directions_run

จัดการขยะแบบมีส่วนร่วมโดยหลักสูตรโรงเรียนขยะตำบลเขาหัวช้าง

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดพัทลุง


“ จัดการขยะแบบมีส่วนร่วมโดยหลักสูตรโรงเรียนขยะตำบลเขาหัวช้าง ”

ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นายอุดม การะนันต์

ชื่อโครงการ จัดการขยะแบบมีส่วนร่วมโดยหลักสูตรโรงเรียนขยะตำบลเขาหัวช้าง

ที่อยู่ ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 65-00232-0007 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566


กิตติกรรมประกาศ

"จัดการขยะแบบมีส่วนร่วมโดยหลักสูตรโรงเรียนขยะตำบลเขาหัวช้าง จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดพัทลุง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
จัดการขยะแบบมีส่วนร่วมโดยหลักสูตรโรงเรียนขยะตำบลเขาหัวช้าง



บทคัดย่อ

โครงการ " จัดการขยะแบบมีส่วนร่วมโดยหลักสูตรโรงเรียนขยะตำบลเขาหัวช้าง " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 65-00232-0007 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 56,325.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดพัทลุง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

เทศบาลตำบลเขาหัวช้างตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง มีหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบทั้งหมด 12 หมู่บ้าน มีครัวเรือนทั้งหมด 2,876ครัวเรือน มีประชากรรวม 7,221 คน มีโรงเรียนรัฐ4แห่ง รพ.สต.2แห่ง มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4 ศูนย์ มีวัด 1วัด มีสำนักสงฆ์ 1 แห่ง มีตลาดนัด จำนวน 3 แห่ง มีฟาร์มปศุสัตว์4แห่ง ที่ท่องเที่ยว3จุด สภาพทั่วไปของตำบลเขาหัวช้างเป็นพื้นที่ชนบท สภาพพื้นที่เป็นที่ราบเชิงเขามีสายน้ำไหลผ่านที่สำคัญจำนวน3สายประชาชนในพื้นที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ประกอบด้วย สวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้คือทุเรียน ลองกอง มังคุด เงาะ การคมนาคมมีถนนเส้นทางหลักจำนวน2สายคือถนนบ้านนา-ป่าบอนแม่ขรี-โหล๊ะจันกระ สถานการณ์ปัญหาขยะของพื้นที่เทศบาลตำบลเขาหัวช้างในผ่านมา เทศบาลเขาหัวช้างได้วางแนวทางการจัดการขยะระดับตำบลโดยการที่เทศบาลไม่มีนโยบายจัดเก็บขยะด้วยการแจกถังขยะและบริการจัดเก็บรับขยะโดยเทศบาลจึงไม่มีข้อมูลปริมาณขยะที่เป็นตัวเลขที่ชัดเจนแต่จากการที่ลงพื้นที่พบว่าขยะส่วนใหญ่เป็นขยะอินทรีย์ที่เกิดจากภาคการเกษตรและครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ70ของปริมาณขยะทั้งหมด ส่วนขยะทั่วไปที่เกิดจากครัวเรือนมีปริมาณน้อยที่ครัวเรือนสามารถจัดการเองได้เพราะหลายปีที่ผ่านมาเทศบาลเขาหัวช้างได้ส่งเสริมให้ชุมชนเรียนรู้การจัดการขยะโดยชุมชนเองมาตลอด โดยผ่านกิจกรรมต่างๆทั้งการอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะในครัวเรือน การนำขยะไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างไม่ว่าจะเป็นการขายขยะผ่านโครงการธนาคารขยะหมู่บ้าน โครงการขยะแลกไข่ การนำขยะเปียกทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ในรูปแบบต่างๆ แต่กิจกรรมทั้งหมดที่กล่าวมานั้นขาดความต่อเนื่องและการสรุปบทเรียนและการขยายผลให้เกิดปฏิบัติการเต็มพื้นที่ในตำบลได้ดังนั้นปริมาณขยะของตำบลจึงยังคงเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขต่อไป จากการร่วมคุยกันของคณะทำงานพบว่าปัญหาขยะในตำบลที่เกิดในปัจจุบันคือ ปัญหาที่เกิดจากขยะทั่วไปที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ซ้ำได้และเมื่อไม่สามารถนำไปใช้ซ้ำได้จึงจำเป็นที่ขยะดังกล่าวต้องมีการกำจัดโดยครัวเรือนเองในขณะที่ครัวเรือนอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถกำจัดจยะได้อย่างถูกวิธียังมีอีกมากเช่นการเผาขยะจำพวกพลาสติกส่งผลให้เกิดกลิ่นและควันไฟรบกวนคนในชุมชน ขยะที่ถูกทิ้งไว้ในที่ท่องเที่ยวที่ไม่มีระบบการจัดการและการดูแลสถานที่รวมถึงพื้นที่บริเวณริมถนนเกิดจากพฤติกรรมของคนที่ใช้เส้นทางสัญจรที่ริมถนนสายหลักของเทศบาลทิ้งขยะไว้ริมทางและไม่มีคนหรือหน่วยงานที่มีการจัดเก็บ ส่งผลให้มีขยะตกค้างที่ริมทาง เมื่อฤดูฝนมาก็จะไหลลงสู่ลำคลองและลอยไปตามกระแสน้ำจนเป็นกองโตจำนวนหนึ่งก็ติดค้างกับกิ่งไม้ในลำคลองส่งผลให้ในคลองมีขยะติดค้างอยู่ส่งผลกับการท่องเที่ยวของชุมชนที่ใช้สายน้ำลำคลองในการท่องเที่ยวแบบพายเรือล่องแก่งศึกษาธรรมชาติบางส่วนลอยผ่านไปยังพื้นที่อื่นซึ่งเทศบาลเองได้มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องและจัดกิจกรรมทำความสะอาดมาอย่างต่อเนื่องรวมถึงล่าสุดเมื่อต้นปี2565ทางเทศบาลก็ได้ทำกิจกรรมปรับภูมิทัศน์สองข้างทางด้วยการปลูกต้นไม้และดูแลมาอย่างต่อเนื่องก็ตามก็ไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ และในช่วง3ปีที่ผ่านมาปัญหาขยะในตำบลเริ่มปรากฎให้เห็นชัดอีกครี้งเพราะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ทำให้มีคนนำขยะเข้าครัวเรือนมากขึ้นจากการบรรจุสิ่งของต่างๆรวมถึงการเพิ่มข้นของขยะติดเชื้อจากเชื้อไวรัส เช่นหน้ากากอนามัย ชุดตรวจ ATK ผ้าอ้อมสำเร็จ ที่มีการใช้มากขึ้นตามการระบาดของโรคในขณะที่ครัวเรือนไม่สามารถกำจัดขยะเหล่านี้ได้ ส่วนภาคราชการเองก็ไม่มีกลไกและวิธีการที่ชัดเจนว่าจะจัดการกับขยะติดเชื้อเหล่านี้อย่างไร
จากปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นคณะทำงานเห็นร่วมกันว่ายังต้องแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่องโดยการให้คนในชุมชนเห็นปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาร่วมของตำบล การแก้ปัญหาต้องเริ่มที่การสร้างจิตสำนึกของคนในชุมชนให้ร่วมมือการในการแก้ปัญหาร่วมกันและจะต้องทำกิจกรรมต่างๆที่จะส่งผลต่อการลดลงของปริมาณขยะในชุมชน คณะทำงานจึงตัดสินใจขอร่วมโครงการกับชุดโครงการ Node Flagship พัทลุงเพื่อรับการสนับสนุนงบประมาณในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คณะทำงานและขยายผลให้เกิดการเรียนรู้กับคนในชุมชนโดยการใช้หลักสูตรโรงเรียนขยะตำบลมาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และจะขยายผลไปสู่การปฏิบัติการระดับหมู่บ้านผ่านกิจกรรมโครงการที่แกนนำหมู่บ้านจะดำเนินการตามสภาพปัญหาของแต่ละหมู่บ้านด้วยการเสนอแผนงานโครงการเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณการจัดกิจกรรมจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลต่อไป ทั้งนี้ทางคณะทำงานจึงร่วมประชุมปรึกษาหารือกับคณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบลและคณะผู้บริหารของเทศบาลจึงมีความเห็นและแนวทางร่วมกันที่จะทำงานในการแก้ไขปัญหาขยะของตำบลโดยเน้นการมีส่วนร่วมของคนในตำบลทุกภาคส่วน ทั้งท้องถิ่น ท้องที่ องค์เอกชน องค์ภาครัฐที่มีอยู่ในพื้นที่ เพื่อมุ่งผลลัพธ์ให้เห็นการลดลงของปริมาณขยะในชุมชนผ่านกิจกรรมต่างที่นำเสนอมาคาดว่าผลที่เกิดจากโครงการคือ ชุมชนได้เกิดการเรียนรู้ในปัญหาของตนเอง ได้มีการปฏิบัติการต่างๆที่นำไปสู่การแก้ปัญหา การทำงานร่วมกันขององค์ต่างๆที่มีในชุมชน และที่สำคัญคือจะเป็นชุดความรู้จะถ่ายทอดและส่งต่อให้พื้นที่ได้เรียนรู้และนำไปดำเนินการต่อไปในอนาคต

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เกิดกลไกขับเคลื่อนการจัดการขยะตำบลที่เข้มแข็ง
  2. เพื่อให้นักเรียนของโรงเรียนขยะมีความรู้ความตระหนักในการจัดการขยะ
  3. เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมชุมชนที่เอื้อต่อการจัดการขยะ
  4. เพื่อให้ปริมาณขยะในชุมชนลดลง
  5. เพื่อให้เกิดความร่วมมือกับท้องถิ่นในการจัดการขยะตำบล
  6. เพื่อให้การบริหารจัดการโครงการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ค่าเปิดบัญชีธนาคาร
  2. กิจกรรมปฐมนิเทศโครงการ
  3. ประชุมคณะทำงานครั้งที่1
  4. ประชุมคณะทำงานครั้งที่2
  5. เวทีถอดบทเรียนการจัดการขยะตำบล(จัดกิจกรรมใช้เวลา1วัน)
  6. กิจกรรมจัดทำป้ายประกอบโครงการ
  7. กิจกรรมบริหารจัดการโครงการ ค่าอินเตอร์เน็ต
  8. ประชุมคณะทำงานครั้งที่3
  9. กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกับหน่วยจัดการ ครั้งที่1
  10. กิจกรรมศึกษาดูงานการสร้างโรงเรียนขยะ ณ.โรงเรียนขยะเทศบาลตำบลชะรัด อ.กงหรา จ.พัทลุง (เวลา1วัน) เปลี่ยนแปลงสถานที่ศึกษาดูงานเป็น อบต.เขาชัยสน
  11. กิจกรรมจัดทำหลักสูตรโรงเรียนขยะ(เวลา1วัน)
  12. กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกับหน่วยจัดการครั้งที่2
  13. เบิกเงินค่าเปิดบัญชี
  14. กิจกรรมสอนนักเรียนโรงเรียนขยะตำบล(กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด55คน)(ใช้เวลา1วัน)
  15. กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่1
  16. กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่2
  17. กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่3
  18. กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่4
  19. กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่5
  20. กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่6
  21. กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่7
  22. กิจกรรมเวทีระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาข้อบัญญัติท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดการขยะ
  23. กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE)1
  24. ประชุมคณะทำงานครั้งที่4
  25. กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่8
  26. กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่9
  27. กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่10
  28. กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่11
  29. กิจกรรมครูติดตามนักเรียน
  30. ประชุมคณะทำงานครั้งที่5
  31. กิจกรรมเข้าร่วมงานสมัชชาพัทลุงมหานครแห่งความสุข ครั้งที่ 2
  32. กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ครั้งที่ 2
  33. กิจกรรมปฏิบัติการลดขยะตามปัญหาของแต่ละหมู่บ้านตามแผนงานโครงการ
  34. ประชุมคณะทำงานครั้งที่6
  35. กิจกรรมคืนข้อมูลสรุปผลการดำเนินงาน
  36. กิจกรรมยกร่างธรรมนูญสุขภาพตำบลว่าด้วยการจัดการขยะ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • มีคณะทำงานที่มาจากหลายภาคส่วน

  • มีการแบ่งบทบาทหน้าที่

  • มีแผนการดำเนินงาน

  • มีการประชุมทุก 3 เดือน

  • คณะทำงานมีความรู้ในการจัดการขยะที่ถูกต้อง

  • ครัวเรือนจัดการขยะที่ถูกต้อง อย่างน้อย 60 %

  • ในโรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก,วัด จัดการขยะที่ถูกต้อง ทุกแห่ง

  • มีกติกาในด้านสิ่งแวดล้อมที่บรรจุไว้ใน “ธรรมนูญสุขภาพสุขภาพตำบลบ้านนา”

  • มีการติดตามการคัดแยกขยะในระดับครัวเรือน ในโรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/วัด ทุกเดือน

  • มีต้นแบบการจัดการขยะที่ถูกต้อง อย่างน้อย 12 แห่ง

  • ปริมาณขยะที่เทศบาลจัดเก็บลดลงร้อยละ 50

  • เกิดครัวเรือนคัดแยกขยะไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของครัวเรือนทั้งหมด

  • มีการใช้ประโยชน์จากขยะ ร้อยละ 40

  • ขยะครัวเรือนลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 70


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ค่าเปิดบัญชีธนาคาร

วันที่ 6 พฤษภาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานได้สำรองเงินเพื่อเปิดบัญชีธนาคารขอรับการสนับสนุนงบประมาณโครงการย่อย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทางโครงการย่อยได้เปิดบัญชีธนาคาร ธนาคาร ธกส. ภายใต้ชื่อบัญชี โครงการจัการขยะแบบมีส่วนร่วมโดยหลักสูตรโรงเรียนขยะตำบลเขาหัวช้าง

 

0 0

2. กิจกรรมปฐมนิเทศโครงการ

วันที่ 9 พฤษภาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ปฐมนิเทศโครงการ 08.30 - 09.00 น.        ลงทะเบียน  และคัดกรองผู้เข้าร่วมประชุมตามมาตรการป้องกันไวรัส โควิด19 09.30 - 09.15 น.        เตรียมความพร้อมกลุ่มเป้าหมาย/ แนะนำตัวทำความรู้จัก/สันทนาการ (ทีมสันทนาการ) 09.15 - 09.30 น.        ชี้แจงวัตถุประสงค์และเป้าหมายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสู่
Phattahlung  Green  City คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โดย นายเสณี  จ่าวิสูตร ผู้ประสานงาน Node Flagship จังหวัดพัทลุง 09.30 - 10.30 น.        แนวทางการบริหารจัดการ การเงิน และการจัดการเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดย นายไพฑูรย์ ทองสม  ผู้จัดการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง 10.30 - 10.45 น.        การจัดทำรายงานผ่านระบบ Happy Network
โดย นายอรุณ  ศรีสุวรรณ 10.45 - 12.00 น.        ปฏิบัติการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ Happy Network  และทดลองจัดทำรายงานผ่านระบบ
Happy Network
12.00 - 13.00 น.        พัก รับประทานอาหารเที่ยง 13.00 - 13.30 น.        ความสำคัญของการออกแบบจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดผลลัพธ์
โดย นางสาวเบญจวรรณ  เพ็งหนู ทีมสนับสนุนวิชาการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง 13.30 - 14.30 น.        แบ่งกลุ่มย่อยพื้นที่โครงการย่อย/พี่เลี้ยง ออกแบบการเก็บข้อมูลตัวชี้วัด กลุ่มที่ 1 ประเด็นการจัดการขยะ
กลุ่มที่ 2 ประเด็นการจัดการน้ำเสีย กลุ่มที่ 3 ประเด็นการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง กลุ่มที่ 4 ประเด็นการผลิตพืชอาหารปลอดภัยในสวนยางพารา กลุ่มที่ 5 ประเด็นนาปลอดภัย 14.30 - 15.00 น.        การลงนามสัญญาข้อรับทุน
15.00 - 15.30 น.        สรุปและประมวลผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
15.30 น. ปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต มีคณะทำงานโครงการร่วมกิจกรรมจำนวน3คน ผลลัพธ์ คณะทำงานที่ร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้การบริหารจัดการโครงการ,การจัดเก็บเอกสารการเบิกจ่ายเงินโครงการ,กระบวนการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆภายในโครงการ

 

3 0

3. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1

วันที่ 11 กรกฎาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 - มีการแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมโดยหลักสูตรโรงเรียนขยะตำบลเขาหัวช้าง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดกลไกคณะทำงาที่มีตัวแทนจากท้องถิ่น รพ.สต. แกนนำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น อสม. โรงเรียน มีการแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมโดยหลักสูตรโรงเรียนขยะตำบลเขาหัวช้าง ประกอบด้วย 1 นายจุติพล ช่วยราชการ นายกเทศมนตรีตำบลเขาหัวช้าง ประธานคณะทำงาน/ผู้รับผิดชอบโครงการ 2 นางพัชรี  ทองพันชั่ง ปลัดเทศบาลตำบลเขาหัวช้าง รองประธานคณะทำงาน
3 นายบุคอรี พิศแลงาม เลขานุการนายกเทศมนตรี รองประธานคณะทำงาน 4 นายอุดม  การะนันต์ หัวหน้าสำนักปลัด นักวิชาการหลักผู้รับผิดชอบโครงการ 5 นายวินิตร์  พลนุ้ย นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิชาการหลักผู้รับผิดชอบโครงการ 6 นางสาวดูลียา จงกลบาล เจ้าพนักงานสาธารณสุข เลขานุการคณะทำงาน/ฝ่ายการเงินและการบัญชี 7 นางสุณิสา สมันนุ้ย พนักงานเทศบาล ผู้ช่วยเลขานุการคณะทำงาน/ฝ่ายการเงินและการบัญชี 8 นายอนุพงค์ มณีสว่าง ผู้ใหญ่บ้านหมูที่ 1 คณะทำงาน 9 นายดลมะหนับ เอียดฤทธิ์ ผู้ใหญ่บ้านหมูที่ 2 คณะทำงาน 10 นายทวีเกียรติ คุ่มเคี่ยม ผู้ใหญ่บ้านหมูที่ 3 คณะทำงาน 11 นายทนงศักดิ์ รุ่งเรือง ผู้ใหญ่บ้านหมูที่ 4 คณะทำงาน 12 นายกฤษณะ  ชนะสิทธิ์ ผู้ใหญ่บ้านหมูที่ 5 คณะทำงาน 13 นายเติม เกื้อคลัง ผู้ใหญ่บ้านหมูที่ 6 คณะทำงาน 14 นายวิชัย นุ้ยผอม ผู้ใหญ่บ้านหมูที่ 7 คณะทำงาน 15 นายดำรง แสงเดือน ผู้ใหญ่บ้านหมูที่ 8 คณะทำงาน 16 นายเจริญสิงห์ ชนะสิทธิ์ ผู้ใหญ่บ้านหมูที่ 9 คณะทำงาน 17 นายอำนาจ สมเพชร ผู้ใหญ่บ้านหมูที่ 10 คณะทำงาน 18 นายวิทร สุขเกษม ผู้ใหญ่บ้านหมูที่ 11 คณะทำงาน 19 นายราเชษฐ์ ดำเม็ง กำนันตำบลตะโหมด คณะทำงาน 20 นางประทุม สยามพันธ์ อสม. คณะทำงาน 21 นายประเสริฐ ดำหนู อสม. คณะทำงาน 22 นางสาวศิริธร จันทร์หอม อสม. คณะทำงาน 23 นางรจนา ชนะสิทธิ์ คณะกรรมการหมู่บ้าน ม.9 คณะทำงาน 24 นางรัตนา จันทรักษ์ อสม. คณะทำงาน 25 นายวิจิตร หนูวุ่น อสม. คณะทำงาน 26 นางสาววิชุตา เหล็มปาน ครู ศพด.เทศบาลตำบลเขาหัวช้าง คณะทำงาน 27 นางชาริณี บุตตะ ครู ศพด.บ้านควนอินนอโม คณะทำงาน 28 นางสาวนุชรี พิศแลงาม ครู ศพด.มัสยิดสมบูรณ์ศาสน์ (บ้านโหล๊ะเหรียง) คณะทำงาน 29 นางสาวรีฮานา สง่าบ้านโคก ผู้อำนวยการโรงเรียนมุสลิมวิทยา มูลนิธิ คณะทำงาน 30 นายสมใจ เศษขาว ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหัวช้าง คณะทำงาน 31 นายปิรยุทธ ทับทุ่ย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านควนอินนอโม คณะทำงาน 32 นายพงศา แสงเกื้อหนุน ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดโหล๊ะจันกระ คณะทำงาน 33 นายอนุชิต แหละหมัน เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงานรักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองนุ้ย คณะที่ปรึกษาโครงการ 34 นายมูหัมหมัด ยาชะรัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนอินนอโม คณะที่ปรึกษาโครงการ 35 นางจารี คุ่มเคี่ยม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะโหมด คณะที่ปรึกษาโครงการ 36 นางพรรณี ขุนหลำ ผู้อำนวยการกองคลัง คณะที่ปรึกษาโครงการ 37 นายอนุชา แวววรรณจิต ประธานสภาเทศบาลตำบลเขาหัวช้าง คณะที่ปรึกษาโครงการ

 

10 0

4. กิจกรรมจัดทำป้ายประกอบโครงการ

วันที่ 23 สิงหาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำป้ายประกอบโครงการ จำนวน 3 ป้าย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ป้ายประกอบโครงการจำนวน 3 ป้าย ดังนี้ 1. ป้ายชื่อโครงการ จำนวน 1 ป้าย 2. ป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำนวน 2 ป้าย

 

0 0

5. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2

วันที่ 30 สิงหาคม 2565 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 เพื่อวางแผนการทำงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต
มีกรรมการร่วมประชุมจำนวน 15 คน ผลลัพธ์ที่เกิด สรุปผลการประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 1. มีการปรับแผนการดำเนินงานตามสถานการณ์สถานการณ์ ที่ทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมตามแผนงานที่วางไว้ได้ในช่วงเวลาที่กำหนด 2. การประสานติดต่อขอศึกษาดูงาน ณ.โรงเรียนขยะเทศบาลตำบลชะรัด ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบหลักฯมีหน้าที่และภารกิจใกล้สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวนมาก 3. มติที่ประชุมเห็นควรให้เลื่อนการดำเนินแผนงานโครงการออกไปก่อน และนัดคณะทำงานประชุมใหม่อีกครั้งเพื่อปรับเปลี่ยนแผนและหาแนวทางที่จะให้โครงการ

 

10 0

6. เวทีถอดบทเรียนการจัดการขยะตำบล(จัดกิจกรรมใช้เวลา1วัน)

วันที่ 16 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวทีถอดบทเรียนการจัดการขยะตำบล 1.เชิญผู้นำ ผู้นำองค์กร ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 30 คน ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อถอดบทเรียนการจัดการขยะที่ผ่านมา 2.กำหนดแนวทางและรูปแบบการจัดการจัดการขยะตำบลในอนาคต 3.สร้างแผนแนวทางการทำงานร่วมกันระดับตำบลและค้นหาครูต้นแบบมาเป็นครูในโรงเรียน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 33 คน ผลลัพธ์ 1.ได้ข้อมูลขยะระดับตำบลและข้อมูลพฤติกรรมการจัดการขยะของคนในตำบล 2.ได้แกนนำที่เป็นผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน 3.แกนนำและคณะทำงานโครงการได้เรียนรู้แนวทางการดำเนินโครงการและเรียนรู้การจัดการขยะระดับตำบลที่ผ่านมา

 

30 0

7. กิจกรรมบริหารจัดการโครงการ ค่าอินเตอร์เน็ต

วันที่ 16 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์

 

0 0

8. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3

วันที่ 27 ตุลาคม 2565 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมวางแผนการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการฯและติดต่อสถานที่ศึกษาดูงาน เพื่อสร้างหลักสูตรโรงเรียนขยะตำบลเขาหัวช้าง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะเชิญชวนมาเป็นแกนนำในการจัดการขยะเพิ่มเติม ได้แก่ กลุ่ม อสม. เยาวชนในพื้นที่ และผู้นำหมู่บ้านในกลุ่มต่างๆ และอยากให้มีการกำหนดรายชื่อแกนนำที่จะช่วยขับเคลื่อนในหมู่บ้านเป็นตัวบุคคลชัดเจนมากยิ่งขึ้น

มีการติดต่อสถานที่ศึกษาดูงานไปยังเทศบาลตำบลชะรัด แต่เนื่องจากทางเทศบาลตำบลชะรัดมีภารกิจเป็นจำนวนมากไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะให้ทางเทศบาลตำบลเขาหัวช้าง เข้าไปศึกษาดูงานได้เมื่อไหร่ ทางเทศบาลชะรัดแนะนำให้ไปดูงานที่ อบต.เขาชัยสน แทน ทางคณะทำงานจะทำการประสานงานไปยัง อบต.เขาชัยสน ต่อไป

 

10 0

9. กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกับหน่วยจัดการ ครั้งที่1

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 คณะทำงานโครงการฯ เข้าร่วมประชุม ชุดโครงการ Nodeflagship พัทลุง นำทีมโดย นายไพฑูรย์ ทองสม ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ชักชวนพื้นที่ชุมชนที่ได้รับสนับสนุนการดำเนินโครงการจำนวน 33 โครงการ จาก 3 ประเด็นยุทธศาสตร์ (การจัดการทรัพยากรชายฝั่ง การจัดการสิ่งแวดล้อม เกษตรปลอดภัย) พร้อมด้วยส่วนราชการ องค์กรที่เป็นภาคีทำงานเชิงยุทธศาสตร์ ทีมประเมินโครงการจาก ม.ทักษิณ และทีมพี่เลี้ยง จำนวน 127 คน มาร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินโครงการเชิงผลลัพธ์ ด้วยเครื่องมือ การประเมินผลการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ที่โรงแรมลำปำรีสอร์ท อ.เมือง จ.พัทลุง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปผลจากการดำเนินโครงการในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงเชิงผลลัพธ์ต่างๆ ตามบันไดผลลัพธ์จากการนำเสนอข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของพื้นที่ดำเนินการ เพื่อร่วมกันขยับงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการในช่วงเวลาที่เหลืออยู่อยู่ของโครงการฯให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงผลลัพธ์ ให้เกิดรูปแบบการทำงานที่เกิดผลลัพธ์พร้อมจะส่งต่อความรู้และขยายผลการทำงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดพัทลุงและเป็นการติดตามประเมินผลเพื่อการสร้างการเรียนรู้และพัฒนาของโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยจัดการที่มีจุดเน้นสำคัญทางยุทธศาสตร์จังหวัดพัทลุง ต่อไป

 

4 0

10. กิจกรรมศึกษาดูงานการสร้างโรงเรียนขยะ ณ.โรงเรียนขยะเทศบาลตำบลชะรัด อ.กงหรา จ.พัทลุง (เวลา1วัน) เปลี่ยนแปลงสถานที่ศึกษาดูงานเป็น อบต.เขาชัยสน

วันที่ 7 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ศึกษาดูงานการสร้างโรงเรียนขยะ การจัดการขยะประเภทต่างๆ ที่ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาชัยสน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้รับความรู้เพื่อนำมาสร้างหลักสูตรการจัดการขยะโรงเรียนขยะตำบลเขาหัวช้าง

 

14 0

11. กิจกรรมจัดทำหลักสูตรโรงเรียนขยะ(เวลา1วัน)

วันที่ 27 มีนาคม 2566 เวลา 09:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำหลักสูตรโรงเรียนขยะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดหลักสูตรการจัดการคัดแยกขยะ 4 ประเภท เพื่อนำไปถ่ายทอดให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่หมู่บ้านต่างๆ 1.ขยะเปียกหรือขยะอินทรีย์ จัดการโดยการจัดทำถังขยะเปียก , ทิ้งใต้โคนต้นไม้เพื่อใช้เป็นปุ๋ยบำรุงพืช ,เป็นอาหารใช้เลี้ยงสัตว์ ,จัดทำปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพ 2.ขยะรีไซเคิล จัดการแยกประเภทขายได้นำไปขาย โดยโรงเรียนขยะเป็นผู้ประสานงานพ่อค้าคนกลางมารับซื้อ ,เน้นสร้างจิตสำนึกชุมชนในการใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ 3.ขยะอันตราย จัดการโดย ทต.เป็นผู้ดำเนินการลงจัดเก็บตามหมู่บ้านเพื่อนำส่ง อบจ.พัทลุง ทำลายต่อไป 4.ขยะทั่วไป จัดการโดยการแนะนำวิธีการเผา/ฝังกลบ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น

 

20 0

12. กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกับหน่วยจัดการครั้งที่ 2

วันที่ 29 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เข้าร่วมกิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกับหน่วยจัดการครั้งที่ 2

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกับหน่วยจัดการครั้งที่ 2

 

4 0

13. เบิกเงินค่าเปิดบัญชี

วันที่ 30 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เบิกเงินคืน 100 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ดำเนินการเบิกเงินคืนเรียบร้อยแล้ว 100 บาท

 

0 0

14. กิจกรรมสอนนักเรียนโรงเรียนขยะตำบล(กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด55คน)(ใช้เวลา1วัน)

วันที่ 3 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • เชิญผู้นำชุมชน ผู้นำองค์กร อสม. จากทุกหมู่บ้าน มาเรียนตามหลักสูตรที่ออกแบบ
  • ยกระดับนักเรียนเป็นครูขยายผล เพื่อขยายผลไปสอนในหมู่บ้านตัวเอง
  • ให้ครูขยายผลทำแผนการสอนของแต่ละหมู่บ้าน
  • ให้ครูขยายผลคัดเลือกนักเรียน 1 คนต่อ 10 คน จะได้นักเรียนหมู่บ้านละ 50 คน รวมทั้งตำบลจะได้นักเรียน 550 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • มีการจัดการเรียนการสอนตามแผนการสอน (คัดแยก กำจัด ใช้ประโยชน์)
  • มีแผนการจัดการขยะครัวเรือน
  • นักเรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมขยะของครัวเรือนได้
  • นักเรียนของโรงเรียนขยะสามารถถ่ายถอดความรู้ให้ประชาชนได้ไม่น้อยกว่า 10 คน ต่อ นักเรียน 1 คน ได้

 

55 0

15. กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่1

วันที่ 11 เมษายน 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ลงพื้นที่ดำเนินการกิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่ 1 หมู่ที่ 2 บ้านหัวช้าง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • มีแผนการจัดการขยะรายครัวเรือน
  • ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความตระหนักในการจัดการขยะ

 

50 0

16. กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่2

วันที่ 12 เมษายน 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ลงพื้นที่ดำเนินการกิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่ 2 หมู่ที่ 5 บ้านคลองนุ้ย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • มีแผนการจัดการขยะรายครัวเรือน
  • ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความตระหนักในการจัดการขยะ

 

50 0

17. กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่3

วันที่ 18 เมษายน 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ลงพื้นที่ดำเนินการกิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่ 3 หมู่ที่ 10 บ้านทุ่งสบาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • มีแผนการจัดการขยะรายครัวเรือน
  • ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความตระหนักในการจัดการขยะ

 

50 0

18. กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่4

วันที่ 19 เมษายน 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • ลงพื้นที่ดำเนินการกิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่ 4 หมู่ที่ 8 บ้านโหล๊ะเหรียง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • มีแผนการจัดการขยะรายครัวเรือน
  • ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความตระหนักในการจัดการขยะ

 

50 0

19. กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่5

วันที่ 19 เมษายน 2566 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ลงพื้นที่ดำเนินการกิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่ 5 หมู่ที่ 6 บ้านโหล๊ะจันกระ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • มีแผนการจัดการขยะรายครัวเรือน
  • ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความตระหนักในการจัดการขยะ

 

50 0

20. กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่6

วันที่ 20 เมษายน 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ลงพื้นที่ดำเนินการกิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่ 6 หมู่ที่ 7 บ้านควนอินนอโม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • มีแผนการจัดการขยะรายครัวเรือน
  • ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความตระหนักในการจัดการขยะ

 

50 0

21. กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่7

วันที่ 20 เมษายน 2566 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ลงพื้นที่ดำเนินการกิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่ 7 หมู่ที่ 1บ้านทุ่งโพธิ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • มีแผนการจัดการขยะรายครัวเรือน
  • ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความตระหนักในการจัดการขยะ

 

50 0

22. กิจกรรมเวทีระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาข้อบัญญัติท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดการขยะ

วันที่ 23 พฤษภาคม 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาข้อบัญญัติท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดการขยะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดการระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาข้อบัญญัติท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดการขยะ

 

2 0

23. กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 1

วันที่ 4 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 1

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 1

 

25 0

24. กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่8

วันที่ 5 สิงหาคม 2566 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ลงพื้นที่ดำเนินการกิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่ 8 หมู่ที่ 9 บ้านป่าพงค์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • มีแผนการจัดการขยะรายครัวเรือน
  • ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความตระหนักในการจัดการขยะ

 

50 0

25. ประชุมคณะทำงานครั้งที่4

วันที่ 5 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สรุปผลการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีการดำเนินการโครงการเรียบร้อยแล้ว ทั้งหมด 5 กิจกรรม จากกิจกรรมทั้งหมด 11 กิจกรรม และกำลังดำเนินการ กิจกรรมที่ 6 ไปแล้ว จำนวน 8 ครั้ง จากทั้งหมด 11 ครั้ง

 

10 0

26. กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่9

วันที่ 8 สิงหาคม 2566 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ลงพื้นที่ดำเนินการกิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่ 9 หมู่ที่ 4 บ้านโพธิ์ หมู่ 3 บ้านตะโหมด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • มีแผนการจัดการขยะรายครัวเรือน
  • ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความตระหนักในการจัดการขยะ

 

50 0

27. กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่10

วันที่ 10 สิงหาคม 2566 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ลงพื้นที่ดำเนินการกิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่ 10 หมู่ที่ 12 บ้านในโป๊ะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • มีแผนการจัดการขยะรายครัวเรือน
  • ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความตระหนักในการจัดการขยะ

 

50 0

28. กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่11

วันที่ 11 สิงหาคม 2566 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ลงพื้นที่ดำเนินการกิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่ 11 หมู่ที่ 11 บ้านนาส้อง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • มีแผนการจัดการขยะรายครัวเรือน
  • ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความตระหนักในการจัดการขยะ

 

50 0

29. กิจกรรมครูติดตามนักเรียน

วันที่ 14 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • ครูต้นแบบจากโรงเรียนลงติดตามความสามารถครูขยายผลในหมู่บ้าน 11 หมู่บ้าน
  • ครูสรุปและประเมินนักเรียนที่ทำหน้าที่ครูขยายผล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • มีครูต้นแบบจากโรงเรียนลงติดตามความสามารถครูขยายผลในหมู่บ้าน 11 หมู่บ้าน
  • ครูสรุปและประเมินนักเรียนที่ทำหน้าที่ครูขยายผล พบว่า เริ่มมีการดำเนินการจัดการขยะประเภทขยะเปียกแล้ว มากกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่

 

0 0

30. ประชุมคณะทำงานครั้งที่5

วันที่ 14 สิงหาคม 2566 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ติดตามผลการดำเนินงานโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การดำเนินโครงการเป็นไปตามแผนที่วางไว้

 

10 0

31. กิจกรรมเข้าร่วมงานสมัชชาพัทลุงมหานครแห่งความสุข ครั้งที่ 2

วันที่ 15 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมเข้าร่วมงานสมัชชาพัทลุงมหานครแห่งความสุข ครั้งที่ 2

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับผิดชอบโครงการมีการเข้าร่วมงานสมัชชาพัทลุงมหานครแห่งความสุข ครั้งที่ 2

 

3 0

32. กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ครั้งที่ 2

วันที่ 16 สิงหาคม 2566 เวลา 09:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE)2

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปข้อมูลที่ได้แต่ละหมู่บ้าน

หมู่ที่ 1 บ้านทุ่งโพธิ์ 1. ขยะเปียก (เศษผัก เศษอาหาร เศษผลไม้) - จัดหาถังขยะมาเจาะก้นถัง+ฝาปิดนำไปฝังที่ดิน - นำไปเป็นอาหารสัตว์ ทำปุ๋ยหมัก 2. ขยะรีไซเคิล (ขวดน้ำ ถุงพลาสติก ถุงกระดาษ) - คัดแยกขยะแต่ละประเภท - สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่นประดิษฐ์ 3. ขยะทั่วไป (ขวด เศษผ้า ถุงพลาสติก ถุงกระดาษ) - สามารถนำไปแยกทีละประเภท + ฝัง - นำไปขาย 4. ขยะอันตราย (หลอดไฟ กระป๋องยาฆ่าแมลง) - คัดแยกแล้วทำไปทิ้ง ณ จุดทิ้งขยะอันตราย (ถังขยะตั้งไว้ที่บ้านผู้ใหญ่จอม) สถานที่รับซื้อ : ให้ไปซื้อศาลาเอนกประสงค์ หมู่ 1

หมู่ที่ 2 บ้านหัวช้าง แนวโน้มในอนาคตกับการการจัดการเรื่องขยะ ขยะมี 4 ชนิด 1. ขยะเปียก (เปลือกผลไม้ เศษอาหาร) - ฝังกรบ
- ทำน้ำหมัก
- รดน้ำต้นไม้ - เลี้ยงสัตว์ 2. ขยะรีไซเกิล (ขวดน้ำ กระป๋องโค๊ก) - จำหน่าย (ขาย) 3. ขยะทั่วไป (ถุงพลาสติก) - เผาทำลาย - ฝังกลบหลุม 4. ขยะอันตราย (หลอดไฟ ขวดยาฆ่าแมลง กระป๋องสเปรย์) - ใส่ถังขยะของหมู่บ้าน (รอเทศบาลมาเก็บ) หมายเหตุ : ไม่มีถังขยะ ต้องการตั้งตั้งถึงขยะสถานที่สหกรณ์บ้านหัวช้าง สถานที่รับซื้อขยะ มัสยิดบ้านหัวช้าง วันอาทิตย์ สัปดาห์ที่ 1 ของเดือน


หมู่ที่ 3 บ้านสายควน 1. ขยะเปียก (เศษผัก เศษอาหาร เศษผลไม้) - จัดหาถังขยะมาเจาะก้นถัง+ฝาปิดนำไปฝังที่ดิน - นำไปเป็นอาหารสัตว์ ทำปุ๋ยหมัก 2. ขยะรีไซเคิล (ขวดน้ำ ถุงพลาสติก ถุงกระดาษ) - คัดแยกขยะแต่ละประเภท - สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่นประดิษฐ์ 3. ขยะทั่วไป (ขวด เศษผ้า ถุงพลาสติก ถุงกระดาษ) - สามารถนำไปแยกทีละประเภท + ฝัง - นำไปขาย 4. ขยะอันตราย (หลอดไฟ กระป๋องยาฆ่าแมลง) - คัดแยกแล้วทำไปทิ้ง ณ จุดทิ้งขยะอันตราย (ถังขยะตั้งไว้ที่บ้านผู้ใหญ่จอม) สถานที่รับซื้อ : มีการรับซื้อในหมู่บ้านเป็นประจำ (ติดต่อบ้านผู้ใหญ่เกียรติ)     ถังขยะอันตรายหมู่ที่ 3 ตรงข้ามศาลาหมู่บ้าน

หมู่ที่ 4 บ้านไร่ตก 1. ขยะเปียก (เศษอาหาร ) - ทำน้ำหมัก - ถังขยะเปียก (ใต้ต้นไม้) - ขุดหลุมใส่ขยะเปียก - ขยะบางชนิด ใช้เป็นอาหารสัตว์ 2. ขยะรีไซเกิล
- ถุงพลาสติก - ล้างนำมาใช้ใหม่ - ประดิษฐ์สิ่งต่างๆเช่น ดอกไม้ ชุด - ขวดพลาสติก - ขาย (สร้างมูลค่าเพิ่ม) ไบโอดีเซล - ทำกระถางต้นไม้ - ขวดแก้ว – สร้างมูลค่าเพิ่ม (ขาย) – นำมาใช้ใหม่ 3. ขยะทั่วไป - เผาทิ้ง 4. ขยะอันตราย - เก็บใส่ภาชนะเพื่อรอหน่วยงานของรัฐมารับไปกำจัด หมายเหตุ : การรับซื้อมีแม่ค้าประจำไปรับซื้อตลอด (บ้านโพธิ์)

หมู่ที่ 5 บ้านคลองนุ้ย ขยะมี 4 ประเภท คัดแยก 1. ขยะเปียก
- ใส่ถังขยะรักษ์โลก
- ทำปุ๋ยหมัก - ทำน้ำหมัก - ใส่โคนต้นไม้ - เลี้ยงสัตว์ 2. ขยะทั่วไป - กำจัดโดยการเผา เช่น ถุงพลาสติก 3. ขยะอันตราย
- หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย กระป๋องสเปรย์ แบตเตอรี่ (ฝากหน่วยงานของรัฐกำจัด) 4. ขยะรีไซเคิล - นำมาขาย เช่นขวดพลาสติก ขวดกระป๋อง หมายเหตุ : มีแม่ค้ามารับซื้อ ที่ร้านค้า กะพริ้งทุกวันที่ 10 ของเดือน     : ไม่มีถังขยะอันตราย

หมู่ที่ 6 บ้านโหล๊ะจันกระ 5. ขยะเปียก (เศษอาหาร ) - ทำน้ำหมัก - ถังขยะเปียก (ใต้ต้นไม้) - ขุดหลุมใส่ขยะเปียก - ขยะบางชนิด ใช้เป็นอาหารสัตว์ 6. ขยะรีไซเกิล
- ถุงพลาสติก - ล้างนำมาใช้ใหม่ - ประดิษฐ์สิ่งต่างๆเช่น ดอกไม้ ชุด - ขวดพลาสติก - ขาย (สร้างมูลค่าเพิ่ม) ไบโอดีเซล - ทำกระถางต้นไม้ - ขวดแก้ว – สร้างมูลค่าเพิ่ม (ขาย) – นำมาใช้ใหม่ 7. ขยะทั่วไป - เผาทิ้ง 8. ขยะอันตราย - เก็บใส่ภาชนะเพื่อรอหน่วยงานของรัฐมารับไปกำจัด หมายเหตุ : ให้ไปซื้อที่ศาลาหมู่บ้าน ทุกวันที่ 10 ของเดือน     : ถังขยะอันตรายของหมู่ที่ 6 ขอให้เอาไปตั้งที่บ้านผู้ใหญ่บ้านโหล๊ะจันกระ

หมู่ที่ 7 บ้านควนอินนอโม 1. ขยะเปียก
- เป็นอาหารให้สัตว์เลี้ยง เช่น เศษอาหาร - ทำบ่อขยะ - ทำปุ๋ยหมัก 2. ขยะรีไซเคิล - แยกขยะก่อนจำหน่าย - งานประดิษฐ์ 3. ขยะอันตราย - แยกออกจากขยะทั่วไป 4. ขยะทั่วไป - ฝังกลบในดินโดยการอัดแน่น หมายเหตุ : สถานที่รับซื้อขยะ
- ศาลาประชาคม มัสยิดบ้านควนอินนอโม ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของทุกเดือน - ไม่มีถังขยะสีแดง

หมู่ที่ 8 บ้านโหล๊ะเหรียง 1. ขยะเปียก
- เป็นอาหารให้สัตว์เลี้ยง เช่น เศษอาหาร - ทำบ่อขยะ - ทำปุ๋ยหมัก 2. ขยะรีไซเคิล - แยกขยะก่อนจำหน่าย - งานประดิษฐ์ 3. ขยะอันตราย - แยกออกจากขยะทั่วไป 4. ขยะทั่วไป - ฝังกลบในดินโดยการอัดแน่น หมายเหตุ : สถานที่รับซื้อขยะ
- ศาลาประชาคม มัสยิดบ้านโหล๊ะเหรียง ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของทุกเดือน - ไม่มีถังขยะสีแดง

หมู่ที่ 9 บ้านป่าพงษ์ • ขยะเปียก (เศษอาหาร ) - ทำน้ำหมัก - ถังขยะเปียก (ใต้ต้นไม้) - ขุดหลุมใส่ขยะเปียก - ขยะบางชนิด ใช้เป็นอาหารสัตว์ • ขยะรีไซเกิล
- ถุงพลาสติก - ล้างนำมาใช้ใหม่ - ประดิษฐ์สิ่งต่างๆเช่น ดอกไม้ ชุด - ขวดพลาสติก - ขาย (สร้างมูลค่าเพิ่ม) ไบโอดีเซล - ทำกระถางต้นไม้ - ขวดแก้ว – สร้างมูลค่าเพิ่ม (ขาย) – นำมาใช้ใหม่ • ขยะทั่วไป - เผาทิ้ง • ขยะอันตราย - เก็บใส่ภาชนะเพื่อรอหน่วยงานของรัฐมารับไปกำจัด หมายเหตุ : บ้านป่าพงษ์ให้รถขยะไปซื้อที่ศาลาหมู่บ้าน ทุกวันที่ 15 ของเดือน     : ถังขยะอันตรายของหมู่ 9 ขอให้เอาไปตั้งที่ บ้านผู้ช่วยปราณี ท่าช้าง

หมู่ที่ 10 บ้านทุ่งสบาย 1. ขยะเปียก
- แยกขยะให้เป็นกิจจะลักษณะ เช่น ถังขยะเปียก ปุ๋ยใส่ต้นไม้ เผาถ่าน - มุ่งเน้นการมีส่วนร่วม (ทำปุ๋ยหมัก) - ทำน้ำหมัก 2. ขยะอันตราย
- ถังขยะที่หน่วยงานของรัฐเอาไปวางตั้งไว้ให้ ณ ศาลาหมู่บ้าน 3. ขยะรีไซเคิล - มุ่งเน้นการแยกขยะเพื่อ ขาย - รวมกลุ่มเพื่อจัดการขยะให้ดีขึ้น 4. ขยะทั่วไป
- ปุ๋ย - เผา - ฝัง หมายเหตุ : แม่ค้ามารับซื้อ เสาร์ - อาทิตย์ สุดท้ายของเดือน ที่มัสยิด และ ศาลาหมู่บ้าน

หมู่ที่ 11 บ้านนาส้อง แยกขยะก่อนอันดับแรก - ขยะอินทรีย์ขยะย่อยสลายง่ายนำมาทำน้ำหมักจุรินทรีย์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพใช้บำรุงดินบำรุงต้นไม้ - ขยะรีไซเคิล แยกนำมาขาย เช่น ขวดพลาสติก เหล็ก ขวดแก้ว นำไปขายเป็นรายได้อีกทาง - ขยะอันตราย เช่น หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย นำไปทิ้งในถังขยะสีแดงที่ทางหน่วยงานของรัฐจัดเตรียมไว้ให้ - ขยะทั่วไป ถุงพลาสติก โฟม ล้างแล้วนำมาใช้ใหม่ ลดการใช้โดยการรณรงค์ให้ใช้ถุงผ้า หรือใช้วัสดุที่ย่อยสลายเช่น ใบตองแทนโฟม

หมู่ที่ 12 บ้านตะโหมด (บ้านนา) ขยะมี 4 ประเภท 1. ขยะเปียก - ฝังกลบ - ทำน้ำหมัก 2. ขยะรีไซเคิล - นำไปขาย 3. ขยะอินทรีย์ - นำมาเป็นปุ๋ย 4. ขยะอันตราย - เก็บไปทิ้งถังขยะสีแดงที่หน่วยงานของรัฐจัดเตรียมไว้ให้ หมายเหตุ : แม่ค้ามารับซื้อ ที่หมู่ 9 บ้านป่าพงษ์ ทุกวันที่ 15 ของเดือน     : ถังขยะอันตรายตั้งที่ ศาลาหมู่ที่ 12 (บ้านนา)

 

60 0

33. กิจกรรมปฏิบัติการลดขยะตามปัญหาของแต่ละหมู่บ้านตามแผนงานโครงการ

วันที่ 18 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ปฏิบัติการลดขยะตามปัญหาของแต่ละหมู่บ้านตามแผนงานโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีการปฏิบัติการลดขยะตามปัญหาของแต่ละหมู่บ้านตามแผนงานโครงการ

 

0 0

34. ประชุมคณะทำงานครั้งที่6

วันที่ 21 สิงหาคม 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานครั้งที่6

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีการประชุมคณะทำงานครั้งที่ 6 เพื่อสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
ผลปรากฏว่ามีการดำเนินงานตามกิจกรรมภายในโครงการที่ตั้งไว้ และคาดว่าจะสามารถดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จได้ตามกรอบกำหนดเวลาของโครงการ คงเหลือเพียง 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 10 กิจกรรมคืนข้อมูลและสรุปผลการดำเนินงาน และกิจกรรมที่ 11 ยกร่างธรรมนูญสุขภาพตำบลว่าด้วยการจัดการขยะ

 

10 0

35. กิจกรรมคืนข้อมูลสรุปผลการดำเนินงาน

วันที่ 24 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมคืนข้อมูลสรุปผลการดำเนินงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีการคืนข้อมูลสรุปผลการดำเนินงานจากการดำเนินโครงการแก่ชุมชน เพื่อนำไปดำเนินการปรับปรุง ประยุกต์ และพัฒนาการจัดการขยะในชุมชน ต่อไป

 

0 0

36. กิจกรรมยกร่างธรรมนูญสุขภาพตำบลว่าด้วยการจัดการขยะ

วันที่ 28 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมยกร่างธรรมนูญสุขภาพตำบลว่าด้วยการจัดการขยะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ไม่ได้จัดกิจกรรม

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้เกิดกลไกขับเคลื่อนการจัดการขยะตำบลที่เข้มแข็ง
ตัวชี้วัด : 1.มีกลไกคณะทำงานที่มีตัวแทนจากท้องถิ่น รพ.สต.แกนนำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น อสม. โรงเรียน 2.มีข้อมูลขยะชุมชนและข้อมูลพฤติกรรมการจัดการขยะ 3.มีกลไกนักเรียนแกนนำที่เป็นผู้นำท้องถิ่น ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน 4.มีโรงเรียนขยะตำบลที่มีหลักสูตรการสอน 5.มีครูขยะตำบลไม่น้อยกว่า 10 คน 6.มีการจัดทำแผนการสอนและกิจกรรมการสอนที่สอดคล้องกับบริบทชุมชน
0.00

1.คณะทำงานเป็นคณะกรรมการที่มีการทำงานกันมาอย่างต่อเนื่องจึงง่ายในกระบวนการก่อตัวและการจัดการโครงการ 2.ข้อมูลพฤติกรรมการจัดการขยะ ที่มาของขยะเกิดจากการนำเข้าขยะเข้าชุมชนเนื่องจากความจำเป็นในการใช้ชีวิตประจำวัน ขยะส่วนใหญเป็นขยะอินทรีย์และขยะทั่วไป การจัดการเบื้องต้นในชุมชนมีการเรียนรู้การจัดการมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการคัดแยกตามประเภทขยะ การกำจัดขยะทั่วไปด้วยการเผา ขยะอินทรีย์จัดการด้วยการให้ย่อยสลายไปตามธรรมชาติ การนำไปใช้ประโยชน์โดยการขายขยะ อีกทั้งกองทุนสุขภาพตำบลก็ได้สนับสนุนงบประมาณให้กับชุมชนในการทำโครงการและกิจกรรมต่างๆในพื้นที่เรื่องเรื่องการจัดการขยะมาอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน

2 เพื่อให้นักเรียนของโรงเรียนขยะมีความรู้ความตระหนักในการจัดการขยะ
ตัวชี้วัด : 1.มีการจัดการเรียนการสอนตามแผนการสอน(คัดแยก กำจัด ใช้ประโยชน์ 2.มีแผนการจัดการขยะรายครัวเรือน 3.มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง 4.นักเรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมขยะของครัวเรือนในชุมชนของนักเรียน 5.นักเรียนของโรงเรียนขยะสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับประชาชนได้ไม่น้อยกว่า 10 คนต่อนักเรียน 1คน
0.00

 

3 เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมชุมชนที่เอื้อต่อการจัดการขยะ
ตัวชี้วัด : 1.มาตรการของชุมชนเพื่อการจัดการขยะ 2.มีใช้ประโยชน์จากขยะ อย่างน้อย2รูปแบบ 3.มีการปฏิบัติการในรูปแบบต่างๆในทุกชุมชน
0.00

 

4 เพื่อให้ปริมาณขยะในชุมชนลดลง
ตัวชี้วัด : 1.มีครัวเรือนที่จัดการขยะไม่น้อยกว่าร้อยละ50 ของครัวเรือนทั้งหมด 2.ขยะครัวเรือนลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 3.ปริมาณขยะในที่สาธารณะลดลง อย่างน้อยร้อยละ 20
0.00

 

5 เพื่อให้เกิดความร่วมมือกับท้องถิ่นในการจัดการขยะตำบล
ตัวชี้วัด : 1.มีข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือธรรมนูญสุขภาพตำบลว่าด้วยการจัดการขยะ
0.00

 

6 เพื่อให้การบริหารจัดการโครงการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ตัวชี้วัด : การบริหารจัดการโครงการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เกิดกลไกขับเคลื่อนการจัดการขยะตำบลที่เข้มแข็ง (2) เพื่อให้นักเรียนของโรงเรียนขยะมีความรู้ความตระหนักในการจัดการขยะ (3) เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมชุมชนที่เอื้อต่อการจัดการขยะ (4) เพื่อให้ปริมาณขยะในชุมชนลดลง (5) เพื่อให้เกิดความร่วมมือกับท้องถิ่นในการจัดการขยะตำบล (6) เพื่อให้การบริหารจัดการโครงการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ค่าเปิดบัญชีธนาคาร (2) กิจกรรมปฐมนิเทศโครงการ (3) ประชุมคณะทำงานครั้งที่1 (4) ประชุมคณะทำงานครั้งที่2 (5) เวทีถอดบทเรียนการจัดการขยะตำบล(จัดกิจกรรมใช้เวลา1วัน) (6) กิจกรรมจัดทำป้ายประกอบโครงการ (7) กิจกรรมบริหารจัดการโครงการ ค่าอินเตอร์เน็ต (8) ประชุมคณะทำงานครั้งที่3 (9) กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกับหน่วยจัดการ ครั้งที่1 (10) กิจกรรมศึกษาดูงานการสร้างโรงเรียนขยะ ณ.โรงเรียนขยะเทศบาลตำบลชะรัด อ.กงหรา จ.พัทลุง (เวลา1วัน) เปลี่ยนแปลงสถานที่ศึกษาดูงานเป็น อบต.เขาชัยสน (11) กิจกรรมจัดทำหลักสูตรโรงเรียนขยะ(เวลา1วัน) (12) กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกับหน่วยจัดการครั้งที่2 (13) เบิกเงินค่าเปิดบัญชี (14) กิจกรรมสอนนักเรียนโรงเรียนขยะตำบล(กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด55คน)(ใช้เวลา1วัน) (15) กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่1 (16) กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่2 (17) กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่3 (18) กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่4 (19) กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่5 (20) กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่6 (21) กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่7 (22) กิจกรรมเวทีระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาข้อบัญญัติท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดการขยะ (23) กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE)1 (24) ประชุมคณะทำงานครั้งที่4 (25) กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่8 (26) กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่9 (27) กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่10 (28) กิจกรรมเรียนรู้การจัดการขยะระดับหมู่บ้าน ครั้งที่11 (29) กิจกรรมครูติดตามนักเรียน (30) ประชุมคณะทำงานครั้งที่5 (31) กิจกรรมเข้าร่วมงานสมัชชาพัทลุงมหานครแห่งความสุข ครั้งที่ 2 (32) กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ครั้งที่ 2 (33) กิจกรรมปฏิบัติการลดขยะตามปัญหาของแต่ละหมู่บ้านตามแผนงานโครงการ (34) ประชุมคณะทำงานครั้งที่6 (35) กิจกรรมคืนข้อมูลสรุปผลการดำเนินงาน (36) กิจกรรมยกร่างธรรมนูญสุขภาพตำบลว่าด้วยการจัดการขยะ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


จัดการขยะแบบมีส่วนร่วมโดยหลักสูตรโรงเรียนขยะตำบลเขาหัวช้าง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 65-00232-0007

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายอุดม การะนันต์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด