directions_run

การพัฒนากลไกเพื่อการบังคับใช้กติกาชุมชนในการจัดการทรัพยากรประมงของชุมชนบ้านใหม่ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สมาคมรักษ์ทะเลไทย


“ การพัฒนากลไกเพื่อการบังคับใช้กติกาชุมชนในการจัดการทรัพยากรประมงของชุมชนบ้านใหม่ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ”

อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นายชัยยศ ฤทธิโก

ชื่อโครงการ การพัฒนากลไกเพื่อการบังคับใช้กติกาชุมชนในการจัดการทรัพยากรประมงของชุมชนบ้านใหม่ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

ที่อยู่ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 009/2566 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2567


กิตติกรรมประกาศ

"การพัฒนากลไกเพื่อการบังคับใช้กติกาชุมชนในการจัดการทรัพยากรประมงของชุมชนบ้านใหม่ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สมาคมรักษ์ทะเลไทย ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
การพัฒนากลไกเพื่อการบังคับใช้กติกาชุมชนในการจัดการทรัพยากรประมงของชุมชนบ้านใหม่ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา



บทคัดย่อ

โครงการ " การพัฒนากลไกเพื่อการบังคับใช้กติกาชุมชนในการจัดการทรัพยากรประมงของชุมชนบ้านใหม่ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา " ดำเนินการในพื้นที่ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 009/2566 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กรกฎาคม 2566 - 30 เมษายน 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 200,000.00 บาท จาก สมาคมรักษ์ทะเลไทย เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ชุมชนบ้านใหม่ หมู่ 1 ตำบลสทิงหม้อ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา บริเวณที่ตั้งอยู่ใกล้ปากอ่าวของทะเลสาบสงขลาตอนล่าง จึงมีความอุดมสมบูรณ์ของพันธุ์ปลาสามน้ำหลากหลายชนิด ด้วยลักษณะทางภูมิประเทศและระบบนิเวศที่เหมาะสม ทำให้คนในชุมชนส่วนใหญ่ทำอาชีพประมงพื้นบ้าน ชุมชนนี้มีครัวเรือนประมาณ 320 ครัวเรือน สมาชิกประมาณ 1,280 คน สมาชิกทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม ประชากรทั้งหมดพึ่งพาทรัพยากรทางทะเล โดยมีชาวประมงพื้นบ้านประมาณ 120 ครัวเรือนในจำนวนทั้งหมด มีครอบครัวที่ทำประมงเป็นอาชีพหลักเพียงอย่างเดียว 80 ครัวเรือน ที่เหลือทำอาชีพประมงเป็นอาชีพหลัก และมีอาชีพรองทำการเกษตร เช่น ปลูกมะม่วง ปลูกปาล์มน้ำมัน ค้าขายและรับจ้าง รายได้เฉลี่ยของชาวประมงประมาณ 400-1,000 บาทต่อครัวเรือนต่อวัน มีเรือที่ใช้ในการประกอบอาชีพประมงประมาณ 100 ลำ ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ประมาณ 560 กิโลกรัมต่อวัน สัตว์น้ำที่จับได้ประกอบด้วย ปลาตะกรับ ปลากระบอก กุ้ง ปลาหัวโม่ง ปลาท่องเที่ยว ปลาเขือ ปลาแป้นเล็ก เป็นต้น สัตว์น้ำที่จับได้ส่วนใหญ่จะบริโภคในครัวเรือนและขายปลีกในตลาดชุมชน และช่วงที่มีสัตว์น้ำปริมาณมากมีการขายส่งให้แม่ค้าคนกลาง สัตว์น้ำเหล่านี้จะมีความชุกชุมแตกต่างกันไปตามฤดูกาล กล่าวคือ ปลาท่องเที่ยวจะมีมากในช่วงปลายปี เดือนตุลาคม-มกราคม ของทุกปี ปลาตะกรับมีมากในช่วงเมษายน-กรกฎาคม ของทุกปี ส่วนกุ้งจะพบมากในช่วงมีนาคม-กันยายน ของทุกปี ในช่วงที่มีปริมาณของสัตว์น้ำมาก ชุมชนจะมีการแปรรูปเป็น ปลาแดดเดียว และกุ้งหวาน โดยใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิม การแปรรูปนี้จะมีการรวมกลุ่มของแม่บ้านชาวประมงประมาณ 7-8 คน
ชุมชนบ้านใหม่เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งด้านการรวมกลุ่มและการอนุรักษ์รวมทั้งมีกติกาชุมชน คนในชุมชนได้รับการปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็ก และการใช้หลักศาสนามาร่วมขับเคลื่อนกิจกรรม ชุมชนมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงคือ บ้านปลาหมายเลขเก้า ทำให้เป็นที่รู้จักของคนทั้งในท้องถิ่นและระดับประเทศ กิจกรรมด้านการอนุรักษ์ของชุมชนบ้านใหม่ค่อนข้างประสบความสำเร็จ เนื่องมาจากปัจจัยหลายด้าน เช่น คณะทำงาน ภาคีเครือข่าย การประสบความสำเร็จนี้สามารถเห็นได้จาก มีจำนวนปลาเพิ่มมากขึ้นและรายได้ของชุมชนเพิ่มสูงขึ้น มีชนิดปลาที่มาอาศัยในเขตอนุรักษ์มากขึ้น โดยพาะปลากดขี้ลิง ปลากระบอก และปลาตะกรับ โดยสามารถพบลูกปลาขนาดเล็กหลายชนิด อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า ทางกลุ่มจะมีกติกาชุมชนในการห้ามทำการประมงในเขตและรายละเอียดอย่างอื่น แต่อย่างไรก็ตาม การบังคับใช้กฎ กติกาชุมชนยังไม่สามารถบังคับใช้ได้ในทุกกรณี และในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา มีการทำผิด กฎ กติกาชุมชนหลายครั้ง โดยเฉพาะ การบุกรุกของนายทุนมาสร้างสิ่งก่อสร้างที่ล้ำเข้ามาในเขต รวมทั้ง มีการทำประมงในเขตพื้นที่ด้วย นอกจากนี้ ในบางฤดูจะมีปริมาณสัตว์น้ำมาก ทำให้มีราคาต่ำ ถึงแม้ว่าจะมีการแปรรูปโดยชุมชนอยู่บ้าง แต่ยังยังขาดมาตรฐานในการทำผลิตภัณฑ์ และขาดบรรจุภัณฑ์ที่มีความเหมาะสมและเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ชุมชนมีความต้องการในการรวมกลุ่มกันแปรรูปสัตว์น้ำ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าและการสร้างรายได้ให้กับชาวประมง โดยการใช้จุดแข็งของชาวประมงพื้นบ้าน ซึ่งเวลาทำการประมงจะสั้น ไม่ใช้สารเคมีในการรักษาคุณภาพสัตว์น้ำ และการใช้เครื่องมืออย่างรับผิดชอบจับปลาที่ได้ขนาด มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย ดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค ใส่ใจสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ชุมชนยังขาดกลไกในการจัดการทรัพยากรประมงที่ดำเนินการได้โดยชุมชนเอง เพื่อสร้างกลไกในการจัดการทรัพยากรประมงและความตระหนักและความใส่ใจของผู้ผลิตในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทะเลของดีของชุมชนบ้านใหม่ที่เป็นผลผลิตมาจากการจับสัตว์น้ำที่มาจากการทำประมงอย่างรับผิดชอบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภคอย่างปลอดภัยทุกขั้นตอน พร้อมทั้งให้เป็นที่รู้จักและเข้าถึงแหล่งอาหารที่ปลอดภัยอย่างแพร่หลาย อีกทั้งเป็นการสร้างเศษฐกิจรายได้ที่เกื้อกูลให้กับสมาชิกในชุมชนประมงทะเลสาบ พัฒนาให้เกิดเงินทุนหมุนเวียนและส่งผลต่อการเกิดความมั่นคงด้านอาชีพ มีอาหารทะเลที่ปลอดภัยสอดคล้องกับยุทธศาตร์ BCG Model ที่มุ่งเน้นการสร้างเศษฐกิจที่ใช้ต้นทุนฐานทรัพยากรในชุมชนให้เกิดมูลค่า อีกทั้งส่งเสริมการผลิตและบริโภคอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม จะเป็นส่วนสำคัญที่กระตุ้นให้ชาวประมงผู้ผลิตและผู้บริโภคเข้าใจและเห็นความสำคัญของการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยที่มีความเชื่อมโยงทั้งระบบตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ รวมทั้ง พัฒนาเครื่องมือในการบังคับใช้ธรรมนูญชุมชนให้สามารถใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น ทางชุมชนจึงได้จัดทำโครงการโดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อเกิดกลไกการทำงานที่เข็มแข็งในการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง เพื่อให้มีผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยบริโภคในชุมชนและจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ และเพื่อให้เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายและการผลักดันเป็นนโยบายสาธารณะ

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อเกิดกลไกการทำงานที่เข้มเเข็งในการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง
  2. เพื่อปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการจัดการทรัพยากร
  3. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ประมงพื้นบ้านที่ปลอดภัยจากการทำประมงอย่างยั่งยืน
  4. เพื่อให้เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายและการผลักดันเป็นนโยบายสาธารณะ
  5. เพื่อหนุนเสริมให้มีการบริหารจัดการโครงการ อย่างมีประสิทธิภาพ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. เวทีพูดคุยแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะชุมชนประมงพื้นบ้านใน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล
  2. การประชุมคณะทำงาน(ครั้งที่ 1)
  3. เวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาทะเลสาบสงขลาและชายฝั่งชุมชนบ้านใหม่
  4. การขยายพื้นที่บ้านปลามีชีวิต
  5. กิจกรรมพัฒนาศักยาภาพของคณะทำงาน
  6. กิจกรรมถอดบทเรียนเรื่องการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน
  7. เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE)ระดับจังหวัดสงขลา
  8. เวทีพูดคุยสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์
  9. ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเเปรรูปผลิตภัณฑ์และทดลองปฎิบัติการ ณ ร้านคนจับปลา
  10. เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาระหว่างพื้นที่ดำเนินงาน (ARE) แผนงานร่วมทุนสนันสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ชุมชนประมงพื้นบ้าน 5 จังหวัดชายฝั่ง
  11. อบรมการบริหารจัดการธุรกิจการจัดการต้นทุนและพัฒนาสินค้าการตลาด (4P)
  12. เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาการ(ARE)ระดับจังหวัด

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายรอง 150
กลุ่มเป้าหมายหลัก 85

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เกิดกลไกการทำงานที่เข้มเเข็งในการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง
  2. เกิดการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการจัดการทรัพยากร
  3. เกิดผลิตภัณฑ์ประมงพื้นบ้านที่ปลอดภัยจากการทำประมงอย่างยั่งยืน
  4. เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายและการผลักดันเป็นนโยบายสาธารณะ
  5. เกิดการหนุนเสริมให้มีการบริหารจัดการโครงการ อย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. เวทีพูดคุยแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะชุมชนประมงพื้นบ้านใน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล

วันที่ 13 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ในเวทีมีที่ปรึกษาของสมาคมรักษ์ทะเลไทยโดยนายบรรจง  นะเเส  เป็นผู้เปิดงานและชี้เเจงที่มาที่ไปของการขอทุนในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมจาก  5  จังหวัดได้เเก่  นครศรีธรรมราช  สงขลา  สตูล  พัทลุและตรัง อีกทั้งเจ้าหน้าที่จากสมาคมรักษ์ทะเลไทยร่วมชี้เเจงรายละเอียดในการทำกิจกรรม  การเก็บข้อมูลเรื่องบิลต่างๆที่สำคัญในการจ่ายเงินและการเบิกจ่ายแต่ละรายการต้องมีหลักฐานประกอบทุกครั้งและการเขียนหัวบิลอ้างถึงผู้ซื้อและผู้รับเงินให้ถูกต้องและชัดเจนที่สุด  อีกทั้งเจ้าหน้าที่ของสมาคมฯได้สอนการลงรายงานผ่านระบบในเพจ คนสร้างสุข เป็นการรายงานกิจกรรมหลังจากที่กลุ่มฯที่ขอทุนทำกิจกรรมเสร็จแล้ว

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทำให้สมาชิกกลุ่มฯที่เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจในโครงการมากขึ้นและสามารถบอกเล่าต่อสมาชิกกลุ่มฯที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในวันและเวลาดังกล่าวได้ อีกทั้งเวทีดังกล่าวทำให้ตัวแทนจาก  5  จังหวัดได้ทำความรู้จักและแลกเปลี่ยนกิจกรรมภายในกลุ่มฯของตัวเองแก่สมาชิกในห้องประชุมได้นำมาปรับใช้กับบริบทในพื้นที่ของตัวเองต่อไป

 

4 0

2. การประชุมคณะทำงาน(ครั้งที่ 1)

วันที่ 7 สิงหาคม 2566 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผู้ประสานงานโครงการนำโดย นางสาวเบญจวรรณ  เพ็งหนู  และนางสาวเจตวรรณ  กรุตรนิยม พร้อมด้วยนางสาวนภาพรรณ    สมาแอ ประสานให้นางสาวอุไรพรรณ  หมอชื่น แจ้งสมาชิกกลุ่มฯทราบเกี่ยวกับการประชุมติดตามและเเจ้งให้ทราบเกี่ยวกับการดำเนินโครงการที่มีการกำหนดให้มีกิจกรรมต่างๆขึ้นโดยเรียงลำดับจากโรงการที่สามารถดำเนินการก่อนและหลัง ในที่ประชุมมีสมาชิกกลุ่มฯเข้าร่วม 15  คน มีการชี้เเจงและเสนอเเนะเกี่ยวกับโครงการและเปิดโอกาศให้ผู้เข้าร่วมเและสมาชิกกลุ่มอนุรักษ์ชายฝั่งและฟาร์มทะเลชุมชนบ้านใหม่ หมูที่ 1 เสนอความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ดีที่สุด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ทางกลุ่มฯเสนอให้มีการเปิดเวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาทะเลสาบในวันที่ 25/08/2566 2.เสนอให้เชิญผู้เข้าร่วมที่เกี่ยวข้องในการเข้าร่วมกิจกรรม อาทิเช่น เทศบาลเมืองสิงหนคร ประมงอำเภอ  นายอำเภอ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ชาวประมงในพื้นที่ ประธานชุมชน ผู้นำศาสนา ผู้อำนวยการรพ.สต. สมาชิกกลุ่มอนุรักษ์ฯ 3.ผลตอบรับของผู้เข้าร่วมที่ให้ความสนใจในกิจกรรมดังกล่าวได้รับการตอบรับที่ดี

 

30 0

3. เวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาทะเลสาบสงขลาและชายฝั่งชุมชนบ้านใหม่

วันที่ 25 สิงหาคม 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ทางกลุ่มฯจัดเตรียมสถานที่และเตรียมรับลงทะเบียนตั้งแต่เวลา08.30 น.โดยสมาชิกกลุ่มมารอต้อนรับผู้เข้าร่วมเวทีพูดคุย ได้แก่ ประมงอำเภอ  เทศบาลเมืองสิงหคร  เจ้าหน้าที่ตำรวจ  ศูนย์ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลสงขลา ชาวประมงในพื้นที่  ผู้นำชุมชน  ผู้นำศาสนา  มหาวิทยาลัยทักษิณ  กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(สทช.5)  สื่อจากNBT สงขลา  และสมาคมรักษ์ทะเลไทยร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์ชายฝั่งและฟาร์มทะเลชุมชนบ้านใหม่  หมู่ที่ 1 ร่วมกันพูดคุยและเสนอแนะแนวทางการทำงานและประสานงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆอาทิเช่น  การทำประมผิดกฎหมายในทะเลสาบสงขลา  การบังคับใช้กฎหมายและความเป็นไปได้ในการกำหนดมาตรการการลงโทษของผู้กระทำผิด  อีกทั้งรับฟังความต้องการของชาวประมงในพื้นที่ในด้านการสนับสนุนหรือช่วยเหลือการทำประมงของชาวบ้านและชี้แจงแนวเขตที่ชัดเจนให้กับทุกภาคส่วนได้รับทราบในทิศทางเดียวกัน  เพื่อเป็นแบบอย่างในการออกข้อบังคับใช้และถือปฏิบัติในทิศทางที่ดีขึ้นและลดการกระทบกระเเทกกันให้มากที่สุด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ชาวประมงในพื้นที่รับทราบเกี่ยวกับแนวเขตอนุรักษ์และการใช้เครื่องมือที่ถูกกฏหมายและการทำประมงแบบไม่ทำลายล้าง 2.หน่วงานราชการเปิดโอกาศให้ชาวประมงเสนอแนะความต้องการเพื่อสามารถเข้ามาช่วยส่งเสริมหรือสนับสนุนได้ตรงตามความต้องการ 3.การประสานงานของกลุ่มอนุรักษ์กับสถานีตำรวจในกรณีมีการจับกุมผู้กระทำความผิดสามารถติดต่อได้ง่ายขึ้นและรวดเร็วกว่าเดิม 4.การเข้ามาสอดส่องดุแลของกรมประมงต้องมีหลักเกณฑ์ที่ซับซ้อนยากต่อการทำงานร่วมกันอยากให้เเก้ไขให้ดีขึ้นกว่านี้ 5.การประชาสัมพันธ์จากสื่อเป็นเรื่องที่ดีต่อการทำให้มุมมองของทะเลสาบสงขลาเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นจากอดีต 6.ชาวประมงในพื้นที่มีความเข้าใจและให้ความร่วมมือในเรื่องของการอนุรักษ์มากขึ้นกว่าเดิม

 

30 0

4. การขยายพื้นที่บ้านปลามีชีวิต

วันที่ 2 ตุลาคม 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ทางกลุ่มฯจัดเตรียมสถานที่ร่วมปรึกษาหารือและชี้ตำแหน่งในการจัดทำบ้านปลาโดยมีหน่วยงานที่ร่วมกับชุมชนในการซ่อมเเซมซั้งบ้านปลาได้เเก่ ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลสงขลา กำลังพลจากป.พัน5 อาจารย์จากมหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาเขตพัทลุง เมื่อวางแผนการทำงานร่วมกันจึงลงมือทำตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งการเพิ่มซั้งบ้านปลามีชีวิตลงในซั้งบ้านปลาที่มีอยู่เพื่อช่วยเพิ่มต้นโกงกางและยืดระยะในการซ่อมแซมในอนาคต อีกทั้งการปลูกต้นโกงกางเพิ่มเป็นนวัตกรรมที่ทางกลุ่มฯเล็งเห็นความสำคัญในระยะยาวหวังเพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและเเหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำในอนาคต

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ชาวประมงในพื้นที่รับทราบเกี่ยวกับแนวเขตอนุรักษ์และการทำซั้งบ้านปลามีชีวิตมากขึ้น 2.หน่วงานราชการเปิดโอกาศให้ชาวประมงเสนอแนะความต้องการในการร่วมอนุรักษ์ตามบริบทพื้นที่ได้มากกว่าเดิม 4.การเข้ามาสอดส่องดุแลของเจ้าหน้าที่มีความสนใจมากขึ้น 5.การประชาสัมพันธ์จากสื่อเป็นเรื่องที่ดีต่อการทำให้มุมมองของทะเลสาบสงขลาเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น

 

30 0

5. กิจกรรมพัฒนาศักยาภาพของคณะทำงาน

วันที่ 22 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.เชิญแกนนำชุมชนแะผู้ที่เกี่ยวข้อง คณะทำงานจำนวน20คนมาร่วมวิ ประชุม 2.วิทยากรให้คงามรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการองค์กรและจัดการทรัพยากรทางทะเลแบบยั่งยืน 3.ส บถามทักษะความชำนาญของแกนนำเพื่อวางเเผนการทำงานให้เหมาะสมกับความสามารถเพื่อขับเคลื่อนงานต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ผู้นำได้เเสดงออกในความถนัดของตัวเองและความต้องการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น 2.แนะนำและเพิ่มในด้านการเรียนรู้ในการนำมาปรับใช้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้ 3.การสื่อสารภายในชุมชนเป๋นไปในทิศทางเดียวกัน

 

16 0

6. กิจกรรมถอดบทเรียนเรื่องการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน

วันที่ 26 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.คณะทำงานมาร่วมประชุมเพื่อถอดบทเรียนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูมทรัพยากที่มีอยู่และวางแผนในด้านการจัดการอย่างมีส่วนร่วม 2.ยกตัวอย่างทรัพยากรที่มีอยู่และสัตว์น้ำบางชนิดที่หายไปและการกับมาของสัตว์น้ำที่เคยสูญพันธ์ในพื้นที่และเก็บตัวอย่าง 3.วางมาตรการในการควบคุมดูแลการทำประมงของคนในพื้นที่ให้มีการจับสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.เข้าใจและสามารถจตอบคำถามไปในทิศทางเดียวกัน 2.ฟื้นฟูในด้านการเพาะฟักและปล่อยคืนสู่ทะเลสาบ 3.สามารถบอกเล่สเกี่ยวกับการทำประมงแบบยั่งยืนในทิศทางที่ฝากถูกต้องมากขึ้น

 

16 0

7. เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE)ระดับจังหวัดสงขลา

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง สรุป ติดตาม ทบทวนกิจกรรมในงวดที่ 2 ของระดับจังหวัด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วม สรุป ติดตาม ทบทวนกิจกรรมต่าง ๆ และแลกเปลี่ยนข้อมูลโครงการภายในจังหวัด

 

6 0

8. เวทีพูดคุยสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์

วันที่ 23 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.เรียนรู้และซักถาม 2.สอบถามและค้นหาคำตอบ 3.นำไปขยายผลต่อในพื้นที่ของตนเอง เวลา 09.00-12.00น.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะกรรมการมีคามรู้ความเข้าใจถึงการจัดการอาหารปลอดภัยและการต่อยอดสัตว์นำ้ในชุมชนและรวมถึงการจัดการทรัพยากรในอนาคต

 

30 0

9. ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเเปรรูปผลิตภัณฑ์และทดลองปฎิบัติการ ณ ร้านคนจับปลา

วันที่ 23 มกราคม 2567 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.วิทยากรแนะนำและอธิบายหลักการเเละเหตุผลของการก่อตั้ง 2.ชมการสาถิตการแปรรูปสัตว์น้ำในแบบต่างๆในการนำไปจำหน่าย 3.ชมการหลักการปฏิบัติที่ถูกวิธี  สะอาด  ปลอดภัยและได้มาตรฐาน
4.เรียนรู้ช่องทางการตลาดในแบบต่างๆ เวลา 13.00- 20.00น.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.คณะกรรมการที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความกระตือรือล้นในการเรียนรู้ 2.เมื่อมีข้อสงสัยทางคณะจะมีการซักถามและร่วมเสนอเเนวทาง 3.มีการปรึกษาหารือเพื่อกลับมาต่อยอดทรัพยากรสัตว์น้ำในพื้นที่ตัวเอง 4.มีความต้องการอยากเรียนรู้เพิ่มเติมในเรื่องดังกล่าวมาคะ

 

15 0

10. เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาระหว่างพื้นที่ดำเนินงาน (ARE) แผนงานร่วมทุนสนันสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ชุมชนประมงพื้นบ้าน 5 จังหวัดชายฝั่ง

วันที่ 29 มกราคม 2567 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาระหว่างพื้นที่ดำเนินงาน (ARE) แผนงานร่วมทุนสนันสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ชุมชนประมงพื้นบ้าน 5 จังหวัดชายฝั่ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วม สรุป ติดตาม ทบทวนกิจกรรมต่าง ๆ และแลกเปลี่ยนข้อมูลโครงการภายในของ 5 จังหวัดชายฝั่ง

 

2 0

11. อบรมการบริหารจัดการธุรกิจการจัดการต้นทุนและพัฒนาสินค้าการตลาด (4P)

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ชีเแจงรายละเอียดกระบวนการจัดการตั้งแต่สินค้า ราคา การตลาด และการออกแบบผลิตภัณฑ์
  2. วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการดำเนินงานการบริหารจัดการธุรกิจการจัดการต้นทุนและพัฒนาสินค้าการตลาด (4P)
  3. ฝึกออกแบบและคัดเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม
  4. วิทยากรให้ความรู้เรื่องช่องทางการจำหน่ายสินค้า แรงจูงใจของลูกค้าในการซื้อสินค้า
  5. วิทยากรให้ความรู้การถ่ายภาพด้วยมือถือให้น่าสนใจ สร้างยอดขาย การตลาด และช่องทางในการจำหน่าย
  6. จัดตั้งคณะกรรมการกลุ่ม และได้สร้างกฎกติกาของกลุ่ม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีความรู้ความเข้าใจการบริหารจัดการธุรกิจการจัดการต้นทุนและพัฒนาสินค้าการตลาด (4P) โดยมีการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับสินค้าในพื้นที่ และมีคณะกรรมการกลุ่มแปรรูปอาหารทะเลชุมชนบ้านใหม่ มีการแบ่งหน้าที่ของแต่ละคน โดยจะมีประธาน รองประธาน เหรัญญิก เลขานุการ และกรรกมการ จำนวน 13 คน มีผลิตภัณฑ์แปรรูป จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กุ้งหวาน กะปิ ปลาส้ม ปลาแดดเดียว กุ้งสม และอาหารแช่แข็งตามฤดูกาล

 

0 0

12. เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาการ(ARE)ระดับจังหวัด

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ติดตามผลการทำกิจกรรมของแต่ละกลุ่มฯว่ามีปัญหาและต้องแก้ไขไปในทิศทางใด  มีนโยบายการทำงานที่แตกต่างอย่างไร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทำให้กิจกรรมสามารถเดินไปได้ในทิศทางที่ถกต้องและมีการแก้ไขได้ตรงจุดประสงค์

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อเกิดกลไกการทำงานที่เข้มเเข็งในการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง
ตัวชี้วัด : 1. มีคณะทำงานที่มีทั้งผู้นำชุมชน ชาวประมง หน่วยงานรัฐ หน่วยงานท้องถิ่นและเยาวชนเข้ามาร่วมเป็นคณะทำงาน 2. คณะทำงานมีศักยภาพ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการในการฟื้นฟูทะเลสาบสงขลาแบบมีส่วนร่วม 3. ถอดบทเรียนเรื่องการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน 4.มีข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำประมงของชุมชนบ้านใหม่ในทุกมิติ
15.00

แกนนำมีความรู้และมีศักยภาพในการบริหารทรัพยากรในประเด็นที่กว้างขึ้น และพร้อมที่จะเรียนรู้และพัฒนาตัวเองในประเด็นใหม่ ๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในการทำงานของชุมชน และมีการประสานความร่วมมือกับท้องถิ่น เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ด้านนโยบายที่เป็นประเด็นร่วมกับชุมชน ในกรณีข้อตกลงเขตอนุรักษ์

2 เพื่อปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการจัดการทรัพยากร
ตัวชี้วัด : 1. มีการซ่อมแซมและทำบ้านปลามีชีวิตไม่น้อยกว่า 10 หลัง 2. มีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำไม่น้อยกว่า ปีละ 1 ครั้ง 3. มีปริมาณสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้นในแต่ละฤดูกาล 4. ขยายแหล่งเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น และมีการใช้งานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในพื้นที่มากขึ้น 5.ป้ายประชาสัมพันธ์กติกาข้อตกลงเรื่องเขตอนุรักษ์ของหมู่บ้าน และป้ายเขตอนุรักษ์ในพื้นที่ทะเลที่กำหนด 6.รายได้จากการขายปลาสดเพิ่มขึ้น 8.จำนวนพันธุ์สัตว์น้ำเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 2 ชนิด
250.00

เนื่องจากชุมชนมีกลไกการทำงานที่เข้มแข็งและมีศักยภาพที่หลากหลาย โดยการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่รู้จักทั้งในและนอกพื้นที่ พร้อมที่จะพัฒนาต่อยอดและยกระดับการทำงานเชื่อมร้อยกับท้องถิ่นที่ให้เป็นเป็นรูปกระทำเชิงนโยบายในรูปแบบความร่วมมือการจัดการทรัพยากรอย่างมีส่วนร่วม หรือข้อบัญญัติท้องถิ่น

3 เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ประมงพื้นบ้านที่ปลอดภัยจากการทำประมงอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด : 1. สมาชิกมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถสื่อสารเรื่องราวของสินค้าประมงพื้นบ้านที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ อย่างน้อย 10 คน 2. เกิดผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ปลอดภัย ไม่น้อยกว่า 3 ผลิตภัณฑ์ 3. มีบรรจุภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดผู้บริโภค 4. มีแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยที่ผู้บริโภคเข้าถึงง่าย อย่างน้อย 3 ช่องทาง ทั้งในรูป on site และ on line 5. สมาชิกมีความสามารถในการขายออนไลน์อย่างน้อย 3 คน 6. รายได้จากการแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อจำหน่ายเพิ่มขึ้น
13.00

สมาชิกและคนในชุมชนมีความกระตือรืร้น สนใจในการพัฒนาทักษะ สร้างความรู้ความเข้าใจการสร้างมูลค่าเพิ่มของสัตว์น้ำทั้งสดและแปรรูปภายใต้มาตรฐาน บรูแบรนด์ แต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดคำว่า มาตรฐานอาหารทะเลปลอดภัย ซึ่งเป็นประเด็นที่พี่เลี้ยงและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องทำความเข้าใจให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการฝึกปฏิบัติจริง

4 เพื่อให้เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายและการผลักดันเป็นนโยบายสาธารณะ
ตัวชี้วัด : 1. ทบทวนกติกาและการบังคับใช้เขตอนุรักษ์ 2. มีร่างข้อเสนอเชิงนโยบายที่สอดคล้องกับชุมชนบ้านใหม่ 3. มีคณะติดตามร่างข้อเสนอเชิงนโยบายที่สอดคล้องกับชุมชนบ้านใหม่
0.00

ควรมีการจัดทำข้อมูลเอกสารกติกาข้อตกลงและพื้นที่แนวเขตที่ชัดเจนและติดป้ายประกาศประชาสัมพันธ์ตามจุดต่าง ๆ ของชุมชน เพื่อให้รับรู้ร่วมกันพร้อมกับนำข้อคิดเห็นและข้อแนะนำมาประมวลในการจัำทำเวทีประชทคมของชุมชน

5 เพื่อหนุนเสริมให้มีการบริหารจัดการโครงการ อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด : 1. โครงการย่อยสามารถทำงานได้ตามที่กำหนดไว้ในแผน 2.โครงการย่อยสามารถ รายงานผลในระบบ ออนไลน์ได้ถูกต้อง ครบถ้วน 3.โครงการย่อยสามารถ เดินทางร่วมกิจกรรมที่ทาง คณะบริหารแผนงาน กำหนด
70.00

ควรจะมีการเพิ่มออกแบบการเก็บข้อมูลที่ละเอียด เพื่อนำไปวางแผน วิเคราะห์ยกระดับการทำงานในอนาคต

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 235
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายรอง 150
กลุ่มเป้าหมายหลัก 85

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเกิดกลไกการทำงานที่เข้มเเข็งในการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง (2) เพื่อปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการจัดการทรัพยากร (3) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ประมงพื้นบ้านที่ปลอดภัยจากการทำประมงอย่างยั่งยืน (4) เพื่อให้เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายและการผลักดันเป็นนโยบายสาธารณะ (5) เพื่อหนุนเสริมให้มีการบริหารจัดการโครงการ อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) เวทีพูดคุยแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะชุมชนประมงพื้นบ้านใน 5  จังหวัดชายฝั่งทะเล (2) การประชุมคณะทำงาน(ครั้งที่ 1) (3) เวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาทะเลสาบสงขลาและชายฝั่งชุมชนบ้านใหม่ (4) การขยายพื้นที่บ้านปลามีชีวิต (5) กิจกรรมพัฒนาศักยาภาพของคณะทำงาน (6) กิจกรรมถอดบทเรียนเรื่องการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน (7) เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE)ระดับจังหวัดสงขลา (8) เวทีพูดคุยสร้างความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (9) ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเเปรรูปผลิตภัณฑ์และทดลองปฎิบัติการ ณ ร้านคนจับปลา (10) เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาระหว่างพื้นที่ดำเนินงาน (ARE) แผนงานร่วมทุนสนันสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ชุมชนประมงพื้นบ้าน 5 จังหวัดชายฝั่ง (11) อบรมการบริหารจัดการธุรกิจการจัดการต้นทุนและพัฒนาสินค้าการตลาด (4P) (12) เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาการ(ARE)ระดับจังหวัด

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


การพัฒนากลไกเพื่อการบังคับใช้กติกาชุมชนในการจัดการทรัพยากรประมงของชุมชนบ้านใหม่ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 009/2566

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายชัยยศ ฤทธิโก )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด