แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node โควิค ภาคใต้


“ โครงการวิสาหกิจข้าวเหนียวไก่ ณ นาเคียน ”

ตำบลนาเคียน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
กานดา โต๊ะยีอิด

ชื่อโครงการ โครงการวิสาหกิจข้าวเหนียวไก่ ณ นาเคียน

ที่อยู่ ตำบลนาเคียน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 65-10018-14 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กันยายน 2022 ถึง 31 สิงหาคม 2023


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการวิสาหกิจข้าวเหนียวไก่ ณ นาเคียน จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลนาเคียน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node โควิค ภาคใต้ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการวิสาหกิจข้าวเหนียวไก่ ณ นาเคียน



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการวิสาหกิจข้าวเหนียวไก่ ณ นาเคียน " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลนาเคียน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสโครงการ 65-10018-14 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กันยายน 2022 - 31 สิงหาคม 2023 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 80,000.00 บาท จาก Node โควิค ภาคใต้ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

เป็นมา/ หลักการและเหตุผล/ ความสำคัญของปัญหา (ไม่เกิน 1.5 หน้า)
      ตำบลนาเคียนอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นตำบลที่ถูกก่อตั้งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี โดยออรังมาลายู (ชาวมลายู) ปาตานี สายบุรี ลังกาวี ซึ่งถูกกวาดต้อนมาหลังเสร็จสงคราม เดิมทีประชาชนของตำบลนาเคียนเป็นเชลยศึกที่มาจากเมืองปัตตานี สายบุรี ลังกาวี โดยเชลยศึกเหล่านี้จะถูกกวาดต้อนจากปัตตานีไปยังกองทัพของกรุงสยาม โดยจะถูกกวาดต้อนไปยังกองทัพสยามที่เมืองนครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง ซึ่งเชลยศึกเหล่านี้ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ตามเขตชายฝั่งทะเล นอกเขตเมืองและบางส่วนอยู่ในกรุงสยาม เชลยศึกที่อยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราชส่วนหนึ่ง ได้ทำการบุกเบิกป่านาเคียน ซึ่งเป็นป่ารกร้างที่ปกคลุมด้วยต้นตะเคียน เพื่อทำแปลงนาปลูกข้าวส่งให้กับกองทัพนครศรีธรรมราช ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการประกาศเลิกทาส และให้ที่ดินที่นาแก่ประชาชนเพื่อประกอบอาชีพทางการเกษตร โดยคนในสมัยนั้นได้ทำการปลูกข้าวครั้งแรกเรียกว่า “นาหยาม” ซึ่งทำได้ไม่กี่ปี สภาพพื้นที่ก็ไม่เอื้ออำนวยทำให้ขาดทุน และต่อมาก็ได้ทำเป็น “นาปี” ด้วยความที่ชาวบ้านให้ความสำคัญกับธรรมชาติ จึงตั้งชื่อหมู่บ้านตามภูมิศาสตร์และลักษณะของพื้นที่หมู่บ้านว่า “บ้านนาตะเคียน” หลายปีผ่านมาชาวบ้านจึงเรียกว่า “บ้านนาเคียน” และได้เรียกติดปากกันมาจนถึงปัจจุบันนี้       ตำบลนาเคียนสภาพพื้นที่เดิมเป็นป่ามีทุ่งนาบางส่วน ราษฎรมีอาชีพขายน้ำมันยางและยางตะเคียน พื้นที่มีต้นตะเคียนทองมาก และที่สำคัญคือมีต้นตะเคียนขนาดใหญ่อยู่บริเวณทางผ่านของผู้คนอำเภอลานสกาและพรหมคีรี ราษฎรผ่านไปมาใช้ต้นตะเคียนเป็นที่พักร้อน และเรียกชื่อที่พักนี้ว่า "ศาลานาเคียน" เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงให้ชื่อว่า "ตำบลนาเคียน" ตำบลนาเคียนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านปากสระ หมู่ 2 บ้านหัวทะเล หมู่ 3 บ้านทุ่งโหนด หมู่ 4 บ้านคลองดิน หมู่ 5 บ้านนาเคียนเหนือ หมู่ 6 บ้านนาเคียนใต้ หมู่ 7 บ้านใหม่ หมู่ 8 บ้านโคกม่วง หมู่ 9 บ้านทวดเหนือ มีประชากรทั้งหมด 12,025 คน หรือ ประมาณร้อยละ 4.51 ของประชากรอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เป็นชาย 5,949 คน หญิง 6,076 มีครัวเรือน นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 97 ศาสนาอิสลามร้อยละ 97 ศาสนา นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 3 มีประชากรแฝงในพื้นที่ เป็นกลุ่มอาชีพรับจ้างเป็นส่วนใหญ่
ทุนและศักยภาพทางสังคมของตำบลนาเคียน พบว่า เป็นตำบลที่มีกลุ่มอาชีพหลากหลายอาชีพ กลุ่มอาชีพ 15 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มเลี้ยงสัตว์ (แพะ โคพันธุ์พื้นเมือง) กลุ่มอาชีพ (เย็บผ้า ปลูกผัก ปลูกข่า ปักผ้า ผลิตภัณฑ์ลูกปัด) กลุ่มออมทรัพย์ รวมถึงกลุ่มแม่บ้าน(กลุ่มสตรี เครื่องแกง ย่านลิเพา ดอกไม้ประดิษฐ์ ไม่ดัดไม่ประดับ นอกจากนั้น หมู่ที่ 4 มีกลุ่มอาชีพย่านลิเพาที่ได้รับรางวับโอทอประดับประเทศ และมีกลุ่มผักไฮโรโปนิค “กลุ่มบารากัตฟาร์ม” ที่เป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาดูงาน จากสถานการณ์ 3 ปีที่ผ่านมา ตำบลนาเคียนเป็นตำบลหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 มาตลอด เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่อยู่ใกล้เขตเมือง การเดินทาง การทำงาน และมีอาชีพ เชื่อมโยงสัมพันธ์กับเขตเมือง อีกทั้งบริบทประชาชนในชุมชนอาศัยอยู่แบบญาติมิตรมีการทำกิจกรรมในชุมชนร่วมกันตลอดเวลาทั้งกิจกรรมศาสนา ประเพณี หรือการไปมาหาสู่เยี่ยมเยียนกันแบบธรรมเนียมคนไทย นอกจากนั้นผลกระทบที่สำคัญคือ ประชาชนประสบปัญหา การประกอบอาชีพโดยเฉพาะอาชีพค้าขาย (ร้อยละ 36) รายได้ลดลง และผู้ที่เป็นลูกจ้างถูกเลิกจ้างงาน (ร้อยละ 31) กลับมาอยู่ที่บ้าน ซึ่งส่งผลทำให้เกิดร้านค้าย่อยรายใหม่ทั่วหมู่บ้านเพิ่มขึ้นจาก 28 ร้าน เป็น 45 ร้าน (ปี 2564-2565) จำหน่าย อาหารประเภททอด ได้แก่ ไก่ทอด ลูกชิ้นทอด ไส้กรอกทอด ไก่ย่าง กล้วยแขก ขนมทอดต่าง ตลอดจนร้านขายเครื่องดื่มรสหวานเพิ่มมากขึ้น ซึ่งร้านเหล่านี้ใช้ระยะเวลาจำหน่ายอาหารเพียงไม่กี่ชั่วโมงก็สามารถสร้างรายได้ได้ ซึ่งพบว่า ร้านค้ารายย่อยเปิดขายอาหารโดยใช้เวลา 3 ชั่วโมงต่อวัน จนถึง 8 ชั่วโมงต่อวัน จากการสำรวจของแกนนำชุมชนวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 พบว่า ในหมู่ที่ 4, 5, 6, 7 พบว่า ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด มีร้านขายเหนียวไก่ทอด และไก่ย่างในตำบลนาเคียนจำนวน 19 ร้าน ขณะเกิดสถานการณ์โควิดมีร้านขายข้าวเหนียวไก่มาเปิดเพิ่ม 18 ร้าน และทั้ง 37 ร้านสามารถอยู่ต่อจนปัจจุบัน โดยบางร้านจำหน่ายเฉพาะช่วงเวลาเช้าหรือช่วงเวลาหลังเลิกเรียน และจำหน่ายตั้งแต่เช้าจนถึงค่ำ จากการสัมภาษณ์ร้านข้าวเหนียวไก่ทอด 3 ร้าน พบว่ามีกำไรจากการขายครั้งละ 200 – 600 บาท ซึ่งน้อยมาก แต่จำเป็นต้องทำเนื่องจากทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ประกอบกับต้นทุน วัตถุดิบมีราคาเพิ่มขึ้นทุกร้าน บางร้านอยากใช้วัตถุดิบที่ดี แต่ราคาแพง ส่งผลต่อต้นทุนสูงขึ้น นอกจากนั้นด้วยบริบทของชุมชนนั้น การรับประทานข้าวเหนียวไก่ทอด หรือไก่ย่าง เป็นอาหารประจำชุมชน โดย ในตอนเช้าจะขายดีมาก เนื่องจากเป็นอาหารเช้ามื้อหลักของนักเรียน และวันทำงาน อีกทั้งการบริโภคข้าวเหนียวไก่เป็นประจำ นั้น ทำให้เกิดผลกระทบทางสุขภาพได้คือ ได้สารอาหารไม่เพียงพอ ได้รับสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรทและไขมันสูง อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชนได้ อีกทั้งจาการสัมภาษณ์พบว่า ช่วงสถานการณ์โควิดระบาดนั้น มีแม่ค้าข้าวเหนียวไก่มาเป็นคู่แข่งเปิดร้านเพิ่ม ทำให้ลูกค้าประจำไปซื้อร้านเปิดใหม่เพราะอยากทดลองรสชาติใหม่ และระยะทางเข้าถึงร้านอยู่ใกล้บ้านมากที่สุด นอกจากนั้นพบว่า ความรู้ และทักษะการขายข้าวเหนียวไก่นั้นไม่ได้ผ่านการอบรบ หรือค้นหาข้อมูลเรื่องกระบวนการผลิต และขายที่ปลอดภัยเป็นมิตรต่อสุขภาพผู้บริโภค ส่วนใหญ่เกิดจาดประสบการณ์ที่เคยปรุงบริโภคในครัวเรือน หรือสังเกตจากแม่ค้าอื่นๆ เมื่อแกนนำทราบว่ามีแหล่งงบประมาณเพื่อมาพัฒนาเรื่องกลุ่มวิสาหกิจ อาชีพในชุมชน จึงเปิดเวทีพัฒนาข้อเสนอโดยมีผู้เข้าร่วม 16 คน ดังนี้ 1.แกนนำชุมชนจำนวน 11 คน 2. พยาบาลวิชาชีพใน รพ.สต. 1 คน 3. แพทย์แผนไทยใน รพ.สต. 1 คน 4. แม่ค้าขายข้าวเหนียวไก่ 3 คน ร่วมกันวิเคราะห์ โดยลงความเห็นว่า อยากพัฒนากลุ่มแม่ค้าขายข้าวเหนียวไก่ทอด และไก่ย่าง ให้ขายอาหารให้ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพผู้บริโภคและสุขภาพของแม่ค้าเอง และมีรายได้ที่ดีเหมาะสม เพื่อจัดทำข้อเสนอของโครงการดังนี้ สาเหตุแห่งปัญหา สาเหตุแห่งปัญหาด้านบุคคล ได้แก่ ด้านแม่ค้าขายข้าวเหนียวไก่ โดย ใช้ประสบการณ์เดิมจากประสบการณ์ของแม่ค้าคนอื่น หรือไปพบเห็นวิธีการปรุงแบบง่ายๆ ขาดความรู้เรื่อง 1) การคัดสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพ สด ใหม่ ได้แก่ การเลือกไก่สด ผงปรุงรส แป้งที่ใช้ผสม น้ำมันทอด รวามถึงสมุนไพรที่ทำให้กลิ่นและรสชาติดีขึ้น 2) กระบวนการเตรียมที่ถูกสุขลักษณะ 3) ขั้นตอนการปรุง ได้แก่ ไฟที่เหมาะสม ความร้อนที่เหมาะสม วัสดุที่ใช้ใส่หลังปรุงเสร็จ รวมถึงน้ำจิ้มไก่ 4) ภาชนะที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนที่เป็นมิตรกับสุขภาพ 5) ความรู้เรื่องประโยชน์ ผลกระทบเรื่องสัดส่วนสารอาหารที่ทุกคนควรได้รับที่เหมาะสมในแต่ละวัน 6) ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์ การขาย การประชาสัมพันธ์ ทั้งขายในร้าน ขายแบบส่งถึงบ้าน 7) การพัฒนาบุคลิก การแต่งกาย รวมถึงสุขภาพของแม่ค้าเอง ด้านผู้บริโภค พบว่า คำนึงถึงความอร่อยเป็นหลัก โดยไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่องสารอาหารที่ควรได้รับอย่างเหมาะสม และยึดถือความสะดวกสบายซื้อง่าย พกพาไปไปรับประทานได้ง่าย สาเหตุแห่งปัญหาด้านสังคม สิ่งแวดล้อม ได้แก่ ร้านขายข้าวเหนียวไก่ส่วนใหญ่มักอยู่ริมถนนอาจส่งผลเรื่องความเสี่ยง อุบัติเหตุจราจรทั้งแม่ค้า และผู้บริโภค อีกทั้งแม่ค้าทั้ง 29 ร้านนั้นไม่มีภาชนะปกปิดฝุ่น หรือละอองต่างๆ ภูมิอากาศที่เป็นใจทำให้การขายข้าวเหนียวไก่ ขายได้ปริมาณเพิ่มขึ้นคือ ฤดูฝน ขายดีมากกว่าฤดูร้อน กลุ่มวัยที่ชื่นชอบคือ วัยเด็กเล็ก วัยเรียน และวัยรุ่น
สาเหตุแห่งปัญหาด้านระบบ/กลไก ได้แก่ ไม่มีภาครัฐ ภาคท้องถิ่น รวมถึงองค์กรต่างในชุมชนเคยคิดถึงการพัฒนาเรื่องนี้มาก่อน อาจพบบ้างในหน่วยงานสาธารณสุขที่ให้ความรู้ว่า ข้าวเหนียวไก่ทอดเป็นอาหารที่มีไขมันสูง ส่งผลทำให้เกิดโรคเรื้อรังได้ แต่ไม่มีแผนจัดการ ไม่มีกิจกรรมการพัฒนากลุ่มแม่ค้าขายข้าวเหนียวไก่ ผลกระทบของปัญหา ด้านบุคคล ส่งผลให้คนบริโภคเป็นประจำได้รับสารอาหารไม่เหมาะสม เป็นโรคเรื้อรังได้ และได้รับสิ่งที่ไม่เหมาะสมที่เข้าสู่ร่างกายจากกระบวนการเตรียมวัตถุดิบ กระบวนการปรุง ตลอดถึงขั้นตอบการขายได้ ด้านแม่ค้าอาจขายได้ดีในช่วงแรกๆ แต่เมื่อกระบวนการต่างๆไม่เหมาะสมส่งผลให้คนมาซื้อน้อยลงได้ และแม่ค้าเองเกิดความเครียดจากการมีรายได้น้อยลง ด้านสังคมสิ่งแวดล้อม กลุ่มวัยที่ชื่นชอบการบริโภคคือ วัยเด็กเล็ก วัยเรียน และวัยรุ่น ได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยเหมาะสมกับสุขภาพ และหน่วยงานต่างๆควรเข้ามาสนใจในประเด็นนี้ และสังคมข้าวเหนียวไก่เกิดขึ้น การขายที่มีคุณภาพในทุกฤดูกาล รายได้ของแม้ค้าเพิ่มขึ้น ด้านระบบ/กลไก ภาครัฐ ภาคท้องถิ่น รวมถึงองค์กรต่างในชุมชนเข้าร่วมมือกันตระหนักในเรื่องง่ายๆ ที่เป็นสาเหตุหนึ่งส่งผลให้คนในชุมชนสุขภาพดี และเข้ามาสนับสนุนความรู้ งบประมาณ หรือส่งเสริมการรวมกลุ่มเพิ่มขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่อจัดตั้งกลุ่มแกนนำขับเคลื่อนวิสาหกิจเหนียวไก่
  2. 2. เพื่อให้สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและด้านการเงิน
  3. 3. เพื่อให้แม่ค้าข้าวเหนียวไก่มีรายได้เพิ่มขึ้น
  4. 4. เพื่อให้ผู้บริโภคได้บริโภคข้าวเหนียวมีคุณภาพ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กลุ่มวิสาหกิจประชุมเดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 10 ครั้ง
  2. รับสมัครเลือกแกนนำชุมชนรวมถึงแม่ค้าข้าวเหนียวไก่เพื่อจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจ
  3. กิจกรรมร่วมกับ สสส
  4. แกนนำชุมชนกลุ่มวิสาหกิจ สำรวจข้อมูลพฤติกรรมการคัดสรรวัตถุดิบ การปรุง การขาย และการประชาสัมพันธ์ของแม่ค้าเหนียวไก่ /จัดทำความรู้เรื่อง การัฒนาด้านสุขาภิบาลอาหารขข้าวเหนียวไก /ทำคู่มือการค้าการขายเหนียวไก่ ณ นาเคียน
  5. 5. กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพความรู้ ทักษะ ให้แก่แม่ค้า ความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านการเงิน และบัญชีรายรับรายจ่าย
  6. แกนนำเยี่ยม แม่ค้า และผู้บริโภค
  7. กิจกรรมพัฒนาช่องทางการขาย แบบออนไลน์ และในร้าน
  8. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ของแม่ค้าข้าวเหนียวไก่ และเสียงสะท้อนจากผู้บริโภค
  9. มหกรรมเหนียวไก่ปลอดภัย ณ นาเคียน
  10. ประชุมครั้งที่ 1
  11. รับสมัคร และชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ
  12. ปฐมนิเทศน์
  13. ประชุมครั้งที่ 2
  14. สำรวจข้อมูลพฤติกรรมการคัดสรรวัตถุดิบ การปรุง การขาย และการประชาสัมพันธ์ของแม่ค้าเหนียวไก่ /จัดทำความรู้เรื่อง การัฒนาด้านสุขาภิบาลอาหารขข้าวเหนียวไก /ทำคู่มือการค้าการขายเหนียวไก่ ณ นาเคียน
  15. ครั้งที่ 1 กิจกรรมการออกแบบการบันทึกรายรับ รายจ่าย ในการขายข้าวเหนียวไก่ และครอบครัว
  16. ครั้งที่ 2 การคัดสรรวัตถุดิบ และบัญชีรายรับรายจ่าย
  17. อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงินกับหน่วยจัดการ ณ เขาพับผ้่ารีสอร์ท
  18. ครั้งที่ 3 การปรุง
  19. ประชุมครั้งที่ 3
  20. ครั้งที่ 4 การขาย และการประชาสัมพันธ์การขาย
  21. ประชุมครั้งที่ 4
  22. แกนนำเยี่ยมแม่ค้าครั้งที่ 1
  23. ประชุมครั้งที่ 5
  24. ARE ครั้งที่่1 ร่วมกับภาคีในพื้นที่ตำบลนาเคียน
  25. ถอนเงินออกจากบัญชีธนาคารกรุงไทย
  26. กิจกรรมAREครั้งที่ 1ร่วมกับ สสส ที่โรงแรมเซาเทรินแอร์พอต อ.หาดใหญ่
  27. ประชุม ครั้งที่ 6
  28. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้ง ที่ 1
  29. ค่าทำคู่มือการขายข้าวเหนียวไก่ 30 เล่ม
  30. แกนนำเยี่ยมแม่ค้าครั้งที่ 4
  31. ครั้งที่ 1 แม่ค้า 30 คน แลกเปลี่ยนปัญหา อุปสรรค ความสำเร็จ แนวทางพัฒนาการขาย
  32. พัฒนาการขาย
  33. ครั้งที่ 2 แม่ค้า 30 คน และผู้บริโภค 30 คนแลกเปลี่ยน รับฟังเสียงสะท้อนของผู้บริโภค
  34. แกนนำเยี่ยมแม่ค้าครั้งที่ 5
  35. แกนนำเยี่ยมแม่ค้าครั้งที่ 6
  36. ครั้งที่ 3 แม่ค้า 30 คน และ หน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ อบต. รพ.สต. ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ
  37. ประชุม ครั้งที่ 8
  38. วัสดุในโครงการ
  39. แกนนำเยี่ยมแม่ค้าครั้งที่ 7
  40. ประชุม ครั้งที่ 9
  41. ประชุม ครั้งที่ 7
  42. แกนนำเยี่ยมแม่ค้าครั้งที่ 2
  43. แกนนำเยี่ยมแม่ค้าครั้งที่ 3
  44. แกนนำเยี่ยมแม่ค้าครั้งที่ 8
  45. ประชุม ครั้งที่ 10
  46. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้ง ที่ 2
  47. . มหกรรมเหนียวไก่ปลอดภัย ณ นาเคียน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
แม่ค้าเหนียวไก่ 30 คน 30

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. วัสดุในโครงการ

วันที่ 1 กันยายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ตรายาง 350 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ตรายาง 1 อัน

 

30 0

2. แกนนำกลุ่มวิสาหกิจ ประชุมครั้งที่ 1

วันที่ 17 กันยายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมทำความเข้าใจ โครงการ แผนการดำเนินงาน และแนวทางการชักชวนแม่ค้าข้าวเหนียวไก่ มาร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง โดย แกนนำ 1 คน ชักชวนแม่ค้า 3 คน มาเข้าร่วม โดย 1. นางกานดา โตีะยีอิด      ชวน คนที่ 1 นางฟาติหม้อ แสงสี        คนที่ 2 นางคอดาหม๊ะ กล่อมสม      คนที่ 3 นางวิไล ชุมชวด 2. นางนุไร ธานมาศ        ชวน คนที่่ 1 นางรัตนา หัสการบัญชา    คนที่ 2 นางดวงจันทร์ จำเนียร        คนที่ 3 อัจฉรา ดารากัย 3. นางญาดา คำวิจิตร      ชวนคนที่่ 1 น.ส.พจมาน คำวิจิตร      คนที่ 2 นางมาริหย๊ะ หัสการดี        คนที่ 3 น.ส.สุวรรณา หัตถประดิษฐ์ 4. นางพวงผกา ศุภวนนิมิตร  ชวนคนที่่ 1 นางรังสิมา ระเบียบพร      คนที่ 2 นางกมลรัตน์ ราชนิยม        คนที่ 3 น.ส.จิตลดา ศุภวนนิมิต 5. นางสุดาหย๊ะ ชาญวารินทร์  ชวนคนที่่ 1 น.ส.สาลิต้า โต๊ะหมัด      คนที่ 2 น.ส.สุกัญญา กายแก้ว        คนที่ 3 นายหัสชัย รักดี 6. นางสุกัญญา ธานมาศ    ชวนคนที่่ 1 น.ส.สารีผ๊ะ จันทร์ศรี      คนที่ 2น.ส.โสภา จำเนียร            คนที่ 3 นางผี้ ทองวิจิตร 7. น.ส.สุฎาวราหัตถประดิษฐ์  ชวนคนที่่ 1 น.ส.ฟาตีหม๊ะ หมัดโทเจดีย์  คนที่ 2 น.ส.ฮาสาหน๊ะ หัตถประดิษฐ์      คนที่ 3 นางเพ็ญศรี จิตประไพ 8. นางมาริย๊ะ ยุทธกาศ    ชวนคนที่่ 1 นายเสถียร ชุมชวน        คนที่ 2 นางริต้า ดารามัน            คนที่ 3 นางรอสุหน๊ะ หัตถประดิษฐ์ 9. นางปรารถนา เอกชน    ชวนคนที่่ 1 น.ส.สุดา ดาราแสง        คนที่ 2 นางสานะ ยีสมัน
10. นางวรรณา อาดสามารถ  ชวนคนที่่ 1 น.ส.สะหรี่ อาดสามารถ    คนที่ 2 นางอริหย๊ะ แสงศรี            คนที่ 3 น.ส.สุกัญญา แสงศรี 11.นางบุปผา การะบัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทุกคน เข้าใจแผนการทำงาน มีแผนการทำงาน และกำหนดวันในการทำงานที่ชัดเจน

 

11 0

3. รับสมัคร และชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ

วันที่ 26 กันยายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

9.00 น หัวหน้าโครงการ น.ส.กานดา โต๊ะยีอิด สืบเนื่องจากแกนนำซึ่งเป็น CG หรือผู้ดูแลผู้สูงอายุจำนวน 11 คน ของเรา ร่วมมือกันกับหมออู๊ด พยาบาลวิชาชีพที่ รพ.สต. เหมืองหัวทะเล เขียนข้อเสนอโครงการไปยัง สสส. ของบประมาณมาสนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพชุมชนภายหลังสถานการณ์โควิด จึงร่วมกันวิเคราะห์เพื่อพัฒนากลุ่มวิสาหกิจขึ้น ในการนี้มุ่งเป้าไปที่การบริโภค พบว่า คนทุกวัยในชุมชนเราชอบรับประทานข้าวเหนียวไก่มาก รวมถึงตัวกานดาเอง จึงชักชวนรวบรวมกลุ่มแม่ค้าเหนียวไก่ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการมาปรับปรุง พัฒนากระบวนการทำข้าวเหนียวไก่ ที่มีคุณภาพ ถ้าเป็นไปได้ สามารถรวมกลุ่มกันได้ยั่งยืน อยากผลักดันให้เป็นกลุ่มวิสาหกิจเหนียวไก่ ซึ่งกานดาคิดว่าน่าจะเป็นที่แรกของประเทศไทยนะคะ งบประมาณที่ได้รับจำนวน 80,000 บาท ดำเนินการเป็นเวลา 10 เดือนค่ะ เริ่มตั้งแต่ตอนนี้ จนถึง 31 สิงหาคม 2566 และขณะนี้ สสส. ได้โอนงบประมาณเข้ามาในบัญชีของกลุ่มแล้วเป็นเงิน 50,000 แล้ว พวกเราจึงขออนุญาตผู้นำ และพี่น้อง ประชุมชี้แจง และมาบอกกล่าวให้ทราบ ซึ่งกานดาต้องขอความร่วมมือจาก แกนนำ พี่น้อง รวมถึงกลุ่มเป้าหมายของเราคือ แม่ค้าเหนียวไก่ ร่วมกิจกรรมเป็นระยะ กิจกรมใน 10 เดือนนี้ ได้แก่ 1.พัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ และด้านการเงิน ทำบัญชีรายรับรายจ่าย ของครัวเรือนแม่ค้าข้าวเหนียวไก่ โดย เชิญผู้รู้ ใน /นอกหมู่บ้าน มาสอน พูดคุย แลกเปลี่ยน กระบวนการเลือกวัตถุดิบ กระบวนการผลิตเหนียวไก่ ตลอดถึงกระบวนการขาย
2.กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของแม่ค้าเหนียวไก่ ผู้บริโภคเหนียวไก่ ผู้นำชุมชน เพื่อมาให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะการทำงาน ปัญหาอุปสรรคของโครงการ เป็นระยะๆ ซึ่ง กานดา จะเชิญพวกท่านเข้าร่วมกิจกรรมเป็นระยะๆ 3. และเมื่อสิ้นสุดโครงการ เราจะจัดมหกรรม “ข้าวเหนียวไก่ ณ นาเคียน” สัก 1 วัน เพื่อปิดโครงการ และแสดงถึงความสำเร็จร่วมกัน เราได้แจกกิจกรรมคร่าวๆให้กับท่าน พอให้เห็นกิจกรรมโครงการบ้างแล้วซึ่งท่านสามารถอ่านได้ค่ะ ขออนุญาตเรียนเชิญท่านปรานกล่าวเพื่อเปิดโครงการค่ะ 9.20น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาเคียน กล่าวชื่นชม แกนนำทั้ง 11คนไปรับงบประมาณ จากสสส. และขอให้แม่ค้าเหนียวไก่ ตัวแทน ทีมาในวันนี้ ร่วมมือร่วมใจกันตามแผนงานที่รับงบมาจากสส.ดังกิจกรรมตลอดเวลา 10 เดือนที่แจกเอกสารไป
9.45น พยาบาลวิชาชีพนางสุพัตรา สหายรักษ์ ได้ชื่นชมและชักชวนกลุ่มเป้าหมายมาร่วม กิจกรรม อันได้แก่ ความรู้เรื่องสุขาภิบาลด้านอาหารเพื่อผู้บริโภคจะได้กินข้าวเหนียวไก่ที่ดีกับสุขภาพ ต่อจากนั้น นายเสรี ทิพย์ญาณ ครูกศน.ตำบลนาเคียน ได้ทำกิจสันทนาการและประชาสัมพันธ์เรื่องการเปิดเรียนปีการศึกษาใหม่ของกศน. เชิญชวนให้ผู้ทีสนใจมาเรียน กศน. - อ.สิทธิพรรณ เรือนจันทร์ พี่เลี้ยง สสส.ชี้แจงหน้าที่ของตนเองในการติดตามแผนการรับงบประมาณ แนวทางการตรวจสอบ ติดตามการทำกิจกรรม ในพื้นที่ ต.นาเคียน ให้เป็นไปตามข้อเสนอโครงการและเน้นย้ำเรื่องความโปร่งใสตรวจสอบได้- มีชาวบ้านหลายคนพูดคุยเรื่องสูตรการทำข้าวเหนียวไก่ทีแตกต่างกัน บางคนมีรายได้ดีจากการขายข้าวเหนียวไก่ และเต็มใจในการร่วมทำโครงการ และพูดคุยเกียวกับสถานที่ซื้อวัตถุดิบ ต่างคนต่างซื้อ ต่างคนต่างขายและคิดว่า โครงการสามารถร่วมกลุ่มเป็นวิสาหกิจได้จริงๆก็จะดีมากสำหรับกลุ่มคนขายเหนียวไก่ เพราะที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะเป็นวิสาหกิจด้านการเกษตร
16.00 น หลังจากพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ก็ปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แม่ค้าขายเหนียวไก่เข้าร่วม 28 คน และตัวแทนครัวเรือน ร่วมถึงแกนนำ รวมทั้งสิ้น 9O คน
มีรายชือแม่ค้าเข้าเหนียวไก่ทอด และย่าง 3O รายชื่อ มีโครงสร้างของกลุ่ม โดยมีนางกานดา โต๊ะยีอิดเป็นประธาน

 

100 0

4. ครั้งที่ 1 ปฐมนิเทศน์โครงการ

วันที่ 1 ตุลาคม 2022 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

หน่วยจัดการ โดยผู้จัดการหน่วยจัดการ ชี้แจงวัตถุประสงค์รายละเอียด ปฐมนิเทศน์งานที่ต้องทำตลอดระยะเวลาของการทำโครงการ - การทำงานของสสส. ทั้งหมด -การใช้งบประมาณ การใช้หลักฐานการเงิน ประกอบการทำกิจกรรมในแต่ละครั้ง -สอนการรายงานกิจกรรมในเว็บไซด์ happynetwork.org โดย ผู้รับผิดชอบโครงการ ต้องบันทึก ทุกครั้งเมื่อดำเนินกิจกรรมเสร็จ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ตัวแทนโครงการเข้าประชุม 4 คน ได้รับคู่มือการทำงานมา 1 เล่ม ได้รับทราบแนวทางการจัดทำโครงการด้านการเงิน การบันทึกข้อมูลเวปไซด์

 

2 0

5. ประชุมครั้งที่ 2

วันที่ 9 ตุลาคม 2022 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันอาทิตย์ ที่ 9 ต.ค.65  เวลา 13.00 น. พี่เลี้ยงลงทบทวนการคลี่่โครงการซ้ำ  ทบทวนตัวชี้วัด  แบบเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัด  ร่วงกันอภิปรายข้อมูลที่จะต้องมีเมื่อรายงานตัวชี้วัด  วิธีการเก็บตัวชี้วัดทั้งเชิงปริมาณ ความหมายตัวชี้วัดและจะเก็บข้อมูลนี้อย่างไร  รวมถึงวิธีการคำนวณ โดย
1. ตัวชี้วัด เรื่อง ให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ เก็บจากข้อมูลความรู้ ก่อนและหลังเรียนในกิจกรรม ณวัดอบรม ทั้ง 4 กิจกรรม  กิจกรรมย่อยในกิจกรรมที่ 4 และประเมินซ้ำเมื่อสิ้นสุดโครงการในเดือน ก.ค.66 2.ตัวชี้วัดเรื่องรายได้เพิ่มขึ้น  เก็บข้อมูลโดย   - สมุดบันทึกรายวันของแม่ค้า 30 คน เริ่มเก็บเดือน ม.ค.65  ข้อมูลที่ต้องเก็บได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการลงทุน และรายได้จากการขายทั้งหมดรวมทุนและกำไร แ่ยังไม่ได้ตัดสินกันว่า จะคิดว่าเพิ่มเป็นเงินเท่าไร จึงจะผ่านตัวชี้วัด รอผลการสำรวจ การลงทุน และรายได้ก่อน และพูดคุยกับแม่ค้าก่อน   - สมุดติดตามดูข้อมูลของแม่ค้าของแกนนำ 1 คน รับผิดชอบ 3 คน ใน 1เดือน แกนนำ 11 คน จะนำข้อมูลมาพูดคุย และทบทวนดูเดือนละ 1 ครั้ง ต่อจากนั้น ทบทวนแนวทางการการทำแบบสำรวจ โดยพี่เลี้ยงร่างคำถามส่งให้วิทยากร ที่จะมาสอนในวันที่ 12 ต.ค.65 นี้ และพูดคุยแนวทางการทำคู่มือแม่ค้า ซึ่งเป็นเรื่องสุขาภิบาบอาหาร ของแม่ค้าเหนียวไก่
และพูดคุยเกียวกับการเชิญวิทยากรมาทบทวนความรู้ วิธีปฏิบัติเรื่องการทำบัญชี รายรับรายจ่าย วิทยาการโดย ครูกศน.นั้น ให้มีความเฉพาะเจาะจงเฉพราะเรื่องของเรา ไม่ยากเกินไปในการบันทึก รวมถึงให้วิทยากรเตรียมแบบประเมินความรู้ก่อนหลังมาด้วย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

อ.พี่เลี้ยงและพวกเราได้เขียนการพูดคุยในเรื่องการออกแบบการบันทึกและการเก็บข้อมูลและการบันทึก รายรับรายจ่าย และการพ
มีแกนนำเข้าร่วม 11 คน พยาบาลวิชาชีพ 1 คน พี่เลี้ยง สสส. 1 คน ได้แผนการทำงานในการจัดกิจกรรม ครั้งต่อไป ในวันที่

 

11 0

6. สำรวจข้อมูลพฤติกรรมการคัดสรรวัตถุดิบ การปรุง การขาย และการประชาสัมพันธ์ของแม่ค้าเหนียวไก่ /จัดทำความรู้เรื่อง การัฒนาด้านสุขาภิบาลอาหารขข้าวเหนียวไก /ทำคู่มือการค้าการขายเหนียวไก่ ณ นาเคียน

วันที่ 12 ตุลาคม 2022 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • สำรวจข้อมูลพฤติกรรมการคัดสรรวัตถุดิบ การปรุง การขาย และการประชาสัมพันธ์ของแม่ค้าเหนียวไก่

ข้อมูลที่สรุปได้มีดังนี้ 1 แม่ค้าข้าวเหนียวที่ขายหมดทุกวัน มี 8 เจ้านอกนั้น ขายหมดบ้างไม่หมดบ้าง

ส่วนใหญ่ขายตั้งแต่ระยะ 1 ถึง 5ปี จำนวน 10 คน ขายมากกว่า 5ปี ถึง 15ปี จำนวน 20คน มากกว่า 20 ปี ขึ้นไป  5 คน

แม่ค้า 25 คนไม่เคยอบรมได้รับการอบรม เรื่องอาหารปลอดภัย

การบันทึกงบประมาณลงทุนแม่ค้าส่วนใหญ่ไม่บันทึกต้นทุนการค้าขายแต่ให้ข้อมูลว่า การลงทุนอยู่ 300 ถึง 3000 บาท

แหล่งซื้อวัถุดิบ มาจากแมคโค ตลาดช้อย แม่ค้าในหมู่บ้าน ฟาร์มไก่ แม่ค้าจากตลาดหัวอิฐ คูขวางมาส่งถึงบ้านร้านค้าใกล้บ้าน ร้านโชวห่วย ตลาดช้อย หัวอิฐ ร้านคัาประชารัฐ

การขายเหนียวไก่ของแม่ค้า 25 ร้านขายหน้าร้าน มีเพียง 5 ร้านนำไปขายตามบ้าน

  • คุณสุพัตรา สหายรักษ์พยาบาลวิชาชีพรพ.สต.บ้านเหมืองหัวทะเล จัดทำความรู้เรื่อง การพัฒนาด้านสุขาภิบาลอาหารขข้าวเหนียวไก่
  • ทำคู่มือการค้าการขายเหนียวไก่ ณ นาเคียนพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ข้อมูลพฤติกรรมของแม่ค้าข้าวเหนียวไก่ 30 คน
แกนนำ 11 คน ได้รับความรู้เรื่องการพัฒนาสุขภิบาลอาหาร การคุ้มครองผู้บริโภค

ได้คู่มือการค้าขายข้าวเหนี่ยวไก่ณนาเคียน 1 ฉบับให้แม่ค้า 30 เล่ม

 

11 0

7. อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงินกับหน่วยจัดการ ณ เขาพับผ้่ารีสอร์ท

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วิทยากรจากหน่วยจัดการให้ความรู้เรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพการเงิน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แกนนำเข้า 3 คน ได้เอกสารความรอบรู้ด้านสุขภาพการเงินมา 1 เล่ม

 

3 0

8. ประชุมครั้งที่ 3

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2022 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

====

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

===

 

11 0

9. ครั้งที่ 4 การขาย และการประชาสัมพันธ์การขาย

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

9.00 น ประธานโครงการนางกานดา โต๊ะยีอิด กล่าวงานวัตถุประสงค์การมาอบรม การขาย และการประชาสัมพันธ์การขาย

9.30 น. วิทยากร 2คน เป็นโปรแกรมเมอร์ของบริษัทโปรแกรสซีพ ประเทศไทยจำกัดคือนางสาวสวลี คงยืนและนายสุรวีร์ เรือนจันทร์ ให้ความรู้เรื่องประโยชน์ของการใช้ช่องทางทางโซเชียลและข้อควรระวังข้อจำกัดในการใช้ข้อความ การใช้สัญลักษณ์ แต่เนื่องจากแม่ค้าที่เข้าอบรมในวันนี้ทุกคนเล่นเฟชบุค ทุกคน จึงลงความเห็นกันว่าจะใช้ช่องทางนี้เป็นการเพิ่มช่องทางประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จักเข้ามาซื้อเหนียวไก่ หรือของต่างๆในตำบลของเรา โดยใช้แฮทแทกเหนียวไก่ แฮทแทกนาเคียน  แฮทแทกเหนียวไก่นาเคียน #เหนียวไก่ #นาเคียน  #เหนียวไก่นาเคียน

11.00 -16.00 น.ฝึกปฏิบัติการใช้#เหนียวไก่ #นาเคียน  #เหนียวไก่นาเคียน ในเฟชบุค ของแต่ละคน

วิทยากร ได้ใช้เวปเพจ ตลาดนาเคียน โดยมี นางปรารถณา เอกชน และนางสิทธิพรรณ เรือนจันทร์ เป็นแอดมิน ประจำเพจ เพื่อประชาสัมพันธ์การขายข้าวเหนียวไก่ของกินอื่นของตำบลนาเคียน

16.00 น ปิดประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีแกนนำและแม่ค้าเข่าร่วม อบรม 15 คน

มีเพจ ตลาดนาเคียนนาเคียน

ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน สามารถใส่ #เหนียวไก่ #นาเคียน  #เหนียวไก่นาเคียน ได้

 

30 0

10. ครั้งที่ 1 กิจกรรมการออกแบบการบันทึกรายรับ รายจ่าย ในการขายข้าวเหนียวไก่ และครอบครัว

วันที่ 11 ธันวาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

นายเสรี ทิพญาณ คุณครู กศน. ตำบลนาเคียน เป็นวิทยากร อบรม แกนนำ และแม่ค้าเหนียวไก่  จำนวน 34 คน


เริ่ม งาน 09.00 น. วิทยากร เล่นเกมส์ทายปัญหา


          10. 00 น. ให้ความรู้ เกี่ยวกับการทำบัญชีครัวเรือน ประโยชน์การทำบัญชีครัวเรือน ขั้นตอนการทำบัญชีครัวเรือน และมีตัวอย่างการบันทึกบัญชีครัวเรือนมาให้


          12.00 น. พักรับประทานอาหารเที่ยง


          13.00 น.  ให้ แกนนำและแม่ค้าพูดคุย แลกเปลี่ยนปัญหา การเคยบันทึกบัญชีครัวเรือน แล้วไม่สำเร็จ และพูดคุยชักชวน ให้ฝึกบันทึก จะได้เห็น รายจ่ายของตัวเอง แต่แม่ค้า ไม่มั่นใจว่าจะบันทึก สำเร็จไหม แม่ค้าบางคนมีปัญหา ว่า เขาขายหลายอย่างนอกจากข้าวเหนียวไก่  ได้แก่ ลุกชิ้นทอด ข้าวเหนียวเนื้อ ปลาหมึก น้ำดิื่มรสหวาน น้ำอัดลม ฯลฯ  รวมถึงขนมต่างๆๆที่มีแม่ค้าในหมู่บ้านมาส่งขายไว้                    วิทยากร บอกว่า ลอง ทำดูสัก 1 วัน ผิดถูกไม่เป็นไร                    เดี่ยวแกนนำ ของพวกเราจะไปช่วยดุแล แก้ปัญหา  หรือ อื่นๆ


      16.00 น. วิทยากร เล่นเกมส์ ก่อนกลับ และมอบของขวัญ ให้เป็นกำลังใจ แก่ผู้เข้าร่วมประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แกนนำเข้าร่วม 11 คน แม่ค้า เข้าร่วม 23 คน พี่เลี้ยง สสส. เข้าร่วม 1 คน ได้คู่มือทำบัญชี 1 เล่ม

 

30 0

11. ประชุมครั้งที่ 4

วันที่ 17 ธันวาคม 2022 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

======

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

=====

 

11 0

12. ประชุมครั้งที่ 4

วันที่ 17 ธันวาคม 2022 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

======

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

=====

 

11 0

13. ประชุมครั้งที่ 5

วันที่ 18 มกราคม 2023 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมการทำงานของทีม กับครูพี่เลี้ยงในการทำโครงการ เรื่องการปรุง โดยจะทำกันในวันที่ 29 ม.ค.66 ที่มัสยิดดาริสลาม โดยมีแม่ค้าเหนียวจำนวน 4 ร้านเข้าร่วมการแข่งขัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แกนนำสามารถแบ่งงานกันได้ลงตัว /เข้าใจในเนื้อหาที่ครูพี่เลี้ยงได้สอนและเสนอแนะ

 

11 0

14. ครั้งที่ 2 การคัดสรรวัตถุดิบ และบัญชีรายรับรายจ่าย

วันที่ 22 มกราคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

9.00 น. วิทยากร อ. สิทธิพรรณ เรือนจันทร์ เล่มเกมส์  "รู้ไหมว่าใครเข้ามาในหมู่บ้าน" 10.00 น. วิทยากร ให้แบ่งกลุ่ม  โดย
1. กลุ่มแม่ค้า และแกนนำ ตอบคำถาม (ในแต่ละกลุ่ม ให้แต่งตั้ง ประธาน เพื่อนำกลุ่ม  และแต่งตั้งเลขา เพื่อ จดบันทึก ตามที่สมาชิกกลุ่มพุดคุย) 2. วิทยากรจะให้คำถามทั้งหมด  4คำถาม
    2.1 ท่านซื้อวัตถุดิบจากที่ไหน ซื้อยี่ห้ออะไรบ้าง ชี้แจงรายละเอียด มาให้หมด ตั้งแต่ ซื้อข้าวเหนียว เครื่องปรุงมาหมักไก่ ไก่สด
    2.2 ท่านคิดว่า ข้าวเหนียวไก่ของท่านคัดสรรวัตถุดิบมาทำนั้น มีคุณภาพไหมอย่างไร   2.3 ท่านคิดว่า ถ้าจะทำให้ข้าวเหนียวไก่ ของท่าน อร่อยกว่านี้ มีคุณภาพมากกว่านี้ และดีต่อสุขภาพลูกค้ามากกว่านี้ต้องทำอย่างไรบ้าง   2.4 ถ้าจะทำบันทึกบัญชีรายรับรายจ่ายให้ง่าย ท่านคิดว่า จะทำอย่างไรดี 3. ให้พูดทีละคน ใครจะพูดให้ยกมือ 4. เลขาของกลุ่มต้องจดทุกคำพูดของทุกคนให้ได้มากที่สุด 12.00 น. พักรับประทานอาหารเที่ยง 13.00 น. ให้แม่ค้า ทบทวน แนวทางการเตรียม อุปกรณ์ วัตถุดิบ ในการทำข้าวเหนียวไก่ โดยยึดหลัก การคุ้มครองผู้บริโภค
15.00 น. ให้แม่ค้า และกลุ่มแกนนำ ร่วมกันวางแผนจัดกิจกรรมครั้งต่อไป เรื่อง การปรุง โดย มีแม่ค้า 4 คน จะมาทำข้าวเหนียวไก่ สูตรของตนเอง ให้ ประชาชน กินกัน โดยในงาน จะเชิญ เด็กๆในชุมชน แม่ค้า ขายน้ำ แม่ค้า อื่นๆ และจะเชิญ อบต. ผู้ใหญ่ มาร่วมกัน รวมถึงชวน รพ.สต. ด้วย และ ให้ มีการลงคะแนนให้แก่แม่ค้าที่ ปรุงข้าวเหนียวไก่อร่อยถูกใจมากที่สุด     และจะให้มีการจับฉลากของขวัญ อุปกรณ์ ทำครัว โดยของบประมาณมาเสริมจากแกนนำ 11 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แม่ค้า ได้รับความรู้เรื่อง การดูฉลาก ผลิตภัณฑ์  การอ่านรายละเอียด ของฉลาก (การคุ้มครงอผู้บริโภค) มีแม่ค้าเข้าร่วม 7 คน แกนนำเข้าร่วม 11 คน
ได้แผนการทำงานในครังต่อไป

 

30 0

15. ครั้งที่ 3 การปรุง

วันที่ 29 มกราคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

9.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม   แม่ค้า จำนวน 4 คน ได้แก่           แม่ค้าคนที่ 1 ชื่อ นางอัจฉรา ดารากัย ชื่อร้าน ก๊ะเขียวเหนียวไก่           แม่ค้าคนที่ 2 ชื่อ น.ส.กมลรัตน์ ราชนิยม           แม่ค้าคนที่ 3 ชื่อ นางจันจิรา คำวิจิตร           แม่ค้าคนที่ 4 ชื่อ นางมาริหย๊ หัสการดี   มาเตรียม วัสดุ อุปกรณ์ เตาแก็ส แช่ข้าวเหนียว เจียวหัวหอม จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เพื่อเตรียมกิจกรรมการปรุง   แกนนำ 11 คน มาจัดสถานที่ แบบฟอร์มลงทะเบียน และเตรียมรับผู้นำชุมชน กลุ่มเด็ก เยาวชน ชาวบ้าน 11.00 น. พิธีกร นางสุดาหย๊ะ ชาญวารินทร์ กล่าวแนะนำ และกำหนดการโครงการการปรุงข้าวเหนียวไก่อย่างมีคุณภาพ     หัวหน้าโครงการ นางกานดา โตยีอิด กล่าวรายงานวัตถุประสงค์โครงการ และให้ความรู้เรื่องเรื่อง การซื้อผลิตภัณฑ์ โดยต้องตรวจสอบ อย. การอ่านเลขของ อย. ที่แลากผลิตภัณฑฺ การดูวันหมดอายุ เพื่อสร้างความตระหนักในการเลือกวัตถุดิบ เครื่องปรุงรส มาใช้ ให้ถูกต้อง ตามหลัก กาคุ้มครองผุ้บริโภค     ประธานโครงการ คือ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาเคียน นายบุษพันธ์ บางกรัด กล่าวรายงานเปิดกิจกรรม การปรุง พร้อมเปิดกิจกรรมโดยนายบุปพันธ์ บางกรัก รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาเคียน

11.30 น.เชิญพี่เลี้ยงเป็นวิทยากร ให้ความรู้ เรื่อง ความเหมาะสมของปริมาณในการรับประทานข้าวเหนียวไก่ ในแต่ละวัน เหมาะสมกับ เพศ และวัย และการรับประทานอาหารผ่านกระบวนการปรุงโยการทอดที่ดี น้ำมันควรเป็นอย่างไร ไม่ทอดซ้ำ เพื่อลดความเสี่ยงการเป็นดรคเรื้อรัง และโรคะเร็ง และเชิญชวนประชาชนที่มาร่วมงาน ให้ความสำคัญกับการ การคัดสรรวัตถุดิบมาปรุงอาหาร การปรุงอาหารยึดหลักการสุขภิบาลอาหาร นำเสนอโครงการให้ผู้เข้าร่วมโครงการรู้ถึงความเป็นมา ในโครงการนี้ การปรุง การใช้วัตถุดิบ การคัดเลือกซื้ออาหาร 11.35 น.เชิญโต๊ะอีหม่ามวิโรจน์ ทอง มาพบปะกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมกิจกรรม
11.40 น.เชิญนายนิติพล ออมจิตร กรรมการวิสาหกิจบารอกัตฟาร์ม ผักไฮโดรโปรนิก มาพบปะผู้เข้าอบรม
12.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน ร่วมกับการชิมข้าวเหนียวไก่ ของแม่ค้าทั้ง 4 คน ที่มาปรุงให้รับประทานในวันนี้ 15.00 น. รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล กล่าวปิดโครงการ 16.00 น. ทีมแกนนำ ประชุมสรุปการขัดกิจกรรมวันนี้พอสังเขปว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ดครงการไหม เพื่อวางแผนแก้ไขปัญหาในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เมื่ออบรมเสร็จได้อะไรบ้าง 1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งแม่ค้า และผู้ที่สนใจ 130 คน ได้แก่ ใครบ้างร้านกะเขียว(นางอัจฉรา ดารากัย) ร้านกะสาว (นางกมลรัตน์ ราชนิยม) ร้านกะหม๊ะ(นางจันจิรา คำวิจิตร ร้านกะสาว (นางมาริหย๊ะ หัสการดี) 2. ได้รับความรู้เรื่อง การปรุงอาหาร /ข้าวเหนียวไก่ ที่เหมาะสมตามหลักคุ้มครองผู้บริโภค และการสุขาภิบาลอาหาร

 

30 0

16. ARE ครั้งที่่1 ร่วมกับภาคีในพื้นที่ตำบลนาเคียน

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2023 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

13.00 น นางกานดา โต๊ะยีอิด ชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ โดยมีกิจกรรมหลัก คือ พัฒนาศักยภาพกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ แม่ค้าข้าวเหนียวไก่ และ แกนนำ จำนวน 45 คน เพื่อมีความรอบรู้ด้านสุขภาพทั้งด้านอาชีพ และการเงิน ส่งผลให้สามารถตัดสินใจพัฒนาอาชีพของตนให้มีรายได้ที่เหมาะสมเพิ่มขึ้น ปลอดภัยต่อสุขภาพทั้งผู้บริโภค และผู้ขาย

13.30น ภาคีเครือค่าย ได้แก่  ผอ. รพ.สต. บ้านนาเคียน พยาบาลวิชาชีพ  ครูกศน.ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 นายสุนันท์ ยุทธกาศ  แกนนำโครงการ แม่ค้าข้าวเหนียวไก่ แม่ค้าอื่นๆในตำบล ผู้บริโภคข้าวเหนียวไก่ และ อสม. ที่สนใจ รวมจำนวน 14 คน ร่วมมกันติดตามการทำงานของโครงการโดยยึดตามบันไดผลลัพธ์ 1. เกิดการร่วมกลุ่มพัฒนาทักษะความสามารถของกลุ่ม โดยมีตัวชี้วัดดังนี้ โดยปัจจุบันมีสมาชิกลุ่ม ได้แก่ แกนนำ 11 คน มีค้าเหนียวไก่ 30 คน มีการจดบันทึกรายงานการประชุมประจำเดือน 6เดือน และมีแผนการพัฒนากลุ่ม การพัฒนางานโดยใข้ แผนการดำเนินงานของโครงการเป็นหลัก 2.แม่ค้าข้าวเหนียวไก่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกระบวนการผลิตและกลยุทธการขายพบว่า ตัวชี้วัดแม่ค้าเข้ารับการอบรม เข้ารับการอบรม30 คน เพียง 1 กิจกรรม คือกิจกรรมทำบัญชีรายรับ รายจ่าย ส่วนกิจกรรมการคัดสรรวัตถุดิบมีแม่ค้าเข้าร่วม 6 คน และในกิจกรรมวันปรุงมีแม่ค้าเข้าร่วม 20คน รวมถึงประชาชนอื่นๆ 100คนเนื่องจากปรับเปลี่ยนวิธีการเป็นการคัดเลือกแม่ค้า 4 คน 4 สูตร มาปรุง มานึ่ง มาทอด  ให้ทุกคนรับประทานฟรี

      ส่วนเรื่องของการปรับเปลี่ยนกลยุทธ การเลือกวัตถุดิบ การปรุง การขาย และการประชาสัมพันธ์เพื่อเพิ่มยอดขายนั้น ยังไม่ทราบข้อมูล แกนนำ 11 คนวางแผนติดตามเยี่ยมแม่ค้าในวันที่ 13  - 16 ก.พ.66 นี้

ส่วนเรื่องความรู้ทางด้านสุขภาพและด้านการเงินแกนนำ 11 คนวางแผน ติดตามเยี่ยมแม่ค้าในวันที่ 13  - 16 ก.พ.66 นี้เช่นเดียวกัน

ส่วนการขยายผลให้กับสมาชิกกลุ่มอื่นๆในชุมชนนั้น ยังไม่ได้ดำเนินการ

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่5 ให้ข้อคิดในเรื่องการสร้างความยั่งยืนในเรื่องการทำอาชีพ

ครู กศน. เสนอแนะให้ถ่ายรูปข้าวเหนียวไก่ที่สะอาด ที่น่ากิน น้ำมันใสสะอาด โพสต์ลงเฟชบุค และแฮทแทก สม่ำกเสมอทุกวัน จะทำให้ลูกค้าเห็นความน่ากินและดึงดูดให้มาซื้อเพิ่มขึ้น

พยาบาลวิชาชีพเสนอให้มีการตรวจสารโพลาในน้ำมันทอดซ้ำเพื่อเฝ้าระวังการที่ประชาชนจะได้รับสารโพลาเกินกำหนด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีแกนนำ และภาคีเครือข่ายเข้าร่วม 14 คน

ได้ข้อเสนอแนะและแนวทางพัฒนา การจัดกิจกรรมครั้งต่อไปของโครงการ

 

21 0

17. ถอนเงินออกจากบัญชีธนาคารกรุงไทย

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ถอนเงินออกจากบัญชี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น


 

0 0

18. กิจกรรมAREครั้งที่ 1ร่วมกับ สสส ที่โรงแรมเซาเทรินแอร์พอต อ.หาดใหญ่

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโครงการ 41 โครงการ โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อยให้งวิเคราะห์ตนเอง เพื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่่อื่นๆ ในห้ัวข้อ ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์ลักษณะอาชีพ วิเคราะห์ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และวิเคราะห์ความรู้ด้านสุภาพการเงิน และตั้งเป้าหมายเพื่อจะพัฒนาการทำงานที่ยังไม่สำเร็จ

วันที่ 2 หน่วยจัดการทบทวนการทำรายงานการเงิน หลักฐานการเงิน และการลงข้อมูลลงในเวปไซด์ให้ถูกต้อง

จังหวัดนครศรีธรรมให้ส่งรายงานในวันที่ 25 ก.พ.66

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ฃฃฃ

 

3 0

19. แกนนำเยี่ยมแม่ค้าครั้งที่ 1

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

แกนนำ 11 คน ติดตามเยี่ยมกลุ่มเป้าหมาย 34 คน ได้แก่แม่ค้าข้าวเหนียวไก่ทอด ไก่ย่าง แม่ค้าข้าวแกง

สรุป ข้อมูลการติดตามได้ดังนี้

ใน 7วันที่ผ่านมา แม่ค้า .........คน ขายข้าวเหนียวไก่หมด เพราะมีลูกค้าประจำ ขายมานาน รสชาดอร่อย

วัตถุดิบที่ใช้ มีต้นทุนเฉลี่ยอยู่ ..............บาท มีกำไรอยู่ที่ .............บาท

แม่ค้าคัดเลือกวัตถุดิบ ได้อ่านฉลาก ดูวันผลิต วันหมดอายุ เครื่องหมายอย. เครื่องหมายฮาลาล จำนวน .....คน โดยแม่ค้าบอกจะได้สิ่งดีๆให้ลูกค้า และปลอดภัยสำหรับผุ้บริโภค

แม่ค้าใช้น้ำมันทอดซ้ำ  จำนวน ...11 ..... คน  ส่วนใหญ่พบว่า น้ำมัน 1 ครั้งใช้ 2 วัน
แม่ค้าจำนวน 15 คนยังไม่ปรับเปลี่ยน วัสดุที่ใช้ในการห่อ ได้แก่ กระดาษซับมัน ร่วมกับการใช้ใบตอง และใส่ข้าวเหนี่ยวใน ถุงพลาสติก

ปัจจุบัน แม่ค้าจำนวน ... คนขายเหนียวไก่หน้าร้านเหมือนเดิม

            แม่ค้า..... คน ขายทั้งหน้าร้าน และทางเฟชบุค และขับรถไปส่งตามออเดอร์

แม่ค้าทั้งหมดยังไม่บันทึกรายรับรายจ่ายของตนเอง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แกนนำ 11 คนติดตามเยี่ยม ครั้งที่ 1

ได้ข้อมูลแม่ค้าเรื่องการค้าขาย ต้นทุน กำไร และการอ่านฉลากวัตถุดิบ ..... คน

 

11 0

20. ประชุม ครั้งที่ 6

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2023 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

 

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

===

 

11 0

21. ค่าทำคู่มือการขายข้าวเหนียวไก่ 30 เล่ม

วันที่ 4 มีนาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมที่ 3 แกนนำสำรวจข้อมูล และพยาบาลทำคู่มือ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คู่มือ 30 เล่ม

 

30 0

22. ครั้งที่ 1 แม่ค้า 30 คน แลกเปลี่ยนปัญหา อุปสรรค ความสำเร็จ แนวทางพัฒนาการขาย

วันที่ 9 มีนาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กำหนดการจัดกิจกรรม แลกเปลี่ยน โครงการ “วิสาหกิจข้าวเหนียวไก่ ณ นาเคียน”

เวลา
10.00 - 10.30 น. ภาคี และกลุ่มเป้าหมายลงทะเบียน 10.30 - 10.40 น. หัวหน้าโครงการ สรุปผลการดำเนินโครงการ และรายงานการเงินโครงการ 10.40 – 11.00 น. 11.00- 11.10 น.

11.10-11.20 น.


11.20- 12.00 น.


12.00-16.00 น. รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาเคียนกล่าวเปิดงาน
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหมืองหัวทะเล ให้ข้อเสนอแนะการจัดกิจกรรมโครงการ ความรู้เรื่อง คุ้มครองผู้บริโภค “ข้าวเหนียวไก่ปลอดภัย และเหมาะสมกับสุขภาพ” โดย พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหมืองหัวทะเล ภาคีร่วมเสนอแนะ ได้แก่ ครูกศน. โต๊ะอิหม่าม แกนนำโครงการ แม่ค้าข้าวเหนียวไก่ แม่ค้าอื่นๆในตำบล ผู้บริโภคข้าวเหนียวไก่ และ อสม. ที่สนใจ รวมจำนวน 22 คน
ชิม ชม ข้าวเหนียวไก่ของนาเคียน หลากหลายสูตร 16.00 น. ปิดกิจกรรมการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แม่ค้า ภาค และผู้นำ  ประชาชน 59 คน

 

30 0

23. ประชุม ครั้งที่ 7

วันที่ 23 พฤษภาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

แกนนำ 11 คน และพี่เลี้ยงโครงการ ประชุม มีวาระดังนี้ 1. เตรียมข้อมูล และปรับแบบการเยี่ยมแม่ค้า โดยพี่เลี้ยวจะปรับแบบฟอร์มเยี่ยมตามที่คุยกันส่งมาให้อีกครั้ง 2. เตรียมจัดอบรมกิจกรรมพัฒนาช่องทางการขายแบบออนไลน์ เพื่อให้แม่ค้ามีทักษะการเปิดขายหลากหลายช่องทาง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แกนนำ 11 คน และพี่เลี้ยง 1 คน เข้าประชุม

 

11 0

24. แกนนำเยี่ยมแม่ค้าครั้งที่ 2

วันที่ 29 พฤษภาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

แกนนำนำเอกสาารข้อมูล และคู่มือความรู้การขายข้าวเหนียวไก่อย่างปลอดภัยให้แม่ค้า

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แกนนำ 11 คน แม่ค้า 30 คน

 

11 0

25. พัฒนาการขาย

วันที่ 2 มิถุนายน 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วิทยากร โดย นส. รีน่า เอกชน เป็นแม้ค้าขายของออนไลน์มีประสบการณ์ขายของทางติ๊กต็อก เป็นวิทยกรให้ในวันนี้
สอนวิธีการโหลดแอปติ๊กต๊อก การค้นหารูปภาพ การอัดวีดีโอ แล้วลงในติ๊กต๊อก การหาข้อความที่โนใจ เพื่อขายของได่มากขึ้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วม 22 คน เป็นแม่ค้าเหนียวไก่ 8 คน และผุ้สนใจอีก 11 คน ที่เหลือเป็นแกนนำ

 

30 0

26. แกนนำเยี่ยมแม่ค้าครั้งที่ 3

วันที่ 4 มิถุนายน 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

แกนนำเยี่ยมแม่ค้ากระตุ้นให้ทำบัญชี และให้ความสำคัญกับการเลือกวัตถุดิบ ขั้นตอนการปรุง และภาชนะที่ห่อ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แกนนำ 11 คน

 

11 0

27. ครั้งที่ 2 แม่ค้า 30 คน และผู้บริโภค 30 คนแลกเปลี่ยน รับฟังเสียงสะท้อนของผู้บริโภค

วันที่ 5 มิถุนายน 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กำหนดการจัดกิจกรรม
โครงการ “วิสาหกิจข้าวเหนียวไก่ ณ นาเคียน”
วันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน 2566


เวลา
10.00 - 10.30 น. ภาคี และกลุ่มเป้าหมายลงทะเบียน 10.30 - 10.40 น. หัวหน้าโครงการ สรุปผลการดำเนินโครงการ และรายงานการเงินโครงการ 10.40 – 11.00 น. 11.00- 11.10 น.

11.10-11.20 น.


11.20- 12.00 น.


12.00-16.00 น. รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาเคียนกล่าวเปิดงาน
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหมืองหัวทะเล ให้ข้อเสนอแนะการจัดกิจกรรมโครงการ ความรู้เรื่อง คุ้มครองผู้บริโภค “ข้าวเหนียวไก่ปลอดภัย และเหมาะสมกับสุขภาพ” โดย พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหมืองหัวทะเล ภาคีร่วมเสนอแนะ ได้แก่ ครูกศน. โต๊ะอิหม่าม แกนนำโครงการ แม่ค้าข้าวเหนียวไก่ แม่ค้าอื่นๆในตำบล ผู้บริโภคข้าวเหนียวไก่ และ อสม. ที่สนใจ รวมจำนวน 22 คน
ชิม ชม ข้าวเหนียวไก่ของนาเคียน หลากหลายสูตร 16.00 น. ปิดกิจกรรมการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วม67 คน เป็นแม่ค้า 11 คน แกนนำ 11 คน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 พยาบาลวิชาชีพ

 

60 0

28. แกนนำเยี่ยมแม่ค้าครั้งที่ 4

วันที่ 9 มิถุนายน 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

แกนนำติดตามเยี่ยมแม่ค้า ที่บ้าน และร้านค้า เพื่อ สัมภาษณ์ และจัดทำบัญชีการค้าการขาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แกนนำ 11 คน แม่ค้า จำนวน 21 คน

 

11 0

29. ครั้งที่ 3 แม่ค้า 30 คน และ หน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ อบต. รพ.สต. ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ

วันที่ 15 มิถุนายน 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

9.00 น. เปิดกิจกรรรมโดย พยาบาลวิชาชีพ 10-12 น. แม่ค้า แกนนำ และ ผู้บริโภค ร่วมกับ อสม. พูดคุย แลหกเปลี่ยน ได้ประเด็นดังนี้ 1. แม่ค้าควรแต่งกายให้เหมาะสมทุกคน 2. กระดาษห่อ อยากให้ใช้ใบตองแทนพลาสติค และกระดาษาซับมัน แต่มีปัญหา วบตองหาซื้อยาก และยุ่งยากต้องมาเช้ด ตัด 3. อยากให้มีการตรวจสารโพลาในน้ำมัน แต่ไว้รองบประมาณของรพ.สต. 4. อยากให้จัดกิจกรรมนี้ในแม่ค้าที่ขายของบริโภคอยากอื่นด้วย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วม90 คน

 

40 0

30. แกนนำเยี่ยมแม่ค้าครั้งที่ 5

วันที่ 23 มิถุนายน 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

แกนนำประชุมสรุปผลการเยี่ยมแม่ค้าดังรูปภาพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แกนนำ 11 คน

 

11 0

31. แกนนำเยี่ยมแม่ค้าครั้งที่ 6

วันที่ 7 กรกฎาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

แกนนำ วางแผนติดตามเยี่ยมตามความรับผิดชอบ พบว่า แม่ค้าบันทึกรายรับรายจ่ายจำนวน 2 คน  และให้ความสำคัญกับขั้นตอนและการพัฒนาเนูให้อร่อย ให้ลุกค้ามาเยอะขึ้น และแม่ค้า ใช้ไลน์ ขาย และทำติ๊กต๊อกประชาสัมพันธ์การขาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แกนนำ 11 คน แม่ค้า 21 คน

 

11 0

32. ประชุม ครั้งที่ 8

วันที่ 10 กรกฎาคม 2023 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

แกนนำประชุมสรุปข้อมูลจากการเยี่ยมแม่ค้า และนำข้อมูลมาวิเคาะห์ พบว่า แม่ค้าทำบัญชีครัวเรือนทุกวัน 2 คน คนอื่น แกนนำปรับเปลี่ยน ไปชวนแม่ค้าบันทึกรายรับรายจ่าย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แกนนำ 11 คน

 

11 0

33. ประชุม ครั้งที่ 9

วันที่ 17 กรกฎาคม 2023 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

แกนนำประชุมสรุปการใช้เงิน รวบรวมเอกสารการเงิน ชี้แจงการเงินที่ต้องรายงานต่อ สสส. และเตรียมข้อมูลเพื่สรุปลงโปรแกรมของ สสส.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แกนนำ 11 คน

 

11 0

34. แกนนำเยี่ยมแม่ค้าครั้งที่ 7

วันที่ 21 กรกฎาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สรุปข้อมูลการเยี่ยม และนำข้อมูลไปพูดคุย เรื่อง เฉลี่ยแม่ค้าได้กำไรเพิ่มขึ้นวันละ 150-180 บาทต่อวัน และยังขายดีเหมือนเดิม เป็นลูกค้าเดิม และมีลูกค้าใหม่ตามมาจากอำเภอเมืองเพื่อซื้อ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แม่ค้า 30 คน

 

11 0

35. ประชุม ครั้งที่ 10

วันที่ 22 กรกฎาคม 2023 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

แกนนำจัดประชุมสรุปผลการจัดโครงการ พบว่า แม่ค้าเข้าร่วมกิจกรรมอบรมร้อยละ 80 -แม่ค้าปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ และการเลือกวัตถุดิบ การปรุง การขาย และการประชาสัมพันธ์ร้อยละ 80 -สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและด้านการเงินร้อยละ 80 -สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจนำความรอบรู้ด้านสุขภาพและด้านการเงินไปขยายผลให้กับสมาชิกกลุ่มอื่นในชุมชนอย่างน้อย 4 กลุ่ม ในชุมชน -แม่ค้าข้าวเหนียวไก่มีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 80 -แม่ค้าข้าวเหนียวไก่ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย สม่ำเสมอติดต่อกัน 6 เดือนขึ้นไป ร้อยละ 80 -ผู้บริโภคได้บริโภคข้าวเหนียวไก่ทอดที่มีการปรับกระบวนการผลิตที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แกนนำ และพี่เลี้ยง และพยาบาลวิชาชีพเข้าร่วมประชุม 13 คน

 

11 0

36. แกนนำเยี่ยมแม่ค้าครั้งที่ 8

วันที่ 25 กรกฎาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

แกนนำเยี่ยมแม่ค้า สรุปงาน และชื่นชมแม่ค้าที่ ปรับเปลี่ยนพฟติกรรมการปรุง การคัดเลือกวัตถุดิบ ทำให้ผู้บริโภคข้าวเหนียวไก้ ปลอดภัย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แม่ค้า 30 คน

 

11 0

37. . มหกรรมเหนียวไก่ปลอดภัย ณ นาเคียน

วันที่ 29 กรกฎาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันอาทิตย์ที่ 29 มกรา เวลา 10-16 น. ที่เราจะจัดกิจกรรม ปรุง อย่างไร ให้เป็นเหนียวไก่ ดี มีคุณภาพ พี่แป๊กขอเพิ่มประเด็น กินทำไรใน 1 มื้อ (ทั้งเหนียว ทั้งไก่)   กำหนดการมีดังนี้   10.00 น. จัดเตรียม ก่อไฟ เริ่ม ทอด   10.30 น. ประธาน กล่าวเปิดงาน     10.45 น. กินเหนียวไก่อย่างไร ให้ดีต่อสุขภาพ (กินเหนียวกี่ทัพพี กินไก่กี่ชิ้น และ ต้องกินอะไรเพิ่มเพื่อให้ได้ อาหารครบทุกหมู่) โดย วิทยากร พี่แป๊ก             และ ขอตัวแทน อสม. 1 คน มาพูดเรื่อง การดูฉลาก อย. นะคะ
    11.30 น. เด็กๆ ประชาชนทั่วไปเข้าคิว รับเหนียวไก่ และให้คะแนนความอร่อย ในแม่ค้า 4 เจ้า     12.30 น. แม่ค้าเหนียวไก่ 30 คน จับฉลากอุปกรณ์ครัว       15.00 น. ปิดงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แม่ค้าเข้าร่วม 7 คน รองนายก 1 คน เจ้าของฟาร์มผัก 1 คน แกนนำ 11 คน
พี่เลี้ยง 1 คน อาจารย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 1 คน ประชาชน และผู้สนใจ 20 คน นักเรียนโรงเรยนสอนผศาสนา 30 คน

 

150 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.เพื่อจัดตั้งกลุ่มแกนนำขับเคลื่อนวิสาหกิจเหนียวไก่
ตัวชี้วัด : 1. มีรายชื่อและสมาชิกกลุ่มอย่างน้อย 25 คน 2. มีแผนการพัฒนากลุ่ม และพัฒนางานของแกนนำขับเคลื่อนวิสาหกิจเหนียวไก่ 3. มีรายงานการประชุมประจำเดือนของแกนนำขับเคลื่อนวิสาหกิจเหนียวไก่

 

2 2. เพื่อให้สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและด้านการเงิน
ตัวชี้วัด : 1. สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและด้านการเงินร้อยละ 80 2. สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจนำความรอบรู้ด้านสุขภาพและด้านการเงินไปขยายผลให้กับสมาชิกกลุ่มอื่นในชุมชนอย่างน้อย 4 กลุ่ม ในชุมชน

 

3 3. เพื่อให้แม่ค้าข้าวเหนียวไก่มีรายได้เพิ่มขึ้น
ตัวชี้วัด : 1. แม่ค้าข้าวเหนียวไก่มีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 80 2. แม่ค้าข้าวเหนียวไก่ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย สม่ำเสมอติดต่อกัน 6 เดือนขึ้นไป ร้อยละ 80

 

4 4. เพื่อให้ผู้บริโภคได้บริโภคข้าวเหนียวมีคุณภาพ
ตัวชี้วัด : 1. ผู้บริโภคได้บริโภคข้าวเหนียวไก่มีคุณภาพ ร้อยละ 100

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
แม่ค้าเหนียวไก่ 30 คน 30

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อจัดตั้งกลุ่มแกนนำขับเคลื่อนวิสาหกิจเหนียวไก่ (2) 2. เพื่อให้สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและด้านการเงิน (3) 3. เพื่อให้แม่ค้าข้าวเหนียวไก่มีรายได้เพิ่มขึ้น (4) 4. เพื่อให้ผู้บริโภคได้บริโภคข้าวเหนียวมีคุณภาพ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กลุ่มวิสาหกิจประชุมเดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 10 ครั้ง (2) รับสมัครเลือกแกนนำชุมชนรวมถึงแม่ค้าข้าวเหนียวไก่เพื่อจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจ (3) กิจกรรมร่วมกับ สสส (4) แกนนำชุมชนกลุ่มวิสาหกิจ  สำรวจข้อมูลพฤติกรรมการคัดสรรวัตถุดิบ การปรุง การขาย และการประชาสัมพันธ์ของแม่ค้าเหนียวไก่ /จัดทำความรู้เรื่อง การัฒนาด้านสุขาภิบาลอาหารขข้าวเหนียวไก /ทำคู่มือการค้าการขายเหนียวไก่ ณ นาเคียน (5) 5. กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพความรู้ ทักษะ ให้แก่แม่ค้า ความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านการเงิน และบัญชีรายรับรายจ่าย (6) แกนนำเยี่ยม แม่ค้า และผู้บริโภค (7) กิจกรรมพัฒนาช่องทางการขาย แบบออนไลน์ และในร้าน (8) เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ของแม่ค้าข้าวเหนียวไก่ และเสียงสะท้อนจากผู้บริโภค (9) มหกรรมเหนียวไก่ปลอดภัย ณ นาเคียน (10) ประชุมครั้งที่ 1 (11) รับสมัคร และชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ (12) ปฐมนิเทศน์ (13) ประชุมครั้งที่ 2 (14) สำรวจข้อมูลพฤติกรรมการคัดสรรวัตถุดิบ การปรุง การขาย และการประชาสัมพันธ์ของแม่ค้าเหนียวไก่ /จัดทำความรู้เรื่อง การัฒนาด้านสุขาภิบาลอาหารขข้าวเหนียวไก /ทำคู่มือการค้าการขายเหนียวไก่ ณ นาเคียน (15) ครั้งที่ 1 กิจกรรมการออกแบบการบันทึกรายรับ รายจ่าย ในการขายข้าวเหนียวไก่ และครอบครัว (16) ครั้งที่ 2  การคัดสรรวัตถุดิบ และบัญชีรายรับรายจ่าย (17) อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงินกับหน่วยจัดการ ณ เขาพับผ้่ารีสอร์ท (18) ครั้งที่ 3 การปรุง (19) ประชุมครั้งที่ 3 (20) ครั้งที่ 4 การขาย และการประชาสัมพันธ์การขาย (21) ประชุมครั้งที่ 4 (22) แกนนำเยี่ยมแม่ค้าครั้งที่ 1 (23) ประชุมครั้งที่ 5 (24) ARE ครั้งที่่1 ร่วมกับภาคีในพื้นที่ตำบลนาเคียน (25) ถอนเงินออกจากบัญชีธนาคารกรุงไทย (26) กิจกรรมAREครั้งที่ 1ร่วมกับ สสส ที่โรงแรมเซาเทรินแอร์พอต อ.หาดใหญ่ (27) ประชุม ครั้งที่ 6 (28) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้ง ที่ 1 (29) ค่าทำคู่มือการขายข้าวเหนียวไก่ 30 เล่ม (30) แกนนำเยี่ยมแม่ค้าครั้งที่ 4 (31) ครั้งที่ 1 แม่ค้า 30 คน แลกเปลี่ยนปัญหา อุปสรรค ความสำเร็จ แนวทางพัฒนาการขาย (32) พัฒนาการขาย (33) ครั้งที่ 2 แม่ค้า 30 คน และผู้บริโภค 30 คนแลกเปลี่ยน รับฟังเสียงสะท้อนของผู้บริโภค (34) แกนนำเยี่ยมแม่ค้าครั้งที่ 5 (35) แกนนำเยี่ยมแม่ค้าครั้งที่ 6 (36) ครั้งที่ 3 แม่ค้า 30 คน และ หน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ อบต. รพ.สต. ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ (37) ประชุม ครั้งที่ 8 (38) วัสดุในโครงการ (39) แกนนำเยี่ยมแม่ค้าครั้งที่ 7 (40) ประชุม ครั้งที่ 9 (41) ประชุม ครั้งที่ 7 (42) แกนนำเยี่ยมแม่ค้าครั้งที่ 2 (43) แกนนำเยี่ยมแม่ค้าครั้งที่ 3 (44) แกนนำเยี่ยมแม่ค้าครั้งที่ 8 (45) ประชุม ครั้งที่ 10 (46) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้ง ที่ 2 (47) . มหกรรมเหนียวไก่ปลอดภัย ณ นาเคียน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการวิสาหกิจข้าวเหนียวไก่ ณ นาเคียน จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 65-10018-14

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( กานดา โต๊ะยีอิด )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด