directions_run

โครงการการจัดการน้ำเสียชุมชนวัดนิโครธาราม - คลองน้ำใส

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการจัดการน้ำเสียชุมชนวัดนิโครธาราม - คลองน้ำใส
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 65-00232-0015
วันที่อนุมัติ 28 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 75,065.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ 99/8 ซ.งามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสัญญา บุญสม
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0806515779
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายถาวร คงศรี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 30,026.00
2 1 ต.ค. 2565 31 มี.ค. 2566 1 ก.ย. 2565 30 ก.ย. 2566 37,533.00
3 1 เม.ย. 2566 30 เม.ย. 2566 7,506.00
รวมงบประมาณ 75,065.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชุมชนวัดนิโครธาราม-คลองน้ำใส  เป็นชุมชนที่มีคลองล้อมรอบเดิมรวมกับชุมชนทุ่งไหม้ ต่อมามีการแบ่งเขตชุมชนใหม่ แยกจากชุมชนทุ่งไหม้ เป็นชุมชนวัดนิโครธาราม-คลองน้ำใส ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นลูกจ้าง ค้าขายตามตลาดนัด และเลี้ยงสัตว์ ปลูกผักสวนครัว ทำสวน ทำไร่ ลักษณะทางกายภาพชุมชนมีคลองสายหลัก คือ คลองน้ำใสซึ่งไหลมาจาก วัดชายคลอง ตำบลตำนาน ไหลต่อไปที่ทุ่งไหม้ วัดนิโคลธาราม ไหลต่อมาติดต่อกับคลองนุ้ยที่สะพานทางรถไฟต่อไปซึ่งเป็นชุมชนหน้าท่าเรือซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ใช้คลองน้ำใสในการประกอบอาชีพ  ทิศเหนือ ติดกับชุมชนหน้าท่าเรือและชุมชนเขาอกทะลุ  ทิศตะวันออกติดต่อชุมชนทุ่งไหม้  ทิศตะวันตกติดต่อชุมชนสวนหลวง ทิศใต้ติดต่อถนนบายพาส ประชากรทั้งสิ้น 656 คน แยกเป็น ชาย 315 คน หญิง 341 คน มี 232 ครัวเรือน ลักษณะโดยทั่วไปของพื้นที่ชุมชนวัดนิโครธาราม คลองน้ำใส เป็นชุมชนที่มีพื้นที่กว้างและมีถนนซอยจำนวนมาก ถนนสำคัญในพื้นที่ คือ ถนนชมอินทร์ ถนนอภัยบริรักษ์ ถนนกาญจนาภิเษก พื้นที่ทางธุรกิจมี อพาร์ทเม้นท์ 1 แห่ง ร้านขายของชำขนาดใหญ่ 2 แห่ง ร้านขายของชำขนาดเล็ก 2 แห่ง ร้านตัดผม 2 แห่ง โรงกลึง 1 แห่ง วัด 1 แห่ง โรงเรียน 1 แห่ง ร้านขายของเก่า 1 แหล่ง โรงเลี้ยงวัว 5 แห่ง เลี้ยงไก่ 3 แห่ง โรงยิมสอนเทควันโด 1 แห่ง ร้านซ่อมแอร์ 1 แห่ง โรงงานทำเส้นก๋วยเตี๋ยว 1 แห่ง แผงขายอาหารไก่ทอด 2 แหล่ง หอเช่า 8 แหล่ง ร้านซักรีดเสื้อผ้า 1 แหล่ง ร้านตัดเสื้อผ้า 1 แหล่ง ร้านกาแฟ 2 แหล่ง ร้านซ่อมมอเตอร์ไซค์ 1 แหล่ง


สภาพของปัญหา คน : คนในชุมชนนิโครธาราม คลองน้ำใส ยังขาดความรู้ความเข้าใจในระบบการจัดการน้ำเสียที่ต้นทางครัวเรือนและสถานประกอบการขาดการปฏิบัติในเรื่องระบบน้ำเสียในครัวเรือนและสถานประกอบการ อันเนื่องมาจากหลายสาเหตุ เช่น เอาสะดวกเข้าไว้ ไม่มีระบบการคัดแยกของเสียจางครัวเรือน ยังมีการทิ้งขยะรวมจุดไม่คัดแยก รอรถเทศบาลเก็บขนไปทิ้งในพื้นที่เพื่อการจัดการ ประชาชนไม่รู้ว่ามีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม แหล่งบ้านเช่าที่ขาดความรู้ในการจัดการ ไม่มีทิ้ง และชุมชนไม่มีระบบการจัดการน้ำเสียหรือน้ำที่ผ่านการใช้แล้วเช่น น้ำที่อาบ น้ำซักล้างในครัวเรือน

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

แนวทางการแก้ไขปัญหา 1 . จัดตั้งกลไกคณะทำงานร่วมระหว่างชุมชน ภาคีร่วมคือ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพัทลุง และภาคียุทธศาสตร์คือเทศบาลเมืองทีมีฝ่ายบริหารและกองงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันจัดการน้ำเสียระดับครัวเรือน และสถานประกอบการก่อนปล่อยลงคูระบายน้ำ 2.เก็บข้อมูลแหล่งน้ำเสียและจัดการข้อมูล เพื่อการเรียนรู้สถานการณ์น้ำเสียของชุมชน และ สร้างการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งครัวเรือน สถานประกอบการ ภาคีร่วม ภาคียุทธศาสตร์
3. สร้างกระบวนการเรียนรู้แก่ครัวเรือนนำร่องที่เข้าร่วมโครงการ พัฒนากลไกคณะทำงานและแกนนำชุมชน 4. ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาเพื่อวางแผน จัดทำแผนแก้ไขน้ำเสียในชุมชนโดยใช้หลักการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ให้ได้แผน ทำเอง ทำร่วม ทำขอเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5. สนับสนุนให้มีครัวเรือน ชุมชน ดำเนินการตามแผน
6. และพัฒนาต้นแบบครัวเรือนจัดการน้ำเสียด้วยการลดการปล่อยน้ำเสีย หรือการบำบัดน้ำเสีย ก่อนปล่อยลงคูระบายน้ำ 7. ติดตามประเมินและสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการคืนข้อมูลแก่ชุมชน

การดำเนินงานตามโครงการ 1. ประชุมกลไกคณะทำงานทุกเดือนเพื่อติดตามโดยมีวาระการจัดการน้ำเสียชุมชน ซึ่งรายงานผลความก้าวหน้าโดย กลไกคณะทำงาน 2. เก็บ-วิเคราะห์ข้อมูลการจัดการน้ำเสียของครัวเรือน วิเคราะห์ภาพรวมของชุมชน ย้อนอดีตสายน้ำคลองน้ำไส และคลองริมทางรถไฟ และทำแผนที่ชุมชนเพื่อสะท้อนผลกระทบจากน้ำเสีย 3. เวทีสร้างความเข้าใจการจัดการน้ำเสีย สื่อสารสร้างการเรียนรู้เรื่องสถานการณ์น้ำเสียชุมชน ผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เพื่อเรียนรู้และเพิ่มความตระหนักต่อการจัดการ โดยให้ประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง
4. การศึกษาดูงานของแกนนำครัวเรือนและกลไก เพื่อเรียนรู้ดูงานการจัดการน้ำเสียในชุมชนเมือง สรุปผลการศึกษาดูงาน กลไก กระบวนการ ภาคีร่วม ภาคียุทธศาสตร์ ผลลัพธ์ ผลกระทบ และการสร้างความยั่งยืน 5 . เวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงกระบวนการเพื่อค้นหาแนวทางวางแผนแก้ไข รายกลุ่มบ้าน 6. ประชุมเชิงปฏิบัติการครัวเรือนเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนได้ร่วมสะท้อนปัญหาการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน ปัญหาน้ำเสียในชุมชน สร้างความเข้าใจการบันทึกข้อมูลการจัดการน้ำเสียครัวเรือน แบ่งกลุ่ม คัดเลือกตัวแทนกลุ่ม จัดโครงสร้าง และสร้างเครือข่ายภายในชุมชน และร่วมกันออกแบบแก้ไข จัดทำแผน ทำเอง ทำร่วม ทำขอ เสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 7. สนับสนุนกลุ่มเป้าหมายปฏิบัติตามแผนทำเอง ทำร่วม
8. ประชุมกลไกเพื่อ ติดตามผลโครงการ เพื่อร่วมติดตามประเมินผลลัพธ์ วิเคราะห์ความก้าวหน้า ปรับแผน สรุปการประเมินผลการดำเนินงาน ถอดบทเรียนความสำเร็จ แล้วจัดทำเอกสารสื่อสารถึงชุมชนทุกครัวเรือน สถานประกอบการ และภาคี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนมีความรู้และตระหนักเรื่องการจัดการน้ำเสียชุมชน

1.เกิดกลไกจัดการน้ำเสียที่มาจาก 3 ฝ่าย(ชุมชน+ภาคีร่วม+ภาคียุทธ์)
2.ครัวเรือนเข้าร่วมจัดการน้ำเสียไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
3.ครัวเรือนเป้าหมายจัดการน้ำเสียได้ร้อยละ 50 4.มีข้อมูลสถานการณ์การจัดการน้ำเสียของชุมชน

5.00
2 เพื่อสร้างต้นแบบการจัดการน้ำเสียในชุมชนเมือง

1.มีมาตรการทางสังคมเพื่อการจัดการน้ำเสีย 2.เกิดครัวเรือนต้นแบบการจัดการน้ำเสียอย่างน้อย 6 ครัวเรือน 3.เกิดแผนจัดการน้ำเสียของชุมชน

5.00
3 ลดปริมาณน้ำเสียจากชุมชน

1 ปริมาณน้ำเสียจากชุมชนลดลงร้อยละ 60

5.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1227 75,065.00 25 72,565.00
9 พ.ค. 65 ปฐมนิเทศรับทุนโครงการการจัดการน้ำเสียชุมชนวัดนิโครธาราม-คลองน้ำใส 3 3,000.00 0.00
17 พ.ค. 65 ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 3 0.00 500.00
25 พ.ค. 65 ค่าอินเตอร์เนตเพื่อจัดทำกิจกรรม 656 1,000.00 500.00
26 พ.ค. 65 กิจกรรมที่1. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 25 6,375.00 625.00
17 มิ.ย. 65 กิจกรรมที่2. เก็บวิเคราะห์ข้อมูลการจัดการน้ำเสียของชุมชน 25 4,450.00 4,450.00
5 ก.ค. 65 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 25 0.00 625.00
9 ส.ค. 65 กิจกรรมที่1. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 3 25 0.00 625.00
12 ก.ย. 65 งานสมัชชาพัทลุงมหานครแห่งความสุข 3 0.00 0.00
30 ก.ย. 65 จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และป้ายชื่อโครงการ สสส. 2 1,000.00 1,000.00
12 ต.ค. 65 กิจกรรมที่1. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 4 คืนข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูล 25 0.00 2,625.00
26 ต.ค. 65 กิจกรรมที่3. เปิดเวทีสร้างความเข้าใจการจัดการน้ำเสียและจัดทำป้ายนิทรรศการ 80 14,800.00 14,800.00
10 พ.ย. 65 กิจกรรมที่1. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 5 25 0.00 625.00
10 พ.ย. 65 ประชุมเวทีสรุปผลการดำเนินงานของโครงการสสส.(เวทีรวม) 0 0.00 0.00
26 พ.ย. 65 กิจกรรมที่5. เปิดเวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงกระบวการเพื่อค้นหาแนวทางวางแผนแก้ไขรายกลุ่มบ้าน2ครั้ง 58 6,500.00 6,500.00
17 ธ.ค. 65 กิจกรรมที่7. ปฏิบัติการตามแผนแก้ไขน้ำเสีย( แผนทำร่วมหรือแผนทำร่วม) 25 0.00 0.00
8 มี.ค. 66 กิจกรรมที่1. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 6 25 0.00 625.00
10 มิ.ย. 66 กิจกรรมที่4. ศึกษาดูงานของแกนนำครัวเรือนและกลไก 40 18,200.00 18,200.00
1 ก.ค. 66 กิจกรรมที่1. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 7 25 0.00 625.00
12 ก.ค. 66 เาทีติดตามประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ร่วมกับหน่วยการจัดการ (ARE1) 0 0.00 0.00
27 ก.ค. 66 กิจกรรมที่6. ประชุมเชิงปฏิบัติการครัวเรือนเป้าหมายและรับรองแผนปฏิบัติการ 58 9,940.00 9,940.00
30 ก.ค. 66 กิจกรรมที่8. ประชุมกลไกเพื่อติดตามโครงการ ARE ครั้งที่1 30 3,900.00 3,900.00
5 ส.ค. 66 กิจกรรมที่9. เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย 40 0.00 0.00
5 ส.ค. 66 ค่าบริการอินเตอร์เน็ต 1 0.00 500.00
15 ส.ค. 66 งานสมัชชา คนพัทลุงหิ้วปิ่นโตมาชันชี 3 0.00 0.00
27 ส.ค. 66 กิจกรรมที่10. ติดตามผลโครงการ ARE (ครั้งที่2 ) สรุปผลถอดบทเรียนโครงการ 25 5,900.00 5,900.00

เข้าร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางร่วมกันในการทำงาน
1.ผู้รับผิดชอบโครงการ 2.ฝ่ายการเงิน 3.ฝ่ายทำข้อมูลคอมพิวเตอร์ 4.ตัวแทน อสม. - กองช่าง - กองสวัสดิการ - กองสาธารณสุข - คณะกรรมการชุมชน - ประชาชนในพื้นที่ เข้าร่วมประชุม เสนอแนวทาง -รับฟังปัญหา และร่วมกันวางแผนการจัดการน้ำเสียในชุมชน

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

คณะการทำงานได้มีความรู้ จัดเก็บข้อมูล เพื่อนำไปปรับใช้ในการทำงาน ให้เกิดประโยชน์ในชุมชนและมีคุณภาพ คนในชุมชนจะได้มีความเข้าใจถึงสถานการณ์ปัญหาน้ำเสียของชุมชน และมีความตระหนักในเรื่องการจัดการน้ำเสีย สร้างกลไกการขับเคลื่อนชุมชนลดน้ำเสียที่เข้มแข็ง จัดตั้งกลไก ผู้นำชุมชน ตัวแทนครัวเรือน ท้องที่ และภาคียุทธศาสตร์ เพื่อร่วมกันจัดการน้ำเสียระดับครัวเรือน และสถานประกอบการก่อนปล่อยลงคูระบายน้ำ จัดให้มีครัวเรือนต้นแบบในการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน เพื่อเป็นต้นแบบครัวเรือนปฏิบัติการลดน้ำเสีย ตามแผนและรูปแบบการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2565 14:12 น.