directions_run

โครงการ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านปุโรง ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node โควิค ภาคใต้


“ โครงการ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านปุโรง ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ”

บ้านปุโรง ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

หัวหน้าโครงการ
นายมะอูเซ็ง ปูมูลูกือจิ

ชื่อโครงการ โครงการ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านปุโรง ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

ที่อยู่ บ้านปุโรง ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 65-10018-36 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กันยายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านปุโรง ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านปุโรง ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node โควิค ภาคใต้ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านปุโรง ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา



บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อสนับสนุนการสร้างอาชีพให้กับสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตให้เกิดรายได้เสริมและลดหนี้สิน (2) 2เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม แก่ สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตของชุมชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการกับ สสส. (2) ประชุมคณะทำงานโครงการ (3) เวทีชี้แจงโครงการ (4) อบรมทักษะการเงิน บัญชีครัวเรือน สุขภาพ สังคม (5) อบรมการฝึกอาชีพ การทำขนมโบราณ (6) อบรมให้ความรู้พัฒนาผลิตภัณฑ์และช่องทางการตลาด (7) เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต (8) เวทีถอดบทเรียน (9) ทำป้ายไวนิลและตรายาง (10) เวทีปฐมนิเทศโครงการ ระดับหน่อยจัดการ (11) ประชุมคณะทำงานโครงการ (12) อบรมทักษะการเงิน บัญชีครัวเรือน สุขภาพ สังคม (13) คืนเงินเปิดบัญชี (14) เวทีชี้แจงโครงการ (15) ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 2 (16) อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน (17) ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3 (18) เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต (ศึกษดูงาน) (19) เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน (20) ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3 (21) ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 4 (22) ฝึกอบรมการทำขนมโบราณ (23) ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 5 (24) อบรมให้ความรู้พัฒนาผลิตภัณฑ์และช่องทางการตลาด (25) ถอดบทเรียนการทำงาน (26) ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 6 (27) เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) เป็นโครงการที่ให้คณะทำงานมีการทำงานร่วมกัน เกิดการวางแผนงานร่วมกัน (2) สร้างองค์ความรู้เรื่องการเงินเพราะเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินชีวิต (3) เกิดการดูแลสุขภาพของคนเข้าร่วมโครงการ วัดจากการลดการกินที่จะก่อโรค มีการลด หวาม มัน เค็ม การออกกำลังการ (4) สร้างอาชีพเสริมให้กับสมาชิกและมีเงินออม
อยากให้มีโครงการแบบนี้ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ทำให้คนในชุมชนได้ออกมาร่วมกันทำกิจกรรม เกิดความสุข ทางจิตใจ สร้างสุขภาวะทางจิตใจ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID – 19) มีแนวโน้มการแพร่ระบาดที่เพิ่มมากขึ้น และประเทศไทยอาจเข้าสู่การระบาดในระยะที่ 3 โดยองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคดังกล่าวเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ จึงได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID – 19) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID – 19) ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโลก เปรียบได้กับการทำสงครามโลกครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นสงครามระหว่างคนกับไวรัส คู่ต่อสู้ที่จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น และปราศจากรูปแบบการรบตามตำราที่ผ่านมา หากผลกระทบที่รุนแรงที่สุดที่เกิดขึ้นในช่วงแรก คือ การบริการสุขภาพที่ต้องปรับตัว ไม่เพียงแค่การดูแลรักษาสำหรับโควิด-19 หากระบบสุขภาพทั้งมวลกลับต้องเปลี่ยนแนวทางการบริการ เนื่องจากเกิดข้อจำกัดต่าง ๆ เช่น การอยู่บ้าน การเว้นระยะห่างทางกายภาพ  อีกทั้งมีผลกระทบต่อเนื่องถึงวิถีการดำเนินชีวิตประจำวัน การทำงานของประชาชนทุกคนอย่างเลี่ยงไม่ได้ ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมและอาหาร มีการกักตุนอาหาร ร้านค้า ร้านอาหาร ตลาด ปิดให้บริการ โรงงานหยุดประกอบกิจการ การขาดแคลนแรงงาน ประชาชนตกงาน มาตรการกักกันโรคส่งผลกระทบต่อการทำงาน และการขนส่งและกระจายผลิตผล ไปจนถึงผู้บริโภคไม่สามารถเดินทางได้โดยสะดวก การมีอาหารไม่หลากหลาย ในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยและคนตกงานไม่มีเงินพอที่จะซื้อหาอาหารได้อย่างเพียงพอ ไม่สามารถเดินทางกลับภูมิลำเนาหรือเดินทางออกนอกพื้นที่ได้อย่างสะดวก และชุมชนก็ไม่ได้เตรียมตัว ไม่ปรับตัว จนเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ระลอก 2 ในสภาวการณ์เช่นนี้ พวกเราทุกคนต้องเรียนรู้ในการปรับตัวและวางแผนต่าง ๆ ให้ทันต่อเหตุการณ์ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ทุกคนจะสามารถปรับตัวได้ สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจะช่วยให้เราได้โอกาสในการเตรียมตัวรับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
บ้านปุโรง หมู่ที่ 2 ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา โดยมีครัวเรือนทั้งหมด 275 ครัวเรือน มีประชากร จำนวน 1,015 คน เพศชาย 507 เพศหญิง 508  ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 100 เปอร์เซ็น ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ร้อยละ 80 อาชีพค้าขาย ร้อยละ 15 และอาชีพอื่นๆร้อยละ 5 บ้านปุโรงเป็นอีกหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) โดยตั้งแต่ต้นปี 2564 ทำให้มีแรงงานกลับมาจากมาเลเซียจำนวน 50 คน จาก 40 ครัวเรือน และบ้านปุโรง มีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต มีสมาชิก ทั้งหมด 50 ราย มีเงินสัจจะออมทรัพย์ ในกลุ่ม ประมาณ 30,000 บาท โดยการส่งเงินสัจจจะ เดือนละ 50 บาท และมีการออมเพิ่มด้วย จุดอ่อนด้านกรรมการขาดความรู้และความเข้าใจแนวคิดของการตั้งกลุ่ม ส่วนด้านสมาชิก ด้านสถานที่ทำการ และด้านการบริหารจัดการ ด้านโอกาสในการพัฒนาที่ขาดกระบวนการมีส่วนร่วม และยังไม่เห็นความสำคัญของการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ที่อยู่บนพื้นทีฐานของการช่วยเหลือกัน จนเงินไม่จนน้ำใจ และลดต้นการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค อีกทั้งการรวมกลุ่มออมเงินแล้วให้สมาชิกกู้ยืมเป็นทุนที่ปราศจากดอกเบี้ย หลังจากการระบาดของโรคของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ระลอกแรกคลี่คลาย ประชาชนยังคงใช้ชีวิตเหมือนเดิม มีภาวะหนี้สิน นอกระบบ โดยการยืมเงินคนในชุมชนและญาติ เถ้าแก่ในชุมชน ส่วนในระบบจะมีการกู้เงินกับธนาคาร ใช้เงินเป็นต้นทุนในการทำเกษตรกรรรม ในพื้นทีไม่มีการปรับเปลี่ยนและเตรียมพร้อมในการดำรงชีวิตหากมีการระบาดระลอกใหม่ขึ้นมา จนกระทั้งมีการระบาดระลอก 2 ทำให้กลุ่มเกิดความตระหนัก ให้ความสำคัญในการจัดการ การดำรงชีวิตประจำวัน จึงมีความคิดที่จะจัดการให้ชุมชนและครัวเรือนไม่มีเงินออมในการดำรงชีวิตอย่างเพียงพอ ได้วิเคราะห์ศักยภาพของตนและกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตไปสู่ลดการพึ่งพาสังคมภายนอก
ทางกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านปุโรง จึงมีแนวคิดที่จะให้สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตมีรายได้และความมั่นคงทางด้านอาชีพ ด้วยการเสริมทักษะการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มออมทรัพย์ มีการพัฒนากลุ่ม และสามารถส่งเสริมการออมให้กับครัวเรือน และส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนเกิดการรวมตัวกันพัฒนา สร้างกลุ่มอาชีพ เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายครัวเรือน ส่งเสริมความร่วมมือและสร้างความสามัคคีในชุมชนต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่อสนับสนุนการสร้างอาชีพให้กับสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตให้เกิดรายได้เสริมและลดหนี้สิน
  2. 2เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม แก่ สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตของชุมชน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการกับ สสส.
  2. ประชุมคณะทำงานโครงการ
  3. เวทีชี้แจงโครงการ
  4. อบรมทักษะการเงิน บัญชีครัวเรือน สุขภาพ สังคม
  5. อบรมการฝึกอาชีพ การทำขนมโบราณ
  6. อบรมให้ความรู้พัฒนาผลิตภัณฑ์และช่องทางการตลาด
  7. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
  8. เวทีถอดบทเรียน
  9. ทำป้ายไวนิลและตรายาง
  10. เวทีปฐมนิเทศโครงการ ระดับหน่อยจัดการ
  11. ประชุมคณะทำงานโครงการ
  12. อบรมทักษะการเงิน บัญชีครัวเรือน สุขภาพ สังคม
  13. คืนเงินเปิดบัญชี
  14. เวทีชี้แจงโครงการ
  15. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 2
  16. อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน
  17. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3
  18. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต (ศึกษดูงาน)
  19. เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน
  20. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3
  21. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 4
  22. ฝึกอบรมการทำขนมโบราณ
  23. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 5
  24. อบรมให้ความรู้พัฒนาผลิตภัณฑ์และช่องทางการตลาด
  25. ถอดบทเรียนการทำงาน
  26. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 6
  27. เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
คณะกรรมการกลุ่ม 10
สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ (ผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด) 40

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์มีทักษะความรอบรู้ด้านการเงิน ด้านสุขภาพ และสังคม ไปสู่การปฎิบัติในครอบครัว 2.เกิดกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่สามารถดำเนินกิจกรรมช่วยเหลือชุมชนอย่างเป็นระบบรูปแบบอิสลาม 3.คนในชุมชนมีแหล่งเงินทุนของชุมชนในการประกอบอาชีพ โดยไม่ต้องไปพึ่งจากแหล่งเงินกู้นอกพื้นที


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. เวทีปฐมนิเทศโครงการ ระดับหน่อยจัดการ

วันที่ 17 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

การทำความเข้าใจโครงการ รายละเอียดโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานเข้าร่วมโครงการ  2 คนมีความรู้เรื่องการจัดการโครงการ การกำหนดแผนงานตามตาราง  การจัดเก็บข้อมูล  และ มีความเข้าใจการลงบ้นทึกรายงานในระบบ คนสร้างสุข

 

2 0

2. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 1

วันที่ 16 ตุลาคม 2565 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมชี้แจงโครงการให้กับคณะทำงานได้รับทราบ เพื่อดำเนินกิจกรรมตามแผนงานโครงการ ได้มีการอธิบายบันไดผลลัพธ์โครงการให้กับคณะทำงาน และกิจกรรมต่างๆ ทั้งโครงการ เพื่อความเข้าใจและการประสานงาน ติดตาม งานของสมาชิกกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่การทำงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานได้เข้าใจโครงการ
มีการแบ่งหน้าที่การทำงาน ตามความถนัดของคณะทำงาน เกิดการแลกเปลี่ยนการทำงานให้สำเร็จตามแผนงาน

 

10 0

3. คืนเงินเปิดบัญชี

วันที่ 23 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คืนเงินเปิดบัญชีให้กับคณะทำงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้คืนเงินเปิดบัญชีให้กับคณะทำงานโครงการ

 

0 0

4. เวทีชี้แจงโครงการ

วันที่ 24 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ให้สมาชิกที่เข้าร่วมได้ลงทะเบียน จากนั้น คณะทำงานได้กล่าวต้อนรับและชี้แจงโครงการให้สมาชิกได้รับทราบและทำความเข้าใจตัวกิจกรรมต่างๆ ของแต่ละกิจกรรมและกำหนดทิศทางการดำเนินงานร่วมกับคณะทำงาน แนะนำคณะทำงานโครง
สมาชิก เข้าร่วม 40 คน และคณะทำงารโครงการ 10 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สมาชิกได้รับทราบกิจกรรมของโครงการ เ แผนกิจกรรมของโครงการ วัตถุประสงค์ในการดำเนินงานโครง ทำความเข้ากับคณะทำงาน แบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานให้ชัดเจน และมีการกำหนดการแต่ละกิจกรรม สามชิกและคณะทำงานมีแผนงานในการทำงาน

 

50 0

5. อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานกลุ่มได้เข้าร่วมเรียนรู้กระบวนการความรู้ด้านสุขภาพ ในการดูแลสุขภาพ เพื่อบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ และความรู้การเงิน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานได้ความรู้การดูแลสุขภาพเพื่อปรับการบริโภคอาหารที่ผลิตข้นมาเอง และกลับมาขยายให้กับสมาชิกกลุ่ม และการเรื่องรู้การบันทึกการเงินในครัวเรือน การจัดการด้านการเงิน

 

2 0

6. อบรมทักษะการเงิน บัญชีครัวเรือน สุขภาพ สังคม

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานชี้แจงกิจกรรมให้สมาชิกทราบเพื่อให้สมาชิกได้เข้าใจ เรื่อง การใช้จ่ายเงินในการทำบันทึกรายรับ รายจ่าย  การให้สมาชิกได้รู้การใช้จ่ายเงินของครอบครัว

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีการวิคราะห์การเงินของครอบครัวของสมาชิ รายครอบครัว หนี้สิน รายรัย รายจ่าย มีความรู้เรื่องการบันทึกบัญชีครัวเรือน รายรับ รายจ่าย ในสมุดบัญชีครัวเรือน สมาชิกที่เข้าสามารถบันทึกรายรับ รายจ่ายได้
สมาชิกมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ และการบริโภคผักที่ปลูกเอง เพื่อลดการเกิดโรค มีความรู้การเชื่อมการทำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐ ในการพัฒนาอาชีพ

 

50 0

7. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 2

วันที่ 19 ธันวาคม 2565 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามงานโครงการ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านปุโรง  เพื่อพูดคุย ติดตามงานของสมาชิกกลุ่มในการบันทึกบัญชีครัวเรือน แต่ละโซน  โดนให้คณะทำงานได้แลกเปลี่ยนการลงติดตามแต่ละบ้านของสมาชิก และความต่อเนื่องของโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานได้ติดตามงานของสมาชิกกลุ่ม
เกิดกระบวนการทำงานร่วมกันของคณะทำงาน รายงายความก้าวหน้าของโครงการ
ติดตามการบันทึกบัญชีของสมาชิก

 

10 0

8. ทำป้ายไวนิลและตรายาง

วันที่ 25 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดซื้อตราโครงการและจัดทำป้ายไวนิล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ป้ายไวนิลและตรายาง

 

50 0

9. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต (ศึกษดูงาน)

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ศึกษาดูงานกลุ่มออมทรัพย์บ้านบันนังกระแจะ อำเภอธารโต จังหวัดยะลา มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการกลุ่มออมทรัพย์ รุปแบบการจัดการกลุ่ม ทราบการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นของกลุ่ม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การออมทรัพย์ในการจักการกลุ่มออมทรัพย์ให้เป็นระบบ และได้รับทราบการแบ่งการทำงานของคณะทำงานกลุ่มออมทรัพย์ในการส่งเงินสัจจะ การบริหารหนี้สินของกลุ่ม การวางคนในแต่ละกิจกรรม

 

50 0

10. เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ได้รับทราบการแลกเปลี่ยนข้อมูลการดำเนินงานงวดแรก ร่วมกับพื้นที่อื่นๆ
การสรุปการดำเนินงานที่มีตัวผลลัพพ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานในพื้นที่ ผู้เข้าร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช่จริงกี่คน และคณะทำงานมีการพัฒนาตัวเอง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้เรียนรู้การปิดบัญชีงวดแรก

 

2 0

11. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3

วันที่ 24 พฤษภาคม 2566 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานโครงหารเพื่อติดตามงานในส่วนที่ยังไม่จัดกิจกรรม โดยมีการชี้แจงรายละเลียดให้คณะทำงานได้รับทราบ
1 กิจกรรมฝึกอาชีพทำขนมโบราณ โดยให้คณะทำงานแบ่งหน้าที่การทำงาน และการแบ่งโซนการเชิญสมาชิก 2 กิจกรรมกานฝึกอบรมพัฒนาผลิตภัณฑ์และช่องทางการตลาด 3 กิจกรรมถอดบทเรียนโครงการ 4 ประชุมคณะทำงานโครงการที่เหลือ จากนั้นได้วางแผนการตามโครงการ กิจกรรมที่เหลือ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กำหนดวันการจัดกิจกรรมฝึกอาชีพการทำขนมโบราณ ในวันที่ 19 มิถุนายน 2566 โดยมี ขนมดอกจอก ขนมจูโจ ขนมมือเละ ขนมโดนัทจิ้ว และการหาวิทยากรให้ความรู้โดยให้คณะทำงานมีส่วนร่วมและได้แบ่งหน้าที่ของคณะทำงานในการดำเนินงาน 1 หน้าที่ลงทะเบียนให้คณะทำงาน รับผิดชอบ 2 คน 2 หน้าที่ประสานงานสมาชิกให้รับทราบและเข้าร่วมกิจกรรมโดยแบ่งแต่ละโซนในการประสานงาน 3 ประสานวิทยากรในการฝึก และจัดซื้อวัสดุฝึกอาชีพ

 

10 0

12. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 4

วันที่ 13 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานโครงการเพื่อให้คณะทำงานโครงการได้รับทราบการดำเนินงานของโครงการ วางแผนงาน การจัดการกับกิจกรรมที่เหลือเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 1 ชี้แจงผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของโครงการว่าทำอะไรไปแล้วบ้าง และยังมีกิจกรรมที่ยังต้องดำเนินการอีกกี่กิจกรรม 2 ชี้แจงการเงินเพื่อความโปร่งใสในการใช้จ่ายเงินและให้คณะทำงานได้รับทราบ 3 วางแผนงานในการติดตามงานของสมาชิกกลุ่ม ในการทำบัญชีครัวเรือน การดูแลสุขภาพของสมาชิกแต่ละโซนที่คณะทำงานรับผิดชอบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมคณะทำงานโครงการ ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนการทำงานของคณะทำงานโครงการเพื่อให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปตามแผนงาน ระดมปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงาน
1 คณะทำงานโครงการ 10 คน ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงาน เกิดกระบวนการทำงานร่วมกันของคณะทำงาน สร้างความไว้ใจ 2 การใช้จ่ายเงินโครงการที่คณะทำงานได้รับทราบ และเกิดการทำบัญชีรายวันการใช้เงินในแต่ละกิจกรรม การเบิกจ่ายแต่ละกิจกรรม เพื่อสร้างการทำงานที่มีความไว้วางใจกัน ชี้แจงตัวเงินใหเคณะทำงานได้รับทราบ และเกิดความเข้าใจตรงกัน 3 การวางแผนงานในการดำเนินงานแต่ละกิจกรรม กิจกรรมที่เหลือที่ต้องดำเนินการ
- กิจกรรมฝึกทำขนมโบราณ
-กิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องช่องการตลาด และพัฒนาผลิตภัณฑ์ - กิจกรรมถอดบทเรียนการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา -รายงานการเงิน

 

10 0

13. ฝึกอบรมการทำขนมโบราณ

วันที่ 19 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

การฝึกการทำขนม สมาชิกได้ร่วมกันลงทะเบียนการฝึกทำขนมโดนัทจิ้วและขนมดอกจอก ขนมมือเละ[ขนมใบเหลียง] ขนมจูโจ (ใบบัว) ขนมดอกจอก โดยมีวิทยากรที่มีความรู้เรื่องทำขนมโบราณให้ความรู้ ช่วงเช้าให้สมาชิกกลุ่มได้แบ่งกลุ่มเป็น4กลุ่ม สมาชิกกลุ่มละ 10 คน เพื่อง่ายในการทำขนมแต่ละอย่าง และให้สมาชิกได้ลงมือปฏิบัติได้ทั่วถึง จากนั้นวิทยากรจะให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มมารับวัสดุและอุปกรณ์ในการผสมเพื่อทำขนมแต่ละอย่าง
ช่วงเช้าจะให้แต่ละกลุ่มได้ทำขนมมือเละ โดยให้แต่ละกลุ่มแบ่งหน้าที่ในการทำงานเพื่อให้ได้ส่วนผสมของตัวขนม แต่ละคนจะมีหน้าที่ในการรับผิดชอบต่อการนำส่วนผสมแต่ละอย่างมาผสมกัน เพื่อทำขนมแต่ละอย่าง จนได้ขนมแต่ละอย่าง และพร้อมติดสติกเกอร์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สมาชิกได้ที่เข้าร่วมฝึกทำขนม จำนวน 40 คน ได้เรียนรู้การทำขนมโบราณเพื่อเป็นแนวทางในการหารายได้ให้กับครอบครัว ผลผลิต คือ สมาชิกได้ลงมือปฏิบัติในการทำขนมทั้ง 4 ชนิด ขนมมือเละ ขนมดอกจอก ขนมใบบัว และ โดนัทจิ่ว รู้วิธีผสมส่วนผสมในการทำขนม เพื่อให้สามารถทำอาชีพเสริมรายได้ให้กับครอบครัวได้ และยังเกิดการทำงานเป็นทีมของสมาชิกกลุ่ม ทำให้เกิดความสัมพันธ์กัน แลกเปลี่ยนพูดคุย สร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มได้

 

50 0

14. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 5

วันที่ 2 กรกฎาคม 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ให้คณะทำงานได้ประสานคณะทำงานโครงการ จำนวน 10 คน ได้เข้าร่วมประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 5 เพื่อติดตามงาน ที่ยังไม่ดำเนินการ โดยเริ่มการประชุมพูดคุยและติดตามงาน เพื่อกำหนดกิจกรรมส่วนที่เหลืออีก2 กิจกรรม กิจกรรมอบรมให้ความรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์และช่องทางการตลาด และ กิจกรรมถอดบทเรียน โครงการ และติดตามการทำบัญชีครัวเรือนของสมาชิกกลุ่มว่าเป็นอย่างไรบ้าง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานได้กำหนดแผนงาน อบรมขึ้นในวันที่ 8 กรกฎาคม 2566 โดยใช้ห้องประชุมโรงเรียนบ้านปุโรง และแบ่งหน้าที่การประสานงานให้กับสมาชิกกลุ่มไเรับทราบและเข้าร่วมกิจกรรม แบ่งให้คณะทำงานคนละ10 รายในการเชิญสมาชิกเข้าร่วม และได้ทำหนังสือขอใช้สถานที่ และวิทยากรที่มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ การแบ่งหน้าที่การทำงาน และความรับผิดชอบตามความถนัดของคณะทำงานของแต่ละคน
คณะทำงานมีความรับผิดชอบ สร้างการทำงานเป็นทีม

 

10 0

15. อบรมให้ความรู้พัฒนาผลิตภัณฑ์และช่องทางการตลาด

วันที่ 7 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

อบรมให้ความรู้ทักษะการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยวิทยากร ที่มีความรู้ในการสร้างตัวตนในช่องทางการขายออนไลน์ และพัฒนาผลิตภัณฑ์
โดยมีการให้ความรู้ให้กับสมาชิกในเรียนรู้การขายผ่นช่องทางการตลาดออนไลน์ ผ่านช่องทางการสือสารต่างๆ เช่น เฟสบุ๊ก ติกต๋อก และสร้างเพจในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของกลุ่ม การสร้างตัวตนในโลกออนไลน์เพื่อให้มีช่องทางการตลาดได้มากขึ้น ช่วงบ่าย ได้ให้ผู้เข้าร่วมได้ทดลองการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อให้เพิ่มมูลค่าของสินค้า และมีทางเลือกการส่งเสริมทางการขาย เจาะกลุ่มเป้าหมายเพื่อเพิ่มรายได้มากขึ้น และประชาสัมพันธ์สินค้าได้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สมาชิกได้ความรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์และช่องทางการตลาดผ่านระบบออนไลน์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น เข้าการสร้างตัวตนในการขายสินค้าได้ สมาชิกเกิดการพัฒนาตัวเองด้านเทคโนโลยีผ่านมือถือ และรู้จักการใช้มือถือในการสร้างรายได้ ผ่านแอปพีเคชั้นต่างๆ เช่น เฟสบุ๊ค ยูทุป ติ๊กต๊อก และยังสามารถสร้างตัวตนในแพลตฟอร์มได้ และยังสามารถสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มได้ จำนวนสมาชิกที่เข้าร่วม 40 คน มีความรู้ความเข้าใจช่องทางการตลาดได้มากขึ้น เพื่อนำไปใช้ในการหาช่องทางขายสินค้าได้ เกิดผลในการใช้มือถือในการหาข้อมูลเพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มหรือของตัวเอง เพื่อหารายได้เพิ่มขึ้น

 

50 0

16. ถอดบทเรียนการทำงาน

วันที่ 8 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ให้สมาชิกและคณะกรรมการโครงการได้ร่วมกันแลกเปลี่ยน สรุป การดำเนินงานของแต่ละกิจกรรม โดยมีวิทยากรกระบวนการ นำสรุปให้สมาชิกได้ระดมความคิดเห็นในแต่ละกิจกรรม 1 ให้สมาชิกได้แบ่งเป็น3กลุ่มย่อย เพื่อให้การระดมความคิดเห็นได้ทั่วถึง
2 กำหนดหัวข้อให้ สมาชิกได้เรียนรู้อะไรบ้างจากโครงการในแต่ละกิจกรรม
3 อะไรที่ทำให้สมาชิกได้เสริมความรู้ เกิดผลที่ไปใช้ได้จริง 4 สมาชิกอยากให้กิจกรรมดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพราะอะไร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สมาชิกและคณะทำงานได้ทราบการดำเนินงานของโครงการที่สมาชิกได้ระดมความคิดเห็นร่วมกัน ผลการดำเนินที่ผ่านมาจากที่สมาชิกได้เข้าร่วม
จากการได้ระดมความคิดเห็นแต่ละกลุ่มได้ข้อมูลมาดังนี้ สิ่งที่รับจากโครงการ
1 อบรมเรื่องสุขภาพ ได้ความรู้การปรับพฤติกรรมการกิน ลดการบริโภคที่จะนำไปการเป็นโรคเบาหวาม ความดัน และการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย 2 การศึกษาดูงานกลุ่มออมทรัพย์ ได้รู้จักการจักกลุ่มออมทรัพย์ การออมของสมาชิก การปล่อยเงินกู้ให้กับสมาชิก การเพิ่มรายได้ของสมาชิกกลุ่ม 3 ฝึกทำขนมโบราณ เกิดการฝึกอาชีพเสริมในการหารายได้เพิ่ม และสามารถเป็นอาชีพเพื่อมีให้มีรายได้เพิ่ม จะได้ออมเงินมากขึ้นจากเดิม 50 บาท เพิ่ม เป็น 100 บาท ต่อเดือน 4 การทำบัญชีครัวเรือน ทำให้ได้รู้เรื่องการเงิน การบันทึกรายรับรายจ่ายของครอบครัว ลดการใช้เงินที่ไม่จำเป็น

 

50 0

17. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 6

วันที่ 11 กรกฎาคม 2566 เวลา 14:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานโครงการ จำนวน 10 คน และมีพี่เลี้ยงโครงการ เข้ามาเพื่อสรุปปิดโครงการ 1 ให้คณะทำงานได้ร่วมกันระดมความคิดเห็นผลการดำเนินงานที่ผ่านมา 2 เกิดผลให้กับสมาชิกในการใช้ความรู้เรื่องการเงิน การบันทึกบัณชีครัวเรือน การออมเพิ่มขึ้น 3 การฝึกอาชีพทำขนมโบราณให้กับสมาชิก เพื่อให้สมาชิกได้เพิ่มรายได้จากการฝึกเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ไม่มีอาชีพเสริม 4 เกิดการดูแลสุขภาพของคณะทำงานและสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ 80 เปอร์เซ็น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานโครงการเกิดการระดมความคิดเห็นผ่านหัวข้อที่ทางพี่เลี่ยงได้ให้เพื่อให้คณะทำงาน 1สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้ 80เปอร์เซ็น ในการจดบันทึกรายรับรายจ่ายในครัวเรือน และเกิดการวางแผนการเงินได้ ทำให้ลดหนี้ในครัวเรือน มีการจัดการหนี้มากขึ้นจากเดิม 2 สมาชิกได้มีรายได้เพิ่มจากการฝึกอาชีพ มีการฝากเงินเข้ากลุ่มออมทรัพย์มากขึ้นจากเดิม 10 เปอร์เซ็น จากเดิมฝาก 50 บาท เพิ่มมา 70 บาท 3 คณะทำงานได้มีความรู้เรื่องการแบ่งบทบาทหน้าที่การทำงานเพื่อให้บรรลุผลการดำเนินงาน 4 คณะทำงานเกิดการเรียนรู้การทำบัญชีของโครงการ

 

10 0

18. เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน

วันที่ 15 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานโครงการได้ส่งตัวแทน 2 คน เพื่อได้เข้ากลุ่มในการแลกเปลี่ยนความรู้ในแต่ละประเด็น และเข้ากลุ่มเพื่อสรุปผลการดำเนินงานในพื้นที่ โดยมีการแบ่งกลุ่มการสรุปผลการดำเนินงานของแต่ละโครงการ ที่ทำกิจกรรมเกิดผลลัพล์ให้กับสมาชิกได้กี่คน เกิดกระบวนการเรียนรู้อะไรบ้าง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดการเรียนรู้ของคณะทำงานการดำเนินโครงการ ผลลัพล์ที่เกิดขึ้น เช่น คณะทำงานโครงการ 9 คน ได้เกิดการเรียนรู้การทำงานร่วมกับคณะทำงาน การวางแผนงาน สร้างการมีส่วนร่วม เกิดรายได้ให้กับสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ เกิดการจัดการเรื่องการเงินในครัวเรือน ลดค่าใช้จ่าย มีการออมเพื่ออนาคต
เกิดการเรียนรู้มิติการทำงานให้กับชุมชน เกิดการประสานงาน ทำให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนงาน

 

2 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.เพื่อสนับสนุนการสร้างอาชีพให้กับสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตให้เกิดรายได้เสริมและลดหนี้สิน
ตัวชี้วัด : 1.คณะทำงานมีการจัดโครงสร้าง แบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงานชัดเจน ตลอดจนมีแผนการทำงาน 2.เกิดข้อตกลงร่วมของคณะทำงาน 3.กลุ่มออมทรัพย์มีการบริหารจัดการกลุ่มอย่างเป็นระบบ 4.เกิดรูปแบบการช่วยเหลือคนในชุมชนชัดเจนมากขึ้นผ่านกลุ่มออมทรัพย์
0.00

 

2 2เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม แก่ สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตของชุมชน
ตัวชี้วัด : 1ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้ 2 เกิดแผนการออมและการจัดการหนี้ระบบครัวเรือน

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะกรรมการกลุ่ม 10 10
สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ (ผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด) 40 40

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อสนับสนุนการสร้างอาชีพให้กับสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตให้เกิดรายได้เสริมและลดหนี้สิน (2) 2เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม แก่ สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตของชุมชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการกับ สสส. (2) ประชุมคณะทำงานโครงการ (3) เวทีชี้แจงโครงการ (4) อบรมทักษะการเงิน บัญชีครัวเรือน สุขภาพ สังคม (5) อบรมการฝึกอาชีพ การทำขนมโบราณ (6) อบรมให้ความรู้พัฒนาผลิตภัณฑ์และช่องทางการตลาด (7) เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต (8) เวทีถอดบทเรียน (9) ทำป้ายไวนิลและตรายาง (10) เวทีปฐมนิเทศโครงการ ระดับหน่อยจัดการ (11) ประชุมคณะทำงานโครงการ (12) อบรมทักษะการเงิน บัญชีครัวเรือน สุขภาพ สังคม (13) คืนเงินเปิดบัญชี (14) เวทีชี้แจงโครงการ (15) ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 2 (16) อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน (17) ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3 (18) เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต (ศึกษดูงาน) (19) เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน (20) ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3 (21) ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 4 (22) ฝึกอบรมการทำขนมโบราณ (23) ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 5 (24) อบรมให้ความรู้พัฒนาผลิตภัณฑ์และช่องทางการตลาด (25) ถอดบทเรียนการทำงาน (26) ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 6 (27) เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) เป็นโครงการที่ให้คณะทำงานมีการทำงานร่วมกัน เกิดการวางแผนงานร่วมกัน (2) สร้างองค์ความรู้เรื่องการเงินเพราะเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินชีวิต (3) เกิดการดูแลสุขภาพของคนเข้าร่วมโครงการ วัดจากการลดการกินที่จะก่อโรค มีการลด หวาม มัน เค็ม การออกกำลังการ (4) สร้างอาชีพเสริมให้กับสมาชิกและมีเงินออม
อยากให้มีโครงการแบบนี้ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ทำให้คนในชุมชนได้ออกมาร่วมกันทำกิจกรรม เกิดความสุข ทางจิตใจ สร้างสุขภาวะทางจิตใจ

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านปุโรง ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 65-10018-36

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายมะอูเซ็ง ปูมูลูกือจิ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด