directions_run

โครงการพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารปลอดภัยในเขตเมือง เทศบาลนครตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node โควิค ภาคใต้


“ โครงการพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารปลอดภัยในเขตเมือง เทศบาลนครตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ”

เทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นายฑยากร สุธีรปรีชานนทร์

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารปลอดภัยในเขตเมือง เทศบาลนครตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

ที่อยู่ เทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 65-10018-05 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กันยายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารปลอดภัยในเขตเมือง เทศบาลนครตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน เทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node โควิค ภาคใต้ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารปลอดภัยในเขตเมือง เทศบาลนครตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง



บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอาชีพให้แก่ ประชาชนผู้ทีได้ผลกระทบจากวิกฤติ โควิด 19 (2) เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียว (3) เพื่อจัดตังกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตและบริโภคผักปลอดสารพิษเทศบาลนครตรัง (4) เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่กลุ่มเปราะบางที่่่เข้าร่วมโครงการ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน (2) ส่งเสริมการสร้างรายได้ผ่านแพลตฟอร์มสีเขียว (3) กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการและ สสส. (4) เวทีปฐมนิเทศโครงการ ระดับหน่วยจัดการ (5) พัฒนาแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียว (6) ถอนเงินเปิดบัญชี (7) จัดตั้งและพัฒนาศักยภาพคณะทำงานและจัดทำแผนปฏิบัติการ (8) เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน (9) ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตและจำหน่ายผักปลอดสารเทศบาลนครตรัง โดยการจัดตั้งกลุ่ม กำหนดบทบบาทหน้าที่ กำหนดกติกาข้อตกลง และจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกัน (10) อบรมทักษะการใช้แพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์สีเขียวและการขนส่งสินค้า รวมถึงความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงินแก่สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ และคณะทำงานชุมชนต้นแบบ 4 ชุมชน (11) ส่งเสริมการซื้อขายจริงผ่านแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียว (12) จัดทำแผนการตลาดออนไลน์ และวิเคราะห์ข้อมูล (13) สร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 13 “ภาคใต้แห่งความสุขเพื่อสุขภาวะแห่งอนาคต สุข สู่ สุขภาวะ”

ในการทำกิจกรรมตามแผนที่ได้วางเอาไว้ในโครงการพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารปลอดภัยในเขตเมือง เทศบาลนครตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ยังไม่สำเร็จตามแผนที่ได้วางเอาไว้ทุกประเด็น โดยเงื่อนไขที่ทำกิจกรรมสำเร็จของโครงการนี้ คือ พี่เลี้ยงต้องติดตามและสร้างเสริมแรงจูงใจให้คณะทำงานดำเนินกิจกรรมตามแผนที่วางไว้อยู่อย่างต่อเนื่อง และต้องให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้ เนื่องจากคณะทำงานส่วนใหญ่ยังขาดประสบการณ์ในการทำงาน โดยปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมในโครงการให้สำเร็จ คือ การเพาะปลูกผักปลอดสารพิษในเขตเทศบาลนครตรังมีจำนวนผู้ผลิตน้อยราย และผู้ผลิตแต่ละรายมีแนวทางในการดำเนินธุรกิจของตนเอง คือ ปลูกผักที่อยู่ในกระแสความต้องการโดยผู้ผลิตเลือกปลูกชนิดผักที่จะปลูกขายเอง แล้วนำเสนอขายผ่าน Facebook ของฟาร์ม หรือขายผ่านหน้าร้าน พร้อมทั้งมีฐานลูกค้าของตนอยู่แล้ว การเข้าไปเปลี่ยนแปลงและนำเสนอช่องทางแพลตฟอร์มใหม่ๆ จึงส่งผลต่อการตัดสินใจในการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของผู้ส่งผักปลอดสารพิษในแพลตฟอร์ม เนื่องจากแพลตฟอร์มใหม่ยังไม่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ผลิต ประกอบกับการคำสั่งซื้อจากแพลตฟอร์มยังขาดความแน่นอนจึงส่งผลต่อการวางแผนการเพาะปลูกของผู้ผลิต เป็นต้น และคณะทำงานในโครงการขาดประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ ขาดการประสานงานที่ดี รวมถึงเวลาว่างของคณะทำงานแต่ละคนไม่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินกิจกรรมของโครงการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ข้อเสนอแนะต่อโครงการ ได้แก่ แพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียวมีประโยชน์ต่อผู้บริโภคในกลุ่มผู้รักสุขภาพอย่างแน่นอน แต่การจะผลักดันแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียวให้เป็นรูปธรรม มีความยั่งยืน และมีประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้าง ควรต้องหาหน่วยงานหรือคณะทำงานที่ความพร้อมในการขับเคลื่อนแพลตฟอร์มอย่างจริงจัง เช่น สำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง สำนักงานพาณิชย์จังหวัดตรัง และเทศบาลนครตรัง เป็นต้น มาร่วมประสานพลังเพื่อผลักดันให้โครงการนี้มีความยั่งยืนต่อไป

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

จังหวัดตรัง เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ค่อนข้างรุนแรงในระยะที่ผ่านมา ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยผลกระทบนั้นแผ่กระจายในวงกว้างกับคนทุกกลุ่ม ทุกอาชีพ จากรายงานสรุปสถิติข้อมูลล่าสุด สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอก มกราคม 2565 - วันที่ 27 เมษายน 2565 พบผู้ติดเชื้อสะสม 9,65O ราย รักษาหายแล้ว 9,451 ราย อยู่ระหว่างรักษา 137 ราย มีผู้เสียชีวิต สะสม 62 ราย และปัจจุบันยังพบผู้ติดเชื้อรายใหม่อย่างต่อเนื่องทุกวัน จากการประเมินข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของของโรค COVID-19 พบว่าพื้นที่ตัวเมืองในเขตเทศบาลนครตรัง ได้รับผลกระทบสูงที่สุด เนื่องจากเป็นจุดศูนย์กลางที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น เป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการ และเป็นศูนย์กลางการค้า การบริการ และธุรกิจต่างๆ จํานวนมาก เทศบาลนครตรังเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีประชากร 56,893 คน แบ่งออกเป็น 4 เขต มีชุมชนทั้งสิ้น 42 ชุมชน (เมษายน 2565) สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบกับการจ้างงานของกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งสําเร็จการศึกษาในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาและนักศึกษาจบใหม่ เนื่องจากผู้ประกอบการร้านค้าต่างๆ ได้ชะลอการจ้างงาน และทยอยปิดกิจการไปเป็นจํานวนมาก ซึ งกลุ่มเยาวชนดังกล่าวเป็นคนรุ่นใหม่ที่$มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีคอม และสามารถใช้โซเชียลมีเดียได้อย่างคล่องแคล่วว่องไวแต่ยังไม่สามารถหางานทําได้เนื่องจำนวนมาก หากปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ก็จะก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาสังคมตามมาได้

หน่วยจัดการโควิต พื้นที่จังหวัดตรัง เล็งเห็นความสําคัญของปัญหาดังกล่าว จึงมีแนวคิดสนับสนุนช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางทั้งกลุ่มประชาชนทั่วไปและกลุ่มเยาวชนที่ยังว่างงานให้มีความรอบรู้ในการใช้จ่าย สามารถแสวงหาวิธีการลดรายจ่าย และสร้างรายได้ในรูปแบบใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันได้ จนสามารถก้าวข้ามภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอาชีพให้แก่ ประชาชนผู้ทีได้ผลกระทบจากวิกฤติ โควิด 19
  2. เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียว
  3. เพื่อจัดตังกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตและบริโภคผักปลอดสารพิษเทศบาลนครตรัง
  4. เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่กลุ่มเปราะบางที่่่เข้าร่วมโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
  2. ส่งเสริมการสร้างรายได้ผ่านแพลตฟอร์มสีเขียว
  3. กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการและ สสส.
  4. เวทีปฐมนิเทศโครงการ ระดับหน่วยจัดการ
  5. พัฒนาแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียว
  6. ถอนเงินเปิดบัญชี
  7. จัดตั้งและพัฒนาศักยภาพคณะทำงานและจัดทำแผนปฏิบัติการ
  8. เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน
  9. ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตและจำหน่ายผักปลอดสารเทศบาลนครตรัง โดยการจัดตั้งกลุ่ม กำหนดบทบบาทหน้าที่ กำหนดกติกาข้อตกลง และจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกัน
  10. อบรมทักษะการใช้แพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์สีเขียวและการขนส่งสินค้า รวมถึงความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงินแก่สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ และคณะทำงานชุมชนต้นแบบ 4 ชุมชน
  11. ส่งเสริมการซื้อขายจริงผ่านแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียว
  12. จัดทำแผนการตลาดออนไลน์ และวิเคราะห์ข้อมูล
  13. สร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 13 “ภาคใต้แห่งความสุขเพื่อสุขภาวะแห่งอนาคต สุข สู่ สุขภาวะ”

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
บัณฑิตจบใหม่ที่ยังว่างงาน 15
ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด 30

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เกิดคณะทํางานที่มีความเข้าใจและมีความสามารถในการดําเนินโครงการ
  2. มีแผนการตลาดออนไลน์ผักปลอดสารเทศบาลนครตรัง
  3. มีแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียวให้บริการในเขตพื้นที่เทศบาลนครตรัง
  4. กลุ่มเป้าหมายมีทักษะการใช้แพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียวและการขนส่งสินค้า รวมถึงความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงิน
  5. เกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่สามารถดําเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง สร้างรายได้ให้สมาชิก
  6. กลุ่มเปราะบางที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้เพิ่มขึ้น
  7. ประชาชนในเขตเทศบาลนครเข้าถึงและบริโภคผักปลอดสารเพิ่มมากขึ้น
  8. ประชาชนในเขตเทศบาลนครตรังมีสุขภาพที่ดีขึ้น

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. เวทีปฐมนิเทศโครงการ ระดับหน่วยจัดการ

วันที่ 17 กันยายน 2565 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

สมาชิกจำนวน 2 คน เข้าร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สมาชิกจำนวน 2 คน มีความเข้าใจในขั้นตอนของการดำเนินกิจกรรมของโครงการ

 

2 0

2. พัฒนาแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียว

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.จัดจ้างผู้พัฒนาพัฒนาแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียว 2.ให้สัมภาษณ์ถึงความต้องการของระบบ 3.ผู้รับจ้างพัฒนาระบบ 4.คณะทำงานทดสอบการใช้งานของระบบ 5.ส่งมอบระบบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ได้แพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียว 1 ระบบ

 

0 0

3. ถอนเงินเปิดบัญชี

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. นัดหมายสมาชิกให้ไปพบกันที่ธนาคารกรุงไทย
  2. ถอนเงินเปิดบัญชี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ถอนเงินเปิดบัญชี

 

3 0

4. เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโครงการต่างๆ
  • วิทยากรบรรยายแนะนำแนวทางปฏิบัติ
  • วิทยากรแนะนำการจัดทำเอกสารทางการเงิน

  • วิทยากรอธิบายการเตรียมรายงานความก้าวหน้าประจำงวดที่ 1

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • คณะทำงานจำนวน 2 คน ได้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • เกิดการเรียนรู้เพื่อนำแนวทางปฏิบัติที่ดีมาใช้ในโครงการ
  • เกิดความเข้าใจในการจัดทำเอกสารทางการเงิน
  • เกิดความเข้าใจในการเตรียมรายงานความก้าวหน้าประจำงวดที่ 1

 

2 0

5. จัดทำแผนการตลาดออนไลน์ และวิเคราะห์ข้อมูล

วันที่ 3 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ประชุมกลุ่มคณะทำงานเพื่อวางแผนในการปฎิบัติงาน
  2. วิเคราะห์ข้อมูลในการทำแผนการตลาดออนไลน์
  3. จัดทำแผนการตลาดออนไลน์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ได้แผนในการปฎิบัติงานของโครงการในงวดที่ 2
  2. ได้แผนในการทำการตลาดออนไลน์

 

15 0

6. ส่งเสริมการซื้อขายจริงผ่านแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียว

วันที่ 24 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. รับสมัคร Rider และร้านค้า เพื่อทดสอบกระบวนการทำงานของแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียว
  2. เปิดรับ Order ผ่านแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียว
  3. Rider รับสินค้าจากร้านนำไปส่งให้ร้านค้า
  4. ระบบดำเนินการโอนเงินค่าสินค้าให้ผู้ขาย
  5. ระบบโอนเงินค่าส่งสินค้าให้กับ Rider

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. แพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียวผ่านการทดสอบ
  2. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการอยู่ในระดับดี

 

15 0

7. สร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 13 “ภาคใต้แห่งความสุขเพื่อสุขภาวะแห่งอนาคต สุข สู่ สุขภาวะ”

วันที่ 8 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. วางแผน เตรียมคน และการออกแบบบูธในการนำเสนอผลงาน
  2. จัดบูธแนะนำแพลตฟอร์มขายสินค้าชุมชน ในเขตเทศบาลนครตรัง
  3. ตอบข้อซักถามแก่ผู้ชมงาน
  4. เก็บรวบรวมข้อคิดเห็นต่างๆ เพื่อใช้ประกอบในการขับเคลื่อนแพลตฟอร์มต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ได้รับการติดต่อในการขอใช้แพลตฟอร์มจากกลุ่มสินค้าชุมชนในจังหวัดชุมพร
  2. แพลตฟอร์มขายสินค้าชุมชน ในเขตเทศบาลนครตรัง ได้ถูกเผยแพร่ต่อสาธารณะ
  3. ได้รับการจัดทำข่าวประชาสัมพันธ์จากสื่อมวลชนของจังหวัดปัตตานี

 

3 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ความสำเร็จและผลลัพธ์ของโครงการพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารปลอดภัยในเขตเมือง เทศบาลนครตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง มีดังนี้ - เกิดคณะทำงาน 15 คน มาจากบัณฑิตจบใหม่ที่ได้รับผลกระทบจาก covid ตัวแทนชุมชนเป้าหมาย และประชาชนทั่วไป เกิดการกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน และมีแผนการปฏิบัติงาน - มีฐานข้อมูลการผลิตและบริโภคผักปลอดสารพิษในเขตเทศบาลนครตรังและพื้นที่ใกล้เคียง และเกิดแผนการตลาดออนไลน์ผักปลอดสารพิษในเขตเทศบาลนครตรัง โดยจัดทำ Banner ประชาสัมพันธ์จำนวน 1 ภาพ และเผยแพร่ Banner ลงไปในกลุ่ม Facebook ดังนี้ กลุ่มนครตรัง สมาชิก 1.5 หมื่นคน กลุ่มอยากซื้อ อยากขาย เมืองตรัง สมาชิก 9.8 หมื่นคน และกลุ่มคนตรังทับเที่ยง สมาชิก 6.6 หมื่นคน - แพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียวเปิดให้บริการแล้ว จำนวน 1 แพลตฟอร์ม ที่ greenmarket.psutrang.com โดยคะแนนประเมินความพึงพอใจของการใช้งานแพลตฟอร์มอยู่ที่ระดับ 81.25% - โครงการเปิดรับสมัครกลุ่มเปราะบาง คือ ผู้ว่างงาน เข้าร่วมในโครงการเพื่อเป็นไรเดอร์ในการส่งผักปลอดสารพิษ จำนวน 2 คน ปฏิบัติงานวันละ 2 รอบ รอบเช้า 08.00 - 10.00 น. และ รอบเย็น 16.00 - 18.00 น. ในระหว่างวันที่ 1 - 31 กรกฎาคม 2566 ผลสรุปกลุ่มเปราะบางที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้เฉลี่ย 100 บาท/วัน โดยผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นน้อยกว่าตัวชี้วัดที่ได้ตั้งไว้ เนื่องจากจำนวนคำสั่งซื้อในแต่ะวันยังน้อย รวมถึงบางวันไม่มีคำสั่งซื้อ จึงทำให้ค่าเฉลี่ยของรายได้ต่อวันที่คำนวณจากรายได้ต่อเดือนน้อยกว่าตัวชี้วัด

ทั้งนี้ไม่เกิดการรวมตัวเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ เนื่องจาก (1) กลุ่มผู้ขายมีกำลังผลิตที่ไม่เพียงพอจะสามารถป้อนสินค้าเข้าแพลตฟอร์มได้ (2) มีผู้ขายน้อยราย (3) ผู้ขายแต่ละรายมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลายอยู่แล้ว และ (4) คณะทำงานในโครงการส่วนใหญ่เป็นบัณฑิตจบใหม่จึงยังต้องมีการโยกย้ายที่อยู่เพื่อไปประกอบอาชีพและไม่มีความพร้อมเพียงพอที่จะรวมตัวกันเพื่อขับเคลื่อนสู่การเป็นวิสาหกิจชุมชนฯ

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอาชีพให้แก่ ประชาชนผู้ทีได้ผลกระทบจากวิกฤติ โควิด 19
ตัวชี้วัด : 1. เกิดคณะทํางาน 8-15 คน มาจากบัณฑิตจบ ใหม่ที่ได้รับผลกระทบจาก covid ตัวแทนชุมชน เป้าหมาย และตัวแทนเทศบาลนครตรัง 2. เกิดการกําหนดบทบาทหน้าที่ของ คณะทํางาน 3. มีแผนการปฏิบัติงาน 4. กลุ่มเป้าหมาย 30 คน มีทักษะการใช้ แพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียวและการขนส่ง สินค้า รวมถึงความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงิน เพิ่มขึ้น 5. กลุ่มเป้าหมายอย่างน้อย 80% สามารถนํา ความรู้ไปใช้ประกอบธุรกิจและแก้ไขปัญหา ทางการเงินและสุขภาพได้
45.00

เกิดคณะทำงาน 15 คน และอบรมทักษะทาการเงินและสุขภาพให้กับกลุ่มเป้าหมาย 30 คน

2 เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียว
ตัวชี้วัด : 1. มีฐานข้อมูลการผลิตและบริโภคผักปลอดสารพิษในเขตเทศบาลนครตรังและพื้นที่ใกล้เคียง 2. เกิดแผนการตลาดออนไลน์ผักปลอดสารพิษในเขตเทศบาลนครตรัง 3. แพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียวสามารถเปิดให้บริการ จํานวน 1 แพลตฟอร์ม 4. แพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียวสร้างความสะดวกให้กับผู้ซื้อและผู้ขาย โดยได้รับการประเมินระดับความพึงพอใจ 80% ขึ้นไป
1.00

greenmarket.psutrang.com

3 เพื่อจัดตังกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตและบริโภคผักปลอดสารพิษเทศบาลนครตรัง
ตัวชี้วัด : 1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ มีคณะทํางานมาจากคณะทํางานโครงการฯ ที่ได้รับการคัดเลือกจากสมาชิกและมีความสมัครใจเป็นคณะทํางานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 2. เกิดการกําหนดบทบาทหน้าที่ของคณะทํางานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 3. เกิดกติกาข้อตกลงร่วมกันของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 4. มีแผนการปฏิบัติงาน มีการติดตามผลการดําเนินงาน และปรับปรุงการทํางานอย่างต่อเนือง 5. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตและจําหน่ายผักปลอดสารพิษในเขตเทศบาลนครตรัง สามารถจัดหาผักปลอดสารพิษเพื่อป้อนเข้าสู่แพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียว อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
0.00

ไม่เกิดการรวมตัวเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ

4 เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่กลุ่มเปราะบางที่่่เข้าร่วมโครงการ
ตัวชี้วัด : 1. กลุ่มเปราะบางที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้ เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 300 บาท/วัน
100.00

ในระหว่างวันที่ 1 - 31 กรกฎาคม 2566 ผลสรุปกลุ่มเปราะบางที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้เฉลี่ย 100 บาท/วัน โดยผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นน้อยกว่าตัวชี้วัดที่ได้ตั้งไว้ เนื่องจากจำนวนคำสั่งซื้อในแต่ะวันยังน้อย รวมถึงบางวันไม่มีคำสั่งซื้อ จึงทำให้ค่าเฉลี่ยของรายได้ต่อวันที่คำนวณจากรายได้ต่อเดือนน้อยกว่าตัวชี้วัด

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 45 45
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
บัณฑิตจบใหม่ที่ยังว่างงาน 15 15
ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด 30 30

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอาชีพให้แก่ ประชาชนผู้ทีได้ผลกระทบจากวิกฤติ โควิด 19 (2) เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียว (3) เพื่อจัดตังกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตและบริโภคผักปลอดสารพิษเทศบาลนครตรัง (4) เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่กลุ่มเปราะบางที่่่เข้าร่วมโครงการ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน (2) ส่งเสริมการสร้างรายได้ผ่านแพลตฟอร์มสีเขียว (3) กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการและ สสส. (4) เวทีปฐมนิเทศโครงการ ระดับหน่วยจัดการ (5) พัฒนาแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียว (6) ถอนเงินเปิดบัญชี (7) จัดตั้งและพัฒนาศักยภาพคณะทำงานและจัดทำแผนปฏิบัติการ (8) เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน (9) ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตและจำหน่ายผักปลอดสารเทศบาลนครตรัง โดยการจัดตั้งกลุ่ม กำหนดบทบบาทหน้าที่ กำหนดกติกาข้อตกลง และจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกัน (10) อบรมทักษะการใช้แพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์สีเขียวและการขนส่งสินค้า รวมถึงความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงินแก่สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ และคณะทำงานชุมชนต้นแบบ 4 ชุมชน (11) ส่งเสริมการซื้อขายจริงผ่านแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียว (12) จัดทำแผนการตลาดออนไลน์ และวิเคราะห์ข้อมูล (13) สร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 13 “ภาคใต้แห่งความสุขเพื่อสุขภาวะแห่งอนาคต สุข สู่ สุขภาวะ”

ในการทำกิจกรรมตามแผนที่ได้วางเอาไว้ในโครงการพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารปลอดภัยในเขตเมือง เทศบาลนครตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ยังไม่สำเร็จตามแผนที่ได้วางเอาไว้ทุกประเด็น โดยเงื่อนไขที่ทำกิจกรรมสำเร็จของโครงการนี้ คือ พี่เลี้ยงต้องติดตามและสร้างเสริมแรงจูงใจให้คณะทำงานดำเนินกิจกรรมตามแผนที่วางไว้อยู่อย่างต่อเนื่อง และต้องให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้ เนื่องจากคณะทำงานส่วนใหญ่ยังขาดประสบการณ์ในการทำงาน โดยปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมในโครงการให้สำเร็จ คือ การเพาะปลูกผักปลอดสารพิษในเขตเทศบาลนครตรังมีจำนวนผู้ผลิตน้อยราย และผู้ผลิตแต่ละรายมีแนวทางในการดำเนินธุรกิจของตนเอง คือ ปลูกผักที่อยู่ในกระแสความต้องการโดยผู้ผลิตเลือกปลูกชนิดผักที่จะปลูกขายเอง แล้วนำเสนอขายผ่าน Facebook ของฟาร์ม หรือขายผ่านหน้าร้าน พร้อมทั้งมีฐานลูกค้าของตนอยู่แล้ว การเข้าไปเปลี่ยนแปลงและนำเสนอช่องทางแพลตฟอร์มใหม่ๆ จึงส่งผลต่อการตัดสินใจในการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของผู้ส่งผักปลอดสารพิษในแพลตฟอร์ม เนื่องจากแพลตฟอร์มใหม่ยังไม่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ผลิต ประกอบกับการคำสั่งซื้อจากแพลตฟอร์มยังขาดความแน่นอนจึงส่งผลต่อการวางแผนการเพาะปลูกของผู้ผลิต เป็นต้น และคณะทำงานในโครงการขาดประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ ขาดการประสานงานที่ดี รวมถึงเวลาว่างของคณะทำงานแต่ละคนไม่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินกิจกรรมของโครงการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ข้อเสนอแนะต่อโครงการ ได้แก่ แพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียวมีประโยชน์ต่อผู้บริโภคในกลุ่มผู้รักสุขภาพอย่างแน่นอน แต่การจะผลักดันแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียวให้เป็นรูปธรรม มีความยั่งยืน และมีประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้าง ควรต้องหาหน่วยงานหรือคณะทำงานที่ความพร้อมในการขับเคลื่อนแพลตฟอร์มอย่างจริงจัง เช่น สำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง สำนักงานพาณิชย์จังหวัดตรัง และเทศบาลนครตรัง เป็นต้น มาร่วมประสานพลังเพื่อผลักดันให้โครงการนี้มีความยั่งยืนต่อไป

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ
  1. ประสิทธิภาพโดยรวมของโครงการยังไม่ดีนัก
  2. การพัฒนาส่งเสริมให้แพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียวของโครงการนี้เกิดความยั่งยืน
  1. ความไม่พร้อมในเรื่องของเวลาในการทำงานร่วมกันของคณะทำงาน และประสบการณ์ของทีมงาน
  2. ขาดหน่วยงานระดับท้องถิ่นในการส่งเสริมพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน
  1. คัดสรรและเตรียมคนทำงานให้พร้อมต่อการดำเนินกิจกรรมผ่านการดูแลจากพี่เลี้ยงอย่างต่อเนื่อง
  2. การพัฒนาส่งเสริมให้แพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียวของโครงการนี้เกิดความยั่งยืนควรได้รับการสนับสนุน และความช่วยเหลือจากหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงต้องมีการส่งเสริม และพัฒนาแพลตฟอร์มนี้อย่างต่อเนื่องต่อไป

โครงการพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารปลอดภัยในเขตเมือง เทศบาลนครตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 65-10018-05

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายฑยากร สุธีรปรีชานนทร์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด