directions_run

การจัดการทรัพยากรประมงเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์สู่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชนบ้านโคกเมือง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สมาคมรักษ์ทะเลไทย


“ การจัดการทรัพยากรประมงเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์สู่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชนบ้านโคกเมือง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา ”

อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นาย ธานินท์ แก้วรัตน์

ชื่อโครงการ การจัดการทรัพยากรประมงเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์สู่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชนบ้านโคกเมือง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา

ที่อยู่ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ M-007/2566 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2567


กิตติกรรมประกาศ

"การจัดการทรัพยากรประมงเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์สู่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชนบ้านโคกเมือง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สมาคมรักษ์ทะเลไทย ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
การจัดการทรัพยากรประมงเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์สู่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชนบ้านโคกเมือง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา



บทคัดย่อ

โครงการ " การจัดการทรัพยากรประมงเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์สู่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชนบ้านโคกเมือง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา " ดำเนินการในพื้นที่ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ M-007/2566 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กรกฎาคม 2566 - 30 เมษายน 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000.00 บาท จาก สมาคมรักษ์ทะเลไทย เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ในอดีตชุมชนควนเนียงมีการทำเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ สาเหตุเนื่องจากมีปลาลดจำนวนลง โดยในช่วงปี 2526-2527 เริ่มมีเครื่องมือจับปลาที่ทันสมัย มีอวนรุนเข้ามา ทำให้ทรัพยากรลดลงอย่างต่อเนื่อง ปีพ.ศ. 2542 ปริมาณปลาลดจำนวนลงเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีเรืออวนรุนเข้ามาหาปลาในพื้นที่เป็นจำนวนมากและขาดการดูแลจากหน่วยงานราชการ หลังจากนั้น จุดเริ่มของการทำเขตอนุรักษ์คือ ปี 2550 ชาวบ้านในพื้นที่เริ่มเห็นวิกฤติทางด้านอาหารทะเล เพราะต้องซื้อปลาจากต่างถิ่นมาบริโภคในครัวเรือน ชุมชนจึงมีแนวคิดในการทำเขตอนุรักษ์หรือฟาร์มทะเล ซึ่งทำร่วมกับกรมประมง ประกาศเขตอนุรักษ์ในวันที่ 8 ตุลาคม 2550 มีการทำเขตด้วยการปักท่อ PVC เป็นแนวเขต มีกฎกติกาคือห้ามจับสัตว์น้ำทุกขนาด ถ้าฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 10,000 บาท ชาวบ้านให้ความร่วมมือดีมาก มีคณะกรรมการในการดูแล หลังจากนั้น ประมาณ 10 ปี (2550-2560) เป็นช่วงที่มีการทำกิจกรรมหลากหลายกิจกรรมของชุมชน ทั้งการปลูกป่าชายเลนและบ้านปลา รวมทั้ง กิจกรรมอื่นๆ จากหน่วยงานของรัฐ ถือเป็นช่วงรุ่งเรืองของการทำกิจกรรมการทำป่าชายเลนและการทำเขตอนุรักษ์ มีทรัพยากรเพิ่มมากขึ้น ชาวประมงจับปลาได้ตลอดทั้งปี วิถีประมงกลับมาอีกครั้งหนึ่ง มาในปี 2560 คณะทำงานเริ่มล้า เพราะกรรมการเหนื่อย ทำให้บางส่วนออกจากการเป็นกรรมการ ส่งผลให้กิจกรรมลดน้อยลง กรรมการที่เหลือก็มีปัญหาและอุปสรรคในการทำงานมากขึ้น ประกอบกับไม่ได้รับการร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำให้กิจกรรมต่างๆ เริ่มลดลง ส่งผลให้ปลาลดจำนวนลงอีกครั้งหนึ่ง
ในปัจจุบัน ชาวบ้านได้กลับมาทำการอนุรักษ์ปลาอีกครั้ง ด้วยการฟื้นฟูแนวเขตอนุรักษ์เริ่มมาตั้งแต่ประมาณปลายปี 2561 ร่วมกับการสร้างบ้านปลา ลักษณะการสร้างบ้านปลาที่ชาวบ้านควนเนียงเลือกทำเป็นการนำกิ่งไม้ไปวางสุมไว้ เรียกว่า “ซั้ง” เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยของปลา (ภาพที่ 4.126-4.127) หลังจากนั้น เมื่อทิ้งไว้สักระยะจะมีการล้อมจับปลา โดยใช้อวนล้อมรอบซั้งและรื้อไม้ออก หลังจากนั้นจะจับปลาโดยใช้อวนที่ล้อมไว้ จำนวนซั้งของชาวบ้านแตกต่างกันไป บางครอบครัวอาจจะมีการทำซั้งจำนวนมากถึง 40 ซั้ง การเริ่มทำบ้านปลาเนื่องจากปลาลดจำนวนลง เริ่มต้นการทำบ้านปลามีชาวบ้านเริ่มทำ 15 ครอบครัว หลังจากนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 มีการทำเพิ่มอีก 3 ครอบครัว
ส่วนเขตอนุรักษ์นั้นจะมีการทำแนวเขตให้ชาวบ้านและชาวประมงจากที่อื่นรับรู้ว่าแนวเขตอนุรักษ์ ตั้งขึ้นเป็นชมรมอนุรักษ์ป่าชายเลนและฟาร์มทะเล ต.โคกเมือง อ.ควนเนียง จ.สงขลา ประกอบด้วยคณะกรรมการจำนวน 15 คน โดยมีนายธานินทร์ แก้วรัตน์ เป็นประธาน นอกจากนี้ กติกาของฟาร์มทะเลชุมชนบ้านโคกเมืองคือการกำหนดเขตที่ไม่อนุญาตให้มีการจับสัตว์น้ำ โดยนำท่อนไม้มาปักล้อม เริ่มตั้งแต่ริมชายฝั่งห่างออกไปในทะเลสาบ 275 เมตร และกินพื้นที่แนวยาวเป็นระยะทาง 1.125 กิโลเมตร แต่กันพื้นที่ประมาณเกือบ 1 กิโลเมตร ให้ผู้ประกอบอาชีพประมงแบบเดินอวนที่ไม่มีเรือ ยังสามารถเดินจับปลาได้ ชุมชนโคกเมืองมีการทำกิจกรรมกากรอนุรักษ์หลายกิจกรรมพร้อมๆ กัน เช่น การทำเขตอนุรักษ์ ทำบ้านปลา การปล่อยปลา การอนุบาลปลาในกระชังและในโรงเพาะฟัก  ในส่วนของการอนุบาลปลาในกระชังจะนำปลาที่มีขนาดเล็กจากรื้อบ้านปลานำมาอนุบาลในโรงเพาฟัก ให้อาหารเม็ดจนกระทั่งโตจึงจับไปปล่อยสูงแหล่งน้ำ
ปัจจุบันทางชุมชนมีการประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านจำนวน 26 ครัวเรือน รายได้เฉลี่ย 300-3,000 บาทต่อครัวเรือนต่อวัน แต่รายได้ค่อนข้างจะมีความแปรผันขึ้นอยู่กับฤดูการ เตือนตา และคณะ (2563) ผลผลิตในปี 2563 ดังนี้ ปลาที่จับได้ระหว่างเดือนเมษายน -กรกฎาคม 2562 ประกอบด้วย ปลากดหัวโม่ง ปลากดหัวอ่อน ปลาตะกรับ ปลาดุกทะเล ปลากระบอก ปลานิล ปลาแมว ปลาที่จับได้ชาวประมงจะขายให้แก่พ่อค้าคนกลาง ที่ควนเนียงมีพ่อค้าคนกลาง 5 ราย มีชาวประมงบางรายที่ขายปลาที่จับได้ด้วยตัวเอง เป็นการขายให้แก่คนในหมู่บ้านด้วยกันเอง ปลาที่ชาวประมงจับได้ในแต่ละวันจะเก็บไว้บริโภคในครัวเรือน ประมาณ 0.5 – 1 กิโลกรัม ชนิดของปลาที่บริโภคในครัวเรือนจะแตกต่างกันไปในแต่ละวัน ราคาขายของปลาในช่วง 4 เดือนตั้งแต่เมษายน-กรกฎาคม 2562 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักและแตกต่างกันไปตามขนาดของปลา ดังนี้ ปลาดุกทะเลขนาดใหญ่กิโลกรัมละ 130 บาท ขนาดกลาง  กิโลกรัมละ 100 บาท ขนาดเล็ก 80 บาท ปลาทรายกิโลกรัมละ 70 บาท ปลานิล ขนาดใหญ่ กิโลกรัมละ 100 บาท ขนาดกลาง กิโลกรัมละ 80 บาท และขนาดเล็ก กิโลกรัมละ 40 บาท ปลาตะกรับ ขนาดใหญ่กิโลกรัมละ 400 บาท ขนาดกลาง กิโลกรัมละ 250 ขนาดเล็ก กิโลกรัมละ 150 บาท ปลากระบอกขนาดใหญ่กิโลกรัมละ 250 บาท ขนาดกลาง กิโลกรัมละ 180 บาท และขนาดเล็ก กิโลกรัมละ 120 บาท ปลากดหัวโม่งและปลากดหัวอ่อน ขนาดใหญ่กิโลกรัมละ 80 บาท ขนาดเล็กกิโลกรัมละ 60 บาท รายได้เฉลี่ยของชาวประมงที่จับปลาโดยการใช้อวนรื้อมีรายได้เฉลี่ย 1,612.59บาทต่อวัน ส่วนชาวประมงที่ใช้อวนล้อมมีรายได้เฉลี่ย 512.31 บาท ต่อวัน จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ชุมชนบ้านโคกเมืองมีทรัพยากรประมงอุดมสมบูรณ์ ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ที่มีการทำมาอย่างต่อเนื่องและเข้มแข็งของกลุ่ม อย่างไรก็ตาม ข้อด้อยของกลุ่มคือการจัดการทรัพยากรประมง ที่มีการขายผ่านพ่อค้าคนกลาง ทำให้ไม่สามารถกำหนดราคาได้ ดังนั้น ทางกลุ่มจึงมีความต้องการในการจดการทรัพยากรประมงด้วยตัวเอง ผ่านกิจกรรมหลักๆ คือ การทำธนาคารปลา การทำแพปลาชุมชนและตลาดนัดชุมชน เพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพประมงและกระจายรายได้ให้กลุ่มที่เป็นธรรมและเพิ่มมากขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อพัฒนากลไกให้มีศักยภาพในการขับเคลื่อนกิจกรรมการอนุรักษ์ของชุมชน
  2. เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการฟื้นฟูทะเลสาบในพื้นที่ชุมชนบ้านโคกเมือง
  3. เพื่อให้เกิดแพปลาชุมชนเป็นกลไกในการจัดการผลผลิตจากการประมง
  4. เพื่อให้มีผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยบริโภคในชุมชน
  5. เพื่อหนุนเสริมให้มีการบริหารจัดการโครงการ อย่างมีประสิทธิภาพ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อให้เกิดมาตรการชุมชนในการเฝ้าระวังการดำเนินการตามกติกาชุมชนที่เข็มแข็ง
  2. วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการฟื้นฟูทะเลสาบในพื้นที่ชุมชนบ้านโคกเมือง
  3. วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 เพื่อให้เกิดแพปลาชุมชนเป็นกลไกในการจัดการผลผลิตจากการประมง
  4. วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 มีผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยบริโภคในชุมชนและขายเพื่อสร้างรายได้
  5. กิจกรรมที่ 7 เวทีพูดคุยกับการจัดการผลผลิตประมงของชุมชน
  6. กิจกรรมที่ 16 เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) 4 เดือนครั้ง
  7. กิจกรรมที่ 6.1 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 1
  8. กิจกรรมที่ 1 เวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถาณการณ์ปัญหาทะเลสาบและชายฝั่งชุมชนบ้านโคกเมือง
  9. กิจกรรมที่ 6.2 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 2
  10. กิจกรรมที่ 3 จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือทำประมงและรายได้ของชุมชน
  11. กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการทบทวนกติกาชุมชนและจัดตั้งประมงอาสา
  12. กิจกรรมที่ 8 การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับแพปลาชุมชน การจัดตั้งคณะกรรมการ ร่างกฎ ของแพปลาชุมชน
  13. กิจกรรมที่ 5 เวทีคืนข้อมูลชุมชน ข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือทำประมงและรายได้ของชุมชน
  14. กิจกรรมที่ 7 เวทีพูดคุยเกี่ยวกับการจัดการผลผลิตประมงของชุมชน
  15. กิจกรรมที่ 6.3 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 3
  16. กิจกรรมที่ 4 การทำบ้านปลาและปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ
  17. กิจกรรมที่ 11 เวทีพูดคุยสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์
  18. กิจกรรมที่ 6.4 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 4
  19. กิจกรรมที่ 10 ดำเนินการทำงานของแพปลาชุมชน
  20. กิจกรรมที่ 9 ทำแผนธุรกิจของแพปลาชุมชน
  21. กิจกรรมที่ 6.5 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 5
  22. กิจกรรมที่ 13 ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์การแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยและทดลองปฎิบัติการ ร้านคนจับปลา
  23. กิจกรรมที่ 12 การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำผลิตภัณฑ์ของชุมชนและการจัดตั้งคณะกรรมการ
  24. กิจกรรมที่ 6.6 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 6
  25. กิจกรรมที่ 14 ฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการแปรรูปอาหารทะเลภายใต้มาตรฐาน
  26. ชื่อกิจกรรมที่ 15 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และแผนธุรกิจ
  27. กิจกรรมที่ 6.7 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 7
  28. กิจกรรมที่ 6.8 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 8
  29. กิจกรรมที่ 17 เวทีปิดโครงการ
  30. กิจกรรมที่ 6.9 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 9
  31. กิจกรรมที่ 6.10 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 10

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายรอง ได้แก่ สมาชิกภายในและภายนอกชุมชน 100
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ สมาชิกจำนวน 80 คน 80

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เกิดการพัฒนากลไกให้มีศักยภาพในการขับเคลื่อนกิจกรรมการอนุรักษ์ของชุมชน
  2. เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการฟื้นฟูทะเลสาบในพื้นที่ชุมชนบ้านโคกเมือง
  3. เกิดแพปลาชุมชนเป็นกลไกในการจัดการผลผลิตจากการประมง
  4. เกิดผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยบริโภคในชุมชน
  5. เกิดหนุนเสริมให้มีการบริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมที่ 16 เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) 4 เดือนครั้ง

วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สรุปทบทวนการดำเนินกิจกรรม/งบประมาณ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมเป็ณคณะทำวานได้สีุปผลการทำกิจกรรมที่มีความคืบหน้าตอบโจทย์ตามวัตถุประสงค์

 

30 0

2. กิจกรรมที่ 6.1 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 1

วันที่ 12 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง
  2. ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนชุดต่างๆ
  3. กำหนดมาตราการแผนงาน และวางกรอบการทำงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมคณะทำงานประจำเดือนกรกฎาคม ครั้งที่1

 

15 0

3. กิจกรรมที่ 1 เวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถาณการณ์ปัญหาทะเลสาบและชายฝั่งชุมชนบ้านโคกเมือง

วันที่ 29 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ทำความเข้าใจสถานการณ์ของชายฝั่งทะเลบ้านโคกเมืองโดยมีวิทยากรที่มีความรู้เรื่องการทำงานด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูมาให้ข้อมูลแลกเปลี่ยนประสบการณ์
  2. ประชุมคณะทำงานโครงการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นหาวิธีการที่ฟื้นฟูชายฝั่งทะเลบ้านโคกเมือง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงาน ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันประชุมเกี่ยวกับโครงการ เพื่อร่วมกันแสดงความคิดเห็นหาวิธีการที่ฟื้นฟูชายฝั่งทะเลและทำความเข้าใจสถานการณ์ของชายฝั่งทะเล

 

30 0

4. กิจกรรมที่ 6.2 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 2

วันที่ 12 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง
  2. ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนชุดต่างๆ
  3. กำหนดมาตราการแผนงาน และวางกรอบการทำงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมคณะทำงานประจำเดือนสิงหาคม ครั้งที่ 2

 

15 0

5. กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการทบทวนกติกาชุมชนและจัดตั้งประมงอาสา

วันที่ 16 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. รับทราบปัญหาในการกำหนดพื้นที่อนุรักษ์
  2. ใช้เวทีประชุมในการออกเสียงผู้มีผลได้ ผลเสียในการกำหนดเขตอนุรักษ์
  3. นำปัญหามาวิเคราะห์ เพื่อตกผลึก และนำมาสู่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน
  4. รับสมัครประมงอาสา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงาน ชุมชน ร่วมกันใช้เวทีประชุมในการออกเสียงผู้มีผลได้ ผลเสียในการกำหนดเขตอนุรักษ์ รับทราบปัญหา และนำปัญหามาร่วมกันวิเคราะห์ เพื่อตกผลึก และนำมาสู่การแก้ไขปัญหา และรับสมัครประมงอาสา

 

30 0

6. กิจกรรมที่ 3 จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือทำประมงและรายได้ของชุมชน

วันที่ 18 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.จัดทำข้อมูลเครื่องมือที่ใช้ทำประมง
2. จัดทำข้อมูลรายได้จากอาชีพประมง 3. จัดทำข้อมูลพันธุ์สัตว์น้ำในอ่าวสะทัง รวมจำนวน 100 ชุด 4.จัดทำข้อมูลเอกสารเผยแพร่ ฐานทรัพยากรชายฝั่ง
5. ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลที่มีการแบ่งทีมรับผิดชอบอย่างชัดเจน 6. ประเมิน 2 ครั้ง ก่อนและหลังการทำบ้านปลา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานและชุมชน ร่วมกันทำแบบสอบถามและจัดเก็บข้อมูลเครื่องมือที่ใช้ทำประมง ข้อมูลรายได้จากอาชีพประมง และข้อมูลพันธุ์สัตว์น้ำ

 

30 0

7. กิจกรรมที่ 6.3 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 3

วันที่ 12 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง
  2. ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนชุดต่างๆ
  3. กำหนดมาตราการแผนงาน และวางกรอบการทำงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมคณะทำงานประจำเดือนกันยายน ครั้งที่ 3

 

15 0

8. กิจกรรมที่ 4 การทำบ้านปลาและปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ

วันที่ 16 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ประชุมเพื่อกำหนดจุดและวันในการดำเนินกิจกรรม
  2. การลงมือทำบ้านปลา
  3. เผยแพร่ตามช่องทางที่เหมาะสม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานร่วมกับชาวบ้านในชุมชน ร่วมกันทำบ้านปลาและปล่อยพันธิ์สัตว์น้ำ

 

30 0

9. กิจกรรมที่ 6.4 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 4

วันที่ 12 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง
  2. ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนชุดต่างๆ
  3. กำหนดมาตราการแผนงาน และวางกรอบการทำงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมคณะทำงานประจำเดือนตุลาคม ครั้งที่ 4

 

15 0

10. กิจกรรมที่ 6.5 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 5

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมรายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และวางแผนการดำเนินงานในกิจกรรมถัดไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แผนการดำเนินงาน

 

15 0

11. กิจกรรมที่ 7 เวทีพูดคุยเกี่ยวกับการจัดการผลผลิตประมงของชุมชน

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. พูดคุยเกี่ยวกับปัญหาในการจัดการผลผลิตประมงเชื่อมโยงการขายปลาที่ชาวประมงจับได้ และแนวทางการแก้ปัญหา
  2. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำแพปลาชุมชน
  3. ประชุมคณะทำงานโครงการ ภาคี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกำหนดแนวทางในการทำแพปลาชุมชน
    4.จัดทำรายงานสรุปผลจากการจัดเวทีและแผนแนวทางการพุดคุยของคณะทำงานเพื่อนำข้อมูลไปจัดทำแผนการขับเคลื่อนกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ชาวบ้านได้รับความรู้เกี่ยวกับการทำแพปลาชุมชน และปัญหาในการจัดการผลผลิตประมงเชื่อมโยงการขายปลาที่ชาวประมงจับได้ และแนวทางการแก้ปัญหา และการประชุมคณะทำงาน หน่วยงาน ภาคีที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับการจัดทำแผนขับเคลื่อนกิจกรรม

 

30 0

12. กิจกรรมที่ 7 เวทีพูดคุยกับการจัดการผลผลิตประมงของชุมชน

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2566 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สอบถามสถานการณ์ผลผลิตประมง ชนิด และปรริมาณที่จับได้ รวมทั้งช่องทางการจำหน่าย และวางแผนการจัดการผลผลิต

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แผนการจัดการผลผลิตของชุมชน

 

0 0

13. กิจกรรมที่ 5 เวทีคืนข้อมูลชุมชน ข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือทำประมงและรายได้ของชุมชน

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

หัวหน้าโครงการรายงานสำรวจการเปลี่ยนแปลงปริมาณสัตว์น้ำ หลังจากการทำบ้านปลาในเขตอนุรักษ์ และสมาชิกในกลุ่มช่วยกันเติมข้อมูลเพิ่มเติม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ชุดข้อมูลการเปลี่ยนของสัตว์น้ำ ก่อนและหลังการทำบ้านปลา

 

30 0

14. กิจกรรมที่ 6.6 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 6

วันที่ 1 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุม วางแผน การดำเนินงานของเดือนถัดไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แผนการดำเนินสำหรับกิจกรรมต่อไป

 

15 0

15. กิจกรรมที่ 8 การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับแพปลาชุมชน การจัดตั้งคณะกรรมการ ร่างกฎ ของแพปลาชุมชน

วันที่ 14 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับแพปลาชุมชน
  2. จัดตั้งคณะกรรมการและออกแบบกิจกรรม
  3. ร่าง กฎ และวิธีดำเนินการแพปลาชุมชน
  4. สรุปและกำหนดแผนการดำเนินงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ชาวบ้านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแพปลาชุมชน และมีการจัดตั้งคณะกรรมการ มีการร่าง กฎ และวิธีการดำเนินการแพปลาชุมชน

 

30 0

16. กิจกรรมที่ 6.7 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 7

วันที่ 6 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุม วางแผน การดำเนินงานในกิจกรรมต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้แผนดำเนินงานกิจกรรมต่อไป

 

15 0

17. กิจกรรมที่ 9 การอบรมทำแผนธุรกิจของแพปลาชุมชน

วันที่ 11 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. อบรม ให้ความรู้เกี่ยวกับการตลาดและการจัดการแพปลาชุมชน
  2. ติดต่อและเจรจากับคู่ค้าของแพปลาชุมชน (พ่อค้าคนลาง หรือร้านอาหาร)
  3. สรุปผลการดำเนินงานด้านการตลาด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ชาวบ้านได้รับความรู้เกี่ยวกับการตลาดและการจัดทำแพปลาชุมชน โดยมีพ่อค้าคนกลางในการกระจายสินค้า และได้ีับความรู้ด้านการตลาด

 

30 0

18. กิจกรรมที่ 13 ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์การแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยและทดลองปฎิบัติการ ร้านคนจับปลา

วันที่ 23 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ศึกษาดูงานนอกสถานที่ (ชุมชนต้นแบบ เช่น การบริหารจัดการโครงการ/การดำเนินงานแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัย)
  2. เพื่อนำกิจกรรมของชุมชนอื่นมาศึกษา นำกรอบรายละเอียดของโครงการ ของชุมชนที่ประสบความสำเร็จแล้วมาเป็นแนวทางในการดำเนินการ เพื่อวางแผนต่อยอดและพัฒนา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.คณะกรรมการที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความกระตือรือล้นในการเรียนรู้ 2.เมื่อมีข้อสงสัยทางคณะจะมีการซักถามและร่วมเสนอเเนวทาง 3.มีการปรึกษาหารือเพื่อกลับมาต่อยอดทรัพยากรสัตว์น้ำในพื้นที่ตัวเอง 4.มีความต้องการอยากเรียนรู้เพิ่มเติมในเรื่องดังกล่าวมา 5.คณะกรรมการมีคามรู้ความเข้าใจถึงการจัดการอาหารปลอดภัยและการต่อยอดสัตว์นำ้ในชุมชน

 

15 0

19. กิจกรรมที่ 10 ดำเนินการทำงานของแพปลาชุมชน

วันที่ 28 มกราคม 2567 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
  2. รับชื้อและขายปลาโดยคณะทำงานที่แต่งตั้งไว้
  3. สรุปผลการประเมินการทำงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ชาวบ้านมีการประชุมวางแผนงาน โดยมีคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นรับซื้อปลาและขายปลาในชุมชน

 

0 0

20. กิจกรรมที่ 6.8 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 8

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุม วางแผน การดำเนินงานในกิจกรรมต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้แผนดำเนินงานกิจกรรมต่อไป

 

15 0

21. กิจกรรมที่ 11 เวทีพูดคุยสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยสถานการณ์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการบริโภคอาหารที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยมีวิทยากรมาให้ข้อมูลแลกเปลี่ยนประสบการณ์
  2. ประชุมคณะทำงานโครงการ ภาคี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกำหนดแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่ปลอดภัยสอดคล้องกับฐานทรัพยากรในพื้นที่ 3.จัดทำรายงานสรุปผลจากการจัดเวทีและแผนแนวทางการพุดคุยของคณะทำงานเพื่อนำข้อมูลไปจัดทำแผนการขับเคลื่อนกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้รับความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยสถานการณ์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการบริโภคอาหารที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดนมีคณะกรรมการ ภาคี หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม และมีการจัดทำแผนขับเคลื่อนกิจกรรมอีกด้วย

 

30 0

22. กิจกรรมที่ 12 การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำผลิตภัณฑ์ของชุมชนและการจัดตั้งคณะกรรมการ

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ปลาชุมชน
  2. จัดตั้งคณะกรรมการและออกแบบกิจกรรม
  3. สรุปและกำหนดแผนการดำเนินงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ชาวบ้านได้รับความรู้เกี่ยวกับการผลิตปลาชุมชน และร่วมกันจัดตั้งคณะกรรมการการดูแลผลิตภัณฑ์ปลาของชุมชน และกำหนดแผนการทำงานในครั้งต่อไป

 

30 0

23. กิจกรรมที่ 6.9 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 9

วันที่ 2 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุม วางแผน การดำเนินงานในกิจกรรมต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้แผนดำเนินงานกิจกรรมต่อไป

 

15 0

24. กิจกรรมที่ 14 ฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการแปรรูปอาหารทะเลภายใต้มาตรฐาน

วันที่ 5 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. วางกรอบการทดลองแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับชุมชน
  2. ทดลองแปรรูปผลิตภัณฑ์ของชุมชน
  3. นำผลสรุปและนำผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทดลองชิม ร่วมกันประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานที่ชุมชนร่วมกันกำหนด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ชาวบ้านได้รับความรู้จากวิทยากร และชาวบ้านได้มีการทดลองแปรรูปผลิตภัณฑ์ของชุมชน และมีกรนำผลิตภัณฑ์มาทดลองชิม และช่วยกันประเมินมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่ชุมชนร่วมกัน

 

30 0

25. ชื่อกิจกรรมที่ 15 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และแผนธุรกิจ

วันที่ 19 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. วิทยากรให้ความรู้เรื่องของการออกแบบและคัดเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์
  2. ฝึกออกแบบและคัดเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์
  3. การอบรมแผนธุรกิจ
  4. สรุปผลพร้อมกำหนดแผนในการพัฒนาต่อยอดบรรจุภัณฑ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ชาวบ้านได้รับความรู้เกี่ยวกับการออกแบบและการคัดเลือกบรรจุภัณฑ์ที่ที่เหมาะสม และได้ฝึกการออกแบบและการคัดเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์
  2. ได้รับความรู้เรื่องแผนธุรกิจและมีการพัฒนาต่อยอดบรรจุภัณฑ์

 

0 0

26. กิจกรรมที่ 17 เวทีปิดโครงการ

วันที่ 5 เมษายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมปิดโครงการโดยการนำเสนอผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในรอบ 1 ปี พูดคุยปัญหา อุปสรรคในการดำเนินกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และตรวจตัวชี้วัดของโครงการ

 

30 0

27. กิจกรรมที่ 6.10 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 10

วันที่ 6 เมษายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุม วางแผน ดำเนินการในกิจกรรมต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้แผนดำเนินงานในกิจกรรมต่อไป

 

15 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อพัฒนากลไกให้มีศักยภาพในการขับเคลื่อนกิจกรรมการอนุรักษ์ของชุมชน
ตัวชี้วัด : 1.มีคณะทำงานจำนวน 15 คน 2. มีกติกาเขตอนุรักษ์แบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน 3. มีข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์น้ำก่อนและหลังทำกิจกรรมการอนุรักษ์ 4. มีแผนปฏิบัติงาน
0.00 15.00

แกนนำมีความรู้และมีศักยภาพในการบริหารทรัพยากรในประเด็นที่กว้างขึ้น และพร้อมที่จะเรียนรู้และพัฒนาตัวเองในประเด็นใหม่ ๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในการทำงานของชุมชน และมีการประสานความร่วมมือกับท้องถิ่น เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ด้านนโยบายที่เป็นประเด็นร่วมกับชุมชน ในกรณีข้อตกลงเขตอนุรักษ์

2 เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการฟื้นฟูทะเลสาบในพื้นที่ชุมชนบ้านโคกเมือง
ตัวชี้วัด : 1. มีบ้านปลาจำนวนไม่น้อยกว่า 3 หลัง 2. มีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อปี 3. มีปริมาณสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้นในแต่ละฤดูกาล 4.จำนวนพันธุ์สัตว์น้ำเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 2 ชนิด 5.มีป้ายประชาสัมพันธ์กติกาข้อตกลงเรื่องเขตอนุรักษ์ของหมู่บ้าน
320.00

เนื่องจากชุมชนมีกลไกการทำงานที่เข้มแข็งและมีศักยภาพที่หลากหลาย โดยการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่รู้จักทั้งในและนอกพื้นที่ พร้อมที่จะพัฒนาต่อยอดและยกระดับการทำงานเชื่อมร้อยกับท้องถิ่นที่ให้เป็นเป็นรูปกระทำเชิงนโยบายในรูปแบบความร่วมมือการจัดการทรัพยากรอย่างมีส่วนร่วม หรือแหล่งเรียนรู้ของชุมชน

3 เพื่อให้เกิดแพปลาชุมชนเป็นกลไกในการจัดการผลผลิตจากการประมง
ตัวชี้วัด : 1. เกิดคณะทำงานของแพปลาชุมชนที่เข้าใจหลักการทำงานจำนวน 10 คน 2. มีกฎ ระเบียบของแพปลาโดยมีส่วนร่วมจากชุมชน 3. มีแพปลาชุมชน 4.รายได้จากการขายปลาสดเพิ่มขึ้น

 

4 เพื่อให้มีผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยบริโภคในชุมชน
ตัวชี้วัด : 1.สมาชิกที่ร่วมโครงการสามารถบอก อธิบาย หลักเกณฑ์ของอาหารปลอดภัยได้ชุมชนละไม่น้อยกว่า 10 คน 2. มีผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยอย่างน้อย 2 ผลิตภัณฑ์ 3. มีบรรจุภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดผู้บริโภคอย่างน้อย 2 บรรจุภัณฑ์ 4. รายได้จากการแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อจำหน่ายเพิ่มขึ้น
0.00

สมาชิกและคนในชุมชนมีความกระตือรืร้น สนใจในการพัฒนาทักษะ สร้างความรู้ความเข้าใจการสร้างมูลค่าเพิ่มของสัตว์น้ำทั้งสดและแปรรูปภายใต้มาตรฐาน บรูแบรนด์ แต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดคำว่า มาตรฐานอาหารทะเลปลอดภัย ซึ่งเป็นประเด็นที่พี่เลี้ยงและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องทำความเข้าใจให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการฝึกปฏิบัติจริง

5 เพื่อหนุนเสริมให้มีการบริหารจัดการโครงการ อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด : 1. โครงการย่อยสามารถท างานได้ตามที่ก าหนดไว้ ในแผน 2. โครงการย่อยสามารถ รายงานผลในระบบ ออนไลน์ได้ถูกต้อง ครบถ้วน 3. โครงการย่อยสามารถ เดินทางร่วมกิจกรรมที่ทาง คณะบริหารแผนงาน กำหนด)
80.00

คณะทำงานมีความรู้ในการบริหารจัดการโครงการแต่ยังขาดทักษะทำรายงานผ่านระบบเว็บไซต์ จึงจำเป็นต้องมีฝึกการทำรายงานผ่านระบบเว็บไซต์ เพื่อให้เกิดความชำนาญและทำรายงานได้

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 180
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายรอง ได้แก่ สมาชิกภายในและภายนอกชุมชน 100
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ สมาชิกจำนวน 80 คน 80

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนากลไกให้มีศักยภาพในการขับเคลื่อนกิจกรรมการอนุรักษ์ของชุมชน (2) เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการฟื้นฟูทะเลสาบในพื้นที่ชุมชนบ้านโคกเมือง (3) เพื่อให้เกิดแพปลาชุมชนเป็นกลไกในการจัดการผลผลิตจากการประมง (4) เพื่อให้มีผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยบริโภคในชุมชน (5) เพื่อหนุนเสริมให้มีการบริหารจัดการโครงการ อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อให้เกิดมาตรการชุมชนในการเฝ้าระวังการดำเนินการตามกติกาชุมชนที่เข็มแข็ง (2) วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการฟื้นฟูทะเลสาบในพื้นที่ชุมชนบ้านโคกเมือง (3) วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 เพื่อให้เกิดแพปลาชุมชนเป็นกลไกในการจัดการผลผลิตจากการประมง (4) วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 มีผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยบริโภคในชุมชนและขายเพื่อสร้างรายได้ (5) กิจกรรมที่ 7 เวทีพูดคุยกับการจัดการผลผลิตประมงของชุมชน (6) กิจกรรมที่ 16 เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) 4 เดือนครั้ง (7) กิจกรรมที่ 6.1 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 1 (8) กิจกรรมที่ 1 เวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถาณการณ์ปัญหาทะเลสาบและชายฝั่งชุมชนบ้านโคกเมือง (9) กิจกรรมที่ 6.2 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 2 (10) กิจกรรมที่ 3 จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือทำประมงและรายได้ของชุมชน (11) กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการทบทวนกติกาชุมชนและจัดตั้งประมงอาสา (12) กิจกรรมที่ 8 การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับแพปลาชุมชน การจัดตั้งคณะกรรมการ ร่างกฎ ของแพปลาชุมชน (13) กิจกรรมที่ 5 เวทีคืนข้อมูลชุมชน ข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือทำประมงและรายได้ของชุมชน (14) กิจกรรมที่ 7 เวทีพูดคุยเกี่ยวกับการจัดการผลผลิตประมงของชุมชน (15) กิจกรรมที่ 6.3 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 3 (16) กิจกรรมที่ 4 การทำบ้านปลาและปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ (17) กิจกรรมที่ 11 เวทีพูดคุยสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (18) กิจกรรมที่ 6.4 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 4 (19) กิจกรรมที่ 10 ดำเนินการทำงานของแพปลาชุมชน (20) กิจกรรมที่ 9 ทำแผนธุรกิจของแพปลาชุมชน (21) กิจกรรมที่ 6.5 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 5 (22) กิจกรรมที่ 13 ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์การแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยและทดลองปฎิบัติการ ร้านคนจับปลา (23) กิจกรรมที่ 12 การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำผลิตภัณฑ์ของชุมชนและการจัดตั้งคณะกรรมการ (24) กิจกรรมที่ 6.6 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 6 (25) กิจกรรมที่ 14  ฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการแปรรูปอาหารทะเลภายใต้มาตรฐาน (26) ชื่อกิจกรรมที่ 15  ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และแผนธุรกิจ (27) กิจกรรมที่ 6.7 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 7 (28) กิจกรรมที่ 6.8 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 8 (29) กิจกรรมที่ 17  เวทีปิดโครงการ (30) กิจกรรมที่ 6.9 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 9 (31) กิจกรรมที่ 6.10 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 10

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


การจัดการทรัพยากรประมงเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์สู่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชนบ้านโคกเมือง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ M-007/2566

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นาย ธานินท์ แก้วรัตน์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด