directions_run

โครงการ วิสาหกิจแปรรูปอาหารและสมุนไพรเพื่อความมั่นคงทางรายได้ บ้านทุ่ง จังหวัดสตูล

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node โควิค ภาคใต้


“ โครงการ วิสาหกิจแปรรูปอาหารและสมุนไพรเพื่อความมั่นคงทางรายได้ บ้านทุ่ง จังหวัดสตูล ”

หมู่ที่ 5 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นางก่อเดียะ นิ้วหลี

ชื่อโครงการ โครงการ วิสาหกิจแปรรูปอาหารและสมุนไพรเพื่อความมั่นคงทางรายได้ บ้านทุ่ง จังหวัดสตูล

ที่อยู่ หมู่ที่ 5 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด ภาคใต้

รหัสโครงการ 65-10018-38 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กันยายน 2022 ถึง 31 สิงหาคม 2023


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการ วิสาหกิจแปรรูปอาหารและสมุนไพรเพื่อความมั่นคงทางรายได้ บ้านทุ่ง จังหวัดสตูล จังหวัดภาคใต้" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ที่ 5 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node โควิค ภาคใต้ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการ วิสาหกิจแปรรูปอาหารและสมุนไพรเพื่อความมั่นคงทางรายได้ บ้านทุ่ง จังหวัดสตูล



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการ วิสาหกิจแปรรูปอาหารและสมุนไพรเพื่อความมั่นคงทางรายได้ บ้านทุ่ง จังหวัดสตูล " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 5 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 65-10018-38 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กันยายน 2022 - 31 สิงหาคม 2023 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000.00 บาท จาก Node โควิค ภาคใต้ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ชุมชนบ้านทุ่ง หมู่ที่ 5 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล มีจำนวน 275 ครัวเรือน มีประชากร จำนวน 1,015 คน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 95 ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ร้อยละ 80 อาชีพค้าขาย ร้อยละ 15 และอาชีพอื่นๆร้อยละ 5 ชุมชนบ้านทุ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) 2 ระลอกตั้งแต่ต้นปี 2564 และปี 2565 ผู้ได้รับผลกระทบเป็นกลุ่มตกงานจากมาเลย์เซียจำนวน 18 คน จาก 18 ครัวเรือน กลุ่มตกงานจากภาคการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ ภูเก็ต สตูล จำนวน 22 คน จาก 22 ครัวเรือน ปี 2564 คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอละงู และคณะการหมู่บ้านชุมชนบ้านทุ่ง ได้รับทุนจาก สสส ดำเนินโครงการเพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร สามารถสร้างแหล่งอาหารเพิ่มขึ้นในชุมชน ได้แก่ แปลงปลูกพืชผักสวนครัว จำนวน 32 แปลง (30 ครัวเรือนและแปลงรวม 2 แปลง) การเลี้ยงปลา 7 แหล่ง (บ่อธรรมชาติ 1 แหล่ง/เลี้ยงร่วม ท่อซีเมนต์ 6 แหล่ง/เลี้ยงร่วม 1 ท่อ) ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายค่าอาหารในครัวเรือนเฉลี่ย 337 บาท/เดือน เมื่อนำผลผลิตเหลือกินไปขาย ได้รายได้เฉลี่ย 416 บาท/เดือน ผลลัพธ์ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ การออกกำลังกายเพิ่มขึ้นและสม่ำเสมอ 12 ครัวเรือน การลดบุหรี่ ใบจากได้ 2 ราย สุขภาพจิตดีขึ้น 30 ครัวเรือน นอกจากนี้ยังเกิดบรรยากาศการช่วยเหลือ ส่งเสริมความร่วมมือ และเกิดความสามัคคีในชุมชน
หลังโครงการระยะที่ 1 แกนนำโครงการ 5 คน ได้ชักชวนกลุ่มเป้าหมายจากโครงการเดิม จำนวน 30 ครัวเรือน และกลุ่มเป้าหมายใหม่จำนวน 15 ครัวเรือน รวม 45 ครัวเรือน ตั้งวงเสวนาเพื่อทบทวนปัญหาของครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายและครัวเรือนชุมชน พบว่า 43 ครัวเรือนมีปัญหารายได้ไม่พอรายจ่าย มีการวิเคราะห์ค้นหาสาเหตุของการที่มีรายได้ไม่พอรายจ่าย ได้แก่ ประกอบอาชีพที่สร้างรายได้ให้น้อย(45 ครัวเรือน) ซึ่งอาชีพในชุมชนได้แก่ การทำนา การทำสวนยาง สวนผลไม้ ปลูกผัก เลี้ยงแพะ ไก่ เป็ด วัว คนในชุมชนยังไม่มีอาชีพเสริม(37 ครัวเรือน) มีรายได้ทางเดียว ในชุมชนมีกลุ่มทำขนมรวมตัวกันทำปีละ 2 ครั้ง สมาชิกกลุ่ม 5-6 คน ขาดความรู้ความตระหนักเรื่องการจัดการหนี้สิน การออม การรู้เท่าทันสื่อโฆษณาชวนเชื่อ เช่น การผ่อนซื้อสินค้าเครื่องใช้ที่เอาเปรียบเกินควร ถูกชักชวนให้ซื้อของเกินความจำเป็นโดยมีโปรโมชั่นลด แจก แถม แต่ไม่สามารถใช้สินค้านั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด และประกอบกับสถานการณ์โควิดทำให้ตกงาน หรือรายได้จากการประกอบอาชีพลดลงจากเพราะสภาพคล่องทางเศรษฐกิจย่ำแย่ลง ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาดังกล่าว ได้แก่ มีหนี้สินทุกครัวเรือน ตั้งแต่ 10,000 – 200,000 บาท สภาพบ้านเรือนไม่มั่นคงเนื่องจากไม่มีเงินเหลือพอซ่อมแซมบ้าน(7 ครัวเรือน) ซึ่งมีลักษณะ หลังคารั่ว ตัวบ้านชำรุด ไม่มีระบบน้ำประปา ห้องน้ำไม่พร้อมใช้ เกิดโรคจากการประกอบอาชีพที่ต้องใช้แรงงานหนัก ได้แก่ ปวดเมื่อยหลังทำงาน 31 ราย กระดูกทับเส้น 1 ราย มีความเครียดจากภาวะหนี้สิน 45 รายเป็นต้น โดยวิธีการแก้ปัญหาในระยะที่ 2 ชุมชนบ้านทุ่งโดยแกนนำเข้มแข็ง 5 ราย ร่วมกับครัวเรือนเป้าหมายรวมทั้งสิ้น 45 ครัวเรือน วางแผนการเพิ่มรายได้ครัวเรือน ด้วยการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจแปรรูปอาหารที่มีในชุมชน รวมตัวเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1)กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร ซึ่งจะผลิตเครื่องแกง และปลาดุกส้ม มีสมาชิกเป็นผู้สูงอายุ ครอบครัวผู้พิการ ครอบครัวที่มีผู้ป่วยติดเตียง ครอบครัวคนตกงานจากโควิด จำนวน 15 ครัวเรือน และ 2)กลุ่มทำยาหม่องน้ำสมุนไพร มีสมาชิกเป็นเยาวชนครอบครัวคนตกงานจากโควิด คนที่รายได้ลดลงจากสถานการณ์โควิด จำนวน 45 ครัวเรือน ซึ่งทางโครงการตั้งเป้าให้ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ทักษะในการแปรรูป การจัดการกลุ่ม การจัดการด้านบัญชีของกลุ่มและตนเอง ทำการตลาดด้วยตนเองได้ มีความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงิน เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถขยายการทำงานไปสู่ครัวเรือนอื่นได้ต่อไปในอนาคต

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่อจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหาร ของชุมชนบ้านทุ่ง
  2. 2.เพื่อเพิ่มความรู้ ทักษะการประกอบอาชีพ มีความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงิน
  3. 3.เพื่อจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้วิสาหกิจแปรรูปอาหารในชุมชน
  4. 4.เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมาย(ครัวเรือนของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจ) มีรายได้เพิ่มขึ้น

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจรรมร่วมกับหน่วยจัดการ สสส.
  2. ประชุมแกนนำโครงการ
  3. ผลิตยาหม่องน้ำสมุนไพร
  4. .จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร บ้านทุ่ง
  5. .เวทีแสดงสรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน
  6. แปรรูปเครื่องแกง
  7. อบรมความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงินให้กลุ่มเป้าหมาย
  8. การพัฒนาศักยภาพกลุ่มและการอบรมการแปรรูปอาหารฮาลาลและปลอดภัย
  9. จัดทำช่องทางการตลาด และการออกแบบบรรจุภัณฑ์
  10. พัฒนาศักยภาพกลุ่มและการผลิตยาหม่องน้ำสมุนไพร
  11. .การออกร้านในงานแสดงสินค้าระดับอำเภอหรือระดับจังหวัด
  12. ถอดเงินเปิดบัญชี
  13. สรุปกิจกรรมโครงการ
  14. ปฐมนิเทศ
  15. ทำป้ายโครงการ
  16. ประชุมแกนนำโครงการ 1/6
  17. การพัฒนาศักยภาพกลุ่มและอบรมการแปรรูปอาหารฮาลาล
  18. ร่วมกันทำเครื่องแกงและปลาส้ม 1/5
  19. ให้ความรู้และฝึกปฎิบัติการผลิตยาหม่อง น้ำสมุนไพร และผลิตภัณฑ์อื่นๆ
  20. ประชุมแกนนำโครงการ 2/6
  21. ิอบรมด้านสุขภาพและการเงิน
  22. ร่วมกันทำเครื่องแกงและปลาส้ม 2/5
  23. ผลิตยาหม่องสมุนไพร 1/5
  24. ร่วมกันทำเครื่องแกงและปลาส้ม 3/5
  25. อบรมให้ความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงินให้กลุ่มเป้าหมาย
  26. ผลิตยาหม่องสมุนไพร 2/5
  27. ประชุมแกนนำโครงการ 3/6
  28. ออกร้านในงานแสดงสินค้า 1/2
  29. ออกร้านในงานแสดงสินค้า 2/2
  30. จัดทำตรายาง
  31. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  32. ผลิตยาหม่องสมุนไพร 3/5
  33. ผลิตยาหม่องสมุนไพร 4/5
  34. ประชุมแกนนำโครงการ 4/6
  35. ทำเครื่องแกงและปลาส้ม 4/5
  36. ผลิตยาหม่องสมุนไพร 5/5
  37. ทำเครื่องแกงและปลาส้ม 5/5
  38. ออกแบบบรรจุภัณฑ์
  39. ช่องทางการตลาด
  40. จัดตั้งศูนย์เรียนรู้กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร บ้านทุ่ง 1/3
  41. ช่องทางการตลาด
  42. ประชุมแกนนำโครงการ 5/6
  43. จัดตั้งศูนย์เรียนรู้กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรบ้านทุ่ง 2/3
  44. จัดตั้งศูนย์เรียนรู้กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรบ้านทุ่ง 3/3
  45. ประชุมแกนนำโครงการ 6/6
  46. เวทีสรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน
  47. เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์การดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจฯ
  48. จัดทำรายงานฉบับสมบูร์

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดกลุ่มวิสาหกิจ 2 กลุ่ม ที่สามารถดำเนินงานได้ต่อเนื่อง เกิดรายได้ให้สมาชิกและครอบครัว 2.สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจมีความรู้ ทักษะการประกอบอาชีพผลิตเครื่องแกง ปลาดุกส้ม และยาหม่องน้ำสมุนไพร มีความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงินเพิ่มขึ้น 3.เกิดศูนย์การเรียนรู้ จำนวน 2 ศูนย์ตามกลุ่มวิสาหกิจที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่กลุ่มอื่น ๆ ได้ 4.ครัวเรือนเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้น


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศ

วันที่ 18 กันยายน 2022 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

การเรียนรู้และทำความเข้าใจข้อสัญญา  คลี่โครงการ  โดยมีการทำรายละเอียดของโครงการ  ทำแผนด้วยปฏิทินกิจกรรม  เรียนรู้การลงเวปไซด์คนสร้างสุข

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้คณะทำงาน จำนวน 2 คน มีความรู้เรื่อง

  • การบันทึกโครงการย่อย การบันทึกข้อมูลลงไนเวปไซด์
  • การบริหารจัดการโครงการ
  • การจัดทำเอกสารการเงิน
  • การวางแผนการทำงานด้วยปฏิทินโครงการ
  • การออกแบบกิจกรรม
  • การออกแบบเก็บตัวชี้วัด

 

2 0

2. ทำป้ายโครงการ

วันที่ 22 กันยายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ทำป้ายโครงการ วิสาหกิจแปรรูปอาหารและสมุนไพรเพื่อความมั่นคงทางรายได้ บ้านทุ่ง  จังหวัดสตูล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ป้านโครงการ  ป้าย ปลอดเหล้า  ปลอดบุหรี่

 

0 0

3. ประชุมแกนนำโครงการ 1/6

วันที่ 24 กันยายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. นางก่อเดียะ นิ้วหลีขี้แจงที่มาของโครงการ
  2. ชี้แจงแผนการทำงาน
  3. แบ่งบทบาทหน้าที่
  4. สร้างกติกากลุ่มแกนนำ
  5. กำหนดพื้นที่ในการปลูกผัก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. กรรมการ 8 คน รับทราบที่มาโครงการ
  2. ชี้แจงการทำงานในรูปปฏิทินกิจกรรม
  3. แบ่งบทบาทหน้าที่

    1. นางก่าอเดียะ น้ิวหลี หน้าที่ บริหารจัดการติดตามผลงาน นำเสนอผลงาน

    2. นายดาหลัน งะสยัง หน้าที ประสานความร่วมมือ แก้ไขปัญหา

    3. นางสาวอารีย์ หวันสู หน้าที่ ทำรายงาน และจัดการเอกสาร

    4. นางวรรณลัย เบ็ญหลัง หน้าที่ ติดตามผลงานกลุ่มวิสาหกิจ

    5. นางมาหรีย๊ะ อุสมา หน้าท่ี่ ติดตามผลงานความรอบรู้การเงินและสุขภาพ

  4. ข้อตกลงกลุ่มมี

  • ประชุมทุกวันที่ 10 ของเดือน

  • ทำตัวเป็นตัวอย่างทำบัญชีครัวเรือน

  • เป็นแบบอย่างในการทำยาหม่อง

  • เป็นแบบอย่างในการทำเครืีองแกง


ข้อตกลง
- ร่วมกันปลูกผักที่ใช้ทำเครื่องแกง

  • ร่วมกันทำเครื่องแกง จำนวน 2 ครั้งต่อ 1 เดือน

  • ร่วมกันทำยาหม่องน้ำ จำนวน 2 ครั้ง ต่อ 1 เดือน

  1. กำหนดพื้นที่กลาง

    1. ได้พื้นที่กลาง ในการปลูกตะไคร้ และปลูกขมิ้น อยู่ที่หมู่ที่ 5 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

    2. ปลูกบรเิวณบ้านตัวเอง ของแกนนำ

 

8 0

4. การพัฒนาศักยภาพกลุ่มและอบรมการแปรรูปอาหารฮาลาล

วันที่ 25 กันยายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ภาคเช้า มีการทำแผนการทำงานโดยมีวิทยากรจากเจ้าหน้าที่ประมงจังหวัดสตูลที่มีความรู้ความสามารถ ในการทำเครื่องแกง และ ให้ความรู้และการทำปลาส้ม
สมาชิก จำนวน

ได้เรียนรู้สูตรในการทำเครื่องแกง แกงส้ม ผัดเผ็ด กระทิ โดยได้สูตรดังนี้ 1. เครื่องแกงส้ม ขั้นตอนการทำพริกแกงส้ม พริกแห้งเม็ดใหญ่แช่น้ำเอาเม็ดออก 80 กรัม พริกชี้ฟ้าแดงหั่นท่อน เคาะเอาเม็ดออก 30 กรัม พริกขี้หนูแห้ง แช่น้ำพอนิ่ม 10 กรัม กระเทียม 20 กรัม หอมแดง 40 กรัม กระชาย ลอกปอกเปลือก หั่นท่อน 50 กรัม กะปิ 10 กรัม เกลือป่น 0.50 ช้อนชา ขั้นตอนการทำพริกแกงส้ม นำเอาพริกแห้งเม็ดใหญ่แช่น้ำจนนิ่มเอาเม็ดออก พริกชี้ฟ้าแดงสดหั่นท่อนเคาะเอาเม็ดออก พริกขี้หนูแห้งแช่น้ำพอนิ่มใส่ครกโขลกพร้อมกับกระเทียม หอมแดง กระชายลอกเปลือกหั่นท่อน กะปิและเกลือป่น โขลกให้ส่วนผสมทุกอย่างแหลกและเนื้อเนียน นำเอาพริกแกงส้ม ใส่ภาชนะปิดให้มิดชิดและนำเข้าตู้เย็น 2. เครื่องแกงผัดเผ็ด พริกขี้หนูแห้ง40 กรัม กระเทียม12 กรัม ขมิ้น12กรัม ตะไคร้10กรัม หอมแดง10กรัม พริกไทย10กรัม ข่า3กรัม ผิวมะกรูด3กรัม วิธีทำ เวลาเตรียมส่วนผสม: 5 นาที เวลาปรุงอาหาร: 5 นาที 1เตรียมทุกอย่างตามนี้ ถ้าไม่มีตาชั่งก็กะๆเอาโดยประมาณนะครับถ้าชอบกลิ่นไหนเป็นพิเศษก็สามารถเพิ่มได้ 2พริกแห้งแช่น้ำเอาเม็ดออก่อนนะ ทุกอย่างมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆก่อนจะตำง่ายขึ้น (ผกเว้นพริกไทยไม่ต้องหั่นนะ ) ตำทุกอย่างเข้าด้วยกัน โดยเริ่มจากสิ่งที่แข็งสุดก่อนคือพริกไทย ใส่ลงไปตำทีละอย่าง...จนครบ ถ้าต้องการให้เก็บได้นานขึ้นอีกนิด ก็ใส่เกลือลงไปสัก 1-2 ช้อนชา เกลือจะช่วยฆ่าเชื้อและถนอมอาหาร แต่อย่าลืมไปลบเวลาทำกับข้าวนะ 3ตำทุกอย่างเข้าด้วยกัน

  1. เครื่องแกงกระทิ พริกขี้หนูแห้ง40 กรัม กระเทียม12 กรัม ขมิ้น12กรัม ตะไคร้10กรัม หอมแดง10กรัม พริกไทย10กรัม ข่า3กรัม

วิธีทำ เวลาเตรียมส่วนผสม: 5 นาที เวลาปรุงอาหาร: 5 นาที 1เตรียมทุกอย่างตามนี้ ถ้าไม่มีตาชั่งก็กะๆเอาโดยประมาณถ้าชอบกลิ่นไหนเป็นพิเศษก็สามารถเพิ่มได้ 2พริกแห้งแช่น้ำเอาเม็ดออก่อนนะ ทุกอย่างมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆก่อนจะตำง่ายขึ้น (ผกเว้นพริกไทยไม่ต้องหั่นนะ ) ตำทุกอย่างเข้าด้วยกัน โดยเริ่มจากสิ่งที่แข็งสุดก่อนคือพริกไทย ใส่ลงไปตำทีละอย่าง...จนครบ ถ้าต้องการให้เก็บได้นานขึ้นอีกนิด ก็ใส่เกลือลงไปสัก 1-2 ช้อนชา เกลือจะช่วยฆ่าเชื้อและถนอมอาหาร แต่อย่าลืมไปลบเวลาทำกับข้าว 3ตำทุกอย่างเข้าด้วยกัน


วิธีการทำปลาส้ม ปลาส้มเป็นผลิตภัณฑ์จากปลาน้ำจืดที่นำมาหมักทั้งตัวหรือเอาเฉพาะเนื้อร่วมกับข้าวนึ่งสุก และกระเทียม จนได้ผลิตภัณฑ์ปลาส้มที่มีรสเปรี้ยว เนื้อปลานุ่ม มีกลิ่นหอม นิยมรับประทานกันในทุกภาค การผลิตปลาส้ม เป็นการถนอมอาหารจากภูมิปัญญาพื้นบ้านที่สืบทอดกันมายาวนาน ซึ่งปัจจุบันแพร่กระจายทำในทุกภาค และต่างมีสูตรที่แตกต่างกัน ทั้งการเลือกใช้ชนิดปลา และส่วนผสม จนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ปลาส้มหลายแบบในแต่ละท้องถิ่น โดยปลาที่นิยมใช้ทำปลาส้ม ได้แก่ – ปลานิล (นิยมมากที่สุด) – ปลานดุก -ปลาทู -ปลาตะเพียน -ปลาสวาย วัตถุดิบทำปลาส้ม 1. ปลา ปลาที่ใช้ทำปลาส้มจะเป็นปลาน้ำจืด (ปลาทะเลก็ทำได้เช่นกัน) โดยอาจเป็นปลามีเกล็ดหรือไม่มีเกล็ดก็ได้ แต่ทั่วไปนิยมใช้ปลาที่ลำตัวแบนหรือค่อยข้างแบน ให้เนื้อมาก เป็นต้น 2. เกลือ เกลือ อาจใช้เป็นเกลือสมุทรหรือเกลือสินเธาว์ (เกลือเหมือง) แต่ปัจจุบัน นิยมใช้เกลือสินเธาว์มากที่สุด เพราะหาได้ง่าย และราคาถูก เกลือที่ใช้ทำหน้าที่ยับยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดการเน่า แต่ไม่มีผลต่อจุลินทรีย์ที่ทนเค็มได้ดี โดยเฉพาะจุลินทรีย์ประเภทผลิตกรด นอกจากนั้น ยังทำหน้าที่รักษาเนื้อสัมผัส และเพิ่มรสเค็มให้แก่เนื้อปลา 3. ข้าวสวย และน้ำซาวข้าว ข้าวสวย และน้ำซาวข้าว ถือเป็นแหล่งแป้งหรือแหล่งอาหารที่สำคัญของจุลินทรีย์ประเภทผลิตกรด หากไม่ใส่จะทำให้เกิดความเปรี้ยวน้อยหรือเนื้อปลาจะไม่มีรสเปรี้ยวเลย เพราะจุลินทรีย์ประเภทผลิตกรดจะมีน้อยตามมา นอกจากนั้น ข้าวสวย และน้ำซาวข้าวยังทำหน้าที่ช่วยดับกลิ่นคาวปลาร่วมด้วยเมื่อจุลินทรีย์ย่อยแป้ง และผลิตกรดออกมา แล้วซึมผ่านเข้าสู่เนื้อปลาจะทำให้เนื้อปลามีรสเปรี้ยว ยิ่งหมักไว้นานความเปรี้ยวจะเพิ่มขึ้นเรื่อย และจะหยุดเปรี้ยวจนกว่าจุลินทรีย์ย่อยแป้งจนหมด ดังนั้น ความเปรี้ยว และระยะเวลาที่ทำให้เนื้อปลาเปรี้ยวจะขึ้นอยู่กับปริมาณข้าวนึ่งที่ใส่ และระยะการหมักทิ้งไว้ 4. กระเทียม กระเทียม เป็นวัตถุดิบที่ทำให้หน้าที่ยับยั้งจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดการเน่า แต่ไม่มีผลต่อจุลินทรีย์ผลิตกรด ทำให้จุลินทรีย์ผลิตกรดเติบโตได้รวดเร็ว นอกจากนั้น ยังทำหน้าที่ช่วยปรับปรุงเนื้อสัมผัส ช่วยเพิ่มกลิ่นหอม ดับกลิ่นคาวปลา และเพิ่มรสเผ็ดเวลารับประทาน 5. ส่วนผสมอื่นๆ เช่น น้ำตาล และเครื่องปรุงรสต่างๆ จะทำหน้าที่ปรับปรุงรสชาติ และปรับปรุงเนื้อสัมผัสของเนื้อปลาได้ดียิ่งขึ้น วิธีทำปลาส้ม วัตถุดิบ 1. เนื้อปลาหรือตัวปลา 10-20 กิโลกรัม 2. กระเทียมสับ 1 กิโลกรัม 3. ข้าวสวย 1 กิโลกรัม 4. น้ำซาวข้าว 0.5 ลิตร (อาจไม่ใช้ก็ได้) 5. เกลือ 300 กรัม (ประมาณ 1 กำมือ) 6. น้ำตาล 5-10 ช้อน 7. ผงชูรส 2-3 ช้อน

ขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ 1. ขอดเกล็ด และควักไส้ ก่อนล้างทำความสะอาด 1-2 น้ำ – ปลาส้มตัว หลังจากขอดเกล็ด ควักไส้ และล้างทำความสะอาด อาจตัดหัวออกหรือไม่ต้องตัดหัวก็ได้ 2. นำกระเทียมมาปอกเปลือก ตำโขลกหรือบดให้เป็นชิ้นเล็กๆ 3. นำข้าวสวยให้สุก

ขั้นตอนการผสมวัตถุดิบ 1. นำเนื้อปลาหรือตัวปลามาคลุกผสมกับวัตถุดิบที่เตรียมไว้ในชามขนาดใหญ่ ได้แก่ กระเทียม ข้าวสวยหรือน้ำซาวข้าว เกลือ และน้ำตาล โดยการคลุกพร้อมกับขยำด้วยมือ นาน 10-20 นาที 2. นำปลาที่คลุกกับส่วนผสมแล้วใส่กระปุก ก่อนปิดฝาให้สนิท หรือ บรรจุใส่ถุงพลาสติก 3. สำหรับปลาส้มสับ นิยมปั้นเป็นก้อน ก่อนนำมาห่อด้วยใบตอง หรือ ใส่ถุงพลาสติก ก่อนใช้ท่อนไม้กลมรีดให้เป็นแผ่น แล้วรัดด้วยหนังยาง 4. นำภาชนะหมักปลาส้มตั้งทิ้งไว้ในร่ม นาน 3-4 วัน ก็พร้อมรับประทาน ทั้งนี้ หากเป็นฤดูร้อนจะเป็นปลาส้มได้เร็ว ประมาณ 2-3 วัน แต่หากเป็นฤดูหนาวอาจนานถึง 5-7 วัน

แล้วนำมาทอด หรือย่าง การเก็บรักษาปลาส้ม ปลาส้มที่หมักจนได้รสเปรี้ยวเหมาะแก่การรับประทานแล้ว หากเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องหรือวางไว้ในตู้กับข้าวจะเก็บได้นาน 1-3 วัน ขึ้นอยู่กับความร้อนของอากาศ หลังจากนั้น จะเปรี้ยวมาก ไม่เหมาะรับประทาน แต่หากเก็บไว้ในตู้เย็นประมาณ 8-10 ºC จะเก็บได้นาน 3-4 สัปดาห์ หากเก็บในช่องแช่แข็งจะเก็บได้นานประมาณ 3 เดือน ภาคบ่าย ลงมือปฎิบัติการทำปลาส้ม เครื่องแกง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สมาชิก จำนวน 25 คน มาเรียนรู้การทำเครื่องแกง สมาชิกที่เรียน จำนวน 25 คน สามารถทำเครื่องแกงได้จำนวน  25 คน
สมาชิก จำนวน 25 คน มาเรียนการทำปลาส้ม  สามาถทำปลาส้มได้  18 คน เนื่องจากการทำปลาส้มมีหลานขั้นตอน
สมาชิก จำนวน 25 คน มาเรียนการทำปลาแดดเดียว และสามารถทำปลาแดดเดียวได้ 25 คน กลุ่มสมาชิกได้สูตร ทำเครื่องแกง 3 สูตร ได้แก่ แกงกะทิ แกงส้ม ผัดเผ็ด ได้สูตร ทำปลาส้ม 1 สูตร ได้สูตรทำปลาแดดเดียว 1 สูตร

 

20 0

5. ร่วมกันทำเครื่องแกงและปลาส้ม 1/5

วันที่ 1 ตุลาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ภาคเช้า เตรียมวัตถุดิบ เครื่องแกงส้ม กระทิ ผัดเผ็ด เตรียมวัตถุดิบปลาส้ม ทำปลาและล้างปลาให้สะอาด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้เครื่องแกง ส้ม จำนวน 40 ถุง ผัดเผ็ด 40 ถุง กะทิ 40 ถุง ได้ปลาส้ม จำนวน 35 กก. และได้จำหน่ายภายในกลุ่มกันเอง
เครื่องแกง ราคาถุงละ 10 บาท ได้เงินรวม 1,200 บาท ปลาส้ม ได้เงินรวม 3,500 บาท

 

15 0

6. พัฒนาศักยภาพกลุ่ม และอบรมการผลิตยาหม่องน้ำสมุนไพร

วันที่ 30 ตุลาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ภาคเช้าประธานกล่าวทักทายสมาชิกที่เข้าร่วมอบรม พร้อมแนะนำวิทยากรในการให้ความรู้ในครั้งนี้ วิทยากรแนะนำตัวเอง
สวัสดีทุกคน ดิฉันนางมารีหยำ ค่ะวันนี้มาทำหน้าเป็นวิทยากรในวันนี้ค่ะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ชุดทำพิมเสนน้ำ

ส่วนประกอบ

  1. พิมเสน 50 กรัม แก้วิงเวียน หน้ามืดตาลาย
  2. การบูร 20 กรัม แก้ปวด แก้เคล็ด ขัดยอก
  3. เมนทอล 40 กรัม ทำให้รู้สึกหอมเย็น
  4. น้ำมันยูคาลิปตัส 20 กรัม ช่วยบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก ภูมิแพ้
  5. น้ำมันเปปเปอร์มิ้นต์ 10 กรัม คลายความอ่อนล้า กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต
  6. น้ำมันแก้ว 20 กรัม ให้ความนุ่มลื่นและชุ่มชื้นแก่ผิว 7.น้ำมันระกำ 50 กรัม ช่วยคลายกล้ามเนื้อแก้ปวดเมื่อย

ทำได้ 210 กรัม

วิธีทำ 1. นำส่วนผสมทั้งหมดผสมรวมกัน แล้วกวนให้ทุกอย่างละลายเป็นเนื้อเดียวกัน 2. นำส่วนผสมที่กวนเข้ากันดีแล้วเทลงใส่ภาชนะตามต้องการ
วิธีใช้   ใช้สูดดมแก้อาการวิงเวียนศรีษะ หน้ามืดตาลาย ใช้ทานวดกล้ามเนื้อแก้อาการ ปวดเมื่อย แก้ฟกช้ำดำเขียว ใช้ทาผิวหนัง ลดอาการปวดจากแมลงสัตว์กัดต่อย ข้อควรระวัง : หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับดวงตา เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองอย่างรุนแรงและควรใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะอาจเกิดอาการแสบร้อนได้ง่าย การเก็บรักษา : เก็บในที่มิดชิดห่างจาก เด็ก อาหารและสัตว์เลี้ยง

ส่วนผสมน้ำมันเหลือง (หาซื้อได้ที่ร้ายขายสมุนไพร) ไพลสด 2 กิโลกรัม
ขมิ้นอ้อย 2 กิโลกรัม น้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันงา 1 ลิตร (สูตรเดิมใช้น้ำมันระกำ ซึ่งมีคุณสมบัติแก้ปวดเมื่อย)
เมนทอล 900 กรัม
การบูร 600 กรัม พิมเสน 300 กรัม

วิธีการทำ 1.ล้างไพลกับขมิ้นอ้อยให้สะอาด แล้วนำมาหั่นเป็นแว่น ให้บางๆ 2.นำไปทอดในน้ำมันมะพร้าวใช้ไฟอ่อน ให้เกรียมแต่อย่าให้ไหม้ โดยใส่ไพลลงไปก่อนแล้วค่อยตามด้วยขมิ้นอ้อย งานนี้ความอดทนต้องเป็นเลิศ เพราะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง 3. นำไพลและขมิ้นอ้อยที่ทอดแล้วไปกรองด้วยผ้าขาวบาง จะได้น้ำมันเหลืองประมาณ 4-500 ซีซี ใช้ไปนานเลย 4.ระหว่างที่ทอดสมุนไพร ก็ผสมการบูรกับเมนท่อล และพิมเสน แล้วทิ้งไว้ให้ละลาย ถ้าละลายไม่หมดก็ให้เติมเมนท่อลลงไปผสมให้ละลาย 5.นำส่วนผสมจากน้ำมันสมุนไพรมาผสมในพิมเสนน้ำที่ได้ ก็จะกลายเป็นน้ำมันเหลือง

 

35 0

7. ประชุมแกนนำโครงการ 2/6

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประธานกล่าวทักทายสมาชิกผู้เข้าร่วมอบรม วันนี้ถือว่าต้องขอขอบคุณทุกคนที่สละเวลามาร่วมตัวกัน เราก็ได้ร่วมกันทำกิจกรรมมาด้วยกันหลายเดือนแล้ว ถือว่ามีความสำเร็จมาิีกขั้นนึงแล้วค่ะ วันนี้ใครคนไหนมีเรื่องจะปรึกษาหารือกันบ้างค่ะ เชิญได้ค่ะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สมาชิกทุกคนให้ความสนใจและดีใจที่ต่างคนต่างมีรายได้เพิ่มขึ้นในครอบครัว เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย
ถือว่าเราประสบความสำเร็จค่ะ

 

8 0

8. ิอบรมด้านสุขภาพและการเงิน

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

อบรมให้ความรู้เรื่องด้านสุขภาพและการเงิน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้รับความรู้สุขภาพและการเงิน

 

2 0

9. ร่วมกันทำเครื่องแกงและปลาส้ม 2/5

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประธานกล่าวทักทายสมาชิกที่เข้าร่วม วันนี้เรามาร่วมกันทำเครื่องแกงกันอีกครั้งนะค่ะ วันนี้ขอบคุณน้องๆที่มาช่วยกัน บางคนว่าง บ้างคนก็ติดธุระบ้าง ไม่เป็นไรค่ะ ถือว่าทุกคนก็มีธุระกันบ้างนะค่ะ วันก่อนที่เรามาทำด้วยกัน แล้วพาไปตั้งขายที่ร้าน
ตอนนี้ทางร้าน หรือชาวบ้านก้ได้ทราบว่าเรามีกลุ่มขายเครื่องเกง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นำเครื่องเกงที่ทำวันนี้ ไปตั้งขายต่อ

 

15 0

10. ผลิตยาหม่องสมุนไพร 1/5

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ปรธานกล่าวทักทายสมาชิกที่เข้าร่วมอบรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นำผลิตภัณฑ์ที่ทำวันนี้ นำออกจำหน่าย

 

30 0

11. ร่วมกันทำเครื่องแกงและปลาส้ม 3/5

วันที่ 10 ธันวาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประธานกล่าวทักทาย *******เพิ่มรายละเอียดจ้า

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นำเครื่องเกง มีจำหน่าย  *******เพิ่มรายละเอียดจ้า

 

15 0

12. อบรมให้ความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงินให้กลุ่มเป้าหมาย

วันที่ 18 ธันวาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประธานกล่าวทักทายสมาชิก  *******เพิ่มรายละเอียดจ้า

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สมาชิกในการอบรม ได้รับคสามรู้ทางการเงิน และสุขภาพมากยิ่งขึ้น  *******เพิ่มรายละเอียดจ้า

 

45 0

13. ผลิตยาหม่องสมุนไพร 2/5

วันที่ 24 ธันวาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประธานกล่าวทักทาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นำผลิตภัณฑ์จำหน่าย

 

30 0

14. ประชุมแกนนำโครงการ 3/6

วันที่ 7 มกราคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประธานกล่าวสวัสดี *******เพิ่มรายละเอียดจ้า

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สมาชิกในกลุ่มมีข้อสังสัยอะไร ได้ซักถามตอบกัน  *******เพิ่มรายละเอียดจ้า

 

8 0

15. ออกร้านในงานแสดงสินค้า 1/2

วันที่ 21 มกราคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประธานรวบรวมผลิตภัณฑ์ เพื่อนำจำหน่าย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ออกจำหน่าบสินค้า ตามกิจกรรมต่างๆ

 

4 0

16. ออกร้านในงานแสดงสินค้า 2/2

วันที่ 25 มกราคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำยาหม่องน้ำ  เพื่อจำหน่วยงานสิ้นค้า  โครงการยอนหอยหลอดและวัฒนธรรมพื้นบ้านละงู ครั้งที่ 13

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จำหน่ายยาหม่องน้ำในงานวัฒนธรรมพื้นบ้านละงู ครั้งที่ 13

 

4 0

17. จัดทำตรายาง

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำตรายาง โครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ตรายางโครงการ

 

0 0

18. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

อบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพ  และอบรมให้ความรู้ในด้านการเงิน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้รับความรู้ด้านสุขภาพ  และได้รับความรู้เรื่องการบริหารจัดการการเงิน

 

2 0

19. ถอดเงินเปิดบัญชี

วันที่ 15 มีนาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ถอดเงินเปิดบัญชีโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เงินเปิดบัญชีโครงการ

 

0 0

20. ผลิตยาหม่องสมุนไพร 3/5

วันที่ 21 มีนาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประธานกลุ่มได้ประสานงานไปยังสมาชิกในกลุ่ม และได้นัดวันเวลาในการจัดทำยาหม่องน้ำ
พร้อมกับเตรียมอุปกรณ์ และวิทยากร ในการสอนการทำยาหม่องน้ำ โดยมีวิธีการดังนี้

มีการประสานงาน และเตรียมอุปกรณ์ การเตรียมตำรับยาหม่อง

ประกอบด้วยตัวยา ดังต่อไปนี้

  1. สารที่ช่วยให้ยาหม่องแข็งตัว ได้แก่ วาสลีน (White soft paraffin) พาราฟินแข็ง (Hard paraffin) จะใส่ในอัตราส่วนเท่า ๆกัน ส่วนที่ทำให้ยาหม่องแข็ง จะมีปริมาณ 30% ของตำรับ ถ้าต้องการให้ยาหม่องเหลวมาก ไม่แข็งเกินไป จะใช้วาสลินมากกว่าพาราฟินแข็ง
  2. สารที่ช่วยเพิ่มการดูดซึมผิว ได้แก่ ลาโนลิน(Lanolinพวกนี้จะใช้ในตำรับประมาณ 5% w/w ของตำรับ สารพวกนี้ทำให้ยาหม่องถูกดูดซึมเข้าสู่ผิวได้เร็ว เมื่อทาจะรู้สึกร้อนเร็ว
  3. สารที่ทำให้ร้อน หรือใช้ทาถูนวดให้ร้อนแดง ได้แก่ น้ำมันระกำ เมนทอล การบูร พวกนี้จะใช้รวมกันถึง 70% w/wของตำรับ
  4. สารแต่งกลิ่นในยาหม่อง จะใช้สารที่ช่วยแต่งกลิ่นที่มีกลิ่นคล้ายเมนทอล ได้แก่ น้ำมันสะระแหน่ เป็นต้น
  5. ตัวยาสำคัญ คือ ไพล ใช้ทาถูนวด ถ้าต้องการสมุนไพรชนิดอื่น ก็อาจใช้สมุนไพรเหล่านั้น แช่ในแอลกอฮอล์ 95% แล้วระเหยให้แห้ง หรือสูตรตำรับหมอพื้นบ้าน อาจใช้สมุนไพรหลายชนิด เจียวกับน้ำมันมะพร้าว แล้วเอาน้ำมันมะพร้าว ที่มีส่วนของสมุนไพรนั้น มาทำเป็นยาหม่อง ใช้แทนน้ำมันไพลได้

สูตรตำรับยาหม่อง 1. พาราฟินแข็ง วาสลิน 30 กรัม 2. ลาโนลิน 5 กรัม 3. น้ำมันระกำ เมนทอล การบูร 70 กรัม 4. น้ำมันสะระแหน่ 2 กรัม 5. น้ำมันไพล 10% w/w ของตำรับ

วิธีทำยาหม่อง 1. นำพาราฟินขาว วาสลินแข็ง มาหลอมละลายให้เป็นเนื้อเดียวกัน 2. ชั่งเมนทอล 20 กรัม การบูร 20 กรัม น้ำมันระกำ 30 กรัม นำเมนทอลและการบูรผสมรวมกันรอจนละลายเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วนำมาผสมกับน้ำมันระกำที่เตรียมไว้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ยาหม่องสมุนไพร พร้อมนำมาใช้เองในครัวเรือน หรือสามารถนำมาออกจำหน่ายได้ เพื่อหารายได้เข้าครอบครัว
สมาชิกในกลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้น ลดรายจ่าย และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

 

30 0

21. ผลิตยาหม่องสมุนไพร 4/5

วันที่ 22 มีนาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประธานพบปะ สมาชิกในกลุ่ม พูดคุยรายละเอียดที่เราเคยทำมา
การเตรียมตำรับยาหม่องไพร ประกอบด้วยตัวยา ดังต่อไปนี้

1.  สารที่ช่วยให้ยาหม่องแข็งตัว ได้แก่ วาสลีน (White soft paraffin) พาราฟินแข็ง (Hard paraffin) จะใส่ในอัตราส่วนเท่า ๆกัน ส่วนที่ทำให้ยาหม่องแข็ง จะมีปริมาณ 30% ของตำรับ ถ้าต้องการให้ยาหม่องเหลวมาก ไม่แข็งเกินไป จะใช้วาสลินมากกว่าพาราฟินแข็ง 2.  สารที่ช่วยเพิ่มการดูดซึมผิว ได้แก่ ลาโนลิน(Lanolinพวกนี้จะใช้ในตำรับประมาณ 5% w/w ของตำรับ สารพวกนี้ทำให้ยาหม่องถูกดูดซึมเข้าสู่ผิวได้เร็ว เมื่อทาจะรู้สึกร้อนเร็ว 3.  สารที่ทำให้ร้อน หรือใช้ทาถูนวดให้ร้อนแดง ได้แก่ น้ำมันระกำ เมนทอล การบูร พวกนี้จะใช้รวมกันถึง 70% w/wของตำรับ 4.  สารแต่งกลิ่นในยาหม่อง จะใช้สารที่ช่วยแต่งกลิ่นที่มีกลิ่นคล้ายเมนทอล ได้แก่ น้ำมันสะระแหน่ เป็นต้น 5.  ตัวยาสำคัญ คือ ไพล ใช้ทาถูนวด ถ้าต้องการสมุนไพรชนิดอื่น ก็อาจใช้สมุนไพรเหล่านั้น แช่ในแอลกอฮอล์ 95% แล้วระเหยให้แห้ง หรือสูตรตำรับหมอพื้นบ้าน อาจใช้สมุนไพรหลายชนิด เจียวกับน้ำมันมะพร้าว แล้วเอาน้ำมันมะพร้าว ที่มีส่วนของสมุนไพรนั้น มาทำเป็นยาหม่อง ใช้แทนน้ำมันไพลได้ สูตรตำรับยาหม่องไพล 1.  พาราฟินแข็ง วาสลิน 30 กรัม 2.  ลาโนลิน 5 กรัม 3.  น้ำมันระกำ เมนทอล การบูร 70 กรัม 4.  น้ำมันสะระแหน่ 2 กรัม 5.  น้ำมันไพล 10% w/w ของตำรับ

วิธีทำยาหม่องไพล 1.  นำพาราฟินขาว วาสลินแข็ง มาหลอมละลายให้เป็นเนื้อเดียวกัน 2.  ชั่งเมนทอล 20 กรัม การบูร 20 กรัม น้ำมันระกำ 30 กรัม นำเมนทอลและการบูรผสมรวมกันรอจนละลายเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วนำมาผสมกับน้ำมันระกำที่เตรียมไว้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สมาชิกในกลุ่ม สามารถนำเป็ยรายได้เสริม และสามารถนำมาใช้เองได้
ลดรายจ่าย เพื่่อรายได้เข้าครอบครัว

 

30 0

22. ประชุมแกนนำโครงการ 4/6

วันที่ 23 มีนาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประธานกลุ่มได้นัดประชุม เพื่อพูดคุยปรึกษาหารือ ในแต่ละกิจกรรมที่ผ่านมา
วันนี้ดิฉัน มีเรื่องจะแจ้งเรื่องการทำยาหม่องน้ำ ของเราได้ผลตอบรับดีมากค่ะ  ขอให้ทุกคนตั้งใจและช่วยกันแบบนี้ตลอดไปนะค่ะ ไม่ทราบว่าแต่ละคนมีปัญหาหรือมีเรื่องจะปรึกษาหารือกันบ้างค่ะ จากปัญาที่เราๆได้พบนะค่ะ เพราะว่าแต่ละคนว่างไม่พร้อมกันค่ะ เราจะทำอย่างไรบ้างค่ะ ดิฉันในฐานะประธาน ดิฉันว่าเราพยายามหาเวลาว่าง นะค่ะ หรือใครที่ว่างเรามาร่วมกลุ่มทำกันเหมือนเดิมค่ะ แต่ถ้าคนไหนที่สละไม่ได้แล้วจริงๆ ก้อไม่เป็นไรค่ะ ขอบคุณมากค่ะ
มีใครสงสัยอะไรอีกไหมค่ะ ถ้าไม่มีดิฉันจะปิดประชุมค่ะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทุกคนเข้าใจตรงกัน และพยายามหาเวลาว่าง

 

8 0

23. ทำเครื่องแกงและปลาส้ม 4/5

วันที่ 24 มีนาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประธานพูดคุยพบปะกับสมาชิกในกลุ่ม

พริกแกงแดง หรือ พริกแกงเผ็ด ถือเป็นพริกแกงที่ให้รสเผ็ดจัดจ้าน เหมาะกับทำเมนูแกงหรืออาหารที่ต้องการรสเผ็ด เช่น แกงเผ็ดเป็ดย่าง แกงป่า หรือ ผัดพริกแกง ผัดพริกแกงไก่ ข้าวผัดพริกแกงต่าง ๆ ฯลฯ ซึ่งส่วนผสมในการทำนั้น จริง ๆ แล้วไม่ตายตัว แต่จะมีส่วนผสมหลักคือ พริกแห้ง เสริมกลิ่นเครื่องเทศด้วยข่า ตะไคร้ หอมแดง กระเทียม กะปิ ผิวมะกรูด ส่วนใครจะใส่ยี่หร่า ลูกผักชี หรือ พริกไทยเม็ด เพื่อเพิ่มความเผ็ดร้อนให้มากขึ้นก็ได้เช่นกัน

ส่วนผสมค่ะ

พริกชี้ฟ้าแดงแห้งใหญ่ 5 เม็ด พริกขี้หนูแดงแห้งเล็ก 12 เม็ด กระเทียมสับ 2 ช้อนโต๊ะ หอมแดง 2 ช้อนโต๊ะ ตะไคร้ 1 ½ ช้อนโต๊ะ ข่า 1 ช้อนโต๊ะ ผิวมะกรูด 1 ช้อนโต๊ะ กะปิ 1/2 ช้อนโต๊ะ เกลือ 1 ช้อนชา วิธีทำ

นำกระเทียม หอมแดง ข่า ตะไคร้ มาสับให้ละเอียด หั่นผิวมะกรูดออกมา แล้วซอยให้เป็นเส้นเล็ก ๆ ให้ได้ 1 ช้อนโต๊ะ เตรียมครกกับสาก หั่นพริกแห้งใหญ่เป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือฉีกก็ได้ ใส่ลงไป ตามด้วยพริกแห้งเล็ก ข่า ตะไคร้ ผิวมะกรูด เกลือ จากนั้น โขลกส่วนผสมทั้งหมด ให้แหลกละเอียด โดยที่ใส่เกลือ เพื่อให้โขลกได้ง่ายขึ้น เมื่อแหลกละเอียดดีแล้ว ให้ใส่กระเทียมลงไป โขลกให้แหลกพอหยาบ ๆ เสร็จแล้ว ใส่หอมแดงตำให้ละเอียด ใส่กะปิลงไป ตำให้เข้ากัน จนแหลกละเอียดเป็นเนื้อเดียว

เครืองแกงส้ม ส่วนผสม

พริกชี้ฟ้าแห้งเม็ดใหญ่ 15 – 20 เม็ด พริกจินดาแดงแห้ง 10 เม็ด หอมแดง 10 – 15 หัว กระชาย 5 – 6 ชิ้น เกลือ 1/2 ช้อนชา กะปิ 1-2 ช้อนโต้ะ (ถ้าเค็มมากไม่ต้องใส่เยอะ) วิธีทำ

นำพริกชี้ฟ้าแดงแห้ง พริกจินดาแดงแห้ง มาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เสร็จแล้ว แกะเอาเม็ดพริกออก แช่น้ำทิ้งไว้ ในนิ่มลง เตรียมครกกับสาก บีบพริกชี้ฟ้าแดงแห้ง พริกจินดาแดงแห้ง ให้แห้ง ใส่ลงไป แล้วตำให้ละเอียด ใส่หอมแดง ตามด้วยกระชาย หั่นให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วใส่ลงไป ตำให้เข้ากัน จากนั้น ใส่เกลือและกะปิ ตำให้เป็นเนื้อเดียวกัน เป็นอันเสร็จ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สมาชิกในกลุ่ม มีรายได้เพิ่มขึ้น และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

 

15 0

24. ผลิตยาหม่องสมุนไพร 5/5

วันที่ 25 มีนาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ล้างสมุนไพรให้สะอาด เฉือนเอากากออก แล้วฝานเป็นแว่นบางๆ โดยไม่ต้องปอกเปลือก เพื่อให้น้ำมันหอมระเหยออกมาได้มากที่สุด
  2. ใส่น้ำมันมะพร้าวลงไปในหม้อต้ม แล้วใส่สมุนไพรที่ฝานบางแล้วลงไปในอัตราส่วน สมุนไพร:น้ำมัน เป็น 2:1
  3. รอให้เดือดแล้วเคี่ยวไปเรื่อยๆ ด้วยไฟเบา จนกว่าสมุนไพรจะแห้งกรอบ
  4. ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วกรองเอาแต่น้ำมัน บรรจุลงขวดแก้ว
  5. เมื่อเย็นแล้ว หยดน้ำมันหอมระเหยตามกลิ่นและสรรพคุณที่ต้องการลงไป เป็นอันเสร็จพิธี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สมาชิกในกลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้น และใช้เวลาว่างให่เกิดประโยชน์

 

30 0

25. ทำเครื่องแกงและปลาส้ม 5/5

วันที่ 31 มีนาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประธานกล่าวทักทายสมาชิกที่เข้าร่วม วันนี้เรามาร่วมกันทำเครื่องแกงกันอีกครั้งนะค่ะ วันนี้ขอบคุณน้องๆที่มาช่วยกัน บางคนว่าง บ้างคนก็ติดธุระบ้าง ไม่เป็นไรค่ะ ถือว่าทุกคนก็มีธุระกันบ้างนะค่ะ วันก่อนที่เรามาทำด้วยกัน แล้วพาไปตั้งขายที่ร้าน
ตอนนี้ทางร้าน หรือชาวบ้านก้ได้ทราบว่าเรามีกลุ่มขายเครื่องเกง เราทุกคนก้อมีความตั้งใจที่จะทำร่วมกันขอให้ทุกคนตั้งใจเหมือนเดิมนะค่ะ และรู้สึกดีใจมากที่เราพากันมาได้ถึงทุกวันนี้ค่ะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นำเครื่องแกงที่ผลิต นำไปวางจำหน่ายต่อ ร้านค้าใกล้บ้าน และร้านค้าของหมู่บ้านใกล้เคียง

 

15 0

26. ออกแบบบรรจุภัณฑ์

วันที่ 3 เมษายน 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประธานกล่าวทักทายสมาชิกในกลุ่ม วันนี้มีวิทยากรให้ความรู้ด้านคำแนะนำแกนนำกลุ่มและกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 10 คนในการออกแบบบรรจุภัณฑ์วิธีการจัดแสดงสินค้า  การออกแบบสโลแกนของสินค้า  และการลงมือผลิตบรรจุภัณฑ์ค่ะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมได้ช่วยกันออกแบบบรรจุภัณฑ์

 

10 0

27. ช่องทางการตลาด

วันที่ 6 เมษายน 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประธานกล่าวทักทายสมาชิก และได้พูดคุยกับแกนนำ จำนวน 10 คน แกนนำที่ได้เข้ารับการอบรมจากหน่วยจัดการเรื่อง การสื่อสารสาธารณะ จากนั้นนำความรู้ทักาะที่ได้มาจัดทำเพจกลุ่ม ทำโฆษณาสินค้าลงเพจ ประชาสัมพันธ์สรรพคุณสินค้า จัดการขายแบบไลฟ์สด และรับพรีออเดอร์ ทำกิจกรรมครั้งละ 1 วันค่ะ ฝากแต่ละคนช่วยประชาสัมพันธ์ในกลุ่มต่างๆบ้างนะค่ะ นอกเหนือจากเพจที่เราลงนะค่ะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แกนนำประชาสัมพันธ์ สินค้า

 

10 0

28. จัดตั้งศูนย์เรียนรู้กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร บ้านทุ่ง 1/3

วันที่ 29 เมษายน 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประธานกล่าวทักทายแกนนำจำนวน 10 คน โดยหลังจากนี้้กลุ่มของเราเป็นกลุ่มวิสาหกิจสามารถเป็นผู้ให้ความรู้แก่นักเรียนนักศึกษา หรือประชาชนทั่วไปที่มาศึกษาดูงาน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และให้ความรู้ความสามารถนำกลับไปปฎิบัติได้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นักเรียนสามารถนำไปผลิตเองได้บางส่วน แต่ะบางกรณีต้องขอความคำแนะนำ  ซึ่งเด็กมีความจำเป็นเป็นอย่างมากและที่สำคัญต้องการให้มีความรู้ด้วยเรื่องการทำเครื่องแกง  ปลาส้ม และปลาแดดเดียว

 

10 0

29. ช่องทางการตลาด

วันที่ 1 พฤษภาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประธานกล่าวทักทายสมาชิก และได้พูดคุยกับแกนนำ จำนวน 10 คน  แกนนำที่ได้เข้ารับการอบรมจากหน่วยจัดการเรื่อง  การสื่อสารสาธารณะ  จากนั้นนำความรู้ทักาะที่ได้มาจัดทำเพจกลุ่ม  ทำโฆษณาสินค้าลงเพจ  ประชาสัมพันธ์สรรพคุณสินค้า  จัดการขายแบบไลฟ์สด  และรับพรีออเดอร์  ทำกิจกรรมครั้งละ 1 วันค่ะ ฝากแต่ละคนช่วยประชาสัมพันธ์ในกลุ่มต่างๆบ้างนะค่ะ นอกเหนือจากเพจที่เราลงนะค่ะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แกนนำประชาสัมพันธ์สินค้า

 

10 0

30. ประชุมแกนนำโครงการ 5/6

วันที่ 5 พฤษภาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานเพื่อให้ศุูนย์เรียนรู้เป็นที่รู้จักของคนในชุมชนและของคนที่เขามีความสนใน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้วางแผนงานการทำงานเพื่อจัดกิจกรรมศูนย์การเรียนรู้
โดยให้ แกนนำแต่ละโซนนำข้อดี ข้อเสีย ของสินค้า และวิธีการปรับปรุง ซึ่ง มีการแนะนำถึงการทำปลาส้ม ว่าต่อไปต้องทำปลาแดดเดียวควบคุู่กันไปด้วย เนื่องมาจากว่า เวลาขายสินค้าปลาส้ม เขาจะถามปลาแดดเดียวว่ามีใหม โดยเฉพาะปลาน้ำจืด จะเป็นที่ต้องการของตลาดมาก เนื่องจากรสชาดของตัวปลาจะมีความัน กินกับข้าวเหนียวอร่อยมาก และสำคัญ เครื่องแกง ถ้าหากทำแกงส้ม ต้องเพิ่ม พริกขี้หนูสักนิดเพื่อความกล่มกล่อมของเครื่องแกง

 

8 0

31. จัดตั้งศูนย์เรียนรู้กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรบ้านทุ่ง 2/3

วันที่ 15 พฤษภาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ทางผู้รับผิดชอบโครงการได้แนะนำในการทำเครือ่งแกง และได้มีการแนะนำการทำ ปลาส้ม บอกลักษณะที่ต้องทำเองว่ามีความสะอาด ปลอดภัย มากแค่ไหน และที่สำคัญ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ผู้เรียนรู้ ได้แจ้งว่าต่อไปเขาจะไม่ซื้อเครื่องแกง หากไม่จำเป็น
2. สามารถลดรายในครัวได้ด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมาก
3. การรักษาสุขภาพ 4. มีความรู้ด้านการทำเครื่องแกง
5. มีความรู้ด้านการทำปลาส้ม 6. มีการประชาสัมพันธ์ในโรงเรียน

 

10 0

32. จัดตั้งศูนย์เรียนรู้กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรบ้านทุ่ง 3/3

วันที่ 24 มิถุนายน 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

มีการประชาสัมพันธ์ ในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้และได้พูดคุยในเรื่องที่ทำโดยเฉพาะ
1. ปลาส้ม
2. เครื่องแกง
3. การทำยาหม่อง ได้มีการซักถามถึงกรณีที่จะทำสินค้าใ้ห้เข้าสู่ตลาดในชุมชน ของตนเอง และชุมชนใกล้เคียง ทุกคนที่ให้ความรู้ รู้สึกมีความสุขที่ถ่ายทอดความรู้ ด้าน เครื่องแกง  ปลาส้ม ยาหม่องน้ำ กรณีที่เขาต้องการจะมาสาธิต ก็ขอให้นัดเวลา เพราะจะได้เตรียมวัสดุ ในการทำ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เพื่อเป็นศูนย์แนะแนวอาชีพของชุมชน เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติของประชาชนที่สนใจพัฒนาอาชีพ และเป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านอาชีพของชุมชน โดยเป็นจุดสาธิต ฝึกประกอบอาชีพและจำหน่ายผลผลิตที่เกิดขึ้น

 

10 0

33. ประชุมแกนนำโครงการ 6/6

วันที่ 8 กรกฎาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน โดยได้ถามถึงปัญหาอุปสรรคของคนทำงานที่ผ่านมามีอะไรบ้าง และที่สำคัญที่อยากให้ทุกคน มีภาวะความเป็นผู้นำ มากยิ่งขึ้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทุกคนนำปัญหาอุปสรรคที่ได้รับจากการจัดโครงการ มีแก้ไข และมาขอคำปรึกษา
เช่น 1. การขายสินค้าที่ผลิตแล้ว 2. การทำสินค้าต่อไปเพื่อให้มีรายเดิมเพิ่ม 3. ประชาสัมพันธ์ศนศูนย์เรียนรู้เพื่อให้เขามาหาความรู้ในการประกอบอาชีพ

 

8 0

34. เวทีสรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน

วันที่ 9 กรกฎาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประธานกล่าวทักทายสมาชิกในกลุ่ม วันนี้เราก็มาเจอกันอีกแล้วนะค่ะ จากที่เราได้รวมกลุ่มกันมา ตอนนี้รายได้ในกลุ่มของเราก็ขยายเพิ่มขึ้น มีรายได้เข้าครอบครัว ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้  และเราก็ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
ไม่ทราบว่ามีสมาชิกท่านใด มีข้อสงสัย หรืออะไรจะแนะนำ ไหมค่ะ เราได้ช่วยๆกันค่ะ ค่ะดิฉันว่านะค่ะ เราควรขยายการจำหน่ายให้กว้างกว่านี้ค่ะ เพราะตอนนี้เครื่องแกงของเราก็เป็นที่รู้จักกันแล้ว และผลตอบรับก็ดีมากค่ะ ขอบคุณค่ะ ค่ะคนอื่นๆละค่ะ มีอะไรไหมค่ะ ถ้าไม่มีก็ขอบคุณมากๆค่ะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สมาชิกในกลุ่มเข้าใจ และเปิดใจกันมากขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เข้าครอบครัว

 

60 0

35. เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์การดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจฯ

วันที่ 16 กรกฎาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เสนอสินค้าจัดทำสินค้า

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

2 0

36. สรุปกิจกรรมโครงการ

วันที่ 22 กรกฎาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สรุปกิจรรมโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปกิจกรรมทั้งโครงการ

 

4 0

37. จัดทำรายงานฉบับสมบูร์

วันที่ 29 กรกฎาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำรายงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

รายงานฉบับสมบูรณ์

 

4 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.เพื่อจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหาร ของชุมชนบ้านทุ่ง
ตัวชี้วัด : 1. เกิดคณะทำงานของกลุ่มวิสาหกิจกลุ่มละ 5 คน ที่มาจากสมาชิกกลุ่มเห็นชอบร่วมกัน 2.เกิดการกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน 3.มีแผนการปฏิบัติงาน มีการติดตามผลการดำเนินงานและเก็บข้อมูลเพื่อนำมาประเมินและปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง และมีการสรุปผลการดำเนินงาน 4.กลุ่มวิสาหกิจแปรรูปพืชสมุนไพร สามารถผลิตเครื่องแกง และปลาดุกส้มออกกจำหน่ายอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 5.กลุ่มวิสาหกิจยาหม่องน้ำสมุนไพร สามารถผลิตสินค้าออกจำหน่าย เดือนละ 1 ครั้ง
4.00 2.00

 

2 2.เพื่อเพิ่มความรู้ ทักษะการประกอบอาชีพ มีความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงิน
ตัวชี้วัด : 1.สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจมีความรู้ สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ได้ทุกคน 2.ครัวเรือนเป้าหมายมีความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงินไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
35.00

 

3 3.เพื่อจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้วิสาหกิจแปรรูปอาหารในชุมชน
ตัวชี้วัด : 1.มีองค์ความรู้ในการถ่ายทอด 4 ชุดความรู้ ประกอบด้วย การแปรรูปเป็นเครื่องแกง ปลาดุกส้ม ยาหม่องน้ำสมุนไพร และการทำบัญชีรับจ่ายของกลุ่ม
35.00

 

4 4.เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมาย(ครัวเรือนของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจ) มีรายได้เพิ่มขึ้น
ตัวชี้วัด : 1.รายได้รวมของครัวเรือนเป้าหมายเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 30 ของรายได้เดิม
35.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหาร ของชุมชนบ้านทุ่ง (2) 2.เพื่อเพิ่มความรู้ ทักษะการประกอบอาชีพ มีความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงิน (3) 3.เพื่อจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้วิสาหกิจแปรรูปอาหารในชุมชน (4) 4.เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมาย(ครัวเรือนของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจ) มีรายได้เพิ่มขึ้น

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจรรมร่วมกับหน่วยจัดการ สสส. (2) ประชุมแกนนำโครงการ (3) ผลิตยาหม่องน้ำสมุนไพร (4) .จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร บ้านทุ่ง (5) .เวทีแสดงสรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน (6) แปรรูปเครื่องแกง (7) อบรมความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงินให้กลุ่มเป้าหมาย (8) การพัฒนาศักยภาพกลุ่มและการอบรมการแปรรูปอาหารฮาลาลและปลอดภัย (9) จัดทำช่องทางการตลาด และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (10) พัฒนาศักยภาพกลุ่มและการผลิตยาหม่องน้ำสมุนไพร (11) .การออกร้านในงานแสดงสินค้าระดับอำเภอหรือระดับจังหวัด (12) ถอดเงินเปิดบัญชี (13) สรุปกิจกรรมโครงการ (14) ปฐมนิเทศ (15) ทำป้ายโครงการ (16) ประชุมแกนนำโครงการ 1/6 (17) การพัฒนาศักยภาพกลุ่มและอบรมการแปรรูปอาหารฮาลาล (18) ร่วมกันทำเครื่องแกงและปลาส้ม 1/5 (19) ให้ความรู้และฝึกปฎิบัติการผลิตยาหม่อง น้ำสมุนไพร และผลิตภัณฑ์อื่นๆ (20) ประชุมแกนนำโครงการ 2/6 (21) ิอบรมด้านสุขภาพและการเงิน (22) ร่วมกันทำเครื่องแกงและปลาส้ม 2/5 (23) ผลิตยาหม่องสมุนไพร 1/5 (24) ร่วมกันทำเครื่องแกงและปลาส้ม 3/5 (25) อบรมให้ความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงินให้กลุ่มเป้าหมาย (26) ผลิตยาหม่องสมุนไพร 2/5 (27) ประชุมแกนนำโครงการ 3/6 (28) ออกร้านในงานแสดงสินค้า 1/2 (29) ออกร้านในงานแสดงสินค้า 2/2 (30) จัดทำตรายาง (31) เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (32) ผลิตยาหม่องสมุนไพร 3/5 (33) ผลิตยาหม่องสมุนไพร 4/5 (34) ประชุมแกนนำโครงการ 4/6 (35) ทำเครื่องแกงและปลาส้ม 4/5 (36) ผลิตยาหม่องสมุนไพร 5/5 (37) ทำเครื่องแกงและปลาส้ม 5/5 (38) ออกแบบบรรจุภัณฑ์ (39) ช่องทางการตลาด (40) จัดตั้งศูนย์เรียนรู้กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร บ้านทุ่ง 1/3 (41) ช่องทางการตลาด (42) ประชุมแกนนำโครงการ 5/6 (43) จัดตั้งศูนย์เรียนรู้กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรบ้านทุ่ง 2/3 (44) จัดตั้งศูนย์เรียนรู้กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรบ้านทุ่ง 3/3 (45) ประชุมแกนนำโครงการ 6/6 (46) เวทีสรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน (47) เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์การดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจฯ (48) จัดทำรายงานฉบับสมบูร์

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการ วิสาหกิจแปรรูปอาหารและสมุนไพรเพื่อความมั่นคงทางรายได้ บ้านทุ่ง จังหวัดสตูล จังหวัด ภาคใต้

รหัสโครงการ 65-10018-38

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางก่อเดียะ นิ้วหลี )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด