directions_run

โครงการสร้างแหล่งอาหารชุมชน คนบ่อยางสร้างเงิน ตำบลบ่อยาง

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node โควิค ภาคใต้


“ โครงการสร้างแหล่งอาหารชุมชน คนบ่อยางสร้างเงิน ตำบลบ่อยาง ”

ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นางสาว สิริรัตน์ เดชเส้ง

ชื่อโครงการ โครงการสร้างแหล่งอาหารชุมชน คนบ่อยางสร้างเงิน ตำบลบ่อยาง

ที่อยู่ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 65-10018-34 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กันยายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการสร้างแหล่งอาหารชุมชน คนบ่อยางสร้างเงิน ตำบลบ่อยาง จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node โควิค ภาคใต้ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการสร้างแหล่งอาหารชุมชน คนบ่อยางสร้างเงิน ตำบลบ่อยาง



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการสร้างแหล่งอาหารชุมชน คนบ่อยางสร้างเงิน ตำบลบ่อยาง " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 65-10018-34 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กันยายน 2565 - 31 สิงหาคม 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 80,000.00 บาท จาก Node โควิค ภาคใต้ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

เทศบาลนครสงขลาหรือเมืองบ่อยาง แบ่งการปกครองเป็น 55 ชุมชน โดยจำนวน 34 ชุมชน เทศบาลนครสงขลากำหนดเป็นชุมชนผู้มีรายได้น้อยในเขตเมือง ชุมชนลักษณะดังกล่าวนี้มีลักษณะเป็นชุมชนแออัดที่มีการรวมกลุ่มกันทั้งแบบชั่วคราวและแบบถาวร โดยมากกว่า 70 %ของประชากรทั้งหมดมีรายได้น้อยขาดการออมและมีหนี้สิน นอกจากนี้ยังขาดความมั่นคงทางด้านที่อยู่อาศัย เนื่องจากอาศัยอยู่ในที่ดินที่ไม่ใช่ของตนเอง มากกว่า 50%ของกลุ่มนี้อาศัยอยู่ในที่ดินของรัฐทั้งแบบถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมายกล่าวคือ ไม่มีสัญญาเช่าที่ถูกต้องหรือที่เรียกกันว่า เป็นผู้บุกรุก อาชีพที่เหมาะสำหรับคนเมืองบ่อยางจึงควรจะเป็น อาชีพรับจ้าง ค้าขาย และบริการ(แบบหาบเร่แผงลอย และแบบผู้ประกอบการรายย่อย)

ข้อมูลประชากร ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2564 ระบุว่า เขตเทศบาลนครสงขลาหรือเมืองบ่อยาง มีจำนวนประชากรทั้งหมด 59,296 คน จำนวน 20,127 ครัวเรือน จำนวนบ้าน 25,644 หลังคาเรือน อาชีพส่วนใหญ่คือ ค้าขาย รองลงมาคือรับจ้าง และรับราชการ ตามลำดับ ที่ผ่านมา

เมื่อปี 2563 คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสงขลา ได้ออกคำสั่งเรื่อง มาตรการควบคุมพื้นที่ที่จำเป็นอย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 จังหวัดสงขลา โดยรายละเอียดแห่งคำสั่งดังกล่าวได้มีการปิดตลาดในเขตเทศบาลนครสงขลาจำนวน 3 แห่งคือ ตลาดประชารัฐวันศุกร์(หน้าอำเภอเมืองสงขลา) ตลาดถนนคนเดิน และตลาดนัดวันอาทิตย์ นอกจากนี้ยังมีคำสั่งปิดสถานที่ท่องเที่ยวจำนวน 8 จุดเป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ได้มีการขยายเวลาการบังคับใช้ของคำสั่งจนถึงปี 2564 ผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมคือ ประชากรที่มีอาชีพรับจ้างและอาชีพค้าขายที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครสงขลาต้องหยุดการประกอบอาชีพอย่างต่อเนื่องยาวนานถึง 2 ปี รายได้ลดลงจนส่วนหนึ่งกลายเป็นผู้ว่างงานไม่มีรายได้ ในขณะที่รายจ่ายยังคงมีประชากรกลุ่มหนึ่งเกิดมีหนี้สินนอกระบบจำนวนสูงขึ้น ยากที่จะหาทางแก้ไขได้ และในที่สุดได้กลายเป็นผู้มีความเครียดสะสม มีปัญหาทางสุขภาพจิตและเชื่อมโยงให้เกิดปัญหาสุขภาพกายในเวลาต่อมา ประชากรกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากทึ่สุดจำนวน 1,000 ครัวเรือน คือประชากรในเขตชุมชนแออัด8ชุมชนของเขตเทศบาลนครสงขลาได้แก่ชุมชนแหลมสนอ่อน ชุมชนสนามบิน ชุมชนสวนหมาก ชุมชนย่านเมืองเก่า ชุมชนศาลาเหลืองเหนือ ชุมชนชัยมงคล ชุมชนแหลมทรายและชุมชนพัฒนาใหม่ จากเหตุปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าวข้างต้นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน จำนวน 30 คน จึงได้รวมตัวกันจัดทำโครงการขึ้นเพื่อขอรับงบสนับสนุนจากสมาคมอาสาสร้างสุขและสำนักงานส่งเสริมสุขภาพ(สสส.) ซึ่งเป็นการแก้ไขและหาทางออกของปัญหาโดยการใช้กิจกรรมการประกอบอาชีพที่มีต้นทุนเดิมอยู่ก่อนแล้วและยึดหลักการพึ่งพาตนเองรวมถึงทุกคนที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา

จากปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลให้คนในชุมชนเกิดการรวมตัวสร้างอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัวซึ่งทำให้มองเห็นภาพรวมของเศรษฐกิจชุมชนได้ในลักษณะที่มีเป้าหมายเด่นชัดคือการต่อยอดอาชีพเดิมที่สามารถยกระดับไปสู่การพึ่งพาตนเองได้ในที่สุดชุมชนเน้นการใช้แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการตนเองทั้งนี้มีเป้าหมายที่คาดหวังว่ากลุ่มเป้าหมายจำนวน30รายใน8ชุมชนเขตเทศบาลนครสงขลาสามารถสร้างอาชีพสร้างรายได้สร้างเงินได้ไม่ต่ำกว่าจำนวน10,000บาทต่อเรือน โดยวิธีการนำผลผลิตของแต่ละกลุ่มอาชีพมาปรุงเมนูอาหารเพื่อจำหน่ายคนในเมือง ในลักษณะ Farm To Tableตลอดถึงสามารถร่วมกันสร้างสิ่งใหม่ๆให้เกิดขึ้นในพื้นที่ชุมชนของตนเองได้จนสามารถขยายผลเป็นชุมชนต้นแบบให้ชุมชนพื้นที่ใกล้เคียงมาเรียนรู้และนำไปก่อประโยชน์ให้เกิดขึ้นได้

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อพัฒนาศักยภาพคนในชุมชนให้มีความรู้และทักษะด้านการเงิน และการบริหารจัดการในการประกอบอาชีพ
  2. เพื่อพัฒนากลุ่มเศรษฐกิจชุมชนโดยใช้รูปแบบการทำงานในพื้นที่จริงของชุมชนเมืองบ่อยาง
  3. เพื่อดำเนินกิจการการผลิต การแปรรูปการสร้างช่องทางการตลาดและการเงิน ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนไปสู่ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและจับต้องได้
  4. เพื่อดำเนินกิจการการผลิต การแปรรูปการสร้างช่องทางการตลาดและการเงิน ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนไปสู่ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและจับต้องได้

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามและวางแผนการทำงาน10เดือน และสื่อสารการทำงานผ่านกลุ่มไลน์อย่างสม่ำเสมอ
  2. กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการโครงการ
  3. เวทีชี้แจงโครงการ และจัดตั้งคณะทำงาน
  4. เวทีปฐมเวทีโครงการระดับหน่วยจัดการ
  5. คีย์ข้อมูล
  6. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 1
  7. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 2
  8. เวทีชี้แจงโครงการและจัดตั้งคณะทำงาน
  9. การสำรวจเก็บข้อมูลกลุ่มอาชีพ และทุนในชุมชน ข้อมูลกลุ่มเปราะบางที่ต้องการความช่วยเหลือ พร้อมจัดทำแผนที่ทรัพยากรในชุมชน ให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
  10. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3
  11. เวทีประชุมกำหนดกติกากลุ่มในการดำเนินโครงการ เชิญกลุ่มเป้าหมายร่วมทำข้อตกลงด้วยกันเพื่อให้โครงการขับเคลื่อนไปตามแผนที่วางไว้
  12. เวทีชี้แจงดำเนินการตามกลุ่มอาชีพที่ได้รับมอบหมายไว้ ให้อุปกรณ์และลงมือปัฏิบิติตามอาชีพและพื้นที่ของตัวเอง
  13. กิจกรรมอบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน
  14. อบรมการจัดทำแผนธุรกิจ และการจัดการธุรกิจจัดส่งอาหารไปถึงผู้บริโภค
  15. เปิดครัวชุมชนแหลมสนอ่อนเพื่อร่วมกันผลิตอาหารใช้ชื่อว่า " ครัวปิ่นโดตุ้มตุ้ย" ประชาสัมพันธ์รับออเดอร์
  16. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 4
  17. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 5
  18. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 6
  19. เวทีสะท้อนผลลัพธ์โครงการ ARE
  20. เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจฐานราก ในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด 19 พื้นที่ภาคใต้
  21. เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจฐานราก ในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด 19 พื้นที่ภาคใต้
  22. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 7
  23. ประชุม Zoom Topic SoHappi training on content creation
  24. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 8
  25. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 9
  26. เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจบนฐานราก
  27. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 10
  28. เวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ เชิญภาคีที่เกี่ยวข้องร่วมรับฟัง

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
คนพิการ 1
ผู่สูงอายุ 11
แม่เลี้ยงเดี่นว 4
แรงงานนอกระบบ 24

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. คณะทำงานโครงการมีความสามารถในการขับเคลื่อนงานโครงการและเกิดข้อตกลงร่วมกันพร้อมภาคีเครือข่าย
  2. เกิดกลไกกลางการรวมกลุ่มอาชีพ พร้อมทำแผนการทำงานที่ชัดเจนตามที่วางไว้
  3. กลุ่มสามารถสร้างอาชีพที่เกิดจากการนำผลผลิตของกลุ่มมาปรุงเป็นเมนูอาหารที่สะอาด ปลอดภัยและราคาที่เหมาะสมส่งจำหน่ายให้แก่กลุ่มลูกค้าในเมือง
  4. เกิดแผนธุรกิจดำเนินการดำเนินการกลุ่มอาชีพ

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. เวทีปฐมเวทีโครงการระดับหน่วยจัดการ

วันที่ 17 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ใส่กำหนดการ

.................................

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ผู้รับผิดโครงการย่อย จำนวน 4 มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง............................................

 

2 0

2. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 1

วันที่ 30 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

นางสาวสิริรัตน์ เดชเส้ง ทำหน้าที่ประสานงานคณะทำงานโครงการให้มาประชุม ณ ศูนย์บ่อยางสงขลาพึ่งพาตนเอง ในเวลา 09.00 น.

นางสาวปิยฉัตร อยู่ยงค์ รับผิดชอบการจัดเตรียมอาหารว่างและอาหารเที่ยงให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม

นางสาวบงกช สุวรรณรัตน์ รับผิดชอบเรื่องการจัดสถานที่และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้ในการประชุม

นางสาวปิยฉัตร อยู่ยงค์ ทำหน้าที่บันทึกการประชุม

เวลา 09.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ที่ปรึกษาโครงการได้ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดการประชุมในครั้งนี้ โดยเรื่องที่จะประชุมประกอบไปด้วย การแบ่งหน้าที่ของคณะทำงานของโครงการ / ข้อตกลงร่วมของคณะทำงาน

เวลา 09.10 น. -12.00 น. คณะทำงานได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมทั้งช่วยกันเสนอแนวทาง / ข้อตกลงที่จะใช้ร่วมกันในการทำกิจกรรมเพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายตามที่โครงการได้วางไว้

เวลา 12.00 น. - 13.00 น. คณะทำงานรับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 13.00 น. - 13.40 น. คณะทำงานได้ทำการสรุปผลเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะทำงานแต่ละท่าน รวมทั้งสรุปข้อตกลงที่ได้เสนอแนวคิดร่วมกัน โดยมีนางสาวปิยฉัตร อยู่ยงค์ เป็นผู้พิมพ์สรุปรายงานข้อตกลงร่วมของคณะทำงานและแจกจ่ายให้คณะทำงานแต่ละคนรับทราบ (พิมพ์และปริ้นท์เอกสารที่ร้านรับทำเอกสาร)

เวลา 13.40 น. - 14.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ทำหน้าที่สรุปผลการประชุมให้คณะทำงานโครงการรับทราบและปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. หน้าที่ความรับผิดชอบของคณะทำงานแต่ละคน


  2. ข้อตกลงร่วมของคณะทำงาน จำนวน 4 ข้อ ประกอบด้วย

  2.1 สร้างอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้มากเพียงพอที่กลุ่มเป้าหมายจะพึ่งพาตนเองได้

  2.2 ทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย ทุกกิจกรรมอาชีพ

  2.3 ร่วมกันบริหารจัดการเวลาให้เหมาะสมในการรับผิดชอบโครงการ

  2.4 รับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ในโครงการนี้

 

5 0

3. ป้ายโครงการ และ คีย์ข้อมูล

วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-ป้ายสำหรับโครงการบ่อยางสร้างเงิน
-ดำเนินการคีย์ข้อมูล และบันทึกกิจกรรมลงในระบบคนสร้างสุข

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ป้ายโครงการ จำนวน 2 ป้าย
  • กระบวนการ และขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
  • ภาพกิจกรรมการดำเนินงาน
  • เอกสารการเงินที่ใช้ในการดำเนินงานกิจกรรม

 

0 0

4. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 2

วันที่ 8 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

นางสาวสิริรัตน์ เดชเส้ง ทำหน้าที่ประสานงานคณะทำงานโครงการให้มาประชุม ณ ศูนย์บ่อยางสงขลาพึ่งพาตนเอง ในเวลา 09.00 น.

นางสาวปิยฉัตร อยู่ยงค์ รับผิดชอบการจัดเตรียมอาหารว่างและอาหารเที่ยงให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม

นางสาวบงกช สุวรรณรัตน์ รับผิดชอบเรื่องการจัดสถานที่และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้ในการประชุม

นางสาวปิยฉัตร อยู่ยงค์ ทำหน้าที่บันทึกการประชุม

เวลา 09.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ที่ปรึกษาโครงการได้ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดการประชุมในครั้งนี้ โดยเรื่องที่จะประชุมประกอบไปด้วย แผนการทำงานตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดโครงการ / การกำหนดกรอบระยะเวลาการดำเนินงานและปฏิทินการจัดกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ / ออกแบบการดำเนินกิจกรรมการจัดเวทีชี้แจงโครงการแก่กลุ่มเป้าหมายในวันที่ 26 ตุลาคม 2565

วลา 09.10 น. -12.00 น. คณะทำงานได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการวางแผนการทำงานโดยร่วมกันออกแบบรูปแบบของกิจกรรม การวางโครงสร้างของกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งช่วยกันจัดทำปฏิทินกิจกรรม เพื่อให้กิจกรรมดำเนินไปตามแบบแผนและบรรลุเป้าหมายตามที่วางไว้

เวลา 12.00 น. - 13.00 น. คณะทำงานรับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 13.00 น. - 15.00 น. คณะทำงานร่วมกันออกแบบภาพรวมของเวทีชี้แจงโครงการ โดยมีการร่างกำหนดการ / การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย และบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะทำงานที่จะต้องดำเนินการในการจัดกิจกรรมเวทีชี้แจงโครงการ วันที่ 26 ตุลาคม 2565

เวลา 15.00 น. - 15.40 น. คณะทำงานได้ทำการสรุปผลเกี่ยวกับแผนการทำงาน และปฏิทินกิจกรรมต่างๆ  โดยมีนางสาวปิยฉัตร อยู่ยงค์ เป็นผู้พิมพ์สรุปและแจกจ่ายให้คณะทำงานแต่ละคนรับทราบ (พิมพ์และปริ้นท์เอกสารที่ร้านรับทำเอกสาร)

เวลา 15.40 น. - 16.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ทำหน้าที่สรุปผลการประชุมให้คณะทำงานโครงการรับทราบและปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. แผนการทำงานของคณะทำงานโครงการ 1  ฉบับ
  2. ปฏิทินการจัดกิจกรรมในโครงการ 1 ฉบับ
  3. แผนการดำเนินกิจกรรม - กำหนดการ และหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะทำงาน สำหรับกิจกรรมเวทีชี้แจงโครงการ วันที่ 26 ตุลาคม 2565 จำนวน 1 ชุด

 

5 0

5. เวทีชี้แจงโครงการและจัดตั้งคณะทำงาน

วันที่ 26 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 08.30 - 09.00 น. กลุ่มเป้าหมายจำนวน 40  คน ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุม ณ ศูนย์บ่อยางสงขลาพึ่งพาตนเอง

เวลา 09.00 น. - 09.10 น. นางบุณย์บังอร  ชนะโชติ  ประธานศูนย์บ่อยางสงขลาพึ่งพาตนเอง กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม

เวลา 09.10 น. - 11.30 น. ประธานศูนย์บ่อยาง ได้ชี้แจงความเป็นมาของโครงการว่า โครงการนี้เกิดขึ้นจากเดิมที่ชาวชุมชนแหลมสนอ่อนและชุมชนเครือข่ายในเขตตำบลบ่อยางได้มีการประกอบอาชีพปลูกผักสวนครัว  การทำปลาแดดเดียวและมีร้านขายอาหารกล่องมาตั้งแต่ระยะต้นปี 2562 ก่อนเกิดการแพร่ระบาดโรค Covid - 19 เป็นลักษณะที่ต่างคนต่างทำ ไม่มีการรวมกลุ่มที่ชัดเจนมากนัก  ต่อมาเกิดการแพร่ระบาดของโรค Covid -19 อย่างรุนแรง หลายรายหลายครัวเรือนต้องหยุดชะงักการประกอบการร้านขายสินค้าอาหารและการทำปลาแดดเดียวไป ยังคงเหลือเพียงการปลูกผักสวนครัวบริเวณบ้านของตนเองและเริ่มเกิดมีบางรายใช้พื้นที่ในบ้านช่วงระหว่างการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคทำการเพาะต้นอ่อนเช่น ผักบุ้ง ทานตะวัน  ถั่วงอก เพื่อสร้างแหล่งอาหารภายในบ้าน  ปี 2564 สถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid - 19 เริ่มคลี่คลาย  การนัดพบกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ด้านอาชีพเริ่มมีมากขึ้น แต่เป็นการพบกันอย่างไม่เป็นทางการมากนัก ในปี 2565 กลุ่มเป้าหมายประมาณ 25 คนเกิดแนวคิดว่า น่าจะมีการรวมกลุ่มอาชีพที่มีรูปแบบและเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้น รวมถึงควรมีการจัดระบบพร้อมเครื่องมือเข้ามาใช้ในการรวมกลุ่มอาชีพดังกล่าว  แนวคิดดังกล่าวได้เริ่มต้นอย่างจริงจังเมื่อสมาคมอาสาสร้างสุข ได้ชวนสมาชิกชุมชนแหลมสนอ่อนพร้อมเพื่อนๆในชุมชนเครือข่ายเขียนโครงการตามแนวคิดที่กลุ่มต้องการ นำเสนอต่อสำนักสร้างสรรค์โอกาส สสส. เพื่อขอรับงบประมาณมาสานต่อแนวคิดของกลุ่มให้เป็นจริงตามต้องการ
ในเดือนกันยายน 2565 สมาคมอาสาสร้างสุขได้แจ้งให้ศูนย์บ่อยางฯจัดตัวแทนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมการปฐมนิเทศเพื่อรับความรู้มาบริหารจัดการกลุ่มพร้อมทั้งวางแผนการทำงานที่เป็นระบบและมีขั้นตอนให้รัดกุมขึ้นโดยเน้นการให้ความรู้ด้านการเงินการบัญชีเพื่อควบคุมการใช้งบประมาณให้เป็นไปตามแผนการเงินที่ระบุไว้ในโครงการทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินโครงการนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ระบุไว้ในโครงการ

เวลา 11.30 น. - 12.00 น. กลุ่มเป้าหมายร่วมแลกเปลี่ยนเรื่องราวความรู้และปัญหาที่แต่ละคนได้ประสบมา รวมทั้งความต้องการในการแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนให้ดีขึ้น

เวลา 12.00 -13.00 น. ผู้เข้าร่วมประชุมรับประทานอาหารเที่ยงพร้อมกัน

เวลา 13.00 - 15.00 น. ผู้เข้าร่วมประชุมได้มีการเสนอชื่อตัวแทนกลุ่มเพื่อคัดเลือกเป็นคณะทำงานของโครงการสร้างอาหารชุมชน คนบ่อยางสร้างเงิน

เวลา 15.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ได้กล่าวสรุปกิจกรรมและกล่าวปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 40 คน  ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ คือ กลุ่มคนเปราะบาง ประกอบด้วย

    - แรงงานนอกระบบ จำนวน 24 คน

    - แม่เลี้ยงเดี่่ยว จำนวน  4 คน

    - คนพิการ  จำนวน 1 คน

    - ผู้สูงอายุ จำนวน 11 คน


  1. ผลการจัดกิจกรรม

    - เกิดคณะทำงานโครงการจำนวน 5  คนพร้อมทั้งมีการแบ่งบทบาทหน้าที่การทำงานที่ชัดเจน

    - กลุ่มเป้าหมายที่แบ่งออกตามกลุ่มอาชีพ จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มปลูกผัก กลุ่มเพาะต้นอ่อน กลุ่มผลิตปลาแดดเดียว และ กลุ่มร้านค้า

 

40 0

6. การสำรวจเก็บข้อมูลกลุ่มอาชีพ และทุนในชุมชน ข้อมูลกลุ่มเปราะบางที่ต้องการความช่วยเหลือ พร้อมจัดทำแผนที่ทรัพยากรในชุมชน ให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

วันที่ 27 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผู้ทำการเก็บแบบสอบถาม จำนวน 5 คน ประกอบด้วย

  1. นายวินัย บุญสำราญ

  2. นางสาวธนัญญา เม่งช่วย

  3. นางรวงทอง แป๊ะจอน

  4. น.ส.สิริรัตน์ เดชเส้ง

  5. น.ส.ปิยนันต์ แสงจันทร์ศิริ

โดยคณะเก็บแบบสำรวจจะทำการแบ่งเก็บข้อมูลเป็นเวลา 2 วัน คือวันที่ 27 ตุลาคม 2565 และวันที่ 28 ตุลาคม 2565

ในการเก็บแบบสอบถามจะลงเก็บตามพื้นที่ชุมชนต่างๆ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายในการเก็บจำนวน 40 คน เป็นการเก็บแบบสำรวจ ตามกลุ่มอาชีพและทุนในชุมชน ข้อมูลกลุ่มเปราะบางที่ต้องการความช่วยเหลือ รวมทั้งจัดทำแผนที่ทรัพยากรในชุมขน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. แบบสำรวจเก็บข้อมูลแล้ว  จำนวน 40 ชุด

 

40 0

7. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

นางสาวสิริรัตน์ เดชเส้ง ทำหน้าที่ประสานงานคณะทำงานโครงการให้มาประชุม ณ ศูนย์บ่อยางสงขลาพึ่งพาตนเอง ในเวลา 09.00 น.

นางสาวปิยฉัตร อยู่ยงค์ รับผิดชอบการจัดเตรียมอาหารว่างและอาหารเที่ยงให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม

นางสาวปิยพร ผิวนวล และนางสาวบงกช สุวรรณรัตน์ รับผิดชอบเรื่องการจัดสถานที่และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้ในการประชุม

นางสาวปิยนันต์ แสงจันทร์ศิริ ทำหน้าที่บันทึกการประชุม

เวลา 09.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ที่ปรึกษาโครงการได้ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดการประชุมในครั้งนี้ โดยเรื่องที่จะประชุมประกอบไปด้วย การติดตามผลการจัดเวทีชี้แจงโครงการ เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2565 / การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลแบบสำรวจที่ได้ดำเนินการเก็บเมื่อวันที่ 27-28 ตุลาคม 2565 / แผนการดำเนินงานสำหรับการจัดกิจกรรมและเวทีตามปฏิทินกิจกรรมที่ได้กำหนดไว้ (กิจกรรมที่ 4-5-6)

เวลา 09.10 น. -12.00 น. คณะทำงานได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยเริ่มจากสังเคราะห์ข้อมูลจากแบบสำรวจข้อมูลกลุ่มเปราะบางและจัดหมวดหมู่กลุ่มเป้าหมายโดยแยกตามกลุ่มอาชีพ 4 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มปลูกผัก กลุ่มเพาะต้นอ่อน กลุ่มผลิตปลาแดดเดียว และกลุ่มร้านค้า และได้มีการจัดทำรายชื่อกลุ่มเป้าหมายแบ่งตามกลุ่มอาชีพ

เวลา 12.00 น. - 13.00 น. คณะทำงานรับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 13.00 น. - 15.00 น. คณะทำงานได้ร่วมกันออกแบบและเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมตามปฏิทินกิจกรรม ซึ่งประกอบไปด้วย กิจกรรมที่ 4 คือ เวทีชี้แจงดำเนินตามกลุ่มอาชีพที่ได้รับมอบหมายไว้ / กิจกรรมที่ 5 เวทีกำหนดกติกลุ่ม และกิจกรรมที่ 6 การจัดอบรมแผนธุรกิจ เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมมีความสอดคล้องและมีความต่อเนื่อง โดยมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะทำงานในแต่ละกิจกรรม และออกแบบกำหนดการในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง

เวลา 15.00 น. - 15.50 น. คณะทำงานได้ทำการสรุปรายชื่อกลุ่มเป้าหมายที่แยกตามกลุ่มอาชีพ / แผนการดำเนินงานสำหรับกิจกรรมที่ 4-5-6 โดยมี น.ส.ปิยนันต์ แสงจันทร์ศิริ เป็นผู้พิมพ์รายงานและปริ้นท์แจกแก่คณะทำงาน

เวลา 15.50 น. - 16.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ทำหน้าที่สรุปผลการประชุมให้คณะทำงานโครงการรับทราบและปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. รายชื่อกลุ่มเป้าหมายแยกตามกลุ่มอาชีพ 4 กลุ่ม ประกอบด้วย

1.1 กลุ่มปลูกผัก มีสมาชิก จำนวน 19 คน

1.2 กลุ่มเพาะต้นอ่อน มีสมาชิก จำนวน 4 คน

1.3 กลุ่มผลิตปลาแดดเดียว มีสมาชิก จำนวน 3 คน

1.4 กลุ่มร้านค้า มีสมาชิก จำนวน 14 คน


2. แผนการดำเนินกิจกรรมที่ 4-5-6 จำนวน 1 ชุด

 

5 0

8. เวทีประชุมกำหนดกติกากลุ่มในการดำเนินโครงการ เชิญกลุ่มเป้าหมายร่วมทำข้อตกลงด้วยกันเพื่อให้โครงการขับเคลื่อนไปตามแผนที่วางไว้

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 09.00 น. – 09.30 น. ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 40 คนลงทะเบียน ณ วิสาหกิจชุมชนสวนผักกลางป่าสน 21/27 ถนนแหลมสนอ่อน

เวลา 09.30 น. - 09.40 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ที่ปรึกษาโครงการกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม และชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร่วมกันคิดและกำหนดกติกากลุ่มในการดำเนินโครงการ

เวลา 09.40 น. – 12.00 น. ผู้เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมกันออกแบบการทำงานของกลุ่ม โดยการกำหนดกติการ่วมของแต่ละกลุ่มอาชีพ ซึ่งนางบุณย์บังอร ชนะโชติ ได้แจ้งข้อระเบียบบังคับของวิสาหกิจชุมชนฯ ให้ผู้เข้าร่วมประชุมรับทราบ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดกติการร่วมกัน

เวลา 12.00 น. – 13.00 น. ผู้เข้าร่วมประชุมรับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 13.00 น. – 14.30 น. ผู้เข้าร่วมประชุมลงมติกำหนดกติกากลุ่มในการดำเนินโครงการ เพื่อให้โครงการสามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายของโครงการ

เวลา 14.30 น. – 15.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ได้สรุปกติกากลุ่มอาชีพให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรับทราบ และกล่าวปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 40 คน

  2. ข้อตกลงร่วม จำนวน 4 ข้อ ดังนี้

...ข้อ 1 กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมี 4 กลุ่มอาชีพ ทุกคนต้องสมัครเป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชนสวนผักกลางป่าสน โดยยึดข้อระเบียบบังคับของวิสาหกิจชุมชนฯ เป็นหลักสำคัญในการทำงานร่วมกัน

...ข้อ 2 ที่ประชุมมีมติว่า กรณีโครงการนี้สิ้นสุดลง ให้มีการทำงานตามกลุ่มอาชีพกันต่อไป

...ข้อ 3 สมาชิกวิสาหกิจชุมชนสวนผักกลางป่าสน มีนัดหมายประชุมทุก 4 เดือน ปีละ 3 ครั้ง

  • ประชุมครั้งที่ 1 ของปีคือ เดือนเมษายน

  • ประชุมครั้งที่ 2 ของปีคือ เดือนสิงหาคม

  • ประชุมครั้งที่ 3 ของปีคือ เดือนธันวาคม

ทั้งนี้สมาชิกจะลาประชุมได้เพียง 1 ครั้งต่อปี หรือหากมีความจำเป็นไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ สมาชิกสามารถมอบหมายตัวแทนเข้าร่วมประชุมได้

...ข้อ 4 รายงานการเงินและบัญชีของวิสาหกิจชุมชนสวนผักกลางป่าสนจะมีการรายงานสาธารณะเพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้

 

40 0

9. เวทีชี้แจงดำเนินการตามกลุ่มอาชีพที่ได้รับมอบหมายไว้ ให้อุปกรณ์และลงมือปัฏิบิติตามอาชีพและพื้นที่ของตัวเอง

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

แต่่ละกลุ่มอาชีพได้ดำเนินการจัดซื้ออุปกรณ์ วัตถุดิบ และลงมือปฏิบัติตามอาชีพและพื้นที่ของตัวเอง ประกอบด้วยกลุ่มอาชีพ 4 กลุ่ม คือ

  1. กล่่มปลูกผัก

  2. กลุ่มเพาะต้นอ่อน

  3. กลุ่มผลิตปลาแดดเดียว

  4. กลุ่มร้านค้า

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. หน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิกในแต่ละกลุ่มอาชีพ จำนวน 4 กลุ่ม

  2. งบประมาณและแนวทางปฏิบัติตามอาชีพและพื้นที่ของสมาชิก

 

40 0

10. กิจกรรมอบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานโครงการ ประกอบด้วย 1. นางสาวสิริรัตน์ เดชเส้ง ผู้รับผิดชอบโครงการ 2. นายอรรถพล ฟ่ามวัน ผู้รวมทำโครงการ 3. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ที่ปรึกษาโครงการ
ได้เดินทางเข้าร่วมการอบรมที่จังหวัดปัตตานี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คณะทำงานได้............

 

3 0

11. อบรมการจัดทำแผนธุรกิจ และการจัดการธุรกิจจัดส่งอาหารไปถึงผู้บริโภค

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมอบรมการจัดทำแผนธุรกิจและการจัดการธุรกิจจัดส่งอาหารไปถึงผู้บริโภค ใช้วิธีการอบรมแบบกลุมย่อย โดยมีนางบุณย์บังอร ชนะโชติ ทำหน้าที่เป็นวิทยากร

ครั้งที่ 1 จัดอบรมวันที่ 20 พฤศจิกายน 2565 (จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 19 คน - กลุ่มปลูกผัก)

ครั้งที่ 2 จัดอบรมวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 (จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 14 คน - กลุ่มร้านค้า)

ครั้งที่ 3 จัดอบรมวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 (จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 7 คน - กลุ่มผลิตปลาแดดเดียวและกลุ่มเพาะต้นอ่อน)


กำหนดการจัดกิจกรรม

เวลา 09.00 น. ผู้เข้าร่วมประชุมลงทะเบียน ณ ศูนย์บ่อยางสงขลาพึ่งพาตนเอง

เวลา 09.20 น. นางสาวสิริรัตน์ เดชเส้ง ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม

เวลา 09.30 น. - 12.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ (วิทยากร) ได้อธิบายและให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนธุรกิจในแต่ละกลุ่มอาชีพ เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมของแต่ละกลุ่มอาชีพสามารถบรรลุผลลตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แนะนำตัวและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในประกอบอาชีพที่ผ่านมา จากนั้นผู้เข้าร่วมโครงการได้ร่วมกันร่างแผนที่ทรัพยากรในชุมชน / ทุนที่มีในชุมชน / ข้อดีและข้อเสียของการดำเนินกิจกรรมตามกลุ่มอาชีพ / จำนวนกลุ่มเปราะบางในชุมชนที่ต้องการความช่วยเหลือ โดยมีวิทยากรเป็นผู้ให้ความรู้และคำแนะนำแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาทำให้เกิดรายได้และต่อยอดเป็นอาชีพหลักที่สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้

เวลา 12.00 น. - 13.00 น. ผู้เข้าร่วมประชุมรับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 13.00 น. - 14.30 น. วิทยากรได้ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมช่วยกันออกแบบและร่างแผนธุรกิจตามกลุ่มอาชีพ โดยมีวิทยากรเป็นผู้คอยให้ความรู้และแนวทางในการออกแบบแผนธุรกิจ

เวลา 14.30 น. - 15.30 น. วิทยากรให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มอาชีพออกมานำเสนอแบบแผนการดำเนินธุรกิจตามกลุ่มอาชีพของตน

เวลา 15.30 น. - 16.00 น. วิทยากรสรุปผลการทำแผนธุรกิจให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

เวลา 16.00 น. ตัวแทนผู้เข้าร่วมกิจกรรมกล่าวขอบคุณวิทยากรและกล่าวปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ข้อมูลของกลุ่มอาชีพ จำนวน 4 กลุ่ม ประกอบด้วย

...1.1 กลุ่มปลูกผัก จำนวน 19 คน

...1.2 กลุ่มร้านค้า จำนวน 14 คน

...1.3 กลุ่มผลิตปลาแดดเดียว จำนวน 3 คน

...1.4 กลุ่มเพาะต้นอ่อน จำนวน 4 คน

  1. ผังแสดงข้อมูลแผนที่ทรัพยากร/ทุน ในชุมชน จำนวน 8 ชุมชน

  2. แผนการดำเนินธุรกิจตามกลุ่มอาชีพ จำนวน 4 แผน

 

40 0

12. เปิดครัวชุมชนแหลมสนอ่อนเพื่อร่วมกันผลิตอาหารใช้ชื่อว่า " ครัวปิ่นโดตุ้มตุ้ย" ประชาสัมพันธ์รับออเดอร์

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ครัวปิ่นโตตุ้มตุ้ย เปิดครัวพร้อมให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00 น. ทุกวัน

โดยทางครัวจะมีการเตรียมอาหารตามออเดอร์ที่ลูกค้าได้ทำการสั่งล่วงหน้าไว้

สมาชิกของครัวปิ่นโตตุ้มตุ้ยจะประกอบไปด้วย แม่ครัวที่เป็นผู้ปรุงอาหารหลักจำนวน  2 คน ผู้ช่วยแม่ครัว 1 คน และผู้ทำหน้าที่ซื้อของจ่ายตลาดจำนวน 1 คน

โดยรูปแบบการบรรจุอาหารจะมีทั้งแบบกล่องและแบบบรรจุในปิ่นโต การประกอบอาหารจะแล้วเสร็จในเวลา 10 โมงเช้า เพื่อให้ทันพร้อมส่งให้แก่ลูกค้าได้รับประทานในมื้อกลางวัน

โดยผู้ที่ทำหน้าที่ในการจัดส่งปิ่นโตตามจุดรับต่างๆ คือ กลุ่มกระปุกอ้วน

กลุ่มลูกค้าเป้าหมายจะเป็นลูกค้าที่พักอาศัยที่บ้านและลูกค้าตามสำนักงานต่างๆ

โดยทางครัวจะมีการลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ตามหน่วยงานและบ้านที่อยู่อาศัยในพื้นที่ต่างๆ เป็นการเพิ่มกลุ่มลูกค้าและขยายกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ครัวปิ่นโตตุ้มตุ้ยเป็นแหล่งสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่คนในชุมชน รวมทั้งกลุ่มอาชีพในโครงการที่สามารถนำผลผลิตมาจำหน่ายให้แก่ทางครัวปิ่นโตตุ้มตุ้ย ก่อให้เกิดช่องทางการจำหน่ายและมีรายได้ที่มั่นคง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. เกิดเมนูอาหารปรุงสุกใหม่อย่างน้อยวันละ 3 เมนู

  2. จำนวนลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย 100-150 คน

  3. กลุ่มอาชีพในโครงการมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิต ทั้ง 4 กลุ่มอาชีพ

 

40 0

13. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 4

วันที่ 6 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

นางสาวสิริรัตน์ เดชเส้ง ทำหน้าที่ประสานงานคณะทำงานโครงการให้มาประชุม ณ ศูนย์บ่อยางสงขลาพึ่งพาตนเอง ในเวลา 09.00 น.

นางสาวปิยฉัตร อยู่ยงค์ รับผิดชอบการจัดเตรียมอาหารว่างและอาหารเที่ยงให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม

นางสาวปิยพร ผิวนวล และนางสาวบงกช สุวรรณรัตน์ รับผิดชอบเรื่องการจัดสถานที่และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้ในการประชุม

นางสาวปิยนันต์ แสงจันทร์ศิริ ทำหน้าที่บันทึกการประชุม

เวลา 09.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ที่ปรึกษาโครงการได้ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดการประชุมในครั้งนี้ โดยเรื่องที่จะประชุม คือ การติดตามความก้าวหน้าของกิจกรรมในโครงการและประเมินผลกิจกรรมที่ได้ทำมา

เวลา 09.10 น. -12.00 น. คณะทำงานได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมทั้งร่วมกันประเมินผลกิจกรรมที่ได้ทำมา ได้แก่ กิจกรรมที่ 5 คือ เวทีประชุมกำหนดกติการกลุ่มในการดำเนินโครงการที่ได้เชิญกลุ่มเป้าหมายมาร่วมทำข้อตกลง และกิจกรรมที่ 6 คือ กิจกรรมอบรมการจัดทำแผนธุรกิจและการจัดการธุรกิจจัดส่งอาหารไปถึงผู้บริโภค

เวลา 12.00 น. - 13.00 น. คณะทำงานพักรับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 13.00 น. - 13.40 น. คณะทำงานได้ทำการสรุปผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา และวางแผนการติดตามความก้าวหน้าของกิจกรรมโครงการ

เวลา 13.40 น. - 14.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ทำหน้าที่สรุปผลการประชุมให้คณะทำงานโครงการรับทราบและปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. รายงานผลการดำเนินกิจกรรม จำนวน 1 ฉบับ

 

5 0

14. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 5

วันที่ 4 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

นางสาวสิริรัตน์ เดชเส้ง ทำหน้าที่ประสานงานคณะทำงานโครงการให้มาประชุม ณ ศูนย์บ่อยางสงขลาพึ่งพาตนเอง ในเวลา 09.00 น.

นางสาวบงกช สุวรรณรัตน์ รับผิดชอบการจัดเตรียมอาหารว่างและอาหารเที่ยงให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม

นางสาวปิยพร ผิวนวล รับผิดชอบเรื่องการจัดสถานที่และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้ในการประชุม

นางสาวปิยนันต์ แสงจันทร์ศิริ ทำหน้าที่บันทึกการประชุม

เวลา 09.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ที่ปรึกษาโครงการได้ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดการประชุมในครั้งนี้ โดยเรื่องที่จะประชุม คือ การติดตามความก้าวหน้าของกิจกรรมโครงการ / งานเอกสารบัญชีการเงินของกิจกรรมต่างๆ และการวางแผนการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย

เวลา 09.10 น. -12.00 น. คณะทำงานได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมทั้งติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของกลุ่มอาชีพทั้ง 4 กลุ่ม และตรวจสอบเอกสารบัญชีการเงินของกิจกรรมต่างๆ ที่ผ่านมา

เวลา 12.00 น. - 13.00 น. คณะทำงานพักรับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 13.00 น. - 13.40 น. คณะทำงานได้ทำการสรุปผลการดำเนินกิจกรรม และจัดทำตารางกิจกรรมภาคีเครือข่ายที่มีแผนจะเข้ามาพัฒนาชุมชนไปพร้อมกับการทำกิจกรรมของโครงการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มอาชีพให้มีความมั่นคง

เวลา 13.40 น. - 14.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ทำหน้าที่สรุปผลการประชุมให้คณะทำงานโครงการรับทราบและปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ตารางกิจกรรมภาคีเครือข่าย จำนวน 1 ฉบับ

 

5 0

15. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 6

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

นางสาวสิริรัตน์ เดชเส้ง ทำหน้าที่ประสานงานคณะทำงานโครงการให้มาประชุม ณ ศูนย์บ่อยางสงขลาพึ่งพาตนเอง ในเวลา 09.00 น.

นางสาวปิยฉัตร อยู่ยงค์ รับผิดชอบการจัดเตรียมอาหารว่างและอาหารเที่ยงให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม

นางสาวปิยพร ผิวนวล, นางสาวอภิญญา ชนะโชติ และนางสาวบงกช สุวรรณรัตน์ รับผิดชอบเรื่องการจัดสถานที่และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้ในการประชุม

นางสาวปิยนันต์ แสงจันทร์ศิริ ทำหน้าที่บันทึกการประชุม

เวลา 09.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ที่ปรึกษาโครงการได้ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดการประชุมในครั้งนี้ โดยเรื่องที่ประชุม คือ การเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดกิจกรรม ARE เวทีสะท้อนผลลัพธ์ของโครงการ ที่จะจัดทำขึ้นวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566

เวลา 09.10 น. -12.00 น. คณะทำงานได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และร่วมกันออกแบบสถานที่ ข้อมูลที่จะนำเสนอ และการเชิญกลุ่มเป้าหมายมาร่วมกิจกรรม รวมทั้งหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะทำงานในกิจกรรมดังกล่าว

เวลา 12.00 น. - 13.00 น. คณะทำงานรับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 13.00 น. - 16.40 น. คณะทำงานได้ทำการสรุปผลรูปแบบเวทีที่จะจัดขึ้นในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 และได้ดำเนินการพิมพ์เอกสารที่ต้องการนำเสนอให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งการจัดทำบอร์ดแสดงผลงานของกลุ่มอาชีพทั้ง 4 กลุ่ม / ปัญหาและอุปสรรคของกลุ่มอาชีพแต่ละกลุ่ม รวมทั้งผังทรัพยากรของชุมชน

เวลา 16.40 น. - 17.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ทำหน้าที่สรุปผลการประชุมให้คณะทำงานโครงการรับทราบและปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 จำนวน 40 คน

  2. กำหนดการ เวทีสะท้อนผลลัพธ์ของโครงการ (ARE) ที่จัดขึ้นในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 จำนวน  1 ฉบับ

  3. บอร์ดแสดงรายชื่อคณะทำงาน / กลุ่มอาชีพในโครงการ / ปัญหาและอุปสรรคของแต่ละกลุ่มอาชีพ / ผังทรัพยากรชุมชน จำนวน 1 ชุด

 

5 0

16. เวทีสะท้อนผลลัพธ์โครงการ ARE

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ทำหน้าที่ประสานงานเชิญกลุ่มเป้าหมายมาร่วมกิจกรรม ณ ศูนย์บ่อยางสงขลาพึ่งพาตนเอง ในเวลา 13.00 น.

นางสาวบงกช สุวรรณรัตน์ รับผิดชอบการจัดเตรียมอาหารว่างให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม

นางสาวปิยพร ผิวนวล และ นางสาวอภิญญา ชนะโชติ รับผิดชอบเรื่องการจัดสถานที่และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้ในการประชุม

นางสาวปิยนันต์ แสงจันทร์ศิริ ทำหน้าที่บันทึกการประชุม

เวลา 13.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ที่ปรึกษาโครงการได้ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดการจัดเวทีสะท้อนผลลัพธ์ของโครงการ

เวลา 13.10 น. - 14.30 น. ตัวแทนกลุ่มอาชีพทั้ง 4 กลุ่ม ได้ออกมาเล่าเรื่องราวและสะท้อนประสบการณ์การการทำกิจกรรม ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นของกลุ่มอาชีพของตนเอง การจัดทำบัญชีครัวเรือน ผลประกอบการของแต่ละกลุ่มอาชีพ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางในการพัฒนากลุ่มอาชีพให้มีความยั่งยืนต่อไปแม้จะจบโครงการไปแล้ว

เวลา 14.30 น. - 15.00 น. ตัวแทนจากภาคีเครือข่าย (กองทุน WWF) ได้เข้ามาแนะนำตัวกับผู้ร่วมประชุม พร้อมทั้งนำเสนอแนวทางในการจัดการสิ่งแวดล้อมและขยะไปพร้อมๆ กับการทำกิจกรรมของโครงการ เช่น การใช้ขวดพลาสติกหรือแกลอนเก่ามาแปลงสภาพเป็นกระถางไว้เพื่อเพาะปลูกต้นไม้

เวลา 15.00 น. - 15.30 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ทำหน้าที่สรุปผลกิจกรรมเวทีสะท้อนผลลัพธ์โครงการแต่ละกลุ่มอาชีพ และปิดเวที

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 40 คน
  2. รายงานสรุปผลการดำเนินกิจกรรมแยกตามกลุ่มอาชีพ จำนวน 4 กลุ่ม

 

40 0

17. เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจฐานราก ในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด 19 พื้นที่ภาคใต้

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

09.30 น. ..... กล่าวเปิดงาน และแนะนำคณะทำงานของโครงการแต่ละโครงการในพื้นที่เขตภาคใต้

10.00 น.  พี่เลี้ยงทำการแบ่งกลุ่มโครงการ โดยใน 1 กลุ่ม จะประกอบไปด้วยโครงการจากหลายพื้นที่  เพื่อให้คณะทำงานแต่ละโครงการรายงานผลความคืบหน้าต่อพี่เลี้ยงโครงการ โดยจะให้คณะทำงานแต่ละโครงการเขียนสรุปผลการดำเนินงานลงในกระดาษ และนำเสนอต่อพี่เลี้ยง เพื่อให้พี่เลี้ยงช่วยแนะนำและปรับแก้ไขข้อมูลในส่วนที่คณะทำงานยังไม่เข้าใจ

12.30 น.  ผู้ร่วมกิจกรรมพักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00 น. พี่เลี้ยงเพิ่มเติมข้อมูลจากคณะทำงานแต่ละโครงการ เช่น กิจกรรมที่ต้องการเพิ่ม/เปลี่ยน, เป้าหมายปรับแก้ในอนาคต, ข้อเสนอที่ต้องการเพิ่มเติมจาก Node, ปัญหาและอุปสรรคที่พบในกิจกรรม, การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย เป็นต้น

14.00 - 16.00 น. พี่เลี้ยงนำเสนอผลลัพธ์การดำเนินกิจกรรมต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม

16.00 น. ..........  กล่าวปิดเวที

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ...... แผนงาน 1 ฉบับ

 

3 0

18. เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจฐานราก ในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด 19 พื้นที่ภาคใต้

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

09.00 น. ......กล่าวเปิดเวทีเป็นวันที่ 2 และแจ้งกำหนดการการทำกิจกรรมให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมรับทราบ

09.20 น. ......... นำเสนอการลงบันทึกข้อมูลของการทำกิจกรรมแต่ละกิจกรรมลงเว็บไซต์คนสร้างสุข โดยได้สอนวิธีการเข้าใช้งาน และวิธีการจัดหมวดกิจกรรมรวมทั้งการแนบไฟล์เอกสาร

11.00 น. ...... ได้แนะนำวิธีการจัดทำงบการเงินของกิจกรรมแต่ละโครงการ วิธีการบันทึกและรูปแบบเอกสาร การแยกประเภทหมวดหมู่ค่าใช้จ่ายแก่ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละโครงการ

12.00 น. ผู้เข้าร่วมประชุมพักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00 น. ......... กล่าวปิดเวทีการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. วิธีการบันทึกข้อมูลกิจกรรมของโครงการบนเว็บไซต์ คนสร้างสุข

  2. วิธีการจัดหมวดหมู่ค่าใช้จ่ายของกิจกรรมในโครงการ

 

3 0

19. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 7

วันที่ 5 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

นางสาวสิริรัตน์ เดชเส้ง ทำหน้าที่ประสานงานคณะทำงานโครงการให้มาประชุม ณ ศูนย์บ่อยางสงขลาพึ่งพาตนเอง ในเวลา 09.00 น.

นางสาวบงกช สุวรรณรัตน์ รับผิดชอบการจัดเตรียมอาหารว่างและอาหารเที่ยงให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม

นางสาวปิยพร ผิวนวล รับผิดชอบเรื่องการจัดสถานที่และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้ในการประชุม

นางสาวปิยนันต์ แสงจันทร์ศิริ ทำหน้าที่บันทึกการประชุม

เวลา 09.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ที่ปรึกษาโครงการได้ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดการประชุมในครั้งนี้ โดยเรื่องที่จะประชุม คือ การติดตามความก้าวหน้าของกิจกรรมโครงการ / ติดตามและประเมินผลการดำเนินกิจกรรม / เคลียร์เอกสารการเงิน

เวลา 09.10 น. -12.00 น. คณะทำงานได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีเนื้อหาสรุป ดังนี้

  • แบ่งหน้าที่คณะทำงานทุกคน ให้ติดตามประเมินผลตามกลุ่มอาชีพ และให้สรุปผลส่ง เพื่อประเมินสถาการณ์การดำเนินกิจกรรม / และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา

  • เอกสารการเงินบางส่วนยังไม่ถูกต้องและชัดเจน จึงให้กลับไปแก้ไขใหม่ (การออกบิล)

  • ติดตามกลุ่มเป้าหมายเรื่องบัญชีครัวเรือน ว่ากลุ่มเป้าหมายได้มีการทำบัญชีครัวเรือนตามที่คณะทำงานได้สอนบ้างหรือไม่ / มีปัญหาและอุปสรรคอย่างไรในการทำ หรือต้องการให้คณะทำงานช่วยเหลือในด้านใดเพิ่มเติม

เวลา 12.00 น. - 13.00 น. คณะทำงานพักรับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 13.00 น. - 13.40 น. คณะทำงานได้ทำการสรุปผลการดำเนินกิจกรรม

เวลา 13.40 น. - 14.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ทำหน้าที่สรุปผลการประชุมให้คณะทำงานโครงการรับทราบและปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คณะทำงานได้รับหน้าที่ให้ติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มเป้าหมายโดยแบ่งตามกลุ่มอาชีพ

  2. คณะทำงานเรียนรู้วิธีการทำเอกสารการเงินในรูปแบบที่ถูกต้อง

3.  คณะทำงานได้รับมอบหมายให้ติดตามผลการทำบัญชีครัวเรือนจากกลุ่มเป้าหมาย

 

5 0

20. ประชุม Zoom Topic SoHappi training on content creation

วันที่ 20 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

น.ส.ปิยนันต์ แสงจันทร์ศิริ เป็นตัวแทนของคณะทำงานโครงการเข้าร่วมประชุมกับหน่วยจัดการ ในวันที่ 20-21 พฤษภาคม 2566 ผ่านระบบ Zoom ในหัวข้อ SoHappi training on content creation

โดยในกิจกรรมจะมีวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบแคปชั่นที่ช่วยสร้างความน่าดึงดูดใจให้กับสินค้า โดยใช้ช่องทางการสร้างผ่านแอปพลิเคชั่น Canva ซึ่งวิทยากรจะแนะนำขั้นตอนและวิธีการสร้างรูปแบบ / การใส่รูปภาพ / การใส่ข้อความ ให้มีความน่าสนใจ

ในการประชุมครั้งนี้ วิทยากรได้เชิญชวนให้ตัวแทนผู้ที่เข้าร่วมประชุม ได้ลองสร้างชิ้นงานผ่านแอปพลิเคชั่น Canva เพื่อเป็นการฝึกฝนและสามารถนำไปใช้งานได้จริง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ผู้เรียนรู้สามารถใช้งานการสร้างผลงานผ่านแอปพลิเคชั่น Canva

  2. ผู้เรียนรู้ส่งผลงานการออกแบบชิ้นงานผ่านแอปพลิเคชั่น Canva ตามที่วิทยากรสอน

 

0 0

21. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 8

วันที่ 29 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

นางสาวสิริรัตน์ เดชเส้ง ทำหน้าที่ประสานงานคณะทำงานโครงการให้มาประชุม ณ ศูนย์บ่อยางสงขลาพึ่งพาตนเอง ในเวลา 09.00 น.

นางสาวบงกช สุวรรณรัตน์ รับผิดชอบการจัดเตรียมอาหารว่างและอาหารเที่ยงให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม

นางสาวปิยพร ผิวนวล รับผิดชอบเรื่องการจัดสถานที่และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้ในการประชุม

นางสาวปิยนันต์ แสงจันทร์ศิริ ทำหน้าที่บันทึกการประชุม

เวลา 09.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ที่ปรึกษาโครงการได้ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดการประชุมในครั้งนี้ โดยเรื่องที่จะประชุม คือ การติดตามความก้าวหน้าของกิจกรรมโครงการ / ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของแต่ละกลุ่มอาชีพ โดยมีตัวแทนกลุ่มอาชีพเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ด้วย

เวลา 09.10 น. -12.00 น. คณะทำงานและตัวแทนกลุ่มอาชีพได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมทั้งติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของกลุ่มอาชีพทั้ง 4 กลุ่ม มีเนื้อหาสรุป ดังนี้

  • นางเอื้อมพร พงศ์รัตน์ ตัวแทนกลุ่มปลูกผัก ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาที่พบจากการดำเนินกิจกรรม คือ ปัญหาศัตรูพืช ซึ่งเป็นหาสำคัญที่อยากให้คณะทำงานเชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งทางคณะทำงานได้แนะนำกิจกรรมของภาคีเครือข่ายที่สามารถเข้าร่วมเรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะและความรู้เกี่ยวกับการปลูกผัก คือ กิจกรรมสวนผักคนเมือง ที่มีการจัดกิจกรรมทุกเดือน โดยการนำผู้เชี่ยวชาญ/วิทยากร มาให้ความรู้ แนะนำ สาธิตวิธีการ และนำเมล็ดพืชหรือต้นกล้ามาแจกให้แก่ชาวบ้านที่สนใจในกิจกรรมปลูกผัก

  • นางพรทิพย์ ขาวเขียว ตัวแทนกลุ่มปลาแดดเดียว ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาที่พบจากการดำเนินกิจกรรม คือ ปัญหาสภาพอากาศที่ไม่เอื้อต่อการทำปลาแดดเดียว เนื่องจากการทำปลาแดดเดียวจำเป็นต้องใช้เวลาหลายวันในการนำปลาไปตากแดด แต่เนื่องจากแสงแดดที่มีไม่สม่ำเสมอ บางวันแดดจัด บางวันไม่มีแดด ทำให้ผลผลิตที่ได้ มีคุณภาพที่ไม่เป็นไปตามความต้องการ หากจะขยายเป็นการทำค้าขายแบบใหญ่ขึ้น อาจจะต้องใช้เครื่องมือที่ช่วยให้การทำปลาแดดเดียวง่าย และมีคุณภาพที่เป็นมาตรฐานยิ่งขึ้น


เวลา 12.00 น. - 13.00 น. คณะทำงานพักรับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 13.00 น. - 13.40 น. คณะทำงานได้ทำการสรุปผลการดำเนินกิจกรรม โดยมีการนัดหมายสำหรับกลุ่มอาชีพปลูกต้นอ่อน และ กลุ่มปลูกผัก รวมทั้งกลุ่มอื่นที่สนใจ เข้าร่วมกิจกรรม สวนผักคนเมือง เพื่อเพิ่มความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักและหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากวิทยากร/ผู้เชี่ยวชาญ

เวลา 13.40 น. - 15.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ทำหน้าที่สรุปผลการประชุมให้คณะทำงานโครงการรับทราบและปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. แผนการแก้ไขปัญหาของกลุ่มอาชีพปลูกผัก โดยจะทำการนัดหมายเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมจากภาคีเครือข่าย ในกิจกรรมสวนผักคนเมือง

  2. ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นของกลุ่มอาชีพปลูกผัก และ ปลาแดดเดียว

 

5 0

22. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 9

วันที่ 5 กรกฎาคม 2566 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

นางสาวสิริรัตน์ เดชเส้ง ทำหน้าที่ประสานงานคณะทำงานโครงการให้มาประชุม ณ ศูนย์บ่อยางสงขลาพึ่งพาตนเอง ในเวลา 11.00 น.

นางสาวบงกช สุวรรณรัตน์ รับผิดชอบการจัดเตรียมอาหารว่างและอาหารเที่ยงให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม

นางสาวอภิญญา ชนะโชติ ทำหน้าที่บันทึกการประชุม

เวลา 11.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ได้ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดการประชุมในครั้งนี้ โดยเรื่องที่จะประชุม คือ การติดตามความก้าวหน้าของกิจกรรม และสรุปผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ ร่วมกับ นายอุบัยดิลละห์ หาแว (พี่เลี้ยงโครงการ)

เวลา 11.10 น. – 12.00 น. คณะทำงานได้ทำการจัดเตรียมเพื่อนำเสนอต่อพี่เลี้ยงโครงการ

เวลา 12.00 น. – 13.00 น. คณะทำงานรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน

เวลา 13.20 น. นายอุบัยดิลละห์ หาแว ได้ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดของการประชุม โดยได้มีการสรุปผลการดำเนินกิจกรรมร่วมกับคณะทำงานและตัวแทนกลุ่มอาชีพ มีเนื้อหาสรุป ดังนี้

  • บันไดผลลัพธ์ ขั้นที่ 1 คณะทำงานโครงการมีความสามารถในการขับเคลื่อนงานโครงการ และเกิดข้อตกลงร่วมกันพร้อมภาคี

  • บันไดผลลัพธ์ ขั้นที่ 2 เกิดกลไกกลางรวมกลุ่มอาชีพ พร้อมทำแผนการทำงานที่ชัดเจนตามที่วางไว้

  • บันไดผลลัพธ์ ขั้นที่ 3 กลุ่มสามารถสร้างอาชีพที่เกิดจากการทำผลผลิตของกลุ่มมาปรุงเป็นเมนูทำอาหารที่สะอาด ปลอดภัย และราคาที่เหมาะสม จำหน่ายให้แก่กลุ่มลูกค้าในเมือง

  • บันไดผลลัพธ์ ขั้นที่ 4 เกิดแผนธุรกิจดำเนินการ

  • ผลการเปลี่ยนแปลงสุขภาพ พบว่า กลุ่มเป้าหมาย มีการออกกำลังกาย สุขภาพดีขึ้น จิตใจเบิกบาน ในด้านอาหาร ก็มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น มีการทานผักที่ปลูกเอง มีการทำอาหารสุขภาพ และบริโภคอาหารที่ทำทานเองมากขึ้น ด้านความเครียดมีผลที่ลดลง เนื่องจากมีรายได้เพิ่มขึ้น รายจ่ายลดลง ด้านความสุข มีเพิ่มขึ้น จากการมองเห็นวิธีการแก้ปัญหา การได้เจอเพื่อนใหม่ๆ มีรายได้จากการทำกิจกรรม

  • ผลการเปลี่ยนแปลงรายจ่าย พบว่า กลุ่มเป้าหมาย มีรายจ่ายลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากการปลูกผักกินเอง มีโครงการสนับสนุน รู้จักบริหารจัดการวัตถุดิบ สามารถนำผลผลิตมาใช้งานได้จริง (เช่น น้ำยาล้างจานที่ทำเอง) การมีสังคมมากขึ้นทำให้มีการเอื้อเฟื้อแบ่งปันจากผู้ร่วมทำกิจกรรมและชาวบ้านในชุมชน

  • ผลการเปลี่ยนแปลงในแต่ละมิติ ทั้งระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน สามารถสรุปได้ คือ มิติของสังคม มีการรวมกลุ่มมากขึ้น มีการทำข้อตกลง การสร้างกติกา เป็นผลให้ความขัดแย้งลดลง มีการแบ่งปันกันมากขึ้น // ด้านเศรษฐกิจ มีรายจ่ายลดลง รายได้เพิ่มขึ้น เกิดเป็นธุรกิจครอบครัว มีลูกค้า มีกิจกรรมซื้อขาย มีชนิดของสินค้าที่เพิ่มขึ้น // ด้านสุขภาพ มีความเครียดลดลง ลดการใช้สารเคมี มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีขึ้น มีการออกกำลังกายมากขึ้น // ด้านสิ่งแวดล้อม มีผักที่ปลอดสารพิษ มีการลดใช้พลาสติก เพิ่มพื้นที่สีเขียว มีการเปลี่ยนใบไม้ให้เป็นรายได้ ขยะติดเชื้อลดลงเนื่องจากจำนวนคนป่วยลดลง เวลา 16.00 น. - 16.30 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ทำหน้าที่สรุปผลการประชุมให้คณะทำงานโครงการรับทราบและปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ผลสรุปของการดำเนินโครงการ ที่จะใช้ในการสรุปผลร่วมกับหน่วยจัดการ (15-16 กรกฎาคม 66)

  2. รายชื่อผู้ที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับบุคคลอื่นที่สนใจ และต้องการต่อยอดการดำเนินกิจกรรม (เช่น การปลูกผักสวนครัว แหล่งเรียนรู้ คือ นางเอื้อมพร พงศ์รัตน์ / ผักสลัด คือ นายอโณทัย พิทักษ์ธรรม / น้ำยาล้างจาน คือ น.ส.ปราณี แสงจันทร์ศิริ เป็นต้น)

 

5 0

23. เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจบนฐานราก

วันที่ 15 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

นางบุณย์บังอร ชนะโชติ และ น.ส.สิริรัตน์ เดชเส้ง เป็นตัวแทนของคณะทำงานโครงการ ได้เข้าร่วมประชุมใน เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจบนฐานราก ในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด 19 พื้นที่ภาคใต้ ณ โรงแรมเซาเทอร์น แอร์พอร์ต หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2566


ความน่าสนใจของการถอดบทเรียนเวทีวันนี้คือ
ตำบลหนึ่งในจังหวัดตรัง สำรวจข้อมูลหนี้สินพบว่า 1,000 ครัวเรือนมีหนี้สินรวม 80 ล้านบาท วิธีการแก้ไขหนี้สิน /จัดการหนี้สิน - เริ่มทำสวนผัก เพื่อลดรายจ่าย

  • ช่วยกันคิดหาวิธีจัดการหนี้

  • จัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. --------

 

0 0

24. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 10

วันที่ 24 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

นางสาวสิริรัตน์ เดชเส้ง ทำหน้าที่ประสานงานคณะทำงานโครงการให้มาประชุม ณ ที่ทำการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ชุมชนแหลมสนอ่อน ในเวลา 09.00 น.

นางสาวบงกช สุวรรณรัตน์ รับผิดชอบการจัดเตรียมอาหารว่างและอาหารเที่ยงให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม

นางสาวปิยพร ผิวนวล ทำหน้าที่จัดสถานที่และอุปกรณ์สำหรับการประชุม

นางสาวปิยนันต์ แสงจันทร์ศิริ ทำหน้าที่บันทึกการประชุม

เวลา 09.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ได้ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดการประชุมในครั้งนี้ โดยเรื่องที่จะประชุม คือ การจัดกิจกรรมในวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 / การจัดแสดงสินค้า / การวางแผนต่อยอดการผลิต

เวลา 09.10 น. – 12.00 น. คณะทำงานได้ร่วมแลกเปลี่ยนและหารือ มีเนื้อหาสรุปได้ดังนี้

  • คณะทำงานแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ สำหรับกิจกรรมในวันที่ 31 สิงหาคม 2566 เวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

  • คณะทำงานร่วมกันออกแบบรูปแบบการจัดสถานที่ / ป้ายแสดงผลงาน / การจัดแสดงผลผลิต และวางแผนต่อยอดการผลิต ซึ่งเป็นการเชิญภาคีเครือข่ายมาแนะนำแนวทาง วิธีการเพิ่มผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ และวิธีการจำหน่าย / ช่องทางการจัดจำหน่ายแบบใหม่ๆ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคมากขึ้น

เวลา 12.00 น. – 13.00 น. คณะทำงานรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน

เวลา 13.00 น. – 14.30 น. คณะทำงานร่วมกันทำการสรุปผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ เพื่อนำเสนอต่อกลุ่มเป้าหมายและภาคีเครือข่ายในเวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

เวลา 14.30 น. – 15.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ทำหน้าที่สรุปผลการประชุมให้คณะทำงานโครงการรับทราบและปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. แผนการจัดกิจกรรม วันที่ 31 สิงหาคม 2566

  2. หน้าที่ความรับผิดชอบของคณะทำงาน สำหรับการจัดกิจกรรมวันที่ 31 สิงหาคม 2566

 

5 0

25. เวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ เชิญภาคีที่เกี่ยวข้องร่วมรับฟัง

วันที่ 31 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กำหนดการ

09.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ได้กล่าวต้อนรับ และชี้แจงวัตถุประส่งค์ของการจัดกิจกรรม เวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ เชิญภาคีที่เกี่ยวข้องร่วมรับฟัง 09.10 น. - 12.00 น. ตัวแทนกลุ่มอาชีพทั้ง 4 กลุ่ม ได้ออกมานำเสนอผลงาน / ผลประกอบการ ของการดำเนินกิจกรรมโครงการที่ได้รับมอบหมาย 12.00 น. - 13.00 น. ผู้เข้าร่วมประชุมรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน 13.00 น. - 13.40 น. แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม Work shop วิเคราะห์หา SWOT ของแต่ละกลุ่มอาชีพ 13.40 น. - 15.00 น. ตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอผลการวิเคราะห ์ SWOT 15.00 น. - 16.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ได้กล่าวถึงแนวทางการต่อยอดโครงการ เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมยังมีความต่อเนื่องถึงแม้จะปิดโครงการแล้ว
16.00 น. ผู้ร่วมประชุมเดินทางกลับ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ผลการดำเนินงานกิจกรรมแต่ละกลุ่มอาชีพ ทั้ง 4 กลุ่ม
  2. สรุปผล SWOT ของแต่ละกลุ่มอาชีพ
  3. แนวทางการต่อยอดโครงการ

 

50 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพคนในชุมชนให้มีความรู้และทักษะด้านการเงิน และการบริหารจัดการในการประกอบอาชีพ
ตัวชี้วัด : ผลลัพธ์ 1.1 คณะทำงานโครงการที่มีความสามารถในการขับเคลื่อนงานโครงการและเกิดข้อตกลงร่วมกัน ตัวชี้วัด 1. เกิดคณะทำงานที่มาจากการคัดเลือกของกลุ่มเป้าหมาย อย่างน้อย 5คน 2. มีการติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และมีการประชุมสรุปผลการดำเนินงานทุกเดือน 3. เกิดกลไกหรือองค์กรเชื่อมโยงกล่มอาชีพ 4. เกิดข้อตกลงร่วมกันในการขับเคลื่อนโครงการเพื่อไปให้ถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้
40.00

 

2 เพื่อพัฒนากลุ่มเศรษฐกิจชุมชนโดยใช้รูปแบบการทำงานในพื้นที่จริงของชุมชนเมืองบ่อยาง
ตัวชี้วัด : 2 1 เกิดกลไกกลางการรวมกลุ่มอาชีพ พร้อมทำแผนการทำงานที่ชัดเจนตามที่วางไว้ 1. เกิดผลผลิตของแต่กลุ่มอาชีพ เช่น - การปลูกผัก - ปลาแดดเดียว - การเปิดร้านค้าขายผลผลิตและสินค้าของแต่ละกลุ่มอาชีพ 2.มีข้อมูลกลุ่มอาชีพ แหล่งทุนในชุมชน แผนที่ทรัพยากร พร้อมข้อมูลกลุ่มเปราะบางที่ต้องได้รับความช่วยเหลือในชุมชน 3.มีแผนในการดำเนินธุรกิจกลุ่มอาชีพและแผนการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในชุมชนเพื่อคืนกำไรสู่สังคม
40.00

 

3 เพื่อดำเนินกิจการการผลิต การแปรรูปการสร้างช่องทางการตลาดและการเงิน ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนไปสู่ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและจับต้องได้
ตัวชี้วัด : 3.1 เกิดแหล่งอาหารชุมชน ครัวเรือนเป้าหมายมีความรอบรู้ด้านการเงินและเกิดช่องทางการตลาดแบบใหม่ 1. เกิดผลผลิตอย่างน้อยจำนวน4 อาชีพ ที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ 2. เกิดกลุ่มไลน์ เพจ ในการขายสินค้า 3. ครัวเรือนเป้าหมายมีความรอบรู้ทางการเงินไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
3.10

 

4 เพื่อดำเนินกิจการการผลิต การแปรรูปการสร้างช่องทางการตลาดและการเงิน ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนไปสู่ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและจับต้องได้
ตัวชี้วัด : 3.2 เกิดแผนธุรกิจดำเนินการสนับสนุนดำเนินการกลุ่มอาชีพ 1. กลุ่มอาชีพมีรายได้เพิ่มขึ้น 60% จากการประกอบอาชีพ 2. รายได้ช่วยเหลือสังคม10% ของกำไร 3. กลุ่มเปราะบางได้รับการช่วยเหลืออย่างน้อย 8 รายใน 8ชุมชน
3.20

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 40
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คนพิการ 1
ผู่สูงอายุ 11
แม่เลี้ยงเดี่นว 4
แรงงานนอกระบบ 24

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาศักยภาพคนในชุมชนให้มีความรู้และทักษะด้านการเงิน และการบริหารจัดการในการประกอบอาชีพ (2) เพื่อพัฒนากลุ่มเศรษฐกิจชุมชนโดยใช้รูปแบบการทำงานในพื้นที่จริงของชุมชนเมืองบ่อยาง (3) เพื่อดำเนินกิจการการผลิต การแปรรูปการสร้างช่องทางการตลาดและการเงิน ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนไปสู่ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและจับต้องได้ (4) เพื่อดำเนินกิจการการผลิต การแปรรูปการสร้างช่องทางการตลาดและการเงิน ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนไปสู่ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและจับต้องได้

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามและวางแผนการทำงาน10เดือน และสื่อสารการทำงานผ่านกลุ่มไลน์อย่างสม่ำเสมอ (2) กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการโครงการ (3) เวทีชี้แจงโครงการ และจัดตั้งคณะทำงาน (4) เวทีปฐมเวทีโครงการระดับหน่วยจัดการ (5) คีย์ข้อมูล (6) ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 1 (7) ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 2 (8) เวทีชี้แจงโครงการและจัดตั้งคณะทำงาน (9) การสำรวจเก็บข้อมูลกลุ่มอาชีพ และทุนในชุมชน ข้อมูลกลุ่มเปราะบางที่ต้องการความช่วยเหลือ พร้อมจัดทำแผนที่ทรัพยากรในชุมชน ให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ (10) ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3 (11) เวทีประชุมกำหนดกติกากลุ่มในการดำเนินโครงการ เชิญกลุ่มเป้าหมายร่วมทำข้อตกลงด้วยกันเพื่อให้โครงการขับเคลื่อนไปตามแผนที่วางไว้ (12) เวทีชี้แจงดำเนินการตามกลุ่มอาชีพที่ได้รับมอบหมายไว้ ให้อุปกรณ์และลงมือปัฏิบิติตามอาชีพและพื้นที่ของตัวเอง (13) กิจกรรมอบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน (14) อบรมการจัดทำแผนธุรกิจ และการจัดการธุรกิจจัดส่งอาหารไปถึงผู้บริโภค (15) เปิดครัวชุมชนแหลมสนอ่อนเพื่อร่วมกันผลิตอาหารใช้ชื่อว่า " ครัวปิ่นโดตุ้มตุ้ย" ประชาสัมพันธ์รับออเดอร์ (16) ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 4 (17) ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 5 (18) ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 6 (19) เวทีสะท้อนผลลัพธ์โครงการ ARE (20) เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจฐานราก ในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด 19 พื้นที่ภาคใต้ (21) เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจฐานราก ในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด 19 พื้นที่ภาคใต้ (22) ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 7 (23) ประชุม Zoom Topic SoHappi training on content creation (24) ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 8 (25) ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 9 (26) เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจบนฐานราก (27) ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 10 (28) เวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ เชิญภาคีที่เกี่ยวข้องร่วมรับฟัง

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการสร้างแหล่งอาหารชุมชน คนบ่อยางสร้างเงิน ตำบลบ่อยาง จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 65-10018-34

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาว สิริรัตน์ เดชเส้ง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด