directions_run

15. ตันหยงโป โมเดล (Tanyongpo Model) หมู่บ้านต้นแบบการจัดการขยะอย่างยั่งยืน ตำบลตันหยงโป จังหวัดสตูล

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ 15. ตันหยงโป โมเดล (Tanyongpo Model) หมู่บ้านต้นแบบการจัดการขยะอย่างยั่งยืน ตำบลตันหยงโป จังหวัดสตูล
ภายใต้องค์กร องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล
รหัสโครงการ 6510154036
วันที่อนุมัติ 5 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 มกราคม 2566 - 15 พฤศจิกายน 2566
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มรักษ์บ้านเกิดตำบลตันหยงโป
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสถาพร สามาดี
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0962291501
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ selpapaya@outlook.com
พี่เลี้ยงโครงการ นฤมล ฮะอุรา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตันหยงโป อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 5 ม.ค. 2566 31 พ.ค. 2566 5 ม.ค. 2566 31 พ.ค. 2566 50,000.00
2 1 มิ.ย. 2566 30 ก.ย. 2566 1 มิ.ย. 2566 30 ก.ย. 2566 25,000.00
3 1 ต.ค. 2566 15 พ.ย. 2566 1 ต.ค. 2566 15 พ.ย. 2566 5,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลตันหยงโป เป็นตำบลเล็กๆตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองสตูล ประมาณ 27 กิโลเมตร ตำบลตันหยงโป ประกอบด้วย 3 หมู่บ้านเล็กๆ หมู่ที่ 1 บ้านตันหยงโป หมู่ที่ 2 บ้านหาดทรายยาว หมู่ที่ 3 บ้านบากันเคย เป็นตำบลที่อุดมไปด้วยทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ ทางธรรมชาติที่เกื้อกูลต่อระบบนิเวศทางทะเล เช่นป่าชายเลน แนวปะการัง ดอนหอย และกั้ง รวมถึงสัตว์น้ำในท้องทะเลที่สร้างรายได้กับชุมชน และมีเกาะน้อยใหญ่ จำนวน 7 เกาะ ที่เปรียบเสมือนเกราะกำบังคลื่นลม และมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม เช่น หาดสันหลังมังกร หาดทรายดำเกาะมดแดงและถนนสายรอบเกาะ จุดชมวิวพระอาทิตย์ตกน้ำสองแผ่นดิน ลังกาวี และตะรุเตา สืบเนื่องความอุดมสมบูรณ์และความงดงามของธรรมชาติ ตำบลตันหยงโปจึงเป็นแหล่งท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจของพี่น้องชาวสตูลและจังหวัดใกล้เคียงแวะมาเที่ยวชมธรรมชาต รับประทานอาหารทะเล เป็นท่าเรือในการเดินทางไปเที่ยวสันหลังมังกร และมีรีสอร์ทเชิงโฮมสเตย์จำนวน 6 แห่ง ร้านอาหารชายทะเลจำนวน 8 แห่ง มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในตำบลประมาณปีละ 300,000 คน

การดำเนินโครงการครั้งนี้จะเลือกดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 1 บ้านตันหยงโป มีประชากร 258 ครัวเรือนรวม 1,162 คนจำนวน แยกเป็นชาย จำนวน 580 คน แยกเป็นผู้หญิง จำนวน 582 คน หมายเหตุ : ข้อมูลจากทะเบียนราษฎรอำเภอเมืองสตูล จากการเก็บข้อมูลปริมาณขยะตำบลตันหยงโปมีปริมาณขยะที่เกิดขึ้นจริง ทั้ง 3 หมู่บ้าน จำนวนขยะครัวเรือนที่เกิดขึ้นต่อวันเฉลี่ยวันละ500-700 กิโลกรัม โดยมีการบริการการเก็บขยะมูลฝอยชุมชน โดย องค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงโป นำไปกำจัด ณ ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองสตูล เฉลี่ยต่อเดือนมีปริมาณขยะที่สูงขึ้นทุกเดือน

สรุปข้อมูลขยะมูลฝอย ประจำปีงบประมาณ 2565 ขององค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงโป

ลำดับ ประจำเดือน น้ำหนักสุทธิ/ตัน จำนวนเงิน(บาท) หมายเหตุ 1 ตุลาคม 2564 14.65 8,057.50
2 พฤศจิกายน 2564 18.89 10,389.50
3 ธันวาคม 2564 19.93 10,961.50
4 มกราคม 2565 19.76 10,868.00
5 กุมภาพันธ์ 2565 17.52 9,636.00
6 มีนาคม 2565 17.26 9,493.00
7 เมษายน 2565 17.80 9,790.00
8 พฤษภาคม 2565 21.60 11,880.00
9 มิถุนายน 2565 17.98 9,889.00
10 กรกฎาคม 2565 20.43 11,236.50
11 สิงหาคม 2565 19.26 10,593.00
12 กันยายน 2565 19.18 10,549.00
รวม 224.26 123,343.00

จากตารางดังกล่าว ทางหน่วยงานอบต.ตันหยงโป เสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะ ณ ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองสตูล เดือนละ 10,000 บาท ต่อเดือน เฉลี่ยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เสียค่ากำจัดขยะปีละ 123,343บาทส่วนค่าจ้างเหมาบริการคนเก็บขยะ และคนขับรถบรรทุกขยะเฉลี่ยปีละ 252,000 บาท อีกด้วย ข้อมูลจาก อบต.ตันหยงโป 22/10/56

จากการตั้งวงพูดคุยของแกนนำกลุ่มรักษ์บ้านเกิด เพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหาการจัดการขยะในครัวเรือนของบ้านตันหยงโป พบว่าสาเหตุด้านพฤติกรรมของคน ได้แก่ประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะมูลฝอย ไม่มีความรู้ในเรื่องการการจัดการขยะอันตรายอย่างถูกวิธี เช่น การนำไฟฉาย หลอดไฟ ถ่านแบตเตอรี่ มาทิ้งรวมกับขยะประเภทอื่นๆประชาชนในพื้นที่ไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมการลดปริมาณขยะและคัดแยกขยะในครัวเรือนประชาชนไม่มีการคัดแยกขยะอินทรีย์ที่ต้นทาง มีการทิ้งขยะร่วมกับประเภทอื่นๆลงในถุงดำหรือภาชนะ ส่วนขยะที่ประชาชนที่เข้ารับบริการทิ้งกับทางอบต.ตันหยงโป เพื่อส่งไปกำจัด แต่ละครัวเรือนยังไม่มีการจัดการขยะรีไซเคิลและนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวชมธรรมชาติ ที่บ้านตันหยงโปยังมีพฤติกรรมที่ทิ้งขยะลงข้างทาง และชายหาดสาเหตุด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ มีแพะ ไก่ สัตว์เลี้ยง ลิง คุ้ยขยะบ้านเรือนที่ติดบริเวณชายฝั่งทะเลมี ขยะทะเล ที่ลอยมากับน้ำทะเลอีกด้วยสาเหตุด้านสภาพแวดล้อมทางด้านกลไก ได้แก่ ในชุมชนยังไม่มีการรวมตัวกันจัดการขยะอย่างต่อเนื่อง จริงจังในพื้นที่ยังไม่มีการบริหารจัดการขยะอินทรีย์อย่างถูกต้องเช่น นำขยะที่สามารถรีไซเคิลไปใช้อย่างจริงจัง ทำให้เกิดผลกระทบทางด้านสุขภาพ ได้แก่ โรคไข้เลือกออกและ โรคฉี่หนู และเป็นแหล่งกำเนิดและอาหารของสัตว์ต่างๆ ที่เป็นพาหะนำโรคมาสู่คน เช่น แมลงวัน แมลงสาบ และหนู ผลกระทบด้านสภาพแวดล้อมได้แก่ ภูมิทัศน์ไม่สวยงาม เพราะการวางขยะกองไว้ หน้าบ้าน และข้างถนนการเผา ทำให้เกิดมลพิษผลกระทบทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ถนนเส้นทางสัญจร ไม่สวยงาม ชายหาดมีขยะมากมายทำให้ไม่เป็นที่น่ามองแก่นักท่องเที่ยว ร้านอาหารขาดรายได้เนื่องจากสภาพแวดล้อมมีแต่ขยะ ผลกระทบทางสังคม ได้แก่ ก่อให้เกิดความรำคาญ ทางกลุ่มรักษ์บ้านเกิดจึงได้คิดร่วมกันในการจัดทำโครงการ ตันหยงโปโมเดล (Tanyong po Model) หมู่บ้านต้นแบบการจัดการขยะอย่างยั่งยืน ตำบลตันหยงโป จังหวัดสตูล เพื่อ สร้างครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะในครัวเรือน อย่างถูกวิธี และครัวเรือนที่เข้าร่วมสามารถเป็นแกนนำในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนได้ และสามรถสร้างจิตสำนึก ให้คนในชุมชนตระหนักถึงการจัดการขยะและสามารถลดปริมาณขยะด้วยตัวของเราเองอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย โดยการช่วยกันลดปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นแต่ละวันของครัวเรือนได้ อีกทั้งช่วยกันรณรงค์ไม่ทิ้งขยะลงทะเล และช่วยกันรักษาความสะอาดในครัวเรือน และหวังว่าหลังจากการทำโครงการ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมการจัดการขยะ และลดปริมาณขยะในครัวเรือน และร่วมถึงสถานที่ท่องเที่ยวปลอดขยะ และชายหาดที่สวยงามได้

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างแกนนำการจัดการขยะบ้านตันหยงโป เกิดแกนนำจัดการขยะที่เข้มแข็ง 1.มีแกนนำไม่น้อยกว่า 5 คน ประกอบด้วยตัวแทนหมู่บ้าน และอบต.ตันหยังโป 2.มีข้อมูลสถานการณ์ขยะในหมู่ที่ 1 บ้านตันหยงโป 3.มีข้อตกลงของแกนนำ และกติกาฮุ่ก่มฟากัตจัดการขยะร่วมกัน 4.มีแผนการทำงานของแกนนำ 2.เพื่อให้ครัวเรือนในชุมชนมีความรู้ความตระหนักในการจัดการขยะ ครัวเรือนในชุมชนมีความรู้ ความตระหนักในการจัดการขยะ 1.ครัวเรือนเป้าหมาย 30 ครัวเรือนนักเรียนโรงเรียนบ้านตันหยงโป จำนวน 30 คน มีความรู้การคัดแยกขยะ และสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง 2.มีกติกาการจัดการขยะของครัวเรือนเป้าหมายและมีการปฏิบัติตาม 3. เพื่อสร้างครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะ และมีการจัดการขยะอย่างต่อเนื่องในชุมชน เกิดครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะ และมีการจัดการขยะอย่างต่อเนื่องในชุมชน 1.เกิดครัวเรือนต้นแบบจัดการขยะ ไม่น้อยกว่า 10 ครัวเรือน ที่มีการคัดแยกขยะต่อเนื่อง ลดการสร้างขยะ มีการนำขยะกลับมาใช้ และสามารถเป็นวิทยากรให้ครัวเรือนอื่น หรือคณะศึกษาดูงานได้ 2.แกนนำมีการติดตามผลการคัดแยกขยะของครัวเรือนเป้าหมาย 30 ครัวเรือนนักเรียนโรงเรียนบ้านตันหยงโป จำนวน 30 คนอย่างต่อเนื่อง 4.เพื่อให้ชุมชนเกิดการลดปริมาณของขยะมูลฝอยในครัวเรือน ง่ายต่อการนำขยะมูลฝอยไปกำจัด เพื่อลดปริมาณขยะจากครัวเรือน และเพิ่มความสวยงามให้ภูมิทัศน์ของชุมชน ปริมาณขยะจากครัวเรือนลดลง ภูมิทัศน์ของชุมชนสะอาด สวยงามขึ้น 1.ครัวเรือนเป้าหมาย มีการคัดแยกขยะและใช้ประโยชน์จากขยะ ร้อยละ 80 (24 ครัวเรือน) 2. ปริมาณขยะของครัวเรือนเป้าหมายลดลงจากเดิมอย่างน้อย ร้อยละ 40 3.สถานที่ในหมู่บ้านสะอาด และสวยงามขึ้น

เกิดการจัดการขยะในครัวเรือน และเป็นต้นแบบแก่ครัวเรือนอื่นๆ ได้

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66
1 กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการตามแผนการร่วมทุน อบจ.และ สสส.(1 ก.พ. 2566-27 พ.ย. 2566) 3,637.00                      
2 กิจกรรมที่ 1 เวทีชี้แจ้งโครงการ และจัดตั้งคณะทำงานกำหนกบทบาทหน้าที่ในการทำงาน(9 ก.พ. 2566-9 ก.พ. 2566) 4,350.00                      
3 ชื่อกิจกรรมที่ 2/1 สำรวจ สถานการณ์ขยะในชุมชน(18 ก.พ. 2566-18 ก.พ. 2566) 5,700.00                      
4 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ร่วมใจการจัดการขยะอินทรีย์ให้เป็นศูนย์(23 ก.พ. 2566-23 ก.พ. 2566) 13,800.00                      
5 4.ชื่อกิจกรรมที่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้พื้นที่ต้นแบบ(6 มี.ค. 2566-6 มี.ค. 2566) 5,800.00                      
6 ชื่อกิจกรรมที่ 5 กิจกรรมแยกขยะก่อนทิ้ง เริ่มที่ตัวเรา(11 มี.ค. 2566-11 มี.ค. 2566) 17,800.00                      
7 กิจกรรมหมู่บ้านต้นแบบ (ตันหยงโป โมเดล) จัดการขยะให้เป็นศูนย์(16 มี.ค. 2566-16 มี.ค. 2566) 14,000.00                      
8 สรุปโครงการและถอดบทเรียน(13 ต.ค. 2566-13 ต.ค. 2566) 13,550.00                      
รวม 78,637.00
1 กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการตามแผนการร่วมทุน อบจ.และ สสส. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 3 3,637.00 6 4,037.00
12 ม.ค. 66 เดินทางร่วมทำ mou 0 120.00 120.00
1 ก.พ. 66 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการตามแผนการร่วมทุน อบจ.และสสส. 0 0.00 0.00
18 ก.พ. 66 ทำตรา ยาง และป้ายไวนิลโครงการ 0 1,327.00 1,327.00
28 เม.ย. 66 เวทีแลกเปลี่ยน โครงการย่อย 3 190.00 190.00
26 ก.ย. 66 เวทีแลกเปลี่ยน โครงการย่อย ครั้งที่ 2 0 0.00 400.00
30 ก.ย. 66 จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ 0 2,000.00 2,000.00
2 กิจกรรมที่ 1 เวทีชี้แจ้งโครงการ และจัดตั้งคณะทำงานกำหนกบทบาทหน้าที่ในการทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 35 4,350.00 1 4,350.00
5 เม.ย. 66 เวทีชี้แจงโครงการ 35 4,350.00 4,350.00
3 ชื่อกิจกรรมที่ 2/1 สำรวจ สถานการณ์ขยะในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 5,700.00 2 5,700.00
18 ก.พ. 66 สำรวจ สถานการณ์ขยะในชุมชน ครั้งที่ 1 10 4,460.00 4,460.00
16 ก.ย. 66 สำรวจ สถานการณ์ขยะในชุมชน ครั้งที่ 2 10 1,240.00 1,240.00
4 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ร่วมใจการจัดการขยะอินทรีย์ให้เป็นศูนย์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 90 13,800.00 2 13,800.00
23 ก.พ. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ร่วมใจจัดการขยะให้เป็นศูนย์ รุ่นที่ 1 60 6,900.00 6,900.00
8 เม.ย. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ร่วมใจการจัดการขยะอินทรีย์ให้เป็นศูนย์ รุ่นที่2 30 6,900.00 6,900.00
5 4.ชื่อกิจกรรมที่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้พื้นที่ต้นแบบ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 10 5,800.00 1 5,800.00
6 มี.ค. 66 แลกเปลี่ยนเรียนรู้พื้นที่ต้นแบบ 10 5,800.00 5,800.00
6 ชื่อกิจกรรมที่ 5 กิจกรรมแยกขยะก่อนทิ้ง เริ่มที่ตัวเรา กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 150 17,800.00 6 17,800.00
11 มี.ค. 66 กิจกรรมแยกขยะก่อนทิ้ง 0 5,800.00 5,800.00
19 พ.ค. 66 แยกขยะก่อนทิ้ง ครั้งที่ 1/5 30 2,400.00 2,400.00
22 พ.ค. 66 แยกขยะก่อนทิ้งเริ่มที่ตัวเรา ครั้งที่ 2/5 30 2,400.00 2,400.00
26 พ.ค. 66 แยกขยะก่อนทิ้งเริ่มที่ตัวเรา ครั้งที่ 3/5 30 2,400.00 2,400.00
25 ส.ค. 66 แยกขยะก่อนทิ้งเริ่มที่ตัวเรา ครั้งที่ 4/5 30 2,400.00 2,400.00
28 ส.ค. 66 แยกขยะก่อนทิ้งเริ่มที่ตัวเรา ครั้งที่ 5/5 30 2,400.00 2,400.00
7 กิจกรรมหมู่บ้านต้นแบบ (ตันหยงโป โมเดล) จัดการขยะให้เป็นศูนย์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 150 14,000.00 5 14,000.00
29 ส.ค. 66 กิจกรรมหมู่บ้านต้นแบบ (ตันหยงโป โมเดล) จัดการขยะให้เป็นศูนย์ ครั้งที่ 1 30 4,400.00 4,400.00
31 ส.ค. 66 กิจกรรมหมู่บ้านต้นแบบ (ตันหยงโป โมเดล) จัดการขยะให้เป็นศูนย์ ครั้งที่ 2 30 2,400.00 2,400.00
4 ก.ย. 66 กิจกรรมหมู่บ้านต้นแบบ (ตันหยงโป โมเดล) จัดการขยะให้เป็นศูนย์ ครั้งที่ 3 30 2,400.00 2,400.00
6 ก.ย. 66 กิจกรรมหมู่บ้านต้นแบบ (ตันหยงโป โมเดล) จัดการขยะให้เป็นศูนย์ ครั้งที่ 4 30 2,400.00 2,400.00
9 ก.ย. 66 กิจกรรมหมู่บ้านต้นแบบ (ตันหยงโป โมเดล) จัดการขยะให้เป็นศูนย์ ครั้งที่ 5 30 2,400.00 2,400.00
8 สรุปโครงการและถอดบทเรียน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 13,550.00 1 13,550.00
13 ก.ย. 66 สรุปโครงการและถอดบทเรียน 60 13,550.00 13,550.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1 500.00 1 500.00
3 มิ.ย. 66 ถอนเงินเปิดบัญชี 1 500.00 500.00
7 พ.ย. 66 ถอนเงิน ปิดบัญชี ส่งคินเงินดอกเบี้ย 0 0.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2566 17:32 น.