directions_run

การจัดการทรัพยากรประมงเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์สู่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชนบ้านโคกเมือง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การจัดการทรัพยากรประมงเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์สู่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชนบ้านโคกเมือง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ภายใต้โครงการ แผนงานร่วมทุนนับสนุนการสร้างสุขภาวะชุมชนประมงพื้นบ้านใน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล
ภายใต้องค์กร สมาคมรักษ์ทะเลไทย
รหัสโครงการ M-007/2566
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2566 - 30 เมษายน 2567
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มประมงพื้นบ้านชุมชนบ้านโคกเมือง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นาย ธานินท์ แก้วรัตน์
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 087-8366894
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ -
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาว เบญจวรรณ เพ็งหนู
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2566 31 ต.ค. 2566 1 ก.ค. 2566 31 ต.ค. 2566 50,000.00
2 31 ต.ค. 2566 20 มี.ค. 2567 31 ต.ค. 2566 20 มี.ค. 2567 40,000.00
3 21 มี.ค. 2567 30 เม.ย. 2567 10,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานปรับสภาพสิ่งแวดล้อม
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในอดีตชุมชนควนเนียงมีการทำเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ สาเหตุเนื่องจากมีปลาลดจำนวนลง โดยในช่วงปี 2526-2527 เริ่มมีเครื่องมือจับปลาที่ทันสมัย มีอวนรุนเข้ามา ทำให้ทรัพยากรลดลงอย่างต่อเนื่อง ปีพ.ศ. 2542 ปริมาณปลาลดจำนวนลงเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีเรืออวนรุนเข้ามาหาปลาในพื้นที่เป็นจำนวนมากและขาดการดูแลจากหน่วยงานราชการ หลังจากนั้น จุดเริ่มของการทำเขตอนุรักษ์คือ ปี 2550 ชาวบ้านในพื้นที่เริ่มเห็นวิกฤติทางด้านอาหารทะเล เพราะต้องซื้อปลาจากต่างถิ่นมาบริโภคในครัวเรือน ชุมชนจึงมีแนวคิดในการทำเขตอนุรักษ์หรือฟาร์มทะเล ซึ่งทำร่วมกับกรมประมง ประกาศเขตอนุรักษ์ในวันที่ 8 ตุลาคม 2550 มีการทำเขตด้วยการปักท่อ PVC เป็นแนวเขต มีกฎกติกาคือห้ามจับสัตว์น้ำทุกขนาด ถ้าฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 10,000 บาท ชาวบ้านให้ความร่วมมือดีมาก มีคณะกรรมการในการดูแล หลังจากนั้น ประมาณ 10 ปี (2550-2560) เป็นช่วงที่มีการทำกิจกรรมหลากหลายกิจกรรมของชุมชน ทั้งการปลูกป่าชายเลนและบ้านปลา รวมทั้ง กิจกรรมอื่นๆ จากหน่วยงานของรัฐ ถือเป็นช่วงรุ่งเรืองของการทำกิจกรรมการทำป่าชายเลนและการทำเขตอนุรักษ์ มีทรัพยากรเพิ่มมากขึ้น ชาวประมงจับปลาได้ตลอดทั้งปี วิถีประมงกลับมาอีกครั้งหนึ่ง มาในปี 2560 คณะทำงานเริ่มล้า เพราะกรรมการเหนื่อย ทำให้บางส่วนออกจากการเป็นกรรมการ ส่งผลให้กิจกรรมลดน้อยลง กรรมการที่เหลือก็มีปัญหาและอุปสรรคในการทำงานมากขึ้น ประกอบกับไม่ได้รับการร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำให้กิจกรรมต่างๆ เริ่มลดลง ส่งผลให้ปลาลดจำนวนลงอีกครั้งหนึ่ง
ในปัจจุบัน ชาวบ้านได้กลับมาทำการอนุรักษ์ปลาอีกครั้ง ด้วยการฟื้นฟูแนวเขตอนุรักษ์เริ่มมาตั้งแต่ประมาณปลายปี 2561 ร่วมกับการสร้างบ้านปลา ลักษณะการสร้างบ้านปลาที่ชาวบ้านควนเนียงเลือกทำเป็นการนำกิ่งไม้ไปวางสุมไว้ เรียกว่า “ซั้ง” เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยของปลา (ภาพที่ 4.126-4.127) หลังจากนั้น เมื่อทิ้งไว้สักระยะจะมีการล้อมจับปลา โดยใช้อวนล้อมรอบซั้งและรื้อไม้ออก หลังจากนั้นจะจับปลาโดยใช้อวนที่ล้อมไว้ จำนวนซั้งของชาวบ้านแตกต่างกันไป บางครอบครัวอาจจะมีการทำซั้งจำนวนมากถึง 40 ซั้ง การเริ่มทำบ้านปลาเนื่องจากปลาลดจำนวนลง เริ่มต้นการทำบ้านปลามีชาวบ้านเริ่มทำ 15 ครอบครัว หลังจากนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 มีการทำเพิ่มอีก 3 ครอบครัว
ส่วนเขตอนุรักษ์นั้นจะมีการทำแนวเขตให้ชาวบ้านและชาวประมงจากที่อื่นรับรู้ว่าแนวเขตอนุรักษ์ ตั้งขึ้นเป็นชมรมอนุรักษ์ป่าชายเลนและฟาร์มทะเล ต.โคกเมือง อ.ควนเนียง จ.สงขลา ประกอบด้วยคณะกรรมการจำนวน 15 คน โดยมีนายธานินทร์ แก้วรัตน์ เป็นประธาน นอกจากนี้ กติกาของฟาร์มทะเลชุมชนบ้านโคกเมืองคือการกำหนดเขตที่ไม่อนุญาตให้มีการจับสัตว์น้ำ โดยนำท่อนไม้มาปักล้อม เริ่มตั้งแต่ริมชายฝั่งห่างออกไปในทะเลสาบ 275 เมตร และกินพื้นที่แนวยาวเป็นระยะทาง 1.125 กิโลเมตร แต่กันพื้นที่ประมาณเกือบ 1 กิโลเมตร ให้ผู้ประกอบอาชีพประมงแบบเดินอวนที่ไม่มีเรือ ยังสามารถเดินจับปลาได้ ชุมชนโคกเมืองมีการทำกิจกรรมกากรอนุรักษ์หลายกิจกรรมพร้อมๆ กัน เช่น การทำเขตอนุรักษ์ ทำบ้านปลา การปล่อยปลา การอนุบาลปลาในกระชังและในโรงเพาะฟัก  ในส่วนของการอนุบาลปลาในกระชังจะนำปลาที่มีขนาดเล็กจากรื้อบ้านปลานำมาอนุบาลในโรงเพาฟัก ให้อาหารเม็ดจนกระทั่งโตจึงจับไปปล่อยสูงแหล่งน้ำ
ปัจจุบันทางชุมชนมีการประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านจำนวน 26 ครัวเรือน รายได้เฉลี่ย 300-3,000 บาทต่อครัวเรือนต่อวัน แต่รายได้ค่อนข้างจะมีความแปรผันขึ้นอยู่กับฤดูการ เตือนตา และคณะ (2563) ผลผลิตในปี 2563 ดังนี้ ปลาที่จับได้ระหว่างเดือนเมษายน -กรกฎาคม 2562 ประกอบด้วย ปลากดหัวโม่ง ปลากดหัวอ่อน ปลาตะกรับ ปลาดุกทะเล ปลากระบอก ปลานิล ปลาแมว ปลาที่จับได้ชาวประมงจะขายให้แก่พ่อค้าคนกลาง ที่ควนเนียงมีพ่อค้าคนกลาง 5 ราย มีชาวประมงบางรายที่ขายปลาที่จับได้ด้วยตัวเอง เป็นการขายให้แก่คนในหมู่บ้านด้วยกันเอง ปลาที่ชาวประมงจับได้ในแต่ละวันจะเก็บไว้บริโภคในครัวเรือน ประมาณ 0.5 – 1 กิโลกรัม ชนิดของปลาที่บริโภคในครัวเรือนจะแตกต่างกันไปในแต่ละวัน ราคาขายของปลาในช่วง 4 เดือนตั้งแต่เมษายน-กรกฎาคม 2562 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักและแตกต่างกันไปตามขนาดของปลา ดังนี้ ปลาดุกทะเลขนาดใหญ่กิโลกรัมละ 130 บาท ขนาดกลาง  กิโลกรัมละ 100 บาท ขนาดเล็ก 80 บาท ปลาทรายกิโลกรัมละ 70 บาท ปลานิล ขนาดใหญ่ กิโลกรัมละ 100 บาท ขนาดกลาง กิโลกรัมละ 80 บาท และขนาดเล็ก กิโลกรัมละ 40 บาท ปลาตะกรับ ขนาดใหญ่กิโลกรัมละ 400 บาท ขนาดกลาง กิโลกรัมละ 250 ขนาดเล็ก กิโลกรัมละ 150 บาท ปลากระบอกขนาดใหญ่กิโลกรัมละ 250 บาท ขนาดกลาง กิโลกรัมละ 180 บาท และขนาดเล็ก กิโลกรัมละ 120 บาท ปลากดหัวโม่งและปลากดหัวอ่อน ขนาดใหญ่กิโลกรัมละ 80 บาท ขนาดเล็กกิโลกรัมละ 60 บาท รายได้เฉลี่ยของชาวประมงที่จับปลาโดยการใช้อวนรื้อมีรายได้เฉลี่ย 1,612.59บาทต่อวัน ส่วนชาวประมงที่ใช้อวนล้อมมีรายได้เฉลี่ย 512.31 บาท ต่อวัน จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ชุมชนบ้านโคกเมืองมีทรัพยากรประมงอุดมสมบูรณ์ ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ที่มีการทำมาอย่างต่อเนื่องและเข้มแข็งของกลุ่ม อย่างไรก็ตาม ข้อด้อยของกลุ่มคือการจัดการทรัพยากรประมง ที่มีการขายผ่านพ่อค้าคนกลาง ทำให้ไม่สามารถกำหนดราคาได้ ดังนั้น ทางกลุ่มจึงมีความต้องการในการจดการทรัพยากรประมงด้วยตัวเอง ผ่านกิจกรรมหลักๆ คือ การทำธนาคารปลา การทำแพปลาชุมชนและตลาดนัดชุมชน เพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพประมงและกระจายรายได้ให้กลุ่มที่เป็นธรรมและเพิ่มมากขึ้น

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนากลไกให้มีศักยภาพในการขับเคลื่อนกิจกรรมการอนุรักษ์ของชุมชน

1.มีคณะทำงานจำนวน 15 คน 2. มีกติกาเขตอนุรักษ์แบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน 3. มีข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์น้ำก่อนและหลังทำกิจกรรมการอนุรักษ์ 4. มีแผนปฏิบัติงาน

0.00
2 เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการฟื้นฟูทะเลสาบในพื้นที่ชุมชนบ้านโคกเมือง
  1. มีบ้านปลาจำนวนไม่น้อยกว่า 3 หลัง
  2. มีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อปี
  3. มีปริมาณสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้นในแต่ละฤดูกาล 4.จำนวนพันธุ์สัตว์น้ำเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 2 ชนิด 5.มีป้ายประชาสัมพันธ์กติกาข้อตกลงเรื่องเขตอนุรักษ์ของหมู่บ้าน
3 เพื่อให้เกิดแพปลาชุมชนเป็นกลไกในการจัดการผลผลิตจากการประมง
  1. เกิดคณะทำงานของแพปลาชุมชนที่เข้าใจหลักการทำงานจำนวน  10 คน
  2. มีกฎ ระเบียบของแพปลาโดยมีส่วนร่วมจากชุมชน
  3. มีแพปลาชุมชน 4.รายได้จากการขายปลาสดเพิ่มขึ้น
4 เพื่อให้มีผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยบริโภคในชุมชน

1.สมาชิกที่ร่วมโครงการสามารถบอก อธิบาย หลักเกณฑ์ของอาหารปลอดภัยได้ชุมชนละไม่น้อยกว่า 10 คน 2. มีผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยอย่างน้อย 2 ผลิตภัณฑ์ 3. มีบรรจุภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดผู้บริโภคอย่างน้อย 2 บรรจุภัณฑ์ 4. รายได้จากการแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อจำหน่ายเพิ่มขึ้น

5 เพื่อหนุนเสริมให้มีการบริหารจัดการโครงการ อย่างมีประสิทธิภาพ
  1. โครงการย่อยสามารถท างานได้ตามที่ก าหนดไว้ ในแผน
  2. โครงการย่อยสามารถ รายงานผลในระบบ ออนไลน์ได้ถูกต้อง ครบถ้วน
  3. โครงการย่อยสามารถ เดินทางร่วมกิจกรรมที่ทาง คณะบริหารแผนงาน กำหนด)
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 180
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายรอง ได้แก่ สมาชิกภายในและภายนอกชุมชน 100 -
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ สมาชิกจำนวน 80 คน 80 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67
1 วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อให้เกิดมาตรการชุมชนในการเฝ้าระวังการดำเนินการตามกติกาชุมชนที่เข็มแข็ง(1 ก.ค. 2566-31 ส.ค. 2566) 12,200.00                    
2 วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการฟื้นฟูทะเลสาบในพื้นที่ชุมชนบ้านโคกเมือง(1 ส.ค. 2566-31 ต.ค. 2566) 36,000.00                    
3 วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 เพื่อให้เกิดแพปลาชุมชนเป็นกลไกในการจัดการผลผลิตจากการประมง(1 ส.ค. 2566-31 ม.ค. 2567) 15,850.00                    
4 วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 มีผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยบริโภคในชุมชนและขายเพื่อสร้างรายได้(1 ต.ค. 2566-30 เม.ย. 2567) 35,950.00                    
รวม 100,000.00
1 วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อให้เกิดมาตรการชุมชนในการเฝ้าระวังการดำเนินการตามกติกาชุมชนที่เข็มแข็ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 12,200.00 2 12,200.00
29 ก.ค. 66 กิจกรรมที่ 1 เวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถาณการณ์ปัญหาทะเลสาบและชายฝั่งชุมชนบ้านโคกเมือง 30 6,600.00 6,600.00
18 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการทบทวนกติกาชุมชนและจัดตั้งประมงอาสา 30 5,600.00 5,600.00
2 วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการฟื้นฟูทะเลสาบในพื้นที่ชุมชนบ้านโคกเมือง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 240 36,000.00 13 36,000.00
12 ก.ค. 66 กิจกรรมที่ 6.1 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 1 15 450.00 450.00
12 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 6.2 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 2 15 450.00 450.00
16 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 3 จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือทำประมงและรายได้ของชุมชน 30 5,200.00 5,200.00
30 ส.ค. 66 - 9 ธ.ค. 66 กิจกรรมที่ 5 เวทีคืนข้อมูลชุมชน ข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือทำประมงและรายได้ของชุมชน 30 2,000.00 2,000.00
12 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ 6.3 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 3 15 450.00 450.00
16 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ 4 การทำบ้านปลาและปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ 30 24,300.00 24,300.00
12 ต.ค. 66 กิจกรรมที่ 6.4 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 4 15 450.00 450.00
1 พ.ย. 66 กิจกรรมที่ 6.5 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 5 15 450.00 450.00
1 ธ.ค. 66 กิจกรรมที่ 6.6 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 6 15 450.00 450.00
6 ม.ค. 67 กิจกรรมที่ 6.7 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 7 15 450.00 450.00
3 ก.พ. 67 กิจกรรมที่ 6.8 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 8 15 450.00 450.00
2 มี.ค. 67 กิจกรรมที่ 6.9 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 9 15 450.00 450.00
6 เม.ย. 67 กิจกรรมที่ 6.10 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 10 15 450.00 450.00
3 วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 เพื่อให้เกิดแพปลาชุมชนเป็นกลไกในการจัดการผลผลิตจากการประมง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 90 15,850.00 4 15,850.00
25 ส.ค. 66 - 31 ม.ค. 67 กิจกรรมที่ 8 การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับแพปลาชุมชน การจัดตั้งคณะกรรมการ ร่างกฎ ของแพปลาชุมชน 30 3,750.00 3,750.00
11 ก.ย. 66 - 31 ม.ค. 67 กิจกรรมที่ 7 เวทีพูดคุยเกี่ยวกับการจัดการผลผลิตประมงของชุมชน 30 1,100.00 1,100.00
20 ต.ค. 66 - 31 ม.ค. 67 กิจกรรมที่ 10 ดำเนินการทำงานของแพปลาชุมชน 0 6,550.00 6,550.00
27 ต.ค. 66 - 31 ม.ค. 67 กิจกรรมที่ 9 ทำแผนธุรกิจของแพปลาชุมชน 30 4,450.00 4,450.00
4 วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 มีผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยบริโภคในชุมชนและขายเพื่อสร้างรายได้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 165 35,950.00 7 35,550.00
1 ก.ค. 66 - 30 เม.ย. 67 กิจกรรมที่ 16 เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) 4 เดือนครั้ง 30 3,900.00 3,500.00
20 ก.ย. 66 - 29 ก.พ. 67 กิจกรรมที่ 11 เวทีพูดคุยสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 30 1,100.00 1,100.00
15 พ.ย. 66 - 29 ก.พ. 67 กิจกรรมที่ 13 ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์การแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยและทดลองปฎิบัติการ ร้านคนจับปลา 15 8,800.00 8,800.00
17 พ.ย. 66 - 29 ก.พ. 67 กิจกรรมที่ 12 การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำผลิตภัณฑ์ของชุมชนและการจัดตั้งคณะกรรมการ 30 3,800.00 3,800.00
13 ธ.ค. 66 กิจกรรมที่ 14 ฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการแปรรูปอาหารทะเลภายใต้มาตรฐาน 30 7,100.00 7,100.00
1 - 31 ม.ค. 67 ชื่อกิจกรรมที่ 15 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และแผนธุรกิจ 0 4,650.00 4,650.00
1 มี.ค. 67 - 30 เม.ย. 67 กิจกรรมที่ 17 เวทีปิดโครงการ 30 6,600.00 6,600.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 1 1,100.00
16 พ.ย. 66 กิจกรรมที่ 7 เวทีพูดคุยกับการจัดการผลผลิตประมงของชุมชน 0 0.00 1,100.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดการพัฒนากลไกให้มีศักยภาพในการขับเคลื่อนกิจกรรมการอนุรักษ์ของชุมชน
  2. เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการฟื้นฟูทะเลสาบในพื้นที่ชุมชนบ้านโคกเมือง
  3. เกิดแพปลาชุมชนเป็นกลไกในการจัดการผลผลิตจากการประมง
  4. เกิดผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยบริโภคในชุมชน
  5. เกิดหนุนเสริมให้มีการบริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 09:41 น.