directions_run

(06)ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดโรคเรื้อรังในชุมชนตำบลบางหมาก

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดชุมพร


“ (06)ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดโรคเรื้อรังในชุมชนตำบลบางหมาก ”

เทศบาล ตำบลบางหมาก อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร

หัวหน้าโครงการ
นางศรีนวล อ่วมอ่อน

ชื่อโครงการ (06)ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดโรคเรื้อรังในชุมชนตำบลบางหมาก

ที่อยู่ เทศบาล ตำบลบางหมาก อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร จังหวัด ชุมพร

รหัสโครงการ 65-00240-0006 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2022 ถึง 30 เมษายน 2023


กิตติกรรมประกาศ

"(06)ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดโรคเรื้อรังในชุมชนตำบลบางหมาก จังหวัดชุมพร" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน เทศบาล ตำบลบางหมาก อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดชุมพร ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
(06)ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดโรคเรื้อรังในชุมชนตำบลบางหมาก



บทคัดย่อ

โครงการ " (06)ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดโรคเรื้อรังในชุมชนตำบลบางหมาก " ดำเนินการในพื้นที่ เทศบาล ตำบลบางหมาก อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร รหัสโครงการ 65-00240-0006 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2022 - 30 เมษายน 2023 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 130,000.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดชุมพร เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

เทศบาลตำบลบางหมากเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ตั้งอยู่เลขที่ 159 หมู่ที่ 11ตำบลบางหมาก ถนนสายคูขุด - บ้านบางเจริญ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองชุมพรไปทางทิศใต้ประมาณ 7 กิโลเมตร เดิมยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 2 มีนาคม2538 เป็น อบต.ขนาดเล็ก จำนวน 12 หมู่บ้าน พื้นที่ประมาณ 50 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 31,250 ไร่ องค์การบริหารส่วนตำบลบางหมากได้บริหารงานตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมคุณภาพชีวิต การจัดระเบียบชุมชนและสังคม การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว การบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นและหน่วยงานทุกภาคส่วน ได้รับรางวัลบริหารจัดการที่ดีเป็น อบต. ดีเด่น ประจำปี 2549 และรางวัลชมเชยด้านการจัดเก็บภาษีประจำปี พ.ศ. 2550 ได้จัด ประชุมประชาคมหมู่บ้าน ระหว่างวันที่ 11 กันยายน – 12 ตุลาคม พ.ศ.2551 และผ่านความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบางหมาก จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบางหมาก อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร เป็นเทศบาลตำบลบางหมาก แบ่งเขตการบริหารงานเป็นชุมชนย่อย 19 ชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารงาน และได้แบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลออกเป็นสองเขตเลือกตั้ง การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลบางหมาก และปี พ.ศ.2555 ได้ก่อสร้างอาคารสำนักงานเทศบาลหลังใหม่ เป็นอาคารสองชั้นเพื่อให้มีสถานที่ทำงานและบริการประชาชนให้เพียงพอได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น อาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลนาทุ่ง และเทศบาลเมืองชุมพร (ตำบลท่าตะเภา) ทิศใต้ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคา ทิศตะวันออกติดต่อกับเทศบาลตำบลท่ายาง ทิศตะวันตก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลตากแดด อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ลักษณะภูมิประเทศ มีพื้นที่ คิดเป็นร้อยละ 6.71ของพื้นที่อำเภอเมืองชุมพร สภาพพื้นที่โดยทั่วไปประกอบด้วย เป็นที่ราบส่วนใหญ่ เป็นดินร่วนปนทราย ประมาณ 25,546ไร่( ร้อยละ 81.75) ใช้ประโยชน์ของพื้นที่ในการเลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงโค ตลอดจนการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักได้แก่มะพร้าว ทำนา และสวนปาล์มน้ำมัน พื้นที่ลุ่ม มีพื้นที่รวมประมาณ 5,704 ไร่ (ร้อยละ 18.25 )มีฝนตกชุกตลอดปี เนื่องจากได้รับมรสุมทั้ง 2ด้าน คือ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปีเท่ากับ 1,701.9มิลลิเมตร มีแหล่งน้ำเป็นแหล่งน้ำผิวดิน และมีแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่สำคัญ เป็นแหล่งน้ำและแหล่งสัตว์น้ำ เช่น ปลา กุ้งแม่น้ำ ปู ทั้งยังเป็นแหล่งเลี้ยงปลาในกระชังของประชาชน และยังมีแหล่งน้ำที่สร้างขึ้นจากการขาดแคลนน้ำ ได้แก่ สระน้ำดอนทิงทวด คลองหนองแช่ดาน และสระน้ำสาธารณประโยชน์ นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ป่าชายเลนบางส่วนหมู่ที่ 8บ้านดอนรวบ มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลทุ่งคา อำเภอเมือชุมพร และอำเภอสวี ลักษณะของไม้เป็นไม้ป่าชายเลน
ด้านการเมืองการปกครอง การเมือง เทศบาลตำบลบางหมากมีเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ออกเป็น 2 เขต เขต 1 (หมู่ที่ 1 3 4 6 7 10 12) เขต 2 (หมู่ที่ 2 5 8 9 11) สมาชิกสภาเทศบาล (สท.) เขตละ 6 คน จำนวน 12 คน การปกครองท้องที่ แบ่งออกเป็น 12 หมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านปกครอง จำนวน 12 คน และแบ่งเป็น ชุมชนชุมชนบางหมาก (หมู่ที่ 1) ชุมชนดอนใหญ่ ชุมชนบ้านล่าง (หมู่ที่ 2) ชุมชนคูขุด(หมู่ที่ 3) ชุมชนดอนมังค่า (หมู่ที่ 4)ชุมชนบางผรา ชุมชนปลายดอน (หมู่ที่ 5) ชุมชนดอนไทรงาม 1 ชุมชนดอนไทรงาม 2 (หมู่ที่6) ชุมชนบ้านพ่วง ชุมชนแหลมปอ- ดอนนาว (หมู่ที่7) ชุมชนไทยทรงดำสามัคคี ชุมชนไทยทรงดำดอนรวบ (หมู่ที่8) ชุมชนบ้านคอเตี้ย ชุมชนบ้านดอนทราย (หมู่ที่9) ชุมชนบ้านดอนเสือฮูก(หมู่ที่10) ชุมชนดอนทิงทวด1 ชุมชนดอนทิงทวด 2 (หมู่ที่1)ชุมชนดอนพุทธรักษา (หมู่ที่12) สำนักงานเทศบาลตำบลบางหมาก มีการบริหารจัดการแบ่งเป็น ฝ่าย ประกอบด้วย 1. ฝ่ายการเมือง มีหน่วยงานย่อย ประกอบด้วย1)ฝ่ายบริหาร มีนายสุรพงศ์ ประสารวุฒิ นายกเทศมนตรีตำบลบางหมาก นายธนรัตน์ โอ่งชิต รองนายกเทศมนตรีตำบลบางหมาก นางศรีนวล อ่วมอ่อน รองนายกเทศมนตรีตำบลบางหมาก นายสายัณห์ ทิพย์พิมล เลขานุการนายกเทศมนตรีตำบลบางหมาก และ นายสกล เดชบุญพบ ที่ปรึกษานายกฯ 2) ฝ่ายนิติบัญญัติ สมาชิกสภาเทศบาลฯ จำนวน 12 คน มีนายโกศล สุขสวัสดิ์ ประธานสภาเทศบาลตำบลบางหมากนายเอกชัย ศรีสงกา รองประธานสภาฯ นายสุทิน ชูกลิ่น เลขานุการสภาฯ และสมาชิกสภาเทศบาลอีก 9 คน 2.ฝ่ายประจำ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่และลูกจ้างสำนักปลัด 58 คน กองคลัง 9 คน และกองช่าง 13 คน ทุนและศักยภาพชุมชน
เทศบาลตำบลบางหมากมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,278 ครัวเรือน จำนวนประชากรทั้งสิ้น 6,979 คน แยกเป็นชาย 3,376 คน หญิง 3,603 คน ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 65 มีเชื้อสายไทย โดยกำเนิดบางส่วนประมาณร้อยละ 35 มีเชื้อสายของชนกลุ่มน้อยหรือลาวโซ่ง (ชาวไทยทรงดำ) ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 8 หมู่ที่ 9 ตำบลบางหมาก มีภาษาพูดและวัฒนธรรมประจำกลุ่มของตนเอง เยาวชน (อายุต่ำกว่า 18 ปี) 1,346คน อายุ 18 - 59 ปี 4,288 คน ตั้งแต่อายุ 60 ปี ขึ้นไป1,336คน ด้านสภาพทางเศรษฐกิจ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม สวนมะพร้าว สวนปาล์ม สวนทุเรียน ประมาณ 15,493ไร่ นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่าย เช่น โค กระบือ สุกร เป็ด ไก่ เป็นต้น รายได้บุคคลเฉลี่ยประมาณ 89,733.52 บาท/คน/ปี รายจ่ายบุคคลเฉลี่ยประมาณ 60,350.35 บาท/คน/ปี ) มีหน่วยธุรกิจ ประกอบด้วย ปั๊มน้ำมัน 1 แห่ง ดีแอนด์ที มินิมาร์ท ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 บ้านดอนรวบ โรงงานน้ำปลา 1 แห่ง ตั้งไฮ้ลิ้มตั้งอยู่หมู่ที่ 5 บ้านบางผรา และโรงแรม/รีสอร์ท 3 แห่ง   ด้านสภาพทางสังคม 1 ) มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบางหมาก 3 แห่ง ประกอบด้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดอนไทรงาม ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคอเตี้ย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบางหมากโรงเรียนประถมศึกษา 2 แห่ง สังกัด สพฐ.โรงเรียนวัดคูขุด และโรงเรียนบ้านคอเตี้ย โรงเรียนมัธยมศึกษา 2 แห่ง สังกัด สพฐ.โรงเรียนบ้านดอนไทรงาม โรงเรียนวัดดอนรวบ ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน 7 แห่ง หมู่ที่ 2 3 6 7 8 9 10 ศูนย์สารสนเทศดิจิทัลชุมชนดอนทิงทวด ณ เทศบาลตำบลบางหมาก ศูนย์ กศน.ตำบลบางหมาก หมู่ที่ 5 และบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดชุมพร หมู่ที่ 11 ตำบลบางหมาก 2)มีกลุ่มองค์กร/กองทุนชุมชน/ศูนย์เรียนรู้ชุมชน/หน่วยงาน ประกอบด้วย โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) หมู่ที่ 9 บ้านคอเตี้ย กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 3 กลุ่ม (บ้านดอนใหญ่ บ้านดอนรวบ บ้านคอเตี้ย) ธนาคารหมู่บ้าน 4 แห่ง (บ้านดอนไทรงาม บ้านพ่วง บ้านดอนเสือฮูก บ้านดอนพุทธรักษา) สัจจะกองทุนหมู่บ้าน 12 แห่ง หมู่ที่ 1-12 กองทุนหมู่บ้าน 12 แห่ง หมู่ที่ 1-12 กองทุนพัฒนาสตรีตำบลบางหมาก กองทุนแม่ของแผ่นดิน หมู่ที่6บ้านดอนไทรงาม วิสาหกิจชุมชน/กลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP ตำบลบางหมาก กลุ่มขนมไทยบ้านคูขุด วิสาหกิจชุมชน กลุ่ม (ทอปกรีนเวอร์จิ้นออยส์ ระดับห้าดาวและผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพตำบลบางหมาก) ห้างหุ้นส่วน ยูเจริญ กองหนุนเพื่อความมั่นคงของชาติ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ( อปพร. ) อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) กองทุนสวัสดิการชุมชน และศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านดอนไทรงาม หมู่ที่ 6 บ้านดอนไทรงาม 3)ด้านสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม มีการดำเนินงานด้านเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 1,277 คน ชาย 515 คน หญิง 762 คน เบี้ยความพิการ 147 คน ชาย 82 คน หญิง65คน เงินสงเคราะห์ผู้ป่วยเอดส์ 7คน 4) ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม มีวัด / สำนักสงฆ์/ศาลเจ้า 7 แห่ง ประกอบด้วย วัดสุวรรณนัทธี (วัดคูขุด)วัดดอนรวบวัดดอนรวบ วัดคอเตี้ย วัดบางผรา วัดทุ่งไผ่ วัดดอนใหญ่ และศาลเจ้าปุ่นเฒ่ากง   ด้านสภาพสิ่งแวดล้อม และโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วย การคมนาคม เทศบาลตำบลบางหมากมีเส้นทางคมนาคมที่สำคัญผ่าน คือ ถนนลาดยางสายหนองทองคำ - ทุ่งคา โดยเริ่มจากทางแยกไปองค์การบริหารส่วนตำบลตากแดด ผ่านหมู่ที่ 6 7 10 และหมู่ที่ 8 องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคา ไปจดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) นอกจากนี้ แล้วยังมีเส้นทางอื่นในเขตเทศบาลตำบลบางหมากอีกหลายเส้นทางที่มีความสะดวกและเข้าถึงพื้นที่ทุกหมู่บ้านได้อย่างรวดเร็ว การสื่อสาร/โทรคมนาคม มีสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เขตชุมพร (กสทช.เขต 14 (ชุมพร) ตั้งอยู่หมู่ที่11 ตำบลบางหมาก อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ไฟฟ้า การใช้ไฟฟ้าของประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลบางหมาก มีไฟฟ้าใช้12 หมู่บ้าน โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดชุมพร เป็นผู้ดำเนินการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ประชาชนใช้อย่างทั่วถึง ประปา ในเขตเทศบาลตำบลบางหมากมีผู้ใช้น้ำประปา ประมาณ 2,808 ครัวเรือน โดยการประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดชุมพร เป็นผู้ดำเนินการจ่ายน้ำในการให้บริการแก่ประชาชน12 หมู่บ้าน นอกจากนี้ยังมีประปาของเทศบาลตำบลบางหมากเป็นผู้ผลิตน้ำประปาและให้บริการประชาชน จำนวน 8 หมู่บ้าน หมู่ที่2 3 5 6 7 9 11โดยอาศัยน้ำดิบจากแม่น้ำท่าตะเภาซึ่งไหลผ่าน หมู่ที่ 1 2 3 7 และสระเก็บน้ำ 2 แห่ง (สระน้ำดอนทิงทวด) การผลิตน้ำประปา เทศบาลตำบลบางหมากมีระบบประปา 2 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 3ขนาดกำลัง การผลิต 20 ลูกบาศก์เมตร และหมู่ที่ 11 ณ สำนักงานเทศบาลตำบลบางหมาก กำลังการผลิต 20 ลูกบาศก์เมตร
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มี 1) สถานีตำรวจ 1 แห่ง หมู่ที่ 8 บ้านดอนรวบ ป้อมตำรวจ 1 แห่ง หมู่ที่ 6 บ้านดอนไทรงาม 2) ศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเทศบาลตำบลบางหมาก 1 แห่ง 3) ศูนย์รถอำนวยความสะดวก รถพยาบาลฉุกเฉิน 1 คัน รถดับเพลิง 2 คัน รถบรรทุกน้ำ 1 คัน รถบรรทุกน้ำเอนกประสงค์ 2 คันรถกระเช้าไฟฟ้า 1 คันและรถบรรทุกขยะ 3 คัน และทรัพยากรธรรมชาติ มีที่ดินสาธารณประโยชน์แปลงดอนทิงทวด หมู่ที่ 9,11 ตำบลบางหมาก เนื้อที่ประมาณ 1,400 ไร่ มีสถานที่ราชการ วัด โรงเรียน และประชาชนเข้าอยู่อาศัยและทำประโยชน์ มีป่าชายเลนบริเวณหมู่ที่ 8 ตำบลบางหมาก เชื่อมตำบลทุ่งคา มีภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์น้ำมันมะพร้าวและการทอผ้าไหมของชาวไทยทรงดำ   ด้านสุขภาพและสาธารณสุข มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางหมาก และคลินิกขายยา 1 แห่ง หมู่ที่ 8บ้านดอนรวบ ข้อมูลสถานะสุขภาพของประชาชนในตำบลบางหมากพบว่า การตรวจคัดกรองความเสี่ยง โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ปี 2564 จำนวน 2,406 คน คัดกรอง 2,163 คนคิดเป็นร้อยละ 89.9 พบผู้ที่มีภาวะเสี่ยง ต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง 656 คน และโรคเบาหวานจำนวน 77 คน และเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจำนวน 350 คน ผู้พิการ 147 คน ผู้สูงอายุ 1,227 คน แยกเป็น ผู้ป่วยติดเตียง 5.02% ติดบ้าน 93.6% ติดสังคม 1.38% 1.1 สถานการณ์ปัญหาของพื้นที่ สาเหตุของปัญหา 5
เนื่องจากตำบลบางหมากเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นส่วนใหญ่ทั้งในด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และการคมนาคมที่สะดวก เป็นชุมชนกึ่งเมืองทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ มุ่งความสำคัญไปในเรื่องอาชีพและความเป็นอยู่ทั่วไปทั้งด้านสังคมที่มีครอบครัวพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวมากขึ้น ผู้สูงอายุอยู่มากขึ้น(ผู้สูงอายุ1,277 คน) และบางรายอยู่ตามลำพังจากสมาชิกออกไปทำงานนอกบ้านของวัยแรงงาน การประกอบอาชีพนอกบ้านไม่มีเวลาในการประกอบอาหารเองจึงหาซื้ออาหารสำเร็จรูป รวมถึงขาดการออกกำลังกายและไม่สามารถปรับพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกหลักได้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จากการตรวจคัดกรองความเสี่ยง โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ปี 2564 พบผู้ที่มีภาวะเสี่ยงจำนวนต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 24 คน กลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ถ้าไม่ได้รับการดูแลหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมอาจพัฒนาเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้ในอนาคต จึงส่งผลกระทบให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ดังนี้ 1) ด้านสุขภาพ เป็นโรคความดันโลหิตสูง 350 คน โรคเบาหวาน 77 คน และเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจำนวน 350 คน เป็นต้น 2) ด้านสังคม มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมได้น้อยด้วยวิถีอาชีพในครัวเรือน เสียเวลา และเสียความรู้สึกต่อการบริการที่รอนานและการบริการที่ไม่ดี รวมทั้งไม่ชอบโรงพยาบาล เป็นต้น 3) ด้านเศรษฐกิจ ครัวเรือนจึงมีค่าใช้จ่ายการดูแลรักษาเฉลี่ยรายละ 220-320 บาทต่อครั้ง และค่าขาดรายได้รวมทั้งผู้ป่วยและญาติ 600 บาทต่อครั้งอีกด้วย ซึ่งเป็นภาระต่อสังคมเศรษฐกิจและครอบครัวได้ 4) ด้านสภาพแวดล้อม มีเศษของเหลือใช้จากครัวเรือนรวมทั้งขยะติดเชื้อ(จากสารคัดหลั่งของผู้ป่วย)ทิ้งรวมกับขยะทั่วไป ก่อให้เกิดความรำคาญที่มีแมลงวัน และควันจากการเผาขยะครัวเรือน เป็นต้น จากการวิเคราะห์ต้นไม้ปัญหาของประชาชนในพื้นที่ตำบลบางหมาก พบว่าสาเหตุต่างๆ ดังนี้
1. ด้านพฤติกรรมผู้นำส่วนใหญ่ไม่ตรวจสุขภาพประจำปี ไม่อยากจะรู้ว่าตนเป็นโรคอะไร (รับไม่ได้)การออกกำลังกายบ้าง ดื่มเหล้า-สูบบุหรี่ รายที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้วกินยาไม่ตรงเวลา ไม่ชอบกินผักทำให้มีปัญหากับระบบขับถ่าย พฤติกรรมการกินตามใจปาก ชอบเสี่ยงโชคและชอบสังคมสังสรรค์ 2. ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ชุมชนเกษตรกรรมที่มีสารตกค้างและสารปนเปื้อนทั้งในอาหาร อากาศ ขยะ และเจ้าหน้าที่ให้ความรู้ด้านกายภาพยังครอบคลุมและทั่วถึง
3. ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม บ่อนการพนันและค่ายไก่ งานบวช วันเกิด งานแต่งและงานเลี้ยงต่าง ๆ  มีสารเสพติด เช่นยาบ้า น้ำกะท่อมผู้สูงอายุต้องอยู่ตามลำพัง และครอบครัวไม่มีเวลาดูแล 4. ด้านกลไก การดูแลสุขภาพทุกกลุ่มวัย ร้อยละ 40 ขาดผู้รับผิดชอบโดยตรง อสม.มีความรู้ยังไม่ครอบคลุมในการดูแล การสื่อสารทำความเข้าใจในบทบาทของผู้นำมีน้อย
5. แรงเสริม เป็นจุดแข็งของชุมชนที่มีกลุ่มอาชีพ กลุ่มกองทุนสวัสดิการหลายแหล่ง มีสถานที่อำนวยความสะดวกของหน่วยงานราชการ เอกชน ที่พร้อมในการมีส่วนร่วมของชุมชน ทั้งในส่วนของศักยภาพของคน ผู้นำ หน่วยงาน รพสต.บางหมาก โรงเรียน (ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 แห่ง โรงเรียนปฐมศึกษา 2 แห่ง มัธยมศึกษา 2 แห่ง) เทศบาลบางหมาก และวัด/สำนักสงฆ์ 7 แห่ง
6. แรงต้าน งบประมาณจำกัด (การบริหารจัดการ) ไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรม 40% และการแปรรูปสมุนไพร 30% 1.2 แนวทางการแก้ไขปัญหาที่จะเสนอในโครงการนี้
จากข้อมูลสภาพการณ์ของตำบลบางหมากทำให้เห็นถึงศักยภาพและความเข็มแข็งของตำบลที่มีทีมงานผู้บริหารท้องถิ่นที่มีความสามารถอย่างมากทั้งในส่วนของการบริหารงาน บริการประชาชน และการประสานเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภานนอกชุมชน ดำเนินการได้ดังนี้ มิติ/ประเด็น คน/กลุ่มคน บริบท/ข้อมูลพื้นฐาน สถานการณ์สุขภาวะในปัจจุบัน แนวทางการพัฒนา ผลกระทบด้านบวก ผลกระทบด้านลบ
คน/กลุ่มคน -ความรู้/ความเชื่อ -วิถีชีวิต/จิตวิญญาณ -พฤติกรรม/พันธุกรรมฯ -ประชาชนอายุ ปีขึ้นไป (2564)เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 656 คน และเบาหวานจำนวน 77 คน และเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจำนวน 350 คน ผู้สูงอายุ 1,227 คน แยกเป็น ผู้ป่วยติดเตียง 5.02% ติดบ้าน 93.6% ติดสังคม 1.38% -มีศักยภาพและภูมิปัญญาเฉพาะตัว -มีเวลาว่าง/ชอบอิสระ -มีชมรมอสม. - ขาดตระหนักในเรื่องการออกกำลังกาย การบริโภคอาหารปลอดภัยและคุณค่า - ชอบสังสรรค์
-สูบบุหรี่10% 1.ประชุมชี้แจงประชาชนในเวทีประชุมประจำเดือน 2.ให้ความรู้และพัฒนาศักยภาพกลุ่มแกนนำต้นแบบให้นำความรู้ไปปฏิบัติและเป็นแบบอย่างที่ดี
3.จัดกิจกรรมเชิงรุกและรณรงค์วิธีการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคด้วยการสื่อสารประชาสัมพันธ์ทางสื่อชุมชน การประชุมกลุ่มย่อยและมุมสภากาแฟ
4.ให้ความรู้กับแกนนำชุมชนและประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่เป็นโรคในเรื่อง 3อ2สที่ถูกต้องเหมาะสม สภาพแวดล้อม -เศรษฐกิจ -สังคมวัฒนธรรม -การสื่อสาร/ศึกษาฯ ขาดสถานที่กลางในการพบปะ พูดคุยและออกกำลังกาย มีปราชญ์ชาวบ้านที่มีภูมิปัญญาและความสามารถ -ปลูกผักกินเอง14% -มีไลน์กลุ่ม ขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง -ขาดผู้ดูแลที่เหมาะสม(มีความรู้เฉพาะทาง) 5. ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยการนำภูมิปัญญามาปรับใช้ 6.ปฏิบัติการจริงในพื้นที่แบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดยใช้พื้นที่ 2 ข้างทางถนนในชุมชน 3 เส้นทางเป็นพื้นที่กลางปลูกพืชผักสมุนไพร และทุกบ้านช่วยกันดูแล 7.สำรวจความจำเป็นใช้วัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่กลาง ระบบ/กลไก -กลไกอาสา -คณะทำงาน/กรรมการ -องค์กร/สถาบัน -ระบบที่เกี่ยวข้องฯ. ผู้นำชุมชน อสม ชมรมอสม. อบต/ท้องที่ -สนับสนุนงบประมาณ/สวัสดิการ -เป็นวิทยากร -มีกลุ่มออมทรัพย์ จำนวน 3 กลุ่ม
-กองทุนหมู่บ้าน12 กลุ่มฯ -วัดและสำนักสงฆ์/โรงเรียน 4 แห่ง ศูนย์เด็กเล็ก 3 แห่ง -รพ.สต.บางหมาก - หน่วยโทรคมนาคมฯลฯ - ขาดผู้นำการเปลี่ยนแปลง -แปรรูปสมุนไพร 30% -การสื่อสารของผู้นำมีน้อย
8. จัดกติกากลุ่มและประกาศใช้ 9.ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขอสนับสนุนทรัพยากรตามความเหมาะสม 10. ค้นหาผู้นำต้นแบบ 11.นำข้อมูลที่ได้จากโครงการเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการพัฒนาต่อยอดกิจกรรมต่อไป

1.3 การดำเนินงานโครงการจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย เทศบาลตำบลบางหมากตระหนักและให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วมกับทีมงานภายนอกที่มีข้อเสนอแนวคิดในการพัฒนาชุมชนให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และเกิดความยั่งยืนในภายภาคหน้าต่อไป ซึ่งในครั้งนี้ได้มีการรวบรวมข้อมูล ค้นหาปัญหา และจัดแนวทางการแก้ไขปัญหาชุมชนในระยะแรกโดยมีการดำเนินการ โดยจะดำเนินการแก้ไขในกลุ่มผู้นำชุมชนทุกกลุ่มเป็นอับดับแรก ซึ่งประกอบด้วย ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ประธานกลุ่มต่าง ๆในชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 120 คน ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของการจัดทำโครงการครั้งนี้ เพื่อให้ผู้นำทุกคน1) มุ่งเน้นความสามัคคีร่วมกันโดยให้มีกิจกรรมทำร่วมกันอย่างน้อยเดือนละครั้ง เป็นการสร้างความรัก ความสามัคคีระหว่างกันในชุมชน 2) มุ่งเน้นให้ผู้นำชุมชนมีสุขภาพที่แข็งแรงโดยการกินผักปลอดสารพิษ การปลูกผักกินเอง รั้วกินได้หรือการปลูกผักเป็นกลุ่มผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้งด้านโภชนาการ ร่างกาย และจิตใจ 3) มุ่งเน้นให้คนในชุมชนมีคุณธรรมและจริยธรรมเกิดขึ้นชุมชน ฟื้นฟูกิจกรรมวัฒนธรรมประเพณีของหมู่บ้านเพื่อให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญและอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามของชุมชนอย่างมีส่วนร่วมของทุกคนและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยมีเป้าหมายในระยะสั้นเพื่อให้ผู้นำชุมชนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และสามารถเป็นต้นแบบในการจัดการโรคเรื้อรังได้อย่างถูกต้องหมาะสม และลดปัจจัยเสี่ยงเพิ่มปัจจัยเสริมของผู้นำชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นลดโรคเรื้อรังในชุมชนซึ่งจะส่งผลต่อผลลัพธ์ระยะยาวที่ประชาชนในชุมชนมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ความสัมพันธ์ทางสังคมและมีสิ่งแวดล้อมที่ดี สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ระดับจังหวัดและระดับชาติ

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อให้ผู้นำชุมชนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และสามารถเป็นต้นแบบในการจัดการโรคเรื้อรังได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  2. 2. เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีที่สามารถลดโรคเรื้อรังได้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. รณรงค์สือสารให้ประชาชนรับทราบเรื่องสุขภาพ
  2. สำรวจข้อมูล/วิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ
  3. จัดเวทีสร้างความร่วมมือจัดโครงการเรื้อรังเข้าร่วมประชุมในกิจกรรมของชุมชนและเวทีผู้นำท้องถิ่นประจำเดือนนำเสนอความก้าวหน้าและผลการปฏิบัติงานโครงการเพื่อเชื่อมโยงเครือข่าย
  4. แต่งตั้งคณะทำงาน
  5. พัฒนาศักยภาพคณะทำงานขับเคลื่อนการทำงานโครงการ NCD
  6. พัฒนาศักยภาพจัดเวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อเรียนรู้และพัฒนางบโครงการ สสส.
  7. จัดเวทีประชาคมรับรองและประกาศกติกาชุมชน
  8. ตรวจสุขภาพประจำปี
  9. ปฎิบัติการในพื้นที่จริงด้วยการปลูกผักปลอดสารพิษสวนสมุนไพรป้องกันโควิค-19และถนนสุขภาพ
  10. อบรมให้ความรู้กรรมการขับเคลื่อนโรคเรื้อรัง NCD
  11. พัฒนาโครงการเชิงรุกในการจัดโครงการโรคเรื้อรังและผลักดันเข้าแผนกองทุนหลักประกันฯและยุทธศาสตร์เทศบาล
  12. อบรมให้ความรู้การป้องกันโรค NCD และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  13. คัดเลือกผู้นำต้นแบบ
  14. ถอดบทเรียนและค้นหาการพัฒนานวตกรรม
  15. จัดเวทีคืนข้อมูล
  16. ประชุมหมู่บ้าน ชุมชน สปสช. สภาเทศบาลตำบลบางหมาก
  17. ประชาสัมพันธ์ุโครงการผ่าน Facebook และ Line
  18. นำโครงการเข้าแผนชุนชน และแผนตำบล
  19. ปฐมนิเทศโครงการ
  20. คัดเลือกคณะทำงาน มอบหมายหน้าที่
  21. ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือน กรกฎาคม 2565
  22. การบันทึกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์
  23. สำรวจข้อมูลสุขภาพผู้เข้าร่วมโครงการโดยใช้แบบสอบถาม ครั้งที่ 1
  24. กิจกรรมออกกำลังกาย
  25. ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือน สิงหาคม 2565
  26. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน กันยายน 2565
  27. อบรมนักสื่อสร้างสร้างสรรค์
  28. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ตุลาคม 2565
  29. อบรมให้ความรู้กรรมการขับเคลื่อน โครงการโรคเรื้อรัง NCD
  30. กิจกรรมสวนสมุนไพรป้องกันโควิต
  31. จัดเวทีประชาคมและคัดเลือกพร้อมประกาศกติกาชุมชน
  32. กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ
  33. ถนนสายสุขภาพ
  34. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการและป้ายปลอดบุหรี่/แอลกอฮอ
  35. ประชุมเวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาโครงการสสส.สำนัก ๖ ร่วมกับNF ชุมพร
  36. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน พฤศจิกายน 2565
  37. ตรวจสุขภาพประจำปี (ครั้งที่ 1)
  38. อบรมให้ความรู้ NCD
  39. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ธันวาคม 2565
  40. ประชุมประจำเดือน มกราคม 2566
  41. ประชุมประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2566
  42. เวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)
  43. พบพี่เลี้ยงครั้งที่ 1
  44. ประชุมประจำเดือน มีนาคม 2566 และ ARE
  45. ถอดบทเรียน
  46. ถอดบทเรียน
  47. หักเงินยืมเปิดบัญชีโครงการ
  48. 3.2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกชุมชนกับพื้นที่ต้นแบบ
  49. ประชุมถอดบทเรียน
  50. ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือน เมษายน 2566
  51. คัดเลือกผู้นำต้นแบบ
  52. สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 2
  53. ตรวจสุขภาพ ครั้งที่ 2
  54. อบรมให้ความรู้การป้องกันโรค NCD และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  55. พบพี่เลี้ยง ครั้งที่ 2
  56. พบพี่เลี้ยง ครั้งที่ 3
  57. จัดเวทีคืนข้อมูล
  58. จัดทำรายงาน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
คณะกรรมการชุมชน 54
ตัวแทน อสม 10
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 24
ผู้บริหารเทศบาล 5
ผู้ใหญ่บ้าน 12
สมาชิกสภาเทศบาล 12
เจ้าหน้าที่ 3

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้นำชุมชนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และสามารถเป็นต้นแบบในการจัดการโรคเรื้อรังได้อย่างถูกต้องหมาะสม
  2. ผู้นำชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สามารถลดโรคเรื้อรังได้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชาสัมพันธ์ุโครงการผ่าน Facebook และ Line

วันที่ 1 มิถุนายน 2022 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

โพสประชาสัมพันธ์โครงการ  และเรื่องราวสุขภาพ  ผ่านช่องทาง racebook  เพจเทศบาลตำบลบางหมาก และ Line กลุ่ม ต่างๆ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ประชาชนรับทราบเรื่องโครงการที่ดำเนินงาน เกี่ยวกับโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดโรคเรื้อรังในชุมชนตำบลบางหมาก 2. ประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวและนำมาใช้ในการปลับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดโรคเรื้อรังในชุมชนตำบลบางหมาก

 

0 0

2. นำโครงการเข้าแผนชุนชน และแผนตำบล

วันที่ 1 มิถุนายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. เสนอโครงการเข้าแผนสุขภาพประจำปีงบประมาณ 2566
  2. นำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดโรคเรื้อรังในชุมชมตำบลบางหมาก เข้าแผนสุขภาพชุมชนตำบลบางหมากในปีงบประมาณ 2566
  3. เสนอโครงการเข้าแผนชุมชน และนำเข้าสู่แผน 3 ปี แผน 5 ปี  ่และแผนปีต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. บรรจุโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ  เข้าแผนสุขภาพประจำปีงบประมาณ 2566
  2. บรรจุโครงการเข้าแผนชุมชน
  3. บรรจุโครงการเข้าแผน 5 ปี แผน 3ปี และแผนปี

 

0 0

3. ปฐมนิเทศโครงการ

วันที่ 4 มิถุนายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. มีการประชุมและปฐมนิเทศโครงการย่อยระดับพื้นที่ ปี 2565
    1.1  เปิดการปฐมนิเทศโครงการสร้างเสริมสุขภาวะ ปี 2565 ของสำนักงานสร้างสรรค์โอกาส(สสส.สน.6)
    1.2  ชี้แจงการดำเนินงานโครงการการสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาวะระดับพื้นที่เพื่อชุมพรน่าอยู่  และโครงการย่อยระดับพื้นที่  โดย  ผู้แทน สสส.สน.6  นายวิฏรจน์  แสงบางกา  ประธานคระกรรมการโครงการฯ และ คุณทวีวัตร  เครือสาย 1.3 ประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มย่อย 7 กลุ่ม  การคลี่เคลื่อนบันไดผลลัพธ์โครงการย่อย  โดยทีมสนับสนุนวิชาการ
    -  เกษตรและอาหารระดับหมู่บ้าน -  เกษตรและอาหารระดับตำบล -  เกษตรอาหารระดับสมาพันธ์การเกษตรอำเภอ -  เกษตรและอาหารระดับเครือข่าย -  จัดการโรคเรื้อรังระดับชุมชน/หมู่บ้าน -  จัดการโรคเรื้อรังระดับหน่วยบริการ -  จัดการโรคเรื้อรังระดับตำบล
    1.4  ประชุมชี้แจงการจัดการโครงการย่อยระดับพื้นที่  โดย นางพัลลภา  ระสุโส๊ะ และทีม 1.5 ล้อมวงอภิปราย : ผู้ผลิตปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย  เพื่อเชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่าของระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพกับการจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ ด้วยกลไกการจัดการและกระบวนการอย่างไร? โดย ดร.ชุมพล  อังคณานนท์  นายธีรนันต์  ปราบราย นายทวีวัตร  เครือสาย คณะทำงาน/ทีมสนับสนุนวิชาการ 2.  มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในการดำเนินโครงการย่อย  สสส. 2.1 ได้มีการพบปะพูดคุยกับเพื่อนๆที่จัดทำโครงการโรคเรื้อรัง จำนวน 9 โครงการ  พร้อมจัดทำข้อมูลชุมชนตามลักษณะของโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ดำเนินการเสนอโครงการย่อยระดับพื้นที่  ปี 2565  โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ  เพื่อลดโรคเรื้อรังในชุมชนตำบลบางหมาก
  2. เรียนรู้การดำเนินงานโครงการย่อย สสส.

 

4 0

4. ประชุมหมู่บ้าน ชุมชน สปสช. สภาเทศบาลตำบลบางหมาก

วันที่ 10 มิถุนายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1. การประชุมคณะกรรมการ ประจำเดือน 1.1 จัดประชุมคณะกรรมการชุมชน เพื่อเลือกคณะทำงานโครงการ จากคณะกรรมการชุมชน         1.2 มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบกับคณะทำงานโครงการ โดยแบ่งเป็นกลุ่มการทำงาน
          ตามความถนัด ของแต่ละคน         1.3 จัดทำแผนปฏิบัติการโครงการ กำหนดการลงพื้น กำหนดเวลาการประชุมแต่ละเดือน   2. พี่เลี้ยงชี้แจงความเป็นมาของโครงการ งบประมาณโครงการ ระยะเวลาการทำโครงการ   3. เรียนรู้วิธีการทำงานจากกิจกรรมในตำแหน่งต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย โดยเฉพาะตำแหน่งต่างๆ ที่     ประกอบไปด้วย - ผู้รับผิดชอบโครงการ ทำหน้าที่ รับผิดชอบโครงการ ดำเนินงานตามโครงการและติดตามผลการ
ดำเนินงานตามกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายให้คณะกรรมการทุกคน - เลขานุการ ทำหน้าที่ เป็นผู้ช่วยผู้รับผิดชอบโครงการ อำนวยความสะดวก ประสานงาน และ       ช่วยสนับสนุนให้โครงการสำเร็จลุลวง - ผู้ช่วยเลขานุการ ทำหน้าที่ จัดทำเอกสาร จัดทำข้อมูล จัดเตรียมรายงานการประชุม ดูแล   ตารางนัดหมาย - เหรัญญิก ทำหน้าที่ ควบคุม ดูแล ตรวจสอบการรับ จ่าย และเก็บรักษาเงิน - ประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่ เผยแพร่ข่าวสาร ความรู้ สิทธิประโยชน์ ผลงาน ของโครงการ - คณะกรรมการติดตามประเมินผล 3 คน ทำหน้าที่ ตรวจสอบการดำเนินงานของโครงและ ประเมินผลโครงการ และรายงานผลให้ที่ประชุมทราบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ทำให้มีคณะทำงานเกิดขึ้น รวมทั้งหมดจำนวน 17 คน
  2. คณะทำงานรู้หน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง 3.ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมขงชุมชนและคณะทำงาน 4.คณะทำงานหลายคนได้ทราบว่าแต่ละคนมีศักยภาพในแต่ละด้าน เช่น ผู้รับผิดชอบโครงการมี
    ความสามารถในการบริหารจัดการ(อดีตผู้อำนวยการโครงการ)

 

0 0

5. คัดเลือกคณะทำงาน มอบหมายหน้าที่

วันที่ 10 มิถุนายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1. การประชุมคณะกรรมการ ประจำเดือน 1.1 จัดประชุมคณะกรรมการชุมชน เพื่อเลือกคณะทำงานโครงการ จากคณะกรรมการชุมชน                 1.2 มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบกับคณะทำงานโครงการ โดยแบ่งเป็นกลุ่มการทำงาน
                    ตามความถนัด ของแต่ละคน                 1.3 จัดทำแผนปฏิบัติการโครงการ กำหนดการลงพื้น กำหนดเวลาการประชุมแต่ละเดือน       2. พี่เลี้ยงชี้แจงความเป็นมาของโครงการ งบประมาณโครงการ ระยะเวลาการทำโครงการ       3. เรียนรู้วิธีการทำงานจากกิจกรรมในตำแหน่งต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย โดยเฉพาะตำแหน่งต่างๆ ที่         ประกอบไปด้วย - ผู้รับผิดชอบโครงการ ทำหน้าที่ รับผิดชอบโครงการ ดำเนินงานตามโครงการและติดตามผลการ
ดำเนินงานตามกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายให้คณะกรรมการทุกคน - เลขานุการ ทำหน้าที่ เป็นผู้ช่วยผู้รับผิดชอบโครงการ อำนวยความสะดวก ประสานงาน และ           ช่วยสนับสนุนให้โครงการสำเร็จลุลวง - ผู้ช่วยเลขานุการ ทำหน้าที่ จัดทำเอกสาร จัดทำข้อมูล จัดเตรียมรายงานการประชุม ดูแล       ตารางนัดหมาย - เหรัญญิก ทำหน้าที่ ควบคุม ดูแล ตรวจสอบการรับ จ่าย และเก็บรักษาเงิน - ประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่ เผยแพร่ข่าวสาร ความรู้ สิทธิประโยชน์ ผลงาน ของโครงการ - คณะกรรมการติดตามประเมินผล 3 คน ทำหน้าที่ ตรวจสอบการดำเนินงานของโครงและ ประเมินผลโครงการ และรายงานผลให้ที่ประชุมทราบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ทำให้มีคณะทำงานเกิดขึ้น รวมทั้งหมดจำนวน 17 คน
  2. คณะทำงานรู้หน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง 3.ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมขงชุมชนและคณะทำงาน 4.คณะทำงานหลายคนได้ทราบว่าแต่ละคนมีศักยภาพในแต่ละด้าน เช่น ผู้รับผิดชอบโครงการมี
    ความสามารถในการบริหารจัดการ(อดีตผู้อำนวยการโครงการ)

 

30 0

6. ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือน กรกฎาคม 2565

วันที่ 29 กรกฎาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานหลังจากผู้รับผิดชอบโครงการเข้าร่วมปฐมนิเทศกับทีม Node Flagship        เมื่อ 4-5 มิ.ย.2565เพื่อ 1. ชี้แจงโครงการให้คณะทำงานทราบเพื่อมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบ
2. จัดทำแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับกิจกรรมและหน้าที่ของคณะกรรมการ 3. วางแผนการปฏิบัติงานของคณะทำงานจำนวน 10 ครั้ง ประกอบด้วยประชุมชี้แจงโครงการ ออกแบบเก็บข้อมูลผู้สูงอายุ/วิเคราะห์ข้อมูล  วางแผนการเยี่ยมกลุ่มเป้าหมาย ร่างกติกาชุมชนออกแบบบุคคลต้นแบบ ประสานเครือข่าย/จัดหาพื้นที่กลาง ออกแบบหลักสูตรการอบรม ติดตามผลการดำเนินงาน-การเรียนรู้เพื่อพัฒนา 3 ครั้ง และสรุปผลการดำเนินงาน/คืนข้อมูลชุมชน 4. บรรจุวาระของสสส.ไว้ในแผนการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านทุกวันที่ 10 ของเดือน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คณะกรรมการเข้าใจและร่วมกันสำรวจคุณภาพชีวิตกลุ่มเป้าหมาย  จำนวน 120 ชุด
  2. มีแผนปฏิบัติการสอดคล้องกับกิจกรรม

 

20 0

7. สำรวจข้อมูลสุขภาพผู้เข้าร่วมโครงการโดยใช้แบบสอบถาม ครั้งที่ 1

วันที่ 1 สิงหาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สำรวจข้อมูลสุขภาพผู้เข้าร่วมโครงการโดยใช้แบบสอบถาม (ก่อนเข้าร่วมโครงการ)จำนวน 120ชุด เพื่อนำมาบันทึกลงในแบบGoogle form ของNode Flagship เพื่อประมวลเป็นข้อมูลของตำบลบางหมาก และเป็นภาพรวมของประเด็นลดโรคเรื้อรังของกลุ่มเสี่ยงต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ข้อมูลสุขภาพก่อนเข้าร่วมโครงการของผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อการเปรียบเทียบอีกครั้งก่อนเสร็จสิ้นโครงการ

 

120 0

8. กิจกรรมออกกำลังกาย

วันที่ 1 สิงหาคม 2022 เวลา 17:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ณ.เทศบาลตำบลบางหมาก  และท่าน้ำวัดคูขุด
1. ส่งเสริมการออกกำลังกาย ด้วยกีฬา พายเรือยาวขึ้นโขนชิงธง ซ่อมเรือยาวเพื่อลงแข่งขันเรือยาวขึ้นโขนชิงธง ณ คลองหัววัง ต.นาชะอัง ด้วยการจัดกิจกรรมตั้งแต่การคัดเลือกกลุ่มวัยแรงงานที่มีความต้องการเป็นผู้เข้าร่วมการแข่งขัน เตรียมพร้อมสำหรับฝึกซ้อม ด้วยเช็คความสมบูรณ์ของร่างกาย ระเบียบการเข้าร่วมฝึกซ้อม ตารางการฝึกซ้อม ระเบียบปฏิบัติและตารางการแข่งขัน เป็นต้น 2. ส่งเสริมการออกกำลังกาย ด้วยแอร์โรบิค กองเชียร์เรือยาว เพื่อร่วมกิจกรรมแข่งขันเรือยาวขึ้นโขนชิงธง ณ คลองหัววัง ต.นาชะอัง มีการจัดการด้วยการ จัดเตรียมทีมสำหรับเข้าร่วมกิจกรรม จำนวนครั้งของการฝึกซ้อม เครื่องแต่งกาย ออกแบบท่าเต้น และข้อตกลงการเข้าร่วมแข่งขันกองเชียร์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. มีการออกกำลังกาย ด้วยกีฬา พายเรือยาวขึ้นโขนชิงธง
  2. มีการออกกำลังกาย ด้วยแอร์โรบิค กองเชียร์เรือยาว

 

120 0

9. ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือน สิงหาคม 2565

วันที่ 10 สิงหาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงการเก็บข้อมูลผู้เข้าร่วมโครงการ  จำนวน 120 ชุด  โดยทีมงาน พี่เลี้ยงโครงการ  นางสมใจ  ด้วงพิบูลย์ ประกอบด้วย  สวนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2  ความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต  ด้านการได้รับการบริการจากภาครัฐ  จำนวน 7 ข้อ  ด้านการดูแลสุขภาพ  จำนวน7  ข้อ  ด้านกิจกรรมการมีส่วนร่วม  จำนวน 5 ข้อ  ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และความต้องการจำนวน 7 ข้อ  ส่วนที่ 3 ข้อเสนอแนะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.คณะกรรมการเข้าใจแบบสำรวจ และสามารถดำเนินการสำรวจกลุ่มเป้าหมายได้

 

20 0

10. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน กันยายน 2565

วันที่ 10 กันยายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ณ.ห้องประชุมเทศบาลตำบลบางหมาก โดยมีกิจกรรมโครงการประกอบด้วย 1.  จัดการประชุมชี้แจงผลการดำเนินงานและวางแผนในการดำเนินการกิจกรรมที่ 12  ได้แก่ 1.1  กิจกรรมการออกกำลังการ 1.2  กิจกรรมสวนสมุนไพรป้องกันโควิต – 19 1.3  กิจกรรมการปลูกผักปลอดสารพิษ 1.4  กิจกรรมถนนสายสุขภาพ         ในการประชุมครั้งนี้ 1. คณะกรรมการได้นำเรื่องของโครงการสสส.เข้าเป็นระเบียบวาระของการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบางหมาก  ในวาระอื่น ๆ ซึ่งผู้รับผิดชอบโครงการในฐานะรองนายกเทศมนตรีตำบลบางหมากเป็นผู้แจ้งและบันทึกรายงานการประชุม โดยมีกิจกรรมดังนี้ ระเบียบวาระที่ 1  เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ (ไม่มี) ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว (รับรอง) ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
3.1  รายงานสถานะการเงินประจำเดือน  สิงหาคม  2565 3.2  สรุปความก้าวหน้าของโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบางหมาก ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องสืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่แล้ว (ไม่มี) ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องที่เสนอเพื่อพิจารณา 5.1  โครงการอบรมเพิ่มศักยภาพผู้นำป้องกันรู้เท่าทันโรค 5.2  โครงการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ 5.3  โครงการเฝ้าระวังโรคโควิต – 19 ในชุมชนด้วยชุดตรวจ       Antegen  Test Kit (ATK) ระเบียบวาระที่ 6 เรื่องอื่นๆ 6.1  แจ้งเรื่องของโครงการ  สสส.  ชี้แจงที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมทั้งกิจกรรมและวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมทั้งกิจกรรมและงบประมาณที่ได้รับ มีการจ่ายเป็นงวด โดยงวดที่ 1 จ่ายให้แล้วเมื่อ  30  พฤษภาคม  2565 จำนวนเงิน 52,100.- บาท (ห้าหมื่นหนึ่งร้อยบาทถ้วน)  และครั้งต่อไปเดือนตุลาคม  2565 หลังจากส่งรายงานงวดแรกแล้ว ขอให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมครั้งนี้อย่างมีความสุข 6.1  แจ้งเรื่องกิจกรรมที่จะดำเนินการ  กิจกรรมที่ 12  ได้แก่ 1  กิจกรรมการออกกำลังการจัดกิจกรรมออกกำลังกายด้วยแอโรบิค และกิจกรรมพายเรือยาวขึ้นโชนชิงธง 2  กิจกรรมสวนสมุนไพรป้องกันโควิต – 19 จะดำเนินกิจกรรม ในวันที่  30 ตุลาคม  2565 ณ สวนของ พี่ต๋อย  พี่ตี้  พี่ระ พี่สั้น ม.6 ตำบลบางหมาก 3  กิจกรรมการปลูกผักปลอดสารพิษ  จะดำเนินกิจกรรมในวันที่ 29 ตุลาคม  2565  ณ ศาลาหมู่บ้านหมู่ที่ 6 ตำบลบางหมาก 4  กิจกรรมถนนสายสุขภาพ 28 ตุลาคม  2565  จัดกิจกรรมในการปลูกต้นมะละกอสองริมถนนในเขตหมู่ที่ 6 ตำบลบางหมาก ซอยโรงเรียนบ้านดอนไทรงาม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.คณะกรรมการเข้าใจการดำเนินงาน

 

20 0

11. อบรมนักสื่อสร้างสร้างสรรค์

วันที่ 2 ตุลาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

อบรมให้ความรู้เรื่องนักสื่อสร้างสรรค์ โดยทีมวิทยากรจากสสส.สำนัก๙ และพี่เลี้ยงชุมพร ประกอบด้วย ๑. ให้ความรู้เรื่องทั่วไปเกี่ยวการสื่อสาร เช่น การถ่ายภาพนิ่งและเคลื่อนไหว และการใช้รูปแบบCanva ๒. ลงพื้นที่ปฏฺบัติการ โดยการแบ่งกลุ่มประกอบด้วย การถ่ายภาพนิ่งและเคลื่อนไหว ณ. วัดชลธีพฤษาราม  ,ชายทะเล,ล่องเรือ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้เรียนรู้การถ่ายภาพนิ่ง

 

2 0

12. อบรมให้ความรู้กรรมการขับเคลื่อน โครงการโรคเรื้อรัง NCD

วันที่ 16 ตุลาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ณ ศูนย์การเรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดินบ้านดอนไทรงาม  หมู่ที่ 6  ตำบลบางหมาก อ.เมือง จ.ชุมพร วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อให้คณะทำงาน และแกนนำสุขภาพ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการ 2.  เพื่อให้แผนงาน,โครงการ หรือกิจกรรมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ 3.  เพื่อให้โครงการได้บรรลุวัตถุประสงค์ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ผู้เข้าร่วม จำนวน 20คน ประกอบด้วย คณะทำงาน และแกนนำสุขภาพ รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) ณ ศูนย์การเรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดินบ้านดอนไทรงาม  หมู่ที่ 6  ตำบลบางหมาก อ.เมือง จ.ชุมพร 1. มีการอบรมให้ความรู้แกคณะทำงานและแกนนำสุขภาพตำบลบางหมาก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานมีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพ 3 อ 2 ส.

 

20 0

13. กิจกรรมสวนสมุนไพรป้องกันโควิต

วันที่ 29 ตุลาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ณ.หมู่ที่ 6 ต.บางหมาก อ.เมือง จ.ชุมพร
ซึ่งการเรียนรู้ครั้งนี้ ประกอบด้วย 1. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทย แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โดย นางสาวพจณีย์ นิยาพันธ์ เกษตรประจำตำบลบางหมาก ความรู้ที่ได้รับ ประกอบด้วย ประโยชน์ของสมุนไพรไทยที่ปลูกเพื่อการบริโภค เช่น รางจืดใช้แก้สารพิษ ฟ้าทะลายโจรใช้ในการแก้ถอนพิษไข้ เจ็บคอ โควิด ฯ กะเพรา ใช้ประกอบอาหาร ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร ขมิ้นชันใช้ประกอบอาหารพื้นบ้าน ขับลม สร้างภูมิต้านทานให้กับ่างกาย เป็นต้น 2. รณรงค์ปลูกสมุนไพรในชุมชน โดยการมอบพันธ์สมุนไพร พร้อมแนะนำการดูแลรักษาให้กับผู้เข้าร่วมโครงการไปปลูกที่บ้าน เช่น กระชายขาว กระท่อม ตะไคร้ ข่า เป็นต้นตลอดจนเมื่อปลูกมากขึ้นจะส่งเสริมการตลาดต่อไป เพื่อให้เกิดรายได้ของคนในชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ผู้เข้าร่วมโครงการรู้จักการใช้สมุนไพรไทย และเห็นคุณค่าและประโยชน์ของสมุนไพร  ร่วมกันรณรงค์ปลูกสมุนไพรไว้ใช้ในครัวเรือน

 

57 0

14. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการและป้ายปลอดบุหรี่/แอลกอฮอ

วันที่ 30 ตุลาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ติดป้ายไว้ที่ศาลาหมู่บ้านหมู่ที่6  ต.บางหมาก อ.เมือง  จ.ชุมพร  เป็นพื้นที่กลางในการจัดกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ประชาสัมพันธ์โครงการและแหล่งเงินทุนสนับสนุนกิจกรรมโครงการ

 

120 0

15. ถนนสายสุขภาพ

วันที่ 30 ตุลาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมจัดขึ้น ณ ตำบลบางหมาก 1. มีการประชุมชี้แจงเกี่ยวกับถนนสายสุขภาพบ้านดอนไทรงาม  มีการคัดเลือกว่าจะปลูกต้นอะไรกันดีเพราะเหตุใด  มีการเสนอ ให้ปลูก 1. พืชกะท่อม  2. ตะไคร้ชุมพร  3. มะละกอ ที่ประชุมมีมติเป็นต้นมะละกอ 2. ประชุมแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการดูแลต้นมะละกอที่ปลูกบนถนนสายสุขภาพ 3. ดำเนินการปลูกต้นมะละกอริมถนนสายบ้านดอนไทรงาม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ใช้พื้นที่สาธารณะให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน โดยการปลูกมะละกอริมถนนสายสุขภาพ  บ้านดอนไทรงาม

 

58 0

16. กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ

วันที่ 30 ตุลาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมจัดขึ้น ณ ตำบลบางหมาก 1. มีการอบรมให้ความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมัก ไว้ใช้แทนปุ๋ยเคมี  และแนะนำการทำน้ำส้มควันไม้ใช้ปราบศัตรูพืช แนะนำการเตรียมดินเพื่อให้เหมาะกับการปลูกพืชโดยเกษตรตำบล  นางพจนีย์  ริยาพันธ์ 2. แจกจ่ายเมล็ดพันธ์ผักที่ผู้เข้าร่วมโครงการสนใจ 3. ไปดูแปลงผักที่ปลูกแบบอินทรีย์ในหมู่บ้าน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินเอง
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการได้บริโภคผักที่ปลูกเองและปลอดสารพิษ

 

38 0

17. จัดเวทีประชาคมและคัดเลือกพร้อมประกาศกติกาชุมชน

วันที่ 30 ตุลาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ณ ศูนย์การเรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดินบ้านดอนไทรงาม  หมู่ที่ 6  ตำบลบางหมาก อ.เมือง จ.ชุมพร 1. มีการอบรมให้ความรู้การปรับพฤติกรรมสุขภาพของคนในชุมชน และมีการจัดเวทีประชาคมรับรองและประกาศกติกาชุมชนดังนี้ 1.1 ถนนสายสุขภาพ หน้าบ้านใครผู้นั้นดูแล  ผลผลิตทุกคนในชุมชนใช้ได้โดยขออนุญาตจากผู้ดูแล
1.2 การออกกำลังกายไม่น้อยกว่า 150 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ 1.3 การปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน หลังละ 10 ชนิดเช่น ข่า ตะไคร ใบมะกรูด กระชาย พริก มะเขือ เป็นต้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. มีกติกาชุมชนและถือปฏิบัติดังนี้ จำนวน3ข้อประกอบด้วย 1การดูแลถนนสายสุขภาพทุกคนเป็นเจ้าของ แต่มีเจ้าบ้านเป็นผู้ดูแล ผลผลิตที่ได้จากถนนฯเจ้าบ้านมีอำนาจในการจัดการ 2) การออกกำลังกายไม่น้อยกว่า 150 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ 3) การปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน หลังละ 10 ชนิดเช่น ข่า ตะไคร ใบมะกรูด กระชาย พริก มะเขือ เป็นต้น

 

120 0

18. ประชุมเวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาโครงการสสส.สำนัก ๖ ร่วมกับNF ชุมพร

วันที่ 31 ตุลาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

๑. พิธีเปิดโดยทีมคุณทวีวัตร  เครือสาย ด้วยการทบทวนผลการปฏฺบัติงานที่ผ่านมา และกล่าวทบทวนปัจจัยทางสังคมเพื่อกำหนดสุขภาพและวิเคราะจุดอ่อนของทีมชุมชนในเรื่องข้อมูลสารสนเทศ และการรู้เท่าทันเทคโนโลยี่ เป็นต้น ๒. พื้นที่นำเสนอผลการทบทวนบทเรียนตนเองประกอบด้วย     ๒.๑ ตัวแทนกลุ่มโรคเรื้อรัง และผู้สูงอายุ ชุมชนวัดโพธิการาม นำเสนอผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนจากการสำรวจข้อมูลครั้งที่๑ (ก่อนดำเนินการ)การประชุมคณะทำงานทุกเดือน กำหนดกติกาชุมชน โดยการทีฝายสวัสดิการสังคมและกองสาธารณสุขเทศบาลลเมืองชุมพรให้การสนับสนุนบางส่วนเบื้องต้น     ๒.๒ ตัวแทนประเด็นเกษตรฯนำเสนอ เรื่องการนำเกษตรปลอดภัยสู่การท่องเที่ยงเชิงเกษตร พร้อมขับเคลื่อนร่วกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นต้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้เรียนรู้วิธ๊การดำเนินงานของทีมโรคเรื้อรังที่เชื่อมกับอาหารปลอดภัย เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี

 

3 0

19. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน พฤศจิกายน 2565

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ณ.ห้องประชุมเทศบาลตำบลบางหมาก โดยมีกิจกรรมโครงการประกอบด้วย 1. จัดการประชุมชี้แจงผลการดำเนินงานและวางแผนในการดำเนินการกิจกรรมที่ 4 ได้แก่ กิจกรรมอบรมให้ความรู้การขับเคลื่อนโครงการ NCD
  ในการประชุมครั้งนี้ 1. คณะกรรมการได้นำเรื่องของโครงการสสส.เข้าเป็นระเบียบวาระของการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบางหมาก ในวาระอื่น ๆ ซึ่งผู้รับผิดชอบโครงการในฐานะรองนายกเทศมนตรีตำบลบางหมากเป็นผู้แจ้งและบันทึกรายงานการประชุม โดยมีกิจกรรมดังนี้ ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ (ไม่มี) ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว (รับรอง) ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
3.1 รายงานสถานะการเงินประจำเดือน ตุลาคม 2565 3.2 สรุปความก้าวหน้าของโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบางหมาก 1.โครงการค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนฯ 2.โครงการเผ้าระวังโรคโควิด-19 ในชุมชนด้วยชุดตรวจ Antgen Test Kit (ATK) 3.โครงการป้องกันและลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา -19 เข้าสู่โรงเรียน โรงเรียนบ้านดอนไทรงาม 4. โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) เข้าสู่โรงเรียน โรงเรียนวัดคูขุด 5.โครงการส่งเสริมสนับสนุนการออกกำลังกายแก่เด็กวัยเรียนและเยาวชนทั้งในโรงเรียนและชุมชน โรงเรียนวัดคูขุด 6. โครงการเฝ้าระวังป้องกันป้องกันและลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID) เข้าสู่โรงเรียน โรงเรียนวัดคอเตี้ย 7. โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยแอร์โรบิคประจำปีงบประมาณ 2565 8. โครงการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคอ้วนลงพุงประจำปีงบประมาณ 2565 9.โครงการอบรมฟื้นฟูความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ต.บางหมาก 10. โครงการอบรมปฏิบัติการตรวจคัดรกรองมะเร็งเต้านมและคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30-60 ปี ประจำปีงบประมาณ 2565 11. โครงการตรวจสารเคมีกำจัดศัตรูพืชระดับแอนไซด์คอรีนเอสเตอรีนในเลือด แก่กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ 2565 12. โครงการเยี่ยมบ้านเยี่ยมใจ ห่วงใยสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง เทศบาลตำบลบางหมาก ประจำปีงบประมาณ 2565 13 โครงการเพิ่มศักยภาพผู้นำป้องกันรู้เท่าทันโรค
14. โครงการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องสืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่แล้ว (ไม่มี) ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องที่เสนอเพื่อพิจารณา (ไม่มี) ระเบียบวาระที่ 6 เรื่องอื่นๆ 6.1 แจ้งเรื่องของโครงการ สสส. ชี้แจงที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมทั้งกิจกรรมและวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมทั้งกิจกรรมและงบประมาณที่ได้รับ มีการจ่ายเป็นงวด โดยงวดที่ 1 จ่ายให้แล้วเมื่อ 30 พฤษภาคม 2565 จำนวนเงิน 52,100.- บาท (ห้าหมื่นหนึ่งร้อยบาทถ้วน) และครั้งต่อไปเดือนตุลาคม 2565 หลังจากส่งรายงานงวดแรกแล้ว ขอให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมครั้งนี้อย่างมีความสุข 6.2 แจ้งเรื่องกิจกรรมที่จะดำเนินการ กิจกรรมที่ 4 ได้แก่กิจกรรมอบรมให้ความรู้กรรมการในการขับเคลื่อนโครงการ NCD
6.3 แจ้งมติและข้อตกลง ประกาศกติกาของคณะทำงาน สสส.เทศบาลตำบลบางหมาก จะให้มีการประชุมคณะทำงานในทุกๆวันที่ 10 ของทุกเดือนจนเสร็จสิ้นโครงการ โดยการประชุมจะมีการชี้แจงผลการดำเนินกิจกรรมโครงการที่ผ่านมา และเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินกิจกรรมโครงการต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.คณะกรรมการเข้าใจการดำเนินงาน

 

20 0

20. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ตุลาคม 2565

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อชี้แจงคณะทำงาน
ผู้เข้าร่วม จำนวน 17 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการชุมชน และคณะทำงาน รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) ณ.ห้องประชุมเทศบาลตำบลบางหมาก โดยมีกิจกรรมโครงการประกอบด้วย 1. จัดการประชุมชี้แจงผลการดำเนินงานและวางแผนในการดำเนินการกิจกรรมที่ 4 ได้แก่ กิจกรรมอบรมให้ความรู้การขับเคลื่อนโครงการ NCD
    ในการประชุมครั้งนี้ 1. คณะกรรมการได้นำเรื่องของโครงการสสส.เข้าเป็นระเบียบวาระของการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบางหมาก ในวาระอื่น ๆ ซึ่งผู้รับผิดชอบโครงการในฐานะรองนายกเทศมนตรีตำบลบางหมากเป็นผู้แจ้งและบันทึกรายงานการประชุม โดยมีกิจกรรมดังนี้ ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ (ไม่มี) ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว (รับรอง) ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
3.1 รายงานสถานะการเงินประจำเดือน ตุลาคม 2565 3.2 สรุปความก้าวหน้าของโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบางหมาก 1.โครงการค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนฯ 2.โครงการเผ้าระวังโรคโควิด-19 ในชุมชนด้วยชุดตรวจ Antgen Test Kit (ATK) 3.โครงการป้องกันและลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา -19 เข้าสู่โรงเรียน โรงเรียนบ้านดอนไทรงาม 4. โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) เข้าสู่โรงเรียน โรงเรียนวัดคูขุด 5.โครงการส่งเสริมสนับสนุนการออกกำลังกายแก่เด็กวัยเรียนและเยาวชนทั้งในโรงเรียนและชุมชน โรงเรียนวัดคูขุด 6. โครงการเฝ้าระวังป้องกันป้องกันและลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID) เข้าสู่โรงเรียน โรงเรียนวัดคอเตี้ย 7. โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยแอร์โรบิคประจำปีงบประมาณ 2565 8. โครงการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคอ้วนลงพุงประจำปีงบประมาณ 2565 9.โครงการอบรมฟื้นฟูความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ต.บางหมาก 10. โครงการอบรมปฏิบัติการตรวจคัดรกรองมะเร็งเต้านมและคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30-60 ปี ประจำปีงบประมาณ 2565 11. โครงการตรวจสารเคมีกำจัดศัตรูพืชระดับแอนไซด์คอรีนเอสเตอรีนในเลือด แก่กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ 2565 12. โครงการเยี่ยมบ้านเยี่ยมใจ ห่วงใยสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง เทศบาลตำบลบางหมาก ประจำปีงบประมาณ 2565 13 โครงการเพิ่มศักยภาพผู้นำป้องกันรู้เท่าทันโรค
14. โครงการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องสืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่แล้ว (ไม่มี) ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องที่เสนอเพื่อพิจารณา (ไม่มี) ระเบียบวาระที่ 6 เรื่องอื่นๆ 6.1 แจ้งเรื่องของโครงการ สสส. ชี้แจงที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมทั้งกิจกรรมและวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมทั้งกิจกรรมและงบประมาณที่ได้รับ มีการจ่ายเป็นงวด โดยงวดที่ 1 จ่ายให้แล้วเมื่อ 30 พฤษภาคม 2565 จำนวนเงิน 52,100.- บาท (ห้าหมื่นหนึ่งร้อยบาทถ้วน) และครั้งต่อไปเดือนตุลาคม 2565 หลังจากส่งรายงานงวดแรกแล้ว ขอให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมครั้งนี้อย่างมีความสุข 6.2 แจ้งเรื่องกิจกรรมที่จะดำเนินการ กิจกรรมที่ 4 ได้แก่กิจกรรมอบรมให้ความรู้กรรมการในการขับเคลื่อนโครงการ NCD
6.3 แจ้งมติและข้อตกลง ประกาศกติกาของคณะทำงาน สสส.เทศบาลตำบลบางหมาก จะให้มีการประชุมคณะทำงานในทุกๆวันที่ 10 ของทุกเดือนจนเสร็จสิ้นโครงการ โดยการประชุมจะมีการชี้แจงผลการดำเนินกิจกรรมโครงการที่ผ่านมา และเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินกิจกรรมโครงการต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.คณะกรรมการเข้าใจการดำเนินงาน

 

30 0

21. ตรวจสุขภาพประจำปี (ครั้งที่ 1)

วันที่ 13 พฤศจิกายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดกิจกรรม ณ ศูนย์การเรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดิน บ้านดอนไทรงาม หมู่ที่ 6 ต.บางหมาก อ.เมือง จ.ชุมพร โดยมีกิจกรรมโครงการประกอบด้วย 1. ตรวจคัดกรองเบื้องต้น ตรวจสวนสูง น้ำหนัก รอบเอว  ค่า BMI  หาค่าความดัน  ตรวจน้ำตาล    ตรวจคอเลสเตอรอล  ไตรกลีเซอไรด์ ไขมันดี ไขมันเลว

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ผู้เข้าร่วมโครงการได้ตรวจสุขภาพเบื้องต้นก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ

 

120 0

22. อบรมให้ความรู้ NCD

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

อบรมให้ความรู้ผู้เข้าร่วมโครงการ ผู้เข้าร่วม จำนวน 120 คน ประกอบด้วย คณะผู้บริหาร อสม. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่ คณะกรรมการชุมชน ประธานชุมชน สท. ณ.ศูนย์การเรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดิน หมู่ที่ 6 โดยมีกิจกรรมโครงการประกอบด้วย อบรมให้ความรู้ ตามรายละเอียดดังนี้ เรื่องการดูแลผูู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยตนเอง
การแนะนําอาหารในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
การดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ดูแลเบาหวานในผู้สูงอายุ
เทคนิคการให้ความรู้เพื่อดูแลตนเอง
การแนะนําเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การแนะนําการออกกําลังกาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ในเรื่องที่วิทยากรให้ความรู้ เรื่องการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน    ความดัน  การปรับเปลี่ยนพฤติการณ์ การดูแลเรื่องอาหาร  การออกกำลังการ

 

120 0

23. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ธันวาคม 2565

วันที่ 10 ธันวาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อชี้แจงคณะทำงาน
2. รายงานผลการดำเนินงาน ผู้เข้าร่วม จำนวน 17 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการชุมชน และคณะทำงาน รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) ณ.ห้องประชุมเทศบาลตำบลบางหมาก โดยมีกิจกรรมโครงการประกอบด้วย 1. จัดการประชุมชี้แจงผลการดำเนินงานกิจกรรมที่ 9 ได้แก่ กิจกรรมตรวจสุขภาพประจำปี (ก่อน) ดำเนินการโครงการ และวางแผนในการดำเนินการกิจกรรมที่ 3 ได้แก่ กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานขับเคลื่อน การทำงานโครงการ NCD กิจกรรมที่ 9 ตรวจสุขภาพประจำปี (หลัง) การดำเนินงานโครงการ กิจกรรมที่ 11 คัดเลือกผู้นำต้นแบบ กิจกรรมที่ 13  ถอดบทเรียนและส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม กิจกรรมที่ 14 จัดเวทีคืนข้อมูล     ในการประชุมครั้งนี้ 1. คณะกรรมการได้นำเรื่องของโครงการสสส.เข้าเป็นระเบียบวาระของการประชุมคณะกรรมการชุมชน ในวาระอื่น ๆ ซึ่งผู้รับผิดชอบโครงการในฐานะรองนายกเทศมนตรีตำบลบางหมากเป็นผู้แจ้งและบันทึกรายงานการประชุม โดยมีกิจกรรมดังนี้ เมื่อที่ประชุมพร้อมแล้ว นายสุรพงศ์ ประสารวุฒิ นายกเทศมรตรีตำบลบางหมากเป็นประธานการประชุม
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ - การโอนจัดสรรงบประมาณ สนับสนุนการบริการสาธารณสุข (เดือนตุลาคม 2558 - กันยายน 2559) ชุมชนละ 7,500 บาท ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว (ไม่มี)
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ - แนวทางการใช้จ่ายเงินอุดหนุนทั่วไปสำหรับสนับสนุนการบริการสาธารณสุข ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องที่เสนอเพื่อพิจารณา - ให้แต่ละชุมชนเสนอโครงการเพื่อขอรับเงินอุดหนุนสาธารณสุข ชุมชนละ 7,500 บาทระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องที่เสนอเพื่อพิจารณา - พิจารณาโครงการของแต่ละชุมชน ระเบียบวาระที่ ๖ เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี) 6.1 แจ้งเรื่องของโครงการ สสส. ชี้แจงที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมทั้งกิจกรรมและวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมทั้งกิจกรรมและงบประมาณที่ได้รับ มีการจ่ายเป็นงวด โดยงวดที่ 1 จ่ายให้แล้วเมื่อ 30 พฤษภาคม 2565 จำนวนเงิน 52,100.- บาท (ห้าหมื่นหนึ่งร้อยบาทถ้วน) และครั้งต่อไปเดือนตุลาคม 2565 หลังจากส่งรายงานงวดแรกแล้ว ขอให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมครั้งนี้อย่างมีความสุข 6.2 แจ้งการดำเนินการกิจกรรม /แผนงาน โครงการดังนี้  กิจกรรมตรวจสุขภาพประจำปี (ก่อน) ดำเนินการโครงการ และวางแผนในการดำเนินการกิจกรรมที่ 3 ได้แก่ กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานขับเคลื่อน การทำงานโครงการ NCD กิจกรรมที่ 9 ตรวจสุขภาพประจำปี (หลัง) การดำเนินงานโครงการ กิจกรรมที่ 11 คัดเลือกผู้นำต้นแบบ กิจกรรมที่ 13  ถอดบทเรียนและส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม กิจกรรมที่ 14 จัดเวทีคืนข้อมูล 6.3 แจ้งมติและข้อตกลง ประกาศกติกาของตำบลในการดำเนินกิจกรรมโครงการของ สสส. ประกอบด้วย 1. ให้แต่ละบ้านช่วยกันดูและหน้าบ้านใครหน้าบ้านมัน ถนนสายสุขภาพ สองสาย คือสายหน้าโรงเรียนบ้านดอนไทรงาม และสายซอยร่วมใจพัฒนา 2. ผลผลิตที่เกิดจากถนนสายสุขภาพ ทุกคนในตำบลในชุมชนเป็นเจ้าของร่วมกันสามารถเอาไปใช้รับประทานได้ทุกคน 3. ให้ทุกบ้านปลูกผักปลอดสารพิษ บ้านละ 10 ชนิด เช่น พริก มะนาว ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ขมิ้น กระชาย กระเพรา โหรพา ฯลฯ
4. ให้ทุกบ้านคัดแยกขยะในครัวเรือน ขยะอินทรีนำมาทำปุ๋ยหมักใช้ในครัวเรือน ขยะที่เป็น พลาสติกให้เก็บขายกับรถรับซื้อของเก่า หรือมาขายในจุดรับซื้อของเก่าเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ แปลงจากขยะมาเป็นรายได้ในครัวเรือน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.คณะกรรมการเข้าใจการดำเนินงาน
2.เป็นการประชาสัมพันธ์กิจกรรมแผนงานโครงการ ให้กับชุมชนในตำบลได้รับทราบ

 

17 0

24. ประชุมประจำเดือน มกราคม 2566

วันที่ 10 มกราคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อนำกิจกรรม  แผนงาน โครงการในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนเข้าแผนงานโครงการของแผนสุขภาพ  ของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบางหมาก
ผู้เข้าร่วม จำนวน 17 คน ประกอบด้วย คณะทำงาน  แกนนำสุขภาพและบุคคลที่สนใจ รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) ณ.ห้องประชุมเทศบาลตำบลบางหมาก โดยมีกิจกรรมโครงการประกอบด้วย 1.มีการจัดการประชุมผู้นำท้องถิ่นผู้นำท้องที่  ประธานชุมชน  รพสต.  โรงเรียน และคณะทำงาน  สสส.  แกนนำสุขภาพและบุคคลที่ให้การสนใจเพื่อนำกิจกรรมแผนงานโครงการเกี่ยวกับสุขภาพเข้าแผนสุขภาพของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบางหมากโดยมีรายละเอียดดังนี้กำหนดการประชุมการจัดทำแผนกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบางหมาก  ประจำปีงบประมาณ 2565  ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลบางหมาก เวลา       หัวข้อประชุม 09.00 - 09.30น.  -  ลงทะเบียน 09.30 - 10.00น. -  เปิดการประชุม 10.00 – 10.30น. -  พักรับประทานอาหารว่างเช้า 10.30 – 12.00น. -  แบ่งกลุ่มอภิปราย  วิเคราะห์จุดแข็ง/จุดอ่อน/โอกาส/ ปัญหา,อุปสรรค   โครงการในปีงบประมาณ 2565 12.00 – 13.00น. -  พักรับประทานอาหารเที่ยง 13.00 – 14.00น. -  แบ่งกลุ่มอภิปราย  วิเคราะห์จุดแข็ง/จุดอ่อน/โอกาส/ ปัญหา,อุปสรรค   โครงการในปีงบประมาณ  2566 14.00 – 14.30น. -  พักรับประทานอาหารว่างบ่าย 14.30 – 15.00น. -  นำเสนอภิปรายโครงการในปีงบประมาณ  2566 15.00 – 16.30 -  สรุปโครงการแผนงานในปีงบประมาณ 2566 โครงการที่ได้นำเข้าแผนสุขภาพในปีงบประมาณ 2566  โดยใช้งบประมาณของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบางหมาก  ประกอบด้วย
1. โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก(ศพด.บางหมาก) 2. โครงการ สุขภาพจิตโรงเรียนวิถีใหม่ (รร.ดอนไทรงาม) 3. โครงการรวมความรู้ใส่ใจสุขภาพและการออกกำลังกายเต้นแอโรบิคเพื่อสุขภาพ (รร.ดอนไทรงาม) 4. โครงการอบรมให้ความรู้แก้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยเรื่อง โรค มือ เท้า ปาก (ศพด.คอเตี้ย) 5. โครงการออกกำลังกายด้วยกีฬามวยไทย(ชุมชนบ้านดอนไทรงาม1) 6. โครงการการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัย (ศพด.ดอนไทรงาม) 7. โครงการส่งเสริมสุขอนามัยและความปลอดภัยนักเรียน(รร.ดอนรวบ) 8. โครงการส่งเสริมสุขภาพที่ดีและการออกกำลังกายในสถานศึกษา  ประจำปีงบประมาณ 2566(รร.คูขุด) 9. โครงการ "กระโดดเชือก เล่นฮูลาฮูปเพื่อสุขภาพที่ดีของนักเรียน"(รร.คูขุด)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. มีการนำกิจกรรมแผนงานโครงการเข้าแผนสุขภาพ  ประจำปีงบประมาณ  2566 กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบางหมาก

 

0 0

25. ประชุมประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2566

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2023 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อชี้แจงคณะทำงาน
ผู้เข้าร่วม จำนวน 17 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการชุมชน และคณะทำงาน รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อชี้แจงคณะทำงาน
2. รายงานผลการดำเนินงาน ผู้เข้าร่วม จำนวน 17 คน ประกอบด้วย คณะทำงาน แกนนำสุขภาพและบุคคลที่สนใจ รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) ณ.ห้องประชุมเทศบาลตำบลบางหมาก โดยมีกิจกรรมโครงการประกอบด้วย 1. มีการจัดการประชุมคณะทำงาน สสส. แกนนำสุขภาพและบุคคลที่ให้การสนใจโดยมี นางศรีนวล อ่วมอ่อน รองนายกเทศมรตรีตำบลบางหมากเป็นประธานการประชุม
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 1.1 แจ้งเรื่องของโครงการ สสส. ชี้แจงที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมทั้งกิจกรรมและวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมทั้งกิจกรรมและงบประมาณที่ได้รับ มี 1.2 แจ้งการดำเนินการกิจกรรม /แผนงาน โครงการดังนี้  กิจกรรมตรวจสุขภาพประจำปี (ก่อน) ดำเนินการโครงการ และวางแผนในการดำเนินการกิจกรรมที่ 3 ได้แก่ กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานขับเคลื่อน การทำงานโครงการ NCD กิจกรรมที่ 9 ตรวจสุขภาพประจำปี (หลัง) การดำเนินงานโครงการ กิจกรรมที่ 11 คัดเลือกผู้นำต้นแบบ กิจกรรมที่ 13  ถอดบทเรียนและส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม กิจกรรมที่ 14 จัดเวทีคืนข้อมูล ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว (ไม่มี)
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ 3.1 แจ้งมติและข้อตกลง ประกาศกติกาของตำบลในการดำเนินกิจกรรมโครงการของ สสส. 1. ถนนสายสุขภาพ สองสาย คือสายหน้าโรงเรียนบ้านดอนไทรงาม และสายซอยร่วมใจพัฒนาให้แต่ละบ้านช่วยกันดูและหน้าบ้านใครหน้าบ้านมัน
2. ในส่วนของผลผลิตถนนสายสุขภาพ ทุกคนในตำบลในชุมชนเป็นเจ้าของร่วมกันสามารถเอาไปใช้รับประทานได้ทุกคน 3. มีกติกาให้ทุกบ้านปลูกผักปลอดสารพิษ บ้านละ 10 ชนิด เช่น พริก มะนาว ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ขมิ้น กระชาย กระเพรา โหรพา ฯลฯ
4. มีกติกาในการคัดแยกขยะในครัวเรือน ขยะอินทรีนำมาทำปุ๋ยหมักใช้ในครัวเรือน ขยะที่เป็น พลาสติกให้เก็บขายกับรถรับซื้อของเก่า หรือมาขายในจุดรับซื้อของเก่าเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ แปลงจากขยะมาเป็นรายได้ในครัวเรือน
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องที่เสนอเพื่อพิจารณา   (ไม่มี) ระเบียบวาระที่ ๖ เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)   (ไม่มี)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.คณะกรรมการเข้าใจการดำเนินงาน

 

20 0

26. เวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อชี้แจงคณะทำงาน
2. รายงานผลการดำเนินงาน ผู้เข้าร่วม จำนวน 17 คน ประกอบด้วย คณะทำงาน แกนนำสุขภาพและบุคคลที่สนใจ รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) ณ.ห้องประชุมเทศบาลตำบลบางหมาก โดยมีกิจกรรมโครงการประกอบด้วย 1. มีการจัดการประชุมคณะทำงาน สสส. แกนนำสุขภาพและบุคคลที่ให้การสนใจโดยมี นางศรีนวล อ่วมอ่อน รองนายกเทศมรตรีตำบลบางหมากเป็นประธานการประชุม
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 1.1 แจ้งเรื่องของโครงการ สสส. ชี้แจงที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมทั้งกิจกรรมและวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมทั้งกิจกรรมและงบประมาณที่ได้รับ มี 1.2 แจ้งการดำเนินการกิจกรรม /แผนงาน โครงการดังนี้  กิจกรรมตรวจสุขภาพประจำปี (ก่อน) ดำเนินการโครงการ และวางแผนในการดำเนินการกิจกรรมที่ 3 ได้แก่ กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานขับเคลื่อน การทำงานโครงการ NCD กิจกรรมที่ 9 ตรวจสุขภาพประจำปี (หลัง) การดำเนินงานโครงการ กิจกรรมที่ 11 คัดเลือกผู้นำต้นแบบ กิจกรรมที่ 13  ถอดบทเรียนและส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม กิจกรรมที่ 14 จัดเวทีคืนข้อมูล ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว (ไม่มี)
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ 3.1 แจ้งมติและข้อตกลง ประกาศกติกาของตำบลในการดำเนินกิจกรรมโครงการของ สสส. 1. ถนนสายสุขภาพ สองสาย คือสายหน้าโรงเรียนบ้านดอนไทรงาม และสายซอยร่วมใจพัฒนาให้แต่ละบ้านช่วยกันดูและหน้าบ้านใครหน้าบ้านมัน
2. ในส่วนของผลผลิตถนนสายสุขภาพ ทุกคนในตำบลในชุมชนเป็นเจ้าของร่วมกันสามารถเอาไปใช้รับประทานได้ทุกคน 3. มีกติกาให้ทุกบ้านปลูกผักปลอดสารพิษ บ้านละ 10 ชนิด เช่น พริก มะนาว ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ขมิ้น กระชาย กระเพรา โหรพา ฯลฯ
4. มีกติกาในการคัดแยกขยะในครัวเรือน ขยะอินทรีนำมาทำปุ๋ยหมักใช้ในครัวเรือน ขยะที่เป็น พลาสติกให้เก็บขายกับรถรับซื้อของเก่า หรือมาขายในจุดรับซื้อของเก่าเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ แปลงจากขยะมาเป็นรายได้ในครัวเรือน
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องที่เสนอเพื่อพิจารณา   (ไม่มี) ระเบียบวาระที่ ๖ เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)   (ไม่มี)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คณะกรรมการเข้าใจการดำเนินงานโครงการ
  2. คณะกรรมการมีการขับเคลื่อนและช่วยกันดำเนินการโครงการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

20 0

27. พบพี่เลี้ยงครั้งที่ 1

วันที่ 5 มีนาคม 2023 เวลา 18:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

พบพี่เลี้ยงให้คำแนะนำในการดำเนินการโครงการ การเตรียมตัวเพื่อจัดเตรียมข้อมูลให้ถูกต้องพร้อมที่จะลงรายงาน ฯลฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การขับเคลื่อนของโครงการ

 

3 0

28. ประชุมประจำเดือน มีนาคม 2566 และ ARE

วันที่ 10 มีนาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ประชุมชี้แจงจุดประสงค์ การประชุมการประเมินผลเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ 2.ทบทวนเป้าหมายของโครงการบันไดผลลัพธ์ของโครงการ โดย.... 2.1 แนะนำภาคีเครือข่าย ซึ่งเข้าร่วมประกอบด้วย เกษตรอำเภอ ครู กศน. พัฒนาชุมชน
2.2 นางสาววราภรณ์  ซื่อสัตย์  เลขานุการกลุ่ม เป็นผู้นำคุย เริ่มเรื่อง ทบทวนบันไดผลลัพธ์ ทำให้ทราบว่ายังไม่ได้ดำเนินการในบันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 1 เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ โดยมีกิจกรรมการตรวจสุขภาพประจำปี อบรมให้ความรู้โรคเรื้อรังด้วย 3อ 2ส และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ การคัดเลือกผู้นำต้นแบบ โดยมีภาคีเครือข่ายด้านเกษตร สนับสนุนด้านความรู้ในเรื่องของการให้ข้อมูลสัตว์ (ขี้วัว) และสารชีวภาพใส่พืชผักสวนครัว
ครู กศน. ส่งเสริมให้นักเรียนดูแลสุขภาพให้ดี และเล่าประสบการณ์ตนเองที่ น้ำหนัก 100 กิโลกรัม ลดลงจนเหลือ 70 กิโลกรัม เป็นต้น พัฒนาชุมชน สนับสนุนในการช่วยเหลือประชาชน เช่น กองทุนแม่  กองทุนสตรี เป็นต้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะกรรมการและผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความารู้และเข้าใจในผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรม

 

17 0

29. ถอดบทเรียน

วันที่ 22 มีนาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อชี้แจงคณะทำงาน
ผู้เข้าร่วม จำนวน 17 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการชุมชน และคณะทำงาน รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) มีการประชุมถอดบทเรียน ณ ห้องประชุมโรงเรียนบ้านดอนไทรงาม ถอดบทเรียนได้ดังนี้ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดโรคเรื้อรังในชุมชนตำบลบางหมาก ข้อมูลทั่วไป ประชากรทั้งหมด 6,979 คน
จำนวนครัวเรือน 2,785 ครัวเรือน จำนวนหมู่บ้าน  12 หมู่บ้าน จำนวนชุมชน 19 ชุมชน ผลลัพธ์ - กายภาพ - สังคม - เศรษฐกิจ - การมีส่วนร่วม - การดูแลสุขภาพ กลไกการจัดการ - การก่อตัวของกลไก - การจัดการของกลไก - การมีส่วนร่วม ภาคีเครือข่าย - ระดับปฏิบัติการ ได้แก่ ชมรม อสม., รพ.สต., ชมรมผู้สูงอายุ, ชมรมกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน, วัด, โรงเรียน,
เทศบาล, กองทุนแม่ของแผ่นดิน, กศน., กลุ่มอาชีพต่างๆ - ระดับนโยบาย ได้แก่ สสอ., สสจ., อำเภอ

กลไกการดำเนินงาน

Who What Why When How ? ชมรม อสม. ชมรมผู้สูงอายุ เก็บข้อมูล,ให้ความรู้, คัดกรอง/ติดตามผล สร้างแรงจูงใจให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อให้คนในชุมชนมีสุขภาพดี มีพฤติกรรมการกิน การใช้ชีวิต เช่น การออกกำลังกาย การลดหวาน มัน เค็ม ลดอาการเจ็บป่วย กลุ่มเสี่ยง ลดจำนวนผู้เข้ารับบริการใน รพ.สต. และโรงพยาบาล พ.ค.2565 –
เม.ย.2566 ลงพื้นที่คัดกรองกลุ่มเป้าหมาย เก็บข้อมูล เพื่อเปรียบเทียบ -น้ำหนัก -ส่วนสูง -รอบเอว -ดัชนีมวลกาย -ความดัน,ไขมัน, เบาหวาน เน้น 3 อ. 2 ส. อสม.ทุกหมู่ นางประนอม เวชสุบรรณ ตำแหน่งประธานฯ 062-5196172





Who What Why When How ? รพ.สต.





ชมกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน





ท้องถิ่น/ทต. บางหมาก -ข้อมูล -ความรู้ -สนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์ -วิทยากร -ให้คำปรึกษา


-กำนัน ม.5 -ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่ ม.1,2,3,4,6,7,8,9,10, 11,12 -อำนวยความสะดวกเรื่องสถานที่ -องค์ความรู้


-รวบรวมข้อมูล -วิเคราะห์ข้อมูล/ปัญหา -จัดลำดับความสำคัญ -คัดกรอง/ติดตามผล -ให้การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ -สนับสนุนสถานที่/ บุคลการ -ขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพ -ลดจำนวนผู้ป่วย -ให้ความรู้กับคนในชุมชน





เพื่อจัดกิจกรรมสุขภาพ -อบรม -ออกกำลังกาย แอโรบิค มวยไทย, รำวง -ถนนสุขภาพ -สวนสมุนไพร


-เพื่อให้ผู้นำและประชาชนในชุมชนมีสุขภาพดี มีพฤติกรรมสุขภาพเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เช่น ลดโรค “ลดหวาน มัน เค็ม”
-ลดจำนวนผู้ป่วย -สร้างความตระหนัก ให้กับผู้นำและประชาชนในเรื่องของการดูแลสุขภาพ
-มีนโยบายสนับสนุนการดูแลสุขภาพในกลุ่มผู้นำ และประชาชน -เพื่อสนับสนุนงบประมาณในการดูแลสุขภาพของประชาชน (สปสช.) พ.ค.2565 –
เม.ย.2566





พ.ค.2565 –
เม.ย.2566





พ.ค.2565 –
เม.ย.2566 -ให้ความรู้กับชุมชนเรื่องสุขภาพ -ร่วมคัดกรองผู้ที่มีภาวะเสี่ยง -สร้างสัมพันธ์กับคนในชุมชน -สร้างแรงจูงใจ

-ดูแล อำนวยความสะดวกให้บริการสถานที่





-สนับสนุนบุคลกร งบประมาณ
-เครื่องมือในการดำเนินการโครงการ รพ.สต.บางหมาก นายปรินทร รัตนกูล ผอ.รพ.สต. 095-2894465
นายประสงค์ คอนกำลัง ผญ.ม.6 088-4449013 นายอำพล ทองลีผล กำนัน 093-6939899

นายสุรพงศ์ ประสารวุฒิ นายกฯ 096-4936919 นางศรีนวล อ่วมอ่อน
รองนายกฯ 080-7186021 น.ส.ณัชชาภัทร อาริกุล 088-7613569





ผลลัพธ์ตามบันไดผลลัพธ์ 1.คณะทำงานมีศักยภาพในการขับเคลื่อนในพื้นที่ - มีคณะทำงาน 17 คน มาจาก สท., ผู้ใหญ่บ้าน, อสม., จนท.เทศบาล - คณะทำงานมีความรู้ สามารถบริหารจัดการ - การถ่ายทอดความรู้ /ติดตามประเมินผล - การจัดเก็บข้อมูล - การสร้างแรงจูงใจ - มีฐานข้อมูลจับต้องได้
- ทำการคัดกรอง
- คีย์ข้อมูลเข้าระบบ 2.เกิดความร่วมมือจากกลไกพัฒนาคุณภาพชีวิต - เกิดกลไกความร่วมมือที่มีจาก - รพ.สต. : ข้อมูล, ความรู้, วิทยากร - อสม. : ข้อมูล, ตรวจเยี่ยม, คัดกรอง, ให้คำแนะนำ - ชุมชน : กองทุนแม่ของแผ่นดิน ม. 6 บ้านดอนไทรงาม - กศน. : ข้อมูล, ให้ความรู้, ให้การเรียนรู้ตลอดชีวิต - กลุ่มอาชีพในชุมชน : ข้อมูล, ความรู้ -ม.1 กลุ่มเลี้ยงไก่ชน -ม.2 กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ -ม.3 กลุ่มขนมไทย -ม.4 กลุ่มเลี้ยงปลากะพง -ม.5 กลุ่มทำใบจาก -ม.6 กลุ่มเลี้ยงปูนา,ขนมไทย -ม.7 กลุ่มลิงกังขึ้นมะพร้าว -ม.8 กลุ่มปลาร้าไทดำ -ม.9 กลุ่มทอผ้า ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม (ไทดำ) -ม.10 กลุ่มเลี้ยงวัว -ม.11 กลุ่มเลี้ยงปลาไหล “โคกหนองนาโมเดล” -ม.12 กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ ,กลุ่มพวงหรีด -เกิดกติกาหรือมาตรการระดับพื้นที่ - กติกาของคณะกรรมการ คือจะประชุมคณะกรรมการฯ ทุกวันที่ 10 ของทุกเดือน - กติกาในเรื่องของถนนสุขภาพ “ทุกคนเป็นเจ้าของช่วยกันดูแลหน้าบ้านใครคนนั้นดูแล แต่จะแบ่งปันผลผลิตให้ทุกคนในชุมชนสามารถเก็บไปบริโภคได้” - ผู้นำทุกคนต้องตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง - อสม.จะต้องออกคัดกรองกลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้สูงอายุปีละไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง 3. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ - มีการจัดการปัจจัยเสี่ยง/เพิ่มปัจจัยเสริม 3อ 2ส การจัดการปัจจัยเสี่ยง - มีการจัดการโรคเรื้อรังด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยพืชสมุนไพร(น้ำมันมะพร้าว) ในการบริโภคเพื่อลดไขมัน ประมาณร้อยละ 20 ใช้ฟ้าทะลายโจรชงชา ประมาณร้อยละ 30 - มีกลุ่มอาชีพเสริม 3 กลุ่ม 1) กลุ่มอาหารปลดภัย คือ เครื่องแกงไม่ใส่สารกันบูด ม.6 สมาชิก 30 คน 2) กลุ่มสมุนไพร มีสมาชิก 50 คน 3) กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ ม.6 มีสามาชิก 50 คน เพิ่มปัจจัยเสริม 3อ 2ส -ออกกำลังกาย ได้แก่ บาสโลป ม.6 สมาชิก 50 คน, แอโรบิค กองทุนแม่ของแผ่นดิน สมาชิก 50 คน, มวยไทย ม. สมาชิก 20 คน, รำวงนางฟ้า ม.2 สมาชิก 20 คน, ฟ้อนไทดำ ม.8 ม.9 สมาชิก 140 คน -อาหาร ได้แก่ กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ ม.6 สมาชิก 50 คน, กลุ่มเครื่องแกงไม่ใส่สารกันบูด ม.6 สมาชิก 30 คน, กลุ่มเลี้ยงปลากระชัง อาหารธรรมชาติ ม.4 สมาชิก 50 คน -อารมณ์ ได้แก่ วัดคูขุด กลุ่มฝึกสมาธิ, วัดดอนรวบ กิจกรรมประเพณีวัฒนธรรม, วัดคอเตี้ย กิจกรรประเพณีวัฒนธรรม -สุรา/บุหรี่ -ยาเสพติด 4. มีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยการลดโรคเรื้อรัง -ลดอัตราการเจ็บป่วย ร้อยละ 10 -ผู้นำเปลี่ยนแปลงสุขภาพตนเอง 30 คน - เกิดนวัฒกรรมการจัดการโรคเรื้อรัง 1) การใช้น้ำมันมะพร้าวลดไขมัน 2) ใช้ฟ้าทะลายโจรลดอาการเจ็บคอ 3) ลูกปะคบสมุนไพรลดอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อ


ปัจจัยความสำเร็จ 1.มีแกนนำ/กลุ่ม สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม 2.กลไกการทำงาน อสม., เทศบาล(เจ้าหน้าที่ ทต.),
เข้ามาหนุนเสริมทำให้โครงการสำเร็จ 3.หน่วยงานให้การสนับสนุน ร.ร.บ้านดอนไทรงาม รพ.สต.บางหมาก, เทศบาลตำบลบางหมาก, วัดคูขุด, วัดดอนรวบ 4.ประชาชนส่วนใหญ่ปฏิบัติตามกติกาชุมชนที่วางไว้ 5. มีการสื่อสาร เข้าถึงประชาชนได้ดี 6. กองทุนท้องถิ่น (สปสช.) ให้การสนับสนุนบรรจุแผน ด้านสุขภาพ, การออกกำลังกาย, การป้องกันอุบัติเหตุ กองทุนแม่ของแผ่นดิน เรื่องสถานที
ปัจจัยที่ไม่สำเร็จ 1.ผู้นำสวมหมวกหลายใบ ทำให้ไม่สามารถจัดสรรเวลา ในการดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผน 2. กลไกกรรมการ ไม่เห็นความสำคัญของโครงการ ไม่เข้าใจ 3. มุมมองของสมาชิกไม่เข้าใจงานของ สสส. 4. การตอบรับจากสมาชิก/ประชาชน ไม่ดี เพราะไม่เช้าใจตัวโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การพัฒนานวตกรรมโครงการ

 

0 0

30. ถอดบทเรียน

วันที่ 22 มีนาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ถอดบทเรียน ณห้องประชุมโรงเรียนบ้านดอนไทรงามโดยคณะทำงาน สสส. มีรายละเอียดดังนี้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดโรคเรื้อรังในชุมชนตำบลบางหมาก ข้อมูลทั่วไป ประชากรทั้งหมด 6,979 คน
จำนวนครัวเรือน 2,785 ครัวเรือน จำนวนหมู่บ้าน  12 หมู่บ้าน จำนวนชุมชน  19 ชุมชน ผลลัพธ์ - กายภาพ - สังคม - เศรษฐกิจ - การมีส่วนร่วม - การดูแลสุขภาพ กลไกการจัดการ - การก่อตัวของกลไก - การจัดการของกลไก - การมีส่วนร่วม ภาคีเครือข่าย - ระดับปฏิบัติการ ได้แก่ ชมรม อสม., รพ.สต., ชมรมผู้สูงอายุ, ชมรมกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน, วัด, โรงเรียน,
เทศบาล, กองทุนแม่ของแผ่นดิน, กศน., กลุ่มอาชีพต่างๆ - ระดับนโยบาย ได้แก่ สสอ., สสจ., อำเภอ

กลไกการดำเนินงาน

Who What Why When How ? ชมรม อสม. ชมรมผู้สูงอายุ เก็บข้อมูล,ให้ความรู้, คัดกรอง/ติดตามผล สร้างแรงจูงใจให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อให้คนในชุมชนมีสุขภาพดี มีพฤติกรรมการกิน การใช้ชีวิต เช่น การออกกำลังกาย การลดหวาน มัน เค็ม ลดอาการเจ็บป่วย กลุ่มเสี่ยง ลดจำนวนผู้เข้ารับบริการใน รพ.สต. และโรงพยาบาล พ.ค.2565 –
เม.ย.2566 ลงพื้นที่คัดกรองกลุ่มเป้าหมาย เก็บข้อมูล เพื่อเปรียบเทียบ -น้ำหนัก -ส่วนสูง -รอบเอว -ดัชนีมวลกาย -ความดัน,ไขมัน, เบาหวาน เน้น 3 อ. 2 ส. อสม.ทุกหมู่ นางประนอม เวชสุบรรณ ตำแหน่งประธานฯ 062-5196172 Who What Why When How ? รพ.สต. ชมกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ท้องถิ่น/ทต. บางหมาก -ข้อมูล -ความรู้ -สนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์ -วิทยากร -ให้คำปรึกษา -กำนัน ม.5 -ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่ ม.1,2,3,4,6,7,8,9,10, 11,12 -อำนวยความสะดวกเรื่องสถานที่ -องค์ความรู้ -รวบรวมข้อมูล -วิเคราะห์ข้อมูล/ปัญหา -จัดลำดับความสำคัญ -คัดกรอง/ติดตามผล -ให้การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ -สนับสนุนสถานที่/ บุคลการ -ขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพ -ลดจำนวนผู้ป่วย -ให้ความรู้กับคนในชุมชน เพื่อจัดกิจกรรมสุขภาพ -อบรม -ออกกำลังกาย แอโรบิค มวยไทย, รำวง -ถนนสุขภาพ -สวนสมุนไพร -เพื่อให้ผู้นำและประชาชนในชุมชนมีสุขภาพดี มีพฤติกรรมสุขภาพเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เช่น ลดโรค “ลดหวาน มัน เค็ม”
-ลดจำนวนผู้ป่วย -สร้างความตระหนัก ให้กับผู้นำและประชาชนในเรื่องของการดูแลสุขภาพ
-มีนโยบายสนับสนุนการดูแลสุขภาพในกลุ่มผู้นำ และประชาชน -เพื่อสนับสนุนงบประมาณในการดูแลสุขภาพของประชาชน (สปสช.) พ.ค.2565 – เม.ย.2566 พ.ค.2565 – เม.ย.2566 พ.ค.2565 – เม.ย.2566
-ให้ความรู้กับชุมชนเรื่องสุขภาพ -ร่วมคัดกรองผู้ที่มีภาวะเสี่ยง -สร้างสัมพันธ์กับคนในชุมชน -สร้างแรงจูงใจ -ดูแล อำนวยความสะดวกให้บริการสถานที่ -สนับสนุนบุคลกร งบประมาณ
-เครื่องมือในการดำเนินการโครงการ รพ.สต.บางหมาก นายปรินทร รัตนกูล ผอ.รพ.สต. 095-2894465 นายประสงค์ คอนกำลัง ผญ.ม.6 088-4449013 นายอำพล ทองลีผล กำนัน 093-6939899 นายสุรพงศ์ ประสารวุฒิ นายกฯ 096-4936919 นางศรีนวล อ่วมอ่อน
รองนายกฯ 080-7186021 น.ส.ณัชชาภัทร อาริกุล 088-7613569 ผลลัพธ์ตามบันไดผลลัพธ์ 1.คณะทำงานมีศักยภาพในการขับเคลื่อนในพื้นที่ - มีคณะทำงาน 17 คน มาจาก สท., ผู้ใหญ่บ้าน, อสม., จนท.เทศบาล - คณะทำงานมีความรู้ สามารถบริหารจัดการ - การถ่ายทอดความรู้ /ติดตามประเมินผล - การจัดเก็บข้อมูล - การสร้างแรงจูงใจ - มีฐานข้อมูลจับต้องได้
- ทำการคัดกรอง
- คีย์ข้อมูลเข้าระบบ 2.เกิดความร่วมมือจากกลไกพัฒนาคุณภาพชีวิต - เกิดกลไกความร่วมมือที่มีจาก - รพ.สต. : ข้อมูล, ความรู้, วิทยากร - อสม. : ข้อมูล, ตรวจเยี่ยม, คัดกรอง, ให้คำแนะนำ - ชุมชน : กองทุนแม่ของแผ่นดิน ม. 6 บ้านดอนไทรงาม - กศน. : ข้อมูล, ให้ความรู้, ให้การเรียนรู้ตลอดชีวิต - กลุ่มอาชีพในชุมชน : ข้อมูล, ความรู้ -ม.1 กลุ่มเลี้ยงไก่ชน -ม.2 กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ -ม.3 กลุ่มขนมไทย -ม.4 กลุ่มเลี้ยงปลากะพง -ม.5 กลุ่มทำใบจาก -ม.6 กลุ่มเลี้ยงปูนา,ขนมไทย -ม.7 กลุ่มลิงกังขึ้นมะพร้าว -ม.8 กลุ่มปลาร้าไทดำ -ม.9 กลุ่มทอผ้า ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม (ไทดำ) -ม.10 กลุ่มเลี้ยงวัว -ม.11 กลุ่มเลี้ยงปลาไหล “โคกหนองนาโมเดล” -ม.12 กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ ,กลุ่มพวงหรีด -เกิดกติกาหรือมาตรการระดับพื้นที่ - กติกาของคณะกรรมการ คือจะประชุมคณะกรรมการฯ ทุกวันที่ 10 ของทุกเดือน - กติกาในเรื่องของถนนสุขภาพ “ทุกคนเป็นเจ้าของช่วยกันดูแลหน้าบ้านใครคนนั้นดูแล แต่จะแบ่งปันผลผลิตให้ทุกคนในชุมชนสามารถเก็บไปบริโภคได้” - ผู้นำทุกคนต้องตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง - อสม.จะต้องออกคัดกรองกลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้สูงอายุปีละไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง 3. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ - มีการจัดการปัจจัยเสี่ยง/เพิ่มปัจจัยเสริม 3อ 2ส การจัดการปัจจัยเสี่ยง - มีการจัดการโรคเรื้อรังด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยพืชสมุนไพร(น้ำมันมะพร้าว) ในการบริโภคเพื่อลดไขมัน ประมาณร้อยละ 20 ใช้ฟ้าทะลายโจรชงชา ประมาณร้อยละ 30 - มีกลุ่มอาชีพเสริม 3 กลุ่ม 1) กลุ่มอาหารปลดภัย คือ เครื่องแกงไม่ใส่สารกันบูด ม.6 สมาชิก 30 คน 2) กลุ่มสมุนไพร มีสมาชิก 50 คน 3) กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ ม.6 มีสามาชิก 50 คน เพิ่มปัจจัยเสริม 3อ 2ส -ออกกำลังกาย ได้แก่ บาสโลป ม.6 สมาชิก 50 คน, แอโรบิค กองทุนแม่ของแผ่นดิน สมาชิก 50 คน, มวยไทย ม. สมาชิก 20 คน, รำวงนางฟ้า ม.2 สมาชิก 20 คน, ฟ้อนไทดำ ม.8 ม.9 สมาชิก 140 คน -อาหาร ได้แก่ กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ ม.6 สมาชิก 50 คน, กลุ่มเครื่องแกงไม่ใส่สารกันบูด ม.6 สมาชิก 30 คน, กลุ่มเลี้ยงปลากระชัง อาหารธรรมชาติ ม.4 สมาชิก 50 คน -อารมณ์ ได้แก่ วัดคูขุด กลุ่มฝึกสมาธิ, วัดดอนรวบ กิจกรรมประเพณีวัฒนธรรม, วัดคอเตี้ย กิจกรรประเพณีวัฒนธรรม -สุรา/บุหรี่ -ยาเสพติด 4. มีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยการลดโรคเรื้อรัง -ลดอัตราการเจ็บป่วย ร้อยละ 10 -ผู้นำเปลี่ยนแปลงสุขภาพตนเอง 30 คน - เกิดนวัฒกรรมการจัดการโรคเรื้อรัง 1) การใช้น้ำมันมะพร้าวลดไขมัน 2) ใช้ฟ้าทะลายโจรลดอาการเจ็บคอ 3) ลูกปะคบสมุนไพรลดอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อ ปัจจัยความสำเร็จ 1.มีแกนนำ/กลุ่ม สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม 2.กลไกการทำงาน อสม., เทศบาล(เจ้าหน้าที่ ทต.),
เข้ามาหนุนเสริมทำให้โครงการสำเร็จ 3.หน่วยงานให้การสนับสนุน ร.ร.บ้านดอนไทรงาม รพ.สต.บางหมาก, เทศบาลตำบลบางหมาก, วัดคูขุด, วัดดอนรวบ 4.ประชาชนส่วนใหญ่ปฏิบัติตามกติกาชุมชนที่วางไว้ 5. มีการสื่อสาร เข้าถึงประชาชนได้ดี 6. กองทุนท้องถิ่น (สปสช.) ให้การสนับสนุนบรรจุแผน ด้านสุขภาพ, การออกกำลังกาย, การป้องกันอุบัติเหตุ กองทุนแม่ของแผ่นดิน เรื่องสถานที
ปัจจัยที่ไม่สำเร็จ 1.ผู้นำสวมหมวกหลายใบ ทำให้ไม่สามารถจัดสรรเวลา ในการดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผน 2. กลไกกรรมการ ไม่เห็นความสำคัญของโครงการ ไม่เข้าใจ 3. มุมมองของสมาชิกไม่เข้าใจงานของ สสส. 4. การตอบรับจากสมาชิก/ประชาชน ไม่ดี เพราะไม่เช้าใจตัวโครงการ

 

20 0

31. หักเงินยืมเปิดบัญชีโครงการ

วันที่ 4 เมษายน 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จ่ายเงินยืมเปืดบัญชีหัวหน้าโครงการ จำนวน 500 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีกรเงินคืนให้ผู้รับผิดชอบโครงการที่ได้สำรองเงินเปิดบัญชี

 

0 0

32. 3.2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกชุมชนกับพื้นที่ต้นแบบ

วันที่ 6 เมษายน 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อให้คณะทำงาน และแกนนำสุขภาพ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการ 2.  เพื่อให้แผนงาน,โครงการ หรือกิจกรรมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ 3.  เพื่อให้โครงการได้บรรลุวัตถุประสงค์ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ผู้เข้าร่วม จำนวน 20คน ประกอบด้วย คณะทำงาน และแกนนำสุขภาพ รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) ณ.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาทะลุ (สถานที่ วิสาหกิจชุมชนกาแฟเขาทะลุ  ) 1. แลกเปลี่ยนเรียนรู้งานการดำเนินงานการขับเคลื่อนการทำงานโครงการเกี่ยวกับ  NCD มีการกล่าวต้อนรับโดยกำนันตำบลเขาทะลุ ให้ข้อคิดว่าสุขภาพเป็นเรื่องของเราเอง เราต้องดูแลตัวเองทำทุกวันให้มีความสุขภาใต้อาหารดี ออกกำลังกายพอสมควร อารมย์ดีและไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติด หลังจากนั้นก็มีเวทีเสวนาร่วมกันระหว่างทีมเขาทะลุและรองนายกฯศรีนวล รวมทั้การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของทั้งสองทีม ทำใให้เห็นแนวคิดของผู้บริหารทุกภาคส่วน ทีมสนับสนุนจากเอกชนในการใช้สถานที่และงบสนับสนุนตามความเหมาะสม และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเครือข่ายผู้สูงอายุ เป็นต้น 2. มีการอบรมให้ความรู้แก่คณะทำงานและแกนนำสุขภาพตำบลบางหมากโดยนายวิษณุ ผอ.รพ.สต.บ้านคลองน้อย และนายกอบต.เขาทะลุ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงาน และแกนนำสุขภาพ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการ กิจกรรมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน

 

20 0

33. ประชุมถอดบทเรียน

วันที่ 10 เมษายน 2023 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

เดินทางเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการที่วัดพระธาตุสวี เพื่อการเรียนรู้วิธีการถอดบทเรียนโครงการร่วมกับพื้นที่โครงการอื่น ๆ อีก24 โครงการ ทั้งในภาพรวมของประเด็นการจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ และประเด็นเกษตรเพื่อสุขภาพโดยได้เรียนรู้วิธีการคิดอย่างเป็นระบบด้วย 4 W 1H (Who What Why When How) โดยทีมวิทยากรพี่เลี้ยง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานมีความรู้ในการดำเนินการและนำความรู้ไปใช้กับชุมชนบางหมากในโอกาสต่อไป

 

2 0

34. ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือน เมษายน 2566

วันที่ 10 เมษายน 2023 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมฝึกอบรมการถอดบทเรียนโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจ

 

17 0

35. คัดเลือกผู้นำต้นแบบ

วันที่ 15 เมษายน 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการคัดเลือกผู้นำต้นแบบจำนวน 3 คน และนำรายชื่อผุ้ได้รับการคัดเลือกเข้าสู่คณะกรรมการโครงการและผู้ทรงคุณวุฒิให้ข้อคิดเห็นและลงมติ เพื่อแจ้งให้เจ้าตัวทราบ เพื่อเข้ารับประกาศนียบัตรต่อไป ซึ่งคัดเลือกมาได้จำนวน 30 คน ดังนี้ 1. คุณสาวิตรี  จันบำรุง 2. คุณณิชา  สุขอนันต์ 3. คุณจิราภา  มณสังสป 4. คุณสุทธิพร  เพชรนาจักร 5. คุณจารีย์  คงนาสอน 6. คุณพัชรภรณ์ ศรีนาค 7. คุณสุกัลยา นาควิเชียร 8. คุณสุจิตรา นพชำนาญ 9. คุณพิสมัย ชัยชนะ 10. คุณอุษา กลิ่นพยูร 11. คุณสมัย พรหมประสิทธิ์ 12. คุณประนอม เวชสุบรรณ 13. คุณบุญช่วย ศรีนาค 14. คุณศรีนวล อ่วมอ่อน 15. คุณธนรัตน์ โอ่งชิต 16. คุณภูวดล ชัยบุตร 17. คุณลักษมี  สวัสดิ์ศรี 18. คุณจีรภา กลิ่นภุมเรศ 19. คุณประสงค์ คอนกำลัง 20. คุณณัชชาภัทร  อริกุล 21. คุณเบ็ญจา เพิ่มพูน 22. คุณศิริมา ไทยนุกูล 23. คุณมลิวัลย์  ชัยบุตร 24. คุณสุธรรม  นาควิรัช 25. คุณเรวดี มรรคสินธุ์ 26. คุณพิสูจน์  พิโสรมย์ 27. คุณสมบุญ จันทร์สุวรรณ 28. คุณจุรีย์ สาวสัญ 29. คุณมณีรัตน์ หุนตระณี
30. คุณสุทิน ชูกลิ่น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ผู้นำต้นแบบของตำบล จำนวน 30 คน

 

30 0

36. สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 2

วันที่ 23 เมษายน 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ทีมงานร่วมสำรวจข้อมูลผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งที่ 2 ตั้งแต่ 23 - 30 เมายน 2566 และผลการตรวจสุขภาพทำให้ทราบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการทั้ง 120 คน มีผลการสำรวจสุขภาพรวมทั้งผลจากการตรวจสุขภาพโดยการเจาะเลือดหา น้ำตาลกลูกโคส  คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์  ไขมันดี  ไขมันเลว    พบไขมันเลว  74 คน พบ คอเลสเตอรอล  59 คน  พบน้ำตล  47  คน ไขมันเลว  12 คน  นำรายละเอียดแจ้งเจ้าตัว  คณะกรรมการโครงการ และผู้บริหารเทศบาลตำบลบางหมากทราบ  เพื่อดำเนินการต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลการตอบแบบสอบถาม

 

120 0

37. ตรวจสุขภาพ ครั้งที่ 2

วันที่ 23 เมษายน 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ตรวจสุขภาพผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 120 คน เพื่อหาค่า น้ำหนัก รอบเอว ค่า bmi (ดัชนีมวลกาย) ตรวจนำตาล คอเสลเตอรอน ไขมันเลว ไขมันดี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการตรวจสุขภาพโดยการเจาะเลือดหา น้ำตาลกลูกโคส  คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์  ไขมันดี  ไขมันเลว    พบไขมันเลว  74 คน พบ คอเลสเตอรอล  59 คน  พบน้ำตล  47  คน ไขมันเลว  12 คน  นำรายละเอียดแจ้งเจ้าตัว  คณะกรรมการโครงการ และผู้บริหารเทศบาลตำบลบางหมากทราบ  เพื่อดำเนินการต่อไป

 

120 0

38. อบรมให้ความรู้การป้องกันโรค NCD และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

วันที่ 24 เมษายน 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

การอบรมให้ความรู้การปอ้งป้อน NCD และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ฝึกอบรมให้ความรู้เรื่อง 3 อ.2 ส.ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 120 คน จัดกิจกรรม ณ ศูนย์การเรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดิน บ้านดอนไทรงาม หมู่ที่ 6 ต.บางหมาด อ.เมือง จ. ชุมพร  ให้ความรู้ในการปลูกพืชแบบปลอดภัยไร้สารพิษในครัวเรื่อน ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก การปลูกผักสวนครัวไว้กินเองในครัวเรือน  แนะนำการออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆ เช่น แอโรบิค  บาสะโลป  มวยไทย ออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้าในผู้สูงอายุ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจโครงการ

 

120 0

39. พบพี่เลี้ยง ครั้งที่ 2

วันที่ 25 เมษายน 2023 เวลา 16:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

พบพี่เลี้ยงเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรายงานและรายงานการเงิน เพื่อเตรียมลงในรายงานออนไลน์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นำผลการตรวจสอบแก้ไขตามคำแนะนำของพี่เลี้ยงเพื่อเตรียมให้หน่วยจัดการตรวจสอบต่อไป

 

3 0

40. จัดทำรายงาน

วันที่ 30 เมษายน 2023 เวลา 09:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำรายงานข้อมูลโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

รายงาน

 

0 0

41. การบันทึกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์

วันที่ 30 เมษายน 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

นำขอมูลมาบันทึกข้อมูลในระบบออนไลน์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีข้อมูลในระบบออนไลน์

 

2 0

42. จัดเวทีคืนข้อมูล

วันที่ 30 เมษายน 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1.เพื่อแจ้งผลการดำเนินงานของโครงการให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ
2. เพื่อมอบเกียรติบัตรให้กับผู้นำต้นแบบจำนวน 30  ราย ผู้เข้าร่วม จำนวน 120 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการชุมชน และคณะทำงาน รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) กำหนดการปิด โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขสภาพเพื่อลดโรคเรื้อรังในชุมชนตำบลบางหมาก โดย ร้อยตำเอกประมวล  ผลพฤกษา
อัยการศาลจังหวัดหลังสวน วันเสาร์ที่ 29  เมษายน  2566
ณ ศูนย์การเรียนรู้กองทุนแม่ของแผนดิน หมู่ที่ 6  บ้านดอนไทรงาน ต.บางหมาก อ.เมือง จ.ชุมพร


เวลา กิจกรรม 09.30น. ลงทะเบียน 10.00น. การแสดงบาสโลป กองทุนแม่ของแผนดิน หมู่ที่  6 บ้านดอนไทรงาม 10.30น. คุณศรีนวล  อ่วมอ่อน  หัวหน้า คณะทำงาน  รายงานผลการดำเนินงานโครงการ  บันไดผลลัพธ์โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพด้วยหลัก 3 อ 2 ส เพื่อป้องกันโรคใน กลุ่มผู้นำชุมชนตำบลบางหมาก 10.45 น. นายกเทศมนตรีมอบเกรียติบัตร  บุคคลผู้นำ ต้นแบบด้านสุขภาพ ประจำปี 2566  ภายใต้ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดโรค เรื้อรังในชุมชนตำบลบางหมาก จำนวน 30 ท่าน 11.00 น. นายสุรพงศ์  ประสารวุฒ นายกเทศมนตรีตำบล บางหมาก  กล่าวปิดโครงการ ถ่ายภาพร่วมกัน

หมายเหตุ  :  กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ผู้เข้าร่วมโครงการรับทราบผลการดำเนินงานของโครงการ 2.มอบเกียรติบัตรให้กับผู้นำต้นแบบจำนวน 30  ราย

 

120 0

43. พบพี่เลี้ยง ครั้งที่ 3

วันที่ 30 เมษายน 2023 เวลา 17:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

นำเอกสารและรายงานการเงินให้ทีมกลางของNFชุมพร ตรวจสอบ เพื่อนำรายงานที่ถูกต้องลงรายงานทางเว็ปไซด์คนใต้สร้างสุข

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

รายงานกิจกรรมตรงและถูกต้องมีความสอดคล้องกับโครงการ

 

3 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อให้ผู้นำชุมชนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และสามารถเป็นต้นแบบในการจัดการโรคเรื้อรังได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ตัวชี้วัด : 1.เกิดคณะทำงานที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนในพื้นที่ 2. เกิดความร่วมมือจากกลไกพัฒนาคุณภาพชีวิต.
0.00

 

2 2. เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีที่สามารถลดโรคเรื้อรังได้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตัวชี้วัด : 1. เกิดการปรับพฤติกรรม และสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ 2.มีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยการลดโรคเรื้อรัง
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 120
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะกรรมการชุมชน 54
ตัวแทน อสม 10
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 24
ผู้บริหารเทศบาล 5
ผู้ใหญ่บ้าน 12
สมาชิกสภาเทศบาล 12
เจ้าหน้าที่ 3

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.  เพื่อให้ผู้นำชุมชนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และสามารถเป็นต้นแบบในการจัดการโรคเรื้อรังได้อย่างถูกต้องเหมาะสม (2) 2.  เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีที่สามารถลดโรคเรื้อรังได้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) รณรงค์สือสารให้ประชาชนรับทราบเรื่องสุขภาพ (2) สำรวจข้อมูล/วิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ (3) จัดเวทีสร้างความร่วมมือจัดโครงการเรื้อรังเข้าร่วมประชุมในกิจกรรมของชุมชนและเวทีผู้นำท้องถิ่นประจำเดือนนำเสนอความก้าวหน้าและผลการปฏิบัติงานโครงการเพื่อเชื่อมโยงเครือข่าย (4) แต่งตั้งคณะทำงาน (5) พัฒนาศักยภาพคณะทำงานขับเคลื่อนการทำงานโครงการ NCD (6) พัฒนาศักยภาพจัดเวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อเรียนรู้และพัฒนางบโครงการ สสส. (7) จัดเวทีประชาคมรับรองและประกาศกติกาชุมชน (8) ตรวจสุขภาพประจำปี (9) ปฎิบัติการในพื้นที่จริงด้วยการปลูกผักปลอดสารพิษสวนสมุนไพรป้องกันโควิค-19และถนนสุขภาพ (10) อบรมให้ความรู้กรรมการขับเคลื่อนโรคเรื้อรัง NCD (11) พัฒนาโครงการเชิงรุกในการจัดโครงการโรคเรื้อรังและผลักดันเข้าแผนกองทุนหลักประกันฯและยุทธศาสตร์เทศบาล (12) อบรมให้ความรู้การป้องกันโรค NCD และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ (13) คัดเลือกผู้นำต้นแบบ (14) ถอดบทเรียนและค้นหาการพัฒนานวตกรรม (15) จัดเวทีคืนข้อมูล (16) ประชุมหมู่บ้าน ชุมชน  สปสช.  สภาเทศบาลตำบลบางหมาก (17) ประชาสัมพันธ์ุโครงการผ่าน Facebook  และ  Line (18) นำโครงการเข้าแผนชุนชน  และแผนตำบล (19) ปฐมนิเทศโครงการ (20) คัดเลือกคณะทำงาน มอบหมายหน้าที่ (21) ประชุมคณะทำงาน  ประจำเดือน กรกฎาคม 2565 (22) การบันทึกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ (23) สำรวจข้อมูลสุขภาพผู้เข้าร่วมโครงการโดยใช้แบบสอบถาม  ครั้งที่  1 (24) กิจกรรมออกกำลังกาย (25) ประชุมคณะทำงาน  ประจำเดือน สิงหาคม 2565 (26) ประชุมคณะทำงานประจำเดือน กันยายน  2565 (27) อบรมนักสื่อสร้างสร้างสรรค์ (28) ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ตุลาคม  2565 (29) อบรมให้ความรู้กรรมการขับเคลื่อน โครงการโรคเรื้อรัง NCD (30) กิจกรรมสวนสมุนไพรป้องกันโควิต (31) จัดเวทีประชาคมและคัดเลือกพร้อมประกาศกติกาชุมชน (32) กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ (33) ถนนสายสุขภาพ (34) จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการและป้ายปลอดบุหรี่/แอลกอฮอ (35) ประชุมเวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาโครงการสสส.สำนัก ๖ ร่วมกับNF ชุมพร (36) ประชุมคณะทำงานประจำเดือน พฤศจิกายน  2565 (37) ตรวจสุขภาพประจำปี (ครั้งที่ 1) (38) อบรมให้ความรู้ NCD (39) ประชุมคณะทำงานประจำเดือน  ธันวาคม 2565 (40) ประชุมประจำเดือน  มกราคม 2566 (41) ประชุมประจำเดือน กุมภาพันธ์  2566 (42) เวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) (43) พบพี่เลี้ยงครั้งที่ 1 (44) ประชุมประจำเดือน  มีนาคม 2566  และ ARE (45) ถอดบทเรียน (46) ถอดบทเรียน (47) หักเงินยืมเปิดบัญชีโครงการ (48) 3.2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกชุมชนกับพื้นที่ต้นแบบ (49) ประชุมถอดบทเรียน (50) ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือน เมษายน  2566 (51) คัดเลือกผู้นำต้นแบบ (52) สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 2 (53) ตรวจสุขภาพ  ครั้งที่ 2 (54) อบรมให้ความรู้การป้องกันโรค NCD และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ (55) พบพี่เลี้ยง  ครั้งที่ 2 (56) พบพี่เลี้ยง  ครั้งที่ 3 (57) จัดเวทีคืนข้อมูล (58) จัดทำรายงาน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


(06)ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดโรคเรื้อรังในชุมชนตำบลบางหมาก จังหวัด ชุมพร

รหัสโครงการ 65-00240-0006

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางศรีนวล อ่วมอ่อน )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด