directions_run

3. ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย หมู่ที่ 3 ตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล


“ 3. ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย หมู่ที่ 3 ตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ”

หมู่ที่ 3 ตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นายอภิรัฐ แซะอามา

ชื่อโครงการ 3. ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย หมู่ที่ 3 ตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

ที่อยู่ หมู่ที่ 3 ตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 65-10154-004 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 5 มกราคม 2566 ถึง 15 พฤศจิกายน 2566


กิตติกรรมประกาศ

"3. ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย หมู่ที่ 3 ตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ที่ 3 ตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
3. ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย หมู่ที่ 3 ตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล



บทคัดย่อ

โครงการ " 3. ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย หมู่ที่ 3 ตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 3 ตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 65-10154-004 ระยะเวลาการดำเนินงาน 5 มกราคม 2566 - 15 พฤศจิกายน 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 80,000.00 บาท จาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ผู้สูงอายุหรือคนชรา ตามความจำกัดความขององค์การอนามัยโลก หมายถึง คนที่มีอายุ 60 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง ปัจจุบันประเทศต่างๆทั่วโลก มีอัตราการเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆทุกปี เหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และการพัฒนาทางด้านสาธารณสุข ทำให้สุขภาพอนามัยของประชาชนดีขึ้น และมีอายุยืนยาว ทำให้ผู้สูงอายุในประเทศไทยมีแนวโน้มมากขึ้น องค์การอนามัยโลก ได้นิยามไว้ว่า “สุขภาพ” หมายถึง สุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย จิตใจ สังคม และปัญญา มิใช่เพียงการปราศจากโรค หรือความพิการ เท่านั้น “ สุขภาพ” ขององค์การอนามัยโลก และ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 หรือสุขภาวะที่สมบูรณ์ทุกๆทางเชื่อมโยงกัน สะท้อนถึงความเป็นองค์รวมอย่างแท้จริงของสุขภาพที่เกื้อหนุนและยั่งยืน การมีสุขภาวะดีครบทั้งสี่ด้าน ได้แก่ สุขภาวะทางกาย หมายถึง การมีร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง มีเศรษฐกิจดี มีสิ่งแวดล้อมดี ไม่มีอุบัติภัย สุขภาวะทางจิต หมายถึง จิตใจที่เป็นสุข ผ่อนคลาย ไม่เครียด คล่องแคล่ว มีความเมตตากรุณา มีสติ มีสมาธิ สุขภาวะทางสังคม หมายถึง การอยู่ร่วมกันด้วยดีในครอบครัว ในชุมชน ในที่ทำงาน ในสังคม ซึ่งรวมถึงการมีบริการทางสังคมที่ดีและมีสันติภาพ สุขภาวะทางปัญญา หมายถึง ความสุขอันประเสริฐที่เกิดจากจิตใจที่สูงเข้าถึงความจริง ลด ละ ความเห็นแก่ตัว ในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว บางอย่างเกิดขึ้นก่อให้เกิดภาวะคุกคามต่อ สุขภาวะของคนไทย การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับอาหาร วิถีชีวิต ค่านิยม และวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป ล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ ประเทศไทยกำลังก้าวสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น โครงสร้างอายุของประชากรมีแนวโน้มที่จะสูงอายุขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดปรากฏการณ์สำคัญที่มีผลต่อสังคมไทยอย่างมาก ผลการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทยปี 2557 พบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 95 มีปัญหาสุขภาพด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบ ข้อเสื่อม โรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายและอัมพาต รวมทั้งยังมีภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุด้วย นอกจากนี้ยังมีข้อมูลว่ามีผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 26.5 มีการออกกำลังกายเป็นประจำ ดังนั้นหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อทั้งตัวผู้สูงอายุเอง ครอบครัว รวมถึงภาครัฐที่จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการเฝ้าระวังดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องตลอดจนการปรับพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ในด้านสังคม พบว่า ในปี 2560 มีผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม/ชมรมผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 33.7 ส่วนด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินชีวิต พบว่า ผู้สูงอายุกว่าร้อยละ 10 เคยมีประสบการณ์ในการหกล้ม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ราวจับ และการปรับสภาพพื้นที่ในบ้านและนอกบ้านให้เอื้อต่อการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยและป้องกันการหกล้ม ซึ่งเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บอันนำไปสู่ภาวะติดบ้านและติดเตียงตามมา ในด้านเศรษฐกิจ พบว่า ผู้สูงอายุร้อยละ 34.3 เป็นผู้สูงอายุที่ยากจน โดยผู้สูงอายุ 4.4 ล้านคน (ร้อยละ 37) ยังคงทำงานอยู่ ซึ่งผู้สูงอายุชายทำงานมากกว่าผู้สูงอายุหญิงเกือบ 2 เท่า อีกทั้ง ในปัจจุบันผู้สูงอายุเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ซึ่งการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตนั้นง่ายต่อการสื่อสาร แต่มีทั้งคุณและโทษ จึงควรพัฒนาช่องทางสื่อสารไปยังผู้สูงอายุเพื่อให้เกิดการเข้าใจปัญหา และการเตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหา เช่น การแก้ไขปัญหาข่าวลวง และความเชื่อที่ไม่มีหลักฐาน ดังนั้น เพื่อรองรับสังคมสูงอายุและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กลุ่มหรือชมรมผู้สูงอายุในระดับหมู่บ้านหรือชุมชนถือเป็นกลไกสำคัญที่มีบทบาทสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้สูงอายุ เนื่องจากมีความใกล้ชิด เข้าใจสภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ รวมถึงสามารถเข้าถึงและพัฒนาผู้สูงอายุในชุมชนได้ดีที่สุด แต่ในปัจจุบันกลับพบว่ากลุ่มหรือชมรมผู้สูงอายุในบางพื้นที่ยังขาดความเข้มแข็งในการดำเนินงานเพื่อสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคม กล่าวคือ บางกลุ่มเพิ่งอยู่ในระยะเริ่มต้นของการรวมตัว หรือบางกลุ่มแม้จะมีการรวมตัวมานานแล้วแต่ขาดการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องให้แก่ผู้สูงอายุในชุมชน
ชุมชนบ้านเขาน้อย ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล มีจำนวนครัวเรือน 140ครัวเรือน มีประชากรจำนวน 700 คนเศษ มีผู้สูงอายุจำนวน 92 คน ผู้สูงอายุติดสังคม 80 คน ผู้สูงอายุติดบ้าน
3 คน ผู้สูงอายุติดเตียง 2 คน ผู้สูงอายุพิการ 7 คน ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสุขภาพ 15 คน เป็นความดันโลหิตสูง
30 คน เป็นโรคเบาหวาน 3 คน เป็นโรคหัวใจ 0 คน อยู่ตามลำพัง 0 คน มีสุขภาพดี 44 คน (แหล่งที่มาของข้อมูล จาก รพ.สต.ย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล) หมู่บ้านได้จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย ดำเนินกิจกรรมมาเป็นระยะเวลา 1 ปีกว่า โดยดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง กลุ่มผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย มีความตระหนักถึงคุณค่าและสุขภาพของผู้สูงอายุ จึงได้จัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของผู้สูงอายุ โดยมุ่งหวังให้เกิดการมีส่วนร่วมของครอบครัว เน้นในด้านการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดี ไม่เป็นภาระต่อครอบครัว และสังคมต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อสร้างความเข้มแข็งแกนนำและให้กับสมาชิกชมรมผู้สูงอายุให้มีความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุทั้งกาย ใจ และสังคม
  2. สมาชิกชมรมผู้สูงอายุและครอบครัวมีความรู้และตระหนักในการดูแลผู้สูงอายุ
  3. สมาชิกชมรมผู้สูงอายุเข้มแข็งมีกการปฏิบัติตามข้อตกลงและติดตามต่อเนื่อง
  4. ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ไม่มีกลุ่มกิจกรรม
  2. ค่าบริหารจัดการโครงการ
  3. ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ
  4. การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง
  5. การสำรวจและจัดทำข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชน
  6. การอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ
  7. กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ
  8. การอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
  9. เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงาน
  10. เบิกดอกเบี้ยนำมาคืน อบจ.
  11. เซ็น MOU
  12. เปิดบัญชีธนาคาร
  13. ปฐมนิเทศโครงการ
  14. ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 1/6
  15. ตรายางโครงการ
  16. ป้ายไวนิล
  17. การสำรวจและจัดทำข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชน ครั้งที่ 1/2
  18. การอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 1/2
  19. กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ครั้งที่ 1/5
  20. ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 2/6
  21. ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 3/6
  22. การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง ครั้งที่ 1/4
  23. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  24. กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ครั้งที่ 2/5
  25. ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 4/6
  26. การอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ครั้งที่ 1/2
  27. การอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 2/2
  28. กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ครั้งที่ 3/5
  29. การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง ครั้งที่ 2/4
  30. การอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ครั้งที่ 2/2
  31. การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง ครั้งที่ 3/4
  32. ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 5/6
  33. กิจกรรมชี้แจงรายละเอียดการจัดทำเอกสารการเงินให้กับโครงการย่อย
  34. กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ครั้งที่ 4/5
  35. กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ครั้งที่ 5/5
  36. การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง ครั้งที่ 4/4
  37. ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 6/6
  38. การสำรวจและจัดทำข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชน ครั้งที่ 2/2
  39. เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงาน
  40. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2
  41. จัดทำรายงานและบันทึกรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ ผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย 50

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. เซ็น MOU

วันที่ 5 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เซ็นสัญญา MOU เพื่อรับโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้เซ็นสัญญา MOU ในแผนร่วมทุนฯ

 

0 0

2. เปิดบัญชีธนาคาร

วันที่ 16 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประธานชมรมรมและรองประธานชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย ม.3 ต.ย่านซื่อ อ.ควนโดน จ.สตูล เปิดสมุดบัญชีเพื่อรับงบสนับสนุนทำจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ดำเนินเปิดบัญชีธนาคารเรียบร้อยแล้ว

 

0 0

3. ปฐมนิเทศโครงการ

วันที่ 28 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ลงทะเบียน 2.รับฟังรายละเอียดการดำเนินโครงการเพื่อนำมาปฏิบัติในพื้นที่ 3.เรียนรู้การลงเว็ปไซต์ คนสร้างสุข

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับผิดชอบโครงการ 1 คน และผู้ประสานงาน การเงิน เเละลงข้อมูลในเว็บ 1 คน ร่วมประชุม 1. ได้เรียนรู้เรื่องต้นไม้ปัญหา บันไดผลลัพธ์ รายละเอียดการดำเนินกิจกรรมในโครงการ วิธีการดำเนินโครงการ การเก็บรวบรวมข้อมูล 2. เรียนรู้การจัดทำรายงานบนเว็ปไซด์คนสร้างสุข ขั้นตอนการลงกิจกรรม การลงรูป การลงไฟล์เอกสารการเงิน

 

2 0

4. ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 1/6

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 18:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

พี่เลี้ยงเนะนำคณะทำงาน ประธานชมรมผู้สูงอายุชี้แจงรายละเอียดโครงการ วางแผนตารางกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต :ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด  16 คน ประกอบด้วยคณะกรรมการ 13คน พี่เลี้ยงโครงการ 2คน หัวหน้าโหนดเขต1 1 คน ผลลัพธ์ :คณะกรรมการมีความเข้าใจเรื่องรายละเอียดโครงการ รู้หน้าที่รับผิดชอบตามโครงสร้าง ที่ได้รับมอบหมาย

 

13 0

5. ตรายางโครงการ

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ตรายางจำนวน 1 ชิ้น คือ ตรายางโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ตรายางจำนวน 1 ชิ้น คือ ตรายางโครงการ

 

0 0

6. ป้ายไวนิล

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ทำป้ายไวนิลโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย
ทำป้ายไวนิลสถานที่ปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีป้ายไวนิลโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย ขนาด 1.2 x 2.4 ม.  1 ป้าย มีป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์สถานที่ปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3 ป้าย

 

0 0

7. การสำรวจและจัดทำข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชน ครั้งที่ 1/2

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.คณะกรรมการจำนวน สืบค้นข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชน โดยได้ความร่วมมือจากจาก รพ.สต.ย่านซื่อ และ อบต.ย่านซื่อ ในการให้ข้อมูล 2.ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล พบว่า ผู้สูงอายุ ตำบลย่านซื่อมีจำนวน 577 คน หมู่ 3 บ้านเขาน้อยมีผู้สูงอายุจำนวน 91 คน คิดเป็น 15.7 % ของประชากรผู้สูงอายุทั้งตำบลย่านซื่อ คิดเป็น 15.9 % ของประชากรที่อาศัยอยู่จริงในหมู่บ้าน คาดการณ์ว่าอีก 5 ปีข้างหน้า บ้านเขาน้อยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ เนื่องจากผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จะเพิ่มเป็น 22.2 % ผู้สูงอายุบ้านเขาน้อยอายุ 65 ปีขึ้นไป ปัจจุบันมี 10.6 % คาดการณ์ว่าอีก 5 ปีข้างหน้าจะเพิ่มเป็น 15.9 %
สำรวจพบว่ามีผู้สูงอายุจำนวน 91 คน ชาย 38 คน หญิง 53 คน จากการสำรวจข้อมูลพบว่าผู้สูงอายุจำนวน 48 ราย เป็นความดันหรือเบาหวานหรือทั้งความดันและเบาหวาน ซึ่งคิดเป็น 52.7 % ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมู่บ้านที่พบปัญหาด้านสุขภาพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ทราบสถานการณ์ผู้สูงอายุ และนำไปสู่การออกแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุในชุมชน

 

13 0

8. การอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 1/2

วันที่ 4 มีนาคม 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ เพื่อให้คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อยมีความเข้าใจเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ และระดมความคิดร่วมกันในการออกกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุในชุมชน โดยมีวิทยากรบรรยายความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ และให้คณะกรรมร่วมกันออกแบบกิจกรรม และเเสดงความคิดเห็นร่วมกัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต : มีคณะกรรมการจำนวน 13 คน มีความเข้าใจเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและร่วมกันออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุในชุมชน ผลลัพธ์ : เกิดกิจกรรมที่ผ่านการระดมความคิดและเสนอแนะร่วมกันของคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย ซึงได้กิจกรรมที่จะขับเคลื่อนการดำเนินงานการส่งเสริมสุขภาพกับผู้สูงอายุในชุมชน

 

13 0

9. กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ครั้งที่ 1/5

วันที่ 5 มีนาคม 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพให้เเก่ผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย โดยมีแบบฟอร์ม บันทึกข้อมูลการตรวจสุขภาพเบื้องต้น ให้ผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายจำนวน 50 คน บันทึกข้อมูลสุขภาพ รายละเอียดในแบบฟอร์มได้เเก่ ชื่อ อายุ ที่อยู่ ข้อมูลสุขภาพ น้ำหนัก ส่วนสูง โรคประจำตัว มีตารางการตรวจสุขภาพ ติดตามผลความเปลี่ยนเเปลง 3 เดือนครั้ง โดยรูปแบบการจัดกิจกรรมนั้น มีคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อยเป็นผู้ดำเนินการอำนวยความสะดวก และตรวจวัดสุขภาพเบื้องต้นให้ผู้สูงอายุ มีกิจกรรมดังนี้ กิจกรรมชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต วัดรอบเอว ประมวลค่า BMI  การพูดคุยสร้างความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเอง และสร้างข้อตกลงพูดคุยทำความเข้าใจให้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพกายและใจอย่างเหมาะสม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ผู้สูงอายุบ้านเขาน้อยรวมกลุ่มออกกำลังกายได้เดินออกกำลังกายสร้างเสริมสุขภาพกายและใจที่ดี เเละเป็นการพบปะเพื่อนผู้สูงอายุด้วยกัน จำนวนกว่า 50 คน -ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น ได้ประเมินสุขภาพของตนเองเบื้องต้นว่าสุขภาพเป็นอย่างไร เพื่อจะได้ดูแลตัวเองให้เหมาะสม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูเเลสุขภาพตนเองให้ดีขึ้น -ผู้สูงอายุได้ออกมาพบปะ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ผ่อนคลายความเครียดด้วยการได้ทำกิจกรรมร่วมกัน อาทิ การออกกำลังกายด้วยท่าภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิม
-เกิดข้อตกลงร่วมกันของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุในการเข้าร่วมกิจกรรมตามเเผน
ข้อตกลงของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายมีดังนี้ 1.ต้องเข้าร่วมกิจกรรมประชุมทุกเดือน(วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือน) 2.ต้องเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพกายและใจทุกคน 3.ร่วมกันออกกำลังกาย 3 วัน 30 นาทีต่อสัปดาห์ 4.ต้องได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้นทุกคน ตามแผนที่วางไว้ 3 เดือนครั้ง เพื่อดูความเปลี่ยนแปลง และประเมินการดูเเลสุขภาพตนเองได้

 

50 0

10. ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 2/6

วันที่ 11 มีนาคม 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมหารือ เรื่อง การดำเนินงานให้เป็นไปตมแผนกิจกรรม -การติดตามงานโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย -การขอจดทะเบียนชมราผู้สูงอายุจากหน่วยงานราชการ (พม.) -การแข่งขันกีฬาสีผู้สูงอายุ -การเตรียมการตรวจสุขภาพในวันที่ 19 มีนาคม 2566 -กำหนดการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยฯ ครั้งที่ 1 จาก 4 ครั้ง -กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการได้เข้าร่วมประชุมแนวทางการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนบ้านเขาน้อย มีความรู้และตระหนักเข้าใจถึงความสำคัญในการขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน เตรียมพร้อมดำเนินกิจกรรมร่วมกัน ได้แก่ -การแข่งขันกีฬาสีผู้สูงอายุ -การเตรียมการตรวจสุขภาพในวันที่ 19 มีนาคม 2566 -กำหนดการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยฯ ครั้งที่ 1 จาก 4 ครั้ง -กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย

 

13 0

11. ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 3/6

วันที่ 2 เมษายน 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ เพื่อพูดคุยเรื่องการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา ปัญหาอุปสรรค เเนวทางแก้ไขเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรม / วางเเผนการดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน การจัดกีฬาสีสัมพันธ์ /พูดคุยการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้าาน ติดเตียง ผู้พิการ เพื่อให้กำลังใจเเละสอบถามความต้องการการช่วยเหลือ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะกรรมการจำนวน 13 คน ประชุมร่วมกัน ได้พูดคุยการทำงานที่ผ่านมา เเนวทางเเก้ไขเพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง กำหนดวันจัดกีฬาสานสัมพันธ์คือวันที่ 6/05/66
กำหนดลงชี้เเจงกลุ่มเป้าหมายการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาสีสัมพันธ์ มีแผนลงติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเปราะบางจำนวน 12 ราย ซึ่งเป็นผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ในเดือนเมษายน

 

13 0

12. การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง ครั้งที่ 1/4

วันที่ 17 เมษายน 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

การเยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง 1.คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย จำนวน 13 คน ประชุมเตรียมการด้วยการวางเเผนลงเยี่ยมบ้าน ซึ่งมีทั้งหมด 3 โซน 2.เตรียมแบบสอบถาม โดยประเด็นการตั้งคำถามนั้น มาจากการตกลงร่วมกัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต (Output) คณะกรรมการ 4 คน ได้ลงเยี่ยมบ้าน ผู้ป่วย ผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ในกลุ่มเป้าหมาย 4 คน ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกันระหว่าง คกก.และกลุ่มเป้าหมาย ได้พูดคุยให้กำลังใจและสอบถามความเป็นอยู่ รวมทั้งได้ซื้อของเยี่ยมกลุ่มเป้าหมาย
ได้บันทึกข้อมูลความเจ็บป่วยของกลุ่มเป้าหมาย ได้ให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพกับผู้ป่วยและผู้ดูแล

ผลลัพธ์ (Outcome) กลุ่มเป้าหมาย 12 คน ได้รับการเยี่ยมบ้าน ได้กำลังใจ และรู้สึกผ่อนคลาย คณะกรรมการ 13 คน เกิดกระบวนการทำงานร่วมกัน ได้รู้จักการแบ่งหน้าที่ และลงเยี่ยมบ้านตามแผน
คณะกรรม 13 คน มีทักษะการสื่อสารสร้างความสัมพันธ์และไว้วางใจ

 

16 0

13. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

วันที่ 27 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

รับฟังการนำเสนอโครงการแต่ละโครงการในการดำเนินโครงการไปถึงกิจกรรมไหนและปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรม เรียนรูเรื่องการจัดทำเอกสารการเงิน เรื่องการลงเว็บปไซต์คนสร้างสุข และการปรับแผนโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้เรียนการเรียนรู้การจัดกิจกรรมและการดำเนินโครงการ จากโครงการอื่นๆ และได้ทราบปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรมแต่ละโครงการ เรียนรู้เรื่องการจัดทำเอกสารการเงิน
เรียนรู้การลงเว็ปไซต์คนสร้างสุข

 

0 0

14. กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ครั้งที่ 2/5

วันที่ 6 พฤษภาคม 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย ม.3 ต.ย่านซื่อ อ.ควนโดน จ.สตูล เห็นถึงความสำคัญการส่งเสริมผู้สูงอายุให้มีความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติที่ดีในการดูแลสุขภาพแบบพึ่งตนเอง มีทักษะการดูแลสุขภาพที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน จึงทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย ซึ่งคิดต่อยอดจากกิจกรรมห้องเรียนสุขภาพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ผู้เข้าร่วม ทั้งสมาชิกชมรมผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายและทุกกลุ่มวัยในชุมชนบ้านเขาน้อยและละแวกใกล้เคียงกว่า 250 คน
2.สมาชิกชมรมผู้สูงอายุกล้าร่วมคิดร่วมทำได้เล่นกีฬาเสริมสร้างสุขภาพกายใจ ผ่อนคลายความเครียด ได้ออกมาพบปะสังสรรค์กับเพื่อนผู้สูงอายุในชุมชน
3.เด็ก เยาวชนกล้าแสดงออก ทำกิจกรรมร่วมกับคนในชุมชน 4.คนในชุมชนร่วมด้วยช่วยกันเกิดความสนุกสนาน เป็นต้นแบบที่ดีให้พื้นที่อื่นๆ ได้เห็นศักยภาพและพลังของคนในชุมชนในการจัดกิจกรรมกีฬาชุมชน 5.หลายหน่วยงานให้ความร่วมมือในการร่วมออกแบบกิจกรรมและร่วมกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน

 

50 0

15. ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 4/6

วันที่ 23 พฤษภาคม 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุประชุมเตรียมการทำกิจกรรมในโครงการ และติดตามความก้าวหน้างานที่ผ่านมา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.คณะกรรมการ 13 คน เข้าร่วมการประชุม 2.ได้นัดหมาย แบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำกิจกรรม

 

13 0

16. การอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ครั้งที่ 1/2

วันที่ 4 มิถุนายน 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมการอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง จัดขึ้นจากความสนใจของสมาชิกผู้สูงอายุที่ร่วมกันตกลงทำกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพทั้งกายใจให้เเข็งเเรง และความต้องการได้รับความรู้ใหม่ๆเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง ให้ห่างไกลจากความเจ็บป่วย หรือให้เจ็บป่วยน้อยลง รวมทั้งสร้างความเพลิดเพิลน บรรเทิงใจเมื่อชมรมผู้สูงอายุได้ออกมาพบปะทำกิจกรรมร่วมกัน คลายความเหงาและได้รับเทคนิควิธีกลับไปปฏิบัติในการดูแลสุขภาพให้เเข็งเเรง ทางคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อยทั้ง 13 คน จึงได้ประชุมหารือกันเพื่อเชิญชวนวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการใช้ยาสมุนไพรและเเพทย์แผนไทย รวมทั้งเรื่องโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งได้รับเกียติจากนายรอน หลีเยาว์ หัวหน้ากลุ่มงานแพทย์เเผนไทย รพ.ควนโดน ซึ่งเป็นวิทยากรที่เข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมด้านเสริมพลังกายและใจให้ชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อยอยู่เสมอมา เป็นเป็นผู้ที่มีความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดี ทำให้บรรยากาศในการอบรมนั้น สนุกสนานเพลิดเพลิน มีการบรรยายเรื่อง โภชนาการที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ การกินอาหารให้เป้นยา เพื่อการดูแลสุขภาพของทุกคนให้เเข็งเเรง ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ รวมทั้งเทคนิคการนำพืชสมุนไพรข้างบ้านมาประกอบอาหาร  รวมทั้งเทคนิคการออกกำลังที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ อย่างเช่น การออกกำลังกายด้วยท่าทางภูมิปัญญาพื้นบ้าน และหลังจากนั้นมีกิจจกรมการทำยาดมสมุนไพรเพื่อสุขภาพไว้ใช้ เเละขยับเป็นกิจกรรมที่ผู้สูงอายุสามารถทำเพื่อเป็นการสร้างอาชีพรายได้ต่อไปได้ และช่วงสุดท้ายได้ให้กำลังใจสมาชิกชมรมผู้สูงอายุทุกคนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม ทั้งการกิน การออกกำลังกาย การพักผ่อนให้เพียงพอ และการผ่อนคลายความเครียด เพื่อสุขภาพกายใจ ที่ดีไปด้วยกัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต 1.มีสมาชิกชมรมผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกาย ตรวจสุขภาพ และการอบรม จำนวน 50 คน 2.สมาชิกชมรมผู้สูอายุจำนวน 50 คน ได้ตรวจสุขภาพประจำเดือน 3.สมากชิกชมรมได้รับความรู้จากการอบรม และได้เทคนิคการผสมยาดมสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ผลลัพธ์ 1.สมาชิกชมรมผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม นำความรู้ เทคนิควิธีที่ได้จากการอบรม คำเเนะนำจากการตรวจสุขภาพเบื้องต้นกลับไปปรับใช้ให้เหมาะสมเพื่อสุขภาพกายใจที่ดี 2.ผู้เข้าร่วมรักในการเข้าร่วมกิจกรรม มีความมุ่งมั่นตั้งใจ และให้ความสนใจในการอบรมความรู้ และมีการถามตอบเพื่อการทบทวนความเข้าใจ 3.มีสมาชิกชมรมที่เป้นต้นเเบบในการดูแลสุขภาพ ทั้งการออกกำลังกาย การกินอาหาร การพักผ่อนที่สามารถทำให้ค่าดัชนีมวลกายลดลงได้จากการใส่ใจในการดูแลสุขภาพ ผู้เข้าร่วมให้คำชื่นชม และให้กำลังจ ผู้ที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ เกิดความภาคภูมิใจและจะทำกิจกรรมที่ทำให้ร่างกายและใจมีสุขต่อเนื่อง 4.ผู้เข้าร่วมได้เทคนิคการผสมยาดมสมุนไพร สามารถผลิตกันเองได้ เเละสามารถนำเทคนิคไปบอกต่อคนอื่นๆได้

 

50 0

17. การอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 2/2

วันที่ 18 มิถุนายน 2566 เวลา 09:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมที่ปฎิบัติ กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ เพื่อให้คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อยมีความเข้าใจเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ การมีสุขภาพกายและจิตที่ดี
กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย ครั้งที่ 2/2 วันอาทิตย์ ที่ 18 มิถุนายน 2566 ณ มัสยิดดารุลนาอีม บ้านเขาน้อย ตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล 09.30น. - 10.00น. - ลงทะเบียน
10.00น. - 10.20น. - กิจกรรมละลายพฤติกรรม 10.20น. – 10.30น. - รับประทานอาหารว่าง 10.30น. – 12.00น. - อบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย หัวข้อ “การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต
12.00น. - 13.00น. - รับประทานอาหารเที่ยง 13.00น. - 15.30น. - แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้ การดูแลสุขภาพกายและจิตสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน 15.30น. - 15.40น. - รับประทานอาหารว่าง 15.40น. - 16.30น. - ตัวแทน กล่าวแสดงความรู้สึกต่อผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ในการออกแบบ                 กิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม ผลผลิต : มีคณะกรรมการจำนวน 13 คน มีความเข้าใจเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ การดูแลเรื่องสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ เป็นเรื่องที่สำคัญที่ครอบครัว หรือคนดูแลไม่ควรมองข้าม สุขภาพจิตที่ดีจะนำมาซึ่งร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงตามมา จะทำให้การใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ เป็นไปได้อย่างราบรื่น และมีความสุข หลัก 5 สุขในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ
หลัก 5 สุขในการดำเนินชีวิต ได้แก่ สุขสบาย : ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง คล่องแคล่ว ตามสภาพ ไม่ใช้สารเสพติด สุขสนุก : ทำกิจกรรมที่ทำให้จิตใจสดชื่น แจ่มใส ลดความซึมเศร้า ความเครียด และความกังวล สุขสง่า : มีความพึงพอใจในชีวิต ภาคภูมิใจ และเห็นคุณค่าในตนเอง มีความเห็นอกเห็นใจ และช่วยเหลือผู้อื่น สุขสว่าง : คิดและสื่อสารอย่างมีเหตุผล สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สุขสงบ : รับรู้ เข้าใจความรู้สึกของตนเอง รู้จักควบคุม และจัดการกับสภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้น สามารถผ่อนคลาย และปรับตัวยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตามความเป็นจริง ผลลัพธ์ ผลลัพธ์ : คณะกรรมการชมรม 13 คน ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงของวิทยากร มีความรู้ความเข้าใจ เห็นความสำคัญสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
เกิดทักษะนำองค์ความรู้ไปต่อยอด ประยุกต์ สอดเเทรกให้เข้ากับกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน

 

13 0

18. กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ครั้งที่ 3/5

วันที่ 24 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ครั้งที่ 3/5 วันที่ 24 มิถุนายน 2566 ณ ม.3 บ้านเขาน้อย ตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล


09.00น. – 09.30น. - ลงทะเบียน
09.30น. - 10.00น. - กล่าวต้อนรับโดย นายอภิรัฐ แซะอามา ประธานชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย
10.00น. – 11.30น. - กิจกรรมตรวจสุขภาพเบื้องต้น วัดความดัน ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว 11.30น. - 12.00น. - กิจกรรมประเมินสภาวะของร่างกาย ความเปลี่ยนแปลง และประเมินการดูเเลสุขภาพ
                                ตนเอง คณะกรรมการเก็บบันทึกข้อมูลสุขภาพ 12.00น. - 13.00น. - รับประทานอาหารเที่ยง 13.00น. – 15.00น. - กิจกรรมให้ความรู้และสาธิต เรื่อง การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ โดยวิทยากรชุมชน 15.00 – 15.30 น. - ถาม-ตอบ : แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน 15.30 – 16.00 น. -ตัวแทน กล่าวแสดงความรู้สึกต่อกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ - เสร็จสิ้นกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต
1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ จำนวน 50 คน 2.กลุ่มชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย ได้ออกสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง 3.ได้กระบวนท่าออกกำลังกายที่สามารถนำกลับไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ตลอด ผลลัพธ์ 1.ความต่อเนื่องของกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน ส่งผลให้เกิดวัฒนธรรมชมรมในเรื่องการออกกำลังกายสอดแทรกในกิจกรรมอบรมต่อเนื่อง ผู้เข้าร่วมร้อยละ 80 ออกกำลังกายต่อเนื่อง และมีความสุขจากการได้ทำกิจกรรมร่วมกัน

 

50 0

19. การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง ครั้งที่ 2/4

วันที่ 2 กรกฎาคม 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

การเยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง 1.คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย จำนวน 13 คน ประชุมเตรียมการด้วยการวางเเผนลงเยี่ยมบ้าน ซึ่งมีทั้งหมด 3 โซน 2.เตรียมแบบสอบถาม โดยประเด็นการตั้งคำถามนั้น มาจากการตกลงร่วมกัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต (Output) คณะกรรมการ 4 คน ได้ลงเยี่ยมบ้าน ผู้ป่วย ผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ในกลุ่มเป้าหมาย 4 คน (รวมเป็น 3 โซน โซนละ 4 คน)ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกันระหว่าง คกก.และกลุ่มเป้าหมาย ได้พูดคุยให้กำลังใจและสอบถามความเป็นอยู่ รวมทั้งได้ซื้อของเยี่ยมกลุ่มเป้าหมาย นำของเยี่ยมไปเยี่ยมกลุ่มเป้าาหมาย ได้บันทึกข้อมูลความเจ็บป่วยของกลุ่มเป้าหมาย ได้ให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพกับผู้ป่วยและผู้ดูแล

ผลลัพธ์ (Outcome) กลุ่มเป้าหมาย 12 คน ได้รับการเยี่ยมบ้าน ได้กำลังใจ และรู้สึกผ่อนคลาย คณะกรรมการ 13 คน เกิดกระบวนการทำงานร่วมกัน ได้รู้จักการแบ่งหน้าที่ และลงเยี่ยมบ้านตามแผน คณะกรรม 13 คน มีทักษะการสื่อสารสร้างความสัมพันธ์และไว้วางใจ

 

16 0

20. การอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ครั้งที่ 2/2

วันที่ 8 กรกฎาคม 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมการอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง จัดขึ้นจากความสนใจของสมาชิกผู้สูงอายุที่ร่วมกันตกลงทำกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพทั้งกายใจให้เเข็งเเรง และความต้องการได้รับความรู้ใหม่ๆเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง ให้ห่างไกลจากความเจ็บป่วย หรือให้เจ็บป่วยน้อยลง รวมทั้งสร้างความเพลิดเพิลน บรรเทิงใจเมื่อชมรมผู้สูงอายุได้ออกมาพบปะทำกิจกรรมร่วมกัน คลายความเหงาและได้รับเทคนิควิธีกลับไปปฏิบัติในการดูแลสุขภาพให้เเข็งเเรง จึงได้เชิญวิทยากร นายรอน หลีเยาว์ วิทยากรเชี่ยวชาญด้านการออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุมาให้ความรู้และมีกิจกรรมฝึกปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้ เรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุและการทำจิตใจให้มีความสุข ผู้สูงอายุเป็นวัยที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะเป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลง เสื่อมโทรมในด้านต่างๆ ทั้งร่างกายและจิตใจ
คำว่า "สุขภาพ" หมายถึง
  "การที่มีร่างกายแข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บในทุก ส่วนต่างๆ ของร่างกาย การที่มีสุขภาพจิตดี และสามารถปรับตัวให้อยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมได้ อย่างมีความสุข ผู้มีสุขภาพดีจะถือได้ว่าเป็นกำไรของชีวิต เพราะทำให้ผู้เป็นเจ้าของชีวิตใช้ชีวิตอยู่ ได้อย่างเป็นสุข"
ปัญหาของผู้สูงอายุ ทั้ง 4 มิติ กาย : เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้องรัง จิต : ภาวะอารมณ์แปรปรวน, ภาวะเครียด, วิตกกังวล   โรคจิตเภท, โรคสมองเสื่อม สังคม : ความสัมพันธ์ในครอบครัว, ความยากจน ทำให้ผู้สูงอายุจำนวนมากที่เจ็บป่วย
  และถูกทอดทิ้ง ส่งผลต่อด้าน จิตใจ คือ กังวลใจ ท้อแท้ เหนื่อยหน่าย จิตวิญญาณ : ตัวแปรที่มี ต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุ ได้แก่ การ   สนับสนุนทางสังคม สถานทางเศรษฐกิจ และการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา
อุปกรณ์ การออกกำลังกายด้วยเปลผ้าโสร่ง/ยางยืด 1.ยางยืด  2.ไม้กลม  3.ผ้าโสร่ง (ยางยืด: ใช้วัสดุยางในรถ หรือยางยืดรัดของ เป็นยางยืดใช้แทนสปริง) ข้อควรระวัง: ระวังในการใช้ยางยืดในรายที่มีอาการปวด อาการอักเสบของกล้ามเนื้อ วิธีทำ 1. ใช้เชือกหรือยางยืดผูกปลายด้านหนึ่งกับที่ยึดโยงให้มั่น และปลายเชือกหรือยางอีกด้านหนึ่งผูกกับไม้กลมขนาดพอเหมาะให้แน่นโดยให้ปลายไม้ทั้ง 2 ด้านยื่นออกมาเล็กน้อยประมาณ 1 คืบ 2. ฟั่นผ้าโสร่งแล้วสอดไว้ที่ปลายไม้ที่ยื่นออกมาแล้ว ล็อคเป็นปมไว้ทั้ง 2 ข้าง เพื่อป้องกันผ้าหลุด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต 1.มีสมาชิกชมรมผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกาย ตรวจสุขภาพ และการอบรม จำนวน 50 คน
2.สมาชิกชมรมผู้งสูอายุจำนวน 50 คน ได้ตรวจสุขภาพประจำเดือน
3.สมากชิกชมรมได้รับความรู้เรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย ด้วยเทคนิควิธีจากวิทยากร

ผลลัพธ์ 1.สมาชิกชมรมผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม นำความรู้ เทคนิควิธีที่ได้จากการอบรมและกระบวนท่าออกกำลังกายจากอุปกรณ์ อย่างยางยืดไปใช้ในชีวิตประจำวัน
2.คำเเนะนำจากการตรวจสุขภาพเบื้องต้นกลับไปปรับใช้ให้เหมาะสมเพื่อสุขภาพกายใจที่ดี
3.ผู้เข้าร่วมรักในการเข้าร่วมกิจกรรม มีความมุ่งมั่นตั้งใจ และให้ความสนใจในการอบรมความรู้ และมีการถามตอบเพื่อการทบทวนความเข้าใจ
4.มีสมาชิกชมรมที่เป้นต้นเเบบในการดูแลสุขภาพ ทั้งการออกกำลังกาย การกินอาหาร การพักผ่อนที่สามารถทำให้ค่าดัชนีมวลกายลดลงได้จากการใส่ใจในการดูแลสุขภาพ ผู้เข้าร่วมให้คำชื่นชม และให้กำลังจ ผู้ที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ เกิดความภาคภูมิใจและจะทำกิจกรรมที่ทำให้ร่างกายและใจมีสุขต่อเนื่อง
4.ผู้เข้าร่วมได้เทคนิคการทำให้จิตใจผ่อนคลาย เกิดความต่อเนื่องของการทำกิจกรรม

 

50 0

21. การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง ครั้งที่ 3/4

วันที่ 5 สิงหาคม 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

การเยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง 1.คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย จำนวน 13 คน ประชุมเตรียมการด้วยการวางเเผนลงเยี่ยมบ้าน ซึ่งมีทั้งหมด 3 โซน 2.เตรียมแบบสอบถาม โดยประเด็นการตั้งคำถามนั้น มาจากการตกลงร่วมกัน วันที่ 5 สิงหาคม 2566  คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อยซึ่งดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตามแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดสตูลร่วมกับอบจ.สตูลโดยโครงการพลังชุมชนฯภาคใต้เป็นพี่เลี้ยงการดำเนินงานในพื้นที่และประสานงานร่วมกัน ได้ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านติดตามดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน (ครัวเรือนเปราะบาง 11 ครัวเรือน ผู้เปราะบางกลุ่มพิการ และผู้สูงอายุติดบ้านที่มีปัญหาสุขภาพ เจ็บป่วย/โรคประจำตัว และปัญหาที่อยู่อาศัย) ทั้งหมด 3 โซน ความถี่ของคณะกรรมการชมรมฯลงพื้นที่เยี่ยมบ้านนั้นจัดต่อเนื่องเดือนละ 1 ครั้ง สืบเนื่องจากการลงเยี่ยม พูดคุยและติดตามการดูแลสุขภาพครั้งที่ผ่านๆมา ปัญหาสุขภาพเป็นเรื่องที่กลุ่มเป้าหมายมักเล่าให้ฟัง จึงเริ่มคิดเรื่องอาหาร ทดลองทำเมนูสุขภาพส่งความห่วงใยให้กลุ่มเป้าหมาย ทำเมนูเครื่องดื่มสมุนไพรง่ายๆที่ทีมสามารถทำได้ โดยนำความรู้จากกิจกรรมห้องเรียนสุขภาพมาใช้ นอกจากมีเมนูสุขภาพต่อส่งให้กับกลุ่มเปราะบางแล้วยังสามารถเป็นแนวทางที่ดีให้กับผู้ดูแลกลุ่มเปราะบางนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ด้วย
ได้ทำเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อมอบให้กลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้ได้ติดตามการดูแลสุขภาพ สร้างความสัมพันธ์ ให้กำลังใจต่อเนื่อง เรียนรู้การทำงานร่วมกันและออกแบบการดูแลระหว่างกัน และนำความต้องการช่วยเหลือหารือกับหน่วยงานในพื้นที่ต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต (Output)
1.คณะกรรมการ 12 คน ได้ลงเยี่ยมบ้าน ผู้ป่วย ผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ในกลุ่มเป้าหมาย 12 คนติดตามดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ทราบปัญหา ความต้องการ และศักยภาพของกลุ่มเปราะบางมากยิ่งขึ้น
2.ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกันระหว่าง คกก.และกลุ่มเป้าหมาย ได้พูดคุยให้กำลังใจและสอบถามความเป็นอยู่
3.ได้ทำเมนูเครื่องดื่มสมุนไพรดูแลสุขภาพไปเป็นของฝากเยี่ยม 4.ได้บันทึกข้อมูลความเจ็บป่วยของกลุ่มเป้าหมาย ได้ให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพกับผู้ป่วยและผู้ดูแล 5.กลุ่มเป้าหมาย 12 คน ได้รับการเยี่ยมบ้าน ได้กำลังใจ และรู้สึกผ่อนคลาย ผลลัพธ์ (Outcome)
1.คณะกรรมการ 13 คนเกิดกระบวนการทำงานร่วมกัน ได้รู้จักการแบ่งหน้าที่ และลงเยี่ยมบ้านตามแผน 2.คณะกรรม 13 คน มีทักษะการสื่อสารสร้างความสัมพันธ์และไว้วางใจ 3.เกิดการออกแบบกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนเปราะบางที่ต่อยอดจากศักยภาพของกลไกคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ 4.มีข้อมูลการลงพื้นที่ส่งต่อให้หน่วยงานในพื้นที่หนุนเสริมและเกิดการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันต่อไป

 

16 0

22. ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 5/6

วันที่ 9 สิงหาคม 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานภายใต้คณะกรรมการชมรมผู้สู.อายุจำนวน 13 คน ใช้เวลา (3 ชั่วโมง) เป็นการประชุมความคืบหน้าการทำโครงการ ติดตามการดำเนินงาน และการสรุปกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งวางเเผนการเก็บข้อมูลผู้สูงอายุต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.มีคณะกรรมการ 13 คน เข้าร่วมการประชุม
2.ได้นัดหมาย แบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำกิจกรรม 3.มีแผนการดำเนินงานกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ครั้งที่ 4,5
4.มีเเผนกิจกรรมเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมาย
ผลลัพธ์ 1.เกิดแกนนำด้านการดูแลผู้สูงอายุต่อเนื่องในชุมชน 2.เกิดทักษะการจัดการงานกิจกรรมโครงการ

 

13 0

23. กิจกรรมชี้แจงรายละเอียดการจัดทำเอกสารการเงินให้กับโครงการย่อย

วันที่ 18 สิงหาคม 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

การชี้เเจงเพื่อปิดงวด 1 และการเคลียร์เอกสารการเงิน การชี้เเจงการดำเนินกิจกรรมในงวดที่ 2 การเเลกเปลี่ยนประเด็นที่เกิดปัญหา อุปสรรคการดำเนินงานในพื้นที่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ผู้สนับสนุนได้ทราบความก้าวหน้าของโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย การดำเนินเอกสารการเงินเรียบร้อย 2.ชมรมผู้สูงอายุได้รับคำแนะนำ เพื่อนำไปกระตุ้นฝหนุนเสริมให้การทำงานของโครงการสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย 3.ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน
ผลลัพธ์กิจกรรม 1.แกนนำชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย ได้แนวทางไปปรับใช้ในการทำกิจกรรมในพื้นที่ต่อไป
2.เกิดการแลกเปลี่ยนการทำงานร่วมกับโครงการย่อยอื่นๆในจังหวัดสตูล ผลกระทบกิจกรรม 1.นำไปสู่การสร้างเครือข่ายเรียนรู้ระหว่างโครงการย่อยในพื้นที่จังหวัดสตูล ในประเด็นการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีให้คนในชุมชนต่อไป

 

0 0

24. กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ครั้งที่ 4/5

วันที่ 20 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมตรวจสุขภาพ โดยมีคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุคอยอำนวยความสะดวกและให้คำแนะนำ เตรียม วัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งวัตถุดิบในการทำ โดยเเต่ละโซนมีการร่วมด้วยช่วยกัน
ร่วมกันทำเมนูอาหารสุขภาพ เเละเเลกเปลี่ยนวัตถุดิบ เมนูอาหารร่วมกัน เเลกเปลี่ยน สอบถาม เเละช่วยกันเสนอเเนะเมนูสุขภาพที่เเต่ละโซนเเบ่งกันทำ เเละได้ชี้เเจงรายละเอียดเมนูสุขภาพ เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้ เทคนิคกลับไปใช้ต่อได้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต -ชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อยรวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพกายและใจที่ดี เเละเป็นการพบปะเพื่อนผู้สูงอายุด้วยกัน เข้าร่วมจำนวน 50 คน
-ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น ได้ประเมินสุขภาพของตนเองเบื้องต้น เช่น น้ำหนัก รอบเอว  เพื่อจะได้ดูแลตัวเองให้เหมาะสม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูเเลสุขภาพตนเองให้ดีขึ้น
-ผู้เข้าร่วมได้ ร่วมกันทำเมนูอาหารสุขภาพ ได้เเก่ แกงเลียง ก๋วยเตี๋ยวลุยสวน ยำหัวปลีปลาย่าง -สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้สูงอายุให้มีพลังในการสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพ จากต้นแบบของเพื่อนผู้สูงอายุ -ผลลัพธ์ -ผู้เข้าร่วมร้อยละ 80 ตระหนักถึงผลของการตรวจสุขภาพ ให้ความสำคัญกับการควบคุมตนเองเเละเกิดเเรงบันดาลใจจากเพื่อนที่มีผลสุขภาพดีขึ้น ส่งผลให้นำไปปฏิบัติตาม เเละเกิดการเเลกเปลี่ยนร่วมกันถึงวิธีการดูเเลตนเองที่เหมาะสม ให้สุขภาพอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น -เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนเมนูสุขภาพ และสร้างวัฒนธรรมชมรมสู่การส่งเสริมสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน -มีพื้นที่สร้างสรรค์ทำกิจกรรมสำหรับกลุ่มวัยเดียวกัน ฝึกความกล้าเเสดงออก ฝึกการพูดคุยในที่สาธารณะ กลุ่มเป้าหมายเห็นคุณค่าในตนเอง -ต้นแบบผู้สูงอายุสุขภาพดีสามารถสร้างแรงบันดาลใจด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สร้างการเปลี่ยนแปลงทางด้านสุขภาพให้กับผู้สูงอายุคนอื่นๆ ได้

 

50 0

25. กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ครั้งที่ 5/5

วันที่ 2 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ช่วงเช้าเป็นการเดินออกกำลังกายบนถนนสายสุขภาพ ต่อด้วยการตรวจสุขภาพเบื้องต้นเพื่อประเมินความเปลี่ยนเเปลงของตนเอง หลังจากนั้นร่วมกันเตรียมวัสดุ อุปกรณ์สำหรับทำน้ำสมุนไพรขมิ้นชัน มีการให้ความรู้เกี่ยวกับน้ำสมุนไพรขมิ้นชัน หลังจากนั้นวิทยากรบรรยายรูปแบบกิจกรรม ผ่านการสาธิตทุกขั้นตอนการทำเพื่อให้เพื่อสมาชิกชมรมสามารถนำกลับไปทำต่อที่บ้านได้ เเละต่อด้วยกิจกรรมฝึกปฏิบัิตเพื่อการเรียนรู้ ผู้เข้าร่วมทุกคน ได้ฝึกปฏิบัติ เเละเรียนรู้การทำกิจกรรมร่วมกัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.กลุ่มชมรมผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพ ก่อนเริ่มทำกิจกรรม 2.กลุ่มชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อยจำนวน 50 คน ได้รับความรู้ และฝึกปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำน้ำสมุนไพร
3.ได้ขยายองค์ความรู้การทำน้ำสมุนไพรขมิ้นชัน
4.เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันเกี่ยวกับการทำเมนูอาหารสุขภาพ ผลลัพธ์ 1.การบริหารจัดการกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของคนในชมรมผู้สูงอายุโดยกลไกชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย 2.สมาชิกชมรมฝึกการเป็นวิทยากร สามารถบรรยายให้ความรู้ และบริหารจัดการกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม สามารถนำผลไปขยายต่อ หรือนำรูปแบบกิจกรรมไปขยายต่อในพื้นที่อื่นๆที่สนใจเรื่องการทำน้ำขมิ้นชันต่อไปได้ 3.ผู้เข้าร่วม จำนวน 46 คน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ มีสุขภาพกายเเละจิตดีจากการได้พบปะเเละทำกิจกรรมชมรมร่วมกัน 4.ร้อยละ 70 มีสุขภาพที่ดีขึ้น จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง

 

50 0

26. การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง ครั้งที่ 4/4

วันที่ 3 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

การเยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง 1.คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย จำนวน 13 คน ประชุมเตรียมการด้วยการวางเเผนลงเยี่ยมบ้าน ซึ่งมีทั้งหมด 3 โซน 2.เตรียมแบบสอบถาม โดยประเด็นการตั้งคำถามนั้น มาจากการตกลงร่วมกัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม ผลผลิต (Output) คณะกรรมการ 4 คน ได้ลงเยี่ยมบ้าน ผู้ป่วย ผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ในกลุ่มเป้าหมาย 4 คน ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกันระหว่าง คกก.และกลุ่มเป้าหมาย ได้พูดคุยให้กำลังใจและสอบถามความเป็นอยู่ รวมทั้งได้ซื้อของเยี่ยมกลุ่มเป้าหมาย ได้บันทึกข้อมูลความเจ็บป่วยของกลุ่มเป้าหมาย ได้ให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพกับผู้ป่วยและผู้ดูแล

ผลลัพธ์ (Outcome) กลุ่มเป้าหมาย 12 คน ได้รับการเยี่ยมบ้าน ได้กำลังใจ และรู้สึกผ่อนคลาย คณะกรรมการ 13 คน เกิดกระบวนการทำงานร่วมกัน ได้รู้จักการแบ่งหน้าที่ และลงเยี่ยมบ้านตามแผน คณะกรรม 13 คน มีทักษะการสื่อสารสร้างความสัมพันธ์และไว้วางใจ

 

16 0

27. ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 6/6

วันที่ 16 กันยายน 2566 เวลา 19:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมความก้าวหน้าการดำเนินโครงการที่ผ่านมา บทเรียนการทำโครงการร่วมกัน -วางแผนการสำรวจและจัดทำข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชนหลังเข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย -วางแผนเตรียมต้อนรับคณะอนุกรรมการ ติดตามการดำเนินโครงการย่อย ครั้งที่ 2 -วางแผนจัดกิจกรรมเวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงาน -วางแผนกิจกรรมถอดบทเรียนการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงาน 13 คน เข้าใจเเนวทางการดำเนินกิจกรรมโครงการอย่างลึกซึ้ง พร้อมรับฟัง และเเก้ไขปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานร่วมกัน เกิดบทเรียนการทำงานร่วมกัน นำไปสู่ได้เเผนการดำเนินกิจกรรมที่คงเหลือให้เป็นไปตามตัวชี้วัด เกิดทักษะการเรียนรู้จากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ทำงานประเด็นผู้สูงอายุ เกิดความรู้เพิ่มในการสรุปข้อมูลของผู้สูงอายุ คณะทำงานให้ความสำคัญการกับทำงานเป็นทีมและการทำงานเพื่อช่วยเลือคนในชุมชนให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น

 

13 0

28. การสำรวจและจัดทำข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชน ครั้งที่ 2/2

วันที่ 17 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการจำนวน 13คน ร่วมกับ อสม.ในพื้นที่ จัดทำข้อมูลภายหลังสมาชิกชมรมได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาพ ผ่านการสัมภาษณ์ บันทึกลงในแบบฟอร์ม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ทราบข้อมูลหลังจากการสัมภาษณ์ ทั้งกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมและ ผู้สูงอายุในชุมชน ทำให้ทรายว่า กิจกรรมที่ดำเนินในโครงการมีประโยชน์กับผู้เข้าร่วมที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง มีสังคม ผู้สูงอายุหลายท่านที่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง ได้รับความสัมพันธ์ที่ดี ผู้สูงอายุมีพื้นที่ในการทำกิจกรรมที่เหมาะสม และได้พัฒนาทักษะที่นำไปสู่การเกิดรายได้ และมีคุณค่าในตนเอง การได้พบปะเพื่อนวัยเดียวกัน ทำให้สุขภาพกายและใจดี ได้มีโอกาสถามมสารทุกข์สุขดิบ เหมือนได้ย้อนความหลัง มีเสียงหัวเราาะ รอยยิ้ม และได้ทพกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทั้งการกิน การอยู่ อารมณ์ เเละทำจิตใจให้เบิกบาน พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันพบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 80 ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เกิดการมีส่วนร่วมของคนในครอบครัว เช่น การรับประทานอาหารสุขภาพเน้นการรับประทานผักและปรุงให้น้อยที่สุด รวมทั้งเกิดการรวมตัวออกกำลังกายบนถนนสายสุขภาพชุมชนอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 85 สามารถจัดการความเครียดในชีวิตประจำวันได้ด้วยการออกมาพบปะทำกิจกรรมหรือพูดคุยกับคนในครอบครัว และเพื่อนวัยเดียวกัน  พฤติกรรมการบริโภคอาหาร บริโภคผักผลไม้เป็นประจำทุกวัน ร้อยละ 85 นำความรู้จากห้องเรียนไปใช้ได้จริงในครัวกว่า 45 คน มีผู้สูงอายุต้นเเบบที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม 8 ท่าน เกิดการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมกองทุนผู้สูงอายุเพื่่อดูเเลเพื่อนผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย

 

13 0

29. เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงาน

วันที่ 18 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

โดยเชิญสมาชิกชมรมผู้สูงอายุและคณะทำงาน จำนวน 50 คน และภาคีเครือข่ายอื่นๆ 5 คน รวมเป็น 55 คน มาร่วมกันฟัง การนำเสนอผลการทำงานโครงการ และมีการสรุปโครงการ โดยวิทยากรกระบวนการมาร่วมจัดกิจกรรม ช่วยกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสรุปความคิดเห็น ข้อเสนอ เพื่อนำไปปรับใช้ในโครงการต่อไป -ใช้ระยะเวลา 1 วัน โดยการเตรียมความพร้อม สร้างความเข้าใจ ย้อนความทรงจำการทำโครงการร่วมกัน และวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.กลุ่มเป้าหมาย 50 คน ได้ร่วมกันถอดบทเรียนการดำเนินกิจกรรมผ่านการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
2.ผู้สูงอายุมีความเครียดอยู่ในระดับปกติ ร้อยละ 80 จำนวน 40 คน 2. ผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายและแกนนำได้ออกสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 100 (จำนวน 100 คน) 3.ชมรมผู้สูงอายุเข้มเเข็งขึ้น เป็นศูนย์กลางของการประสานงานกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และการติดตามสุขภาพ เยี่ยมเยือนบ้าน 4.เกิดทักษะการเรียนรู้ร่วมกันหลายด้าน ทำให้สามารถนำสิ่งที่ได้จากกิจกรรมไปเเนะนำผู้อื่นต่อไป 5.เกิดหน่วยงานเข้ามาหนุนเสริมพลัง จัดกระบวนการให้กับกลุ่มชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย 6.ชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อยได้จดทะเบียนเป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ที่ดำเนินงานด้านผู้สูงอายุกับ พมจ.สตูล 7.ผู้สูงอายุร้อยละ 80 ที่เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมการดูเเลสุขภาพกายและจิตใจดี จากการเข้าร่วมกิจกรรมชมรม และการปรับพฤติกรรมการกิน
8.เกิดกลไกอาสาสมัครดูเเลผู้เปราะบางในชุมชน ซ฿่งเป้นคณะทำงานของชมรมผู้สูงอายุ 9.ชมรมผู้สูงอายุระดับบ้าน มีกลไกกรรมการที่เข้มแข็ง มีการประสานที่ดี สามารถเผยแพร่ข่าวสารให้แก่ผู้สูงอายุในหมู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ 10.ชมรมผู้สูงอายุได้ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุในหมู่บ้านซึ่งเป็นกิจกรรมของชมรมที่จะร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ปัจจัยความสำเร็จ ปัจจัยภายใน -ชมรมผู้สูงอายุมีการทำงานเป็นทีมการประสานงานระหว่างคณะกรรมการ 3 โซน ดูแลผู้สูงอายุในโซนรับผิดชอบได้อย่างเหมาะสม ทั้งเชิญชวนร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง -ประธานชมรมและคณะกรรมการชมรมมีความตั้งใจในการขับเคลื่อนงานชมรมผู้สูงอายุและมีความเชื่อมั่นและเห็นความสำคัญของชมรมผู้สูงอายุที่จะมีส่วนในการแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุได้

ปัจจัยภายนอก มีภาคีเครือข่ายการทำงานและการประสานงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เเละหน่วยงานอื่นๆ เข้ามามีการประสานความช่วยเหลือและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาของผู้สูงอายุ บทเรียนจากการดำเนินงาน 1.ภาคีเครือข่ายมีความสำคัญหากชมรมผู้สูงอายุมีการประสานงานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุจะสามารถนำความรู้จากหน่วยงานต่างๆมาช่วยในการแก้ไขปัญหาของผู้สูงอายุในพื้นที่ของตนเอง 2.ชมรมผู้สูงอายุระดับหมู่บ้านเป็นศูนย์กลางประสานงานด้านต่างๆ จากหน่วยงานราชการหรือองค์กรต่าง ๆ ที่จะเข้ามาช่วยส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 3.ชมรมผู้สูงอายุระดับหมู่บ้านมีความสำคัญในการแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุ หากไม่มีกลไกระดับหมู่บ้านในการค้นหาปัญหาและการทำแผน ปัญหาผู้สูงอายุก็จะไม่ถูกแก้ไข 4.ความร่วมมือ ความพร้อม ความตั้งใจ ของคนในชมรมเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กิจกรรมดำเนินลุล่วงไปได้

 

50 0

30. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2

วันที่ 26 กันยายน 2566 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

การประชุมร่วมกับแผนงานร่วมทุนฯอบจ.สตูลเพื่อให้คณะทำงานโครงการย่อย ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานก่อนสรุปปิดโครงการ มีประเด็นที่เรียนรู้ร่วมกันดังนี้ 1.ปัจจัยหรือผลลัพธ์ตามบันไดผลลัพธ์ในแต่ละประเด็นที่สำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ 2.ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและแนวทางแก้ไขที่โครงการย่อยประสบและดำเนินการ 3.ความสำเร็จตามตัวชี้วัดที่สรุปก่อนปิดโครงการ 4.การนำผลไปสู่การขยายไปยังพื้นที่อื่นในอนาคต

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ตัวแทนโครงการที่เข้าร่วม จำนวน 3 คน
-การถอดบทเรียนร่วมกับโครงการผู้สูงอายุร่วมกับโครงการย่อยอื่น พบประเด็นที่เป็นจุดร่วมกันดังนี้    ปัจจัยวิธีสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จของโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนบ้านเขาน้อยคือ การมีคณะทำงานที่เข้มเเข็ง สามารถร่วมแรงร่วมใจกันขับเคลื่อนงานในพื้นที่ทั้งการออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับกลุ่มชมรม การสำรวจสถานการณ์เเละดึงกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม  รวมทั้งกระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มชมรม ทำให้กิจกรรมดำเนินไปได้ การมีข้อตกลงที่ชัดเจนทั้งในเรื่องการออกกำลังกายสม่ำเสมอ การเข้าร่วมกิจกรรมชมรม  มีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองและผู้อื่น
-ชมรมได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นๆเข้ามาช่วยหนุนเสริมในการทำงานในพื้นที่และการขับเคลื่อนกิจกรรม  ได้เเก่ โครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน องค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลย่านซื่อ โรงพยาบาลควนโดน

 

0 0

31. จัดทำรายงานและบันทึกรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์

วันที่ 30 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คีย์ข้อมูลรายงานการดำเนินงานโครงการผ่านระบบออนไลน์ จัดทำรูปเล่มรายงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้รายงานผลการดำเนินงานโครงการที่เสร็จสิ้น

 

0 0

32. เบิกดอกเบี้ยนำมาคืน อบจ.

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

แกนนำโครงการเบิกดอกเบี้ยนำมาคืน อบจ.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แกนนำโครงการเบิกดอกเบี้ยนำมาคืน อบจ.

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อสร้างความเข้มแข็งแกนนำและให้กับสมาชิกชมรมผู้สูงอายุให้มีความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุทั้งกาย ใจ และสังคม
ตัวชี้วัด : -คณะกรรมการ 13 คน มีความเข้าใจและปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย เชิงคุณภาพ -คณะกรรมการ 13 มีความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพและสามารถออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุในชุมชนได้ -มีข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชนที่ครบถ้วน

 

2 สมาชิกชมรมผู้สูงอายุและครอบครัวมีความรู้และตระหนักในการดูแลผู้สูงอายุ
ตัวชี้วัด : -ผู้สูงอายุ 30 คนจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม 50 คน มีความรู้ในการดูแลสุขภาพ -ผู้สูงอายุ 30 คนจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม 50 คนมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้อย่างเหมาะ -มีข้อตกลงของชุมรมผู้สูงอายุ

 

3 สมาชิกชมรมผู้สูงอายุเข้มแข็งมีกการปฏิบัติตามข้อตกลงและติดตามต่อเนื่อง
ตัวชี้วัด : -ชมรมผู้สูงอายุมีการทำกิจกรรมหรือดำเนินการตามข้อตกลงร่วมของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุเป็นประจำทุกสัปดาห์ -มีข้อมูลภาวะสุขภาพและพฤติกรรมของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุรวมทั้งการคืนข้อมูลแก่ชมรมผู้สูงแก่ครอบครัวเป็นประจำ

 

4 ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
ตัวชี้วัด : 1.ผู้สูงอายุ 30 คนจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม 50 คน ออกกำลังกายแบบรวมกลุ่มหรือที่บ้านอย่างสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที 2. ผู้สูงอายุ30 คนจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม 50 คน ร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตเดือนละ 1 ครั้ง 3.มีการจัดกิจกรรมชมรมเดือนละ 1 ครั้ง 4. ผู้ป่วยติดเตียงบ้าน ติดเตียง และผู้สูงอายุที่พิการได้รับการเยี่ยมบ้านทุก 3 เดือน(จำนวน 12 คน)

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ ผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย 50

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างความเข้มแข็งแกนนำและให้กับสมาชิกชมรมผู้สูงอายุให้มีความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุทั้งกาย ใจ และสังคม (2) สมาชิกชมรมผู้สูงอายุและครอบครัวมีความรู้และตระหนักในการดูแลผู้สูงอายุ (3) สมาชิกชมรมผู้สูงอายุเข้มแข็งมีกการปฏิบัติตามข้อตกลงและติดตามต่อเนื่อง (4) ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ไม่มีกลุ่มกิจกรรม (2) ค่าบริหารจัดการโครงการ (3) ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ (4) การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง (5) การสำรวจและจัดทำข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชน (6) การอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ (7) กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ (8) การอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง (9) เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงาน (10) เบิกดอกเบี้ยนำมาคืน อบจ. (11) เซ็น MOU (12) เปิดบัญชีธนาคาร (13) ปฐมนิเทศโครงการ (14) ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 1/6 (15) ตรายางโครงการ (16) ป้ายไวนิล (17) การสำรวจและจัดทำข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชน ครั้งที่ 1/2 (18) การอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 1/2 (19) กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ครั้งที่ 1/5 (20) ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 2/6 (21) ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 3/6 (22) การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง  ครั้งที่ 1/4 (23) เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (24) กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ครั้งที่ 2/5 (25) ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 4/6 (26) การอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง  ครั้งที่ 1/2 (27) การอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 2/2 (28) กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ครั้งที่ 3/5 (29) การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง  ครั้งที่ 2/4 (30) การอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง  ครั้งที่ 2/2 (31) การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง  ครั้งที่ 3/4 (32) ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 5/6 (33) กิจกรรมชี้แจงรายละเอียดการจัดทำเอกสารการเงินให้กับโครงการย่อย (34) กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ครั้งที่ 4/5 (35) กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ครั้งที่ 5/5 (36) การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง  ครั้งที่ 4/4 (37) ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 6/6 (38) การสำรวจและจัดทำข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชน ครั้งที่ 2/2 (39) เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงาน (40) เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2 (41) จัดทำรายงานและบันทึกรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


3. ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย หมู่ที่ 3 ตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 65-10154-004

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายอภิรัฐ แซะอามา )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด