละไม่ต่ำกว่า 5,000บาท 2 ปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในแหล่งท่องเที่ยวผลกระทบส่วนที่เกิดขึ้นการการดื่มเครื่องดื่ม    แอลกอฮอล์คือมักจะเกิดการทะเลาะวิวาทเกิดขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เป็นเยาวชน และมักจะเกิดอุบัติเหตุระหว่างการท่องเที่ยวอยู่บ่อยครั้ง 3 ปัญหาคุณภาพอาหารและความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร รวมถึงปะเภทและปริมาณอาหารในแหล่งท่องเที่ยว ส่วนใหญ่อาหารที่จำหน่ายในแหล่งท่องเที่ยวจะเป็นอาหารประเภทขบเคี้ยว และอาหารปรุงสำเร็จและส่วนประกอบอาหารส่วนมากต้องนำมาจากข้างนอกไม่ว่าจะเป็นประเภทเนื้อ ผักและผลไม้ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวขาดการบริโภคที่มีคุณภาพและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ จากปัญหาโดยรวมดังกล่าวส่งผลให้แหล่งท่องเที่ยวยังไม่เป็นที่ประทับใจแก่นักท่องเที่ยวมากนัก จึงทำให้แหล่งท่องเที่ยวในอำเภอกงหราเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ได้รับการนิยมมากนัก ซึ่งนักท่องเที่ยวส่วนมากมักจะมาสัมผัสกับบรรยากาศในแหล่งท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว ยังไม่ได้เกิดความประทับใจโดยรวมกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการท่องเที่ยวตามวิถีชุมชนคนอำเภอกงหรา จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เครือข่ายชุมชนท่องเที่ยวอำเภอกงหราจึงเห็นร่วมกันในการที่ทำให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวที่เอื้อต่อสุขภาวะทางการท่องเที่ยว มุ่งเน้นในการสร้างแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพใน3ประเด็นคือ ชุมชนต้องจัดการกับปัญหาขยะในแหล่งท่องเที่ยว ด้วยการดำเนินการให้แหล่งท่องเที่ยวต่างๆมีการจัดการขยะในแหล่งท่องเที่ยว แก้ปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงการจำหน่ายด้วย โดยการใช้กติกาและกลไกการขับเคลื่อนของกรรมการแหล่งท่องเที่ยวชุมชน จัดหาหรือจัดการให้เกิดการผลิตและจำหน่ายอาหารที่มีคุณภาพให้แก่นักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ในปีแรกของการดำเนินงานเริ่มเน้นที่อาหารประเภทผักและผลไม้ที่มีคุณภาพและปลอดภัยให้มีการจำหน่ายและบริการไว้ตามแหล่งท่องเที่ยวโดยเน้นที่ผักและผลไม้พื้นถิ่นที่มีการผลิตอยู่ในชุมชน ในแนวทางการแก้ปัญหาและการจัดการดังกล่าวชุมชนต้องสร้างกระบวนการการทำงานโดยเน้นการเรียนรู้ของชุมชนแบบมีส่วนร่วมตามสภาพปัญหาในแต่ละประเด็น 1 เรื่องขยะ เริ่มต้นด้วยการเก็บข้อมูลขยะในแหล่งท่องเที่ยวเนื้อหาของการจัดเก็บคือประเภทและปริมาณของขยะต่างๆที่ตกค้างอยู่พร้อมทั้งที่มาของขยะที่เกิดขึ้นแล้วมาข้อมูลดิบผ่านกระบวนการวิเคราะห์เพื่อค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อกำหนดเป็นแผนการทำงานร่วมกัน ค้นหาประเด็นร่วมและแนวทางการจัดการร่วมกันแล้วร่วมกันกำหนดเป็นกติการ่วมกันในเรื่องที่สามารถจัดการร่วมได้แต่ในส่วนของกติกาย่อยในระดับพื้นที่นั้นขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่จะกำหนดกันเองตามสภาพและจารีตประเพณีของแต่ละพื้นที่แล้วร่วมกันสร้างกลไกการจัดการของแต่ละพื้นที่ ผ่านกิจกรรมที่จะเกิดการเรียนรู้เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติการระดับพื้นที่ให้เห็นผลที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม 2 เรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในแหล่งท่องเที่ยว กระบวนการและวิธีการเริ่มจากการจัดเก็บข้อมูลเชิงปริมาณการจำหน่ายและการดื่ม และช่วงวัยของกลุ่มที่มีการดื่มในแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างการท่องเที่ยว เมื่อมีข้อมูลของแต่ละพื้นที่ก็นำข้อมูลมาวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อกำหนดเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาในรูปแบบของกติกาต่างๆในแหล่งท่องเที่ยว แล้วนำกติกาที่เกิดขึ้นประกาศใช้กับแหล่งท่องเที่ยวต่างๆและมีการติดตามการใช้กติกาอย่างต่อเนื่องโดยใช้กลไกของกรรมการแหล่งท่องเที่ยวของแต่ละชุมชนเป็นกลไกหลักในการติดตามการใช้กติกาและมีการประเมินผลเชิงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและความพึงพอใจของพื้น 3 เรื่องอาหารการกินที่มีคุณภาพและความปลอดภัยในการบริโภคเริ่มด้วยการค้นหาศักยภาพด้านอาหารที่เป็นจุดเด่นของชุมชนในแต่ละพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่แล้วจัดทำเป็นฐานข้อมูลศักยภาพด้านอาหารของแต่ละพื้นที่แล้วนำมาสร้างเป็นแผนที่ศักยภาพด้านอาหารให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวเพื่อให้เห็นเป็นจุดเด่นของแต่ละพื้นที่ ในส่วนของอาหารประกอบสดที่บริการและจำหน่ายในแหล่งท่องเที่ยวจะต้องทำเป็นข้อตกลงร่วมระหว่างผู้ประกอบการด้านอาหารและกลไกกรรมการแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ให้เกิดการเอื้อต่อกันที่จะส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางด้านอาหารของชุมชนให้เป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยวโดยเน้นที่อาหารประเภทผักและผลไม้พื้นถิ่นมาเป็นส่วนประกอบในการประกอบอาหารรวมไปถึงข้อตกลงร่วมที่จะให้เกิดการจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรของชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน เมื่อกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการปฏิบัติการเพื่อปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเกิดแหล่งท่องเที่ยวสุขภาวะเกิดขึ้นก็เข้าสู่กระบวนการติดตามและประเมิลผล ซึ่งกระบวนการติดตามและประเมินผลแบ่งเป็น2ระดับคือกลไกการติดตามระดับพื้นที่ในแต่ละประเด็นคือกลไกของคณะกรรมการระดับหมู่บ้านและกลไกการติดตามและหนุนเสริมระดับเครือข่าย และมีการประเมิลผลร่วมในระดับโครงการ การดำเนินโครงการในครั้งนี้เครือข่ายชุมชนท่องเที่ยวมีความคาดหวังเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพที่เอื้อต่อสุขภาวะต่อการท่องเที่ยวและชุมชนท่องเที่ยว มีแหล่งท่องเที่ยวที่สะอาด มีการจัดการขยะอย่างเป็นระบบในแหล่งท่องเที่ยว สามารถลดปริมาณขยะในแหล่งเที่ยวนำไปสู่แหล่งท่องเที่ยวปลอดขยะ มีการควบคุมการหรือจัดการกับการดื่มและจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งจะส่งผลต่อความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยวและความปลอดภัยในการเดินทางในการท่องเที่ยวรวมถึงสอดคล้องกับประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนในชุมชนด้วย และมีการผลิตและจำหน่ายอาหารที่ปลอดภัยในแหล่องท่องเที่ยวชุมชนจะส่งผลให้ชุมชนมีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าการเกษตรของชุมชนและนักท่องเที่ยวก็มีความมั่นใจการซื้อและบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ซึ่งความคาดหวังนี้ส่งผลโดยรวมทั้งคนในชุมชน นักท่องเที่ยว และแหล่งท่องเที่ยวต่างๆที่มีอยู่ในชุมชน     ในช่วงรอบปีที่ผ่านมาชุมชนพื้นที่ท่องเที่ยวกงหราก็ได้ขับเคลื่อนเรื่องการจัดการขยะในแหล่งท่องเที่ยวมาแล้วแต่เนื่องจากทีมคณะทำงานยังขาดความรู้และการขับเคลื่อนงานก็ยังขาดความต่อเนื่อง การลงพื้นที่ทำงานการเก็บบันทึกข้อมูลก็ไม่เป็นระบบ ไม่เห็นซึ่งหลักฐานการเปรียบเทียบในลักษณะข้อมูลที่ชัดเจน ผลจากการถอดบทเรียนชุมชนท่องเที่ยวกงหรา ได้ข้อสรุปว่าในปีนี้จะดำเนินโครงการต่อจากปีที่แล้วและจะปรับขบวนการทำงานใหม่ ทุกชุมชนต้องมีการเก็บบันทึกข้อมูลขยะเป็นระยะและมีการติดตามเพื่อวิเคราะห์และประเมินความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น พร้อมกันนี้จะเพิ่มบทบาทคณะทำงานในการลงพื้นที่เพื่อติดตามการทำงานของคณะกรรมการในระดับชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

การจัดการขยะในที่สาธารณะ ที่จะเป็นการยกระดับให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสุขภาวะที่มีการจัดการขยะที่เป็นระบบ และเป็นที่ท่องเที่ยวที่นิยมของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เน้นธรรมชาติ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างการเรียนรู้และสร้างความตระหนักในเรื่องการจัดการขยะในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนร่วมกัน

1.1พื้นที่ท่องเที่ยวชุมชนมีข้อมูลขยะของแต่ละพื้นที่ โดยมีการแยกประเภท ที่มาของขยะ ปริมาณขยะก่อน-หลัง และวิธีการจัดเก็บ 1.2แต่ละพื้นที่สามารถวางแผนในการจัดการขยะในพื้นที่ได้ 1.3คนในชุมชนแหล่งท่องเที่ยวของแต่ละพื้นที่มีความตระหนักในการร่วมกันจัดการขยะ

0.00
2 2.เพื่อสร้างกติกาและกลไกการหนุนเสริมการจัดการขยะในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนร่วมกันและเพื่อให้ชุมชนร่วมกันปรับสภาพแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเพื่อเอื้อต่อการจัดการขยะในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนร่วมกัน

2.1มีการทบทวนกติกาเดิมที่มีอยู่แล้วไปปรับใช้ให้ได้ผลและสามารถใช้ได้อย่างเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ 2.2มีรูปแบบการปรับสภาพแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวทั้ง6พื้นที่อย่างน้อยพื้นที่ละ2รูปแบบ

0.00
3 3.เพื่อสร้างกติกาและกลไกการหนุนเสริมการจัดการขยะในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนร่วมกันและเพื่อให้ชุมชนร่วมกันปรับสภาพแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเพื่อเอื้อต่อการจัดการขยะในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนร่วมกัน

2.1มีการทบทวนกติกาเดิมที่มีอยู่แล้วไปปรับใช้ให้ได้ผลและสามารถใช้ได้อย่างเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ 2.2มีรูปแบบการปรับสภาพแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวทั้ง6พื้นที่อย่างน้อยพื้นที่ละ2รูปแบบ

0.00
4 3.เพื่อให้แหล่งท่องเที่ยวชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ปลอดขยะ

3.1มีกลไกติดตาม/เฝ้าระวัง ของชุมชนอย่างต่อเนื่อง 3.2แหล่งท่องเที่ยวทั้ง6พื้นที่มีการจัดการขยะได้อย่างน้อยร้อยละ50%ของแต่ละพื้นที่ 3.3แต่ละพื้นที่สามารถนำขยะไปใช้ประโยชน์ได้อย่างน้อยร้อยละ40%ของแต่ละพื้นที่

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 408 107,965.00 28 76,716.00
20 มิ.ย. 63 กิจกรรม การบริหารจัดการโครงการ (ประชุมปฐมนิเทศน์โครงการ) 3 8,000.00 1,000.00
20 มิ.ย. 63 พัฒนาศักยภาพทีมและคณะทำงานเรื่องการจัดการขยะในพื้นที่ท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ 0 6,380.00 6,380.00
18 ก.ค. 63 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 1 20 3,000.00 3,000.00
12 ส.ค. 63 บริหารจัดการโครงการ(ทำป้ายโครงการและป้ายสสส.) 0 0.00 1,000.00
20 ส.ค. 63 กิจกรรมประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 2 20 3,000.00 3,000.00
28 ส.ค. 63 เวทีทำแผน/ประเมินผลและวิเคราะห์การเก็บข้อมูลขยะในแหล่งท่องเที่ยวครั้งที่1 30 4,500.00 4,500.00
31 ส.ค. 63 ประชุมทำความเข้าใจโครงการ เพื่อสร้างข้อตกลงเรื่องแนวทางการจัดการขยะในแหล่งท่องเที่ยว 38 4,275.00 4,275.00
7 ก.ย. 63 ให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะและการนำขยะไปใช้ประโยชน์ 38 6,980.00 6,980.00
12 ก.ย. 63 กิจกรรมประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 3 25 3,000.00 3,000.00
24 ก.ย. 63 ทบทวนกติกาเดิมเพื่อปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ 0 7,780.00 7,780.00
30 ก.ย. 63 กิจกรรมประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 4 20 3,000.00 3,000.00
7 ต.ค. 63 กิจกรรมบริหารจัดการ(ประชุมสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย) 3 0.00 1,000.00
12 พ.ย. 63 ติดตาม/ประเมินผลและวิเคราะห์การเก็บรวบรวมข้อมูลขยะในแหล่งท่องเที่ยวระยะที่2 30 2,000.00 0.00
14 พ.ย. 63 เวทีพัฒนาศักยภาพผู้รับทุนโครงการในการจัดทำรายงานการเงินงวดที่1 0 0.00 0.00
18 พ.ย. 63 กิจกรรมที่8ติดตาม/ประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE)ครั้งที่1 30 1,550.00 1,550.00
20 พ.ย. 63 กิจกรรมประชุมคณะทำงาoประจำเดือนครั้งที่ 5 20 3,000.00 3,000.00
30 พ.ย. 63 กิจกรรมประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 6 20 3,000.00 3,000.00
17 ธ.ค. 63 กิจกรรมประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 7 20 3,000.00 0.00
9 ม.ค. 64 เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงประเด็น ที่มาของขยะ/ปริมาณขยะ/วิธีการจัดเก็บ 38 4,000.00 0.00
14 ม.ค. 64 ติดตาม/ประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE)ครั้งที่2 30 1,550.00 0.00
23 ม.ค. 64 กิจกรรมประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 8 20 3,000.00 0.00
20 ก.พ. 64 กิจกรรมประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 9 0 3,000.00 0.00
24 ก.พ. 64 เวทีเสริมพลังปรับภูมิทัศน์สร้างจิตสำนึกในแหล่งท่องเที่ยวร่วมกับภาคีหนุนเสริม 0 21,250.00 21,251.00
6 มี.ค. 64 .เฝ้าระวังพฤติกรรมนักท่องเที่ยว 0 6,900.00 0.00
20 มี.ค. 64 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 10 0 3,000.00 0.00
20 มี.ค. 64 ร่วมประชุมประเมินผลโครงการกับหน่วยจัดการ 3 0.00 1,000.00
24 เม.ย. 64 คืนข้อมูลให้ชุมชน 0 2,800.00 0.00
31 ส.ค. 64 จัดทำรายงานในระบบรายงาน 0 0.00 2,000.00

1เก็บข้อมูลปริมาณขยะเพื่อเปรียบเทียบก่อนดำเนินการ ระหว่างดำเนินการ และหลังดำเนินการ 2ปรับสภาพแวดล้อมพื้นที่ให้เอื้อต่อการลดปริมาณขยะ 3เปรียบความพึงพอใจนักท่องเที่ยว 4เร่งสร้างกติกาการจัดการขยะในแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นรูปธรรม

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1สามารถมีข้อมูลเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของปริมาณขยะ 2เกิดความพอใจจากนั่งท่องเที่ยว 3สามารถสร้างกติกาที่นำสู่การปฎิบัติที่ส่งผลต่อการลดปริมาณขยะและเกิดการจักการขยะที่มีประสิทธิภาพ

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2563 10:19 น.