directions_run

(06)ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดโรคเรื้อรังในชุมชนตำบลบางหมาก

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ (06)ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดโรคเรื้อรังในชุมชนตำบลบางหมาก
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดชุมพร
รหัสโครงการ 65-00240-0006
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 30 เมษายน 2566
งบประมาณ 130,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลบางหมาก
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศรีนวล อ่วมอ่อน
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0807186021
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมใจ ด้วงพิบูลย์
พื้นที่ดำเนินการ เทศบาล ตำบลบางหมาก อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร
ละติจูด-ลองจิจูด 10.425014,99.18354place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 52,000.00
2 1 ต.ค. 2565 28 ก.พ. 2566 1 ต.ค. 2565 28 ก.พ. 2566 71,500.00
3 1 มี.ค. 2566 30 เม.ย. 2566 1 มี.ค. 2566 30 เม.ย. 2566 6,500.00
รวมงบประมาณ 130,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เทศบาลตำบลบางหมากเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ตั้งอยู่เลขที่ 159 หมู่ที่ 11ตำบลบางหมาก ถนนสายคูขุด - บ้านบางเจริญ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองชุมพรไปทางทิศใต้ประมาณ 7 กิโลเมตร เดิมยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 2 มีนาคม2538 เป็น อบต.ขนาดเล็ก จำนวน 12 หมู่บ้าน พื้นที่ประมาณ 50 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 31,250 ไร่ องค์การบริหารส่วนตำบลบางหมากได้บริหารงานตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมคุณภาพชีวิต การจัดระเบียบชุมชนและสังคม การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว การบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นและหน่วยงานทุกภาคส่วน ได้รับรางวัลบริหารจัดการที่ดีเป็น อบต. ดีเด่น ประจำปี 2549 และรางวัลชมเชยด้านการจัดเก็บภาษีประจำปี พ.ศ. 2550 ได้จัด ประชุมประชาคมหมู่บ้าน ระหว่างวันที่ 11 กันยายน – 12 ตุลาคม พ.ศ.2551 และผ่านความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบางหมาก จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบางหมาก อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร เป็นเทศบาลตำบลบางหมาก แบ่งเขตการบริหารงานเป็นชุมชนย่อย 19 ชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารงาน และได้แบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลออกเป็นสองเขตเลือกตั้ง การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลบางหมาก และปี พ.ศ.2555 ได้ก่อสร้างอาคารสำนักงานเทศบาลหลังใหม่ เป็นอาคารสองชั้นเพื่อให้มีสถานที่ทำงานและบริการประชาชนให้เพียงพอได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น อาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลนาทุ่ง และเทศบาลเมืองชุมพร (ตำบลท่าตะเภา) ทิศใต้ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคา ทิศตะวันออกติดต่อกับเทศบาลตำบลท่ายาง ทิศตะวันตก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลตากแดด อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ลักษณะภูมิประเทศ มีพื้นที่ คิดเป็นร้อยละ 6.71ของพื้นที่อำเภอเมืองชุมพร สภาพพื้นที่โดยทั่วไปประกอบด้วย เป็นที่ราบส่วนใหญ่ เป็นดินร่วนปนทราย ประมาณ 25,546ไร่( ร้อยละ 81.75) ใช้ประโยชน์ของพื้นที่ในการเลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงโค ตลอดจนการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักได้แก่มะพร้าว ทำนา และสวนปาล์มน้ำมัน พื้นที่ลุ่ม มีพื้นที่รวมประมาณ 5,704 ไร่ (ร้อยละ 18.25 )มีฝนตกชุกตลอดปี เนื่องจากได้รับมรสุมทั้ง 2ด้าน คือ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปีเท่ากับ 1,701.9มิลลิเมตร มีแหล่งน้ำเป็นแหล่งน้ำผิวดิน และมีแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่สำคัญ เป็นแหล่งน้ำและแหล่งสัตว์น้ำ เช่น ปลา กุ้งแม่น้ำ ปู ทั้งยังเป็นแหล่งเลี้ยงปลาในกระชังของประชาชน และยังมีแหล่งน้ำที่สร้างขึ้นจากการขาดแคลนน้ำ ได้แก่ สระน้ำดอนทิงทวด คลองหนองแช่ดาน และสระน้ำสาธารณประโยชน์ นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ป่าชายเลนบางส่วนหมู่ที่ 8บ้านดอนรวบ มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลทุ่งคา อำเภอเมือชุมพร และอำเภอสวี ลักษณะของไม้เป็นไม้ป่าชายเลน
ด้านการเมืองการปกครอง การเมือง เทศบาลตำบลบางหมากมีเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ออกเป็น 2 เขต เขต 1 (หมู่ที่ 1 3 4 6 7 10 12) เขต 2 (หมู่ที่ 2 5 8 9 11) สมาชิกสภาเทศบาล (สท.) เขตละ 6 คน จำนวน 12 คน การปกครองท้องที่ แบ่งออกเป็น 12 หมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านปกครอง จำนวน 12 คน และแบ่งเป็น ชุมชนชุมชนบางหมาก (หมู่ที่ 1) ชุมชนดอนใหญ่ ชุมชนบ้านล่าง (หมู่ที่ 2) ชุมชนคูขุด(หมู่ที่ 3) ชุมชนดอนมังค่า (หมู่ที่ 4)ชุมชนบางผรา ชุมชนปลายดอน (หมู่ที่ 5) ชุมชนดอนไทรงาม 1 ชุมชนดอนไทรงาม 2 (หมู่ที่6) ชุมชนบ้านพ่วง ชุมชนแหลมปอ- ดอนนาว (หมู่ที่7) ชุมชนไทยทรงดำสามัคคี ชุมชนไทยทรงดำดอนรวบ (หมู่ที่8) ชุมชนบ้านคอเตี้ย ชุมชนบ้านดอนทราย (หมู่ที่9) ชุมชนบ้านดอนเสือฮูก(หมู่ที่10) ชุมชนดอนทิงทวด1 ชุมชนดอนทิงทวด 2 (หมู่ที่1)ชุมชนดอนพุทธรักษา (หมู่ที่12) สำนักงานเทศบาลตำบลบางหมาก มีการบริหารจัดการแบ่งเป็น ฝ่าย ประกอบด้วย 1. ฝ่ายการเมือง มีหน่วยงานย่อย ประกอบด้วย1)ฝ่ายบริหาร มีนายสุรพงศ์ ประสารวุฒิ นายกเทศมนตรีตำบลบางหมาก นายธนรัตน์ โอ่งชิต รองนายกเทศมนตรีตำบลบางหมาก นางศรีนวล อ่วมอ่อน รองนายกเทศมนตรีตำบลบางหมาก นายสายัณห์ ทิพย์พิมล เลขานุการนายกเทศมนตรีตำบลบางหมาก และ นายสกล เดชบุญพบ ที่ปรึกษานายกฯ 2) ฝ่ายนิติบัญญัติ สมาชิกสภาเทศบาลฯ จำนวน 12 คน มีนายโกศล สุขสวัสดิ์ ประธานสภาเทศบาลตำบลบางหมากนายเอกชัย ศรีสงกา รองประธานสภาฯ นายสุทิน ชูกลิ่น เลขานุการสภาฯ และสมาชิกสภาเทศบาลอีก 9 คน 2.ฝ่ายประจำ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่และลูกจ้างสำนักปลัด 58 คน กองคลัง 9 คน และกองช่าง 13 คน ทุนและศักยภาพชุมชน
เทศบาลตำบลบางหมากมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,278 ครัวเรือน จำนวนประชากรทั้งสิ้น 6,979 คน แยกเป็นชาย 3,376 คน หญิง 3,603 คน ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 65 มีเชื้อสายไทย โดยกำเนิดบางส่วนประมาณร้อยละ 35 มีเชื้อสายของชนกลุ่มน้อยหรือลาวโซ่ง (ชาวไทยทรงดำ) ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 8 หมู่ที่ 9 ตำบลบางหมาก มีภาษาพูดและวัฒนธรรมประจำกลุ่มของตนเอง เยาวชน (อายุต่ำกว่า 18 ปี) 1,346คน อายุ 18 - 59 ปี 4,288 คน ตั้งแต่อายุ 60 ปี ขึ้นไป1,336คน ด้านสภาพทางเศรษฐกิจ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม สวนมะพร้าว สวนปาล์ม สวนทุเรียน ประมาณ 15,493ไร่ นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่าย เช่น โค กระบือ สุกร เป็ด ไก่ เป็นต้น รายได้บุคคลเฉลี่ยประมาณ 89,733.52 บาท/คน/ปี รายจ่ายบุคคลเฉลี่ยประมาณ 60,350.35 บาท/คน/ปี ) มีหน่วยธุรกิจ ประกอบด้วย ปั๊มน้ำมัน 1 แห่ง ดีแอนด์ที มินิมาร์ท ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 บ้านดอนรวบ โรงงานน้ำปลา 1 แห่ง ตั้งไฮ้ลิ้มตั้งอยู่หมู่ที่ 5 บ้านบางผรา และโรงแรม/รีสอร์ท 3 แห่ง   ด้านสภาพทางสังคม 1 ) มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบางหมาก 3 แห่ง ประกอบด้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดอนไทรงาม ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคอเตี้ย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบางหมากโรงเรียนประถมศึกษา 2 แห่ง สังกัด สพฐ.โรงเรียนวัดคูขุด และโรงเรียนบ้านคอเตี้ย โรงเรียนมัธยมศึกษา 2 แห่ง สังกัด สพฐ.โรงเรียนบ้านดอนไทรงาม โรงเรียนวัดดอนรวบ ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน 7 แห่ง หมู่ที่ 2 3 6 7 8 9 10 ศูนย์สารสนเทศดิจิทัลชุมชนดอนทิงทวด ณ เทศบาลตำบลบางหมาก ศูนย์ กศน.ตำบลบางหมาก หมู่ที่ 5 และบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดชุมพร หมู่ที่ 11 ตำบลบางหมาก 2)มีกลุ่มองค์กร/กองทุนชุมชน/ศูนย์เรียนรู้ชุมชน/หน่วยงาน ประกอบด้วย โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) หมู่ที่ 9 บ้านคอเตี้ย กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 3 กลุ่ม (บ้านดอนใหญ่ บ้านดอนรวบ บ้านคอเตี้ย) ธนาคารหมู่บ้าน 4 แห่ง (บ้านดอนไทรงาม บ้านพ่วง บ้านดอนเสือฮูก บ้านดอนพุทธรักษา) สัจจะกองทุนหมู่บ้าน 12 แห่ง หมู่ที่ 1-12 กองทุนหมู่บ้าน 12 แห่ง หมู่ที่ 1-12 กองทุนพัฒนาสตรีตำบลบางหมาก กองทุนแม่ของแผ่นดิน หมู่ที่6บ้านดอนไทรงาม วิสาหกิจชุมชน/กลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP ตำบลบางหมาก กลุ่มขนมไทยบ้านคูขุด วิสาหกิจชุมชน กลุ่ม (ทอปกรีนเวอร์จิ้นออยส์ ระดับห้าดาวและผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพตำบลบางหมาก) ห้างหุ้นส่วน ยูเจริญ กองหนุนเพื่อความมั่นคงของชาติ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ( อปพร. ) อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) กองทุนสวัสดิการชุมชน และศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านดอนไทรงาม หมู่ที่ 6 บ้านดอนไทรงาม 3)ด้านสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม มีการดำเนินงานด้านเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 1,277 คน ชาย 515 คน หญิง 762 คน เบี้ยความพิการ 147 คน ชาย 82 คน หญิง65คน เงินสงเคราะห์ผู้ป่วยเอดส์ 7คน 4) ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม มีวัด / สำนักสงฆ์/ศาลเจ้า 7 แห่ง ประกอบด้วย วัดสุวรรณนัทธี (วัดคูขุด)วัดดอนรวบวัดดอนรวบ วัดคอเตี้ย วัดบางผรา วัดทุ่งไผ่ วัดดอนใหญ่ และศาลเจ้าปุ่นเฒ่ากง   ด้านสภาพสิ่งแวดล้อม และโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วย การคมนาคม เทศบาลตำบลบางหมากมีเส้นทางคมนาคมที่สำคัญผ่าน คือ ถนนลาดยางสายหนองทองคำ - ทุ่งคา โดยเริ่มจากทางแยกไปองค์การบริหารส่วนตำบลตากแดด ผ่านหมู่ที่ 6 7 10 และหมู่ที่ 8 องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคา ไปจดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) นอกจากนี้ แล้วยังมีเส้นทางอื่นในเขตเทศบาลตำบลบางหมากอีกหลายเส้นทางที่มีความสะดวกและเข้าถึงพื้นที่ทุกหมู่บ้านได้อย่างรวดเร็ว การสื่อสาร/โทรคมนาคม มีสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เขตชุมพร (กสทช.เขต 14 (ชุมพร) ตั้งอยู่หมู่ที่11 ตำบลบางหมาก อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ไฟฟ้า การใช้ไฟฟ้าของประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลบางหมาก มีไฟฟ้าใช้12 หมู่บ้าน โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดชุมพร เป็นผู้ดำเนินการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ประชาชนใช้อย่างทั่วถึง ประปา ในเขตเทศบาลตำบลบางหมากมีผู้ใช้น้ำประปา ประมาณ 2,808 ครัวเรือน โดยการประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดชุมพร เป็นผู้ดำเนินการจ่ายน้ำในการให้บริการแก่ประชาชน12 หมู่บ้าน นอกจากนี้ยังมีประปาของเทศบาลตำบลบางหมากเป็นผู้ผลิตน้ำประปาและให้บริการประชาชน จำนวน 8 หมู่บ้าน หมู่ที่2 3 5 6 7 9 11โดยอาศัยน้ำดิบจากแม่น้ำท่าตะเภาซึ่งไหลผ่าน หมู่ที่ 1 2 3 7 และสระเก็บน้ำ 2 แห่ง (สระน้ำดอนทิงทวด) การผลิตน้ำประปา เทศบาลตำบลบางหมากมีระบบประปา 2 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 3ขนาดกำลัง การผลิต 20 ลูกบาศก์เมตร และหมู่ที่ 11 ณ สำนักงานเทศบาลตำบลบางหมาก กำลังการผลิต 20 ลูกบาศก์เมตร
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มี 1) สถานีตำรวจ 1 แห่ง หมู่ที่ 8 บ้านดอนรวบ ป้อมตำรวจ 1 แห่ง หมู่ที่ 6 บ้านดอนไทรงาม 2) ศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเทศบาลตำบลบางหมาก 1 แห่ง 3) ศูนย์รถอำนวยความสะดวก รถพยาบาลฉุกเฉิน 1 คัน รถดับเพลิง 2 คัน รถบรรทุกน้ำ 1 คัน รถบรรทุกน้ำเอนกประสงค์ 2 คันรถกระเช้าไฟฟ้า 1 คันและรถบรรทุกขยะ 3 คัน และทรัพยากรธรรมชาติ มีที่ดินสาธารณประโยชน์แปลงดอนทิงทวด หมู่ที่ 9,11 ตำบลบางหมาก เนื้อที่ประมาณ 1,400 ไร่ มีสถานที่ราชการ วัด โรงเรียน และประชาชนเข้าอยู่อาศัยและทำประโยชน์ มีป่าชายเลนบริเวณหมู่ที่ 8 ตำบลบางหมาก เชื่อมตำบลทุ่งคา มีภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์น้ำมันมะพร้าวและการทอผ้าไหมของชาวไทยทรงดำ   ด้านสุขภาพและสาธารณสุข มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางหมาก และคลินิกขายยา 1 แห่ง หมู่ที่ 8บ้านดอนรวบ ข้อมูลสถานะสุขภาพของประชาชนในตำบลบางหมากพบว่า การตรวจคัดกรองความเสี่ยง โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ปี 2564 จำนวน 2,406 คน คัดกรอง 2,163 คนคิดเป็นร้อยละ 89.9 พบผู้ที่มีภาวะเสี่ยง ต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง 656 คน และโรคเบาหวานจำนวน 77 คน และเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจำนวน 350 คน ผู้พิการ 147 คน ผู้สูงอายุ 1,227 คน แยกเป็น ผู้ป่วยติดเตียง 5.02% ติดบ้าน 93.6% ติดสังคม 1.38% 1.1 สถานการณ์ปัญหาของพื้นที่ สาเหตุของปัญหา 5
เนื่องจากตำบลบางหมากเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นส่วนใหญ่ทั้งในด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และการคมนาคมที่สะดวก เป็นชุมชนกึ่งเมืองทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ มุ่งความสำคัญไปในเรื่องอาชีพและความเป็นอยู่ทั่วไปทั้งด้านสังคมที่มีครอบครัวพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวมากขึ้น ผู้สูงอายุอยู่มากขึ้น(ผู้สูงอายุ1,277 คน) และบางรายอยู่ตามลำพังจากสมาชิกออกไปทำงานนอกบ้านของวัยแรงงาน การประกอบอาชีพนอกบ้านไม่มีเวลาในการประกอบอาหารเองจึงหาซื้ออาหารสำเร็จรูป รวมถึงขาดการออกกำลังกายและไม่สามารถปรับพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกหลักได้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จากการตรวจคัดกรองความเสี่ยง โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ปี 2564 พบผู้ที่มีภาวะเสี่ยงจำนวนต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 24 คน กลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ถ้าไม่ได้รับการดูแลหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมอาจพัฒนาเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้ในอนาคต จึงส่งผลกระทบให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ดังนี้ 1) ด้านสุขภาพ เป็นโรคความดันโลหิตสูง 350 คน โรคเบาหวาน 77 คน และเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจำนวน 350 คน เป็นต้น 2) ด้านสังคม มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมได้น้อยด้วยวิถีอาชีพในครัวเรือน เสียเวลา และเสียความรู้สึกต่อการบริการที่รอนานและการบริการที่ไม่ดี รวมทั้งไม่ชอบโรงพยาบาล เป็นต้น 3) ด้านเศรษฐกิจ ครัวเรือนจึงมีค่าใช้จ่ายการดูแลรักษาเฉลี่ยรายละ 220-320 บาทต่อครั้ง และค่าขาดรายได้รวมทั้งผู้ป่วยและญาติ 600 บาทต่อครั้งอีกด้วย ซึ่งเป็นภาระต่อสังคมเศรษฐกิจและครอบครัวได้ 4) ด้านสภาพแวดล้อม มีเศษของเหลือใช้จากครัวเรือนรวมทั้งขยะติดเชื้อ(จากสารคัดหลั่งของผู้ป่วย)ทิ้งรวมกับขยะทั่วไป ก่อให้เกิดความรำคาญที่มีแมลงวัน และควันจากการเผาขยะครัวเรือน เป็นต้น จากการวิเคราะห์ต้นไม้ปัญหาของประชาชนในพื้นที่ตำบลบางหมาก พบว่าสาเหตุต่างๆ ดังนี้
1. ด้านพฤติกรรมผู้นำส่วนใหญ่ไม่ตรวจสุขภาพประจำปี ไม่อยากจะรู้ว่าตนเป็นโรคอะไร (รับไม่ได้)การออกกำลังกายบ้าง ดื่มเหล้า-สูบบุหรี่ รายที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้วกินยาไม่ตรงเวลา ไม่ชอบกินผักทำให้มีปัญหากับระบบขับถ่าย พฤติกรรมการกินตามใจปาก ชอบเสี่ยงโชคและชอบสังคมสังสรรค์ 2. ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ชุมชนเกษตรกรรมที่มีสารตกค้างและสารปนเปื้อนทั้งในอาหาร อากาศ ขยะ และเจ้าหน้าที่ให้ความรู้ด้านกายภาพยังครอบคลุมและทั่วถึง
3. ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม บ่อนการพนันและค่ายไก่ งานบวช วันเกิด งานแต่งและงานเลี้ยงต่าง ๆ  มีสารเสพติด เช่นยาบ้า น้ำกะท่อมผู้สูงอายุต้องอยู่ตามลำพัง และครอบครัวไม่มีเวลาดูแล 4. ด้านกลไก การดูแลสุขภาพทุกกลุ่มวัย ร้อยละ 40 ขาดผู้รับผิดชอบโดยตรง อสม.มีความรู้ยังไม่ครอบคลุมในการดูแล การสื่อสารทำความเข้าใจในบทบาทของผู้นำมีน้อย
5. แรงเสริม เป็นจุดแข็งของชุมชนที่มีกลุ่มอาชีพ กลุ่มกองทุนสวัสดิการหลายแหล่ง มีสถานที่อำนวยความสะดวกของหน่วยงานราชการ เอกชน ที่พร้อมในการมีส่วนร่วมของชุมชน ทั้งในส่วนของศักยภาพของคน ผู้นำ หน่วยงาน รพสต.บางหมาก โรงเรียน (ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 แห่ง โรงเรียนปฐมศึกษา 2 แห่ง มัธยมศึกษา 2 แห่ง) เทศบาลบางหมาก และวัด/สำนักสงฆ์ 7 แห่ง
6. แรงต้าน งบประมาณจำกัด (การบริหารจัดการ) ไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรม 40% และการแปรรูปสมุนไพร 30% 1.2 แนวทางการแก้ไขปัญหาที่จะเสนอในโครงการนี้
จากข้อมูลสภาพการณ์ของตำบลบางหมากทำให้เห็นถึงศักยภาพและความเข็มแข็งของตำบลที่มีทีมงานผู้บริหารท้องถิ่นที่มีความสามารถอย่างมากทั้งในส่วนของการบริหารงาน บริการประชาชน และการประสานเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภานนอกชุมชน ดำเนินการได้ดังนี้ มิติ/ประเด็น คน/กลุ่มคน บริบท/ข้อมูลพื้นฐาน สถานการณ์สุขภาวะในปัจจุบัน แนวทางการพัฒนา ผลกระทบด้านบวก ผลกระทบด้านลบ
คน/กลุ่มคน -ความรู้/ความเชื่อ -วิถีชีวิต/จิตวิญญาณ -พฤติกรรม/พันธุกรรมฯ -ประชาชนอายุ ปีขึ้นไป (2564)เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 656 คน และเบาหวานจำนวน 77 คน และเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจำนวน 350 คน ผู้สูงอายุ 1,227 คน แยกเป็น ผู้ป่วยติดเตียง 5.02% ติดบ้าน 93.6% ติดสังคม 1.38% -มีศักยภาพและภูมิปัญญาเฉพาะตัว -มีเวลาว่าง/ชอบอิสระ -มีชมรมอสม. - ขาดตระหนักในเรื่องการออกกำลังกาย การบริโภคอาหารปลอดภัยและคุณค่า - ชอบสังสรรค์
-สูบบุหรี่10% 1.ประชุมชี้แจงประชาชนในเวทีประชุมประจำเดือน 2.ให้ความรู้และพัฒนาศักยภาพกลุ่มแกนนำต้นแบบให้นำความรู้ไปปฏิบัติและเป็นแบบอย่างที่ดี
3.จัดกิจกรรมเชิงรุกและรณรงค์วิธีการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคด้วยการสื่อสารประชาสัมพันธ์ทางสื่อชุมชน การประชุมกลุ่มย่อยและมุมสภากาแฟ
4.ให้ความรู้กับแกนนำชุมชนและประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่เป็นโรคในเรื่อง 3อ2สที่ถูกต้องเหมาะสม สภาพแวดล้อม -เศรษฐกิจ -สังคมวัฒนธรรม -การสื่อสาร/ศึกษาฯ ขาดสถานที่กลางในการพบปะ พูดคุยและออกกำลังกาย มีปราชญ์ชาวบ้านที่มีภูมิปัญญาและความสามารถ -ปลูกผักกินเอง14% -มีไลน์กลุ่ม ขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง -ขาดผู้ดูแลที่เหมาะสม(มีความรู้เฉพาะทาง) 5. ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยการนำภูมิปัญญามาปรับใช้ 6.ปฏิบัติการจริงในพื้นที่แบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดยใช้พื้นที่ 2 ข้างทางถนนในชุมชน 3 เส้นทางเป็นพื้นที่กลางปลูกพืชผักสมุนไพร และทุกบ้านช่วยกันดูแล 7.สำรวจความจำเป็นใช้วัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่กลาง ระบบ/กลไก -กลไกอาสา -คณะทำงาน/กรรมการ -องค์กร/สถาบัน -ระบบที่เกี่ยวข้องฯ. ผู้นำชุมชน อสม ชมรมอสม. อบต/ท้องที่ -สนับสนุนงบประมาณ/สวัสดิการ -เป็นวิทยากร -มีกลุ่มออมทรัพย์ จำนวน 3 กลุ่ม
-กองทุนหมู่บ้าน12 กลุ่มฯ -วัดและสำนักสงฆ์/โรงเรียน 4 แห่ง ศูนย์เด็กเล็ก 3 แห่ง -รพ.สต.บางหมาก - หน่วยโทรคมนาคมฯลฯ - ขาดผู้นำการเปลี่ยนแปลง -แปรรูปสมุนไพร 30% -การสื่อสารของผู้นำมีน้อย
8. จัดกติกากลุ่มและประกาศใช้ 9.ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขอสนับสนุนทรัพยากรตามความเหมาะสม 10. ค้นหาผู้นำต้นแบบ 11.นำข้อมูลที่ได้จากโครงการเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการพัฒนาต่อยอดกิจกรรมต่อไป

1.3 การดำเนินงานโครงการจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย เทศบาลตำบลบางหมากตระหนักและให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วมกับทีมงานภายนอกที่มีข้อเสนอแนวคิดในการพัฒนาชุมชนให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และเกิดความยั่งยืนในภายภาคหน้าต่อไป ซึ่งในครั้งนี้ได้มีการรวบรวมข้อมูล ค้นหาปัญหา และจัดแนวทางการแก้ไขปัญหาชุมชนในระยะแรกโดยมีการดำเนินการ โดยจะดำเนินการแก้ไขในกลุ่มผู้นำชุมชนทุกกลุ่มเป็นอับดับแรก ซึ่งประกอบด้วย ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ประธานกลุ่มต่าง ๆในชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 120 คน ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของการจัดทำโครงการครั้งนี้ เพื่อให้ผู้นำทุกคน1) มุ่งเน้นความสามัคคีร่วมกันโดยให้มีกิจกรรมทำร่วมกันอย่างน้อยเดือนละครั้ง เป็นการสร้างความรัก ความสามัคคีระหว่างกันในชุมชน 2) มุ่งเน้นให้ผู้นำชุมชนมีสุขภาพที่แข็งแรงโดยการกินผักปลอดสารพิษ การปลูกผักกินเอง รั้วกินได้หรือการปลูกผักเป็นกลุ่มผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้งด้านโภชนาการ ร่างกาย และจิตใจ 3) มุ่งเน้นให้คนในชุมชนมีคุณธรรมและจริยธรรมเกิดขึ้นชุมชน ฟื้นฟูกิจกรรมวัฒนธรรมประเพณีของหมู่บ้านเพื่อให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญและอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามของชุมชนอย่างมีส่วนร่วมของทุกคนและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยมีเป้าหมายในระยะสั้นเพื่อให้ผู้นำชุมชนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และสามารถเป็นต้นแบบในการจัดการโรคเรื้อรังได้อย่างถูกต้องหมาะสม และลดปัจจัยเสี่ยงเพิ่มปัจจัยเสริมของผู้นำชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นลดโรคเรื้อรังในชุมชนซึ่งจะส่งผลต่อผลลัพธ์ระยะยาวที่ประชาชนในชุมชนมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ความสัมพันธ์ทางสังคมและมีสิ่งแวดล้อมที่ดี สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ระดับจังหวัดและระดับชาติ

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้นำชุมชนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และสามารถเป็นต้นแบบในการจัดการโรคเรื้อรังได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

1.เกิดคณะทำงานที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนในพื้นที่ 2. เกิดความร่วมมือจากกลไกพัฒนาคุณภาพชีวิต.

0.00
2 2. เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีที่สามารถลดโรคเรื้อรังได้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  1. เกิดการปรับพฤติกรรม และสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ 2.มีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยการลดโรคเรื้อรัง
0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 120
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะกรรมการชุมชน 54 -
ตัวแทน อสม 10 -
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 24 -
ผู้บริหารเทศบาล 5 -
ผู้ใหญ่บ้าน 12 -
สมาชิกสภาเทศบาล 12 -
เจ้าหน้าที่ 3 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66
1 รณรงค์สือสารให้ประชาชนรับทราบเรื่องสุขภาพ(1 พ.ค. 2565-30 เม.ย. 2566) 0.00                        
2 สำรวจข้อมูล/วิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ(1 พ.ค. 2565-30 ต.ค. 2565) 2,400.00                        
3 จัดเวทีสร้างความร่วมมือจัดโครงการเรื้อรังเข้าร่วมประชุมในกิจกรรมของชุมชนและเวทีผู้นำท้องถิ่นประจำเดือนนำเสนอความก้าวหน้าและผลการปฏิบัติงานโครงการเพื่อเชื่อมโยงเครือข่าย(1 พ.ค. 2565-30 เม.ย. 2566) 0.00                        
4 แต่งตั้งคณะทำงาน(1 พ.ค. 2565-1 พ.ค. 2565) 1,700.00                        
5 พัฒนาศักยภาพคณะทำงานขับเคลื่อนการทำงานโครงการ NCD(1 มิ.ย. 2565-30 เม.ย. 2566) 17,050.00                        
6 พัฒนาศักยภาพจัดเวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อเรียนรู้และพัฒนางบโครงการ สสส.(4 มิ.ย. 2565-5 มิ.ย. 2565) 3,700.00                        
7 จัดเวทีประชาคมรับรองและประกาศกติกาชุมชน(1 ส.ค. 2565-31 ส.ค. 2565) 12,000.00                        
8 ตรวจสุขภาพประจำปี(1 ส.ค. 2565-30 ก.ย. 2565) 19,200.00                        
9 ปฎิบัติการในพื้นที่จริงด้วยการปลูกผักปลอดสารพิษสวนสมุนไพรป้องกันโควิค-19และถนนสุขภาพ(1 ส.ค. 2565-31 มี.ค. 2566) 28,150.00                        
10 อบรมให้ความรู้กรรมการขับเคลื่อนโรคเรื้อรัง NCD(1 พ.ย. 2565-30 พ.ย. 2565) 17,000.00                        
11 พัฒนาโครงการเชิงรุกในการจัดโครงการโรคเรื้อรังและผลักดันเข้าแผนกองทุนหลักประกันฯและยุทธศาสตร์เทศบาล(1 พ.ย. 2565-30 เม.ย. 2566) 0.00                        
12 อบรมให้ความรู้การป้องกันโรค NCD และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์(1 พ.ย. 2565-30 เม.ย. 2566) 13,200.00                        
13 คัดเลือกผู้นำต้นแบบ(1 ม.ค. 2566-28 ก.พ. 2566) 8,700.00                        
14 ถอดบทเรียนและค้นหาการพัฒนานวตกรรม(1 เม.ย. 2566-29 เม.ย. 2566) 2,000.00                        
15 จัดเวทีคืนข้อมูล(1 เม.ย. 2566-29 เม.ย. 2566) 5,000.00                        
รวม 130,100.00
1 รณรงค์สือสารให้ประชาชนรับทราบเรื่องสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 0.00
1 มิ.ย. 65 - 30 เม.ย. 66 ประชาสัมพันธ์ุโครงการผ่าน Facebook และ Line 0 0.00 0.00
2 สำรวจข้อมูล/วิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 240 2,400.00 2 2,400.00
1 ส.ค. 65 สำรวจข้อมูลสุขภาพผู้เข้าร่วมโครงการโดยใช้แบบสอบถาม ครั้งที่ 1 120 1,200.00 1,200.00
23 เม.ย. 66 สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 2 120 1,200.00 1,200.00
3 จัดเวทีสร้างความร่วมมือจัดโครงการเรื้อรังเข้าร่วมประชุมในกิจกรรมของชุมชนและเวทีผู้นำท้องถิ่นประจำเดือนนำเสนอความก้าวหน้าและผลการปฏิบัติงานโครงการเพื่อเชื่อมโยงเครือข่าย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 0.00
1 พ.ค. 65 - 30 เม.ย. 66 ประชุมหมู่บ้าน ชุมชน สปสช. สภาเทศบาลตำบลบางหมาก 0 0.00 0.00
4 แต่งตั้งคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 1,700.00 1 1,700.00
10 มิ.ย. 65 คัดเลือกคณะทำงาน มอบหมายหน้าที่ 30 1,700.00 1,700.00
5 พัฒนาศักยภาพคณะทำงานขับเคลื่อนการทำงานโครงการ NCD กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 234 17,050.00 18 17,050.00
29 ก.ค. 65 ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือน กรกฎาคม 2565 20 425.00 425.00
10 ส.ค. 65 ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือน สิงหาคม 2565 20 425.00 425.00
10 ก.ย. 65 ประชุมคณะทำงานประจำเดือน กันยายน 2565 20 425.00 425.00
2 - 3 ต.ค. 65 อบรมนักสื่อสร้างสร้างสรรค์ 2 1,200.00 1,200.00
10 ต.ค. 65 ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ตุลาคม 2565 30 425.00 425.00
10 พ.ย. 65 ประชุมคณะทำงานประจำเดือน พฤศจิกายน 2565 20 425.00 425.00
10 ธ.ค. 65 ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ธันวาคม 2565 17 425.00 425.00
10 ม.ค. 66 ประชุมประจำเดือน มกราคม 2566 0 425.00 425.00
10 ก.พ. 66 ประชุมประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2566 20 425.00 425.00
10 ก.พ. 66 เวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) 20 0.00 0.00
5 มี.ค. 66 พบพี่เลี้ยงครั้งที่ 1 3 400.00 400.00
10 มี.ค. 66 ประชุมประจำเดือน มีนาคม 2566 และ ARE 17 425.00 425.00
4 เม.ย. 66 หักเงินยืมเปิดบัญชีโครงการ 0 100.00 100.00
6 เม.ย. 66 3.2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกชุมชนกับพื้นที่ต้นแบบ 20 8,400.00 8,400.00
10 เม.ย. 66 ประชุมถอดบทเรียน 2 1,200.00 1,200.00
10 เม.ย. 66 ประชุมคณะทำงาน ประจำเดือน เมษายน 2566 17 425.00 425.00
25 เม.ย. 66 พบพี่เลี้ยง ครั้งที่ 2 3 750.00 750.00
30 เม.ย. 66 พบพี่เลี้ยง ครั้งที่ 3 3 750.00 750.00
6 พัฒนาศักยภาพจัดเวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อเรียนรู้และพัฒนางบโครงการ สสส. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 129 3,700.00 4 3,700.00
4 - 5 มิ.ย. 65 ปฐมนิเทศโครงการ 4 1,200.00 1,200.00
30 ก.ค. 65 การบันทึกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ 2 600.00 600.00
30 ต.ค. 65 จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการและป้ายปลอดบุหรี่/แอลกอฮอ 120 1,000.00 1,000.00
31 ต.ค. 65 ประชุมเวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาโครงการสสส.สำนัก ๖ ร่วมกับNF ชุมพร 3 900.00 900.00
7 จัดเวทีประชาคมรับรองและประกาศกติกาชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 120 12,000.00 1 12,000.00
30 ต.ค. 65 จัดเวทีประชาคมและคัดเลือกพร้อมประกาศกติกาชุมชน 120 12,000.00 12,000.00
8 ตรวจสุขภาพประจำปี กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 240 19,200.00 2 19,200.00
13 พ.ย. 65 ตรวจสุขภาพประจำปี (ครั้งที่ 1) 120 9,600.00 9,600.00
23 เม.ย. 66 ตรวจสุขภาพ ครั้งที่ 2 120 9,600.00 9,600.00
9 ปฎิบัติการในพื้นที่จริงด้วยการปลูกผักปลอดสารพิษสวนสมุนไพรป้องกันโควิค-19และถนนสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 273 28,150.00 4 28,150.00
1 ส.ค. 65 - 29 ต.ค. 65 กิจกรรมออกกำลังกาย 120 6,000.00 6,000.00
29 ต.ค. 65 กิจกรรมสวนสมุนไพรป้องกันโควิต 57 10,450.00 10,450.00
30 ต.ค. 65 กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ 38 6,700.00 6,700.00
30 ต.ค. 65 ถนนสายสุขภาพ 58 5,000.00 5,000.00
10 อบรมให้ความรู้กรรมการขับเคลื่อนโรคเรื้อรัง NCD กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 140 17,000.00 2 17,000.00
16 ต.ค. 65 อบรมให้ความรู้กรรมการขับเคลื่อน โครงการโรคเรื้อรัง NCD 20 3,800.00 3,800.00
20 พ.ย. 65 อบรมให้ความรู้ NCD 120 13,200.00 13,200.00
11 พัฒนาโครงการเชิงรุกในการจัดโครงการโรคเรื้อรังและผลักดันเข้าแผนกองทุนหลักประกันฯและยุทธศาสตร์เทศบาล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 0.00
1 มิ.ย. 65 - 30 เม.ย. 66 นำโครงการเข้าแผนชุนชน และแผนตำบล 0 0.00 0.00
12 อบรมให้ความรู้การป้องกันโรค NCD และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 120 13,200.00 1 13,200.00
24 เม.ย. 66 อบรมให้ความรู้การป้องกันโรค NCD และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 120 13,200.00 13,200.00
13 คัดเลือกผู้นำต้นแบบ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 8,700.00 1 8,700.00
15 เม.ย. 66 คัดเลือกผู้นำต้นแบบ 30 8,700.00 8,700.00
14 ถอดบทเรียนและค้นหาการพัฒนานวตกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 2,000.00 2 2,000.00
22 มี.ค. 66 ถอดบทเรียน 20 2,000.00 2,000.00
1 - 30 เม.ย. 66 ถอดบทเรียน 0 0.00 0.00
15 จัดเวทีคืนข้อมูล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 120 5,000.00 2 5,000.00
30 เม.ย. 66 จัดเวทีคืนข้อมูล 120 3,000.00 3,000.00
30 เม.ย. 66 จัดทำรายงาน 0 2,000.00 2,000.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้นำชุมชนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และสามารถเป็นต้นแบบในการจัดการโรคเรื้อรังได้อย่างถูกต้องหมาะสม
  2. ผู้นำชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สามารถลดโรคเรื้อรังได้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2565 12:16 น.