stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนขยะทองคำ นำสุขภาพสู่คนชะมวง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 65-00232-0002
วันที่อนุมัติ 28 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 54,130.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมคนชะมวงรักษ์สิ่งแวดล้อม
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพ็ญพร เพชรหัวบัว
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0801466243
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ tin5non@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวจุรีย์ หนูผุด
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 21,652.00
2 1 ต.ค. 2565 31 มี.ค. 2566 1 ต.ค. 2565 31 ส.ค. 2566 27,065.00
3 1 เม.ย. 2566 31 ส.ค. 2566 5,413.00
รวมงบประมาณ 54,130.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชมรมคนชะมวงรักษ์สิ่งแวดล้อม ตั้งอยู่เลขที่ 16 หมู่ที่ 6 ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ข้อมูลทั่วไปของพื้นที่ตำบลชะมวง มีพื้นที่จำนวน 61.14 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 38,212 ไร่ มีหมู่บ้านทั้งหมด 16 หมู่บ้าน มีครัวเรือนทั้งหมด 3,646 ครัวเรือน มีประชากรรวม 8,509 คน มีโรงเรียน 3 โรงเรียน มีวัด 3 วัด มีปั้มน้ำมันปตท. จำนวน 1 แห่ง มีเซเว่นอีเลฟเว่น จำนวน 2 แห่ง มีศูนย์พัฒนาเล็กเล็ก จำนวน 2 ศูนย์ มีวิทยาลัยการอาชีพ จำนวน 1 แห่ง มีขนส่ง จำนวน 1 แห่ง
สถานการณ์ขยะของพื้นที่ตำบลชะมวง องค์การบริหารส่วนตำบลชะมวง ได้จัดเก็บขยะตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันเสาร์ ปริมาณขยะมูลฝอยประมาณ 2-3 ตัน/วัน โดยรถยนต์บรรทุกขยะมูลฝอยขนาด 6 ตัน 6 ล้อ ปริมาตรกระบอกสูบไม่ต่ำกว่า 6,000 ซีซี หรือกำลังเครื่องสูบสูงสุด ไม่ต่ำกว่า 170 กิโลวัตต์ แบบอัดท้าย จำนวน 1 คัน สถานที่กำจัดโดยวิธีฝังกลบ ใช้สถานที่ฝังกลบขององค์การบริหารส่วนตำบลชะมวง  พนักงานเก็บขยะ จำนวน 2 คน พนักงานขับรถ 1 คน มีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการขยะ เช่น ค่าน้ำมันรถ ค่าซ่อมแซมรถ ค่าจ้างพนักงาน ค่าปรับเกลี่ยหลุมขยะ รวมค่าใช้จ่าย 800,000 บาทต่อปี จากข้อมูลสถานการณ์ขยะในพื้นที่แยกประเภทได้ดังนี้ ขยะอินทรีย์ร้อยละ 60 ขยะรีไซเคิล ร้อยละ 25 ขยะทั่วไปร้อยละ 10 และขยะอันตรายร้อยละ 5 มีการสำรวจข้อมูลปริมาณและแหล่งที่มาของขยะดังกล่าวพบว่า ประชาชนมีการคัดแยกในระดับครัวเรือน จำนวน 1,000 ครัวเรือน ยังไม่คัดแยก 2,646 ครัวเรือน จึงส่งผลให้เกิดปัญหาขยะมีปริมาณมากขึ้นทุกปี ทำให้มีผลกระทบ ต่อคนในชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ภายในชุมชน โดยปัญหาหลักที่พบมากมาจากคนนอกพื้นที่นำขยะมาทิ้งในเขตพื้นที่ตำบลชะมวง และครัวเรือนขาดกระบวนการคัดแยกที่ต่อเนื่อง ระบบการจัดการขยะในพื้นที่มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบจำนวนน้อย  จากปัญหาดังกล่าวส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก คนในพื้นที่ขาดจิตสำนึก ขาดความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ถูกวิธี ไม่นิยมนำถุงผ้าหรือตะกร้ามาจากบ้านในการจ่ายตลาด น้ำในลำคลองเสียทำให้ประชาชนนำน้ำมาใช้อุปโภคไม่ได้ ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน จากสถิติการเจ็บป่วย เมื่อปี 2563 มีไข้เลือดออก จำนวน 40 คน  และมีค่าใช้จ่ายในการควบคุมการระบาดของโรค ปีหนึ่งประมาณ 50,000 บาทต่อปี
ชมรมคนชะมวงรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้ให้ความสำคัญในการจัดการขยะ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือปริมาณขยะลดลง โดยให้เกิดกลไกการจัดการขยะในระดับครัวเรือน/ระดับหมู่บ้าน /ตำบล และให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการจัดการขยะที่ต่อเนื่อง มีกติกาและเฝ้าระวังติดตามการจัดการขยะ โดยการดำเนินงานโครงการจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายของ Node Flagship ที่ขับเคลื่อนให้ประเด็นสุขภาวะในระดับจังหวัดตามกรอบเป้าหมายระยะยาว Phatthalung Green City ได้รับการแก้ไขอย่างมีส่วนร่วมสามารถบรรลุเป้าหมายการลดขยะในระดับภาพรวมของจังหวัดต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดกลไกการจัดการขยะระดับครัวเรือนและระดับชุมชน
  1. มีคณะทำงานที่มาจากหลายภาคส่วน
  2. มีการแบ่งบทบาทหน้าที่
  3. มีแผนการดำเนินงาน
  4. มีการประชุมทุก 2 เดือน
  5. คณะทำงานมีความรู้ในการจัดการขยะที่ถูกต้อง
80.00
2 เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการจัดการขยะที่ครบวงจรและต่อเนื่อง
  1. ครัวเรือนจัดการขยะที่ถูกต้อง อย่างน้อย 80 %
  2. ในโรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็กจัดกาขยะรที่ถูกต้อง ทุกแห่ง
  3. ขยะในปั้มน้ำมันได้รับการจัดการขยะที่ถูกต้อง อย่างน้อย 80 %
  4. มีร้านค้าจัดการขยะที่ถูกต้อง อย่างน้อย 18 ร้าน
80.00
3 เพื่อให้เกิดกติกาและเฝ้าระวังติดตามการจัดการขยะ
  1. มีกติกาในด้านสิ่งแวดล้อมที่บรรจุไว้ใน “ธรรมนูญสุขภาพสุขภาพตำบลชะมวง”
  2. มีการติดตามการคัดแยกขยะในระดับครัวเรือน ในโรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปั้มน้ำมัน ทุกเดือน
  3. มีต้นแบบการจัดการขยะที่ถูกต้อง อย่างน้อย 16 แห่ง
  4. ถนนปลอดขยะ 2 สาย
16.00
4 เพื่อให้ปริมาณขยะลดลง
  1. ปริมาณขยะที่อบต.ชะมวงจัดเก็บลดลงร้อยละ 30
  2. มีการใช้ประโยชน์จากขยะ ร้อยละ 40
30.00
5 เพื่อให้การบริหารจัดการโครงการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

โครงการประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

100.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 400
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ตัวแทนครัวเรือน /เจ้าของปั้ม ปตท. 400 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 611 54,130.00 16 52,834.00
9 พ.ค. 65 เข้าร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศผู้รับทุน 0 0.00 632.00
11 พ.ค. 65 ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 500.00
7 มิ.ย. 65 จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และป้ายชื่อโครงการ สสส. 46 1,000.00 432.00
22 มิ.ย. 65 ประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน 46 7,980.00 7,412.00
30 มิ.ย. 65 พัฒนาศักยภาพคณะทำงานเรียนรู้ศึกษาดูงานพื้นที่จัดการขยะแบบมีส่วนร่วม 50 24,100.00 24,100.00
20 ก.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1/2565 46 1,550.00 1,150.00
27 ก.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2/2565 46 1,550.00 1,150.00
17 ต.ค. 65 เวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 1 46 2,150.00 2,150.00
10 พ.ย. 65 ค่าเดินทางและค่าที่พักเพื่อเข้าร่วมประชุมกับ สสส. 5 3,000.00 1,834.00
16 พ.ย. 65 - 16 เม.ย. 66 รณรงค์ BIG CLEANING DAY 50 6,000.00 6,000.00
30 พ.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3/2566 46 1,550.00 3,150.00
17 ก.พ. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4/2566 46 1,550.00 1,150.00
2 มี.ค. 66 คณะทำงานติดตามเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลง 46 0.00 0.00
25 เม.ย. 66 ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ 46 1,000.00 874.00
22 มิ.ย. 66 เวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 2 46 1,150.00 1,150.00
22 ส.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5/2566 46 1,550.00 1,150.00

1 เพื่อให้เกิดกลไกการจัดการขยะระดับครัวเรือนและระดับชุมชน
  1.1 มีคณะทำงานที่มาจากหลายภาคส่วน
  1.2 มีการแบ่งบทบาทหน้าที่
  1.3 มีแผนการดำเนินงาน
  1.4 มีการประชุมทุก 2 เดือน
  1.5 คณะทำงานมีความรู้ในการจัดการขยะที่ถูกต้อง
2 เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการจัดการขยะ
  2.1 ครัวเรือนจัดการขยะที่ถูกต้อง อย่างน้อย 80 %
  2.2 ในโรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจัดการขยะที่ถูกต้อง ทุกแห่ง
  2.3 ขยะในปั้มน้ำมันได้รับการจัดการขยะที่ถูกต้อง อย่างน้อย 80 %
  2.4 ร้านค้าจัดการขยะที่ถูกต้อง อย่างน้อย 18 ร้าน
3 เพื่อให้เกิดกติกาและเฝ้าระวังติดตามการจัดการขยะ
  3.1 มีกติกาในด้านสิ่งแวดล้อมที่บรรจุไว้ใน “ธรรมนูญสุขภาพสุขภาพตำบลชะมวง”
  3.2 มีการติดตามการคัดแยกขยะในระดับครัวเรือน ในโรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปั้มน้ำมัน ทุกเดือน
  3.3 มีต้นแบบการจัดการขยะที่ถูกต้อง อย่างน้อย 16 แห่ง
  3.4 มีถนนปลอดขยะ 2 สาย
4 เพื่อให้ปริมาณขยะลดลง
  4.1 ปริมาณขยะที่องค์การบริหารตำบลชะมวงจัดเก็บลดลงร้อยละ 30
  4.2 มีการใช้ประโยชน์จากขยะ ร้อยละ 40

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2565 14:45 น.