stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เรียนรู้ บูรณาการ ควนพระสาครินทร์กรีนสคูล
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 63001690014
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 107,180.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนควนพระสาครินทร์
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมนึก เวชสิทธิ์
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายจำรัส รัตนอุบล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.386078,100.211148place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2563 31 ต.ค. 2563 1 มิ.ย. 2563 31 ต.ค. 2563 42,872.00
2 1 พ.ย. 2563 28 ก.พ. 2564 1 พ.ย. 2563 30 ก.ย. 2564 53,590.00
3 1 มี.ค. 2564 31 มี.ค. 2564 10,718.00
รวมงบประมาณ 107,180.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1

สถานการณ์ขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป และขยะพลาสติกของโรงเรียนควนพระสาครินทร์

1,500.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงเรียนควนพระสาครินทร์ ตั้งอยู่ที่ 406 หมู่ที่ 2 ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ประจำตำบลฝาละมี ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2524 โดยมีคุณจิระ – คุณส้อง สาครินทร์ ได้อุทิศที่ดินจำนวน 50 ไร่เศษ เปิดทำการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1– ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียน 182 คน ครูทั้งหมด 23 คน จากการสำรวจสถานการณ์ขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป และขยะพลาสติกของโรงเรียนควนพระสาครินทร์ พบว่าปริมาณขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป และขยะพลาสติก ที่เกิดขึ้นโดยเฉลี่ย 1,500 ตันต่อเดือน และมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นเป็นปัญหาที่โรงเรียนกำจัดโดยการเผาทิ้งไปทำลายสิ่งแวดล้อมในยามที่ขยะมากบางช่วงเดือน โดยเฉพาะเดือนธันวาคม ถึงเดือน กุมภาพันธ์ ปริมาณใบไม้หล่อนเกลื่อนกลาด โรงเรียนมีพื้นที่ดูแลกว่า 50 ไร่ มีการปลูกไม้ยืนต้น ไม้ดอกไม้ประดับ ในขณะที่ใบไม้ในโรงเรียนกำจัดโดยการเผาทิ้ง มีการประกาศลด งดนำถุงพลาสติก และโฟม ในการบรรจุอาหารมารับประทานในโรงเรียน ปี2562 แต่ขยะก็ไม่ได้ลดปริมาณลง ด้วยโรงเรียนเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในชุมชน ใกล้ชิดชุมชน การดำรงชีวิตของนักเรียนในโรงเรียนลดการนำถุงพลาสติกและโฟมในการบรรจุอาหารมาโรงเรียน แต่สินค้าทั่วไป ขนมต่างๆยังคงใช้พลาสติกเป็นบรรจุภัณฑ์ที่นักเรียนต้องรับประทาน โดยเฉพาะนมกล่อง เพื่อลดปริมาณ ขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป และขยะพลาสติกของโรงเรียนควนพระสาครินทร์ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปริมาณขยะของโรงเรียน ส่งผลให้นักเรียนและครูเกิดโรคภูมิแพ้ได้ง่าย และรวมถึงทำให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ของโรคต่างๆได้ง่าย ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทำให้พื้นที่ของโรงเรียนไม่สะอาดตา เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์มีพิษได้ รวมไปถึงเมื่อมีขยะหมักหมมส่งผลให้เกิดมลภาวะทางกลิ่นได้ อีกทั้งยังทำให้โรงเรียนต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการจ้างคนงานและค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้นโรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการการจัดการขยะในโรงเรียน โดยให้นักเรียน ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ เข้าใจ และร่วมมือจัดการ และคัดแยก “ขยะ” อย่างเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้โรงเรียนได้ใช้ประโยชน์จากขยะได้สูงสุด และลดปริมาณขยะในโรงเรียนลง

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

การคัดแยกขยะ โรงเรียนควนพระสาครินทร์ มีความพร้อมและทุนเดิม ในการจัดการสิ่งแวดล้อมและขยะ
โดยโรงเรียนควนพระสาครินทร์ ได้จัดการเรียนการสอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ และ สังคมศึกษา ให้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองทั้งผลิตปุ๋ยจากใบไม้ และปุ๋ยหมักน้ำจากเศษขยะอินทรีย์ โดยนักเรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ ในโครงการนี้ โรงเรียนควนพระสาครินทร์มีแนวทางเพื่อการจัดการขยะในโรงเรียนโดยการ คัดแยก 4
ประเภท แบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนมีบทบาทสำคัญในการร่วมกันจัดการขยะ 1).ขยะทั่วไป ซึ่งโรงเรียนมีธนาคารขยะรับฝาก รับบริจาคขยะ และทำการคัดแยกเป็นประเภทต่างๆ และนำไปใช้ประโยชน์ กล่องนมนำไปทำตะกร้า และส่งเข้าโครงการหลังคาเขียว พลาสติกที่สามารถนำไปประดิษฐ์เป็นของชำร่วย กระเป๋า และส่งเข้าโครงการวน กระดาษนำไปทำงานประดิษฐ์เปเปร์มาร์เช่
2) ขยะอินทรีย์ ซึ่งได้จากเศษอาหารโรงอาหาร สามารถนำไปเพิ่มมูลค่า ดังนี้   - ขยะอินทรีย์เปียก เลี้ยงไส้เดือนผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน นำไปทำปุ๋ยน้ำจุลินทรืย์   - ขยะอินทรีย์แห้ง บดย่อย เป็นวัสดุส่วนผสมปุ๋ยอินทรีย์ชนิดแห้ง ขยะแห้งประกอบด้วย ใบไม้ หญ้าที่ได้จากการตัดในสนาม เศษกิ่งไม้ ใบไม้จากการตัดแต่ง
3) ขยะที่จำหน่ายได้ จะถูกรวบรวมเพื่อจำหน่าย ผ่านกิจการธนาคารขยะของโรงเรียน เช่น กระดาษลัง
4) ขยะอันตราย ที่ผ่านการคัดแยกขยะแล้ว โรงเรียนควนพระสาครินทร์จะดำเนินการ ส่งต่อให้ อบต . ฝาละมีนำไปกำจัดโดยวิธีการฝังกลบ และในโรงเรียนจะตั้งลังเลี้ยงผึ้ง การเลี้ยงผึ้งสามารถสร้างแรงจูงใจ ไม่ฉีดหญ้าและฉีดฆ่าแมลงได้

1.3 แสดงให้เห็นว่าการดำเนินงานโครงการจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายของ Node Flagship ได้อย่างไร โรงเรียนควนพระสาครินทร์ ดำเนินกิจกรรมโดยโรงเรียนมีกฎ กติกาเป็นวินัยของนักเรียนทุกคน ต้องคัดแยกขยะ เพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดี และเอื้อเฟื้อต่อสุขภาพนักเรียนและบุคลากร โรงเรียนน่าอยู่ ใช้ขยะสร้างและเพิ่มมูลค่า โรงเรียนมีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองลดรายจ่ายในการชื้อปุ๋ยใส่ต้นไม้ และ โรงเรียนเลิกใช้สารเคมี ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง หันมาเลี้ยงผึ้งเป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นการจัดการขยะอินทรีย์ทางอ้อมในโรงเรียน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 คณะทำงานมีความรู้ การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม

1.โรงเรียน และ คณะทำงานประกอบด้วย คณะครู สภานักเรียน กรรมการโรงเรียน อปท ตัวแทนชุมชน มีความรู้ในการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม
2.นักเรียนมีความรู้และสามารถคัดแยกขยะได้

2.00
2 คณะทำงานเป็นกลไกปฏิบัติการในการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
  1. เกิดกลไกคณะทำงานการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมที่ ประกอบด้วย คณะครู สภานักเรียน กรรมการโรงเรียน อปท ตัวแทนชุมชน
  2. คณะทำงานมีกติกาข้อตกลงการทำงานชัดเจน คือ การคัดแยกขยะต้นทาง
  3. มีแผนการปฏิบัติงาน คือ แผนที่ขยะ ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง
3.00
3 กลไกการติดตามและสร้างแรงจูงใจในการคัดแยกขยะและใช้ประโยชน์

1.เกิดแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมวิธี การคัดแยก   - แผ่นที่ขยะ 4 ประเภทของโรงเรียน   - เลี้ยงไส้เดือน กำจัดขยะอินทรีย์ ผลิตปุ๋ยใช้เอง   - เลี้ยงผึ้ง เลิกฉีดยาและเคมีในโรงเรียน
2.โรงเรียนมีการคัดแยกและใช้ประโยชน์จากขยะ 80% 3.โรงเรียนผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง 4.โรงเรียนนำปุ๋ยที่ผลิตได้ใช้ในการปลูกไม้ประดับ สร้างรายได้ให้กับนักเรียน

4.00
4 ปริมาณขยะในโรงเรียนลดลง

-ปริมาณขยะในโรงเรียนลดลง 80%เกิดจากการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม จากการคัดแยกขยะ

1500.00 80.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 182
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ครู นักเรียน โรงเรียนควนพระสาครินทร์ 182 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 856 107,180.00 27 100,630.00
5 มิ.ย. 63 ประชุมเพื่อแต่งตั้งเป็นคณะทำงานการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียน 30 5,400.00 5,400.00
20 - 21 มิ.ย. 63 กิจกรรมปฐมนิเทศผู้รับทุน โครงการ NFSจังหวัดพัทลุง 3 400.00 400.00
3 ก.ค. 63 ออกแบบกฎกติการ่วมกัน และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผนการดำเนินงาน 30 4,400.00 4,400.00
7 ก.ค. 63 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 30 1,250.00 1,250.00
8 ก.ค. 63 พัฒนาศักยภาพเรียนรู้ดูงานโรงเรียนประภัสสรรังสิต จังหวัดพัทลุง 45 25,350.00 23,150.00
20 ก.ค. 63 ออกแบบการเก็บข้อมูลสำรวจสถานการณ์ปัญหาขยะในโรงเรียนก่อนดำเนินงาน เพื่อทำแผนการจัดการขยะในโรงเรียนและเก็บข้อมูล 30 1,605.00 1,605.00
7 ส.ค. 63 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 30 750.00 750.00
10 ส.ค. 63 จัดอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะแต่ละประเภท และทำแผ่นที่หรือเส้นทางขยะแต่ละประเภท 205 7,025.00 7,025.00
27 ส.ค. 63 ติดตามประเมินผลและสร้างแรงจูงใจ 30 3,450.00 1,350.00
4 ก.ย. 63 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 30 750.00 750.00
7 ต.ค. 63 เวทีเชื่อมร้อยเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อน Phatthalung Green City 3 400.00 400.00
6 พ.ย. 63 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 5 30 750.00 750.00
14 พ.ย. 63 ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงาน 0 1,000.00 1,000.00
14 พ.ย. 63 ค่าจัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และป้ายชื่อโครงการ สสส. 0 1,000.00 1,000.00
14 พ.ย. 63 ค่าจัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ 0 1,000.00 1,000.00
14 พ.ย. 63 ค่าเดินทางและที่พักร่วมประชุมกับ สสส 0 4,200.00 400.00
19 พ.ย. 63 ปฏิบัติการแปรรูปขยะแบบมีส่วนร่วม 50 33,300.00 33,300.00
20 พ.ย. 63 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 6 30 750.00 750.00
27 พ.ย. 63 การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาเชิงผลลัพธ์(ARE) ครั้งที่ 1 45 3,100.00 1,975.00
10 ธ.ค. 63 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 7 30 750.00 750.00
7 ม.ค. 64 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 8 30 750.00 750.00
15 ม.ค. 64 การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาเชิงผลลัพธ์(ARE) ครั้งที่ 2 45 0.00 1,125.00
4 ก.พ. 64 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 9 30 750.00 750.00
26 ก.พ. 64 ติดตามประเมินผลและสร้างแรงจูงใจ 30 0.00 1,050.00
9 มี.ค. 64 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 10 30 750.00 750.00
23 มี.ค. 64 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้คืนข้อมูล พร้อมสรุปบทเรียนการดำเนินงาน 40 8,300.00 8,300.00
30 ก.ย. 64 ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 500.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2563 13:52 น.