directions_run

โครงการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน ภายใต้กลุ่มออมทรัพย์บ้านสันติ

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน ภายใต้กลุ่มออมทรัพย์บ้านสันติ
ภายใต้โครงการ โครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้
ภายใต้องค์กร Node โควิค ภาคใต้
รหัสโครงการ 65-10018-09
วันที่อนุมัติ 7 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2565 - 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ บ้านสันติ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชำนาญ นิลกระวัตร
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 080-9009914
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ wantana5338@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะยูนัน มามะ
พื้นที่ดำเนินการ บ้านสันติ อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.918943,101.738996place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2565 28 ก.พ. 2566 1 ก.ย. 2565 28 ก.พ. 2566 65,000.00
2 1 มี.ค. 2566 30 มิ.ย. 2566 1 มี.ค. 2566 31 ส.ค. 2566 25,000.00
3 1 ก.ค. 2566 31 ส.ค. 2566 10,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ข้างต้น บ้านสันติซึ่งมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 88 หลังคาเรือน มีประชากรที่นับถือศาสนาพุทธ 100 เปอร์เซ็นต์ มีลำคลองไหลผ่านกลางหมู่บ้าน มีน้ำประปาที่เป็นประปาภูเขาใช้ตลอดทั้งปี บ้านสันติเป็นชุมชนที่ทำการเกษตรทำสวนยาง สวนผลไม้เป็นส่วนใหญ่และมีการปลูกผักไว้รับประทานเองแต่ไม่เพียงต่อการบริโภคแต่เมื่อมีการระบาดของโควิด-19เข้ามาทำให้มีครัวเรือนที่ป่วย 24 ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 27.27 เมื่อป่วยแล้วทำให้ประชากรตกงานทำงานไม่ได้ ขาดรายได้ ยิ่งทำให้ประชากรในชุมชนนั้นยิ่งขาดแคลนอาหาร เพราะร้านค้าเริ่มกักตุนอาหาร ขึ้นราคาสินค้าทำให้ไม่มีกำลังและแรงที่จะซื้อหรือถ้ามีกำลังซื้อก็ไม่กล้าออกจากชุมชนไปตลาดเพราะสถานการณ์โควิด-19ที่เกิดขึ้นทำให้ต้องซื้อผักจากรถเร่โดยไม่ทราบแหล่งที่มา ว่าผักนั้นมาจากไหน การปลูกปลอดสารพิษหรือไม่ ทางบ้านสันติจึงจำเป็นต้องสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อให้คนในชุมชนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างพอเพียงภายใต้วิกฤติการขาดแคลนอาหาร ด้วยการรวมกลุ่มเพื่อทำการเกษตรแบบผสมผสานเพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อยู่ได้โดยไม่ขาดแคลนอาหารและสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19ที่ไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อไหร่และทำให้เกิดเครือข่ายความมั่นคงทางอาหารที่เข้มแข็งต่อไป จากการดำเนินโครงการในปีที่ผ่านมาโดยมีกลุ่มเป้าหมายใน 40 ครัวเรือนยังคงมีผลกระทบอย่างต่อเนื่อง มีรายได้ไม่เพียงพอในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมามีการปลูกผักแต่ไม่เพียงปลูกผักไม่หลากหลาย ปลูกผักที่ไม่ทนต่อสภาพภูมิอากาศเนื่องจากฝนตกชุกทำให้ผักเน่าเสียทำให้เกิดปัญหาด้านอาหารที่ไม่เพียงพอในครัวเรือนยังคงต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อผักที่ไม่ทราบแหล่งที่มาอาจจะเป็นผักที่ปนเปื้อนสารเคมีทำให้มีผลกระทบกับร่างกาย เพื่อความต่อเนื่องของโครงการในปี้ที่ 2 นี้จึงได้กลุ่มเป้าหมายอีก 37 ครัวเรือนเพื่อมาต่อยอดให้ชุมชนเกิดความมั่นคงทางด้านอาหารเพิ่มขึ้นโดยการปลูกผักรับประทานเองลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนจะได้การออมเงินกับกลุ่มออมทรัพย์และเพื่อสุขภาพของคนในชุมชนโดยการรับประทานผักที่ปลูกเองโดยไม่ใช้สารเคมีโดยมีวิทยากรจากทางรพ.สุคิรินมาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องสถานการณ์โควิด-19และวิทยากรจากสำนักงานพัฒนาชุมชนมาให้ความรู้เกี่ยวกับการเขียนบัญชีครัวเรือน โดยกลุ่มเป้าหมายใหม่ 37 ครัวเรือนมีต้นทุนคือเป็นเกษตรกร และมีแปลงเกษตรที่เป็นแปลงรวมของชุมชนและมีแปลงส่วนตัวที่บ้านของกลุ่มเป้าหมายแต่ละคนซึ่งทำให้ง่ายต่อการปลูกผัก ซึ่งเดิมกลุ่มเป้าหมายปลูกผัก เช่น แตง ถั่ว บวม มะระ กวางตุ้ง พริก มะเขือแต่มีบางอย่างที่ไม่ปลูกเช่น ผักชี ต้นหอม ก็ต้องซื้อซึ่งไม่รู้ว่าผักนั้นมาจากไหน ใช้สารเคมีในการปลูกหรือเปล่าและเนื่องด้วยผักยกแคร่ปลูกและดูแลรักษาง่ายเป็นการปลูกผักที่ไม่ได้ปลูกบนพื้นดิน แต่เป็นการปลูกผักบนโต๊ะหรือแคร่ที่มีการยกให้สูงขึ้นประมาณ 1 เมตรมีความสะดวกในการรดน้ำและกำจัดวัชพืชและแมลงศัตรูพืช สามารถปลูกได้ถึงแม้จะมีน้ำท่วมเนื่องจากอำเภอสุคิรินฝนตกชุกบางพื้นที่น้ำท่วมถึงและเพื่อลดปัญหาจากการปลูกผักลงดินที่อาจจะมีแมลงศัตรูพืชมาทำลายพืชผักได้ สามารถควบคุมปริมาณปุ๋ยที่ใส่ในรางผักยกแคร่ได้เพื่อให้ผักเจริญเติบโตทำให้มีผักที่ปลูกเพียงพอต่อการบริโภค ส่วนเห็ดสามารถเก็บขายได้และเห็นประโยชน์ในช่วงที่สถานการณ์โควิด-19 ยังคงระบาดอยู่เห็ดมีวิตามินซีเป็นวิตามินที่มีสูงมาก ดังนั้นเห็ดนางฟ้าจึงมีส่วนช่วยในการป้องกันโควิด-19 หรืออาการเกี่ยวกับโควิด-19 ได้ดีและในปัจจุบันคนเป็นโรคมะเร็งเยอะมากเห็ดก็มีประสิทธิภาพในการต่อต้านอนุมูลอิสระและต้านทานการเกิดโรคมะเร็ง เนื่องจากเห็ดนางฟ้าเป็นแหล่งรวมของแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกายอย่าง ซีลีเนียม และมีสารสำคัญชื่อว่า อัลฟากลูเเคนซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ถูกทำลายจนกลายเป็นเนื้อร้ายได้เป็นอย่างดีมีส่วนช่วยให้สุขภาพของกลุ่มเป้าหมายดีขึ้น ความมั่นคงทางอาหารที่ยั่งยืน คือ ประชากรสามารถเข้าถึงอาหารได้โดยไม่ขาดแคลน เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ปลอดภัย ตอบสนองต่อความต้องการ เพียงพอต่อการบริโภคเพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงและมีจิตใจที่สดใสเบิกบาน แนวคิดการทำเกษตรแบบยั่งยืน คือ การทำเกษตรแบบพึ่งพาตนเองที่เน้นการผลิตอาหารตามความพอเหมาะพอดีเป็นหลัก สามารถดูแลได้ทั่วถึงจึงไม่ต้องใช้สารเคมีควบคุมเหมือนการปลูกในปริมาณมาก และเกษตรแบบยั่งยืนจะเน้นไปที่การอนุรักษ์ทั้งทรัพยากรและระบบนิเวศไปพร้อมกันด้วย โดยอาศัยภูมิปัญญาเดิมของท้องถิ่นนำเข้ามาปรับใช้ให้เข้ากับเทคโนโลยีในปัจจุบัน                          การปลูกผักต้องใช้ความรัก ในช่วงเวลาที่ โควิด-19 กำลังคุกคามเราทั้งสุขภาพและเงินในกระเป๋าเช่นนี้ อีกทั้งความจำเป็นต้องอยู่บ้านให้มากที่สุดทำให้เราเริ่มหันมาตระหนักถึงความมั่นคงทางอาหาร “ทุกคนสามารถเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย อุดมด้วยโภชนาการ และมีอย่างพอเพียง เพื่อดำรงชีวิตที่มีสุขภาวะที่ดีและแข็งแรง”การปลูกผักกินเองดูเหมือนจะเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุดในการพึ่งพาตัวเองทางอาหารและจะช่วยลดรายจ่ายทำให้เกิดการออมเงินในครัวเรือนอย่างมั่นคง

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

กรอบแนวคิดความมั่นคงทางอาหารของชุมชนตั้งอยู่บนรากฐานของสังคมไทยโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยประเทศมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเสาหลักของความเป็นปึกแผ่นของคนในชาติ ครอบครัวมีความสุขเป็นพื้นฐานที่สร้างคนเป็นคนดี ชุมชนมีความเข้มแข็งและมีบทบาทในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพและความสามารถในการแข่งขันมีการบริการสาธารณะที่มีคุณภาพ มีกฎระเบียบและกฎหมายที่บังคับใช้อย่างเป็นธรรม และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีการดำเนินชีวิตแบบพอเพียงปลูกปลอดสารเคมีกินเองทำให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ที่เหลือแบ่งปันมีความเอื้อเฟื้อต่อกันแล้วยังสามารถนำมาขายสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนทำให้ชีวิตความเป้นอยู่ดีขึ้น มีเงินเก็บจากการออมเงินในระบบออมทรัพย์ ยุทธศาสตร์หลักความมั่นคงทางอาหาร 1.ส่งเสริมการบริโภคผักปลอดสารเคมีในครัวเรือน 2.ส่งเสริมการเข้าถึงอาหารในระดับชุมชนและครัวเรือน 3.ส่งเสริมการปลูกผักให้เพียงพอต่อการบริโภคในชุมชนและครัวเรือน 4.การบริโภคอาหารที่ปลอดภัย อาหารครบ 5หมู่ มีคุณค่าทางโภชนาการ โดยไม่ขาดแคลนอาหาร 5.สามารถลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

1.เชิงปริมาณ -ผู้เข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 30 คนมีความรู้เพิ่มขึ้น -ผู้เข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 30 คนเข้าใจและสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้ -ผู้เข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 30 คนดำเนินการตามมาตรการ DHMTT 2.เชิงคุณภาพ -ผู้เข้าร่วมโครงการมีการป้องกันตนเองที่ดีขึ้น -มีการสรุปและวิเคราะห์สถานะทางการเงินมีบัญชีรายรับรายจ่ายของตนเอง -เกิดกลุ่มออมทรัพย์ครัวเรือนมั่นคง 1 กลุ่ม (การออมเงิน)

80.00
2 2.เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงอาหารในระดับชุมชนและครัวเรือนสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารของชุมชน

1.เชิงปริมาณ -ผู้เข้าร่วมโครงการมีการปลูกผักปลอดสารเคมีในแปลงรวมดังนี้     -ผักยกแคร่     -โรงเห็ด -ผู้เข้าร่วมโครงการมีการปลูกผักปลอดสารเคมี เลี้ยงปลาในแปลงส่วนตัว จำนวน 37 ครัวเรือน -มีตลาดชุมชนในการซื้อขายผักปลอดสารเคมี 1 แห่ง -มีเครือข่ายผักปลอดสารเคมีทั้งในและนอกพื้นที่ 2 หน่วยงาน -ผู้เข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 30 คนมีแหล่งผลิตอาหารในครัวเรือนตนเอง 2.เชิงคุณภาพ -ครัวเรือนที่เข้าโครงการมีอาหารบริโภคอย่างเพียงพอและได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการ

80.00
3 3.เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานกับ สสส.ในเรื่องความมั่นคงทางอาหาร และจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชน

1.เชิงปริมาณ -แปลงผักรวมปลูกผักปลอดสารเคมีที่เป็นผักพื้นบ้านเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ลดการซื้อพันธุ์ผัก -แปลงผักปลอดสาเคมีที่เป็นผักพื้นบ้านนำมาถนอมอาหารและแปรรูปอาหาร -มีแหล่งเรียนรู้การปลูกผักในชุมชน 1 แห่ง 2.เชิงคุณภาพ -มีเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ในการผลิตอาหารที่ปลอดภัย -ไม่ใช้สารเคมีในการปลูกผักทำให้ผู้บริโภคปลอดภัย -นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการกำจัดศัตรูพืช -ส่งเสริมการปลูกผักพื้นบ้านที่ทนต่อสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศของพื้นที่ -มีแผนที่เดินดินในการปลูกของแต่ละครัวเรือน -มีปฏิทินการปลูกของแต่ละครัวเรือน

80.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 37 37
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะทำงาน 7 7
ครัวเรือนเป้าหมาย 30 37
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66
1 ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการ(13 ก.ย. 2565-10 มิ.ย. 2566) 3,080.00                        
2 กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการและ สสส.(18 ก.ย. 2565-31 ส.ค. 2566) 10,000.00                        
3 เวทีสร้างความเข้าใจโครงการให้แก่ชุมชน(21 ก.ย. 2565-21 ก.ย. 2565) 5,470.00                        
4 คณะทำงานลงพื้นที่เก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย(3 ต.ค. 2565-10 พ.ค. 2566) 4,830.00                        
5 คณะทำงานจัดประชาคมหมู่บ้านและพัฒนาศักยภาพชุมชน(10 ต.ค. 2565-10 ต.ค. 2565) 12,680.00                        
6 กิจกรรมศึกษาดูงาน(20 ต.ค. 2565-20 ต.ค. 2565) 26,540.00                        
7 กิจกรรมส่งเสริมอาชีพให้กับคณะทำงานเพื่อให้มีความหลากหลายในเรื่องของความมั่นคงทางอาหาร(17 ก.พ. 2566-20 ก.พ. 2566) 4,540.00                        
8 คณะทำงานติดตามการดำเนินงาน(18 มี.ค. 2566-18 มี.ค. 2566) 6,580.00                        
9 จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงความมั่นคงทางอาหาร(20 พ.ค. 2566-22 พ.ค. 2566) 20,700.00                        
10 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมสรุปบทเรียนการดำเนินงานร่วมกับชุมชน(20 ก.ค. 2566-20 ก.ค. 2566) 5,580.00                        
รวม 100,000.00
1 ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 21 3,080.00 3 3,080.00
30 ก.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 7 1,340.00 1,340.00
16 ธ.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 7 870.00 870.00
6 พ.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 7 870.00 870.00
2 กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการและ สสส. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 44 10,000.00 5 10,000.00
17 - 18 ก.ย. 65 เวทีปฐมนิเทศโครงการ 2 10,000.00 4,490.00
20 ก.ย. 65 ป้ายไวนิลโครงการ 37 0.00 1,000.00
20 ก.ย. 65 ถอนเงินเปิดบัญชี 2 0.00 500.00
19 พ.ย. 65 อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน 1 0.00 1,550.00
11 - 12 ก.พ. 66 เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงานโครงการ 2 0.00 2,460.00
3 เวทีสร้างความเข้าใจโครงการให้แก่ชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 37 5,470.00 1 5,470.00
21 ก.ย. 65 เวทีสร้างความเข้าใจโครงการให้แก่ชุมชน 37 5,470.00 5,470.00
4 คณะทำงานลงพื้นที่เก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 21 4,830.00 3 4,830.00
3 ต.ค. 65 เก็บข้อมูลครั้งที่ 1 ช่วงต้นโครงการ 7 1,610.00 1,610.00
31 ม.ค. 66 เก็บข้อมูลครั้งที่ 2 ช่วงกลางโครงการ 7 1,610.00 1,610.00
21 พ.ค. 66 เก็บข้อมูลครั้งที่ 3 ช่วงใกล้เสร็จโครงการ 7 1,610.00 1,610.00
5 คณะทำงานจัดประชาคมหมู่บ้านและพัฒนาศักยภาพชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 37 12,680.00 1 12,680.00
10 ต.ค. 65 ประชาคมหมู่บ้านและพัฒนาศักยภาพชุมชน 37 12,680.00 12,680.00
6 กิจกรรมศึกษาดูงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 74 26,540.00 2 26,540.00
27 ต.ค. 65 ศึกษาดูงานที่ฟาร์มตัวอย่างโคกปาฆาบือซา ม.5 ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส 37 8,540.00 8,540.00
28 ต.ค. 65 ครัวเรือนลงมือปฏิบัติการปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมี 37 18,000.00 18,000.00
7 กิจกรรมส่งเสริมอาชีพให้กับคณะทำงานเพื่อให้มีความหลากหลายในเรื่องของความมั่นคงทางอาหาร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 14 4,540.00 2 4,540.00
16 ก.พ. 66 อบรมการทำน้ำจิ้ม 7 2,570.00 2,570.00
20 ก.พ. 66 อบรมการทำสบู่สมุนไพร 7 1,970.00 1,970.00
8 คณะทำงานติดตามการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 37 6,580.00 1 6,580.00
20 พ.ค. 66 ติดตามการดำเนินงานโครงการ 37 6,580.00 6,580.00
9 จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงความมั่นคงทางอาหาร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 107 20,700.00 3 20,700.00
23 เม.ย. 66 กิจกรรมจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ครบวงจร 50 5,900.00 5,900.00
1 พ.ค. 66 ดำเนินการจัดทำข้อมูลประกอบการจัดตั้งศูนย์ 37 9,000.00 9,000.00
27 พ.ค. 66 อบรมเชิงปฏิบัติการมัคคุเทศก์น้อย 20 5,800.00 5,800.00
10 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมสรุปบทเรียนการดำเนินงานร่วมกับชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 37 5,580.00 1 5,580.00
30 พ.ค. 66 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมสรุปบทเรียนการดำเนินงานร่วมกับชุมชน 37 5,580.00 5,580.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ครัวเรือน 37 ครัวเรือนมีสุขภาพที่ดีและแข็งแรงขึ้นเนื่องจากได้รับสารอาหารที่เพียงพอ ครบ 5หมู่ 2.ครัวเรือน 37 ครัวเรือนสามารถพึ่งพาตัวเองทางอาหารและจะลดรายจ่ายทำให้เกิดการออมเงินในครัวเรือนอย่างมั่นคง

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.ย. 2565 20:25 น.