แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดพัทลุง


“ สร้างความร่วมมือการจัดการขยะตำบลเขาชัยสน ”

ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นางสงบ ลักษณะ

ชื่อโครงการ สร้างความร่วมมือการจัดการขยะตำบลเขาชัยสน

ที่อยู่ ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 63-00169-0008 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2563 ถึง 1 พฤศจิกายน 2564


กิตติกรรมประกาศ

"สร้างความร่วมมือการจัดการขยะตำบลเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดพัทลุง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
สร้างความร่วมมือการจัดการขยะตำบลเขาชัยสน



บทคัดย่อ

โครงการ " สร้างความร่วมมือการจัดการขยะตำบลเขาชัยสน " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 63-00169-0008 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2563 - 1 พฤศจิกายน 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 107,550.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดพัทลุง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

จากสภาพปัจจุบันชุมชน บ้านเรือนที่อยู่อาศัยและประชาชนเพิ่มขึ้นจะมีปัญหาในเรื่องขยะที่นับวัน ปริมาณขยะจะเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว และก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชนทำให้ดูแล้วชุมชนบ้านเรือนไม่น่าอยู่อาศัยโดยถ้าไม่มีการจัดการเรื่องสุขาภิบาลในครัวเรือนควบคู่กับการจัดสภาพแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะจะส่งผลกระทบต่อสมาชิกในครัวเรือนทั้งด้านสุขภาพกายและใจได้อีกทั้งทำให้ชุมชนไม่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยดูไม่เป็นระเบียบไม่สะอาดและเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เช่น โรคระบบทางเดินอาหารที่มีน้ำและอาหารเป็นสื่อ หรือสารพิษจากขยะที่เป็นสารเคมี การเพิ่มมากขึ้นของขยะและการไม่การแยกขยะมาทำลายอย่างถูกวิธีจึงเป็นปัญหาสำคัญต่อระบบสาธารณสุขของชุมชน ซึ่งถ้าหากมีการจัดการขยะที่ถูกต้องโดยแต่ละครัวเรือนช่วยกันแยกขยะและกำจัดให้ถูกวิธีตามชนิดของขยะหรือการนำกลับมาใช้ใหม่จะเป็นการลดปริมาณขยะได้มากและช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมในบ้านและชุมชนน่าอยู่สะอาด เป็นการป้องกันและควบคุมโรคด้วยอีกทางหนึ่ง องค์การบริหารส่วนตำบลเขาชัยสนมีประชากรจำนวนเพิ่มขึ้นเช่นกัน ประชากร ณ 12 มีนาคม 2563 จำนวน 10,233 คน คิดปริมาณขยะ 7.35 ตัน ต่อวัน ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาชัยสน คือการขาดความรู้ ความเข้าใจและทัศนคติที่ถูกต้องในการคัดแยกขยะ การนำกลับมาใช้ประโยชน์ และประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ให้ความสำคัญกับการจัดการขยะมูลฝอย ยังคงมีแนวคิดและผลักภาระการจัดการขยะมูลฝอยให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง เพื่อลดปัญหาการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะและขยะตกค้างจึงต้องมีการคัดแยกขยะให้ถูกประเภทเพื่อสะดวกในการจัดการ เช่น ขยะย่อยสลายได้ก็นำไปทำปุ๋ยหมัก ทำแก๊สชีวภาพ ขยะอันตรายก็นำเข้าสู่ระบบการทำลายที่ปลอดภัย ส่วนขยะที่รีไซเคิลได้ก็นำรวบรวมเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ใหม่ ส่วนขยะทั่วไปก็สามารถที่จะนำไปกำจัดตามหลักสุขาภิบาลแต่และครัวเรือนต่อไป การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนการจัดทำโครงการและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่มุ่งสู่การลดสภาวะโลกร้อน โดยการเปลี่ยนวิธีคิด สร้างจิตสำนึกให้ความรู้ตามหลักวิชาการ กระตุ้น หนุนเสริมให้ประชาชนได้ตระหนักว่าขยะเกิดจากตัวเรา และเป็นหน้าที่ของเราเองที่ต้องจัดการ
  ดังนั้นทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลเขาชัยสนจะเป็นฝ่ายสนับสนุนหลัก และเป็นแกนนำในการขับเคลื่อน ซึ่งได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ แต่การดำเนินโครงการแต่ละปีที่ผ่านมาก็ไม่สามารถวัดผลสำเร็จของโครงการได้ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการประชาชนก็กลับไปใช้พฤติกรรมเดิมๆ และยังคงเรียกร้องให้องค์การบริหารส่วนตำบลเขาชัยสนเข้าไปแก้ปัญหาดังกล่าว ในรูปแบบเดิมจนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๕๕๙ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาชัยสนได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการจัดการโครงการโดยจัดตั้งธนาคารขยะ รุกลงให้บริการรับซื้อขยะและประชาสัมพันธ์ในทุกหมู่บ้าน ทุกกิจกรรม พร้อมทั้งให้ความรู้และเชิญชวนครัวเรือนสมัครเป็นสมาชิกธนาคาร แต่ยังประสบปัญหาการเข้าถึงของประชาชนยังไม่ครอบคลุม ด้วยพื้นที่ในตำบลค่อนข้างกว้างและผู้ปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบไม่เพียงพอ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาชัยสน มีพื้นที่ทั้งหมด 42,450 ไร่ มีหมู่บ้านทั้งหมด 14 หมู่บ้านมีครัวเรือนทั้งหมด 3,771 ครัวเรือน มีประชากรรวม 10,233 คน มีโรงเรียนมัธยม ๑ โรงเรียน โรงเรียนประถมศึกษา ๕ โรงเรียน มีวั/สำนักสงฆ์ ๙ วัด มีมัสยิด/บาลาย ๘ มัสยิด มีครัวเรือนที่คัดแยกขยะได้ประมาณ ๕๐๐ ครัวเรือน แต่ยังไม่มีความรู้ในการนำขยะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเป็นจริงๆ ร้อยละ 13.26 %ของครัวเรือนทั้งตำบล ขยะที่เกิดขึ้นทั้งตำบลมี 5 ประเภทขยะอินทรีย์ 62% ขยะรีไซเคิล 30% ขยะอันตราย 3% ขยะทั่วไป 3% ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ๑% มีประชาชนป่วยด้วยโรค ไข้เลือดออก 48 ราย
ดังนั้น หากมีการจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ การจัดการขยะอย่างเหมาะสม ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ มีการนำกลับมาใช้ประโยชน์ โดยมีการสร้างแกนนำให้ความรู้ในการคัดแยกขยะ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาชัยสน จึงมีความต้องการที่จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะที่ต้นทาง เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจการลด คัดแยก นำขยะกลับไปใช้ประโยชน์ และเสริมสร้างศักยภาพให้กับแกนนำ เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อจะได้สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง และเป็นชุมชนต้นแบบในการจัดการขยะมูลฝอยต่อไป โดยองค์การบริหารส่วนตำบลเขาชัยสนได้บรรจุแผนงานโครงการการบริหารจัดการขยะไว้ใน แผนพัฒนาท้องถิ่น ๒๕๖๑-๒๕๖๕ และบรรจุในข้อบัญญัติตำบล เรื่องงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๖๓ จำนวน ๓๐,๐๐๐ บาท แต่ยังไม่เพียงพอสำหรับการบริหารจัดการขยะในภาพรวมทั้งตำบลเขาชัยสน จึงได้เสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก สสส.ในครั้งนี้

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เกิดกลไกการจัดการขยะครัวเรือน ขยะชุมชนในระดับตำบล
  2. เพื่อให้เกิดกติกาการจักการขยะครัวเรือน ในระดับตำบล
  3. เพื่อการหนุนเสริมการจัดการชยะ
  4. เพื่อให้เกิดกระบวนการในการจัดการขยะตำบลเขาชัยสน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการขยะ 5 ครั้ง
  2. กิจกรรมปฐมนิเทศ
  3. กิจกรรมที่ 1.เวทีสร้างการรับรู้สถานการณ์การจัดการขยะของตำบลเขาชัยสน
  4. กิจกรรมที่ 2 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการขยะ ครั้งที่ 1
  5. ค่าเปิดบัญชีธนาคาร
  6. กิจกรรมร่วมประชุมกับ node
  7. กิจกรรมที่ 3 พัฒนาศักยภาพคณะทำงานเรียนรู้ศึกษาดูงานพื้นที่จัดการขยะแบบมีส่วนร่วม
  8. ค่าเปิดบัญชี
  9. กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู็เพื่อการพัฒนา ARE ครั้งที่่ 1
  10. กิจกรรมที่ 6 ธนาคารขยะในโรงเรียนและหมู่บ้าน
  11. กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมการขยายผลใช้กลไกการชักชวนครอบครัวต่อครอบครัว
  12. กิจกรรมที่ 5 เวทีสร้างแรงจูงใจ สาธิตการจัดการขยะ สร้างการเรียนรู้ระดับหมู่บ้าน ๑๔ หมู่บ้าน
  13. ค่าจัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  14. ค่าจัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  15. จัดทำความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์
  16. กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู็เพื่อการพัฒนา ARE ครั้งที่่ 2
  17. เวทีคืนข้อมูลสรุปผลงานโครงการสู่ชุมชน
  18. กิจกรรมที่ 2 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการขยะทุก2เดือน ครั้งที่ 2

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
ครัวเรือน 100

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมปฐมนิเทศ

วันที่ 20 มิถุนายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 08.00-08.30น.    ลงทะเบียน และสแกนกลุ่มเป้าหมายตามมาตราการป้องกันไวรัส โควิด19 เวลา 08.30-08.45น.    เตรียมความพร้อมกลุ่มเป้าหมาย/ แนะนำตัวทำความรู้จัก/สันทนาการ (ทีมสันทนาการ) เวลา 08.45-09.00น.    ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม (นายไพฑูรย์ ทองสม) เวลา 09.00-09.30น.    คลี่บันไดผลลัพธ์ องค์ประกอบบันไดผลลัพธ์และภาคีร่วมดำเนินการ (นายอรุณ ศรีสุวรรณ) เวลา 09.30-10.15น.    แบ่งกลุ่มย่อยพื้นที่โครงการ/พี่เลี้ยง ร่วมกันทบทวน ปรับปรุงบันไดผลลัพธ์ของโครงการย่อย เวลา 10.15-10.45น.    การออกแบบจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดผลลัพธ์ (นายไพฑูรย์ ทองสม) เวลา 10.45-11.30น.    พักเบรก รับประทานอาหารว่าง เวลา 11.30-12.00น.    แบ่งกลุ่มย่อยพื้นที่โครงการ/พี่เลี้ยง ช่วยกันออกแบบจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดโครงการย่อย เวลา 12.00-13.00น.    พัก รับประทานอาหารเที่ยง เวลา 13.00-13.20น.    การออกแบบแผนดำเนินงานโครงการ (นายเสณี จ่าวิสูตร) เวลา 13.20-14.00น.    แล่งกลุ่มย่อยพื้นที่โครงการย่อย/พี่เลี้ยง ออกแบบแผนการดำเนินงานโครงการย่อย เวลา 14.20-15.00น.    การบริหารจัดการ การเงิน (นางสาวจุรี หนูผุด/นายจำรัส รัตนอุบล เวลา 15.00-15.20น    สรุปและประมวลผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (นายสมนึก นุ่มดวง) เวลา 15.20-15.30น.    พักเบรก อาหารว่าง เวลา 15.30-16.30น.    การเขียนรายงานผ่านระบบHappy Network (นายไพฑูรย์ ทองสม)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทราบวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม
เข้าใจในการคลี่บันไดผลลัพธ์ องค์ประกอบบันไดผลลัพธ์และภาคีร่วมดำเนินการ
เข้าใจในการออกแบบจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดผลลัพธ์
สามารถออกแบบแผนดำเนินงานโครงการ
เข้าใจการบริหารจัดการ การเงิน เข้าใจการเขียนรายงานผ่านระบบHappy Network สรุปว่ากลุ่มเป้าหมายคือผู้รับผิดชอบโครงการและการเงินและผู้รายงานผ่านระบบได้รับความรู้ ถึงที่มาของโครงการวัดถุประสงค์ของโครงการการทำงานของหน่วย และการจัดทำเอกสารการเงินของกิจกรรมที่ทางผู้รับทุนจัดเพื่อความถูกต้องและตรวจสอบได้ และการเข้าระบบเพื่อรายงานผลการดำเนินโครงการตามแผนกิจกรรมของโครงการที่ผู้รับทุนได้รับการสนับสนุนแต่ละกิจกรรมรวมทั้งงบที่ทางหน่วยหนุนเสริมเรื่องการเดินทางร่วมกิจกรรมกับทางหน่วยตามแผนของหน่วยเพื่อการติดตามและพัฒนาโครงการร่วมกัน

 

3 0

2. กิจกรรมที่ 1.เวทีสร้างการรับรู้สถานการณ์การจัดการขยะของตำบลเขาชัยสน

วันที่ 24 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

  1. คณะทำงานจำนวน 50 คน ที่คัดเลือกมาจากแกนนำหมู่บ้าน 14 หมู่บ้านๆละ 3 คนร่วมกับภาคี หมอ ครู ผู้นำศาสนา ร่วมเรียนรู้สถานการณ์การจัดการขยะในตำบลเขาชัยสน 2 ผู้รับผิดชอบโครงการและภาคีเครือข่ายรวมทั้งพี่่เลี้ยงจาก สสส สำนัก6 พัทลุง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คณะทำงานประกอบด้วย ท้องถิ่น ท้องที่ และภาคีเครือข่าย

- คำสั่งแต่งตั้ง - รายชื่อคณะทำงาน - รายงานการประชุม เกิดคณะทำงานที่ได้รับการยอมรับจากผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 50 คน จาก 14 หมู่บ้าน แหล่งข้อมูล - ประชุมทำความเข้าใจ - รับฟังความคิดเห็น - มติที่ประชุม คณะกรรมการได้รับทราบสถานการณ์ขยะของตำบลจากขอมูลของ อบต เขาชัยสน และการสร้างความร่วมือเพื่อการจัดการขยะของตำบลเขาชัยสนโดยมีเทศบาลตำบลโคกม่วงเป็นพื้นที่ต้นแบบ ด้านการดำเนินงานตามแผนการทำงานของพื้นที่ต้นแบบด้านการจัดการขยะที่ส่งผลให้ขยะของเทศบาลตำบลโคกม่วงลดลงได้ถึง 54% และการนำขยะไปใช้ประโยชน์ได้ถึง40% จึงเป็นmodel ด้านการจักการขยะที่พื้นที่ตำบลเขาชัยสน เอาเป็นแบบอย่างในการจัดการขยะเพื่อการลดขยะและการนำขยะไปใช้ประโยชน์ได้อย่างพื้นที่ต้นแบบ คณะกรรมการที่เข้ามาร่วมเป็นคณะทำงานก็ต้องเรียนรู้สู่การเป็นพื้นที่ๆสามารถจัดการขยะได้ตามแผนโครงการที่มีแผนการดำเนินกิจกรรมที่ได้กำหนดไว้ต่อไป

 

58 0

3. กิจกรรมที่ 2 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการขยะ ครั้งที่ 1

วันที่ 24 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

  1. คณะทำงานประชุม 5 ครั้ง(ทุก 2 เดือน) ผู้เข้าร่วมประไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 เพื่อ ออกแบบเก็บข้อมูล รวบรวมข้อมูล   วิเคราะห์ ประเมิน และรายงานผล
  2. คณะทำงานยกร่างสัญญาประชาคม
  3. คณะทำงานจัดทำร่างแผนจัดการขยะระดับตำบล บนฐานข้อมูลและความรู้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานโครงการสร้างความร่วมมือการจัดการชยะเขาชัยสน ได้มีการประุมร่วมกันและได้กำหนดสร้างความร่วมมือดังนี้ 1. คณะทำงานประกอบท้องถิ่น ท้องที่ และภาคีภาครัฐ 2. คณะทำงานมีการประชุมทุกเดือน 3. คณะทำงานได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างน้อยร้อยละ 80 4. คณะทำงานมีข้อมูลเพื่อการประเมิน วิเคราะห์ และรายงานผล การจัดการขยะ 5. จัดทำแผนการจัดการขยะระดับตำบล -เกิดกระบวนการการสร้างความร่วมมือจากคณะทำงานที่มากหลายภาคส่านของตำบลเขาชัยสนเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการจัดการขยะของตำบลเขาชัยสน แลั่พื่อการขยายผลกลุ่มเป้าหมายทั้ง14หมู่บ้าน โดยการให้คณะทำงานหากลุ่มเป้าหมายไม่น้อยกว่า10ครัวเรือนเพื่อการสร้างการร่วมมือและเป็นกลุ่มต้นแบบของแต่ละหมู่บ้าน คณพทำงานที่ได้รับการแต่งตั้งเข้าใจถึงการขับเคลื่อนโครงการเพื่อการจัดการขยะและการนำขยะไปใช้ประโยชชน์เพื่อให้ขยะลดลงไม่น้อยกว่า50% จากการสร้าวความร่วมมือการจัดการขยะตำบลเขาชัยสน

 

50 0

4. กิจกรรมร่วมประชุมกับ node

วันที่ 7 ตุลาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

นำเสนอผลการดำเนินงานตาม“โครงการชุมชนน่าอยู่” (2560-2562)  และเวทีเชื่อมร้อยเครือข่ายเพื่อการขับเคลื่อน Phatthalung  Green  City  คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี  ตาม โครงการหน่วยจัดการจังหวัดระดับ flagship (2561-2563)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นำเสนอผลการดำเนินงานตาม“โครงการชุมชนน่าอยู่” (2560-2562)  และเวทีเชื่อมร้อยเครือข่ายเพื่อการขับเคลื่อน Phatthalung  Green  City  คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี  ตาม โครงการหน่วยจัดการจังหวัดระดับ flagship (2561-2563)

 

4 0

5. กิจกรรมที่ 3 พัฒนาศักยภาพคณะทำงานเรียนรู้ศึกษาดูงานพื้นที่จัดการขยะแบบมีส่วนร่วม

วันที่ 12 ตุลาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

  1. ประสานพื้นที่ศึกษาดูงานที่มีความสำเร็จการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม
  2. คณะทำงาน 50 คนได้เรียนรู้ดูงานสร้างความเข้าใจจากพื้นที่ต้นแบบเทศบาลตำบลโคกม่วง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • คณะทำงานได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างน้อยร้อยละ 80 ศึกษาดูงานพื้นที่เทศบาลตำบลโคกม่วงเพื่อเป็นการนำมาปรับใช้ในพื้นที่
  • คณะทำงานได้รับความรู้จากพื้นที่ต้นแบบในการจัดการขยะตามแผน สามารถจัดการให้ขยะลดลงได้จริง และได้เรียนรู้วิธีการๆจัดการขยะที่แตกต่างกันและสามารถนำมาปฏิบัติได้จริง
  • คณะทำงานเห็นแผนการทำงานของเทศบาลตำบลโคกม่วงเรื่องทำไมถึงมีการจัดทั้งคณะทำงานและการขยายผลของคณะทำงานและการขยายกลุ่มเป้าหมายโดยการชวนคน 3คน ชวน 10ๆคนชวน 10 คนเลยมีการขยายกลุ่มเป้าหมายที่มากขึ้นตามกระแส ของคนส่วนใหญ่ที่ให้ความสำคัญกับการจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วมเห็นเส้นทางเดินแผนการจัดการขยะแต่ละชนิดตามเส้นทางเดินของขยะแต่ละประเภทและเป็นเส้นทางที่สามารถทำให้ขยะลดลงได้ทุกประเภท เกิดแนวความคิดและแผนการลงพื้นที่ของกลุ่มเป้าหมายที่เป็นตัวคูณที่ไม่ยากกับการลงพื้นที่ -จากที่คณะทำงานของ อบต เขาชัยสน ได้เดินทางศึกษาดูงานการจัดการขยะของเทศบาลตำบลโคกม่วงเป็น Model ต้นแบบ การจัดการขยะที่ทาง อบต เขาชัยสนสามารถนำมาเป็นแบบอย่างได้ จากการบรรยายของทีมวิทยากร การจัดตั้งตณะทำงานที่เป็นตัวแทน ของแต่ละหมู่บ้านที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนและการลงพื้นที่สร้างกระบวนการเรียนรู้และการขยายกลุ่มแบบเครือข่าย 3/10/10 เกิดการขยายกลุ่มเป้าหมายที่มากขึ้นจากการชวนต่อๆกันไปและการลงพื้นที่ต้นแบบการนำเสนอวิธีการจัดการขยะของชุมชนที่ได้นำการสาธิตลงพื้นที่ทั้ง15หมู่บ้านเพื่อการสร้างแรงจูงใจให้กับกลุ่มเป้าหมายเกินวิธีการการนำขยะไปใช้ประโยชน์ ของชุมชนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงการดำเนินงานปัญหาการลงพื้นที่ การกระตุ้นพื้นที่ด้วยการสร้างผู้นำทำให้ดูแล้วเกิดการทำตามร่วมทั้งการเชื่อมภาคีหนุนเสริม ทั้งด้านความรู้และการมีส่วนร่วมกับการจัดการขยะที่ต้นทางและการยอมรับของกลุ่มเป้าหมายที่มีความตั้งใจในการจัดการขยะของครัวเรือนจริงๆ

 

54 0

6. กิจกรรมที่ 2 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการขยะทุก2เดือน ครั้งที่ 2

วันที่ 12 ตุลาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

  1. คณะทำงานประชุม 5 ครั้ง(ทุก 2 เดือน) ผู้เข้าร่วมประไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 เพื่อ ออกแบบเก็บข้อมูล รวบรวมข้อมูล   วิเคราะห์ ประเมิน และรายงานผล
  2. คณะทำงานยกร่างสัญญาประชาคม
  3. คณะทำงานจัดทำร่างแผนจัดการขยะระดับตำบล บนฐานข้อมูลและความรู้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เพื่อให้เกิดกลไกการจัดการขยะครัวเรือน ขยะชุมชนในระดับตำบล

คณะทำงานมีการประชุมสม่ำเสมอ คณะทำงานมีข้อมูลเพื่อการประเมิน วิเคราะห์ และรายงานผล การจัดการขยะ การดำเนินงานโครงการสร้างความร่วมมือการจัดการขยะตำบลเขาชัยสนซึ่งออกเป็น 8 ช่วงกิจกรรม มี 2 ช่วงกิจกรรม ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน 2563 ที่ผ่านมา ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 เวทีสร้างการรับรู้สถานการณ์การจัดการขยะของตำบลเขาชัยสนแก่คณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม
1. คณะทำงานจำนวน 50 คน ที่คัดเลือกมาจากแกนนำหมู่บ้าน 14 หมู่บ้านๆละ 3 คนร่วมกับภาคี หมอ ครู ผู้นำศาสนา ร่วมเรียนรู้สถานการณ์การจัดการขยะในตำบลเขาชัยสน 2. คณะทำงานคัดเลือกครัวเรือน ร่วมปฏิบัติการจัดการขยะนำร่องจาก 14 หมู่บ้านๆ ละ 10 คน รวม 140 ครัวเรือน 3. ครัวเรือนปฏิบัติการนำร่อง เลือกครัวเรือนใกล้เคียง/ครัวเรือนคู่ขนาน 1 ต่อ 1 รวมครัวเรือนคู่ขนาน 140 ครัวเรือน
กิจกรรมที่ 2 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการขยะทุก 2 เดือน รายละเอียดกิจกรรม
1. คณะทำงานประชุม 5 ครั้ง (ทุก 2 เดือน) ผู้เข้าร่วมประไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 เพื่อออกแบบเก็บข้อมูล รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ประเมิน และรายงานผล 2. คณะทำงานยกร่างสัญญาประชาคม
3. คณะทำงานจัดทำร่างแผนจัดการขยะระดับตำบล บนฐานข้อมูลและความรู้

 

50 0

7. ค่าเปิดบัญชี

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

ผู้รับทุนและผู้มีอำนาจเบิกจ่าย ถอนเงินคืนค่าเปิดบัญชีธนาคารและเงินยืมสำรองจ่าย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับทุนได้รับเงินคืนค่าเปิดบัญชี จำนวน 500 บาทและเงินยืมทดรองจ่ายค่ากิจกรรมร่วมกับ Node จำนวน 200 บาท เป็นเงิน 700 บาท

 

3 0

8. การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการขยะ 5 ครั้ง

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการขยะ ครั้งที่3

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานได้ร่วมกันออกแบบร่างสัญญาประชาคมและแผนจัดการขยะตำบลขึ้น เพื่อให้การจัดการขยะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกหลักวิชาการและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนี้ ร่างสัญญาประชาคม 1. ทุกครัวเรือนต้องคัดแยกขยะก่อนทิ้งและต้องกำจัดขยะแต่ละประเภทได้อย่างถูกวิธี
2. ให้ทุกครัวเรือนลดการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารและลดการใช้ถุงพลาสติก โดยเลือกใช้ปิ่นโต ถุงผ้า หรือวัสดุย่อยสลายง่ายแทน 3. ชุมชนช่วยดูแลภาชนะรองรับมูลฝอยแบบแยกประเภทในสถานที่สาธารณะในพื้นที่ 4. จัดสภาพแวดล้อมในหมู่บ้านให้สะอาด สวยงาม น่าอยู่ และเป็นระเบียบเรียบร้อย 5. ขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น ร้อยละ 40 ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือน ร่างแผนจัดการขยะ 1. ใช้มาตรการ 3 ช. ใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ 2. ขยะอินทรีย์หรือขยะเปียก นำไปใช้ประโยชน์ เช่น นำไปเป็นอาหารสัตว์เลี้ยง นำไปแปรรูปเป็นปุ๋ยอินทรีย์/น้ำหมักชีวภาพ หรือจัดทำถังภายในครัวเรือน(ถังขยะเปียกครัวเรือน) 3. ขยะรีไซเคิลหรือขยะมูลฝอยที่ยังใช้ได้ ให้ทางครัวเรือนคัดแยกขยะไว้เพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำ นำไปจำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนเป็นเงินหรือสิ่งของที่มีมูลค่า หรือนำไปแปรรูปเป็นวัสดุอื่นที่สร้างมูลค่าในกลุ่มกิจกรรมของหมู่บ้าน 4. ขยะอันตรายหรือมีพิษ ให้ทุกครัวเรือนคัดแยกขยะอันตรายและนำขยะอันตรายไปรวบรวมไว้ในจุดรวบรวมขยะอันตราย (ถังขยะสีแดง) ที่ทาง อบต.เขาชัยสน จัดไว้ให้ภายในหมู่บ้าน โดย อบต.จะดำเนินการนำไปกำจัดให้ถูกหลักสุขาภิบาลต่อไป 5. ขยะทั่วไป เป็นขยะที่ย่อยสลายยากมากและไม่คุ้มค่าสำหรับการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ แนะนำให้เลือกใช้ให้น้อยที่สุด หรือหากมีขยะในส่วนนี้ เช่น ถุงพลาสติกเปียก ซองขนมขบเคี้ยว เปลือกลูกอม ให้นำมาตากแดดให้แห้งเก็บรวบรวมไว้ เพื่อนำมาทำอิฐบล็อกจากขยะทั่วไป

 

50 0

9. กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู็เพื่อการพัฒนา ARE ครั้งที่่ 1

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู็เพื่อการพัฒนา ARE ครั้งที่ 1

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 เวลา 13.30 น. – 16.30 น. คณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการขยะ จำนวน 13 หมู่บ้าน ได้แก่ ม.1,2,3,4,5,6,7,8,9,10,11,12,14 ในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาชัยสน เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนา ARE ครั้งที่ 1 ภายใต้โครงการสร้างความร่วมมือการจัดการขยะตำบลเขาชัยสน 1. ผู้รับผิดชอบโครงการนำเสนอข้อมูลการจัดการขยะในพื้นที่รับผิดชอบของ อบต.เขาชัยสน ให้แก่ คณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการขยะทราบเพื่อนำมาวิเคราะห์และสรุปร่วมกันต่อไป ดังนี้ 1.1 อบต.เขาชัยสน มีพื้นที่ทั้งหมด 67.92 ตารางกิโลเมตร หรือ 42,450 ไร่ จำนวน 14 หมู่บ้าน 3,772 ครัวเรือน ประชากร 10,249 คน 1.2 ร้อยละของขยะทุกประเภทในเขตพื้นที่ อบต.เขาชัยสน ที่มีการจัดการขยะได้อย่างถูกหลักวิชาการและการจัดการด้วยการเผา มีขยะอินทรีย์คิดเป็นร้อยละ 63 ของขยะทุกประเภท มีการจัดการถูกหลักวิชาการคิดเป็นร้อยละ 60 และกำจัดด้วยการเผาร้อยละ 40 มีขยะรีไซเคิลคิดเป็นร้อยละ 30 ของขยะทุกประเภท มีการจัดการถูกหลักวิชาการคิดเป็นร้อยละ 10 และกำจัดด้วยการเผาร้อยละ 90 มีขยะทั่วไปคิดเป็นร้อยละ 3 ของขยะทุกประเภท มีการจัดการถูกหลักวิชาการคิดเป็นร้อยละ 20 และกำจัดด้วยการเผาร้อยละ 80 มีขยะอันตรายคิดเป็นร้อยละ 3 ของขยะทุกประเภท มีการจัดการถูกหลักวิชาการคิดเป็นร้อยละ 60 และกำจัดด้วยการเผาร้อยละ 40 มีขยะอิเล็กทรอนิกส์คิดเป็นร้อยละ 1 ของขยะทุกประเภท มีการจัดการถูกหลักวิชาการคิดเป็นร้อยละ 100 1.3 ร้อยละของครัวเรือนที่มีการจัดการขยะ พบว่าค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในช่วงร้อยละ 40 มี 6 หมู่บ้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าร้อยละ 40 คือ ม.1,3,6,7,8,13 และมี 7 หมู่บ้าน ที่มีค่าเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 40 คือ ม.2,4,5,9,10,12,14 1.4 ร้อยละของการจัดการขยะที่มีการดำเนินการแล้วและยังไม่ได้ดำเนินการในแต่ละหมู่บ้าน ม.1 ดำเนินการแล้วคิดเป็นร้อยละ 30 ยังไม่ได้ดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 70 ม.2 ดำเนินการแล้วคิดเป็นร้อยละ 60 ยังไม่ได้ดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 40 ม.3 ดำเนินการแล้วคิดเป็นร้อยละ 5 ยังไม่ได้ดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 95 ม.4 ดำเนินการแล้วคิดเป็นร้อยละ 45 ยังไม่ได้ดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 55 ม.5 ดำเนินการแล้วคิดเป็นร้อยละ 50 ยังไม่ได้ดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 50 ม.6 ดำเนินการแล้วคิดเป็นร้อยละ 10 ยังไม่ได้ดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 90 ม.7 ดำเนินการแล้วคิดเป็นร้อยละ 30 ยังไม่ได้ดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 70 ม.8 ดำเนินการแล้วคิดเป็นร้อยละ 20 ยังไม่ได้ดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 80 ม.9 ดำเนินการแล้วคิดเป็นร้อยละ 70 ยังไม่ได้ดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 30 ม.10 ดำเนินการแล้วคิดเป็นร้อยละ 60 ยังไม่ได้ดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 40 ม.11 ดำเนินการแล้วคิดเป็นร้อยละ 40 ยังไม่ได้ดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 60 ม.12 ดำเนินการแล้วคิดเป็นร้อยละ 60 ยังไม่ได้ดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 40 ม.13 ดำเนินการแล้วคิดเป็นร้อยละ 10 ยังไม่ได้ดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 90 ม.14 ดำเนินการแล้วคิดเป็นร้อยละ 70 ยังไม่ได้ดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 30 2. คณะทำงานฯ 13 หมู่บ้าน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลการจัดการขยะในพื้นที่ของตนเอง ดังนี้
หมู่ที่ 1 มีโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด มัสยิด รพ.สต. ตลาด อยู่ในพื้นที่ สามารถจัดการขยะได้บางส่วน พบปัญหาเรื่องขยะทั่วไป ขาดคณะทำงานและขาดครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะ รพ.สต.โคกยา เสนอให้ทาง อบต.จัดเก็บขยะอันตราย ณ.จุดเก็บปีละ 2 ครั้ง ส่วนขยะจำพวกเข็มคนในพื้นที่สามารถนำมาฝากกำจัดที่ รพ.สต.ได้ หมู่ที่ 2 มีการทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ พบปัญหาเรื่องการจัดการขยะทั่วไป หมู่ที่ 3 มีการรณรงค์การจัดการขยะในกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในพื้นที่ ขาดผู้นำและคณะทำงานในการจัดการขยะ ต้องการวิทยากรสอนการทำปุ๋ยหมักและแก้ปัญหาขยะประเภทถุงนมโรงเรียน หมู่ที่ 4 มีการรับซื้อมูลสัตว์ไปทำปุ๋ยหมักจากคนนอกพื้นที่ ใช้เศษอาหารในการเลี้ยงสัตว์ มีปัญหาเรื่องการจัดการขยะทั่วไปและขยะอันตราย หมู่ที่ 5 แต่ละครัวเรือนต่างจัดการขยะของตนเอง มีการนำไปเผา นำผักมาทำปุ๋ยอินทรีย์ ยังไม่มีการสร้างกลุ่มการจัดการขยะของหมู่บ้าน และขอสนับสนุนถังขยะอันตรายเพิ่มเติม หมู่ที 6 โรงเรียนสามารถจัดการขยะในโรงเรียนได้ มีปัญหาเกี่ยวกับขยะทั่วไป ขยะริมถนนและขยะบริเวณพื้นที่สาธารณะ ขาดคณะทำงาน อยากให้มีการสร้างจิตสำนึกการจัดการขยะ หมู่ที่ 7 มีการรณรงค์การจัดการขยะในพื้นที่ พบปัญหาขยะทั่วไป และขยะจากต่างถิ่นเนื่องจากพื้นที่หมู่บ้านติดถนนทางหลวงฯ หมู่ที่ 8 พื้นที่โรงเรียนในหมู่บ้านมีการจัดการขยะได้ดี มีการคัดแยกขยะและนำมาใช้ประโยชน์ แต่ยังขาดวิทยากรในการสอนประดิษฐ์สิ่งของจากขยะเพื่อเพิ่มมูลค่าให้มากยิ่งขึ้น ในส่วนของหมู่บ้านพบปัญหาขยะทุกประเภท โดยเฉพาะขยะทั่วไปบริเวณพื้นที่สาธารณะและตลาดนัด ยังขาดทางเดินในการจัดการขยะ หมู่ที่ 9 เมื่อก่อนมีโรงงานคัดแยกขยะแต่ปัจจุบันปิดตัวลงไปแล้ว ขยะทั่วไปแต่ละครัวเรือนจัดการเองโดยวิธีการเผา มีการจัดการขยะร่วมกับการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกของ อสม. ในแต่ละเขตรับผิดชอบ (อสม.1คน/ 10 ครัวเรือนเป็นอย่างต่ำ) พบปัญหาขยะจากพื้นที่เขตรอยต่อระหว่างตำบล หมู่ที่ 10 เขต อบต.เขาชัยสน มี 59 ครัวเรือน มีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง มีครัวเรือนต้นแบบสำหรับการจัดการขยะ พบปัญหาขยะประเภทผ้าอ้อมสำเร็จรูป (แพมเพิร์ส) ไม่สามารถจัดการได้ หมู่ที่ 11 จัดการขยะกันเองภายในครัวเรือน มีถังสีใส่ขยะของแต่ละบ้าน มีการขุดหลุมฝังขยะ คัดแยกขยะ ขายขยะ ในส่วนของขยะในวัดเมื่อมีการจัดงานต่างๆจะเสียค่าบริการให้รถขยะ ทต.เขาชัยสน มารับขยะไปทำลายให้ หมู่ที่ 12 ขยะทุกประเภทแต่ละครัวเรือนสามารถจัดการเองได้โดยวิธีการเผา พบปัญหาขยะในพื้นที่สาธารณะ(ริมถนน) อยากให้เพิ่มถังขยะอันตรายในหมู่บ้าน ยังไม่มีคณะทำงานจัดการขยะ หมู่ที่ 13 ตัวแทนไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม แต่มีการโทรสอบถามได้ข้อมูลว่า แต่ละครัวเรือนมีการจัดการขยะกันเอง เช่น การเผา นำเศษอาหารมาเลี้ยงสัตว์ การคัดแยกไปขาย เป็นต้น หมู่ที่ 14 มีธนาคารขยะของหมู่บ้าน มีการนำขยะมารีไซเคิลเป็นของใช้ต่างๆ และรับซองกาแฟมาประดิษฐ์เป็นของใช้ด้วย มีแกนนำ 5 คน ที่สามารถเป็นวิทยากรสอนทำสิ่งประดิษฐ์จากขยะได้ พบปัญหาการจัดการขยะทั่วไปและขาดพ่อค้าที่จะมาซื้อขยะที่คัดแยกไว้แล้ว ในส่วนของทาง อบต.เขาชัยสน นั้น มีการจ้างเหมาให้รถขยะ ทต.เขาชัยสน จัดเก็บขยะที่สำนักงาน อบต.และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตรับผิดชอบ 3. จากกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ทำให้เกิดการนำไปสู่บันไดของการสร้างกติกาการจัดการขยะในระดับตำบล ดังนี้ 1.ผู้นำชุมชนต้องเป็นต้นแบบในการจัดการขยะ 2.คณะทำงานต้องเป็นครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะ 3.ครัวเรือนเข้าร่วมโครงการต้องคัดแยกขยะออกเป็น 4 ประเภท 4.ทุกหมู่บ้านต้องมีวันนัดรับซื้อขยะรีไซคิล 5.ทุกหมู่บ้านต้องไม่กองขยะไว้ในที่สาธารณะ 6.ทุกร้านค้าต้องมีป้าย“ร้านนี้ลดการใช้ถุงพลาสติก” 7.ทุกร้านจำหน่ายอาหารต้องมีป้าย “ร้านนี้ปลอดโฟม” 8.หมู่บ้านต้องประชาสัมพันธ์การจัดการขยะสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 9. แม่ค้าที่ขายของหน้าโรงเรียนต้องรับผิดชอบขยะของตัวเอง 10.ห้ามแม่ค้ารถเร่ใช้กล่องโฟมใส่อาหารในเขตพื้นที่ตำบลเขาชัยสน 11.ภาคีอื่นควรเข้าร่วมการจัดการขยะของตำบล (โรงเรียน ศาสนสถาน รพ.สต.) 12.หมู่บ้านควรจัดกิจกรรม Big Cleaning Day เดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งตัวชี้วัดนี้จะประสบความสำเร็จได้ต้องมีครัวเรือนที่ปฏิบัติตามกติกาไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 4. มีแผนที่ทางเดินขยะแต่ละประเภท คือ 1.ขยะอินทรีย์ นำไปทำปุ๋ยให้ต้นไม้ ปุ๋ยหมัก แก๊สชีวภาพและเลี้ยงสัตว์ 2.ขยะรีไซเคิลขายได้ มีการจัดการโดยการขายให้พ่อค้าและชุมชนคัดแยกและรับซื้อเอง 3.ขยะทั่วไป นำมาเผาแยก/เผารวม ฝังกลบ และสร้างทีมจิตอาสาร่วมกันจัดเก็บ 4.ขยะอันตราย ใส่ถังแดงที่ศาลาของแต่ละหมู่บ้าน จากนั้นทาง อบต.จะไปดำเนินการจัดเก็บเพื่อนำไปกำจัดต่อไป 5. มีกำหนดการลงพื้นที่สร้างการเรียนรู้ระดับหมู่บ้าน 14 หมู่ ดังนี้
วันที่ 14 ธันวาคม 2563 เวลา 09.00 น. – 16.00 น. ลงพื้นที่ หมู่ที่ 7,14
วันที่ 15 ธันวาคม 2563 เวลา 09.00 น. – 16.00 น. ลงพื้นที่ หมู่ที่ 8,9 วันที่ 16 ธันวาคม 2563 เวลา 09.00 น. – 16.00 น. ลงพื้นที่ หมู่ที่ 5,10 วันที่ 17 ธันวาคม 2563 เวลา 09.00 น. – 16.00 น. ลงพื้นที่ หมู่ที่ 6,11
วันที่ 18 ธันวาคม 2563 เวลา 09.00 น. – 16.00 น. ลงพื้นที่ หมู่ที่ 2,3
วันที่ 21 ธันวาคม 2563 เวลา 09.00 น. – 16.00 น. ลงพื้นที่ หมู่ที่ 4,12 วันที่ 22 ธันวาคม 2563 เวลา 09.00 น. – 16.00 น. ลงพื้นที่ หมู่ที่ 1,13

 

50 0

10. กิจกรรมที่ 6 ธนาคารขยะในโรงเรียนและหมู่บ้าน

วันที่ 4 มกราคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

๑.มีการคัดแยกขยะในโรงเรียน ชุมชน รีไซคิลขยะในโรงเรียนและชุมชน จากถุงนมนักเรียนและซองกาแฟเป็นสิ่งของเครื่องใช้สำนักงานและครัวเรือน
๒.มีธนาคารขยะของโรงเรียนโดยการจำหน่ายขยะรีไซเคิล ให้กับพ่อค้าในชุมชน
๓.เริ่มมีการคัดแยกและสะสมถุงพลาสติกที่ใช้แล้วในชุมชนเพื่อแปรรูปเป็นก้อนอิฐในอนาคต

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-มีการทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างโรงเรียนในพื้นที่และอบต.เขาชัยสน ในเรื่องการจัดการขยะ -มีโรงเรียนต้นแบบในการจัดการขยะ ๕โรงเรียน
๑.โรงเรียนวัดหัวเขาชัยสน ๒.โรงเรียนบ้านท่านางพรหม ๓.โรงเรียนบ้านเทพราช ๔.โรงเรียนบ้านควนโคกยา ๕.โรงเรียนบ้ายลานช้าง กิจกรรมดังนี้ ๑.มีการคัดแยกขยะในโรงเรียน ชุมชนคิลขยะในโรงเรียนและชุมชน จากถุงนมนักเรียนและซองกาแฟเป็นสิ่งของเครื่องใช้สำนักงานและครัวเรือน
๒.มีธนาคารขยะของโรงเรียนโดยการจำหน่ายขยะรีไซเคิล ให้กับพ่อค้าในชุมชน
๓.เริ่มมีการคัดแยกและสะสมถุงพลาสติกที่ใช้แล้วในชุมชนเพื่อแปรรูปเป็นก้อนอิฐในอนาคต

 

0 0

11. จัดทำความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์

วันที่ 4 มีนาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

รายงานผลการดำเนินงานในระบบออนไลน์เป็นระยะ ทั้งในรูปแบบภาพถ่าย และรายงานเอกสาร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-มีการอัพเดตข้อมูลผลการดำเนินอย่างต่อเนื่องในระบบออนไลน์

 

1 0

12. กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมการขยายผลใช้กลไกการชักชวนครอบครัวต่อครอบครัว

วันที่ 4 มีนาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมการสร้างแรงจูงใจ การแปรรูปขยะเป็นสิ่งของในชุมชน

กิจกรรมการรวบรวมขยะอันตราย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-มีการชักชวนเพื่อนบ้านร่วมกิจกรรมเริ่มต้นจากหมู่บ้านละ ๑๐ คน เป็น ๒๐-๔๐ คนต่อหมู่บ้าน -มีการเรียนรู้การคัดแยกขยะ การทำปุ๋ยหมักและการเลี้ยงไส้เดือนจากขยะอินทรย์ ครบทั้ง ๑๔ หมู่บ้าน -มีการรวมกลุ่มกันสอนการผลิตสิ่งของจากซองกาแฟและถุงนมนักเรียน -มีการคัดแยกขยะและเก็บสะสมซองกาแฟและถุงนมนักเรียนเพื่อนำไปแปรรูปเป็นสิ่งของเครื่องใช้ -มีการนัดหมายรวบรวมขยะอันตรายส่งต่อให้อบต.เพื่อรวบรวมนำส่งอบจ.พัทลุง -มีธนาคารขยะย่อยๆในหมู่บ้านโดยการจำหน่ายขยะรีไซเคิล ให้กับพ่อค้าในชุมชน
-เริ่มมีการคัดแยกและสะสมถุงพลาสติกที่ใช้แล้วในชุมชนเพื่อแปรรูปเป็นก้อนอิฐในอนาคต -มีการอบรมให้ความรู้เด็กๆเพื่อนำไปขยายผลสู่ครอบครัวและชุมชน

 

0 0

13. กิจกรรมที่ 5 เวทีสร้างแรงจูงใจ สาธิตการจัดการขยะ สร้างการเรียนรู้ระดับหมู่บ้าน ๑๔ หมู่บ้าน

วันที่ 4 มีนาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

  1. คัดเลือกวิทยากรเป็นทีมสร้างแรงจูงใจ สาธิตการจัดการขยะ สร้างการเรียนรู้ระดับหมู่บ้าน
  2. จัดหาวัสดุเพื่อการสาธิตการจัดการขยะ สร้างการเรียนรู้ ดังนี้
                2.1 ชุดจัดการขยะอินทรีย์ทำน้ำหมัก (ถัง 100 ลิตร กากน้ำตาล) 14 ชุด             2.2 ชุดจัดการขยะอินทรีย์ด้วยการเลี้ยงไส้เดือน  (ชุดเลี้ยงไส้เดือน 14 ชุด)
  3. สร้างการเรียนรู้ตามแนวทาง 3 R
              ๓.๑ ฟื้นฟูธนาคารขยะ ในโรงเรียน ๕ โรงเรียน และขยายผลใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๔ แห่ง           ๓.๒ ฟื้นฟูธนาคารขยะในหมู่บ้าน ๑๔ หมู่บ้าน
              ๓.๒ กิจกรรมสร้างแรงจูงใจ ขยะแลกสิ่งของ ในชุมชน
  4. ร่วมพิจาณาและกำหนดเส้นทางเดินขยะทุกประเภท
  5. รับฟังความเห็นยกร่างสัญญาประชาคมการจัดการขยะตำบล
  6. ครัวเรือนนำร่อง 10 คน และครัวเรือนคู่ขนาน 10 คน  รวม 20 คน เข้าร่วมกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. มีวิทยากรในพื้นที่เป็นทีมสร้างแรงจูงใจ สาธิตการจัดการขยะ สร้างการเรียนรู้ระดับหมู่บ้าน
  2. มีการเรียนรู้และการสาธิตการจัดการขยะ สร้างการเรียนรู้ ดังนี้
                2.1 การจัดการขยะอินทรีย์ทำน้ำหมัก
                2.2 การจัดการขยะอินทรีย์ด้วยการเลี้ยงไส้เดือน
  3. เกิดการเรียนรู้ตามแนวทาง 3 R
              ๓.๑ มีฟื้นฟูธนาคารขยะ ในโรงเรียน ๕ โรงเรียน และขยายผลใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๔ แห่ง           ๓.๒ มีฟื้นฟูธนาคารขยะในหมู่บ้าน
              ๓.๒ เกิดแรงจูงใจในการคัดแยกขยะ ในชุมชน
  4. ได้เส้นทางเดินขยะทุกประเภท
  5. มีการรับฟังความเห็นยกร่างสัญญาประชาคมการจัดการขยะตำบล
  6. มีครัวเรือนนำร่อง 10 คน และครัวเรือนคู่ขนานอย่างน้อยหมู่บ้านละ 10 คน  รวม 20 คน เข้าร่วมกิจกรรม

 

350 0

14. กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู็เพื่อการพัฒนา ARE ครั้งที่่ 2

วันที่ 9 กันยายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2564 เวลา 13.30 น. – 16.30 น. คณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการขยะ จำนวน 11 หมู่บ้าน ได้แก่ ม.2,5,6,7,8,9,10,11,12,13,14 ในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาชัยสน เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนา ARE  ครั้งที่ 2 ภายใต้โครงการสร้างความร่วมมือการจัดการขยะตำบลเขาชัยสน ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของดรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา จำนวน 15 คน และตัวแทน สสส.จำนวน 2 คน
1. ผู้รับผิดชอบโครงการนำเสนอข้อมูลการจัดการขยะในพื้นที่รับผิดชอบของ อบต.เขาชัยสน ให้แก่ คณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการขยะทราบเพื่อนำมาวิเคราะห์และสรุปร่วมกันต่อไป ดังนี้ 1.1 อบต.เขาชัยสน มีพื้นที่ทั้งหมด 67.92 ตารางกิโลเมตร หรือ 42,450 ไร่ จำนวน 14 หมู่บ้าน 3,772 ครัวเรือน ประชากร 10,249 คน 1.2 ร้อยละของขยะทุกประเภทในเขตพื้นที่ อบต.เขาชัยสน ที่มีการจัดการขยะได้อย่างถูกหลักวิชาการและการจัดการด้วยการเผา

2. คณะทำงานฯ 11 หมู่บ้าน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลการจัดการขยะในพื้นที่ของตนเอง ดังนี้<br />
หมู่ที่ 2 มีการคัดเลือกครัวเรือนนำร่อง ด้วยการเลือกครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะอยู่เดิมแล้วและผู้นำในหมู่บ้านเป็นครัวเรือนนำร่อง โดยให้ความรู้เพิ่มเติมในการจัดการขยะแต่ละประเภทเพื่อให้การจัดการขยะในครัวเรือนนำร่องลดลง และมีการขยายผลไปยังครัวเรือนอื่นๆ

หมู่ที่ 5 แกนนำหมู่บ้าน นำร่องและชักชวนครัวเรือนใกล้เคียง
หมู่ที่ 6 เลือกครัวเรือนที่มีใจรักในการนำร่องและเลือกครัวเรือนคู่ขนาน พร้อมทั้งการทำอย่างสม่ำเสมอ เป็นแบบอย่างให้ครัวเรือนอื่นๆเห็น แล้วจะเกิดการขยายผลไปยังครัวเรือนอื่นๆ
หมู่ที่ 7 มีกิจกรรมการจัดการขยะอย่างต่อเนื่อง โดยผู้นำชุมชน อสม.เป็นครัวเรือนนำร่อง และชักชวนครัวเรือนคู่ขนาน เพื่อให้เกิดการขยายผลในวงกว้าง มีกิจกรรมการจัดการตามเส้นทางเดินขยะ เช่น ขยะอินทรีย์ ก็นนำไปทำปุ๋ย ใส่ต้นไม้ ขยะทั่วไปกับรีไซเคิล มีการคัดแยก ใช้ซ้ำ แปรรูป ขาย ที่เหลือก็เผา ขยะอันตรายก็รวบรวมไว้นำส่ง อบต.ส่งไปทำลายต่อไป มีการรณรงค์การจัดการขยะในพื้นที่ พบปัญหาขยะทั่วไป และขยะจากต่างถิ่นเนื่องจากพื้นที่หมู่บ้านติดถนนทางหลวงฯ มีการจัดกิจกรรมอาสาเก็บขยะทางหลวงบ่อยๆ หมู่ที่ 8 ตัวแทนไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม แต่มีการโทรสอบถามได้ข้อมูลว่า แต่ละครัวเรือนมีการจัดการขยะกันเอง เช่น การเผา นำเศษอาหารมาเลี้ยงสัตว์ การคัดแยกไปขาย เป็นต้น โดยมี ครัวเรือน อสม.นำร่อง
หมู่ที่ 9 แต่ละครัวเรือนต่างจัดการขยะของตนเอง มีการนำไปเผา นำผักมาทำปุ๋ยอินทรีย์ ยังไม่มีการสร้างกลุ่มการจัดการขยะของหมู่บ้าน
หมู่ที 10 มีจำนวนครัวเรือนน้อยที่อยู่ในเขต อบต.เขาชัยสน การจัดการที่ผ่านมาก็มีการคัดแยก นำไปทำปุ๋ย ปลูกผัก เกือบทุกครัวเรือน ขยะพลาสติกก็เอาไปแปรรูป รีไซเคิล มาใช้ประโยชน์ เช่นการนำขวดพลาสติกมาปลุกผัก ปลูกไม้ประดับ ต่างๆ และมีการรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติกต่างๆ ห้ามเผาขยะในหมู่บ้าน เนื่องจาก หมู่ที่10 พื้นที่ค่อนข้างเป็นชุมชนเมือง
หมู่ที่ 11 มีการรณรงค์การจัดการขยะในพื้นที่ จัดทำถังขยะแต่ละประเภทในครัวเรือนนำร่องและคู่ขนานจัดการขยะกันเองภายในครัวเรือน มีถังสีใส่ขยะของแต่ละบ้าน มีการขุดหลุมฝังขยะ คัดแยกขยะ ขายขยะ หมู่ที่ 12 ขยะทุกประเภทแต่ละครัวเรือนสามารถจัดการเองได้โดยวิธีการเผา พบปัญหาขยะในพื้นที่สาธารณะ(ริมถนน)
หมู่ที่ 13 แต่ละครัวเรือนมีการจัดการขยะกันเอง เช่น การเผา นำเศษอาหารมาเลี้ยงสัตว์ การคัดแยกไปขาย เป็นต้น หมู่ที่ 14 มีการนำขยะมารีไซเคิลเป็นของใช้ต่างๆ และรับซองกาแฟมาประดิษฐ์เป็นของใช้ด้วย มีแกนนำ 5 คน ที่สามารถเป็นวิทยากรสอนทำสิ่งประดิษฐ์จากขยะได้ พบปัญหาการจัดการขยะทั่วไปและขาดพ่อค้าที่จะมาซื้อขยะที่คัดแยกไว้แล้ว ในส่วนของทาง อบต.เขาชัยสน นั้น มีการจ้างเหมาให้รถขยะ ทต.เขาชัยสน จัดเก็บขยะที่สำนักงาน อบต.และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตรับผิดชอบ มีการรวบรวมถุงนมนักเรียน เพื่อนำมารีไซเคิลต่อไป และมีการรับบริจาคถุงพลาสติกต่างๆที่ล้างทำความสะอาดเรียบร้อยเพื่อนำมาทำอิฐบล๊อค ในส่วนของหมู่ที่ 1,3,4 ไม่สามารถจัดกิจกรรมได้เนื่องจากสถาณการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 แต่การคัดแยกขยะในครัวเรือน มีการดำเนินการเป็นปกติ มีครัวเรือนนำร่องที่เป็นแกนนำหมู่บ้าน หลายครัวเรือน
3. จากกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ทำให้เกิดการนำไปสู่บันไดของการสร้างกติกาการจัดการขยะในระดับตำบล ดังนี้
-ผู้นำชุมชนต้องเป็นต้นแบบในการจัดการขยะ
-คณะทำงานต้องเป็นครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะ
-ครัวเรือนเข้าร่วมโครงการต้องคัดแยกขยะออกเป็น 4 ประเภท
-ทุกหมู่บ้านการคัดแยกขยะเพื่อขายให้กับผู้รับซื้อของเก่าในหมู่บ้าน
-ทุกหมู่บ้านต้องไม่กองขยะไว้ในที่สาธารณะ
-ต้องชวนร้านค้าในหมู่บ้านร่วมกิจกรรมด้วย -ภาคีอื่นเข้าร่วมการจัดการขยะของตำบล (โรงเรียน ศาสนสถาน รพ.สต.)
-หมู่บ้านควรจัดกิจกรรม Big Cleaning Day เดือนละ 1 ครั้ง
4. มีแผนที่ทางเดินขยะแต่ละประเภท คือ
-ขยะอินทรีย์ นำไปทำปุ๋ยให้ต้นไม้ ปุ๋ยหมัก แก๊สชีวภาพและเลี้ยงสัตว์
-ขยะรีไซเคิลขายได้ มีการจัดการโดยการขายให้พ่อค้าและชุมชนคัดแยกและรับซื้อเอง
-ขยะทั่วไป นำมาเผาแยก/เผารวม ฝังกลบ และสร้างทีมจิตอาสาร่วมกันจัดเก็บ
-ขยะอันตราย ใส่ถังแดงที่ศาลาของแต่ละหมู่บ้าน จากนั้นทาง อบต.จะไปดำเนินการจัดเก็บเพื่อนำไปกำจัดต่อไป 5.ในส่วนของการติดตาม มีการชวนคุยและเน้นย้ำในเรื่องการสร้างกลไกการจัดการขยะให้ชัดเจน และเป็นรูปธรรมมากขึ้น รวมทั้งข้อมูลตัวเลขต่างๆ ทางผู้ติดตามไม่ยึดติดกับตัวเลขว่าปริมาณขยะจะลดลงเท่าไหร่ เพิ่มขึ้นเท่าไหร่ แต่ขอให้เน้นกลไกการจัดการที่กลุ่มนำร่อง ไปสู่กลุ่มคู่ขนาน และกลุ่มที่ขยายผล ให้ชัดเจน อย่ามุ่งเน้นตอบโจทย์ สสส.แต่ให้ตอบโจทย์ชาวบ้านในพื้นที่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การนำขยะไปใช้ประโยชน์ ร้อยละ 62.42
    ขยะอินทรีย์ ร้อยละ 38.86 ขยะทั่วไป ร้อยละ 1.56 ขยะรีไซเคิล ร้อยละ 20.84 ขยะอันตราย ร้อยละ 1.16
การเผาขยะ ร้อยละ 37.58 ขยะอินทรีย์ ร้อยละ 24.14 ขยะทั่วไป ร้อยละ 1.44 ขยะรีไซเคิล ร้อยละ 9.16 ขยะอันตราย ร้อยละ 2.84
จากกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ทำให้เกิดการนำไปสู่บันไดของการสร้างกติกาการจัดการขยะในระดับตำบล ดังนี้
-ผู้นำชุมชนต้องเป็นต้นแบบในการจัดการขยะ
-คณะทำงานต้องเป็นครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะ
-ครัวเรือนเข้าร่วมโครงการต้องคัดแยกขยะออกเป็น 4 ประเภท
-ทุกหมู่บ้านการคัดแยกขยะเพื่อขายให้กับผู้รับซื้อของเก่าในหมู่บ้าน
-ทุกหมู่บ้านต้องไม่กองขยะไว้ในที่สาธารณะ
-ต้องชวนร้านค้าในหมู่บ้านร่วมกิจกรรมด้วย -ภาคีอื่นเข้าร่วมการจัดการขยะของตำบล (โรงเรียน ศาสนสถาน รพ.สต.)
-หมู่บ้านควรจัดกิจกรรม Big Cleaning Day เดือนละ 1 ครั้ง
4. มีแผนที่ทางเดินขยะแต่ละประเภท คือ
-ขยะอินทรีย์ นำไปทำปุ๋ยให้ต้นไม้ ปุ๋ยหมัก แก๊สชีวภาพและเลี้ยงสัตว์
-ขยะรีไซเคิลขายได้ มีการจัดการโดยการขายให้พ่อค้าและชุมชนคัดแยกและรับซื้อเอง
-ขยะทั่วไป นำมาเผาแยก/เผารวม ฝังกลบ และสร้างทีมจิตอาสาร่วมกันจัดเก็บ
-ขยะอันตราย ใส่ถังแดงที่ศาลาของแต่ละหมู่บ้าน จากนั้นทาง อบต.จะไปดำเนินการจัดเก็บเพื่อนำไปกำจัดต่อไป

 

17 0

15. ค่าเปิดบัญชีธนาคาร

วันที่ 30 กันยายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

ผู้รับทุนโครงการได้สำรองจ่ายเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร 500 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับทุนโค่ร่งการได้รับเงินคืนสำรองจ่ายจากค่าเปิดบัญชีธนาคาร

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้เกิดกลไกการจัดการขยะครัวเรือน ขยะชุมชนในระดับตำบล
ตัวชี้วัด : 1. คณะทำงานประกอบท้องถิ่น ท้องที่ และภาคีภาครัฐ 2. คณะทำงานมีการประชุมทุกเดือน 3. คณะทำงานได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างน้อยร้อยละ 80 4. คณะทำงานมีข้อมูลเพื่อการประเมิน วิเคราะห์ และรายงานผล การจัดการขยะ 5. จัดทำแผนการจัดการขยะระดับตำบล
1.00 6.00

จากที่พื้นที่ได้ลงพื้นที่ศึกษาการทำงานพื้นที่ต้นแบบ Model เทศบาลตำบลโคกม่วงและมีคณะทำงานในส่วนของเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ศึกษาดูงานที่ อบต อ่าวนางกระบี่โดยใช้งบของ อบต เขาชัยสนเองนั้น เกิดความติดเรื่องการจัดการขยะทั่วไปประเภทถุงพลาสติก เพื่อใช้เป็นกติกาให้ครัวเรือนล้างถุงพลาสติกส่งมอบให้เทศบาล เพื่อการรวบรวมทำเป็นอิฐบ็อกโดย อบตเขาชัยสนเป็นจุดกลางการทำอิฐบ็อกต่อไป

2 เพื่อให้เกิดกติกาการจักการขยะครัวเรือน ในระดับตำบล
ตัวชี้วัด : 1.ทุกหมู่บ้านคัดเลือกครัวเรือนเข้าร่วมการจัดการขยะอย่างน้อย 10 ครัวเรือน 2.มีกติการร่วมเพีือการจัดการขยะในระดับตำบล 3.ครัวเรือนปฏิบัติตามกติกาไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 4.มีแผนที่ทางเดินขยะแต่ละประเภท
1.00 6.00

ถึงแม้ว่าผู้รับผิดชอบโครงการ จะมีปัญหาเรื่องการลงพื้นที่ เนื่องด้วยสถานการณ์โรคระบาด โควิด 19 แต่ก็สามารถ ขยายกลุ่มเป้าหมายและการดำเนินงานได้มากว่าตัวชี้วัดในบางตัวชี้วัดและไม่ถึงตัวชี้วัดบางข้อนั้น ภาพร่วมของตำบลถือว่าประสบความสำเร็จ ต่อการดำเนินงานตามแผนโครงการที่ นำ M0del ตำบลโคกม่วงมาใช้ได้และเกิดผลลัพธ์ ที่เห็นได้ชัดเจนเช่นกัน

3 เพื่อการหนุนเสริมการจัดการชยะ
ตัวชี้วัด : 1.มีชุดปฏิบัติการสร้างแรงจูงใจ สาธิตการจัดการขยะเคลื่อนที่ไปสร้างการเรียนรู้ทุกหมู่บ้าน 2.มีครอบครัวต้นแบบการจัดการขยะอย่างน้อย 100 ครอบครัว 3.มีหมู่บ้านต้นแบบการจัดการขยะอย่างน้อย 5 หมู่บ้าน 4.มีหน่วยงานต้อนแบบการจัดการขยะอย่างน้องร้อยละ 70 5.มีโรงเรียนต้นแบบ ด้าน ธนาคารขยะ อย่างน้อย 3 โรงเรียน 6.มีการขยายผลจากตนัวเรือนสู่ครัวเรือน
1.00 6.00

ถึงแม้ว่าผู้รับผิดชอบโครงการ จะมีปัญหาเรื่องการลงพื้นที่ เนื่องด้วยสถานการณ์โรคระบาด โควิด 19 แต่ก็สามารถ ขยายกลุ่มเป้าหมายและการดำเนินงานได้มากว่าตัวชี้วัดในบางตัวชี้วัดและไม่ถึงตัวชี้วัดบางข้อนั้น ภาพร่วมของตำบลถือว่าประสบความสำเร็จ ต่อการดำเนินงานตามแผนโครงการที่ นำ M0del ตำบลโคกม่วงมาใช้ได้และเกิดผลลัพธ์ ที่เห็นได้ชัดเจนเช่นกัน ทำให้ขยะลดลง นำขยะไปใช้ประโยชน์ทำให้ขยะลดลง 62.42 % ลดการเผาไปได้ 18.22%

4 เพื่อให้เกิดกระบวนการในการจัดการขยะตำบลเขาชัยสน
ตัวชี้วัด : 1.เกิดสัญญาประชาคมและร่วมประกาศการจัดการขขยะเป็นวาระของตำบลเขาชัยสนโดยผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ และคณะทำงาน 2. เสนอแผนการจัดการชยะตำบลเขาชัยสนต่อประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเขาชัยสน
1.00 6.00

จากการติดตามพื้นที่ อบต เขาชัยสน ได้รับทราบว่าเรื่อง นโยบายและแผนการประกาศใช้เป็นสัญญาประชาคมนั้น ถึงแม้ว่าจะปิดโครงการ แต่ทางอบต เขาชัยสน ก็ยังคงดำเนินการเรื่องนี้ต่อ เป็นแผนและนโยบายของ อบต เขาชัยสน แต่ขาดจัดเวทีการประกาศใช้ สัญญาประชาคมต่อสาธารณะ/ประชาชน

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 100
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ครัวเรือน 100

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เกิดกลไกการจัดการขยะครัวเรือน ขยะชุมชนในระดับตำบล (2) เพื่อให้เกิดกติกาการจักการขยะครัวเรือน ในระดับตำบล (3) เพื่อการหนุนเสริมการจัดการชยะ (4) เพื่อให้เกิดกระบวนการในการจัดการขยะตำบลเขาชัยสน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการขยะ 5 ครั้ง (2) กิจกรรมปฐมนิเทศ (3) กิจกรรมที่ 1.เวทีสร้างการรับรู้สถานการณ์การจัดการขยะของตำบลเขาชัยสน (4) กิจกรรมที่ 2 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการขยะ ครั้งที่ 1 (5) ค่าเปิดบัญชีธนาคาร (6) กิจกรรมร่วมประชุมกับ node (7) กิจกรรมที่ 3 พัฒนาศักยภาพคณะทำงานเรียนรู้ศึกษาดูงานพื้นที่จัดการขยะแบบมีส่วนร่วม (8) ค่าเปิดบัญชี (9) กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู็เพื่อการพัฒนา ARE  ครั้งที่่ 1 (10) กิจกรรมที่ 6 ธนาคารขยะในโรงเรียนและหมู่บ้าน (11) กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมการขยายผลใช้กลไกการชักชวนครอบครัวต่อครอบครัว (12) กิจกรรมที่ 5 เวทีสร้างแรงจูงใจ สาธิตการจัดการขยะ สร้างการเรียนรู้ระดับหมู่บ้าน ๑๔ หมู่บ้าน (13) ค่าจัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (14) ค่าจัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (15) จัดทำความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ (16) กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู็เพื่อการพัฒนา ARE  ครั้งที่่ 2 (17) เวทีคืนข้อมูลสรุปผลงานโครงการสู่ชุมชน (18) กิจกรรมที่ 2 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการขยะทุก2เดือน  ครั้งที่ 2

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


สร้างความร่วมมือการจัดการขยะตำบลเขาชัยสน จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 63-00169-0008

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสงบ ลักษณะ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด