stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการจัดการน้ำเสียบ้านส้มตรีดออก ปี 2
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 65-00-0138-0011
วันที่อนุมัติ 28 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 74,870.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ 99/8 ซ.งามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพ
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชัตชะนาวิลทร วงค์ชู
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ อำนวย กลับสว่าง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาเจียก อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 29,948.00
2 1 ต.ค. 2565 31 มี.ค. 2566 1 ต.ค. 2565 31 ส.ค. 2566 37,435.00
3 1 เม.ย. 2566 31 ส.ค. 2566 7,487.00
รวมงบประมาณ 74,870.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สภาพทั่วไปของชุมชนบ้านส้มตรีดออก เมื่ออดีตเป็นชุมชนบ้านป่าไสย - ส้มตรีด และมีชื่อย่อที่ใช้เรียกกันตามหมู่บ้านว่าบ้านส้มตรีด ต่อมาได้มีการขยายชุมชน จึงได้แยกเป็นชุมชนบ้านส้มตรีด เมื่อ พ.ศ. 2552 แต่เนื่องจากบ้านส้มตรีดมีพื้นที่กว้าง และบางส่วนอยู่ในเขตพื้น
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สาเหตุของปัญหา เนื่องจากชุมชนบ้านส้มตรีดออกเป็นชุมชนที่มีวิถีกึ่งเมืองกึ่งชนบททำให้มีช่องว่างความรู้ความเข้าใจในการพึ่งพาตัวเองยังต้องพึ่งพาหน่วยงานของรัฐในการเข้ามาแก้ไขปัญหาในทุกๆด้าน แต่ยังมีคณะทำงานกลุ่มนึงได้ลุกขึ้นมาร่วมคิดร่วมออกแบบในการแก้ปัญหาให้กับชุมชนและได้ร่วมกันวิเคราะห์ได้ข้อสรุปดังนี้ คน : คนในชุมชนบ้านส้มตรีออกยังขาดความรู้ความเข้าใจในระบบการจัดการน้ำเสียที่ต้นทางครัวเรือนและสถานประกอบการ อันเนื่องมาจากหลายสาเหตุ เช่น มักง่ายเอาสะดวกเข้าไว้ ไม่มีที่ทิ้งหรือพื้นที่ในการจัดการ ไม่รู้ว่ากระทบกับสิ่งแวดล้อม บ้านเช่าที่ขาดความรับผิดชอบ ไม่มีทิ้ง และชุมชนไม่มีระบบการจัดการน้ำเสียเช่น น้ำที่อาบ น้ำซักล้าง สภาแวดล้อม : ชุมชนบ้านส้มตรีดออกเป็นชุมชนที่แยกตัวออกมาจากชุมชนส้มตรีด ป่าไสย ขึ้นอยู่กับเทศบาลเมือง ระบบการจัดการจัดการขยะทางเทศบาลเมืองมีการรณรงค์เป็นช่วง ๆ เน้นการคัดแยกที่ครัวเรือน มีกิจกรรมคัดแยกและจัดการขยะกันเอง ชุมชนส่วนใหญ่เป็นห้องแถวให้เช่า เป็นสถานที่ประกอบการ และคาร์แคร์  การจัดการขยะอินทรีย์ คือ มีถังเก็บพักให้ผู้เลี้ยงสัตว์มารับต่อ จากครัวเรือน และจากสถานประกอบการ และมีถังฝังโคนต้นไม้ ทำให้ลดการทิ้งขยะที่ก่อให้เกิดน้ำเสียลงสู่แล่งน้ำได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็มีอีกจำนวนหลายครัวเรือนและสถานประกอบการที่เททิ้งน้ำเสียไม่ได้ผ่านระบบบำบัดลงท่อทำให้เกิดน้ำเสียในคูคลองตามมา กลไก : ระบบบ่อดักตะกอนของเทศบาล ระบบการจัดการขยะต้นทางของครัวเรือนและสถานประกอบการ ของเทศบาลเมือง ที่เกิดขึ้นคือ ระบบจัดการน้ำเสียที่มีเฉพาะบ้านใหม่ทีเกิดขึ้นจากการขอสร้างใหม่ โดยเทศบาลต้องบังคับใช้กฎหมายให้มีการทำบ่อดักไขมันก่อน ส่วนบ้านเก่ามีบ้างไม่มีบ้าง ทำให้น้ำที่ออกจากครัวเรือนลงสู่แหล่งน้ำและท่อน้ำเสียไม่ได้บำบัดก่อน สถานที่ประกอบการก็เช่นกัน

ผลกระทบของน้ำเสีย ทำให้เกิดน้ำเน่าเสีย ลำคลองตื้นเขิน สัตว์น้ำสูญพันธ์ ส่งกลิ่นเหม็น เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ท่ออุดตันเกิดการหมักหมมของขยะ,เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค เป็นแหล่งเพาะพันธ์พาหนะนำโรค เช่น โรคฉี่หนู โรคไข้เลือดออก โรคผิวหนัง ฯลฯ ดังนั้นทางคณะกรรมการชุมชนชนและสมาชิกได้มีการประชุมและมีมติร่วมกันในการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาชุมชนโดยมีกระบวนการดังนี้ แนวทางการแก้ไขปัญหา 1 . จัดตั้งกลไกร่วมระหว่างชุมชน ภาคีร่วม และภาคียุทธศาสตร์ เพื่อร่วมกันจัดการน้ำเสียระดับครัวเรือน และสถานประกอบการก่อนปล่อยลงคูระบายน้ำ 2. สร้างความรู้ความเข้าใจให้คนในชุมชนมีความตระหนักเรื่องการจัดการน้ำเสียของชุมชน ด้วยข้อมูล สถานการณ์น้ำเสียของชุมชน และ สร้างการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งครัวเรือน สถานประกอบการ ภาคีร่วม ภาคียุทธศาสตร์ พร้อมทั้งมีการจัดทำคู่มือการจัดการน้ำเสียชุมชน และศูนย์เรียนรู้การจัดการน้ำเสียชุมชนบ้านส้มตรีดออก เพื่อถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการน้ำเสียอย่างมีส่วนร่วมให้กับสมาชิกและภาคีความร่วมมือที่สนใจเพื่อนำไปสู่การสร้างพลังเครือข่ายการจัดการน้ำเสียให้กับภาคีที่เกี่ยวข้อง
3. จัดให้มีแผนจัดการน้ำเสียและมีรูปแบบการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน เพื่อให้มีแผนการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนวางแนวทางปฏิบัติการลดน้ำเสีย ในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับครัวเรือน และสถานที่ประกอบการ 4. จัดให้มีครัวเรือนต้นแบบในการจัดการน้ำเสีย เพื่อเป็นต้นแบบครัวเรือนปฏิบัติการลดน้ำเสีย ตามแผนและรูปแบบการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน 5. จัดให้มีระบบจัดการน้ำสียไปยังพื้นที่ร่วมของชุมชน ที่มีการจัดการร่วม ระหว่างพื้นที่ หน่วยงานท้องถิ่น (แผนทำร่วม แผนทำขอ) 6. ติดตามประเมินและสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการคืนข้อมูลแก่ชุมชน

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

1.เมื่อโครงการเริ่มต้นที่ต้นทางการจัดการน้ำเสีย ด้วยระบบไกกลที่มีทุกภาคส่วนเข้าร่วมการขับเคลื่อน เป็นกระบวนการก่อเกิดเป็นผลลัพธ์สามารถจัดการน้ำเสียและลดน้ำเสีย ศูนย์เรียนรู้ชุมชนการจัดการน้ำเสียอย่างมีส่วน เป็นนวัตกรรมเรื่องการจัดการน้ำเสียอย่างมีส่วนร่วม  ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมและสุขภาวะชุมชน
2.ระบุวิธีการขยายผลจากการดำเนินโครงการ และชุมชน หรือผู้อื่นจะใช้ประโยชน์จากผลของโครงการนี้อย่างไร ขยายผลจากผลลัพธ์ ให้ครอบคลุมชุมชน เป็นต้นแบบการจัดการน้ำเสียชุมชน  ขับเคลื่อนด้วยกลไกทุกภาคส่วนหนุนเสริมให้เป็นนโยบายยุทธศาสตร์จังหวัด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมคนในชุมชนมีตระหนักเรื่องการจักน้ำเสียชุมชน
  1. ครัวเรือนมีความรู้การจัดการน้ำเสีย ไม่น้อยกว่า60 ครัวเรือน
  2. มีแผนการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน ไม่น้อยกว่า.60 ครัวเรือน
  3. มีกติกาชุมชนในการจัดการน้ำเสีย
2 เพื่อสร้างกลไกการขับเคลื่อนชุมชนลดน้ำเสียเข็งแข็ง
  1. มีคณะทำงานที่มีส่วนร่วมจากท้องถิ่น ผู้นำชุมชนและตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมเป็นคณะทำงาน
  2. มีข้อมูลพฤติกรรมการใช้น้ำของครัวเรือน
  3. เกิดแผนที่เส้นทางน้ำชุมชน
3 มีรูปแบบการจัดการน้ำเสียครัวเรือน
  1. จำนวนบ่อดักไขมันอย่างง่ายที่ชุมชนได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลครอบคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80%
  2. จำนวนธนาคารน้ำเสียไต้ดินครอบคลุมครัวเรือนที่ต้องการจัดการน้ำเสียด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
  3. เกิดครัวเรือนที่มีการใช้ประโยชน์จากกระบวนการจัดการน้ำเสีย ไม่น้อยกว่า  10 ครัวเรือน 4.มีแผนการติดตามการจัดการน้ำเสียชุมชน
4 ครัวเรือนมีการจัดการน้ำเสีย
  1. จำนวนครัวเรือนที่มีปัญหาการจัดการน้ำสามารถจัดการน้ำเสียได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ70%
  2. ปัญหาที่เกิดจากน้ำเสียลดลง(กลิ่นเหม็น แหล่งเพาะพันธ์พาหนะนำโรค)
5 มีระบบจัดการน้ำเสียในพื้นที่ร่วมของชุมชน

1..จำนวนจุดจัดการน้ำเสียที่ชุมชนร่วมกับท้องถิ่นดำเนินการไม่น้อยกว่า 1จุด
2..เกิดแผนจัดการน้ำเสียของชุมชนหรือเกิดข้อบัญญัติท้องถิ่นเทศบาลเมืองพัทลุง

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 60
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ ครัวเรือนปฏิบัติการจัดการ 60 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 717 74,870.00 29 76,070.00
9 พ.ค. 65 ปฐมนิเทศผู้รับทุนโครงการภายใต้การสนับสนุนจาก node flagship พัทลุง 120 3,000.00 0.00
31 พ.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 20 500.00 500.00
1 มิ.ย. 65 พัฒนาศูนย์เรียนรู้การจัดการน้ำเสียโดยชุมชนครั้งที่1 20 5,000.00 5,000.00
2 มิ.ย. 65 เก็บ-วิเคราะห์ข้อมูลการจัดการน้ำเสียของชุมชน 20 3,400.00 3,400.00
12 ก.ย. 65 สมัชชาพัทลุงมหานครแห่งความสุข หิ้วปิ่นโตมาชันชี 1 4 0.00 0.00
23 ก.ย. 65 ปฏิบัติการตามแผนแก้ไขน้ำเสีย(แผนทำเอง/แผนทำร่วม/ทำขอ) ภาคีสมทบ 50 0.00 0.00
26 ก.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่2 20 500.00 500.00
28 ก.ย. 65 เวทีสร้างความเข้าใจการจัดการน้ำเสีย 60 9,000.00 9,000.00
30 ก.ย. 65 ถอนคืนเงินเปิดบัญชีธนาคาร 3 0.00 500.00
18 ต.ค. 65 พัฒนาศูนย์เรียนรู้การจัดการน้ำเสียโดยชุมชนครั้งที่2 20 5,000.00 5,000.00
27 ต.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่3 20 500.00 500.00
1 พ.ย. 65 จัดทำป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่ -ปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 0 1,000.00 1,000.00
2 พ.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่4 20 500.00 500.00
10 พ.ย. 65 การประชุมติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และการพัฒนา ARE1 3 0.00 0.00
14 ธ.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้ง5 20 500.00 500.00
10 ม.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่6 20 500.00 500.00
19 ก.พ. 66 เวทีพัฒนาศักยภาพนวัตกรชุมชน 20 3,600.00 4,000.00
7 ก.ค. 66 ศึกษาดูงานของแกนนำครัวเรือนและกลไก 40 21,200.00 21,200.00
10 ก.ค. 66 ประชุมติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ( ARE 2) 25 0.00 0.00
12 ก.ค. 66 ประชุมติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา 20 3,900.00 3,900.00
12 ก.ค. 66 ประชุม ARE2 ร่วมกับหน่วยจัดการ 3 0.00 0.00
22 ก.ค. 66 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมปฎิบัติการจัดการน้ำเสียจัดการน้ำเสียชุมชน 25 3,250.00 5,250.00
25 ก.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่7 20 2,000.00 2,000.00
8 ส.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 8 20 500.00 500.00
10 ส.ค. 66 จัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 30 0.00 1,000.00
11 ส.ค. 66 สนับสนุนจุดจัดการน้ำเสียในพื้นที่ร่วมของชุมชน 60 3,300.00 3,300.00
13 ส.ค. 66 เวทีปิดโครงการ 30 6,720.00 6,720.00
15 ส.ค. 66 สมัชชาพัทลุงมหานครแห่งความสุข หิ้วปิ่นโตมาชันชี 2 3 0.00 300.00
18 ส.ค. 66 .ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ 1 1,000.00 1,000.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2565 14:08 น.