directions_run

โครงการการจัดการน้ำเสียชุมชนตลาดเก่าท่ามิหรำ

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดพัทลุง


“ โครงการการจัดการน้ำเสียชุมชนตลาดเก่าท่ามิหรำ ”

ตำบลท่ามิหรำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
เจษฎานุวัฒน์ จุลนิล

ชื่อโครงการ โครงการการจัดการน้ำเสียชุมชนตลาดเก่าท่ามิหรำ

ที่อยู่ ตำบลท่ามิหรำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 65-0023-0012 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2022 ถึง 31 สิงหาคม 2023


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการการจัดการน้ำเสียชุมชนตลาดเก่าท่ามิหรำ จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลท่ามิหรำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดพัทลุง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการการจัดการน้ำเสียชุมชนตลาดเก่าท่ามิหรำ



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการการจัดการน้ำเสียชุมชนตลาดเก่าท่ามิหรำ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลท่ามิหรำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 65-0023-0012 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2022 - 31 สิงหาคม 2023 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 76,020.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดพัทลุง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สาเหตุของปัญหา คน : คนในชุมชนตลาดเก่าท่ามิหรำ ขาดความรู้ความเข้าใจในระบบการจัดการน้ำเสียที่ต้นทางจากครัวเรือนและสถานประกอบการ เนื่องมาจากหลายสาเหตุ เช่น มักง่ายเอาสะดวกเข้าไว้  ไม่มีที่ทิ้งหรือพื้นที่ในการจัดการ ไม่รู้ว่ากระทบกับสิ่งแวดล้อม บ้านเช่าที่ขาดความรับผิดชอบ และชุมชนไม่มีระบบการจัดการน้ำเสียเช่น น้ำที่ใช้อาบ น้ำจากซักผ้าล้างจาน
สภาพแวดล้อม : ชุมชนตลาดเก่าท่ามิหรำ ขึ้นกับเทศบาลเมือง ระบบการจัดการขยะเทศบาลเมืองจะเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ มีการรณรงค์เรื่องขยะเป็นช่วงๆ เน้นการคัดแยกที่ครัวเรือน มีกิจกรรมคัดแยกและจัดการขยะกันเอง ชุมชนส่วนใหญ่บ้านเช่า บ้านจัดสรร ร้านขายของชำ ร้านอาหารตามสั่ง ร้านขายข้าวแกง ร้านเสริมสวย ร้านขายขนม และอาคารพาณิชย์ ชุมชนตลาดเก่าท่ามิหรำขาดระบบการจัดการขยะอินทรีย์และการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน ยังมีการเททิ้งน้ำเสียลงท่อ ลงคู ลงคลองลางสาด ทำให้เกิดน้ำเสีย ลำคลองตื้นเขิน ส่งกลิ่นเหม็น ทำให้ท่ออุดตันเกิดการหมักหมมของขยะ,เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคในท่อในคู
กลไก : ขาดระบบไกกลการขับเคลื่อนในการสร้างกระบวนการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนและชุมชน ที่ชัดเจน มีแต่หน่วยงานเทศบาลเมืองที่เข้ามาช่วยในการลอกคูคลอง ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุดไม่ใช่แก้ไขปัญหาที่ต้นทาง ยังไม่มีแผนการจัดการน้ำเสียที่เป็นรูปธรรม ยังขาดหน่วยงานที่เกี่ยวเข้ามาร่วมด้วยช่วยกัน และยังไม่มีมาตรการทางสังคมใดๆ ผลกระทบของน้ำเสีย ทำให้เกิดน้ำเน่าเสีย ลำคลองตื้นเขิน สัตว์น้ำสูญพันธ์ ส่งกลิ่นเหม็น เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ท่ออุดตันเกิดการหมักหมมของขยะ,เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค เป็นแหล่งเพาะพันธ์พาหนะนำโรค เช่น โรคฉี่หนู โรคไข้เลือดออก โรคผิวหนัง ฯลฯ แนวทางการแก้ไขปัญหา 1 . จัดตั้งกลไกร่วมระหว่างชุมชน ภาคีร่วม และภาคียุทธศาสตร์ เพื่อร่วมกันจัดการน้ำเสียระดับครัวเรือน และสถานประกอบการก่อนปล่อยลงคูระบายน้ำ
2. สร้างความรู้ความเข้าใจให้คนในชุมชนมีความตระหนักเรื่องการจัดการน้ำเสียของชุมชน ด้วยข้อมูล สถานการณ์น้ำเสียของชุมชน และ สร้างการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งครัวเรือน สถานประกอบการ ภาคีร่วม ภาคียุทธศาสตร์
3. จัดให้มีแผนจัดการน้ำเสียและมีรูปแบบการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน เพื่อให้มีแผนการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนวางแนวทางปฏิบัติการลดน้ำเสีย ในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับครัวเรือน และสถานที่ประกอบการ
4. จัดให้มีครัวเรือนต้นแบบในการจัดการน้ำเสีย เพื่อเป็นต้นแบบครัวเรือนปฏิบัติการลดน้ำเสีย ตามแผนและรูปแบบการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน
5. จัดให้มีระบบจัดการน้ำสียไปยังพื้นที่ร่วมของชุมชน ที่มีการจัดการร่วม ระหว่างพื้นที่ หน่วยงานท้องถิ่น (แผนทำร่วม แผนทำขอ)
6. ติดตามประเมินและสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการคืนข้อมูลแก่ชุมชน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมคนในชุมชนมีตระหนักเรื่องการจักน้ำเสียชุมชน
  2. เพื่อสร้างกลไกการขับเคลื่อนชุมชนลดน้ำเสียเข็งแข็ง
  3. มีรูปแบบการจัดการน้ำเสียครัวเรือน
  4. ครัวเรือนมีการจัดการน้ำเสีย
  5. มีระบบจัดการน้ำเสียในพื้นที่ร่วมของชุมชน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ปฐมนิเทศน์โครงการ
  2. ประชุมคณะทำงานครั้งที่1
  3. . เก็บ-วิเคราะห์ข้อมูลการจัดการน้ำเสียของชุมชน
  4. ประชุมคณะทำงานครั้งที่2
  5. ปฏิบัติการตามแผนแก้ไขน้ำเสีย(แผนทำเอง/แผนทำร่วม/ทำขอ) ภาคีสมทบ
  6. ประชุมคณะทำงานครั้งที่3
  7. เวทีสร้างความเข้าใจการจัดการน้ำเสีย
  8. 2.ค่าจัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และป้ายชื่อโครงการ สสส. สำหรับติดในสถานที่จัดกิจกรรม ไม่เกิน 1,000 บาท
  9. ถอนคืนเงินเปิดบัญชีธนาคาร
  10. 5. ประชุมกลไกเพื่อ ติดตามผลโครงการ AREครั้งที่ 1
  11. การศึกษาดูงานของแกนนำครัวเรือนและกลไก
  12. ประชุมคณะทำงานครั้งที่4
  13. ประชุมคณะทำงานครั้งที่5
  14. ประชุมคณะทำงานครั้งที่6
  15. ประชุมกลไกขับเคลื่อนการจัดการน้ำเสียชุมชน
  16. ประชุมคณะทำงานครั้งที่7
  17. 7. จัดทำแผนผังน้ำชุมชน
  18. 6. วิเคราะห์ข้อมูลน้ำเสียของครัวเรือนและชุมชนเป้าหมาย
  19. 11. ประชุมติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ( ARE 2.)
  20. เข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยจัดการระดับจังหวัด (ARE ) ครั้งที่ 2
  21. 10. ปฏิบัติการการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนต้นแบบ
  22. 12. สรุปผลถอดบทเรียนโครงการ
  23. 1.ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ ไม่เกิน 1,000 บาท

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ ครัวเรือนปฏิบัติการจัดการ 60

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศน์โครงการ

วันที่ 9 พฤษภาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

นายเสณี จ่าวิสูตร ชี้แจงวัตถุประสงค์และเป้าหมายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสู่ Phattalung Green City คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี นายไพฑูรย์  ทองสม ผู้จัดการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง อธิบายแนวทางการบริหารจัดการการเงิน และการจัดการเอกสารที่เกี่ยวข้อง นายอรุณ  ศรีสุวรรณ  อธิบายการจัดทำรายงานผ่านระบบ Happy Network นางเบญจวรรณ  เพ็งหนู อธิบายความสำคัญของการออกแบบจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดผลลัพธ์ พร้อมแบ่งกลุ่มย่อยพื้นที่โครงการ/พี่เลี้ยง ออกแบบการเก็บข้อมูลตัวชี้วัด ของชุมชนตลาดเก่าท่ามิหรำ ประเด็นการจัดการน้ำเสีย ลงนามสัญญาขอรับทุน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานโครงการการจัดการน้ำเสียชุมชนตลาดเก่าท่ามิหรำ จำนวน 3 คน รับทราบการชี้แจงวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ผลลัพธ์ของหน่วยจัดNFE จังหวัดพัทลุง ได้เรียนรู้การการเงินการบัญชี การเตรียมหลักฐานการเงิน ได้เรียนรู้การรายงานความก้าวหน้าโครงการผ่านระบบออนไลน์ ได้เรียนรู้การออกแบบเก็บข้อมูลตัวชี้วัด และได้ลงนามสัญญาโครงการเป็นที่เรียบร้อย

 

3 0

2. ประชุมคณะทำงานครั้งที่1

วันที่ 4 มิถุนายน 2022 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมชี้แจงคณะทำงาน/วัตถุประสงค์ของโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดคณะทำงาน/มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ตามความถนัด

 

20 0

3. . เก็บ-วิเคราะห์ข้อมูลการจัดการน้ำเสียของชุมชน

วันที่ 13 มิถุนายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ให้ความรู้เรื่องการจัดเก็บข้อมูลน้ำเสียครัวเรือน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดความรู้เรื่องการเก็บข้อมูล

 

20 0

4. ประชุมคณะทำงานครั้งที่2

วันที่ 9 สิงหาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมติดตามประเมินผล และออกแบบวางแผนการทำงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดแผนการทำงาน

 

20 0

5. ปฏิบัติการตามแผนแก้ไขน้ำเสีย(แผนทำเอง/แผนทำร่วม/ทำขอ) ภาคีสมทบ

วันที่ 22 สิงหาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ทสจ.สนับสนุนงบประมาณ 15000 บาทในการอบรมให้ความรู้โดยสิ่งแวดล้อมภาคในการวัดค่าน้ำเสีย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดความรู้เรื่องการวัดค่าน้ำเสีย

 

50 0

6. ประชุมคณะทำงานครั้งที่3

วันที่ 21 กันยายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ทบทวนติดตามประเมินผลออกแบบวางแผนการทำงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดแผนดำเนินงานครั้งต่อไป

 

20 0

7. เวทีสร้างความเข้าใจการจัดการน้ำเสีย

วันที่ 30 กันยายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ให้ความรู้เรื่องน้ำเสียครัวเรือนโดยมีภาคีเข้าร่วมประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดความรู้เรื่องน้ำเสีย

 

60 0

8. ถอนคืนเงินเปิดบัญชีธนาคาร

วันที่ 30 กันยายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ถอนคืนเงินเปิดบัญชีธนาคาร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ถอนคืนเงินเปิดบัญชีธนาคาร

 

0 0

9. 2.ค่าจัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และป้ายชื่อโครงการ สสส. สำหรับติดในสถานที่จัดกิจกรรม ไม่เกิน 1,000 บาท

วันที่ 30 กันยายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานโครงการ ได้จัดทำป้ายจำนวน 2  ป้าย  มีป้ายโครงการ การจัดการน้ำเสียชุมชนตลาดเก่าท่ามิหรำ และป้าย เขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอกลฮอล์ เพื่อติดไว้ที่สถานที่จัดกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีป้ายโครงการ การจัดการน้ำเสียชุมชนตลาดเก่าท่ามิหรำ และป้าย เขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอกลฮอล์ เพื่อติดไว้ที่สถานที่จัดกิจกรรม

 

1 0

10. ประชุมกลไกขับเคลื่อนการจัดการน้ำเสียชุมชน

วันที่ 14 ตุลาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมขับเคลื่อนกลไกการจัดการน้ำเสียชุมบ้านตลาดเก่าท่ามิหรำ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีการวางแนวทางการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนต้นแบบ และการจัดการน้ำเสียในชุมชน

 

20 0

11. 5. ประชุมกลไกเพื่อ ติดตามผลโครงการ AREครั้งที่ 1

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2022 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วงแลกเปลี่ยน เวทีการติดตามประเมินเพื่อการเรียนและพัฒนา ช่วงแรกในเวทีผู้จัดการโครงการ ฯ ได้ชี้แจงรายละเอียด วัตถุประสงค์ ติดตามผลลัพธ์ นำมาแลกเปลี่ยนแปลง ของแต่ละประเด็น โดย จะมีการแบ่งกลุ่มย่อยตามประเด็น พื้นที่เข้ากลุ่มแลกเปลี่ยนในประเด็นการจัดการน้ำเสียชุมชน ในกลุ่ม มี ผู้ช่วยแลกเปลี่ยผลลัพธ์ เป็นทีมพี่เลี้ยงช่วยเติมเต็มข้อมูล กลุ่มประเด็นการจัดการน้ำเสียชุมชน มี ทั้ง 8 พื้นที่ พื้นที่ ชุมชนบ้านควนปรง ชุมชนบ้านท่ามิหรำ ชุมชนบ้านท่ามิหรำเก่า ชุมชนบ้านดอนรุณ ชุมชนบ้านนอกม่วงหวาน ชุมชนวัดนิโรธาราม ชุมชนบ้านนอกบ่อ มีผลลัพธ์รวมแต่ละประเด็น โดย ทีมพี่เลี้ยงของแต่ละประเด็น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. เกิดเครือข่ายแลกเปลี่ยนช่วยเหลือกันและกัน กลุ่มประเด็นการจัดการน้ำเสียชุมชน มี ทั้ง 8 พื้นที่ พื้นที่ ชุมชนบ้านควนปรง ชุมชนบ้านท่ามิหรำ ชุมชนบ้านท่ามิหรำเก่า ชุมชนบ้านดอนรุณ ชุมชนบ้านนอกม่วงหวาน ชุมชนวัดนิโรธาราม ชุมชนบ้านนอกบ่อ มีผลลัพธ์รวม
  2. มีแกนนำคณะทำงานกลไกขับเคลื่อนที่มาจากทุกภาคส่วน ผู้นำชมชน กรรมการชุมชน อสม. ผู้แทนครัวเรือน ตัวแทนบริหารและเจ้าหน้าที่เทศบาล ที่สามารถขับเคลื่อนงานได้
  3. การเกิดการปรับสภาพแวดล้อมทางกายกายจัดการจัดน้ำเสีย เกิดบ่อดักไขมัน เกิดธนาคารน้ำใต้ดิน เลี้ยงไส้เดือนดิน เป็นการจัดการบำบัดน้ำเสียและลดการเกิดน้ำเสีย
  4. การเกิดสภาพแวดล้อมทางสังคม มีกติกาชจัดการน้ำเสียในชุมชน การบำบัดน้ำเสียการปล่อยลงคู คลอง การจัดการคัดแยกเศษอาหารการก่อนทิ้ง ไม่ทิ้งขยะลงสู่ คู คลอง 4. กลไกการติดตามในชุมชน เป็นคนกลไกที่ติดตามการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน เกิดเป็นช่างชุมชนในการจัดทำถังดักไขมันอย่างง่าย การช่วยเหลือซ่อมบำรุง
  5. แผนการจัดการน้ำเสีย - มีแผนงานที่ชุมชนสามารถเองได้ การทำถังดักไขมันอย่างง่าย การกำจัดเศษอาหารแบบถังรักษ์โลก หรือแบบนำเศษอาหารไปเลี้ยงสัตว์ และการนำไปใช้ประโยชน์
  6. หน่วยงานสนับสนุนการจัดการน้ำเสียชุมชน ได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลเมืองพัทลุง เจ้าหน้าที่เทศบาลร่วมเป็นคณะทำงาน ในฐานะที่ปรึกษาการทำงาน

 

25 0

12. การศึกษาดูงานของแกนนำครัวเรือนและกลไก

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2022 เวลา 10:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประธานชุมชนบ้านส้มตรีดออก  กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วม  และแนะทำคณะทำงานการจัดการน้ำเสียชุมชนบ้านส้มตรีดอก ผู้รับผิดชอบแลกเปลี่ยนที่มาและความตั้งใจว่าต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ความรู้เรื่องกลไก/การจัดการน้ำเสียชุมชน ให้ความรู้การทำงานของชุมชน  การก่อตั้งคณะทำงาน  การทำงาน่่ที่มีการทำงานเป็นทีม  มีการแบ่งงานกันทำ มีการเพิ่มเติมความรู้ ให้ความรู้และธาธิตธนาคารน้ำใต้ดิน  บ่อดักไขมัน  เลี้ยงไส้เดือน  น้ำหมักบำบัดน้ำเสีย ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนระบบการจัดการน้ำเสียครัวเรือนต้อนแบบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-  มีกำลังใจที่จะกลับไปทำการดูแลให้มีการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่สาธารณะ -  มีความรู้ความตระหนักความสำคัญของการดำเนินงานการจัดการน้ำเสีย  ธนาคารน้ำใต้ดิน  บ่อดักไขมัน  เลี้ยงไส้เดือน  น้ำหมักบำบัดน้ำเสีย - เกิดเครือข่ายชุมชนที่จะช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อมชุมชน การลดน้ำเสียครัวเรือน  ชุมชนต้นแบบพร้อมเป็นที่ปรักษา และช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อให้น้ำเสียในชุมชนลด ลงน้ำมีคุณภาพที่ดี

 

40 0

13. ประชุมคณะทำงานครั้งที่4

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ไม่ได้ดำเนินการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ไม่เกิดผลลัพธ์

 

20 0

14. ประชุมคณะทำงานครั้งที่5

วันที่ 27 ธันวาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ไม่ได้ดำเนินการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ไม่เกิดผลลัพธ์

 

20 0

15. ประชุมคณะทำงานครั้งที่6

วันที่ 10 มกราคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. คณะทำงานประกอบด้วยตัวแทนกรรมการชุมชน ตัวแทน อสม.. ตัวแทนกองสวัสดิการ ตัวแทนกองช่าง ตัวแทนกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 2 .คณะทำงานต้องมีการแบ่งโครงสร้าง หน้าที่ ชัดเจน
    3 .คณะทำงานต้องเข้าร่วมประชุมทุกเดือนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80  ของสมาชิก
    1. บันทึกการประชุมเป็นลายลักษณ์อักษร
    2. วิเคราะห์ข้อมูล สื่อสารสู่ชุมชน
    3. บริหารจัดการโครงการสู่ผลลัพธ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.  คณะทำงานเข้าร่วม    ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นและกำหนดแนวทาง 2.  วางแผนในการลงพื้นที่ติดตั้งถังบำบัดน้ำเสียอย่างง่าย

 

20 0

16. ประชุมคณะทำงานครั้งที่7

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน  รายงานก้าวหน้าของการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา  และร่วมกันประเมินสถานการณ์การดำเนินงาน รายงานผลลัพธ์  ตัวชี้วัดความเปลี่ยนปลงของชุมชน ติดตามครัวเรือนที่มีการจัดทำระบบบำบัดน้ำเสีย  และการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน  ติดตามมีการทำตามกติกาข้อตกลงที่กำหนดไว้หรือไม่ ร่วมกำหนดรายละเอียดในการจัดเวทีสรุปบทเรียนโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.  คณะกรรมกำหนดแผนงานในการติดตามและสนับสนุนครัวเรือน ที่มีการจัดการน้ำเสีย
2.  ได้มีการนัดหมายจัดทำรายงานและเตรียมเอกสารการเงิน  เพื่อจัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการและเอกสารหลักฐานการเงิน
3.  ได้แผนการทำกิจกรรมการจัดเวทีสรุปบทเรียนโครงการ  มีกำหนดการ  แบ่งบทบาทคณะทำงานในการจัดเตรียมและดำเนินการจัดกิจกรรม

 

20 0

17. 7. จัดทำแผนผังน้ำชุมชน

วันที่ 14 มีนาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงาน และพี่เลี้ยง  ภาคีความร่วมมือช่วยกันนำข้อมูลที่ได้สำรวจสถานการณ์น้ำเสียในชุมชน
ร่วมกันกำหนดแผนงาน  ร่วมกันนำข้อมูลลงในผังน้ำเห็นถึงสถานการณ์ปัญหา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ผังการจัดการน้ำชุมชน  คณะทำงานสามารถนำไปใช้ในการจัดการน้ำเสีย คนในชุมชนปรับเปลี่ยนมีการบำบัดน้ำเสียและนำน้ำที่ผ่านการบำบัดมาใช้ประโยชน์

 

20 0

18. 6. วิเคราะห์ข้อมูลน้ำเสียของครัวเรือนและชุมชนเป้าหมาย

วันที่ 25 เมษายน 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

นำสรุปข้อมูลที่มีการลงสำรวจพฤติกรรมและการจัดการน้ำเสียชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ข้อมูลพฤิตกรรมการจัดการน้ำเสียชุมชน ที่สามารถนำไปใช้วางแผนการจัดการน้ำเสียชุมชน

 

20 0

19. 11. ประชุมติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ( ARE 2.)

วันที่ 9 กรกฎาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.  มีคณะทำงานประเมินผลการดำเนินงานระยะ 4 เดือน/ครั้ง  การดำเนินงานในระยะที่ผ่านมาเกิดผลลัพธ์อย่างไร ดูได้จากตัวชี้วัดอะไรบ้าง จากการทำกิจกรรมโครงการอะไร เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้หรือไม่  ตอนนี้บรรลุผลลัพธ์ตามที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยมีบันไดผลลัพธ์ และข้อมูลผลลัพธ์เป็นเครื่องมือในการสรุปว่าเกิดความเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นบ้าง 2.  ออกแบบและกำหนดแนวทางการทำงานเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และผลลัพธ์ของโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คณะทำงานสามารถขับเคลื่อนงานและติดตามการทำงานทำให้คนในชุมชนปรับเปลี่ยนจัดการน้ำเสีย
  2. เกิดครัวเรือนที่มีระบบบำบัดน้ำเสียอย่างง่าย ธนาคารน้ำใต้ดิน  เลี้ยงใส้เดือน  น้ำหมักบำบัดน้ำเสีย

 

25 0

20. เข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยจัดการระดับจังหวัด (ARE ) ครั้งที่ 2

วันที่ 12 กรกฎาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน จำนวน 3 คน เข้าร่วมเวทีประเมินผลการดำเนินงานโครงการร่วมกับหน่วยจัดการจังหวัด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ตัวแทนพื้นที่โครงการได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานโครงการเพื่อให้เป็นไปตามบันไดผลลัพธ์โครงการ

 

0 0

21. 10. ปฏิบัติการการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนต้นแบบ

วันที่ 20 กรกฎาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ลงมือในการทำระบบบัดบัดน้ำเสียในครัวเรือนตามที่คณะทำงานร่วมกับครัวเรือนในชุมชนได้ สมัครใจติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียในครัวเรือน
ธนาคารน้ำใต้ดิน    ถังดักไขมัน  เลี้ยงใส้เดือนดิน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีครัวเรือนจำนวน    ครัวเรือนปรับเปลี่ยนมาจัดการน้ำเสีย  มีการประหยัดการใช้น้ำ  มีบำบัดน้ำเสียอย่างง่าย บ่อดักไขมัน  ธนาคารน้ำใต้ดิน

 

60 0

22. 12. สรุปผลถอดบทเรียนโครงการ

วันที่ 20 สิงหาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวทีสรุปบทเรียนการจัดการน้ำเสียชุมชน วิทยากรกระบวนการถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีครัวเรือนจัดการน้ำเสียในครัวเรือน ในรูปแบบต่างๆ  ได้บทเรียนการจัดจัดการน้ำเสียของชุมชน

 

30 0

23. 1.ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ ไม่เกิน 1,000 บาท

วันที่ 30 สิงหาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำรายงานโครงการ  บันทึกกิจกรรมแต่ละกิจกรรม  เกิดผลความเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีรายงานฉบับสมบูรณ์  ผลความเปลี่ยนแปลงการขับเคลื่อนการดำเนินงาน

 

1 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อส่งเสริมคนในชุมชนมีตระหนักเรื่องการจักน้ำเสียชุมชน
ตัวชี้วัด : 1. ครัวเรือนมีความรู้การจัดการน้ำเสีย ไม่น้อยกว่า60 ครัวเรือน 2. มีแผนการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน ไม่น้อยกว่า.60 ครัวเรือน 3. มีกติกาชุมชนในการจัดการน้ำเสีย
0.00

 

2 เพื่อสร้างกลไกการขับเคลื่อนชุมชนลดน้ำเสียเข็งแข็ง
ตัวชี้วัด : 1. มีคณะทำงานที่มีส่วนร่วมจากท้องถิ่น ผู้นำชุมชนและตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมเป็นคณะทำงาน 2. มีข้อมูลพฤติกรรมการใช้น้ำของครัวเรือน 3. เกิดแผนที่เส้นทางน้ำชุมชน

 

3 มีรูปแบบการจัดการน้ำเสียครัวเรือน
ตัวชี้วัด : 1. จำนวนบ่อดักไขมันอย่างง่ายที่ชุมชนได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลครอบคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80% 2. จำนวนธนาคารน้ำเสียไต้ดินครอบคลุมครัวเรือนที่ต้องการจัดการน้ำเสียด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน 3. เกิดครัวเรือนที่มีการใช้ประโยชน์จากกระบวนการจัดการน้ำเสีย ไม่น้อยกว่า 10 ครัวเรือน 4.มีแผนการติดตามการจัดการน้ำเสียชุมชน

 

4 ครัวเรือนมีการจัดการน้ำเสีย
ตัวชี้วัด : 1.จำนวนครัวเรือนที่มีปัญหาการจัดการน้ำสามารถจัดการน้ำเสียได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ70% 2. ปัญหาที่เกิดจากน้ำเสียลดลง(กลิ่นเหม็น แหล่งเพาะพันธ์พาหนะนำโรค)

 

5 มีระบบจัดการน้ำเสียในพื้นที่ร่วมของชุมชน
ตัวชี้วัด : 1.จำนวนจุดจัดการน้ำเสียที่ชุมชนร่วมกับท้องถิ่นดำเนินการไม่น้อยกว่า 1จุด 2. เกิดแผนจัดการน้ำเสียของชุมชนหรือเกิดข้อบัญญัติท้องถิ่นเทศบาลเมืองพัทลุง

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 60
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ ครัวเรือนปฏิบัติการจัดการ 60

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมคนในชุมชนมีตระหนักเรื่องการจักน้ำเสียชุมชน (2) เพื่อสร้างกลไกการขับเคลื่อนชุมชนลดน้ำเสียเข็งแข็ง (3) มีรูปแบบการจัดการน้ำเสียครัวเรือน (4) ครัวเรือนมีการจัดการน้ำเสีย (5) มีระบบจัดการน้ำเสียในพื้นที่ร่วมของชุมชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ปฐมนิเทศน์โครงการ (2) ประชุมคณะทำงานครั้งที่1 (3) . เก็บ-วิเคราะห์ข้อมูลการจัดการน้ำเสียของชุมชน (4) ประชุมคณะทำงานครั้งที่2 (5) ปฏิบัติการตามแผนแก้ไขน้ำเสีย(แผนทำเอง/แผนทำร่วม/ทำขอ) ภาคีสมทบ (6) ประชุมคณะทำงานครั้งที่3 (7) เวทีสร้างความเข้าใจการจัดการน้ำเสีย (8) 2.ค่าจัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และป้ายชื่อโครงการ สสส. สำหรับติดในสถานที่จัดกิจกรรม ไม่เกิน 1,000 บาท (9) ถอนคืนเงินเปิดบัญชีธนาคาร (10) 5.  ประชุมกลไกเพื่อ ติดตามผลโครงการ AREครั้งที่ 1 (11) การศึกษาดูงานของแกนนำครัวเรือนและกลไก (12) ประชุมคณะทำงานครั้งที่4 (13) ประชุมคณะทำงานครั้งที่5 (14) ประชุมคณะทำงานครั้งที่6 (15) ประชุมกลไกขับเคลื่อนการจัดการน้ำเสียชุมชน (16) ประชุมคณะทำงานครั้งที่7 (17) 7.  จัดทำแผนผังน้ำชุมชน (18) 6. วิเคราะห์ข้อมูลน้ำเสียของครัวเรือนและชุมชนเป้าหมาย (19) 11.  ประชุมติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ( ARE 2.) (20) เข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยจัดการระดับจังหวัด (ARE ) ครั้งที่ 2 (21) 10.  ปฏิบัติการการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนต้นแบบ (22) 12. สรุปผลถอดบทเรียนโครงการ (23) 1.ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ ไม่เกิน 1,000 บาท

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการการจัดการน้ำเสียชุมชนตลาดเก่าท่ามิหรำ จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 65-0023-0012

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( เจษฎานุวัฒน์ จุลนิล )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด