directions_run

โครงการ วิสาหกิจแปรรูปอาหารและสมุนไพรเพื่อความมั่นคงทางรายได้ บ้านทุ่ง จังหวัดสตูล

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ วิสาหกิจแปรรูปอาหารและสมุนไพรเพื่อความมั่นคงทางรายได้ บ้านทุ่ง จังหวัดสตูล
ภายใต้โครงการ โครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้
ภายใต้องค์กร Node โควิค ภาคใต้
รหัสโครงการ 65-10018-38
วันที่อนุมัติ 1 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2565 - 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ หมู่ที่ 5 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางก่อเดียะ นิ้วหลี
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0874755234 0983122292
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ hatyee4849@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 5 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2565 28 ก.พ. 2566 1 ก.ย. 2565 28 ก.พ. 2566 65,000.00
2 1 มี.ค. 2566 30 ก.ค. 2566 1 มี.ค. 2566 31 ส.ค. 2566 25,000.00
3 1 ก.ค. 2566 31 ส.ค. 2566 10,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ชุมชนบ้านทุ่ง หมู่ที่ 5 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล มีจำนวน 275 ครัวเรือน มีประชากร จำนวน 1,015 คน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 95 ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ร้อยละ 80 อาชีพค้าขาย ร้อยละ 15 และอาชีพอื่นๆร้อยละ 5 ชุมชนบ้านทุ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดโรค
4.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชุมชนบ้านทุ่ง หมู่ที่ 5 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล มีจำนวน 275 ครัวเรือน มีประชากร จำนวน 1,015 คน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 95 ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ร้อยละ 80 อาชีพค้าขาย ร้อยละ 15 และอาชีพอื่นๆร้อยละ 5 ชุมชนบ้านทุ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) 2 ระลอกตั้งแต่ต้นปี 2564 และปี 2565 ผู้ได้รับผลกระทบเป็นกลุ่มตกงานจากมาเลย์เซียจำนวน 18 คน จาก 18 ครัวเรือน กลุ่มตกงานจากภาคการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ ภูเก็ต สตูล จำนวน 22 คน จาก 22 ครัวเรือน ปี 2564 คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอละงู และคณะการหมู่บ้านชุมชนบ้านทุ่ง ได้รับทุนจาก สสส ดำเนินโครงการเพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร สามารถสร้างแหล่งอาหารเพิ่มขึ้นในชุมชน ได้แก่ แปลงปลูกพืชผักสวนครัว จำนวน 32 แปลง (30 ครัวเรือนและแปลงรวม 2 แปลง) การเลี้ยงปลา 7 แหล่ง (บ่อธรรมชาติ 1 แหล่ง/เลี้ยงร่วม ท่อซีเมนต์ 6 แหล่ง/เลี้ยงร่วม 1 ท่อ) ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายค่าอาหารในครัวเรือนเฉลี่ย 337 บาท/เดือน เมื่อนำผลผลิตเหลือกินไปขาย ได้รายได้เฉลี่ย 416 บาท/เดือน ผลลัพธ์ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ การออกกำลังกายเพิ่มขึ้นและสม่ำเสมอ 12 ครัวเรือน การลดบุหรี่ ใบจากได้ 2 ราย สุขภาพจิตดีขึ้น 30 ครัวเรือน นอกจากนี้ยังเกิดบรรยากาศการช่วยเหลือ ส่งเสริมความร่วมมือ และเกิดความสามัคคีในชุมชน
หลังโครงการระยะที่ 1 แกนนำโครงการ 5 คน ได้ชักชวนกลุ่มเป้าหมายจากโครงการเดิม จำนวน 30 ครัวเรือน และกลุ่มเป้าหมายใหม่จำนวน 15 ครัวเรือน รวม 45 ครัวเรือน ตั้งวงเสวนาเพื่อทบทวนปัญหาของครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายและครัวเรือนชุมชน พบว่า 43 ครัวเรือนมีปัญหารายได้ไม่พอรายจ่าย มีการวิเคราะห์ค้นหาสาเหตุของการที่มีรายได้ไม่พอรายจ่าย ได้แก่ ประกอบอาชีพที่สร้างรายได้ให้น้อย(45 ครัวเรือน) ซึ่งอาชีพในชุมชนได้แก่ การทำนา การทำสวนยาง สวนผลไม้ ปลูกผัก เลี้ยงแพะ ไก่ เป็ด วัว คนในชุมชนยังไม่มีอาชีพเสริม(37 ครัวเรือน) มีรายได้ทางเดียว ในชุมชนมีกลุ่มทำขนมรวมตัวกันทำปีละ 2 ครั้ง สมาชิกกลุ่ม 5-6 คน ขาดความรู้ความตระหนักเรื่องการจัดการหนี้สิน การออม การรู้เท่าทันสื่อโฆษณาชวนเชื่อ เช่น การผ่อนซื้อสินค้าเครื่องใช้ที่เอาเปรียบเกินควร ถูกชักชวนให้ซื้อของเกินความจำเป็นโดยมีโปรโมชั่นลด แจก แถม แต่ไม่สามารถใช้สินค้านั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด และประกอบกับสถานการณ์โควิดทำให้ตกงาน หรือรายได้จากการประกอบอาชีพลดลงจากเพราะสภาพคล่องทางเศรษฐกิจย่ำแย่ลง ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาดังกล่าว ได้แก่ มีหนี้สินทุกครัวเรือน ตั้งแต่ 10,000 – 200,000 บาท สภาพบ้านเรือนไม่มั่นคงเนื่องจากไม่มีเงินเหลือพอซ่อมแซมบ้าน(7 ครัวเรือน) ซึ่งมีลักษณะ หลังคารั่ว ตัวบ้านชำรุด ไม่มีระบบน้ำประปา ห้องน้ำไม่พร้อมใช้ เกิดโรคจากการประกอบอาชีพที่ต้องใช้แรงงานหนัก ได้แก่ ปวดเมื่อยหลังทำงาน 31 ราย กระดูกทับเส้น 1 ราย มีความเครียดจากภาวะหนี้สิน 45 รายเป็นต้น โดยวิธีการแก้ปัญหาในระยะที่ 2 ชุมชนบ้านทุ่งโดยแกนนำเข้มแข็ง 5 ราย ร่วมกับครัวเรือนเป้าหมายรวมทั้งสิ้น 45 ครัวเรือน วางแผนการเพิ่มรายได้ครัวเรือน ด้วยการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจแปรรูปอาหารที่มีในชุมชน รวมตัวเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1)กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร ซึ่งจะผลิตเครื่องแกง และปลาดุกส้ม มีสมาชิกเป็นผู้สูงอายุ ครอบครัวผู้พิการ ครอบครัวที่มีผู้ป่วยติดเตียง ครอบครัวคนตกงานจากโควิด จำนวน 15 ครัวเรือน และ 2)กลุ่มทำยาหม่องน้ำสมุนไพร มีสมาชิกเป็นเยาวชนครอบครัวคนตกงานจากโควิด คนที่รายได้ลดลงจากสถานการณ์โควิด จำนวน 45 ครัวเรือน ซึ่งทางโครงการตั้งเป้าให้ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ทักษะในการแปรรูป การจัดการกลุ่ม การจัดการด้านบัญชีของกลุ่มและตนเอง ทำการตลาดด้วยตนเองได้ มีความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงิน เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถขยายการทำงานไปสู่ครัวเรือนอื่นได้ต่อไปในอนาคต

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

-

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหาร ของชุมชนบ้านทุ่ง
  1. เกิดคณะทำงานของกลุ่มวิสาหกิจกลุ่มละ 5 คน ที่มาจากสมาชิกกลุ่มเห็นชอบร่วมกัน 2.เกิดการกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน 3.มีแผนการปฏิบัติงาน มีการติดตามผลการดำเนินงานและเก็บข้อมูลเพื่อนำมาประเมินและปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง และมีการสรุปผลการดำเนินงาน 4.กลุ่มวิสาหกิจแปรรูปพืชสมุนไพร สามารถผลิตเครื่องแกง และปลาดุกส้มออกกจำหน่ายอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 5.กลุ่มวิสาหกิจยาหม่องน้ำสมุนไพร สามารถผลิตสินค้าออกจำหน่าย เดือนละ 1 ครั้ง
4.00 2.00
2 2.เพื่อเพิ่มความรู้ ทักษะการประกอบอาชีพ มีความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงิน

1.สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจมีความรู้ สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ได้ทุกคน 2.ครัวเรือนเป้าหมายมีความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงินไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

35.00
3 3.เพื่อจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้วิสาหกิจแปรรูปอาหารในชุมชน

1.มีองค์ความรู้ในการถ่ายทอด 4 ชุดความรู้ ประกอบด้วย การแปรรูปเป็นเครื่องแกง ปลาดุกส้ม ยาหม่องน้ำสมุนไพร และการทำบัญชีรับจ่ายของกลุ่ม

35.00
4 4.เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมาย(ครัวเรือนของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจ) มีรายได้เพิ่มขึ้น

1.รายได้รวมของครัวเรือนเป้าหมายเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 30 ของรายได้เดิม

35.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66
1 กิจรรมร่วมกับหน่วยจัดการ สสส.(18 ก.ย. 2565-31 ส.ค. 2566) 10,000.00                        
2 ประชุมแกนนำโครงการ(18 ก.ย. 2565-31 ส.ค. 2566) 6,960.00                        
3 ผลิตยาหม่องน้ำสมุนไพร(18 ก.ย. 2565-31 ส.ค. 2566) 18,000.00                        
4 .จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร บ้านทุ่ง(18 ก.ย. 2565-31 ส.ค. 2566) 10,200.00                        
5 .เวทีแสดงสรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน(18 ก.ย. 2565-31 ส.ค. 2566) 11,500.00                        
6 แปรรูปเครื่องแกง(18 ก.ย. 2565-31 ส.ค. 2566) 9,000.00                        
7 อบรมความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงินให้กลุ่มเป้าหมาย(18 ก.ย. 2565-31 ส.ค. 2566) 7,350.00                        
8 การพัฒนาศักยภาพกลุ่มและการอบรมการแปรรูปอาหารฮาลาลและปลอดภัย(25 ก.ย. 2565-31 ส.ค. 2566) 7,800.00                        
9 จัดทำช่องทางการตลาด และการออกแบบบรรจุภัณฑ์(1 ต.ค. 2565-31 ส.ค. 2566) 7,630.00                        
10 พัฒนาศักยภาพกลุ่มและการผลิตยาหม่องน้ำสมุนไพร(30 ต.ค. 2565-31 ส.ค. 2566) 9,600.00                        
11 .การออกร้านในงานแสดงสินค้าระดับอำเภอหรือระดับจังหวัด(21 ม.ค. 2566-21 ม.ค. 2566) 1,960.00                        
รวม 100,000.00
1 กิจรรมร่วมกับหน่วยจัดการ สสส. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 12 10,000.00 7 10,000.00
18 ก.ย. 65 ปฐมนิเทศ 2 2,040.00 2,040.00
22 ก.ย. 65 ทำป้ายโครงการ 0 1,250.00 1,250.00
5 - 6 พ.ย. 65 ิอบรมด้านสุขภาพและการเงิน 2 2,120.00 2,120.00
2 ก.พ. 66 จัดทำตรายาง 0 250.00 250.00
11 - 12 ก.พ. 66 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2 2,000.00 2,000.00
15 - 16 ก.ค. 66 เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์การดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจฯ 2 2,000.00 2,000.00
29 ก.ค. 66 จัดทำรายงานฉบับสมบูร์ 4 340.00 340.00
2 ประชุมแกนนำโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 48 6,960.00 6 6,960.00
24 ก.ย. 65 ประชุมแกนนำโครงการ 1/6 8 2,160.00 2,160.00
4 พ.ย. 65 ประชุมแกนนำโครงการ 2/6 8 960.00 960.00
7 ม.ค. 66 ประชุมแกนนำโครงการ 3/6 8 960.00 960.00
23 มี.ค. 66 ประชุมแกนนำโครงการ 4/6 8 960.00 960.00
5 พ.ค. 66 ประชุมแกนนำโครงการ 5/6 8 960.00 960.00
8 ก.ค. 66 ประชุมแกนนำโครงการ 6/6 8 960.00 960.00
3 ผลิตยาหม่องน้ำสมุนไพร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 150 18,000.00 5 18,000.00
26 พ.ย. 65 ผลิตยาหม่องสมุนไพร 1/5 30 3,600.00 3,600.00
24 ธ.ค. 65 ผลิตยาหม่องสมุนไพร 2/5 30 3,600.00 3,600.00
21 มี.ค. 66 ผลิตยาหม่องสมุนไพร 3/5 30 3,600.00 3,600.00
22 มี.ค. 66 ผลิตยาหม่องสมุนไพร 4/5 30 3,600.00 3,600.00
25 มี.ค. 66 ผลิตยาหม่องสมุนไพร 5/5 30 3,600.00 3,600.00
4 .จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร บ้านทุ่ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 10,200.00 3 10,500.00
29 เม.ย. 66 จัดตั้งศูนย์เรียนรู้กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร บ้านทุ่ง 1/3 10 2,400.00 2,400.00
15 พ.ค. 66 จัดตั้งศูนย์เรียนรู้กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรบ้านทุ่ง 2/3 10 5,400.00 5,400.00
24 มิ.ย. 66 จัดตั้งศูนย์เรียนรู้กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรบ้านทุ่ง 3/3 10 2,400.00 2,700.00
5 .เวทีแสดงสรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 11,500.00 1 11,500.00
9 ก.ค. 66 เวทีสรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน 60 11,500.00 11,500.00
6 แปรรูปเครื่องแกง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 75 9,000.00 5 9,000.00
1 ต.ค. 65 ร่วมกันทำเครื่องแกงและปลาส้ม 1/5 15 1,800.00 1,800.00
12 พ.ย. 65 ร่วมกันทำเครื่องแกงและปลาส้ม 2/5 15 1,800.00 1,800.00
10 ธ.ค. 65 ร่วมกันทำเครื่องแกงและปลาส้ม 3/5 15 1,800.00 1,800.00
24 มี.ค. 66 ทำเครื่องแกงและปลาส้ม 4/5 15 1,800.00 1,800.00
31 มี.ค. 66 ทำเครื่องแกงและปลาส้ม 5/5 15 1,800.00 1,800.00
7 อบรมความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงินให้กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 45 7,350.00 1 7,050.00
18 ธ.ค. 65 อบรมให้ความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงินให้กลุ่มเป้าหมาย 45 7,350.00 7,050.00
8 การพัฒนาศักยภาพกลุ่มและการอบรมการแปรรูปอาหารฮาลาลและปลอดภัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 7,800.00 1 7,800.00
25 ก.ย. 65 การพัฒนาศักยภาพกลุ่มและอบรมการแปรรูปอาหารฮาลาล 20 7,800.00 7,800.00
9 จัดทำช่องทางการตลาด และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 7,630.00 3 7,630.00
3 เม.ย. 66 ออกแบบบรรจุภัณฑ์ 10 5,230.00 5,230.00
6 เม.ย. 66 ช่องทางการตลาด 10 1,200.00 1,200.00
1 พ.ค. 66 ช่องทางการตลาด 10 1,200.00 1,200.00
10 พัฒนาศักยภาพกลุ่มและการผลิตยาหม่องน้ำสมุนไพร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 35 9,600.00 1 9,600.00
30 ต.ค. 65 ให้ความรู้และฝึกปฎิบัติการผลิตยาหม่อง น้ำสมุนไพร และผลิตภัณฑ์อื่นๆ 35 9,600.00 9,600.00
11 .การออกร้านในงานแสดงสินค้าระดับอำเภอหรือระดับจังหวัด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 8 1,960.00 2 960.00
21 ม.ค. 66 ออกร้านในงานแสดงสินค้า 1/2 4 980.00 480.00
25 ม.ค. 66 ออกร้านในงานแสดงสินค้า 2/2 4 980.00 480.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 4 0.00 2 1,500.00
15 มี.ค. 66 ถอดเงินเปิดบัญชี 0 0.00 500.00
22 ก.ค. 66 สรุปกิจกรรมโครงการ 4 0.00 1,000.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดกลุ่มวิสาหกิจ 2 กลุ่ม ที่สามารถดำเนินงานได้ต่อเนื่อง เกิดรายได้ให้สมาชิกและครอบครัว 2.สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจมีความรู้ ทักษะการประกอบอาชีพผลิตเครื่องแกง ปลาดุกส้ม และยาหม่องน้ำสมุนไพร มีความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงินเพิ่มขึ้น 3.เกิดศูนย์การเรียนรู้ จำนวน 2 ศูนย์ตามกลุ่มวิสาหกิจที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่กลุ่มอื่น ๆ ได้ 4.ครัวเรือนเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้น

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2565 07:10 น.