แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดพัทลุง


“ เรียนรู้ บูรณาการ ควนพระสาครินทร์กรีนสคูล ”

ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นายสมนึก เวชสิทธิ์

ชื่อโครงการ เรียนรู้ บูรณาการ ควนพระสาครินทร์กรีนสคูล

ที่อยู่ ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 63001690014 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2564


กิตติกรรมประกาศ

"เรียนรู้ บูรณาการ ควนพระสาครินทร์กรีนสคูล จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดพัทลุง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
เรียนรู้ บูรณาการ ควนพระสาครินทร์กรีนสคูล



บทคัดย่อ

โครงการ " เรียนรู้ บูรณาการ ควนพระสาครินทร์กรีนสคูล " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 63001690014 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2563 - 30 กันยายน 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 107,180.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดพัทลุง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรงเรียนควนพระสาครินทร์ ตั้งอยู่ที่ 406 หมู่ที่ 2 ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ประจำตำบลฝาละมี ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2524 โดยมีคุณจิระ – คุณส้อง สาครินทร์ ได้อุทิศที่ดินจำนวน 50 ไร่เศษ เปิดทำการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1– ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียน 182 คน ครูทั้งหมด 23 คน จากการสำรวจสถานการณ์ขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป และขยะพลาสติกของโรงเรียนควนพระสาครินทร์ พบว่าปริมาณขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป และขยะพลาสติก ที่เกิดขึ้นโดยเฉลี่ย 1,500 ตันต่อเดือน และมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นเป็นปัญหาที่โรงเรียนกำจัดโดยการเผาทิ้งไปทำลายสิ่งแวดล้อมในยามที่ขยะมากบางช่วงเดือน โดยเฉพาะเดือนธันวาคม ถึงเดือน กุมภาพันธ์ ปริมาณใบไม้หล่อนเกลื่อนกลาด โรงเรียนมีพื้นที่ดูแลกว่า 50 ไร่ มีการปลูกไม้ยืนต้น ไม้ดอกไม้ประดับ ในขณะที่ใบไม้ในโรงเรียนกำจัดโดยการเผาทิ้ง มีการประกาศลด งดนำถุงพลาสติก และโฟม ในการบรรจุอาหารมารับประทานในโรงเรียน ปี2562 แต่ขยะก็ไม่ได้ลดปริมาณลง ด้วยโรงเรียนเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในชุมชน ใกล้ชิดชุมชน การดำรงชีวิตของนักเรียนในโรงเรียนลดการนำถุงพลาสติกและโฟมในการบรรจุอาหารมาโรงเรียน แต่สินค้าทั่วไป ขนมต่างๆยังคงใช้พลาสติกเป็นบรรจุภัณฑ์ที่นักเรียนต้องรับประทาน โดยเฉพาะนมกล่อง เพื่อลดปริมาณ ขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป และขยะพลาสติกของโรงเรียนควนพระสาครินทร์ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปริมาณขยะของโรงเรียน ส่งผลให้นักเรียนและครูเกิดโรคภูมิแพ้ได้ง่าย และรวมถึงทำให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ของโรคต่างๆได้ง่าย ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทำให้พื้นที่ของโรงเรียนไม่สะอาดตา เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์มีพิษได้ รวมไปถึงเมื่อมีขยะหมักหมมส่งผลให้เกิดมลภาวะทางกลิ่นได้ อีกทั้งยังทำให้โรงเรียนต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการจ้างคนงานและค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้นโรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการการจัดการขยะในโรงเรียน โดยให้นักเรียน ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ เข้าใจ และร่วมมือจัดการ และคัดแยก “ขยะ” อย่างเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้โรงเรียนได้ใช้ประโยชน์จากขยะได้สูงสุด และลดปริมาณขยะในโรงเรียนลง

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. คณะทำงานมีความรู้ การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม
  2. คณะทำงานเป็นกลไกปฏิบัติการในการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
  3. กลไกการติดตามและสร้างแรงจูงใจในการคัดแยกขยะและใช้ประโยชน์
  4. ปริมาณขยะในโรงเรียนลดลง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมเพื่อแต่งตั้งเป็นคณะทำงานการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียน
  2. กิจกรรมปฐมนิเทศผู้รับทุน โครงการ NFSจังหวัดพัทลุง
  3. ออกแบบกฎกติการ่วมกัน และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
  4. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2
  5. พัฒนาศักยภาพเรียนรู้ดูงานโรงเรียนประภัสสรรังสิต จังหวัดพัทลุง
  6. ออกแบบการเก็บข้อมูลสำรวจสถานการณ์ปัญหาขยะในโรงเรียนก่อนดำเนินงาน เพื่อทำแผนการจัดการขยะในโรงเรียนและเก็บข้อมูล
  7. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3
  8. จัดอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะแต่ละประเภท และทำแผ่นที่หรือเส้นทางขยะแต่ละประเภท
  9. ติดตามประเมินผลและสร้างแรงจูงใจ
  10. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4
  11. เวทีเชื่อมร้อยเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อน Phatthalung Green City
  12. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 5
  13. ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงาน
  14. ค่าจัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และป้ายชื่อโครงการ สสส.
  15. ค่าจัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ
  16. ค่าเดินทางและที่พักร่วมประชุมกับ สสส
  17. ปฏิบัติการแปรรูปขยะแบบมีส่วนร่วม
  18. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 6
  19. การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาเชิงผลลัพธ์(ARE) ครั้งที่ 1
  20. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 7
  21. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 8
  22. การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาเชิงผลลัพธ์(ARE) ครั้งที่ 2
  23. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 9
  24. ติดตามประเมินผลและสร้างแรงจูงใจ
  25. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 10
  26. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้คืนข้อมูล พร้อมสรุปบทเรียนการดำเนินงาน
  27. ค่าเปิดบัญชีธนาคาร

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
ครู นักเรียน โรงเรียนควนพระสาครินทร์ 182

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมปฐมนิเทศผู้รับทุน โครงการ NFSจังหวัดพัทลุง

วันที่ 20 มิถุนายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 08.00-08.30น.  ลงทะเบียน และสแกนกลุ่มเป้าหมายตามมาตราการป้องกันไวรัส โควิด19 เวลา 08.30-08.45น.  เตรียมความพร้อมกลุ่มเป้าหมาย/ แนะนำตัวทำความรู้จัก/สันทนาการ (ทีมสันทนาการ) เวลา 08.45-09.00น.  ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม (นายไพฑูรย์ ทองสม) เวลา 09.00-09.30น.  คลี่บันไดผลลัพธ์ องค์ประกอบบันไดผลลัพธ์และภาคีร่วมดำเนินการ (นายอรุณ ศรีสุวรรณ) เวลา 09.30-10.15น.  แบ่งกลุ่มย่อยพื้นที่โครงการ/พี่เลี้ยง ร่วมกันทบทวน ปรับปรุงบันไดผลลัพธ์ของโครงการย่อย เวลา 10.15-10.45น.  การออกแบบจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดผลลัพธ์ (นายไพฑูรย์ ทองสม) เวลา 10.45-11.30น.  พักเบรก รับประทานอาหารว่าง เวลา 11.30-12.00น.  แบ่งกลุ่มย่อยพื้นที่โครงการ/พี่เลี้ยง ช่วยกันออกแบบจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดโครงการย่อย เวลา 12.00-13.00น.  พัก รับประทานอาหารเที่ยง เวลา 13.00-13.20น.  การออกแบบแผนดำเนินงานโครงการ (นายเสณี จ่าวิสูตร) เวลา 13.20-14.00น. แล่งกลุ่มย่อยพื้นที่โครงการย่อย/พี่เลี้ยง ออกแบบแผนการดำเนินงานโครงการย่อย เวลา 14.20-15.00น. การบริหารจัดการ การเงิน (นางสาวจุรี หนูผุด/นายจำรัส รัตนอุบล เวลา 15.00-15.20น สรุปและประมวลผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (นายสมนึก นุ่มดวง) เวลา 15.20-15.30น.  พักเบรก อาหารว่าง เวลา 15.30-16.30น.  การเขียนรายงานผ่านระบบHappy Network (นายไพฑูรย์ ทองสม)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ -วัตถุประสงค์ของโครงการ -บันไดผลลัพธ์กิจกรรม -การออกแบบแผนดำเนินงานโครงการ
-การบริหารจัดการ การเงิน -การเขียนรายงานผ่านระบบHappy Network

 

3 0

2. ประชุมเพื่อแต่งตั้งเป็นคณะทำงานการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียน

วันที่ 22 กรกฎาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

  1. จัดประชุมเปิดโครงการ  เพื่อชี้แจงรายละเอียด วัถุประสงค์ของโครงการเรียนรู้  บูรณาการ ควนพระสาครินทร์กรีนสคูล
  2. ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย  ผู้อำนวยการโรงเรียน  คณครู  จำนวน 17 คน  คณะกรรมการสภานักเรียน  จำนวน  26 คน ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและตัวแทนกรรมการโรงเรียน และตัวแทนชุมชน จำนวน  7 คน    ตัวตัวแทนองค์กรส่วนท้องถิ่น  1 คน
  3. จัดทำประกาศประกาศโรงเรียนควนพระสาครินทร์  เรื่อง  แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินกิจกรรมโครงการเรียนรู้ บูรณาการ ควนพระสาครินทร์กรีนสคูล“ภายใต้การสนับสนุนจาก Node Flagship จังหวัดพัทลุง”
  4. ประชุมสรุปความก้าวหน้าการทำงาน  นำเสนอปัญหาอุปสรรคต่างๆ  และร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-จัดประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจวัตถุประสงค์โครงการ
      -ประชุม แต่งตั้งคณะทำงาน แบ่งบทบาทหน้าที่ พร้อมวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน รวมถึงรวบรวมข้อมูลสภาพปัญหาขยะ
      -บุคคลจาก 5 ภาคส่วนเป็นคณะทำงานการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนแลชุมชน จำนวน  คน ประกอบด้วยครู  สภานักเรียน กรรมการสถานศึกษา ,กรรมการชุมชน และผู้แทนอปท.
      -ผู้เข้าร่วมกิจกรรรมการประชุม  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการโครงการ  วัตถุประสงค์ บทบาทหน้าที่  และมีการวางแผนร่วมกันในการทำงาน       -ประชุมสรุปความก้าวหน้าการทำงาน  นำเสนอปัญหาอุปสรรคต่างๆ  และร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหา

 

30 0

3. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2

วันที่ 18 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะกรรมการบริหารโรงเรียน คณะครู สภานักเรียน
    1.ชี้แจงรายละเอียดภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ  ตามประกาศโรงเรียนเรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินกิจกรรมโครงการ     2.วางแผนกิจกรรมต่างๆ  ตามประกาศแต่งตั้งคณะกรรมดำเนินกิจกรรม
    3. กำหนดปฏิทินการปฏิบัติงาน     3.การสำรวจปริมาณขยะในโรงเรียน  ชุมชนครอบครัว     3.การจัดอบรมการคัดแยกขยะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการประชุม  คณะกรรมการเข้าใจบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย แต่ละงาน  ทั้งในส่วนของครูบุคลากร สภานักเรียน  ชุมชน  องค์กรส่วนท้องถิ่น  วางแผนการดำเนินการกิจกรรมต่างๆ ตามปฏิทิน  มอบหมายสภานักเรียนแจ้งนักเรียนเกี่ยวกับการสำรวจปริมาณขยะในโรงเรียน  ชุุมชน  และกำหนดวันเวลาในการอบรมการคัดแยกขยะ

 

30 0

4. จัดอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะแต่ละประเภท และทำแผ่นที่หรือเส้นทางขยะแต่ละประเภท

วันที่ 1 กันยายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

-จัดอบรมให้ความรู้การคัดแยกแต่ละประเภท และทำแผนที่หรือเส้นทางขยะแต่ละประเภท 1.เชิญวิทยากรจากเทศบาลตำบลนาท่อมมาบรรยาย และสาธิตปฏิบัติการจริง ร่วมกับแกนนำและนักเรียนในโรงเรียน (การคัดแยก การทำปุ๋ยไส้เดือน/น้ำหมักชีวภาพจากขยะเปียก การรวมขาย หรือตั้งธนาคารขยะรีไซเคิล  เลี้ยงผึ้งลดการฉีดยาฆ่าหญ้า ฯลฯ)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต   ผู้เข้าอบรมประกอบด้วย ครู ตัวแทนชุมชน ตัวแทนกรรมการโรงเรียน ตัวแทนอปท. นักเรียน เข้าร่วมการอบรมเรื่องการคัดแยกขยะ ได้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ แผนที่เส้นทางขยะ ประภทต่างๆ โดยการแบ่งขยะออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1. ขยะทั่วไป ได้แก่ ขยะที่เหลือใช้และแยกเป็นขยะที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้อีก เช่น ถุงพลาสติก แก้วกระดาษ ถุงขนม เปลือกลูกอม กล่องนม เป็นต้น 2. ขยะอินทรีย์ ได้แก่ ขยะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และที่ย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ เช่น เศษอาหาร ผัก ผลไม้ ใบไม้ กิ่งไม้ เป็นต้น 3. ขยะรีไซเคิล ได้แก่ ขยะที่สามารถนำมาใช้ซ้ำ หรือนำมาแปลสภาพแล้วนำมาใช้ใหม่ได้ หรือเป็นขยะที่สามารถนำไปขายต่อได้อีก เช่น ขวดแก้ว ขวดน้ำพลาสติก กระดาษ เศษเหล็ก เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด ถุงพลาสติกที่สามารถนำมาใช้ซ้ำได้ เป็นต้น 4. ขยะอันตราย/ขยะติดเชื้อ ได้แก่ ขยะที่มีสารเคมีอันตรายติดค้างอยู่ หรือขยะที่ติดเชื้อจากโรคต่างๆ เช่น ยาหมดอายุ ขวดน้ำยาล้างห้องน้ำ ขวดน้ำยาฆ่าแมลง สารกำจัดวัชพืช เครื่องสำอางหมดอายุ เข็มฉีดยา ผ้าปิดแผล กระป๋องสเปรย์ เป็นต้น เส้นทางการกำจัดของขยะแต่ละชนิด
1. ขยะทั่วไป --> ขยะที่คัดแยกแล้วจนไม่เหลือประโยชน์แล้วทิ้งถังขยะของ อบต. เพื่อนำไปสู่หลุมขยะ
2. ขยะอินทรีย์ --> ทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ ทิ้งลงถังขยะเปียกของครัวเรือน เลี้ยงไส้เดือน 3. ขยะรีไซเคิล --> ขาย  ดัดแปลงเป็นของใช้ต่างๆ นำมาใช้ซ้ำ 4. ขยะอันตราย --> ทิ้งลงถังขยะอันตราย ของ อบต. เพื่อนำไปกำจัดต่อไป ผลลัพธ์
1. นำความรู้ที่ได้จากวิทยากร ไปดำเนินการในเรื่องการคัดแยกขยะ ในโรงเรียน และครัวเรือนของนักเรียน 2. เพิ่มเติมความเข้าใจถึงการคัดแยกขยะ การนำขยะเข้ามาสู่ครัวเรือน และการจัดการขยะในครัวเรือนและโรงเรียน 3. ตระหนักในปัญหาที่เกิดขึ้นของขยะที่มีต่อสังคมของตนเองมากขึ้น 4. นำไปสู่การออกแบบการสำรวจการจัดเก็บข้อมูลขยะในครัวเรือนของนักเรียน

 

205 0

5. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3

วันที่ 8 กันยายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

1.ประชุมคณะกรรมการบริหารโรงเรียน  ครูและบุคลากร  สภานักเรียน
  -ติดตามผลการดำเนินงาน   -สรุปผลการจัดกิจกรรมการคัดแยกขยะ   -การใช้จ่ายเงินงบประมาณของโครงการ   -วางแผนกิจกรรมการศึกษาดูงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ผลการดำเนินงานของกิจกรรมในโครงการ  คือ การสำรวจขยะในชุมชน  โดยคณะกรรมการสภานักเรียน ให้นักเรียนทุกคนสำรวจปริมาณขยะในครอบครัว  สภานักเรียนสรุปผลการสำรวจ  และวางแผนการจัดกิจกรรมต่อ 2.สรุปผลการจัดกิจกรรมประชุมการคัดแยกขยะ และวางแผนการดำเนินกิจกรรมต่อ 3.ชี้แจงการใช้จ่ายงบประมาณ
4.การศึกษาดูงาน  กำหนดศึกษาดูงานโรงเรียนประภัสสร  จังหวัดพัทลุง  เนื่องจากเป็นโรงเรียนต้นแบบที่โรงเรียนดำเนินกิจกรรมตามโมเดลประภัสร

 

30 0

6. ออกแบบการเก็บข้อมูล สำรวจสถานการณ์ปัญหาขยะในโรงเรียน

วันที่ 9 กันยายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน เพื่อระดมความคิด ข้อเสนอแนะ ในการกำหนดข้อตกลงกฏกติการ่วมกันในการจัดการขยะ และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผนการดำเนินงาน 1. ประชุมคณะทำงาน ครู บุคลการในโรงเรียน เพื่อระดมความคิด ข้อเสนอแนะ ข้อตกลงร่วมกันในการจัดการขยะ 2. ประชุมครูร่วมกับตัวแทนชุมชน องค์กรส่วนท้องถิ่น ในการกำหนดข้อตกลง กฏกติการ่วมกันในการจัดการขยะ และวางแผนการดำเนินงาน 2. สภานักเรียนประชุมร่วมกับครูพี่เลี้ยง
-สรุปผลการประชุม -กำหนดกฎกติกา ข้อตกลงร่วมกัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต                       -มีการสำรวจข้อมูลขยะในโรงเรียน ครอบครัว  ชุมชน                       -เกิดแหล่งเรียนรู้ การใช้ประโยชน์จากการคัดแยกขยะของโรงเรียน
                      -ขยะอินทรีย์เลี้ยงไส้เดือน เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์                       -เกิดการเลี้ยงผึ้งเพื่อเป็นตัวตัวชี้วัดการไม่ใช้สารเคมีในในโรงเรียน
                      -นำกิ่งไม้ ใบไม้ หญ้าและวัชพืช มาบดย่อย เป็นวัสดุ ส่วนผสมของปุ๋ยอินทรีย์                       -นำปุ๋ยที่ได้ใช้ในกิจกรรมปลูกไม้ประดับเพื่อจำหน่าย                     ผลลัพธ์                     คณะทำงานมีความรู้ในการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม

 

30 0

7. ติดตามประเมินผลและสร้างแรงจูงใจ

วันที่ 21 กันยายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

จัดประชุมคณะทำงาน ร่วมกับนักวิชาการ ตัวแทนองค์กรส่วนท้องถิ่น ตัวแทนชุมชน ตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทนนักเรียน เพื่อสรุปผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการครั้งที่ 1  โดยสรุปประเด็น   1. กิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว   2. กิจกรรมที่กำลังดำเนินการ   3. ผลของการจัดกิจกรรม   4. ปัญหาจากการดำเนินกิจกรรม   5. การแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดการประชุมสรุปผลการดำเนินกิจกรรม
1.กิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว  กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว การประชุมแต่งตั้งคณะทำงาน  จัดทำกฎกติกา ข้อตกลง  จัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิล อบรมการคัดแยกขยะ  ศึกษาดูงานการจัดการขยะ
2. กิจกรรมที่กำลังดำเนินการ  การคัดแยกขยะเศษใบไม้รวบรวมทำปุ๋ยหมัก กล่องนำแปรรูปเป็นของใช้ ขยะพลาสติกแปรรูปเป็นของชำร่วย ส่งโครงการวน  กระดาษใช้แล้วทั้งสองหน้าทำเปเปอร์มาเช่ จัดประกวดผลงานขยะรีไซเคิล 3.ปัญหาและข้อเสนอแนะ  การคัดแยกขยะ ถังขยะยังมีน้อยไม่เพียงพอ  การทิ้งขยะ การแยกขยะ  ยังทิ้งไม่เป็นที่ตามที่กำหนด  ต้องจัดหาถังขยะเพิ่ม

 

30 0

8. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4

วันที่ 5 ตุลาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานเพื่อสรปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
-ติดตามการดำเนินกิจกรรมจากการศึกษาดูงาน -นำเสนอผลจากการศึกษาดูงาน -การปรับกิจกรรมจากโรงเรียนต้นแบบมาปรับใช้กับกิจกรรมของโรงเรียน -เตรียมวางแผนการสรุปงานการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาเชิงผลลัพธ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-สรุปผลกิจกรรมที่ศึกษาดูงานจากโรงเรียนประภัสสร การเลี้ยงใส้เดือน  การแยกขยะ มาปรับกับการดำเนินกิจกรรม -กำหนดวันในการสรุปงานการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาเชิงผลลัพธ์ระดับโรงเรียน ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2563
-กำหนดวันในการสรุปงานการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาเชิงผลลัพธ์ระดับจังหวัด ในวันที่ 28
พฤศจิกายน 2563

 

30 0

9. เวทีเชื่อมร้อยเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อน Phatthalung Green City

วันที่ 7 ตุลาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

เข้าร่วมกิจกรรมเวทีเชื่อมร้อยเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อน Phatthalung Green City คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามโครงการหน่วยจัดการจังหวัดระดับ flagship(2561-2563)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เข้าร่วมกิจกรรม นำเสนอผลการดำเนินงานตามโครงการที่รับผิดชอบ  และนำเสนอแนวทางทำงานร่วมกันอย่างไรเพื่อมุ่งไปสู่ พัทลุงกรีนซิตี้

 

3 0

10. พัฒนาศักยภาพเรียนรู้ดูงานโรงเรียนประภัสสรรังสิต จังหวัดพัทลุง

วันที่ 9 ตุลาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 09.00 น. – 12.00 น.       1. ศึกษาดูงาน ประภัสสรโมเดล           -การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม           -การเลี้ยงไส้เดือน           -การเลี้ยงผึ้ง           -การทำปุ๋ยหมักแห้ง           -การทำปุ๋ยหมักน้ำ เวลา 13.00 น. – 16.30 น.       2. ศึกษาดูงานสวนครูนอง ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงประจำอำเภอ เขาชัยสน จังหวัดพัทลุง       -เศรษฐกิจพอเพียง           -การเลี้ยงไส้เดือน           -การเลี้ยงผึ้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต     คณะทำงานซึ่งประกอบด้วยคณะครู คณะกรรมการสภานักเรียน ตัวแทนชุมชน ตัวแทนองค์การส่วนท้องถิ่น ได้ศึกษาเรียนรู้แนวทางการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม  ได้มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ  เส้นทางเดินขยะ  การเลี้ยงใส้เดือน การเลี้ยงผึ้ง จากโรงเรียนประภัสสรรังสิต ซึ่งเป็นโมเดลที่ครบวงจรของการแก้ปัญหาขยะ และการศึกษาเศรษฐกิจพอเพียงสวนครูนองได้รับความรู้จากวิทยากร  ได้สัมผัสเรียนรู้การลงมือปฎิบัติจริง

ผลลัพธ์  คณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการได้ดำเนินการวางแผนการจัดกิจกรรม  โดยนำประภัสสรโมเดล มาเป็นแนวทางในการดำเนินงาน และมีการปรับกิจกรรมให้สอดคล้องกับธรรมชาติ บริบทของโรงเรียนและชุมชน

 

45 0

11. ออกแบบกฎกติการ่วมกัน และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผนการดำเนินงาน

วันที่ 13 ตุลาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

  1. ประชุมคณะทำงาน ครู บุคลการในโรงเรียน เพื่อระดมความคิด ข้อเสนอแนะ ข้อตกลงร่วมกันในการจัดการขยะ
  2. ประชุมครูร่วมกับตัวแทนชุมชน องค์กรส่วนท้องถิ่น ในการกำหนดข้อตกลง กฏกติการ่วมกันในการจัดการขยะ และวางแผนการดำเนินงาน
  3. สภานักเรียนประชุมร่วมกับครูพี่เลี้ยง
      -สรุปผลการประชุม   -กำหนดกฎกติกา ข้อตกลงร่วมกัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-คณะทำงานมีกฎ  กติกาข้อตกลงการทำงานชัดเจน ในเรื่องการคัดแยกขยะต้นทางทั้งในโรงเรียน และที่บ้าน
  -คณะทำงานเป็นกลไกปฏิบัติการในการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน

 

30 0

12. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 5

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประ่ชุมคณะทำงาน 1.ประธาน นายสมนึก  เวชสิทธิ์  แจ้งผลการเข้าร่วมกิจกรรมเวทีเชื่อมร้อยเครือข่ายเพื่อการขับเคลื่อนฯ 2. ครูโชติรส  ครูนงเยาว์  นำเสนอผลการเข้าร่วมกิจกรรมเวทีเชื่อมร้อยเครือข่าย 3. กิจกรรมที่ต้องดำเนินการหลังจากการศึกษาดูงาน และการจัดอบรมความรู้รื่องการคัดแยกขยะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. จากการเข้าร่วมกิจกรรมเวทีเชื่อมร้อยเครือข่าย สามารถนำความรู้เรื่องการจัดการขยะ
  2. ที่ประชุมสรุป  กิจกรรมที่ควรดำเนินการ แต่งตั้งผู้รับผิดชอบกิจกรรม  ออกคำสั่ง     -ธนาคารขยรีไซเคิล     -การเลี้ยงใส้เดือน     -การเลี้ยงผึ้ง     -การทำปุ๋ยหมักแห้ง  ปุ๋ยหมักน้ำจุลินทรีย์     -กิจกรรมเสริม  การปลูกผักสวนครัว การปลูกกล้วย การปลูกเสาวรส การเลี้ยงปลา
  3. ที่ประชุมเสนอให้เชิญวิทยาการมาให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงใส้เดือน การจัดซื้อพ่อพันธ์แม่พันธ์ไส้เดือน

 

30 0

13. ปฏิบัติการแปรรูปขยะแบบมีส่วนร่วม

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

-จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงใส้เดือน การเลี้ยงผึ้ง
-เชิญวิทยากรมาให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงใส้เดือน การเลี้ยงผึ้ง -จัดซื้อ จัดหาวัสดุอุปกรณ์สำหรับการเลี้ยงใส้เดือน เลี้ยงผึ้ง  เช่น ท่อซีเมนต์  กะละมัง ไม้ไผ่  เชื่อก  มูลวัว -ปฏิบัติการเลี้ยงใส้เดือน เลี้ยงผึ้ง บูรณาการเรียนรู้ในรายวิชา วิทยาศาสตร์  สังคมศึกษา งานช่าง
-ปฏิบัติการกิจกรรมธนาคารขยะรีไซเคิล -จัดหาถังขยะ  จุดแยกขยะ
-จัดกิจกรรมแปรรูปขยะในกิจกรรมชุมนุม กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ -จัดทำที่หมักปุ๋ยมักจากใบไม้  ขยะอินทรีย์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-มีฐานการเรียนรู้เรื่อง  การเลี้ยงใส้เดือน การเลี้ยงผึ้ง การจัดการนาคารขยะรีไซเคิล การทำปุ๋ยหมัก -นักเรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมในฐานการเรียนรู้ต่างๆ และเข้าเรียนรู้ฐานการเรียนรู้ต่างๆ -ขยะต่างๆผ่านการคัดแยกและนำไปใช้ประโยชน์
-นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ นำไปปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน
-มีแรงจูงใจในการจัดการขยะ  จากการเรียนรู้  และปฏิบัติผ่านฐานการเรียนรู้ การเลี้ยงใส้เดือนเพื่่อผลิตปุ๋ยจากขยะอินทรีย์ย่อยสลาย  การผลิตป๋ยจากญ้า จากใบไม้ เป็นปุ๋ยหมัก นำไปใช้ในการปลูกพืชผัก จากการประกาศเลิกใช้สารเคมีและยาฆ่าหญ้าในโรงเรียน สามารถเลี้ยงผึ้งได้ มีการนำขยะอินทรีย์จากโรงอาหาร ห้องพักครู  ผลไม้ที่ปลูกในโรงเรียน เช่น มะละกอ นำมาเลี้ยงใส้เดือน  นำเศษผลไม้จากบ้านนักเรียนมาเลี้ยงใส้เดือน

 

50 0

14. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 6

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน 1. ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ  ตามคำสั่ง 2. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม 3. สรุปผลการดำเนินกิจกรรม  ความคืบหน้า ปัญหา อุปสรรค

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-กิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว 1. กิจกรรมการจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิล  ทางโรงเรียนได้จัดทำธาคารขยะให้ไปเป็นที่เรียบร้อย 2. กิจกรรมการเลี้ยงไส้เดือน เชิญวิทยากรมาให้ความรู้กับนักรียน
3. การทำปุ๋ยหมักแ้ง ปุ๋ยหมักน้ำ ผลการดำเนินการ ปัญหา อุปสรรค

 

30 0

15. การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาเชิงผลลัพธ์(ARE) ครั้งที่ 1

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

จัดประชุมคณะกรรมการเพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ  คณะกรรมการแต่ละฝ่ายได้รายงานความก้าวหน้าในแต่ละกิจกรรมว่ามีการดำเนินการไปแล้วอย่างไรบ้าง  ให้นำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรม  ปัญหา อุปสรรคข้อเสนอแนะในที่ประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดกิจกรรม  ประชุมติดตามการทำงาน ในแต่ละกิจกรรม  สรุปผลขั้นตอนการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมว่าดำเนินการไปถึงขั้นไหนแล้ว  มีปัญหาอะไรบ้าง -กิจกรรมการทำปุ๋ยหมัก  มีการจัดทำอย่างต่อเนื่อง  ปริมาณเศษใบไม้ วัชพืช มีเป็นจำนวนมาก ที่ประชุม เสนอให้เพิ่มที่จัดเก็บ  ที่ประชุมมีมติให้จัดทำเพิ่ม  จัดทำด้านลัง้องน้ำนักเรียนชาย  สร้างที่เก็บโดยก่ออิฐบลอค
-กิจกรรมการเลี้ยงใส้เดือน  ได้จัดอบรมนักเรียนเรื่องการเลี้ยงใส้เดือน  โดยเชิญวิทยากรมาให้ความรู้  และมีวิทยากรมาสอนขั้นตอนการเลี้ยงอย่างละเอียด -กิจกรรมธนาคารขยะรีไซเคิล  บูรณาการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมชุมนุมรักษ์สิ่งแวดล้อม  และกิจกรรมห้องเรียน  ยังขาดแผ่นป้ายความรู้เกี่ยวกับการแยกขยะ  มีการจำหน่ายขยะไปบ้างแล้ว  การแยกขยะ  ถังขยะบางส่วนการจัดทิ้งยังผิดประเภท มีการติดต่อประสานงานองค์การส่วนตำบลฝาลมีในการมาจัดเก็บขยะอันตราย
-กิจกรรมการเลี้ยงผึ้ง  จัดทำรังผึ้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  จัดวางตำแหน่งเรียบร้อย  แต่ผึ้งยังไม่เข้ารัง ผลลัพธ์  การเรียนรู้บูรณาการในกิจกรรมห้องเรียน  นักเรียนได้ความรู้จากการลงมือปฎิบัติจริง นักเรียนเรียนรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรม  นักเรียนมีความตระหนักรู้อยู่ในระดับหนึ่ง  ยังขาดการบูรณาการเข้าสู่รายวิชาต่างๆ  ในแต่ละระดับชั้น -ปริมาณขยะทั่วไปลดลง  มีการนำขยะไปใช้ประโยชน์  การทำอิโคบริค  การทำเปเปอร์มาเช่
-คณะทำงานมีความรู้การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม

 

45 0

16. ค่าจัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และป้ายชื่อโครงการ สสส.

วันที่ 4 ธันวาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

1.ออกแบบป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และป้ายชื่อโครงการเรียนรู้บูรณาการควนพระสาครินทร์กรีนสคูล 2.ติดต่อร้านทำป้ายเพื่อจัดทำป้าย 3. ติดตั้งป้ายในสถานที่ที่เหมาะสม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การจัดทำป้ายชื่อโครงการ ป้ายเขตปลอดบุรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และติดตั้งในโรงเรียน บริเวณที่นักเรียน ครูและบุคลากรเห็นได้ชัด และประชาสัมพันธ์ใ้นักเรียนได้รับทราบถึงโครงการที่โรงเรียนดำเนินการ คือโครงการเรียนรู้บูรณาการควนพระสครินทร์ กรีนสคูล และโครงการ กิจกรรมของน่วยจัดการระดับจังหวัด เพื่อให้นักเรียน ครูและบุคลากร ตลอดจนชุมชนผู้ปกครอง ได้รับทราบถึงการจัทำโครงการ และป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับนักเรียนในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ

 

0 0

17. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 7

วันที่ 14 ธันวาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน 1.ติดตามผลการจัดกิจกรรม 2. สรุปค่าใช้จ่าย 3. ปัญหา อุปสรรคในการดำเนินกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การดำเนินกิจกรรม  เป็นไปตามปฏิทินการปฏิบัติงาน  ที่ประชุมได้นำเสนอข้อคิดเห็น
-การให้นักเรียนแต่ละห้องรับผิดชอบกิจกรรมนั้น  ไม่มีเวลาในการปฏิบัติงาน  ที่ประชุมเสนอให้ใช้คาบสุดท้ายวันศุกร์ที่นักเรียนทำกิจกรรมจริยธรรม  สลับกับกิจกรรมอื่นๆ
-กิจกรรมต่างๆควรบูรณาการในการเรียนการสอน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้  อื่นๆ
-บริเวณที่จัดกเก็บใบไม้สำรับทำปุ๋ยมักแห้งไม่เพียงพอ ที่ประชุมมีมติให้จัดทำสถานที่สำหรับเก็บใบไม้เพิ่มขึ้น
-ภาชนะในการทำปุ๋ยน้ำไม่เพียงพอ ให้จัดซื้อเพิ่ม -จัดทำจุดแยกขยะเพิ่มขึ้น

 

30 0

18. ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงาน

วันที่ 25 ธันวาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ในการดำเนินโครงการเรียนรู้บูรณาการควนพระสาครินทร์กรีนสคูล มีภารกิจสำคัญคือการจัดทำรายงานกิจกรรมในเวปไซต์คนสร้างสุข ซึ่งต้องอาศัยระบบกินเตอร์เนตในการรายงานข้อมูลผ่านเวปไซต์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ในการรายงานข้อมูลการจัดกิจกรรมโครงการ ได้รายงานผ่านระบบในเวปไซต์คนสร้างสุข เป็นที่เรียบร้อย  ครบถ้วน

 

0 0

19. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 8

วันที่ 7 มกราคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน 1. ประธานแจ้งกิจกรรมการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลลัพธ์จาก สสส. กำนดวันที่  17 ธันวาคม  2564  ห้องโสต 2. สรุปผลการดำเนินกิจกรรม 3. สรุปการใช้จ่ายงบประมาณ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. แจ้งคณะทำงาน สรุปผลการดำเินนงานเพื่อรองรับการประเมินผล โดยให้คณะทำงานทุกภาคส่วนเข้าร่วมกิจกรรม
  2. สรุปผลการดำเนินกิจกรรมต่างๆ     1. กิจกรรมธนาคารขยะรีไซเคิล  ได้จัดทำจุดแยกขยเพิ่มบริเวณข้างห้องวิชาการ  ที่ประชุมเสนอให้จัดาถังขยะเพิ่มเติม  เพิ่มจุดแยกขยะ  บริเวณข้างห้องสหกรณ์  ทางเดินไปโรงอาหาร  บริเวณอาคาร 2ะ  ผลการคัดแยกขยะ

 

30 0

20. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 9

วันที่ 1 มีนาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน 1.สรุปผลการดำเนินงานโครงการ 2.เตรียมสรุปงานเพื่อร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. จัดทำคำสั่งมอบมายงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปผลการดำเนินโครงการ 1. กิจกรรมธนาคารขยะรีไซเคิล  บูรณาการกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้  กิจกรรมการเรียนสาระภูมิศาสตร์ เรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อม  มีกิจกรรมแยกขยะ  จำหน่ายขยะ  ขยะพลาสติกส่งโครงการวน  ทำกุญแจของชำร่วย(กิจกรรมกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์)  กระดาษสมุด ทำเปเปอร์มาเช่  กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้  กล่องนมทำกระเป๋า 2. กิจกรรมเลี้ยงไส้เดือน กิจกรรมวิชาวิทยาศาสตร์  สังคมศึกษา  จำหน่ายมูลไส้เดือน 3. กิจกรรมปุ๋ยหมักแห้ง ปุ๋ยมักน้ำ  จัดทำปุ๋ยหมัก นำไปใช้ในการปลูกผักสวนครัว  ปลูกเสาวรส

 

30 0

21. การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาเชิงผลลัพธ์(ARE) ครั้งที่ 2

วันที่ 12 มีนาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

จัดกิจกรรมประชุมเพื่อประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาเชิงผลลัพธ์(ARE) ครั้งที่ 2 -ผู้เข้าร่วมประกอบด้วยคณะทำงานการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม  และพี่เลี้ยงโครงการ  ตัวแทนจากNode flagship จังหวัดพัทลุง -สภานักเรียนนำเสนอบรรไดผลลัพธ์การปฏิบัติงานด้วยวาจาประกอบชาร์ท  และนำเสนอการประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมต่างด้วย  Powwer point
-คณะผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำเสนอ สรุปผลการดำเนินงาน การนำเสนอปัญา ข้อสเนอแนะในการทำกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-โรงเรียน และคณะทำงานประกอบด้วย คณะครู สภานักเรียน กรรมการโรงเรียน อปท. ตัวแทนชุมชน เข้า่ร่วมการประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาเชิงผลลัพธ์(ARE) ครั้งที่ 2 -การปฏิบัติกิจกรรมเป็นไปตามวัตถุปรสงค์ของโครงการ -ที่ประชุมได้นำเสนอกิจกรรมเพิ่มเติม ข้อสเนอแนะในการทำงาน

 

45 0

22. ค่าเดินทางและที่พักร่วมประชุมกับ สสส

วันที่ 22 มีนาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

เข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส. 1. ร่วมเวทีปิดโครงการและนำเสนอการดำเนินงานตามโครงการชุมชนน่าอยู่ และเวทีเชื่อมร้อยเครือข่ายเพื่อการขับเคลื่อน Phatthalung Green City คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามโครงการหน่วยจัดการระดับจังหวัด วันที่ 7 ตุลาคม  2563
2. ร่วมกิจกรรมรายงานการเงินโครงการ ประจำงวดที่ 1 วันที่  1 พฤศจิกายน  2563 3. ร่วมกิจกรรมประชุมประเมินผลการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา ARE หน่วยจัดการ Node Flagship พัทลุง วันที่ 20 มีนาคม  2564

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ร่วมรับรู้ความเป็นมาของโครงการชุมชนน่าอยู่ผ่านสื่อวีดิทัศน์ รับฟังการปาฐกถาพิเศษ ยุทธศาสตร์การสร้างชุมชนสีเขียวด้วยกลไกกรรมการหมู่บ้านร่วมกับสภาผู้นำชุมชน ร่วมนำเสนอผลลัพธ์การจัดการขยะและประเด็นเศรษฐกิจ ร่วมประชุมกลุ่มย่อย ประเด็น เราจะมีแนวทางทำงานร่วมกันอย่างไรเพื่อมุ่งสู่พัทลุงกรีนซิตี้ นำความรู้มาปรtยุกต์ในการดำเนินโครงการเรียนรู้บูรณาการควนพระสาครินทร์กรีนสคูล -นำเสนอรายงานเงินโครงการ  ประจำงวดที่ 1  เรียบร้อยทุกอย่าง  ได้รับทราบการดำเนินงานที่จะนำไปปรับใช้ในโครงการ -ร่วมนำเสนอผลการขับเคลื่อนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเด็นสิ่งแวดล้อม และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบ word cafe ประเด็นการออกแบบเก็บข้อมูลผลลัพธ์ ประเด็นการเชื่อมร้อยภาคี ประเด็นกลไกการดำเนินงาน

 

0 0

23. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 10

วันที่ 8 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน
1.สรุปผลการปฏิบัติงาน
  -กิจกรรมที่ดำเนินการแต่ละกิจกรรม   -ผลการดำเนินงาน   -ปัญหา อุปสรรค ข้อสเนอแนะ
2.เตรียมงานการจัดกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้คืนข้อมูลพร้อมสรุปบทเรียนการดำเนินงาน   -ออกประกาศ และคำสั่ง   -แบ่งภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบ   -กำหนดวันจัดกิจกรรม   -เตรียมผลงานการดำเนนกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลสรุปจาการประชุม  โรงเรียนออกประกาศแต่งตั้งคณะทำงานการจัดกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยน กำหนดวันรอการประสานพี่เลี้ยงโครงการ  แบ่งภาระหนเาที่ความรับผิดชอบ  ผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรมเตรียมนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรม

 

30 0

24. ค่าจัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ

วันที่ 30 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำป้ายไวนิล กิจกรรมที่ดำเนินการเพื่อร่วมนำเสนอผลการดำเนินงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ป้ายไวนิล KS. Green Shcool Model
  2. ป้ายฐานการเรียนรู้
        -ฐานการเรียนรู้ธนาคารขยะรีไซเคิล     -ฐานการเลี้ยงไส้เดือน เลี้ยงผึ้ง     -ฐานปุ๋ยหมักน้ำ ปุ๋ญหมักแห้ง

 

0 0

25. ติดตามประเมินผลและสร้างแรงจูงใจ

วันที่ 22 พฤษภาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมติดตามประเมินผลและสร้างแรงจูงใจ มีขั้นตอน ดังนี้ -การถอดบทเรียน เริ่มจากการนำเสนอบทสรุปบริบทของพื้นที่ของโรงเรียนเปรีบเทียบก่อนดำเนินโครงการและหลังดำเนินโครงการ
-คณะทำงานนำเสนอการดำเนินโครงการเรียนรู้บูรณาการควนพรสาครินทร์กรีนสคูล -สรุปปัญหา อุปสรรคข้อเสนอแนะ -สรุปผลลัพธ์การทำงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ -มีการติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ  เกิดแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม มีฐานการเรียนรู้เรื่องการจัดการขยะ -มีการวางแผนงานขยายเครือข่ายไปยังชุมชนใกล้เคียง  โรงเรียนใกล้เคียง -มีการวางแผนการนำเสนอการประชาสัมพันธ์โครงการในวันปิดโครงการของโรงเรียน  โดยประชาสัมพันธ์ให้ชุมชน เครือข่าย  ผู้ปกครอง  เข้าร่วมกิจกรรม -มีการวางแผนการต่อยอดกิจกรรมของโครงการในปีการศึกษาหน้า

 

30 0

26. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้คืนข้อมูล พร้อมสรุปบทเรียนการดำเนินงาน

วันที่ 16 กันยายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมที่ 9 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้คืนข้อมูล พร้อมสรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการเรียนรู้บูรณาการควนพระสาครินทร์กรีนสคูล มีกิจกรรมสำคัญดังนี้   1. โรงเรียนจัดทำประกาศโรงเรียนควนพระสาครินทร์ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรการดำเนินงานกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ
  2.จัดประชมวางแผยการดำเนินงานกิจกรรม   3. กำหนดการจัดกิจกรรม 16 กันยายน 2564
  4.ผู้เข้า่ร่วมกิจกรรมประกอบด้วยคณะทำงาน ผู้บริหารโรงเรียน คณะครูบุคลากร จำนวน 22 คน คณะกรรมการสภานักเรียนและตัวแทนนักเรียน จำนวน 30 คน คณะทำงานจากองค์การส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการสถานศึกษา ตัวแทนชุมชน จำนวน ุ6 คน ตัวแทนจากหน่วย Node Flagship พัทลุง จำนวน 3 คน   5. รายละเอียดกิจกรรม     -พิธีเปิดกิจกรรม โดยประธานสภานักเรียนกล่าวรายงานการจัดกิจกรรม ผู้อำนวยการโรงเรียนกล่าวเปิดกิจกรรม คณะกรรมการสภานักเรียน แนะนำวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม
    -ชมวีดิทัศน์แนะนำโครงการ
    -คณะกรรมการสภานักเรียนนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการด้วยโปรแกรมเพาเวอร์พ้อย     -กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ นายไพฑูรย์ ทองสม ผู้จัดการหน่วยจัดการจังหวัดพัทลุง ดำเนินรายการ สนทนนา ซักถาม ขั้นตอนกระบวนการทำงาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สรุปบทเรียนการดำเนินงาน การต่อยอดโครงการ การขยายผลจากการดำเนินกิจกรรมในโรงเรียนสู่ชุมชน   -พี่เลี้ยงโครงการ กล่าวขอบคุณคณะทำงานโครงการ   -ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าชมนิทรรศการที่ทางโครงการจัดแสดง ประกอบด้วย ฐานการเรียนรู้ การแปรรูปขยะ ฐานการเรียนรู้การเลี้ยงไส้เดือน ฐานการเรียนรู้ปุ๋ยหมักชีวภาพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการจัดกิจกรรม  คณะทำงานได้ร่วมกันสรุปผลการดำเนินงาน  ตามตัวชี้วัด  ผลลัพธ์  แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำกิจกรรมระหว่างคณะทำงานและหน่วยแฟรกชิฟพัทลุง  ได้แลกเรียนรู้  สรุปผลการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ เป็นความร่วมมือระหว่างคณะทำงานทั้งในโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยคณะผู้บริหาร ครู บุคลากร สภานักเรียน องค์การส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการสถานศึกษา ตัวแทนชุมชน ซึ่งผลสรุปโครงการดำเนินมาบรรลุวัตถุประสงค์ตามตัวชี้วัด และบันไดผลลัพธ์ ควรมีการดำเนินโครงการต่อ โดยการขยายเครือข่ายสู่ครอบครัวนักเรียน ชุมชน อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนในโอกาสต่อไป อีกทั้งโครงการควรขยายเครือข่าย  เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับสถานศึกษาอื่นๆ ชุมชน หน่วยงานอื่นๆ

 

40 0

27. ค่าเปิดบัญชีธนาคาร

วันที่ 30 กันยายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

ผู้รับทุนโครงการได้ยืมเงินทดรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับทุนโครงการได้รับเงินยืมทดรองจ่ายค่าเปิดบัญชีแล้ว

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 คณะทำงานมีความรู้ การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม
ตัวชี้วัด : 1.โรงเรียน และ คณะทำงานประกอบด้วย คณะครู สภานักเรียน กรรมการโรงเรียน อปท ตัวแทนชุมชน มีความรู้ในการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม 2.นักเรียนมีความรู้และสามารถคัดแยกขยะได้
2.00 2.00
  1. ความเข้าใจในการทำงานโครงการและการดำเนินตามแผนงานยังไม่ชัดเจนมากนัก
  2. การจัดสรรเวลาเรียนและเวลาการดำเนินโครงการยังไม่ลงตัว
  3. คณะทำงานยังทำหน้าที่ตามที่มอบหมายได้ไม่ดีนัก
  4. พี่เลี้ยงลงพื้นที่ได้น้อยเนื่องจากระยะทางและเวลาการทำงานที่ไม่ค่อยตรงกัน จึงต้องอาศัยการติดตามทางสื่อโซเชียลและโทรศัพท์
2 คณะทำงานเป็นกลไกปฏิบัติการในการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
ตัวชี้วัด : 1. เกิดกลไกคณะทำงานการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมที่ ประกอบด้วย คณะครู สภานักเรียน กรรมการโรงเรียน อปท ตัวแทนชุมชน 2. คณะทำงานมีกติกาข้อตกลงการทำงานชัดเจน คือ การคัดแยกขยะต้นทาง 3. มีแผนการปฏิบัติงาน คือ แผนที่ขยะ ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง
3.00 3.00
  1. เมื่อมีการอบรมเรื่องแผนที่ขยะ ทำให้นักเรียนและคณะทำงานเข้าใจทางเดินของขยะมากยิ่งขึ้น มองภาพของเส้นทางที่จะดำเนินโครงการได้มากขึ้น
  2. จากการศึกษาดูงาน รร.ประภัสสร ทำให้คณะทำงานเข้าใจการทำงานโครงการมากขึ้น
  3. จากสถานการณ์โควิดและน้ำท่วม ทำให้ส่งผลกระทบต่อเวลาเรียน และส่งผลต่อการดำเนินโครงการ จึงทำให้บางกิจกรรมต้องเลื่อนระยะเวลาไปบ้าง แต่ก็ยังคงดำเนินตามแผนเดิมได้
3 กลไกการติดตามและสร้างแรงจูงใจในการคัดแยกขยะและใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด : 1.เกิดแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมวิธี การคัดแยก - แผ่นที่ขยะ 4 ประเภทของโรงเรียน - เลี้ยงไส้เดือน กำจัดขยะอินทรีย์ ผลิตปุ๋ยใช้เอง - เลี้ยงผึ้ง เลิกฉีดยาและเคมีในโรงเรียน 2.โรงเรียนมีการคัดแยกและใช้ประโยชน์จากขยะ 80% 3.โรงเรียนผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง 4.โรงเรียนนำปุ๋ยที่ผลิตได้ใช้ในการปลูกไม้ประดับ สร้างรายได้ให้กับนักเรียน
4.00 4.00

 

4 ปริมาณขยะในโรงเรียนลดลง
ตัวชี้วัด : -ปริมาณขยะในโรงเรียนลดลง 80%เกิดจากการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม จากการคัดแยกขยะ
1500.00 80.00 80.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 182
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ครู นักเรียน โรงเรียนควนพระสาครินทร์ 182

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) คณะทำงานมีความรู้ การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม (2) คณะทำงานเป็นกลไกปฏิบัติการในการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน (3) กลไกการติดตามและสร้างแรงจูงใจในการคัดแยกขยะและใช้ประโยชน์ (4) ปริมาณขยะในโรงเรียนลดลง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมเพื่อแต่งตั้งเป็นคณะทำงานการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียน (2) กิจกรรมปฐมนิเทศผู้รับทุน โครงการ NFSจังหวัดพัทลุง (3) ออกแบบกฎกติการ่วมกัน และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผนการดำเนินงาน (4) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 (5) พัฒนาศักยภาพเรียนรู้ดูงานโรงเรียนประภัสสรรังสิต จังหวัดพัทลุง (6) ออกแบบการเก็บข้อมูลสำรวจสถานการณ์ปัญหาขยะในโรงเรียนก่อนดำเนินงาน เพื่อทำแผนการจัดการขยะในโรงเรียนและเก็บข้อมูล (7) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 (8) จัดอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะแต่ละประเภท และทำแผ่นที่หรือเส้นทางขยะแต่ละประเภท (9) ติดตามประเมินผลและสร้างแรงจูงใจ (10) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 (11) เวทีเชื่อมร้อยเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อน Phatthalung Green City (12) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 5 (13) ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงาน (14) ค่าจัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และป้ายชื่อโครงการ สสส. (15) ค่าจัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ (16) ค่าเดินทางและที่พักร่วมประชุมกับ สสส (17) ปฏิบัติการแปรรูปขยะแบบมีส่วนร่วม (18) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 6 (19) การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาเชิงผลลัพธ์(ARE) ครั้งที่ 1 (20) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 7 (21) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 8 (22) การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาเชิงผลลัพธ์(ARE) ครั้งที่ 2 (23) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 9 (24) ติดตามประเมินผลและสร้างแรงจูงใจ (25) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 10 (26) เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้คืนข้อมูล  พร้อมสรุปบทเรียนการดำเนินงาน (27) ค่าเปิดบัญชีธนาคาร

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


เรียนรู้ บูรณาการ ควนพระสาครินทร์กรีนสคูล จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 63001690014

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายสมนึก เวชสิทธิ์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด